Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - หริทาส

#1
พราหมณ์ ในอินเดีย โดยมากถือธรรมเนียมปฏิบัติคล้ายๆกัน มีแตกต่างกันไปบ้างตามถิ่นที่และประเพณีที่สืบกันมา
โดยมากพราหมณ์ในอินเดีย และศาสนิกชนฮินดูราว 70 เปอเซนต์ กินมังสวิรัติ พราหมณ์บางพวกกินปลาบางชนิด เช่นพราหมณ์เบงคอลี  บางทีพวกพราหมณ์ ถือเพิ่มไปคือไำม่กินกระเทียม สวมยัชโญปวีต ส่วนใหญ่ไว้ ศิกขา หรือมุ่นมวยผมที่ท้ายทอย เล็กบ้างใหญ่บ้าง เวลาไปทำพิธีนุ่งผ้าโธตีหรือโจงกระเบน หรือ เวษฏิ คือผ้านุ่ง เล่าเรียนท่องบ่นพระเวท และคัมภีร์ต่างๆ ถือนิตยกรรมหรือข้อปฏิบัติในศาสนา ประจำวัน เช่นภาวนา สันธยะ ฯลฯ

ส่วนพราหมณ์ไทย ท่านถือ ตามคติปรัมปราไทย คือกินเนื้อสัตว์ได้ เว้นแต่ วัวและปลาไหล หรือบางท่านเช่นท่านพระมหาราชครู ทานมังสวิรัติ มีการถือบวชในช่วงตริปวายตริยัมปวายที่ทานมังสวิรัติ สวมสายยัชโญปวีต ในเวลาทำพิธีโดยสวมนอกเสื้อ เว้นแต่ท่านพระมหาราชครูสวมไว้ตลอดเวลา  ไหว้พระสวดมนตร์ และเป้นคฤหัสถ์ คือครองเรือนมีลูกเมีย เช่นเดียวกับพราหมณ์อินเดีย
#2
Quote from: kuljy on October 12, 2012, 20:03:47
ขอรบกวนสอบถามเพิ่มเติมนะคะ อาจารย์ตุล พอดียังไม่กระจ่างเรื่อง ห้ามมีพระแม่ศักติ 3 องค์ นี่หมายถึง ห้ามมีพระแม่ลักษมี 3 องค์ ห้ามมีพระแม่สรัสวตี 3 องค์ในหิ้งเดียวกัน แล้วในกรณีเช่น มีพระแม่ปราวตี 1 องค์ พระแม่กาลี 1 องค์ พระแม่ทุรคา 1 องค์ แบบนี้เรียกว่าเข้าข่ายข้อห้ามหรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ


3 องค์หมายถึงที่พระนามเดียวกันครับ

ดังนั้นในกรณีที่ยกมา ไม่เข้าข่ายครับ
#3
คำว่าบัณฑิต มาจากคำสันสกฤต ว่า  ปณฺฑิต (ปัณ ฑิ ตะ) แปลว่า ผู้รู้

ชาวอินเดีย ใช้คำนี้ยกย่อง ผู้รู้ รวมถึงบรรดาพราหมณ์ที่ประกอบพิธีกรรมในวัดด้วย

คือในอินเดีย ถ้าบอกว่า พราหมณ์ เขาจะหมายถึง "ผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์" ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ที่เกิดในวรรณพราหมณ์ ดังนั้นคำนี้จึงคล้ายๆเป็นคำบอก สถานภาพของการเกิดทางสังคมมากกว่าตำแหน่งของตัว

และผู้ที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ในอินเดีย อาจประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่ผู้ประกอบพิธีกรรมก็ได้ เช่น สอนหนังสือ ทำงานราชการ หรือ ค้าขาย ฯลฯ

เมื่อเกิดในวรรณะพราหมณ์แล้ว บางคนจึงเข้าเรียนในระบบอาศรม หรือคุรุกุล เพื่อเรียนพระเวท และกัลปะพิธีกรรมต่างๆ เมื่อเรียนจบแล้ว คนก็ยกย่องว่าเป็นผู้รู้ มีความรู้ในพระเวท คัมภีร์สำคัญ และกัลปะพิธีกรรมต่างๆ

ดังนั้นชาวอินเดีย จึงยกย่องเรียกพราหมณ์ที่ประกอบพิธี ซึ่งหมายความว่าได้ผ่านการเล่าเรียนมาแล้ว ว่าบัณฑิต หมายถึงผู้รู้

แต่คำๆนี้อาจหมายถึง ผู้รู้อื่นๆที่ไม่ใช่ผู้ประกอบพิธีกรรมในวัดก็ได้ เป้นศาสนิกชนฮินดูแต่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่ามีความรู้ความสามารถ เช่น บัณฑิตยาวหลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีอินเดียที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์อินเดีย บัณฑิตรวิ ศังกร(ชังการ์) นักดนตรีคลาสสิคอินเดียที่แตกฉาน ฯลฯ

คือในวัฒนธรรมอินเดีย การเรียกบุคคลโดยความยกย่องนั้นเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น การเรียกบุคคลจึงมีความเลื่อนไหลเป็นอย่างมาก ขึ้นอยู่กับความเคารพและสถานการณ์ด้วย

เช่น เราอาจเรียกพราหมณ์ที่ประกอบ พิธีที่วัด ว่า ปูชารี ซึ่งหมายถึง ผู้ทำพิธีบูชาพระ ก็ได้ บางครั้งเคารพมาก เรียก คุรุ หรือครู ว่าเป็นคุรุของตน บางครั้งเรียก มหาราช แปลว่า พระคุณท่าน เรียกบัณฑิตก็ได้ เรียก พราหมณเทวตา หรือเทวดาพราหมณ์ก็ได้

บางครั้งเจอกัน ก็เรียกว่า ปรฺภู โดยศัพท์แปลว่า พระเป็นเจ้า เป็นการยกย่องอย่างสูง และแสดงความเคารพพระเป็นเจ้าที่อยู่ภายในคนๆนั้น

อันนี้คือความแตกต่างทางวัฒนธรรมอินเดียกับไทยครับ




ในประเทศไทยเรียกผู้ประกอบพิธีในศาสนาพราหมณ์ว่าำพรามหณ์ เท่านั้น ต่างกับในอินเดีย
เนื่องด้วยเหตุผล คือ ศาสนาพราหมณ์ในประเทศไทย เข้ามาก่อนยุคภักติของอินเดีย คือ ยุคที่ศาสนาพราหมาณ์ในอินเดียยังไม่ปฏิรูปเป็นฮินดู ที่เน้นความภักดีในพระเป็นเจ้า การประยุกต์ศาสนพิธีและคำสอน ฯลฯ

ดังนั้น จึงเรียกว่าศาสนาพราหมณ์ ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่นักบวช คือพราหมณ์ ครับ แม้ในปัจจุบัน ก็เรียกว่าพราหมณ์
#4
Quote from: SriTuRa on September 19, 2012, 10:41:58
เรียน เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

รบกวนสอบถามดังนี้ คือ

1. เฉพาะหิ้งพระ ที่บ้านมีพระคเณศที่หิ้งพระสามองค์องค์เล็กๆ และรูปพระคเณศขนาด A4 วางในหิ้งพระอีก


2. ตรงฝาผนังไม่ใช่ส่วนหิ้งพระแต่เลยมา 5-6 ก้าว มีภาพแปะที่ฝาผ้าปักพระคเณศติดอยู่ที่ฝาผนังหน้าบ้าน

ไม่ทราบว่าแบบนี้เค้านับว่ามีพระคเณศกี่องค์ครับ มีสามองค์ไม่ดีต้องแก้ยังไงครับ


นับเฉพาะที่เป็นเทวรูปบุชาซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 1 นิ้วมือขึ้นไปครับ

ถ้ามีสามองค์ ยกให้คนอื่นหนึ่งองค์หรือหามาแก้อีกหนึ่งองค์ครับ
#6
Quote from: magic on September 10, 2012, 19:35:31
อันนี้ เป็นความสงสัยส่วนตัวนะครับ อย่างตัวผมเนี่ย ถ้าจะนำบายศรี 1 สำรับ เพื่อถวายแด่ องค์เทพเจ้า ฮินดู ที่ผมนับถือบูชา อย่างที่พี่ๆกล่าวมาแล้วนั้น แต่ด้วยข้อกำหนดที่ว่า ห้ามนำ ของคาว หรือเนื้อสัตว์ขึ้นถวาย แด่องค์เทพเจ้าฮินดู ฉะนั้น การขึ้นบายศรีก็ไม่สามารถที่จะนำขึ้นถวายแด่องค์เทพเจ้าฮินดูได้ ใช่ไหมครับ เพราะต้องมี ทั้งไข่ ทั้งแมงดา แล้วถ้าจะเอาขึ้นโดยไม่ใส่ มันด็ไม่ใช่ บายศรี ที่ถูกต้องตามโบราณใช่ไหมครับ แล้วถ้าเราอยากจะขึ้นอะครับต้องทำอย่างไร เพราะเราเป็นคนไทย ตามวัฒนธรรม การนำบายศรีถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็มีมาช้านานแล้ว เพราะถือเป็นเครื่องสูง ชนิดหนึ่ง ช่วยตอบในข้อสงสัย ผมหน่อยนะครับ ผมอยากถวายเครื่องสักการะ "บายศรี" แด่องค์เทพเจ้าฮินดู ของคนไทย ให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมไทย และ ความเชื่อศรัทธาของชาวฮินดู ครับ ขอบคุณครับ



ถ้ามีความประสงค์จะถวายบายศรี แด่เทพฮินดูเพื่อที่จะรักษาขนบไทยแต่ก็ต้องการทำให้ถูกต้องตามหลักศาสนาฮินดูด้วย

ไม่ยากครับ ใช้บายศรี 1 สำรับตามปกติ คือมีข้าวปากหม้อ กล้วยหั่นสาม(ตามยาว) 1 ลูก
แตงกวาหั่นสาม หมากพลู 1 คำ เปลี่ยนจากยอดไข่ต้มเป็นยอดดอกบัวเท่านั้นเองครับ ซึ่งถูกต้องตามขนบประเพณีโบราณ

ส่วนแมงดาในสำรับบายศรี ไม่ได้หมายถึงแมงดาจริงๆนะครับ แต่หมายถึง กาารตัดใบตองเป็นรูปตัวแมงดาเท่านั้นเองครับ ลองดูภาพจากตัวอย่างข้างบนครับ

ส่วนบายศรียอดไข่ต้ม ในปกติที่มีการบุชาตามประเพณีไทยก้ยังคงใช้ได้นะครับ ขึ้นอยู่กับว่า เทพเจ้าที่เราอัญเชิญอยู่ในระดับไหน ซึ่งปรึกษาครูบาอาจารย์และท่านผู้รู้ได้ เช่นการถวายเครื่องสังเวยแด่พระภูมิและเทพเจ้าระดับรองเป็นต้น ในกรณีที่เป็นเทพระดับสูงก็ใช้ตามข้างต้นที่กล่าวไว้แล้ว

จริงๆ บุชาเทพฮินดูจะบุชาแบบไทยโดยใช้บายศรีและเครื่องกระยาบวดก็ได้ครับ แต่ 1 สำรับเท่านั้นๆ ตามที่ชี้แจงไว้ข้างต้น ลองอ่านดูอีกรอบครับ
หรือจะบุชาด้วยเครื่องบุชาแบบอินเดียก็ไม่ผิดแต่ประการใด
#7
เสริมพี่กาลิทัสนิดนึงครับ  สายอย่างนี้เรียกว่า "โยคปัฏ"ครับ เป้นสายรัดที่พวกโยคีใช้ในการทำสมาธิโยคะในท่าต่างๆ
#8
ขอบพระคุณเช่นเดียวกันครับ

พอดีเขียนแบบง่ายๆ เลยไม่ทันได้ขัดเกลาภาษาและอ้างอิง ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ
#9
Quote from: อักษรชนนี on July 10, 2012, 13:22:25
ทางทีมงาน และสมาขิก www.HinduMeeting.com ต้องขอขอบพระคุณพี่หริทาสเป็นอย่างสูง

สำหรับความกรุณาที่แบ่งปันความรู้ และเนื้อหาสาระอันมีประโยชน์ต่อพวกเราชาว HM มาโดยตลอดนะครับ



ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ
#10

1.ปทานุกรม บาลี อังกฤษ สันสกฤต ฉบับ ของกรมพระจันทบุรีนฤนาถ  เป้นหนังสือเก่า หายากครับ แทบหาไม่ได้แล้ว

2.อภิธานศัพท์ สันสกฤต ไทย ของหลวงบวรบรรณรักษ์(นิยม รักษ์ไทย)เล่มนี้ของเก่า แต่มาพิมพ์ใหม่ ในปี2552 โดยสำนักพิมพ์แสงดาว เล่มใหญ่มาก(มีสองขนาด)แต่พิมพ์แบบรักษาต้นฉบับ จึงมีภาษาโบราณ และตัวเขียนแบบโบราณ อีกทั้งสำนวนท่านอลังการ จึงใช้ยากซักหน่อยครับ แต่มีภาษาอังกฤษอธิบายครับ

3.ฉบับ สันสกฤต -บาลี-ไทย- จีน น่าจะจัดพิมพ์โดยคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย วัดโพธฺ์แมนคุณารามครับ

แนะนำเล่มสองครับ เพราะเป็นเพียงเล่มเดียวที่มีวางขายในท้องตลาด

ส่วนพี่ใช้สามเล่มครับ

1.เล่มที่สองด้านบน
2.พจนานุกรมสันสกฤต -อังกฤษ ของ vaman Apte
3.พจนานุกรม สันสกฤต อังกฤษของ แมกส์ มึลเลอร์ครับ
#11
นี่เป็นเพลงสำหรับใช้อารตีพระคเณศ ในแคว้นมหาราษฏร์ครับ โดยเฉพาะในช่วงงานคเณศจตุรถี เรียกว่าเพลง "สุขกรตา ทุขหรตา"


ภาษาที่ใช่ เป็นภาษามาราฐี  หรือภาษาที่่ใช้ในแคว้นมหาราษฏร์ของอินเดีย

ในเพลงนี้จะแบ่งออกเป็นสองส่วนครับ

ส่วนแรกเป็นเพลงอารตี มีสามท่อน
ส่วนที่สองเป็นโศลก


เริ่มตั้งแต่ ฆาลิณโลฏาน....
(ภาษามาราฐี)

ตามด้วยโศลกสันสกฤต สองบท
คือ อจฺยุตมฺ เกศวมฺ รามนารายณํ.....(นำมาจาก อจฺยตาษฺฏกมฺ เป้นบทสรรเสริญพระนามพระวิษณุ)

และ บท กาเยน วาจา มนเสนฺทฺริไย วา (เป็นบท ถวายทุกสิ่งทุกอย่างแด่พระวิษณุ)

จบด้วยมหามนตร์  แต่เป็นมหามนตร์ ตามแบบอิทธิพลของนักบุญในมาราฐาซึ่งไม่เหมือนพวกฮะเร กฤษณะครับ

เพราะจะสวด ว่า ฮะเร ราม ฮะเรราม ราม ราม ฮะเรฮะเร ฮะเรกฤษณะ ....



บทนี้สันนิษฐานว่า ผู้แต่ง คือนักบุญ สมรฺถ รามทาส ผู้เป็นอาจารย์ของฉัตรปตีศิวาจีมหาราช ผู้ปกครอง แคว้นมหาราษฏร์

และนักบุญรามทาสผู้นี้เป็นนักบุญในไวษณวนิกาย ฝ่ายที่นับถือพระราม จึงมีบทสวดเกี่ยวกับพระวิษณุ หรือพระรามในบทอารตีพระคเณศครับ
#12

ลัฑฑู(สันสกฤต ลฑฺฑุก) หรือโมทกะ (สันสกฤต- โมทก) โดยเนื้อแท้เป็นขนมที่พระคเณศโปรดปรานเช่นเดียวกันครับ

แต่มีส่วนผสม และวิธีการที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น จะเรียกลัฑฑุกะว่า โมทกะ ก็ไม่ผิดครับ (ท่านอาจารย์บัณฑิต ลลิตบอกว่า การเรียกโมทก ว่าลัฑฑูนั้น นิยมเรียกกันทางภาคเหนือของอินเดีย และเป็นคำเรียกในภาษาฮินดี)  ผมไปแคว้นมหาราษฏร์  มีโมทก ทั้งแบบแห้งและมีไส้ ลัฑฑุเอง ก้มีหลายแบบ เช่น ลัฑฑุจากเม็ดบุนดี้ ลัฑฑุแป้งถั่วจะนา ติลโมทกะ คือ ลัฑฑุงา (เหมือนขนมงาพองของทางใต้)ฯลฯ โมทก ในภาคใต้ มีทั้งใส่ไส้มะพร้าวและนำไปทอดกับกี แบบนึ่ง แบบปั้นเป็นลูกกลมคลุกมะพร้าว(ที่ทมิฬนาฑุ เหมือนขนมต้มไทยเราเลยครับ) บางทีคนอินเดียจะเรียกโมทกว่า ลัฑฑุคนยาก เพราะมันใช้ส่วนประกอบที่มีราคาถูกกว่ากันครับ

สรุปแว่ ลัฑฑุกะและโมทกะมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นครับ

ฉะนั้น ถวายแบบไหนก็ได้ครับ ^^




ว่างๆผมจะลองไปหาสูตรทำลัฑฑุที่ไม่ยากเกินไป  พวกเราศาสนิกชนจะได้ทำขนมถวายท่านได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินที่แพงเกินไป  หรือบางท่านอาจไม่สะดวกที่จะมาซื้อที่กทมครับ
#13
ใช้แล้วครับ ขอบคุณสำหรับรูปนะครับ


เรื่องนี้ เป็นเรื่องสำคัญพอควรครับ เพราะในประเพณีพราหมณ์ไม่ว่าฝ่ายไหน ก็ถือว่าการออกพระนามพระเป็นเจ้าควรจะถูกต้อง เพราะพระนามได้บรรจุเอาพระคุณลักษณะต่างๆของพระองค์ (ดังนั้นจึงมีการสวด 108 นาม หรือ 1000 พระนาม เพื่อโน้มจิตให้เราเข้าถึงพระคุณลักษณะต่างๆ)

เรื่องนี้ที่ผมว่าสำคัญ เพราะท่านพระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าคณะพราหมณ์ โบสถ์พราหมณ์ ซึ่ง ถือว่าเป็นประมุขขององค์กรศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูแห่งประเทศไทย โดยตำแหน่ง กล่าวอย่างชัดเจน ว่า 1.พระรูปนี้คือพระสทาศิวปัญจมุขี
2.พระองค์ไม่ได้มีพระพรพิเศษเรื่องความรัก

ดังนั้นในเมื่อประมุขของศาสนา กล่าวขนาดนี้ ผมคิดว่าเราสมควรต้องรับฟังครับ

แต่เหตุที่ทางห้างไม่บอกกล่าว และเปลี่ยนพระนาม ผมคิดว่า เพราะผู้ประกอบพิธีที่ทางห้างใช้ประกอบพิธีมาตั้งแต่ต้น เรียกชื่อนี้ (ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีชื่อเสียงในแวดวงการจัดสร้างเทวรูป โดยท่านมีเทวสถานเอง ) อีกประการหนึ่ง เทวาลัยของทางห้างเป็นเทวาลัยเอกชน ทางองค์กรศาสนาก็ไม่สามารถจัดการอะไรได้ ทำได้แต่เพียงให้ความรู้ประชาชนเท่าที่จะทำได้เท่านั้นครับ

นี่เป้นเพียงตัวอย่างเล็กๆของความเข้าใจผิด เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ฮินดูในไทย ลองข้ามถนนจากฝั่งเซ็นทรัลเวิล์ไป จะเห้นสิ่งผิดปกติยิ่งกว่านี้อีกครับ คือใช้เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา(ในพุทธศาสนา)มาเรียกว่าพระแม่อุมา อยู่ในเทวาลัยหลังคารูปโดมแบบสถาปัตยกรรมเปอร์เซียหรือออตโตมัน และข้อห้ามต่างๆในการบูชาก็พิลึกพิลั่น เช่นห้ามถวายดอกบัว

ดังนั้นในเมื่อเพื่อนๆในนี้มีความรู้ และทราบความจริงแล้ว ก็ควรช่วยกันเผยแพร่ความเข้าใจที่ถูกต้องไปยังคนอื่นๆ จะเป็นการช่วยรักษาศาสนาที่เราเคารพรักไว้นานๆครับ
#14
ขอบพระคุณในคำพรครับ ขอพระเป้นเจ้าประทานพรเช่นกันนะครับ

ส่วนหนังสือของท่านอาจารย์คงไปซื้อมาอ่านในช่วงวันหยุดนี้ครับ
#16

ขออภัยด้วยนะครับที่ตอบช้า เพราะงานเยอะจริงๆ ส่วนงานตอนนี้ กำลังแปลบทสวดมนตร์ของเทพมณเฑียรและรวมบทพื้นฐานของทุกพระองค์ รวมถึงบทที่สำคัญเช่น รามรักษาสโตตร ฯลฯ ว่าจะทำถวายวัดครับ ส่วนศรีรามจริตมานัส เป็นงานระยะยาวตลอดชีวิต สบายใจก็แปล ไม่สบายใจก็หยุดครับ ก็แล้วแต่พระกรุณาธิคุณครับว่าจะเสร็จตอนไหน
และว่าจะทำวิจัยเกี่ยวกับฮินดูซักเรื่องเอาไว้ขอตำแหน่งวิชาการนะครับ 5555
#17
ธฺยาเนนาตฺมนิ ปศฺยนฺติ เกจิทาตฺ มานมาตฺมนา อเนฺย สำขฺเยน โยเคน กรฺมโยเคน จาปเร

บางคนเห็นอาตมาในตน(ความตรัสรู้) ด้วยฌาน บางคน เห็นด้วยตน(จิต) บางคน เห็นด้วยสางขยะโยคะ และบางคนเห็นด้วยกรรมโยคะ



ดังนั้น แต่ละคนก็ย่อมเกิดโอกาสเห็นพระเป็นเจ้าไปตามวิถีปฏิบัติและอนุสัยสันดานรวมทั้งวาสนาของตน ผู้มีปัญญาอาจเห็นพระเป็นเจ้าเป็นอบุคคลก็ได้  ส่วนผู้ปฏิบัติกรรมโยคะ หรือเป็นนักปฏิบัติก็อาจเห็นด้วยการปฏิบัติของตนเองซึ่งอาจเป็นพระเป็นเจ้าแบบบุคคลก็ได้

สมํ สรฺเวษุ ภูเตษุ ติษฺฐนฺตํ ปรเมศฺวรมฺ วินศฺยตฺสฺววินศฺยนฺตํ ยะ ปศฺยติ ส ปศฺยติ

ผู้ใดเห็นพระปรเมศวร อันดำรงอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลายสม่ำเสมอไม่เสื่อมสูญ แต่อยู่ในสิ่งที่เสื่อมสูญ ผู้นั้นได้ชื่อว่ามองเห็นแล้ว


ดังนั้น ผู้ใดเห็นพระเป็นเจ้าผู้ไม่เสื่อมสูญ แต่อยู่ในสิ่งเสื่อมสูญ(สรรพชีพ และไร้ชีพทั้งหลาย แม้แต่เทวรูปต่างๆ)ย่อมชื่อว่าเห็น  สิ่งอันเสื่อมสูญก็ย่อมเป็นเครื่องมือให้เราได้เห็นพระเป็นเจ้าได้ ดังนี้
#18
स्वामी सर्वत्र अस्ति चेत् किमर्थं सर्वे देवालयं गत्वा तं प्रार्थयन्ति इति बालकः मातरं पृष्टवान्

स्वामी सर्वत्र अस्ति चेत् किमर्थं सर्वे देवालयं गत्वा तं प्रार्थयन्ति इति बालकः मातरं पृष्टवान्


ขอยกคัมภีร์ภควัทคีตามาตอบนะครับ

ธฺยาเนนาตฺมนิ ปศฺยนฺติ เกจิทาตฺ มานมาตฺมนา อเนฺย สำขฺเยน โยเคน กรฺมโยเคน จาปเร

บางคนเห็นอาตมาในตน(ความตรัสรู้) ด้วยฌาน บางคน เห็นด้วยตน(จิต) บางคน เห็นด้วยสางขยะโยคะ และบางคนเห็นด้วยกรรมโยคะ



และ

สมํ สรฺเวษุ ภูเตษุ ติษฺฐนฺตํ ปรเมศฺวรมฺ วินศฺยตฺสฺววินศฺยนฺตํ ยะ ปศฺยติ ส ปศฺยติ

ผู้ใดเห็นพระปรเมศวร อันดำรงอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลายสม่ำเสมอไม่เสื่อมสูญ แต่อยู่ในสิ่งที่เสื่อมสูญ ผู้นั้นได้ชื่อว่ามองเห็นแล้ว



(ศรีมัทภควัทคีตา ฉบับ ท่าน ศาสตราจารย์ รตท.แสง มนวิทูร แปล)


สำหรับผม เหมือนที่ท่านสวามีรามกฤษณะบรมหงศ์ว่าไว้ คือ แม้เราจะทราบว่า นมโคอยู่ในตัวโคทั่วไป เราก็ไม่เฉือนโคเพื่อจะเอานม ผู้เห็นพระเจ้าที่ซ่านไปในทุกสิ่งย่ิอมฝึกฝนทิพยจักษุอินทรีย์จนแก่กล้า ท่านเหล่านั้นย่อมไม่จำเป็นต้องกระทำการบูชาใดๆหรือไปสักการะี่ที่สถานใดๆอีก เพราะท่านประจักษ์ว่าสวภาวะของท่านรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ส่วนท่านที่มีภูมิด้อยลงมาก็อาจสามารถทำ มานสปูชา หรือการบูชาโดยไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งของ แต่เป็นการบูชาด้วยใจ ส่วนเราท่านซึ่งเป็นปุถุชน ทิพยจักษุใดๆก็ไม่มี ไม่ได้ฝึกฝนทางโยคะ ย่อมต้องอาศัยการไป "ทรรศัน" หรืออาศัย พระรูปต่างๆตามเทวสถานเพื่อน้อมนำให้เกิดภักติขึ้นภายในใจก่อน ซึ่งการบ่มเพาะภักตินี้เท่ากับการตั้ง อีศวรปณิธานะ หรือการตั้งจิตมุ่งมั่นต่อพระเจ้า ตามหลักโยคะ อันเป็นฐานรากของสมาธิ ดังนั้น แม้ว่าจะทราบด้วยหลักการตามคัมภีร์แล้วว่าพระเป็นเจ้าอยู่ในทุกสิ่งก็ตาม ก็เป็นแต่การทราบด้วยสมอง ต่อเมื่อทราบด้วยใจแล้ว เห็นด้วยทิพยจักษุของตนอันฝึกดีแล้ว การไปวัดวาอาจเว้นเสียก็ได้  แต่บรรดามุนี และท่านนักบุญทั้งหลายที่เราเชื่อว่าท่านได้บรรลุแล้วในอดีต ก็ยังคงไปยังเทวสถานประกอบกรณียะต่างๆเช่นการสักการะบูชาหรือ สงเคราะห์สาธุชนทั่วไป เพราะท่านเห็นว่าการทำเช่นนั้น เป็นการปฏิบัติอันงามตามจารีตที่ทำต่อกันมา

เหมือนในรามจริตมานัส ท่านสวามีตุลสีทาสก็กล่าวไว้ว่า การไปชุมนุม(สัตสังฆ์)นั้น (ซึ่งโดยปกติชุมนุมตามเทวสถาน) เป้นโอกาสที่จะได้พบคนดี การไปชุมนุมย่อมเกิดบุญกุศลและผลนานาประการ


ดังนั้น ผมจึงยังคิดว่าการไปเทวสถาน หรืออย่างๆน้อยๆการบูชาพระด้วย ปฏิบัติบูชาเป้นสิ่งควรกระทำต่อไปครับ
#19
เรื่องนี้เหมือนผมจะเคยเขียนไว้แล้วครับ รบกวนน้องคิวช่วยหามาแปะหน่อยนะครับ


พอดีเพิ่งไปวัดพูจำปาสักมา ก็พบเทวรูปพระตรีมูรติ ในแบบที่คล้ายๆของที่เวิลด์เทรด ซึ่งประกอบด้วยเทวรูปสามองค์ พระสทาศิวะปัญจมุขีอยู่กลาง พระพรหม และพระนารายณ์ ย่อลงไหว้ด้านข้าง จึงจะเรียกว่าพระตรีมูรติครับ
#20

เข้าใจว่าพระคเณศที่ทรงพญานาค  หากอยู่ในท่ายืน หรือร่ายรำ เหยียบศีรษะนาคไว้
เป็นการเลียนแบบพระกฤษณะใน ตอนที่พระกฤษณะปราบกาลิยะนาคครับ
การที่มีผู้สร้างพระคเณศในปางนี้ เป็นการสร้างตามความเชื่อ จากคัมภีร์ พรหมไววรตปุราณะ ที่กล่าวว่า พระกฤษณะอวตารมาเป็นพระคเณศ บุตรของพรแม่ปารวตี โดยการบำเพ็ญพรตของพระปารวตีครับ เพราะปุราณะเล่มนี้เป็นปุราณะในฝ่ายไวษณวนิกายที่นับถือพระวิษณุครับ
#23
โอ้ว์ ดีครับที่มีงานวิชาการในลักษณะนี้มาลงไว้  ถ้าคุณอินทุศีตาลาทำรายงานขนาดนี้ได้ตอนปีสอง เก็ตเอโลด 555
#25
 ผมคิดว่าเขาจะทำให้เป็นรูปพระโพธิสัตว์ตาราครับ  แล้วเลียนแบบศิลปทเบตครับ
#26
ผมคิดแบบเดียวกับคุณอินทุสีตลาอ่ะครับ  เท่าที่ผมทราบบ  ไม่เคยเห็นธรรมเนียม การนำดอกไม้ที่ทัดศีรษะไปบูชาพระ แต่เคยเห็นที่เขาเอาดอกไม้ที่บูชาแล้วมาทัดศีรษะหรือประดับตัวเป้นมงคล  จริงๆน่าจะหาข้อมูลเรื่องนี้ได้จาก

1. หนังสือเรื่องดอกบัวกับศาสนาพราหมณ์ฮินดู จำชื่อตรงๆไม่ได้อ่ะครับ อยู่ในเทวสถาน น่าจะเป้นอาจารย์จิรพัฒน์ ผู้เขียน

2. บทละครสันสกฤต ซึ่งบางเรื่องมีแปลไทยนะครับ ลองหาในประวัติวรรณคดีสันสกฤต หรือไปอ่านงานแปลบทประพันธ์ของกาลิทาสดูครับ

3.ดูภารตนาฏยัมดูครับว่าเขามีการแสดงที่แสดงอาการถวายดอกบัวไหม ทำอย่างไร

4.ถามพราหมณ์โลดฮะ
#27

อันนี้ผมขอเสริมจากท่านที่มาตอบนะครับ ไม่ว่าจะเป็นคุณอินทุสีตลา หรือน้องคิว เพราะได้ตอบในแง่ปฏิมานวิทยาไปแล้ว  ผมเห็นแวบแรกก็คึิดว่าเป็นพระกฤษณะแน่ๆครับ

ที่ผมอยา่กเสริมคือ บริบทที่น่าจะทำให้พิจารณตัดสินว่าเป็นพระกฤษณะได้อีก คือ สถานที่ตั้งเทวรูปนั้น คือ วัดพระปฐมเจดีย์  ซึ่งอยู่ในจังหวัดนครปฐม

จังหวัดนครปฐมเป็นเมืองโบราณนะครับ เรารู้จักกันดีในนาม "ทวารวดี"  จริงๆในจารึกเก่า เขาเรียก นครปฐม ว่า  "นครพระกริส(น่าจะเขียนแบบนี้  จำไม่ได้ครับ คำเก่า)" คู่กับนครชัยศรี นครพระกริส ก็คือ นครพระกฤษณ์  หรือ นครทวารวตี หรือทวารกา อันเป็นเมืองของพระกฤษณะนั่นเอง  เพราะในสมัยโบราณ เข้าใจว่า ทะเลยังไม่ร่นถอยไปถึงในปัจจุบัน นครปฐมคงจะเป็นเมืองท่า  เช่นเดียวกับ ทวารกา หรือ ทวารวตี นะครับ

คิดว่าผู้สร้างเทวรูป คงจะได้เค้าลาง มาจาก ตำนาน เรื่องนครพระกริส จึงสร้างเทวรูปขึ้น และเข้าใจว่า สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงกลางๆ ประมาณ ร.5-6 เพราะ การปฏิสังขรณ์สำคัญขอองค์พระปฐมเจดีย์ มีในช่วงเวลานั้น  ถ้าให้ผมสันนิษฐาน ผมเข้าใจว่า ผู้สร้างน่าจะสร้างในราว รัชสมัยของล้นเกล้า ร.6 ซึ่งพระองค์ มีความสนพระทัยเรื่องตำนานเก่าๆ และเรื่องเทพเจ้าของทางฮินดูอยู่มาก
#28
วันที่ 12 เป้นวัน รามนวมี หรือวันประสูติของพระรามด้วยครับ มีการบูชาในเวลาเที่ยงครับบบ  ฝากด้วยย
#29
Quote from: โอม กาลี โอม on March 21, 2011, 15:31:05
Quote from: หริทาส on March 21, 2011, 15:24:45
Quote from: ۞ Musika ۞ on March 20, 2011, 22:09:07
แง่ว...ศิวลึงค์มี 2 องค์ค่ะ...-*-


ต้องหามาเพิ่มหนึ่งองค์ หรือเอาออกไป หรือเอาไปให้คนอื่นองค์นึงครับ

ถ้า เก็บไว้หนึ่งองค์ล่ะครับ คือ ไม่ได้ นำขึ้่นประดิษฐานบนหิ้งที่บูชา


แล้วจะเก็บไว้ในฐานะของประดับหรืออย่างอื่นอย่างนี้หรือครับ คือในโศลกบอกว่า คฤเห หมายถึงในบ้านเรือนนะครับ ยังไงก็อยู่ในบ้านเรานั่นแหละครับ แต่จะเอาไปไว้ห้องอื่นอาจเป้นทางลักไก่ แต่ทำตามคัมภีร์ดีแล้วครับ หรือไม่ถ้าเสียดายก็หาองค์เล็กๆมาเพิ่มครับ
#30
Quote from: อินทุศีตาลา on March 19, 2011, 15:03:33
ทั้งนี้ สงสัยมานานแล้วค่ะ ขออาราธนาอาจารย์หริทาส อธิบายเรื่องของ วาสตุเทวตา ด้วยค่ะ ว่าคือใคร ทำหน้าที่ใด มีรูปลักษณ์เป้ฯอย่างไร

เข้าใจว่าเวลาไปทำพิธีที่วัด พราหมณ์ท่านก็บูชาเทวดานี้ด้วยทุกครั้งใช่ไหมคะ

ทั้งนี้ชื่อของมณฑลต่างๆถูกบ้าง ผิดบ้าง (ผิดมากกว่าถูก55555) ข้างบนนี้ ไพเราะมากค่ะ หนูจำ (แต่ไม่ได้จด น่าเคาะกระโหลกตัวเองจริงๆ)มาจากคำอธบายของบัณฑิตในวัดเทพมณเฑียรซึ่งกรุณาให้ข้อมูลอย่างไม่เบื่อหน่ายเลย เลยอยากถามอาจารย์หริทาส ดังนี้ค่ะ

1.มณฑลเหล่านี้เมื่อมียัชญพิธีต้องทำทุกอัน ทุกครั้ง ใช่ไหมคะ
2.แล้วแต่ละงานจะมีมณฑลเหมือนแบบนี้หรือจะต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานคะ
3.พราหมณ์เท่านั้นที่สร้างมณฑลได้ใช่หรือไม่คะ (แค่อยากรู้เฉยๆนะคะ ไม่ได้อาจหาญจะทำแต่อย่างใด 5555555)
4.มณฑล กลัศ และมูรติ มีความสำคัญต่อการบูชาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และอะไรสำคัญกว่ากัน อย่างไรคะ

ขอประทานโทษที่หนูถามเยอะนะคะ แต่คิดว่าคงเป็นความรู้ของหนูและทุกท่านที่ผ่านมา อันจะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อความเข้าใจอันดีและถูกต้องเกี่ยวกับพิธีกรรมในศาสนาฮินดูค่ะ

กราบขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ

ตอบครับ
1และ 2  ในการบูชาตามหลักศาสนาฮินดูอย่างเป็นพิธ๊การและครบถ้วน จะต้องทำบูชา เทวดาหมวดปัญจางคะ คือที่กล่าวไปแล้ว ได้แก่ คเณศ เคารี กลัศพระวรุณ พระโษฑศมาตฤกา และพระสัปตมาตฤกาครับ อันนี้ไม่ว่าพิธีไหนๆก้มักทำ แต่เนื่องด้วยเวลาและข้อจำกัดต่างๆ บางครั้งก็เหลือแค่การบุชาพระคเณศเคารีและพระวรุณครับ
ส่วนมณฑลอื่นๆ จะทำใน ยชฺญศาลา หรือ มณฑป ชั่วคราว ที่สถาปนาไว้เฉพาะ เฉพาะเวลาที่มีพิธี ยชฺญ หรือ พิธีใหญ่ๆสำคัญเท่านั้น
และมณฑลประธาน จะเปลี่ยนไปตามงานครับ เช่นงานบุชาพระศิวะจะเป้น ทวาทศชโยติลิงค์ หรือ ชโยติลิงค์แบบอื่นๆ ถ้างานอื่นก็เปลี่ยน บางงานก็เป็นกุณฑ์ ที่บุชาไฟก็ไได้ครับขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน แต่มณฑลอื่นๆก้ตามนั้นครับ
3มณฑลเหล่านี้ ทำไว้ก่อนก็ได้ครับโดยคนที่มีความรู้ก็ได้ แต่โดยมากพราหมณ์จะทำ เพราะท่านเหล่านั้นชำนาญและมีความรู้ที่จะอย่างถูกต้อง
ครับ
4สมัยโบราณศาสนาฮินดูไม่มีเทวรูปนะครับ บูชากันในลานนวดข้าว ในเวลาต่อมาก็มีสิ่งแทนคือมณฑลและกลัศ ซึ่งคงมีมาในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ส่วนการบุชามูรติหรือเทวรูปมีมาทีหลังครับ ถ้าเราไปงานที่จัดตามแบบพระเวทโบราณ เขาไม่มีเทวรูปในพิธีนะครับ ในปัจจุบันก็สำคัญเหมือนๆกันนั่นแหละครับ แต่การทำมณฑลบูชาออกจะยุ่งยากและมีนัยยะสำคัญบางอย่าง ส่วนเทวรูแนั้น เน้นการประปัตติหรือการปรนนิบัติเสวา รับใช้มากกว่าการทำบูชาตามแบบอื่นๆครับ เพราะได้จำลองลักษณะแบบุคคลเพื่อให้ศาสนิกชนได้สักการะและปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด
#31
Quote from: ۞ Musika ۞ on March 20, 2011, 22:09:07
แง่ว...ศิวลึงค์มี 2 องค์ค่ะ...-*-


ต้องหามาเพิ่มหนึ่งองค์ หรือเอาออกไป หรือเอาไปให้คนอื่นองค์นึงครับ
#32
นอกจาก ทวาทศ....แล้ว บรรดามณฑลต่างๆนั้น จะทำในทุกพิธี "ยชฺญ" ครับ เรียกว่า ยัชญมณฑล  ไม่ว่าจะทำพิธียัชญะไดก็ต้องบูชามณฑลเหล่านี้ทั้งหมดครับและต้องสถาปนา ยัชญศาลา ซึ่งทางวัดใช้เสา เป้นเขตยัชญศาลา รายละเอียดต่างๆของพิธีเดี๋ยวผมจะนำมาเล่าในวันหลังนะครับ
#33
Quote from: อินทุศีตาลา on February 25, 2011, 23:59:51


มณฑลสำหรับเทวดาเจ้าที่


อันนี้เป็นมณฑล สำหรับ "วาสตุเทวตา" ครับ หรือเทวดาประจำสิ่งต่างๆ



ลักษมีมณฑล


โดยศัพท์เทคนิคเรียกว่า ฆฤตสัปตมาตฤกา หรือพระแม่ลักษมี 7 องค์ ถูกแล้วครับ




ทวาทศชโยติลึงก์มณฑล

เรียกเต็มๆว่า ทฺวาทศชฺโยติลิงฺคสรฺวโตภทฺรปีฐ มณฑล หรือมณฑลพระศิวลึงค์ 12 องค์ อันนี้เป้นมณฑลประธานครับ ในพิธีครับ เพราะเราบูชาพระศิวะครับ
#34
ผมขออนุญาตคุณอินทุศีตลา เพิ่มเติมและแก้ไขข้อมูลเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้นนะครับ

Quote from: อินทุศีตาลา on February 25, 2011, 23:56:07


โลกบาลมณฑล

อันนี้เรียกว่า  เกษตรปาลมณฑล คือมณฑลที่สถิตเทพเจ้าหมวดที่เรียกว่าเกษตรปาล หรือพวก เจ้าที่เจ้าทาง ผู้ดูแลพื้นที่ต่างๆอ่ะครับ



นวเคราะห์มณฑล




ด้านที่เป็นตารางสีเหลืองแดงคือมณฑลสำหรับพระคเณศและพระอุมา 16 ปาง (โษฑสมาตริกา?) ส่วนอีกด้านคือวรุณมณฑล

อันที่เป็นสวัสดิกะด้านบนนั่นเป็นพระคเณศครับ ส่วนสามเหลี่ยมสีแดงเป็นพระแม่เคารีฮะ เรียกว่าคเณศามพิกา(คเณศ+อัมพิกา)
ส่วนตาราสงเหลืองๆแดง คือพระแม่โษฑศมาตฤกาหรือพระแม่ 16 พระองค์ครับ อีกข้างวรุณมณฑลถูกต้องครับ



ตรีศักติมณฑลทั้ง 64 ปาง

อันนี้เป็นตรีศักติมณฑล ประธานคือกลัศพระลักษมี พระสรัสวตีและพระกาลี และโยคินี ทั้งหลายครับตามตารางต่างๆ


#36
ขอน้องอักษรชนนี ช่วยแก้ไขข้อมูลให้พี่นิดนึงครับ

พอดีพิมพ์ผิดไป

การบุชาพระคเณศด้วยใบไม้ 21 ใบ เรียกว่า

"เอกวึศตีปตฺรปูชา" (เอกะวิมศะติปัตระปูชา)

ขอบคุณครับ
#37
เรื่องพระเทวีนี้ ก็คงเป็นอย่างที่น้องอักษรชนนีพูดอ่ะครับ ยังไงไว้จะไปเช็คกับท่านอาจารย์ดูนะครับว่าหมายถึงอย่างไร

อย่างเรื่องพระคเณศสามองค์นี้คนไทยเราชอบตั้ง แบบมีประธานมีองคืรองไรงี้ ซึ่งผิดตามหลักการที่ระบุไว้ในคัมภีร์ครับ และอย่างที่บอกว่าศาสนาฮินดูนั้นมีหลักการและได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาโดยตลอด ฉะนั้นก็เป้นศาสนาที่มีเหตุมีผลและมีหลักมีแนวทางไม่ใช่สะแปะสะปะครับ
#38
ข้อห้ามเกี่ยวกับจำนวนของเทวรูปและวัตถุศักดิ์สิทธิ์ข้างต้นนั้น จะบูชามากกว่าหรือน้อยกว่าที่กำหนดก็ได้ ครับ แต่ห้ามบุชาในจำนวนที่กำหนดไว้
#39
มีหลายท่านถามมาเรื่องการบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือ ใบไม้ทั้ง 21 ชนิด ว่าตกลงห้ามบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือบุชาได้กันแน่


ทั้งนี้ผมขอตอบตามความรู้ที่มีว่า

การบูชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ(เรียกว่า "เอกวึศตีปตฺรปูชา" (เอกะวิมศะติปัตระปูชา))
เป็นความนิยมของบางท้องถิ่นในอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นมหาราษฏร์ ที่มีการบูชาพระคเณศอย่างแพร่หลาย และทางอินเดียใต้บางแห่ง ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป  แต่พอดีว่าหนังสือหรือข้อมูลเกี่ยวกับการบุชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ เป้นข้อมูลแรกๆอันหนึ่งที่เราได้รับ เกี่ยวกับการบูชาตามแบบอินเดียเราจึงได้กระทำตามๆกันว่า ซึ่ง
ตามที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้น
การบูชาพระคเณศมักจะบุชาด้วยใบไม้สามอย่าง คือ
1.ทูรวา หรือหญ้าแพรก ซึ่งถือเป้นใบไม้ที่พระคเณศโปรดที่สุด
2.ใบศมี
3.ใบมะตูม

ส่วนใบกระเพราห้ามถวายบูชา

ผมขอยกโศลกสันสกฤตในปุราณะมาเป็นหลักฐานดังนี้

นากฺษไตรรฺจเยทฺวิษณุมฺ น ตุลสฺยา คณาธิปมฺ
น ทูรฺยา ยเชทฺ ทุรคำ วิลฺวปตฺเรศฺจ ภาสฺกรมฺ
ทิวากรํ ทุนฺตหีไนรฺวิลฺลปตฺระ สมรฺจเยตฺ

"พึงจดจำไว้ว่า ไม่บูชาพระวิษณุด้วยอักษัต(ข้าวสาร/ข้าวสารย้อมด้วยผงจันทน์ที่ใช้ในพิธี) ไม่ถวายตุลสีแด่พระคณาธิปติ(พระคเณศ)
ไม่ถวายทูรวา(หญ้าแพรก)แด่พระแม่ทุรคา ไม่ถวายใบพิลวะ (มะตูม )แด่พระภาสกร (พระอาทิตย์/สุริยเทพ)"

ข้อห้ามนี้ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปครับ พราหมณ์บัณฑิตทั้งหลายแห่งวัดเทพมณเฑียร ถือปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด


ข้อห้ามอื่นๆที่พึงทราบและปฏิบัตินะครับ ขอยกโศลกสันสกฤตมาดังนี้

คฤเห ลิงฺคทฺวยํ นารฺจฺยํ คเณศตฺริตยํ ตถา

ศงฺขทฺวยํ ตถา สูรฺโย นารฺจฺยํ ศกฺติตฺรยํ ตถา
ทฺเว จกฺเร ทฺวารกายาสฺตุ ศาลครามศิลาทฺวยมฺ
เตษำ ตุ ปูชเนไนว อุทเวคํ ปฺราปฺนุยาทฺ คฤหี

ในบ้านไม่พึงบูชา พระศิวลึงค์สององค์ และ พระคเณศสามองค์
สังข์ 2 ขอน  พระอาทิตย์ 2 องค์ พระแม่ศักติ 3 องค์
จักร 2 องค์ หินทวารกาศิลา 2องค์  และพระศาลิครามศิลา 2 องค์
คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ผู้ไม่ปฏิบัติตามนี้ ย่อมได้รับความเดือดร้อนรำคาญ

(กฏนี้คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนต้องปฏิบัติตามเว้นแต่นักบวช คือ สันยาสีไม่ต้องถือปฏิบัติตามนี้)


อีกกฏที่สำคัญมากครับ คือกฏเรื่องการตั้งเทวรูป

คฤเห จลารฺจา วิชฺเญยา ปฺราสาเท สฺถิรสํชฺญิตา
อิตฺเยเต กถิตา มารฺคา มุนิภิะ กรฺมวิทิภิะ

ในบ้านพึงประดิษฐานและบูชาเทวรูปที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (จลมูรติ) ในปราสาท(วัดหรือมณเฑียรสถาน)พึงประดิษฐานเทวรูปให้มั่นคง(สถิร/เคลื่อนย้ายไม่ได้) หนทางนี้ได้แสดงไว้โดยบรรดามุนีทั้งหลายผู้ทรงความรู้ในกรรม(วิธีปฏิบัติ)

นอกจากนี้เทวรูปในบ้านไม่ควรใหญ่เกินไป บางตำราว่า เกินหนึ่งศอกของเจ้าของ อันนี้ขอไปค้น่อนนะครับ แต่ถือกันว่าเทวรูปในบ้านถ้าใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญได้เช่นเดียวกัน
#40
ตามนั้นเรยครับ  อย่าลืมใส่เสื้อที่เละสีไปด้ววยนะครับ (ที่อินเดีย เค้าใส่ชุดขาวเล่นโฮลี่กันครับ)