Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - joni_buddhist

#1
ขอความช่วยเหลือหน่อยครับ คือผมอยากได้เทวรูปพระแม่สรัสวตีและพระแม่ลักษมีขนาดบุชาโดยจะเป็นเนื้อดิน หรือเรซิ่นหรือใยหินก็ได้ครับ
โดยมีงบจำกัดที่ไม่เกินองค์ละ600-800บาท/องค์ครับ ผมจะไปดูที่ร้านไหนตรงห้างอินเดียเอมโพเรียมดีครับมีแนะนำไหมครับ เพราะต้องการเทวรูปพระแม่สรัสวตี2องค์ให้บุคคลสำคัญของผม และพระแม่ลักษมีอีกองค์ไว้บูชาเอง เพื่อนๆๆพอจะแนะนำร้านไหนที่มีราคาเบาๆตามงบที่จัดบ้างครับ ขอความช่วยเหลือด้วยครับ
ด้านล่างรูปพระนารายณ์ที่ผมบุชาอยู่ครับ
#2
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสถึงการตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ ที่ได้ผลอย่างแท้จริง และถูกต้องตามหลักศาสนา ไว้ดังนี้

"ภิกษุ ทั้งหลาย!บุตร ยกมารดาบิดาขึ้นวางไว้บนบ่าทั้งสองข้าง ปฏิบัติท่านทั้งสองด้วยการอบกลิ่น นวด อานน้ำ ท่านทั้งสองได้ถ่ายอุจจาระ และ ปัสสาวะ อยู่บนบ่าบุตรนั้นตลอดร้อยปี แม้อย่างนั้น ก็ยังไม่ชื่อว่าได้ตอบแทนคุณของมารดาบิดา ได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย! อีกประการหนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดา ไว้ในราชสมบัติในแผ่นดินใหญ่ มีแก้ว ๗ ประการ แม้อย่างนั้น ก็ยังไม่ได้ชื่อว่า บุตรได้ตอบแทนคุณของมารดาบิดาได้เลย เพราะว่ามารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย

ส่วน บุตรคนใด ทำมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้มีศรัทธามั่นคง ทำมารดบิดาผู้ทุศีล ให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล ทำมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้มีการบริจาคทานเป็นนิจ ทำมารดาบิดาผู้ไม่มีปัญญา ให้มีปัญญาเป็นเครื่องนำทางที่ถูกต้องได้

ภิกษุทั้งหลาย!ด้วยเหตุการตอบแทน ๔ ประการนี้ ชื่อว่าบุตรได้ตอบแทนพระคุณของมารดาบิดาแล้ว."


ปฐมปัณณาสก์ ๒๐/๗๐


พระ พุทธดำรัสตอนนี้ ให้แง่คิดแก่ลูก ๆ ทุกคนว่า การเลี้ยงพ่อแม่ที่ถูกต้อง และครบถ้วนนั้น จะต้องเลี้ยงทั้งรูปธรรมและนามธรรม กล่าวคือ

การ เลี้ยงด้วยรูปธรรม มีเสื้อผ้า อาหาร ที่พักผ่อนหลับนอน ยาบำบัดโรค และเครื่องอำนวยความสุขต่าง ๆ นั้น เป็นการถูกต้องในแง่หนึ่ง แต่ยังไม่ชื่อว่าสมบูรณ์ครบถ้วน

การ เลี้ยงด้วยนามธรรม มีการให้ท่านมีศรัทธา รักษาศีล บำเพ็ญทาน เจริญภาวนา เป็นการเลี้ยงที่สมบูรณ์ครบถ้วน เพราะทำให้ท่านมีที่พึ่งทั้งชาตินี้และชาติหน้า กล่าวคือ

ใน ชาตินี้ท่านก็จะมีชีวิตอยู่เป็นสุขทั้งกายและใจ คือมีทั้งอาหารกายและอาหารใจ เมื่อท่านคิดถึงความตาย ท่านก็จะอุ่นใจว่าได้ทำที่พึ่ง คือ ทานศีลและภาวนาไว้แล้ว

ดังนั้น ลูกที่ดีจึงควรหาทาง ให้พ่อแม่ได้รับทั้งอาหารกายและอาหารใจด้วย จึงจะถือว่าเป็นการตอบแทนพระคุณของท่านได้หมดสิ้นตามพุทธวจนะ

ที่มา http://buddhakhun.org/main//index.php?topic=1728.0
#3
อกุศลกรรมบถ ๑๐

จุนทะ !
ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง
ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง
ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง

จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง
เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้เป็นผู้มีปกติทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต

(๒) เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของมิได้ให้
คือ วัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่นที่อยู่ในบ้านหรือในป่าก็ตาม
เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย

(๓) เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม (คือประพฤติผิด)
ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง
หรือญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม
โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย)
เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง.

.............

จุนทะ !ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง
เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จ
ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี
ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี
อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า "บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร
ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น" ดังนี้, บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าว
ว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น,
เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่
อามิสไรๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่

(๒) เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้น
เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกันให้แตกกัน หรือ
ทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจ ยินดี เพลิดเพลิน
ในการแตกกันเป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก

(๓) เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย กล้าแข็ง
แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ
ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น

(๔) เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาลไม่กล่าวตามจริง
กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย
ไม่ถูกกาละเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นไม่ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง.

................

จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา(ความโลภเพ่งเล็ง)
เป็นผู้โลภเพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์ แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า
"สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา" ดังนี้;

(๒) เป็นผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจเป็นไปในทางประทุษร้ายว่า
"สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้จงเดือดร้อนจงแตกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ
อย่าได้มีอยู่เลย" ดังนี้ เป็นต้น;

(๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัสสนะวิปริตว่า"ทานที่ให้แล้ว ไม่มี(ผล),
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี(ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี(ผล),
ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี,
มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี, โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี,
สมณพราหมณ์ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้วโดยชอบถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกอื่นด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี" ดังนี้.

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง.

จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐.

จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านี้
ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว
แม้จะลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้,
แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้;
แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้,
แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้;
แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้,
แม้จะไม่จับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้;
แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้,
แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้;
แม้จะไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้,
แม้จะไม่ไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้;
แม้จะลงน้ำในเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้,
แม้จะไม่ลงน้ำเวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
จุนทะ ! เพราะเหตุว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐
ประการเหล่านี้ เป็นตัวความไม่สะอาด
และเป็นเครื่องกระทำความไม่สะอาด.

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วย
อกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้เป็นเหตุ
นรกย่อมปรากฏ กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ
เปรตวิสัยย่อมปรากฏ หรือว่าทุคติใดๆ แม้อื่นอีกย่อมมี.

ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓ – ๒๘๙/๑๖๕.
#4
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า


"ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อย ๆ
พึงทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่า ความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข"


เนื้อความแห่งพระคาถานั้น มีว่า ถ้าบุรุษพึงทำบุญ ไซร้ ไม่พึงงดเว้นเสียด้วยเข้าใจว่า

"เราทำบุญครั้งเดียวแล้ว, พอล่ะ ด้วยบุญเพียงเท่านี้"

ดังนี้ แต่พึงทำบ่อย ๆ แม้ในขณะทำบุญนั้น พึงทำความพอใจ คือ ความชอบใจ ได้แก่ ความอุตสาหะในบุญ นั่นแหละ

ถามว่า"เพราะเหตุไร?"

วิสัชนา ว่า"เพราะว่า ความสั่งสมบุญ ให้เกิดสุข อธิบายว่า เพราะว่าความสั่งสม คือ ความพอกพูนซึ่งบุญ ชื่อว่าให้เกิดสุข เพราะเป็นเหตุนำความสุขมาให้ในโลกนี้และโลกหน้า"

(จาก...พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

ที่มา http://buddhakhun.org/main//index.php?topic=13590.0