Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - อินทุศีตาลา

#1
มีข่าวมงคลมาฝากทุกท่านค่ะ


สายยัชโญปวีต ถือเป็ฯคเรื่องหมายสำคัญที่สุดของผู้ถือเพศเป็นพราหมณ์ ตามประเพณีแล้วเมื่อได้รับการสวมสายมงคลนี้ในฐานะพราหมณ์แล้วจะไม่ถอดออกจากร่างกายเลยตลอดทั้งปี เปลี่ยนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นซึ่งถือเป็นวาระพิเศษยิ่ง

ในปี พ.ศ.2554 นี้ ได้มีการจัดพิธีเปลี่ยนสายยัชโญปวีตตามแบบประเพณีอินเดียเหนือขึ้น โดยเหล่าบัณฑิตจากเทวสถานเทพมณเฑียรเป็นผู้กระทำพิธีเปลี่ยนสายยัชโญปวีตของท่านเอง ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์พิธีศักดิ์สิทธิ์นี้อย่างใกล้ชิด โดยจะสามารถเข้าร่วมพิธีชำระบาปด้วยการอาบน้ำมงคลทั้ง 10 ประการ รับพรแรกอันศักดิ์สิทธิจากเหล่าพราหมณ์ผู้เพิ่งเปลี่ยนยัชโญปวีตใหม่ซึ่งถือว่าบริสุทธิ์ที่สุดในรอบปี ผูกด้ายมงคลที่ข้อมือ ณ ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง

รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 086 300 1691


#2
ดิฉันปรารถนาจะได้รูปพระพรหมมีงามๆสัก 2 - 3 ภาพ คิดว่าในจักรภพนี้คงไม่มีใครมีคลังภาพงามๆ หายากๆ ได้เท่าคุณศรีมหามารตีอีกแล้ว เลยอยากรบกวนด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ
#3


1  เชิญร่วมประกวดวาดภาพ " พระพิฆเนศผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล "  ระดับอุดมศึกษา ผู้ชนะเลิศ 3 ท่าน
  ได้รับของที่ระลึกจากโบสถ์เทพมณเฑียร และผลงานที่เข้ารอบ 32 ภาพ จะนำมาแสดงในงาน  คเณศจตุรถี   
ส่งภาพผลงานได้ที่  ร้านอีศ (เจเจมอล  ชั้น 2) หรือ  email : piyanat_s@yahoo.com
                        หมดเขตส่งผลงาน 20 สิงหาคม 54
                หมายเหตุ : ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดจะนำมาแสดงในเว๊ปไซค์ : ปินากิน
   
2  เชิญร่วมประกวดภาพถ่าย "ด้วยแรงศรัทธา "สำหรับบุคคลทั่วไป  ในงานพิธี คเณศจตุรถี  มงคลมูรติสมภพ       
      กำหนดส่งภาพ หลังงานพิธีคเณศจตุรถี   วันที่ 6-15 กันยายน 54  ผู้ชนะการประกวด 3 ท่าน
                        จะได้รับของที่ระลึกจากโบสถ์เทพมณเฑียร 
       ส่งภาพได้ที่ กลุ่มปินากิน  หรือ ร้านอีศ เจเจ มอลล์ ชั้น 2 หรือ email : piyanat_s@yahoo.com 

          ติดต่อกลุ่มปินากิน 088-1879524 , 085-9042801,086-8889294

#4
สวัสดีค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความชื่นชมกับห้องใหม่ของบอร์ดเรานะคะ ขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ห้องที่อัดแน่นไปด้วยสาระเช่นนี้ขึ้นมาค่ะ

ดิฉันใฝ่ใจจะเข้ามาชวนทุกท่านในห้องนี้คุยอยู่นานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เข้ามาเสียทีจนแล้วจนรอด วันนี้ฤกษ์ดีค่ะขอเริ่มต้นด้วยเรื่องอันว่าด้วยพระอาทิตย์ซึ่งจัดเป็นเทพเจ้าพระองค์สำคัญที่เคยมีบทบาทในสมัยโบราณทั้งในชมพูทวีปและดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา แม้ในปัจจุบันท่านก็ยังคงเป้นเทพเจ้าที่ได้รับความเคารพนับถืออยู่มากพอสมควรในอินเดีย ทว่าในบ้านเรากลับน้อยลงไปจนแทบไม่มีใครทราบเรื่องราวของท่านแล้ว

Thanks: เกมส์ทําอาหารเกมส์ต่อสู้เกมส์ปลูกผักเกมส์มันๆของขวัญ
#5
สวัสดีค่ะ

หลังจากที่ไม่ได้แวะเข้ามาชวยทุกท่านคุยเสียพักใหญ่ ด้วยธุระติดพันมากมายดิ้นไม่หลุด ในที่สุดก็เริ่มกลับมาหายใจหายคอสะดวกขึ้น คิดถึงเพื่อนๆในบอร์ดค่ะ เลยกลับเข้ามาชวนคุยเรื่องไม่เป็นเรื่องเสียหน่อย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสสนทนาวิสาสะกับบรรดาผู้มีศรัทธาอย่างยิ่งใหญ๋ต่อพระผู้เป้นเจ้ามากมายหลายท่าน ได้ทราบด้วยความชื่นชมว่าหลายต่อหลายท่านมีความสามารถในการประดับพระเทวรูปด้วยผ้าแพรพรรณและนานาวิภูษิตาภรณ์หลากหลายอันอลังการ ล้วนประดิษฐ์สรรค์สร้างอย่างปราณีตวิจิตรบรรจง ซึ่งแน่นอนว่าดิฉํนผูไร้ฝีมือเชิงช่างใดใดไม่สามารถทำได้

แถมหลายท่านยังมีใจเอื้อเฟื้อเผยแพร่กลวิธีอันแยบคายในการประดิษฐ์ตกแต่งนั้นสู่คนอื่นๆ เป็นกุศลมัยอย่างยิ่งยวด ดิฉันผู้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการใช้วาทะ เลยขออนุญาตมาชวนคุยเรื่องนี้กันค่ะ

การประดับตกแต่งพระเทวรูปนี้ เป็นหนึ่งในวิชาการประดับตกแต่งซึ่งเรียกตามอย่างภาษาสันสกฤตว่า 'อลังกาลัม' อันมาจากรากศัพท์เดียวกับคำว่า 'อลังการ' ที่ใช้ในภาษาไทย

เมื่อมิช้ามินานมานี้ ดิฉันได้มีโอกาสฟังบรรยายจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าอินเดียท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้กล่าวถึงการอลังกาลัม ไว้อย่างน่าสนใจว่า ปรัชญาของการอลังกาลัมในอินเดียกับอลังกาลัมในบ้านเราต่างกัน ของเขาเน้นว่า ยิ่งเยอะยิ่งงาม ส่วนของบ้านเราเน้นความละเอียดวิจิตร แต่จะเยอะหรือน้อยไม่สำคัญค่ะ

ทั้งนี้ในส่วนนี้หากใครมีอะไรเพิ่มเติมก็ยินดีแลกเปลี่ยนนะคะ อยากได้ความรู้เพิ่มเติมเหมือนกันค่ะ





#6
หลังจากสนุกสนานกับการนำเอาบทความที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสมัยยังเรียนอยู่มาลงในบอร์ด HM เมื่อสองสามวันที่แล้ว
แต่ก็ยังไม่หนำใจ แม้ว่าเวลาว่างในช่วงนี้จะสะดุดลงไปบ้างเพราะภารกิจจร แต่ดิฉันก็ไม่หวั่นค่ะ ทั้งหมดนี้ก็ด้วยปรารถนาจะให้บอร์ดของเรากลับมาคึกคักด้วยเรื่องราวที่(ดูเหมือนว่าจะเป็น) วิชาการ
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลในศิลปกรรมอันงดงามภายใต้หลักประติมานวิทยา ซึ่งก่อให้เกิดเป็นเทวรูปหลากหลายแบบ ที่นอกจากจะดูงดงามแล้ว ยังซ่อนนัยอันน่าสนใจไว้มากมายด้วย
ก็เมื่อพูดถึงเทวรูปแล้ว อดไม่ได้ที่จะขอกล่าวถึงเทวรูปศิลปะสุโขทัยซึ่งรู้สึกศรัทธาและชื่นชอบมากเป็นพิเศษ นอกจากเรื่องของสุนทรียศาสตร์และศิลปกรรมแล้ว โดยส่วนตัวรู้สึกว่าเป็น 'คนบ้านเดียวกัน' ที่เผอิญต้องมาอยู่ 'เมืองกรุง' เช่นเดียวกันกับท่าน
นึกๆดู แม้ว่าดิฉันจะไม่ใช่คนมี่ความรู้อะไรนักหนา และไม่ใช่นักเลงหนังสือ แต่ก็ชอบรื้อชอบค้นจนพอจะทราบว่า นอกจากหนังสือเรื่อง 'เทวรูปสมัยสุโขทัย' ผลงานนิพนธ์ของศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลแล้ว ยังไม่เคยเห็นหนังสือเล่มใดที่พูดถึงเทวรูปเหล่านี้อย่างจริงจังเลย นอกจากจับผ่านๆ ก็หนังสือของท่านอาจารย์เล่มดังกล่าวนี้ พูดถึงแต่วิชาการด้านโบราณคดี อันอนุมานเอาจากลวดลายที่ปรากฏอยู่บนเทวรูปเสียเป็นส่วนใหญ่ มิได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์เลย ดิฉันจึงขออนุญาตใช้พื้นที่บอร์ดนี้บังอาจเล่าและรวบรวมข้อคิดเห็นของดิฉันเองเกี่ยวกับเทวรูปศิลปะสุโขทัยเหล่านี้
ความมีโดยละเอียดดังนี้
#7
สงกรานต์นี้ว่างจากภารกิจทั้งหลายค่ะ กอปรกับอายุได้ล่วงเลยวัยที่จะออกไปเล่นสาดน้ำข้างนอกแล้ว แต่เมื่ออยู่เฉยๆก็เบื่อ เลยนึกได้ว่ามีอะไรอยากแบ่งปันกับท่านทั้งหลายในบอร์ดเพื่อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ขึ้นอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน

อนุสนธิที่ครั้งหนึ่งดิฉันเคยเสียมารยาทปะทะคารมกับอดีตสมาชิกบอร์ดท่านหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องความเข้าใจของคนไทยที่มีต่อพระกฤษณะ และตั้งใจไว้ตั้งแต่นั้นว่าจะหาโอกาสชวนทุกท่านคุยเรื่องนี้ต่อ แต่จนแล้วจนรอดก็หามีโอกาสและเวลาไม่ จึงว่างเว้นไปเสียนาน ดังนี้ ในโอกาสขึ้นปีใหม่ของไทย (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวแก่พระกฤษณะเลย แต่ว่าดิฉันว่างพอดี)จึงขอเชิญเพื่อนสมาชิกบอร์ดทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับประเด็นนี้กันค่ะ

#8
ใกล้สงกรานต์ชื่นบานอีกแล้วนะคะ อินทุศีตาลา (มาช้าไปสักนิด) ขอเชิญทุกท่านร่วมพิธีบูชาสำคัญในช่วงนี้ดังนี้ค่ะ

เทวสถานเทพมณเฑียร จัดพิธีบูชาเนื่องในเทศกาลนวราตรี (ครึ่งแรกของปี) ณ เทวสถานเทพมณเฑียร
ตั้งแต่วันที่ 4 - 11 เมษายน 2554
เวลา 07.00 - 10.00 น. พิธีบูชาพระทุรคาเทวีและศักตื

วันที่ 12 เมษายน 2554 เวลา 07.00 - 10.00 น. พิธีโหมกูณฑ์ ณ ดาดฟ้าเทวสถานเทพมณเฑียร

ขอเชิญรว่มงานค่ะ

#9
ในที่สุดอินทุศีตาลาก็ได้เทวรูปพระนาฏราชมาเป็นมงคลชีวิตแล้วค่ะ
โครงการต่อไปคือการสลักโศลกเพราะๆเกี่ยวกับพระนาฏราชไว้ที่ฐาน

ดังนี้จึงอยากจะรบกวนท่านผู้รู้ในโศลกทั้งหลายค่ะว่า ควรใช้โศลกไหนดีที่ไพเราะ ความหมายดี และไม่ยาวจนเกินไปนัก

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

#10
เวลานี้ อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้วนะคะ (แม้ว่าจะเปลี่ยนอยู่บ่อยๆจนคนชักมึนไปตามๆกันก็เถอะ) สัญญาณของการมาถึงแห่งคิมหันตฤดูก็มาถึงแล้ว ตามประเพณีฮินดู จะมีการจัดเทสกาลแห่งสีสันที่เรียกว่า Holy ค่ะ นอกจากการบำเพ็ญกุศลถวายพระผู้เป็นเจ้าเพื่อสิริมงคลแล้ว สิ่งที่เป็นเครื่องหมายของโฮลี่คือการสาดสีใส่กัน

ตามปรกติอินทุศีตาลาทราบมาว่าแถววัดพระศรีมหาอุมาเทวี ถนนสีลมยังมีเล่นกันบ้าง แต่ในปีนี้นอกจากที่นั่นแล้ว สมาคมฮินดูสมาสร่วมกับเทวสถานเทพมณเฑียร ได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเทศกาลโอลี่ขึ้นในระหว่างวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2554 และวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2554 ณ เทวสถานเทพมณเฑียรค่ะ

กำหนดการณ์คร่าวๆจะเริ่มจาก

คืนวันที่ 19 มีนาคม 2554 หลังจากอารตีเวลา 19.00 น.แล้ว จะมีการสวดสรรเสริญพระผู้เป้นเจ้าและก่อไฟเผาหุ่นของ 'ประหลาด(Prahlad)'และ 'โฮลิกา (Holika)' เพื่อความเป็นสิริมงคล (ท่ามกลางสมบูรณ์จันทร์ที่ว่ากันว่าใหญ่ที่สุดในรอบ 19 ปีค่ะ อิอิ ) คิดว่าคงทราบตำนานกันแล้ว จะเล่าอีกก็คงจะเสียเวลาทุกๆท่านโดยใช่เหตุ

จากนั้นวันที่ 20 มีนาคม 2554 เวลากลางวันจะเล่นสาดสีใส่กันค่ะ

จึงของเชิญศาสนิกชน ผู้ศรัทธาและผู้สนใจเข้าร่วมงานค่ะ





#11
ขอประทานอภัยที่ดองรูปเหล่านี้ไว้ชั่วนาตาปี อินทุศีตาลาเองช่วงนี้เวลาน้อยด้วยงานรัดซะจนหายใจหายคอไม่สะดวกค่ะ
อย่างไรก็ตามบัดนี้ก็ได้ฤกษ์เบิกดิถีแล้วค่ะ ขอนำภาพพิธีโหมกูณฑ์เนื่องในการสถาปนาพระนฤบเดศวรลึงค์ เทวสถานเทพมณเฑียรมาให้ชมกันค่ะ

พิธีนี้จัดขึ้น ณ ชั้นดาดฟ้าของเทวสถาน ซึ่งปรกติน้อยคนจะมีโอกาสได้ขึ้นไปชมค่ะ อินทุศีตาลาก็เพิ่งจะได้ขึ้นมาเป้ฯครั้งแรก ขออนุญาตนำภาพแรกมาให้ชมกันเป็นภาพทิวทัศน์ที่มองจากด้านบน



มองไปเห็นหลังคาพระวิหารและพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวรารามด้วยค่ะ และหากขึ้นไปชมเองจะทราบว่ามองเห็นได้ไกลถึงวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเลยค่ะ
#12
คืนวันที่ 2 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา หลายท่านคงได้มีโอกาสไปร่วมงานมหาศิวราตรีบูชาซึ่งจัดขึ้นในหลายๆที่
หลังจากตัดสินใจอยู่หลายวัน ที่สุดดิฉันเดินทางไปร่วมงานบูชาที่มูลนิธิพระพิฆเนศวร ซึ่งมีพระครูญาณสยมภูว์ (ขจร นาคะเวทิน) เป็นประธานจัดขึ้น
ความน่าสนใจของงานที่นี่คือมีทั้งพิธีบูชาแบบไทยและแบบอินเดียค่ะ และจำนวนคนร่วมงานไม่มากนัก สถานที่กว้างขวางสะดวกสบาย ทำให้เราสามารถเห็ฯพิธีสำคัญได้อย่างใกล้ชิด ศึกษาได้อย่างสะดวก และที่สำคัญท่านผู้ประกอบพิธีเมตตาให้ผู้ร่วมงานทุกท่านได้ปฏิบัติบูชาตามขั้นตอนต่างๆได้ด้วยตนเองอย่างใกล้ชิดค่ะ

ทั้งนี้อินทุศีตาลาขออนุญาตนำภาพมาฝากกันนะคะ ตามเคยว่าภาพไม่สวยหรูนะคะ เพราะคนถ่ายภาพก็ไม่สวยด้วยค่ะ (555555)

เริ่มต้นด้วยเทวรูปพระอิศวรซึ่งประดิษฐานเป็นประธานในพิธีบูชาแบบไทย

#13
ตามที่ทุกท่านคงได้ทราบข่าวการสถาปนาพระศิวลึงค์พระองค์ใหม่ของเทวสถานเทพมณเฑียรไปแล้ว ในระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา และเชื่อว่าคงมีเพื่อนๆหลายท่านมีโอกาสไปร่วมพิธีบูชาและชื่นชมพระศิวลึงค์กันแล้วไม่มากก็น้อย

จากการสอบถามเพื่อนฝูง 2 - 3 คนได้ทราบว่าพวกเขายังหาได้ยลโฉมและความพิเศษของพระศิสลึงค์องค์นี้ไม่ อินทุศีตาลาจึงขออนุญาตนำภาพพระนฤบเดศวรลึงค์แห่งเทวสถานเทพมณเฑียรมาให้ชมกันค่ะ

#14
อินทุศีตาลา ได้รับความกรุณาจากกลุ่มปินากิน ผู้จัดพิธีบูชาพระศิวลึงก์ท่ามกลางสายน้ำเจ้าพระยา เนื่องในเทศกาลศิวราตรีประจำปี พ.ศ.2554 จึงเก็บภาพบรรยากาศการบูชาที่เข้าใจว่าจะเป็ฯครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยครั้งนี้มาให้ชมกันค่ะ



นฤบเดศวรลึงค์ ประดิษฐานบนเรือ ซึ่งจะจัดให้มีการบูชากันในครั้งนี้
#15
ตามกำหนดการของเทวสถานเทพมณเฑียรซึ่งทุกท่านได้ทราบแล้วนะคะ อินทุศีตาลาได้นำภาพบางส่วนของพิธีบูชาในวันแรกของงานคือ 26 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 09.00 - 13.00 น. มาให้ชมค่ะ



การตั้งแต่ง และประดับประดาในพิธี
#16
ตัดสินใจอยู่นานเหมือนกันนะคะว่า ในคืนสำคัญเช่นดิวาลี หรือออกเสียงใกล้ๆสำเนียงไทยอย่างทีปวาลีนี้ จะไปร่วมพิธีที่ไหนดี

ด้วยสองสามปีที่ผ่านมาไปวัดแขกสีลมตลอด ปีนี้จึงอยากลองเปลี่ยนบรรยากาศดูบ้าง จึงตกลงใจไปรว่มพิธีที่มูลนิธิพระพิฆเณศซึ่งมีพระครูญาณสยมภูว์ เป็นประธานมูลนิธิ และเป็นผู้ประกอบพิธีบูชาเทพเจ้าในคืนนี้

หลังจากเตรียมตัวเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ออกเดินทางค่ะ มูลนิธินี้ตั้งอยู่ในตรอกโบสถ์พราหมณ์ เพียง ๑๐๐ เมตรจากถนนดินสอ

พิธีเริ่มประมาณ ๑๙.๐๐ น.ค่ะ เมื่อสิรวีย์เดินทางไปถึงที่นั่น ผู้ร่วมงานกำลังช่วยกันจุดประทีปที่หน้าประตูอยู่ ตามธรรมเนียมในคืนทีปวาลี แม้ผู้คนจะบางตามากคือเพียง ไม่ถึง ๒๐ คน ทว่าเจ้าหน้าที่มูลนิธิทุกท่านก็ให้การต้อนรับขับสู้อย่างอบอุ่น คนน้อยเช่นนี้เป็นโอกาสดียิ่งค่ะที่จะได้ทักทายโอภาปราศรัยกันได้อย่างทั่วถึงบรรยากาศจึงดูอบอุ่น เต็มไปด้วยไมตรีแบบธรรมเนียมไทยๆ และเป็นโอกาสที่จะได้มองเห็นพิธีกรรมอย่างใกล้ชิดและชัดเจน



โต๊ะบูชาในห้องโถงชั้นสองของมูลนิธิพระพิฆเณศ

#17
วันนี้ไปร่วมพิธีอารตีที่วัดเทพมณเฑียรมาค่ะ ได้รับมอบหมายให้นำข่าวมาแจ้งทุกท่าน แต่ไม่มีเวลาสแกนเลยขออนุญาตบอกดื้อๆดังนี้ค่ะ

ดีปาวลี: จุดประทีปแห่งปัญญา
บูชาพระลักษมี 108 พระนาม
เรียนรู้วิถีฮินดูธรรม เข้าใจแก่นแท้ของเทศกาลดีปาวลี
รับพรจากมหาเทวีแห่งความร่ำรวย
ประธานในพิธี Pandit Acharya Lalit Mohan Vyas
ประธานปุโรหิตโบสถ์พราหมณ์เทพมณเฑียร
- เชิญฟังบรรยายเรื่อง "ภูมิปัญญาแห่งดีปาวลี" โดยวิทยากรพิเศษ
คุณสถิต กุมาร, ผศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, ศ.ดร.ประติภา บัญชรี รัถ,
รศ.ดร.บำรุง คำเอก
- เชิญร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์บูชาพระลักษมีโดย Pandit Brahmanand Dwivedi
- ร่วมเป็นหนึ่งในการจุดเทียนปัญจตัตวะ 1,777 ดวง เรียงเป็นรูป "โอมและสวัสติกะ"
เพื่อแสงสว่างแห่งปัญญาและมงคลแก่ชีวิต
ในวันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา 16.00 - 20.00 น.
ณ อาคารใหม่ศูนย์สันสกฤตศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร   
(ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา)
สั่งจองเทียนปัญจตัตวะ (5 ธาตุ) ชุดละ 100 บาท
โทร 086 888 9294, 081 365 3214
(มีบริการรถรับส่ง โปรดสำรองที่นั่ง)
รายได้ทั้งหมดมอบให้
มูลนิธิสันสกฤตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จัดโดย ชมรมไทยฮินดีคลับและชมรมปินากิน
จองเทียนได้ที่ ร้าน อีศ เจ เจ มอลล์ชั้น 2 (ติดร้านทำผม)
โทร 086 888 9294 และ 081 365 3214




ความตามที่ได้แจ้งทั้งหมดนี้แล.

#18
แกลอรี่ / พระคงคา
September 16, 2010, 21:50:21
รบกวนขอภาพการเสด็จลงมาสู่โลกของพระคงคาจากท่านทั้งหลายด้วยค่ะ
หรือใครมีภาพพระคงคางามๆก็ยินดีนะคะ

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ
#19
ขอความกรุณาท่านทั้งหลายแบ่งปันรูปพระทักษิณามูรติค่ะ

ปล.พี่กิฟซี่ขา หนูเชื่อว่าพี่มีภาพเจ๋งๆเก็บไว้เยอะแยะ ให้หนูบูชาบ้างนะคะ ถือว่าสงสารน้องนุ่งตาดำๆ
#20
หากใครไปวัดวิษณุ แล้วแวะเข้าไปบูชาพระศิวลึงก์ในโบสถ์น้อย (ไม่ทราบต้องเรียกอย่างไร แต่โดยส่วนตัวดิฉันเรียกโบสถ์น้อยค่ะ ตามแบบที่เรียกวิหารเล็กๆในวัดคาทอลิกว่าวัดน้อย) จะเห็นว่าท่อโสมสูตรของโยนีโทรณะหันไปเบื้องทิศเหนือ แต่เบื้องตะวันออกของหลุมประดิษฐานพระศิวลึงก์มีรูปลักษณะคล้ายยันต์สีแดงอยู่บนพื้น จึงขอถามท่านทั้งหลายดังนี้ค่ะ

1.นี้คืออะไร มีความหมายและความสำคัญอย่างไร
2.เราควรทำหรือไม่ทำอย่างไรคะ เห็นบางคนนั่งบนนั้น บางคนยืนบนนั้น บางคนเอามือไปแตะแล้วมาแตะหน้าผาก บางคนเช่นดิฉันเป็นต้น ไม่กล้าไปยุ่งเพราะไม่รู้ว่าคืออะไร

รบกวนท่านผู้รู้ด้วยค่ะ

#21
เคยอ่านจากหนังสือว่าพระคเณศโปรดหญ้าทูรวาและกานพลู ก็เลยอยากถวายกานพลูแด่พระองค์ท่าน ทั้งที่ห้องบูชาที่บ้านและที่เทวาลัย แต่ไม่ทราบว่าสมควรไหม เราถวายกานพลูอย่างเดียวได้เลย หรือว่าต้องนำกานพลูโรยลงบนอาหารแล้วถวายท่านคะ ขอบพระคุณค่ะ
#22
ใกล้เทศกาลคเณศจตุรถีแล้วค่ะ อยากทราบว่าที่งานน่าสนใจจัดขึ้นที่ไหนบ้าง
เวลานี้ทราบข่าวว่า ที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม มีงานในวันที่ 11 กันยายน 2553
วัดเทพมณเฑียร จัดงานในวันที่ 18 - 19 กันยายน 2553
พิพิธภัณฑ์พระคเณศ จังหวัดเชียงใหม่ จัดงานในวันที่ 11 กันยายน 2553
ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานระหว่างวันที่ 5 - 12 กันยายน 2553

ใครมีข่าวคราวเพิ่มเติม เอามาบอกกันบ้างไหมคะ เผื่อจะได้ไปร่วมงานกัน
ปล.ถึงอาจารย์หริทาสค่ะ หนูพยายามหากำหนดการของงานที่ภาควิชาปรัชญา แต่โหลดเท่าไรก็ไม่ได้ รบกวนอาจารย์บอกข่าวกับพวกเราด้วยนะคะว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

ขอบพระคุณค่ะ
#23
ตลอดเวลาไม่นานที่เข้ามาเป็นสมาชิกของ Hindumeeting ได้รับรู้รับฟังหรือแม้แต่ร่วมแสดงความคิดเห็นมาก็หลายเรื่องค่ะ แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งค้างคาใจอยู่ตลอดเวลา หากยังไม่เคยกล้าเอ่ยปากถามใครสักที ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องนามธรรม เปราะบาง และอาจละลาบละล้วงใครหลายคน แต่ในที่สุดก็พบว่าช่วงนี้เป็นเวลาเหมาะสมแล้วที่จะขอความเห็นจากทุกท่าน

ดิฉันมีจุดเริ่มต้นของการบูชาเทพเจ้าไม่ค่อยเหมือนใครเขา คือไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสัมผัสจับต้องกับท่าน แต่หลังจากติดตามอ่านกระทู้หลายๆหัวข้อ บางทีก็รู้สึกเหนื่อยใจจนถึงขั้นว่าฉํนจะเข้ามาอ่านทำไมเนี่ย เลยทำให้อยากถามปัญหาเหล่านี้

1.ศักดิ์ศิทธิ์คืออะไรคะ คำนี้อาจดูเหมือนเป็นที่รู้จักและมีความหมายแจ่มชัด แต่คำจำกัดความของท่านทั้งหลายคืออะไรหรือคะ เทวรูปที่ศักดิ์สิทธิ์หมายความว่าขอแล้วต้องได้ดังขอ ถ้าไม่ได้ถือว่าไม่ศักดิ์สิทธิ์หรือคะ หากเป็นเช่นนั้นดิฉันซึ่งไม่เคยขออะไรเป็นชิ้นเป็นอันจากท่านเลย เทวรูปของดิฉันจึงไม่มีวันศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ศักดิ์สิทธิได้เลยใช่ไหมคะ

2.อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ท่านทั้งหลายปรารถนาจะสื่อสารโดยตรงกับพระผู้เป็นเจ้าหรือคะ  และอะไรคือเครื่องหมายยืนยันว่านั่นคือพระเจ้า ดิฉันไม่เคยเห็นนิมิตจากท่านแบบตรงๆเลย หมายความว่าดิฉันยังไม่เป็นที่รักของท่านอย่างนั้นหรือคะ ดิฉันไม่เคยคิดจะสื่อสารกับท่านเลยนอกจากขอให้ท่านรับรู้ความภักดีหรือถ้าท่านเมตตาขอให้ทรงนำทางดิฉันและคนที่รักให้เดินไปตามทางที่ถูกที่ควร ดิฉันเป็นศาสนิกชนที่แย่เพราะไม่พยายามติดต่อกับท่านหรือเปล่าคะ

3. และขออนุญาตถามตรงๆว่าอะไรทำให้ท่านคิดว่าพระเจ้าจะทรงสื่อสารกับท่านซึ่งยังอยู่ในกองกิเลสอยู่ เห็นในตำนานต่างๆกว่าใครจะติดต่อกับท่านได้ก็ต้องอาศัยกิจอันยอดยิ่งต่างๆนาๆ

คำถามนี้เกิดขึ้นด้วยใจบริสุทธิ์ และปรารถนาจะต่อเติมจิตศรัทธาของตนเองให้ยืนยาวต่อไป หากไปละลาบละล้วงหรือไม่ถูกใจ ไม่ถูกจริตใครดิฉันกราบขออภัยไว้เสียเนิ่นๆตรงนี้ หากชอบจะตอบขอความกรุณาตอบและขอขอบพระคุณ หากไม่ชอบขอให้เลยผ่านไปอย่าสร้างกระทู้นี้ให้เป็นสมรภูมิเลยนะคะ

ขอพระผู้เป็นเจ้าอำนวยพรแด่ท่าน
#24
รบกวนแฟนพันธุแท้พาหุรัดทั้งมวลค่ะ ดิฉันอยากทราบว่าที่นั่นมีเทวรูปเทวีตุลสีหรือไม่ ร้านใด ราคาประมาณเท่าไรค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
#25
รบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลาย ให้คำแปลบทสวดต่อไปนี้ด้วยค่ะ

โอม  กระปูระเคารัม  กรุณาวะตารัม  สันสาระสารัม 
ภุชะเคนทะ  ระหารัม  สะทะวะสันตัม  หฤทะยาระวินเท  ภะวัมภะวานี  สาหิตัม  นะมามิ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" /><o:p></o:p>

#26
ทราบว่าวันเสาร์ที่ 26 และอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายนนี้ จะมีงานสมโภชเนื่องในโอกาสสถาปนาวัดวิษณุมณเฑียรมาครบ 9 ปี นับจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมาทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อปี 2544

งานวันเสาร์เริ่ม 8 โมงเช้า วันอาทิตย์เริ่ม 10 โมง
อันที่จริงหากใครไปวัดวิษณุช่วงนี้ทางวัดมีเอกสารและกำหนดการแจกด้วยค่ะ แต่ดิฉํนทำหายไปเรียบร้อยแล้ว หากใครสนใจหรือมีข้อมูล นำมาแบ่งปันก็จะเป็ฯพระคุณมากค่ะ
#27
เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชาโลกที่กำลังจะเวียนมาถึงอีกครั้งในวันที่ 28 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้

ดิฉันขอเชิญชวนเพื่อนๆทุกท่าน โดยเฉพาะผู้พิสมัยหินดำเป็นพิเศษ เข้านมัสการพระพุทธรูปแกะสลักจากหินดำซึ่งอันเชิญมาจากเมืองนาลันทา ประเทศอินเดีย นับเป็นครั้งแรกที่นำพระพุทธรุปหินดำขนาดใหญ๋จากประเทศอินเดียมาประดิษฐานในประเทศไทย

โดยสามารถนมัสการได้ที่ เดอะมอลล์บางแค ระหว่างวันนี้ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ค่ะ


ขอประทานโทษด้วยที่หารูปพระพุทธรูปมาให้ชมกันไม่ได้ แต่สำหรับคนที่เคยเห็นเมืองนาลันทา คงจะเคยเห็นพระพุทธรุปหินดำซึ่งชาวบ้านศรัทธากันมาก พระพุทธรุปที่จะนำมานี้มีรูปแบบใกล้เคียงกันค่ะ

ใครไปมาแล้วมีภาพมาให้ชมจะขอบพระคุณมากเลยค่ะ


#28
เข้ามาเป็นสมาชิกบอร์ดก็นานแล้ว แต่ยังไม่เคยนำภาพห้องบูชามาให้ชมค่ะ วันนี้เลยขออนุญาต

บ้านที่กรุงเทพนี้ ดิฉันมาอาศัยเขาอยู่ค่ะ แต่โชคดี เจ้าของบ้านท่านกรุณาให้ใช้ห้องว่างห้องหนึ่งทำเป็นห้องบูชา ดิฉันจึงพยายามตกแต่งอยู่นาน แต่ก็ยังไม่เรียบร้อยเสียที ผนังสองด้านของห้องนี้มีหน้าต่างบานกว้างหันหน้าไปทิศตะวันออก ตอนเช้าระหว่างเจ็ดโมงถึงเก้าโมงเช้า แดดจะส่องเข้ามาในห้องสว่างดีค่ะ  ดิฉันจะเปิดประตูหน้าต่างทุกบ้านให้แสงส่องเข้ามาสะดวก

แต่ปัญหาคือผนังด้านที่เหลือกรุด้วยแผ่นยิปซึ่ม ซึ่งเจ้าของบ้านเขาบอกไม่สวย แต่ดิฉันกลับชอบสีที่ขับให้สีสันของโต๊ะบูชาเด่นขึ้น เลยไม่คิดจะทำอะไรมาก

เทวรูปประธานของห้องบูชาที่กรุงเทพนี้ คือพระวิษณุและพระศรีซึ่งเพื่อนที่รักกันมากคนหนึ่งปั้นและหล่อด้วยเรซินให้ แถมยังได้เพื่อนอีกคนช่วยลงสี และเจ้าของบ้านหลังนี้ก็กรุณาช่วยพ่นน้ำยาเคลือบเงาให้ สำหรับดิฉันถือเป็นเทวรูปที่ได้มาด้วยความรักและความปรารถนาดี มีค่ามากๆค่ะ

นอกนั้นจะเป็นเทวรูปที่หาบูชาเอง แต่ ส่วนใหญ่ของห้องนี้ได้รับมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่งทั้งนั้นค่ะ และเมื่อดิฉันไม่อยู่บ้านนานๆ เจ้าของบ้านก็ยังกรุณามาเปิดปิดประตูห้องตามเวลาทุกวัน ทำให้ดิฉันสบายใจเมื่อเข้าไปสวดมนตร์ ซึ่งตามปรกติจะทำทุกคืน

ต่อไปคงต้องขอคำแนะนำจากทุกท่านค่ะ

#29
สวัสดีค่ะ

หลังจากที่พาทุกท่านไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครมาในคราวที่แล้ว เว้นไปได้ไม่กี่วันดิฉันก็เริ่มเบื่ออีกแล้วล่ะค่ะ เลยอยากจะพาทุกท่านไปเที่ยวกันอีกสักทริป หวังเหลือเกินว่าคงจะไม่ทำให้ใครๆเบื่อกันวะก่อนนะคะ

แต่ละที่ที่สิรวีย์พาทุกท่านไปนั้น ตั้งใจว่านอกจากจะสวยงามและน่าสนใจแล้ว ยังจะพยายามให้ทุกที่มีเทพเจ้าฮินดูอยู่ด้วย เพื่อให้เข้ากับความเชื่อถือศรัทธาของทุกท่าน และที่สำคัญคือเป็นสถานที่ที่คนไทยมักลืมเที่ยว(หรือเขามักไม่เปิดให้เที่ยว) แม้จะอยู่ใกล้ๆก็ตาม

คราวที่แล้วเราไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในวังหน้ากัน ดังนั้นทริปนี้จึงขออนุญาตเริ่มต้นที่นี่ซะเลยค่ะ
หากใครเดินทางผ่านสะพานพระปิ่นเกล่าบ่อยๆ เมื่อจะขึ้นหรือลงสะพานฝั่งพระนครคงเห็ฯว่าด้านทิศใต้ของเชิงสะพาน มีอาคารจตุรมุขขนาดมหึมาปรากฎอยู่


#30


ลายละเอียดเพิ่มเติม

http://www.tourguide.joomkoshop.com/index.php?option=com_content&view=article&id=548:2010-04-08-12-26-21&catid=57:hot-news&Itemid=50

อาจารย์ทั้งสองท่านเป็นนักวิชาการซึ่งมีความรู้ลึกซึ้งและกว้างขวางมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยเฉพาะเรื่องปฏิมากรในประเทศไทย นับเป็นโอกาสดีที่จะได้รับฟังแนวคิดจากท่านโดยตรงค่ะ จึงขอเรียนเชิญสมาชิก HM ทุกท่านเข้าร่วมฟังด้วยกัน

ปล.ดิฉันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางผู้จัดงานนะคะ แค่เห็ฯว่าน่าสนใจ เลยเอามาฝากกัน
#31
หลังจากเป็นสมาชิกบอร์ดมาได้ระยะหนึ่ง ทำให้มีโอกาสพูดคุยกับหลายๆคนในบอร์ดนี้ค่ะ เรื่องที่คุยกันบ่อยๆก็สถานที่ต่างๆซึ่งมีของน่าดูน่าชมอยู่มาก

หลังจากดิฉันหลบไปรักษาสุขภาพได้สักพักก้เริ่มเหงาค่ะ เลยคิดหัวข้อกระทู้นี้ขึ้น นอกจากแก้อาการเซ้งของตัวเองแล้ว ยังถือเป็นโอกาสดีชวนเพื่อนๆทุกท่านไปเที่ยวกันค่ะ แต่ละสถานที่น่าสนุก ได้ความรู้ และถูกมองข้ามมานานแล้วทั้งนั้น

เริ่มต้นด้วย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตดุสิต กรุงเทพมหานครค่ะ



พิพิธภัณฑ์นี้อยู่ริมสนามหลวง ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และวิทยาลัยนาฏศิลป์ค่ะ ฝั่งตรงข้ามศาลอาญา คนไทยมักผ่านไปเฉยๆ มีแต่นักเรียนกับฝรั่งเข้าไปเที่ยว
#32
เมื่อต้นสัปดาห์ผ่านไปเดินเที่ยวที่พาหุรัดค่ะ โดยที่ไม่ได้มีจุดหมายอะไรเป็นพิเศษ แต่ในที่สุดก็ได้เทวรูปองค์นี้กลับมาที่บ้าน ชอบมากเลยค่ะ  คลับคล้ายคลับคลาว่าเคยเห็นที่ไหนแต่นึกไม่ออกอ่ะค่ะ ใครพอมีข้อมูลรบกวนด้วยนะคะ ค้างคาใจจริงๆ

(คุณภาพไฟล์อยู่ในเกณฑ์ห่วยเลยนะคะ เพราะว่าใช้กล้องมือถือรุ่นโบราณ พอดีกล้องถ่ายรูปไม่ได้อยู่แถวนี้ค่ะ)


#33
เรียนทุกท่าน

ดิฉันอยากได้ภาพจิตรกรรมพระธาตุจุฬามณีเจดีย์มากเลยค่ะ หากใครพอจะมีรบกวนด้วยนะคะ

ขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาค่ะ
#34
สืบเนื่องจากกระทู้เรื่องพระนางมนสาเทวีกับพระเทวีพหุจรา ดิฉันชื่นชมคุณเจ้าของกระทู้มากค่ะที่ตั้งคำถามเรื่องอันเต็มไปด้วยสาระเช่นนี้ให้เราได้พูดถึงกัน

ดิฉันสนใจเรื่องนี้มาก และเห็นว่าจะเป็นประโบชน์ต่อผู้บูชาทั้งปัจจุบันและอนาคต จึงอยากเชิญชวนทุกท่านมาคุยกันเรื่องนี้ต่อให้กว้างขวางและหลากหลายยิ่งขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อวงวิชาการและเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะ

อันที่จริงดิฉันเคยคุยกันหลังไมค์กับคุณอักษรชนนีแล้วหลายครั้ง (ขออนุญาตอ้างนามนักปราชญ์ท่านนี้นะคะ) และยิ่งคุยยิ่งสนุก และดิฉันเคยเปรยว่าอยากตั้งกระทู้ชวนทุกท่านมาคุยกันในบอร์ด แต่กลัวจะกลายเป็นสนามรบไปในท้ายที่สุด เลยล้มเลิก ไม่เข้ามาตั้งกระทู้สักที ครั้นเมื่อได้เห็นการอภิปรายในกระทู้ที่อ้างถึงข้างต้นซึ่งมีคนเข้าไปเสนอประเด็นต่างๆมากมาย น่าสนใจและเปี่ยมไปด้วยไมตรี

จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาคุยกันเรื่อง 'เทพพาหนะ' กันค่ะ โดยขออนุญาตเริ่มต้นที่ความสงสัยของตัวเองบางประเด็นดังนี้

1. ทุกท่านคิดว่าเทพพาหนะมีหลักการและเหตุผลในการผูกตั้งอย่างไรกันหรือคะ บางคนบอกว่าเพื่อเสริมสถานะขององค์เทพเจ้า บางคนบอกว่าเพื่อตอกย้ำพระเกียรติคุณ บางคนบอกว่ามาจากลัทธิ Totem เรื่องนี้เป็นประเด็นคล้ายๆกับกระทู้ของคุณแต่ก็มิได้นำพาเคยตั้งไว้นะคะ

2. เทพพาหนะ มีที่เป็นสิ่งของไหมคะ หรือมีแต่สัตว์เท่านั้น และเทพหรือเทวีจำเป็นต้องมีเทพพาหนะทุกพระองค์ใช่ไหมคะ

3. มีสัตว์อะไรแปลกๆบ้างคะ ที่เป็นเทพพาหนะ

4.อันนี้ส่วนตัวนะคะ อยากทราบว่าคนฮินดูคิดอย่างไรกับแมวคะ ไม่ทราบว่ามีเทพองค์ใดประทับแมวหรือมีแมวเป็นบริวารหรือเปล่า

หวังว่าทุกท่านคงอยากคุยกับดิฉันนะคะ

ขอบคุณค่ะ
#35
เพิ่งบูชาเทวรูปท่านมาค่ะ แต่ไม่มีเวลาค้นข้อมูลในการบูชาเท่าไร อยากรบกวนท่านผู้มีจิตเมตตาทั้งหลายในบอร์ดช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่าดิฉันควรบูชาท่านอย่างไร มีผลไม้ ดอกไม้หรือต้นไม้ไหนที่นิยมถวายท่าน มีมนตราอย่างไร และมีข้อห้ามอย่างไร

เมื่อวานนี้หลังจากบูชาท่านมาแล้วก็ไปที่เทวสถานขอให้พราหมณือธิษฐานจิตให้ พราหมณ์ท่านถามว่าองค์อะไร ดิฉันก็ตอบไป ท่านก็หันไปถามเจ้าหน้าที่ว่าวันนี้วันอะไร ได้รับคำตอบว่าวันอังคาร ท่านก็หันมาบอกดิฉันว่า ได้ เข้ามาสิ

หลังจากท่านทำพิธีเสร็จ ด้วยนิสัยสอดรู้สอดเห็นประจำตัวดิฉันเรียนถามไปว่าทำไมต้องถามถึงวัน ท่านว่ามับางวันที่เหมาะหรือไม่เหมาะกับเทพเจ้าบางองค์ ท่านยังชมว่าเทวรูปที่นำไปวันนี้สวยดี ราคาย่อมเยาว์อีกด้วย (ดิฉันหน้าบานไปตามระเบียบ)

หลังจากนั้นดิฉันไปนมัสการในโบสถ์ใหญ่ ถือโอกาสพักเหนื่อยเพราะเดินมาไกลและเทวรูปหนักมาก เลยนำท่านไปตั้งไว้บนโต๊ะ มีคนเดินเข้ามาถามถึงเทวรุปดิฉันว่าเอามาทำอะไร ดิฉันบอกไป ปรากฎว่าเขาโวยวายใหญ่ว่าทำไมพราหมณ์ไม่ทำให้เขา ดิฉันบอกว่าอาจเพราะวันนี้ไม่เหมาะกับองคืเทพ (เขานำรูปพระคเณศมา) แต่ดิฉันรอยหยักในสมองน้อยเป็ฯทุนเดิมอยู่แล้วก็เลยอธิบายได้เท่านี้ ปรากฎว่าเขาไม่พอใจใหญ่ บ่นๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ดิฉันก็เลยแนะนำว่าถ้าอยากทำพิธีจริงๆและไหนๆก็มาแล้ว ก็ให้ไปที่เทพมณเฑียรด้วยกัน เพราะดิฉันก็กำลังจะไป เขาก็ตกลงและไปที่นั่น ได้ทำพิธีสมใจ

เล่ามาทั้งหมดนี้ก็จะรำพึงกับท่านทั้งหลายว่าเพิ่งทราบว่ามีวันเหมาะไม่เหมาะด้วย และคิดว่า อืม ทำไม คนเรานี่ใจร้อน เอาแต่ใจ และขี้บ่นกันจังเลยน้อ
โชคดีที่มีบอร์ดอันร่มเย็นไว้ให้ปรึกษานะคะ

#36
อยากระบายสีพระเนครและพระโอษฐ์เทวรูปค่ะ แต่ไม่รู้ว่าต้องใช้สีอะไร มีเคล็ดลับอะไรให้ออกมาสวยงาม ขอความรู้ด้วยค่ะ
ปล.ดิฉันตกศิลปะนะคะ ขอคำแนะนำง่ายๆเถอะค่ะ
#37
ดิฉันสงสัยเรื่องเทวดาเสวยอายุและเทวดาองค์แทรกค่ะ ทราบว่าเป็นหมู่เทวดานพเคราะห์
แต่อยากทราบเทวดาทั้งสองอย่างนี้ให้คุณให้โทษอย่างไร มีกฎเกณฑ์การนับอย่างไร (หากมีวิธีนับสำหรับคนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านโหราศาสตร์เลยจะเป็นพระคุณมากค่ะ) และมีวิธีปฏิบัติอย่างไร

ขอบพระคุณค่ะ
#38
ดิฉํนกำลังจะต้องเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์ค่ะ โดยหนึ่งในสถานที่ที่จะไปชมนั้นมีพระพุทธบาทศิลาที่อำเภอบัวเชดรวมอยู่ด้วย
พระพุทธบาทรอยนี้เพิ่งพบไม่นานนี้เอง ความน่าสนใจ (สำหรับดิฉัน) ก็คือลายที่สลักอยู่ในรอยพระบาท ซึ่งแบ่งเป็นช่อง ปรกติจะเป็นลายมงคลร้อยแปดประการ ทว่าที่นี่เป็นลายสิงสาราสัตว์ตั้งแต่ ผีเสื้อ แมงมุม ไปจนถึงช้างม้าวัวควาย ทำให้เกิดข้อสงสัยโยงไปถึงเรื่องที่อยากรู้มานานแล้ว อยากจะรบกวนขอความเห้ฯจากท่านผู้รู้ ดังนี่ค่ะ

1. ลายสัตว์ในรอยพระพุทธบาทเช่นนี้ ไม่เคยมีที่ไหนเลยในโลกใช่ไหมคะ
2. เป็นไปได้ไหมว่าอาจเป็นรอยวิษณุบาท
3. วิษณุบาทมีที่ไหนบ้างคะ มีตำนานอย่างไร มีรูปร่างอย่างไรให้แยกแยะว่านี้คือพระวิษณุบาท หากมรูปจะขอบพระคุณมากค่ะ โดยเฉพาะรูปของประติมากรรม
4.ชาวฮินดูมีความเชื่อ และการปฏิบัติบูชาเช่นไรต่อพระวิษณุบาท
5.นอกจากพระวิษณุบาทแล้ว มีรอยพระบาทของใครอีกไหมคะ ยอมรับว่าเห็นรูปสัตว์เยอะๆแล้วนึกถึงพระนามปศุบดี ของพระศิวะค่ะ แต่ไม่ทราบว่าท่านมีรอยพระบาทเป็นรูปเคารพด้วยหรือไม่

ไม่ได้ลบหลู่รอยพระพุทธบาทรอยนี้เลยนะคะ เพียงแต่สงสัยในแง่ของประติมาณวิทยาเฉยๆ

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ และขออภัยที่ช่างถามเหลือเกิน

รูปรอยพระบาทที่อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ค่ะ
#39
เพื่อเป็นการฉลองวันเกิดซึ่งพิเศษที่สุดปีหนึ่งในชีวิต และแสดงความรักต่อครอบครัว HM ดิฉันขอแบ่งปันภาพพระเป็นเจ้าฝีมืออาจารย์สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ ซึ่งเป็นภาพต้นแบบในการทำบานกระจกสแตนกลาส วิหารพระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาว ปางปรินิพพาน ณ พุทธอุทยานมหารุกขปริชาติ วัดป่าภูก้อน อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานีค่ะ

ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงอำนวยพระพรแด่ทุกท่าน

ปล.ภาพอาจไม่สวยสมบูรณ์นะคะ เพราะดิฉันด้อยฝีมือสแกน




เริ่มต้นด้วยพระวิษณุค่ะ
#40
หวังว่าชื่อกระทู้คงไม่ล่อแหลม

และหมายใจว่ากระทู้นี้คงไม่ล่อเป้านะคะ เพราะเกิดขึ้นเพราะความอยากรู้และต้องการทราบมุมมองจากทุกๆท่านค่ะ หากไม่เหมาะสม หรือน่ารำคาญประการใด รบกวนผู้เกี่ยวข้องทำความสะอาดได้เลยนะคะ

เคยอ่านคู่สร้างคู่สมเมื่อไม่นานมานี้ มีบทความเล่าถึงตำนานเมื่อครั้งพระรามจะเสด็จเดินดง ผู้คนในเมืองออกไปส่งเสด็จ ท่านรับสั่งให้ชายหญิงทั้งหลายกลับไป ปรากฎว่าคนทั้งหลายกลับเข้าเมือง ยกเว้นคนกลุ่มหนึ่งเดินตามไปส่งเสด็จต่อ เมื่อทรงสงสัยแล้วตรัสถาม คนเหล่านั้นตอบว่า รับสั่งให้ 'ชายหญิง' กลับเข้าเมือง พวกเขาไม่ใช่ทั้งสองอย่างจึงมาส่งด้วยความภักดี

พระรามพระราชทานพรให้คนกลุ่มนี้สร้างความสุขให้โลก ยังชีพด้วยการเต้นรำ คนพวกนี้คือ Hijra หรือกะเทย

อาจเป็นเพราะชาติพันธุ์เดียวกัน ทำให้ดิฉันสนใจประเด็นนี้มาก เคยได้ยินได้ฟังมาก็มาก แต่อยากได้ทัศนะจากท่านทั้งหลายในบอร์ด ซึ่งเต็มไปด้วยนักปราชญ์และผู้รู้ในด้านนี้ รบกวนดังนี้ค่ะ

1. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู คิดอย่างไรกับเพศที่สาม โดยเฉพาะกะเทย
2. เคยได้ยินว่าเทวสถานบางแห่งมีกะเทยเป็นนางระบำและมีกะเทยบูชาโดยเฉพาะ มีจริงไหม ที่ไหน และทำไมเป็นเช่นนั้นคะ
3. คนอินเดียโดยทั่วไป มีทัศนคติอย่างไรต่อคนกลุ่มนี้
4. เหมือนจะเคยทราบว่ามีเทวรูปพระเทวีองค์หนึ่ง ประทับบนไก่ ได้รับการบูชาจากกะเทยมาก ใช่หรือไม่และถ้าใช่ ท่านคือใครและเพราะอะไร
5. อันนี้ส่วนตัวนะคะ เมื่องานแห่พระแม่ที่สีลมครั้งล่าสุด ดิฉันเข้าไปช่วยชักรถทรงพระกฤษณะแล้วกำลังจะยื่นมือไปแตะรถ เจ้าหน้าทีร้องห้ามบอก  ห้ามผู้หญิงจับ เอ่อ...ดิฉันควรจับไหมคะ เพราะดิฉันก็เป็นผู้ชาย (ที่นุ่งห่มอาภรณ์สตรี) แต่วันนั้นไม่ได้จับเพราะเห็นว่าเราสวมอาภรณ์สตรีอยู่ (ข้อนี้ค่อนข้างปัญญาอ่อน)
6. ในเทวตำนานมีเรื่องของกะเทยบ้างไหมคะ นอกจากท้าวอิลา

หวังว่าคงไม่ใช่กระทู้ที่ไปกวนโทสะใคร ดิฉันใคร่จะทราบจริงๆค่ะ รบกวนทุกท่านด้วย

ปล.ดิฉันตั้งด้วยความบริสุทธิ์ใจ ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงปกป้องกระทู้นี้และตัวดิฉันด้วย