Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - อินทุศีตาลา

#1
รูปแม่นางเสื้อเหลืองเชิญของหมั้นข้างบนนี้ ใหญ่โตเด่นดวงดีแท้ๆค่ะ 5555555555
ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีค่ะ รูปสวยงามมากค่ะ
#2
มีข่าวมงคลมาฝากทุกท่านค่ะ


สายยัชโญปวีต ถือเป็ฯคเรื่องหมายสำคัญที่สุดของผู้ถือเพศเป็นพราหมณ์ ตามประเพณีแล้วเมื่อได้รับการสวมสายมงคลนี้ในฐานะพราหมณ์แล้วจะไม่ถอดออกจากร่างกายเลยตลอดทั้งปี เปลี่ยนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นซึ่งถือเป็นวาระพิเศษยิ่ง

ในปี พ.ศ.2554 นี้ ได้มีการจัดพิธีเปลี่ยนสายยัชโญปวีตตามแบบประเพณีอินเดียเหนือขึ้น โดยเหล่าบัณฑิตจากเทวสถานเทพมณเฑียรเป็นผู้กระทำพิธีเปลี่ยนสายยัชโญปวีตของท่านเอง ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์พิธีศักดิ์สิทธิ์นี้อย่างใกล้ชิด โดยจะสามารถเข้าร่วมพิธีชำระบาปด้วยการอาบน้ำมงคลทั้ง 10 ประการ รับพรแรกอันศักดิ์สิทธิจากเหล่าพราหมณ์ผู้เพิ่งเปลี่ยนยัชโญปวีตใหม่ซึ่งถือว่าบริสุทธิ์ที่สุดในรอบปี ผูกด้ายมงคลที่ข้อมือ ณ ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง

รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 086 300 1691


#3
ระหว่างนี้คณะผู้จัดงานจะได้จัดให้มีการบรรจุหีบห่อและเตรียมข้าวของสำหรับการจัดงานทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ณ ชั้นสอง เทวสถานเทพมณเฑียร  หากท่านใดสนใจจะช่วยงาน พบกันได้ตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไปค่ะ
#4
นอกเหนือจากกิจกรรมเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ภายในงานยังได้เพิ่มกิจกรรมอันเป้ฯสาระความรู้และความบันเทิงไว้มากมาย อาทิ
การแสดงภารตนาฏยัมและการแสดงดนตรีแบบอินเดีย, การตอบคำถามชิงรางวัล, การแสดงดนตรีไทยจากโรงเรียนภารตวิทยา, กิจกรรมเสวนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการบูชาเทพ

ตลอดงานจะมีการแจกวัตถุมงคลเป็นระยะๆ ทั้งนี้ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://www.pinakin.in.th/index.php และ http://www.facebook.com/profile.php?id=100001963083074&sk=photos#!/event.php?eid=218738044812317

#5
ขออนุญาตนำรายละเอียดการจัดงานมาแจ้งให้ทราบนะคะ

การจัดงานคเณศจตุรถี หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 'มงคลมูรติสมภพ' ของเทวสถานเทพมณเฑียร ปีนี้ จะมีการจัดสร้างเทวรูปพระคเณศสูงถึง 3 เมตร นำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม โดยจำลองมาจากเทวรูปพระคเณศองค์ประธานของเทวสถานเทพมณเฑียร เพื่อใช้เป็นเทวรูปประธานของการจัดงานและจะได้อัญเชิญลงลอยในแม่น้ำเจ้าพระยาตามประเพณีฮินดู

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆดังนี้
1. เขียนคำอธิษฐาน ขอพระต่อพระคเณศ แล้วนำไปหย่อนลงในรูปมุสิกราช(หนู) สูงถึง 1 เมตร เพื่อขอให้ท่านช่วยนำทูลพระคเณศ

2.บูชาพระคเณศหนุนดวง เขียนชื่อ นามสกุล แล้วหย่อนลงในหม้อกลัศสูงถึง 1.5 เมตร ซึ่งจะนำไปลอยน้ำตามประเพณีเช่นกัน ถือเป็ฯการสะเดาะเคราะห์ หนุนดวง

3.บูชาพระคเณศทั้ง 32 ปาง

4. บูชาพระอัษฏวินายกะ

5.สรงน้ำมันหอมเทวรูปพระคเณศ

6. ปิดทองเทวรูปพระคเณศ

7. ไกวชิงช้าถวายพระสิทธิวินายก

8. สรงธัญพืชถวายเทวรูปพระคเณศ

9.การแสดงภาพวาดพระคเณศ ที่ชั้นสอง เทวสาถนเทพมณเฑียร

10ประทักษิณรอบเทวรูปพระคเณศเพื่อความเป้ฯสิริมงคล

11. ถวายเครื่องบูชาและผลไม้แด่พระคเณศ

นอกจากนี้ทางผู้จัดงานยังได้เปิดโอกาสให้ผู้รว่มงานทุกท่านนำดินจากบ้านของตนมาบรรจุไว้ในกลัศเพื่อนำไปลอยน้ำพร้อมกัน ถือเสมือนได้ร่วมสร้างพระเทวรูปสำหรับบูชาในเทศกาลอันเป้นมงคลนี้

#6
ขอบพระคุณ คุณพี่ศรีมหามารตีมากเลยค่ะ ถูกใจอย่างที่ต้องการ ไม่ผิดหวังจริงๆค่ะ

ทั้งนี้ หนูมีเรื่องเล็กๆน้อยๆอยากรบกวนขอความรู้จากคุณพี่ศรีมหามารตีมากลเลยค่ะ แต่ไม่สามารถออกอากาศได้ 55555
ถ้าคุณพี่ไม่รังเกียจ หนูอยากจะรบกวนขอแอด msn จากคุณพี่ด้วยค่ะ
รบกวนคุณพี่ส่ง Adress สำหรับ msn ของคุณพี่มาให้หนูที่

dongnaka@hotmail.com ได้ไหมคะ

หวังว่าคุณพี่จะกรุณาอีกครั้งด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ
#7
ดิฉันปรารถนาจะได้รูปพระพรหมมีงามๆสัก 2 - 3 ภาพ คิดว่าในจักรภพนี้คงไม่มีใครมีคลังภาพงามๆ หายากๆ ได้เท่าคุณศรีมหามารตีอีกแล้ว เลยอยากรบกวนด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ
#8
ติดต่อโดยตรงที่กลุ่มปิณากิน ผู้จัดงานเลยค่ะ
#9
ประกาศรับอาสาสมัคร
   1 . อาสาสมัครทีมงานจัดงานพิธีคเณศจตุรถี  จำนวน 30 ท่าน
   2.  อาสาสมัครวงดนตรีอาสา ในขบวนแห่ องค์พระพิฆเนศ
   3. รถกะบะอาสา  สำหรับขบวนแห่องค์พระพิฆเนศ
   ติดต่อได้ที่ กลุ่มปินากิน
#10


1  เชิญร่วมประกวดวาดภาพ " พระพิฆเนศผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล "  ระดับอุดมศึกษา ผู้ชนะเลิศ 3 ท่าน
  ได้รับของที่ระลึกจากโบสถ์เทพมณเฑียร และผลงานที่เข้ารอบ 32 ภาพ จะนำมาแสดงในงาน  คเณศจตุรถี   
ส่งภาพผลงานได้ที่  ร้านอีศ (เจเจมอล  ชั้น 2) หรือ  email : piyanat_s@yahoo.com
                        หมดเขตส่งผลงาน 20 สิงหาคม 54
                หมายเหตุ : ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดจะนำมาแสดงในเว๊ปไซค์ : ปินากิน
   
2  เชิญร่วมประกวดภาพถ่าย "ด้วยแรงศรัทธา "สำหรับบุคคลทั่วไป  ในงานพิธี คเณศจตุรถี  มงคลมูรติสมภพ       
      กำหนดส่งภาพ หลังงานพิธีคเณศจตุรถี   วันที่ 6-15 กันยายน 54  ผู้ชนะการประกวด 3 ท่าน
                        จะได้รับของที่ระลึกจากโบสถ์เทพมณเฑียร 
       ส่งภาพได้ที่ กลุ่มปินากิน  หรือ ร้านอีศ เจเจ มอลล์ ชั้น 2 หรือ email : piyanat_s@yahoo.com 

          ติดต่อกลุ่มปินากิน 088-1879524 , 085-9042801,086-8889294

#11
สาธุค่ะ ขอบพระคุณคุรอักษรชนนีที่นำข่าวสารดีๆมาบอกต่อ
และขอบพระคุณท่านอาจารย์หริทาสค่ะที่จัดงานมงคลเช่นนี้ขึ้นมา
#12
การที่พระอาทิตย์ในวัฒนธรรมทวาราวดี (ซึ่งในยุคหลังนักวิการหลายท่านเรียกชื่อใหม่ว่าเป็นเทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย) มีรูปลักษณ์เช่นนี้มีความน่าสนใจมาก นักวิชาการอาทิ อาจารย์สันติ เล็กสุขุม อธิบายว่ามีความเชื่อมโยงกับแนวคิดที่ว่าลัทธิการบูชาพระอาทิตย์มาจากอารยธรรมอื่นที่มิใช่อารยธรรมดั้งเดิมของอินเดีย

การแต่งพระองค์ของพระเทวรูปทำให้นึกถึงชนเผ่าซิเถียนซึ่งเป็นชนเร่ร่อนเชื่อสายอิหร่านซึ่งบูชาพระอาทิตย์ การที่ช่างในอารยธรรมทวาราวดีสร้างเวรุปพระอาทิตย์ให้แต่งพระองค์เช่นนั้นและสร้างให้ทรงมีพระเกศาหยิก มีพระมัสสุดกหนาอาจมีต้นทางมาจากชาวซิเถียนก็ได้

อย่างไรก็ตามการค้นพบเทวรูปพระอาทิตย์จำนวนมากที่เมืองศรีเทพก็ทำให้เราทราบว่ามีการบูชาพระองค์ที่เมืองนี้ในเวลานั้น

ขอแก้ไขข้อมูลนะคะ เทวรูปพระอาทิตย์แบบทวาราวดีนี้ค้นพบในเมืองไทยทั้งสิ้น 6 องค์ เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร 3 องค์, จัดแสดงไว้ที่พิพิพธภัณธ์นอร์ตัน ไซม่อน ประเทศสหรัฐอเมริกา 1 องค์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายร์ 1 องค์, และที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศรีเทพ 1 องค์ ค่ะ
#13
เทวรูปพระอาทิตย์ที่ค้นพบที่เมืองโบราณศรีเทพนั้น พบเป้ฯจำนวนมากอย่างน่าสนใจนะคะ อย่างต่ำๆน่าจะประมาณ 5 องค์ ส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และมีสององค์เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรีค่ะ

ทุกองค์ทำด้วยหินทรายสีขาว และมีรูปแบบทางประติมาณวิทยาที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ ประทับยืน มีสองพระหัตถ์ สวมพระมาลาทรงกระบอก บางครั้งพระมาลาเป้ฯทรงกลมบางครั้งทำเป้ฯเหลี่ยมประดับลวดลายสวยงาม พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระยื่นมาด้านหน้า ทรงดอกบัวไว้ทั้งสองพระหัตถ์ และสัญลักษณ์สำคัญที่ทำให้ทราบว่าคือพระอาทิตย์ก็คือ มีประภามณฑลที่ด้านหลังพระเศียรเป็นรูปวงกลมและทรงฉลองพระองค์ยาวคลุมจนถึงพระอุรุหรือต้นขา นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะทรงฉลองพระบาทใหญ่แบบรองเท่าบู๊ทส์ และมีอยู่หนึ่งหรือสององค์ที่ช่างสลักอย่างชัดเจนว่ามีพระเกศาหยิกและมีพระมัสสุหรือหนวดเครา ดกครึ้ม

Thanks: เกมส์ทําอาหารเกมส์ต่อสู้เกมส์ปลูกผักเกมส์มันๆของขวัญ
#14
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณพันกว่าปีที่แล้ว ในดินแดนแถบภาคกลางของประเทศไทยซึ่งในเวลานั้นเป็นเมืองชายฝั่ง ด้วยอ่าวไทยยังกินพื้นที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินมากกว่าในเวลานี้

ปรากฎอารยธรรมหนึ่งในดินแดนชายฝั่ง ซึ่งนักวิชาการเรียกกันว่า 'ทวาราวดี' ซึ่งยังถกเถียงกันอยู่ว่าผู้คนในอารยธรรมนี้มีเชื้อสายใดกันแน่ แต่จากร่องรอยทางโบราณคดีที่พบ ทราบว่าพวกเขาใช้ภาษามอญในการจารึก มีการติดต่อค้าขายกับเมืองชายฝั่งของวัฒนธรรมอื่น เช่น จีน อินเดีย และนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป้นหลัก ทว่าก็ยังพบร่องรอยของศาสนาพราหมณ์อยู่ด้วยเช่นกัน

เมืองสำคัญของอาณาจัรทวาราวดี มักพบอยู่ริมทะเล (โบราณ) ซึ่งกระจายในในจังหวัดต่างๆของภาคกลางของไทย อาทิ นครปฐม ลพบุรี นครสวรรค์และเพชรบูรณ์ เป็นต้น

และที่เมืองเพชรบูรณ์นี้เอง มีเมืองโบราณสมัยทวหาราวดีซึ่งน่าจะเคยเป้ฯเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง ชื่อว่าเมือง 'ศรีเทพ' ซึ่งนอกจากจะพบร่องรอยของสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่มากมายแล้วยังพบพระพุทธรูปแบบทวาราวดีอีกจำนวนหนึ่ง และที่สำคัญที่สุดที่ดิฉันจะชวนทุกท่านคุยกันวันนี้คือ

เทวรูปพระอาทิตย์

Thanks: เกมส์ทําอาหารเกมส์ต่อสู้เกมส์ปลูกผักเกมส์มันๆของขวัญ
#15
สวัสดีค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความชื่นชมกับห้องใหม่ของบอร์ดเรานะคะ ขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ห้องที่อัดแน่นไปด้วยสาระเช่นนี้ขึ้นมาค่ะ

ดิฉันใฝ่ใจจะเข้ามาชวนทุกท่านในห้องนี้คุยอยู่นานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เข้ามาเสียทีจนแล้วจนรอด วันนี้ฤกษ์ดีค่ะขอเริ่มต้นด้วยเรื่องอันว่าด้วยพระอาทิตย์ซึ่งจัดเป็นเทพเจ้าพระองค์สำคัญที่เคยมีบทบาทในสมัยโบราณทั้งในชมพูทวีปและดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา แม้ในปัจจุบันท่านก็ยังคงเป้นเทพเจ้าที่ได้รับความเคารพนับถืออยู่มากพอสมควรในอินเดีย ทว่าในบ้านเรากลับน้อยลงไปจนแทบไม่มีใครทราบเรื่องราวของท่านแล้ว

Thanks: เกมส์ทําอาหารเกมส์ต่อสู้เกมส์ปลูกผักเกมส์มันๆของขวัญ
#16
ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีสำหรับภาพงามๆและความรู้ดีๆค่ะ

ติดตามต่อไปอย่างใจจดจ่อ
#17
ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีมากค่ะสำหรับภาพสวยงามและหาชมได้ยากเช่นนี้
รวมถึงสาระที่หลายคนยังไม่ทราบหรือมองข้ามไปด้วยค่ะ

#18
ยินดีและชื่นใจมากเหลือเกินค่ะที่ได้เห็ฯห้องใหม่ห้องนี้ ขอให้กิจนี้จงประสบความสำเร็จสมดังความปรารถนาของทีมงานค่ะ

#19
ขออนุญาตแก้ไขข้อมูลผิดพลาดค่ะ ดิฉันเบลอไปนิด

จากความเห็นที่ 11 พราหมณ์เบิกบายศรี 'แก้ว ทอง เงิน' นะคะ ไม่ใช่ 'ทอง นาก เงิน'

ขอประทานอภัยค่ะ
#21
นอกจากในเมืองไทยแล้ว ในประเทศเพื่อนบ้านหลายชาติก็มีการถวายเครื่องทรงแด่พระพุทธรูปด้วย อาทิ พระบางที่ประเทศลาว และที่สำคัญที่สุดคือพระมหามัยมุนีเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า ซึ่งนอกจากเครื่องทรงอันอลังการแล้ว ทุกเช้ายังมีพิธ๊ล้างพระพักตร์และถวายภัตตาหารแด่พระองค์ ซึ่งทำสืบต่อกันมาช้านานแล้ว สะท้อนให้เห็ฯกลิ่นอายการรับ - ส่ง - ถ่ายทอด ทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจมากค่ะ



ดังนี้ จึงขอยุติเพียงเท่านี้ โอกาสหน้าพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ
#22


ขอให้สังเกตว่าเครื่องทรงทุกชิ้นมีรอยต่อประกบกัน สามารถถอดออกได้





แม้แต่ฉลองพระบาทก็สามารถถอดออกได้ค่ะ

นักวิชาการเชื่อว่าการถวายเครื่องทรงแด่พระพุทธรูปมีวิวัฒนาการมาจากการถวายเครื่องทรงแด่พระเทวรูป โดยฝ่ายพุทธได้เพิ่มเติมคติเรื่องพระพุทธรูปปางทรมานพระยามหาชมพูขึ้นภายหลังค่ะ



#23
พระพุทธรูปทรงเครื่องเช่นนี้ เป็นที่นิยมสร้างในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นค่ะ โดยถือเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของเจ้านายชั้นสูง เครื่องทรงทุกชิ้นถอดประกอบได้และสร้างสรรค์อย่างละเอียดปราณีต รูปแบบของฉลองพระองค์คล้ายคลึงกับพระเครื่องต้น








#24
ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีสำหรับข่าวที่น่าปีติยิ่งนี้ค่ะ

เมื่อสองปีที่แล้วเคยเห็นกับตาว่าสีทาผนังสถานพระอิศวรซึ่งแห้งแล้วลอกเป็นแผ่น ร่วงลงมาโดนคนที่นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงคราบูรณะอีกที

ดูในภาพข่าว มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างนิดๆหน่อยๆนะคะ เช่น จำได้ว่าพระรามแผลงศรองค์นั้นเคยประดิษฐานอยู่ในสถานพระนารายณ์ (เอ..หรือเราจำผิดหว่า) ท่านยกมาชั่วคราวเพราะโบสถ์ริมซ่อมอยู่หรือย่างไรคะ

ไม่ทราบว่าเบญจาดาดผ้าขาวหลังน้อยด้านขวาของภาพจะใช้ประดิษฐานอะไรคะ

ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีอีกครั้งค่ะ
#25
จะเห็นว่าลำดับพระราชพิธีการเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรนั้น คล้ายกับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระเทวรูป คือ เริ่มต้นด้วยการอภิเษก การเปลี่ยนเครื่องทรง การบูชาด้วยมนตราและอาหาร (ในที่นี้คือบายศรี) แล้วอารตีถวายไฟ

เมื่อไม่นานมานี้ได้สนทนากับท่านอาจารย์หริทาส ซึ่งได้กรุณาอธิบายไว้อย่างน่าสนใจและสามารถใช้เป็นบทสรุปของอินทุศีตาลาชวนคุยตอนนี้ได้อย่างดีว่า 'ร่องรอยของการถ่ายทอด รับส่งขนบธรรมเนียมและประเพณีของอินเดียกับไทยนั้นยังสามารถเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะในราชสำนักไทย '
นอกจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว พระพุทธรูปอีกหลายองค์ที่ทรงเครื่องอลังกาลัมไว้อย่างอลังการ อาทิ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระพุทธเลิศหล้านภาลัยและบรรดาพระพุทธรูปฉลองพระองค์บนฐานชุกชีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเครื่องทรงทุกชิ้นสามารถถอดประกอบได้อย่างน่าอัศจรรย์ ล้วนทำขึ้นจากโลหะมีค่า ดังเราสามารถใช้เป็นอย่างในการจินตนาการถึงการทรงเครื่องถวายแด่เทวรูปพระวิษณุอนันตศายินและพระศิวะ? ศิลปะบาปวนที่ได้ยกมาให้ชมตอนต้น
เพื่อให้เห็นภาพว่าพระพุทธรูปทรงเครื่องเหล่านี้ สามารถถอดประกอบเครื่องได้อย่างไรนั้น ดิฉันขอนำรูปพระพุทธรูปทรงเครื่องในพระอุโบสถวัดเทพธิดารามมาให้ชมกันเป็นการปิดท้ายค่ะ

#26


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงผสมพระสุคนธ์ในภาชนะต่างๆ บนโต๊ะที่ทอดอยู่เบื้องพระพักตร์นั้น เจ้าพนักงานอัญเชิญเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรซึ่งเพิ่งเปลื้องเสร็จ ลงมาทอดไว้

จากนั้นไป พระราชครูพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนบายศรีทอง นาค เงิน เวียนเทียนสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้วทรงหลั่งน้ำพระสุคนธ์จากพระมหาสังข์ลงในพระหัตถ์ลูบพระองค์เพื่อสวัสดิมงคล ตลอดจนพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ แล้วทรงพระสุหร่ายข้าราชการและประชาชนบรรดาที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ทั่วกันจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ


พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเวียนเทียนสมโภช





#27
จากนั้นเจ้าพนักงานถวายผ้าขาวเนื้อดีเพื่อทรงซับพระองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระราชทานคืน เจ้าพนักงานเชิญลงมา
จากนั้นเจ้าพนักงานจะถวายเครื่องประดับพระเศียรสำหรับฤดูกาลใหม่ ทรงรับแล้วสวมถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  ทรงคมแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับลงมาเบื้องล่าง ประทับพระราชอาสน์บริเวณโต๊ะซึ่งเชิญเครื่องผสมพระสุคนธ์ไว้ ทรงผสมพระสุคนธ์อันได้มาจากการสรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้วทรงแบ่งพระราชทานเจ้าพนักงานเก็บไว้ ระหว่างนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานสวมเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจนครบบริบูรณ์ แล้วเสด็จออกทรงเปลี่ยนพระรัศมีพระสัมพุทธพรรณีหน้าชุกชี แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการต่างๆบูชาพระพุทธรูปสำคัญในพระอุโบสถ แล้วประทับพระราชอาสน์


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงซับพระองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรด้วยผ้าขาวเนื้อดี
#28
เมื่อทรงถอดเครื่องประดับพระเศียรพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออกนั้น เจ้าพนักงานประโคม ประโคมและเป่าสังข์ บัณฑิตไกวบัณเฑาะว์ไปจนตลอด
จากนั้นเจ้าพนักงานพระราชพิธีถวายพระมหาสังข์ประจำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งปรกติทอดถวายไว้ด้านหน้าองค์พระ ทรงรับแล้วหลั่งน้ำพระสุคนธ์ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วพระราชทานพระมหาสังข์คืนให้เจ้าพนักงานรับแล้วเชิญลงมา



สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สรงพระสุคนธ์ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ด้วยพระมหาสังข์ประจำพระองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
#29
พระราชพิธีประจำอันสำคัญยิ่งพระราชพิธีหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตลอดระยะเวลากว่า 200 ปีก็คือ พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

พระราชพิธีนี้มีความน่าสนใจตรงที่สามารถนำมาเปรียบเทียบเชื่อมโยงเข้ากับการปฏิบัติพระเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ได้อย่างมีมิติ กล่าวคือ คล้ายกับการอภิเษกและเปลี่ยนเครื่องทรงพระเทวรูปซึ่งยังคงทำกันอยู่ในพิธีสำคัญประจำปี หรือแม้แต่ประจำวันในเทวสถานสำคัญหลายๆแห่ง


ลำดับพระราชพิธีคร่าวๆจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(หรือผู้แทนพระองค์) เสด็จพระราชดำเนินมาถึงยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ประทับพระราชอาสน์แล้วเจ้าพนักงานอาลักษณ์กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นไปยังบุษบกทองคำทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทางเกยด้านหลังฐานชุกชี
ก่อนหน้านั้นเจ้าพนักงานพระราชพิธีจะเปลื้องเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออก คงเหลือไว้เพียงเครื่องประดับพระเศียร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงยังชั้นบนสุดของเกยซึ่งลาดพระสุจหนี่ไว้ ทรงคม ถวายพวงมาลัยดอกไม้โดยทรงแขวนไว้ที่จงกลเทียนสองข้างบุษบกพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วทรงถอดเครื่องประดับพระเศียรพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออก พระราชทานแก่เจ้าพนักงานซึ่งจะเชิญลงมาเบื้องล่าง  ประดิษฐานบนโต๊ะบริเวณใกล้กับบันไดเกยด้านทิศตะวันออกซึ่งเชิญเครื่องทรงชิ้นอื่นๆลงมาประดิษฐานไว้ก่อนแล้ว โต๊ะนี้จะทอดภาชนะสำหรับทรงผสมพระสุคนธ์ไว้ด้วย 


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเปลื้องเครื่องประดับพระเศียรพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออก


#30
และยังมีพระพุทธรูปอีกมามายที่เป็นเช่นนี้ แต่จะหาพระพุทธรูปองค์ใดที่ยังคงรักษษขนบของอลังกาลัมไว้ได้อย่างครบถ้วนเช่น พระพุทธรูปองค์นี้หาได้ยากแล้วในราชอาณาจักรไทย



พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

เอาไว้พรุ่งนี้มาต่อนะคะ (สงสัยพูดกับตัวเองคนเดียวนะเนี่ย 55555)
#31
และจากอาณาจักรหนึ่งก็ไหล่บ่าไปสู่อาณาจักรหนึ่ง จนแผ่ขยายไปทั่ว





ขอให้ลองสังเกตดูว่าความปรารถนาจะสัการะพระพุทธรูปด้วยเครื่องอลังกาลัมนั้นไม่เคยห่างหายไปจากจิตสำนึกของผู้คนแทบนี้ เรายังได้เห็นพระพุทธรุปพร้อมเครื่องทรง ทั้งแบบที่ทรงเครื่อง และแบบที่ถวายเครื่องทรงทีหลัง อาทิ



พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกตน้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเสาะหาหยกขนาดใหญ่ สีสันสดใสงดงามแล้วให้ช่างหลวง Faberche จำหลักเป็นพระพุทธรูป เมื่อส่งมาถึงกรุงเทพ ทรงพระกรุณาฯให้สร้างสังวาลย์พระนพและฐานชุกชีถวายเป็นพุทธบูชา



พระพุทธชินราชซึ่งมีธรรมเนียมที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเครื่องทรงถวาย อาทิ รัชกาลที่ 4 ทรงถอดกำไลหยกที่ทรงสวมอยู่ถวายไว้ที่นิ้วพระหัตถ์ต่างพระธัมรงค์ หรือสังวาลย์นพรัตนราชวราภรณ์ที่ในหลวงรัชกาลปัจจุบันถวายไว้ เป้ฯต้น





#32
ในระหว่างวันเวลาและการเปลี่ยนถ่ายทางอำนาจการเมืองระหว่างอาณาจักร คติการ 'ทรงเครื่อง' จึงค่อยๆเลือนหายไปพร้อมๆกับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูที่ค่อยๆซาลง แต่ก็ไม่ได้หายไปเลยนะคะ เพียงแต่ลดลทลาทลงไปเท่านั้น โดยมีศาสนาพุทธทั้งฝ่ายมหายานและหินยานรุ่งเรืองขึ้นแทนที่

อย่างไรก็ตามการอลังกาลัมตามแบบแผนเดิมๆก็หาได้หดหายไปไม่ แต่ได้เปลี่ยนแปลงจนกลายเป็น






พระพุทธรูปทรงเครื่อง

#33
พระวิษณุอนันตศายินในความเห็นที่ 2 นัน พบที่ปราสาทแม่บุญตะวันตก ซึ่งเป็นเทวาลัยในลัทธิไวษณพนิกาย
ส่วนอันหลังนี้พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเชื่อว่าปราสาทหลังนี้เป็นเทวาลัยในลัทธิไศวนิกาย

ทั้งสององค์ถูกจัดอยู่ในศิลปะเขมรหมวดเดียวกันคือ บาปวน และมีรูปร่างคล้ายกันคือประดับกายแต่น้อย พระเศียรโล้น ในส่วนขององค์หลังนั้นมีพิเศษอยู่ที่กรองศอ พาหุรัด ทองกร และเบ้าตามีการเจาะลึกลงไป สันนิษฐานว่าเพื่อฝังอัญมณีมีค่า รูปสำริดนี้ถูกพบเมื่อปี พ.ศ.2532 ที่ด้านหน้าทางขึ้นโคปุระด้านทิศใต้ ขอให้สังเกตว่ามีเดือยอยู่ใต้ฐานเพื่อประดิษฐานบนแท่นที่เจาะรูป้องกันการขยับเขยื้อน

การค้นพบรูปนี้ที่ใกล้ประตูเทวาลัยทำให้ ศ.บวซเซลิเยร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสที่เก่งกาจด้านเอเชียอาคเนย์ศึกษาสันนิษฐานว่าอาจเป้ฯรูปของพระนันทิเกศวร ซึ่งตามปรกติจะรักษาประตูเทวาลัยประธานในลัทธิไศวนิกายคู่กับพระมหากาล

แต่ดิฉันอดคิดไม่ได้จะเป็นพระอิศวรเองได้ไหมหนอ เพราะดูเขาตั้งใจหล่อเสียเหลือหลาย งดงามไม่มีที่ติ และพบแต่เพียงองค์เดียว ไม่เห้ฯมีพระมหากาลเป็นคู่สักหน่อย

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ โถงทางเข้า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ค่ะ

คำถามต่อไปก็คือ แล้วดิฉันเชื่อได้อย่างไรว่าเขาตกแต่งพระเทวรูปด้วยมงกุฎ ขอตอบด้วยภาพนี้ค่ะ



ชิ้นส่วนเครื่องประดับ จัดแสดง ณ พิพิภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ของจริงมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับคนค่ะ ดังนั้นไม่ได้ทำเป็นเครื่องประดับของคนแน่ๆ น่าจะทำถวายรูปเคารพมากกว่า


#34
พระวิษณุสำริดองค์นี้ จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงพนมเปญ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มศิลปะเขมรแบบบาปวน

สังเกตว่าช่างเขมรทำให้พระองค์มีพระเศียรโล้นเรียบ ประดับพระองค์แต่น้อย และมีช่องว่างระหว่างพระหัตถ์ขวากับพระเศียร ทั้งนี้นักวิชาการสันนิษฐานว่าเพื่อให้สามารถสวมเครื่องประดับพระเศียรประเภททงกุฎลงไปได้ โดยที่พระหัตถ์จะรองรับพระมงกุฎพอดี และยังเชื่อว่าคงมีการประดับพระองค์ด้วยเครื่องประดับและผ้าแพรพรรณอีกด้วย หรือบางทีก็อาจจะไม่มีการใช้ผ้าเลยก็ได้ ดังจะได้แสดงให้เห้ฯต่อไปค่ะ

เครื่องประดับเหล่านี้ไม่มีเหลือมาถึงปัจจุบันค่ะ คงเป็นเพราะทำจากโลหะมีค่าเช่น ทองคำ และตกแต่งด้วยอัญมณีจึงกระจัดกระจายพลัดพรายไปตามเรื่อง

ในบ้านเรา มีองค์นี้ค่ะ


#35
คำถามที่ดิฉํนมักถูกถามอยู่เสมอก็คือ ในสมัยโบราณบ้านเมืองแถวนี้เขามีการอลังกาลัมพระเทวรูปกันหรือไม่ อย่างไร

ดิฉันตอบได้ทันที (แต่ไม่รู้ว่าจะถูกหรือเปล่านะคะ) ว่า 'มี'

ขออนุญาตให้ดูรูปนี้นะคะ



พระวิษณุอนันตศายิน ปัทมนาภะ ศิลปะเขมรแบบก่อนนครวัด จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑธสถานแห่งชาติกรุงพนมเปญ
#36
สวัสดีค่ะ

หลังจากที่ไม่ได้แวะเข้ามาชวยทุกท่านคุยเสียพักใหญ่ ด้วยธุระติดพันมากมายดิ้นไม่หลุด ในที่สุดก็เริ่มกลับมาหายใจหายคอสะดวกขึ้น คิดถึงเพื่อนๆในบอร์ดค่ะ เลยกลับเข้ามาชวนคุยเรื่องไม่เป็นเรื่องเสียหน่อย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสสนทนาวิสาสะกับบรรดาผู้มีศรัทธาอย่างยิ่งใหญ๋ต่อพระผู้เป้นเจ้ามากมายหลายท่าน ได้ทราบด้วยความชื่นชมว่าหลายต่อหลายท่านมีความสามารถในการประดับพระเทวรูปด้วยผ้าแพรพรรณและนานาวิภูษิตาภรณ์หลากหลายอันอลังการ ล้วนประดิษฐ์สรรค์สร้างอย่างปราณีตวิจิตรบรรจง ซึ่งแน่นอนว่าดิฉํนผูไร้ฝีมือเชิงช่างใดใดไม่สามารถทำได้

แถมหลายท่านยังมีใจเอื้อเฟื้อเผยแพร่กลวิธีอันแยบคายในการประดิษฐ์ตกแต่งนั้นสู่คนอื่นๆ เป็นกุศลมัยอย่างยิ่งยวด ดิฉันผู้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการใช้วาทะ เลยขออนุญาตมาชวนคุยเรื่องนี้กันค่ะ

การประดับตกแต่งพระเทวรูปนี้ เป็นหนึ่งในวิชาการประดับตกแต่งซึ่งเรียกตามอย่างภาษาสันสกฤตว่า 'อลังกาลัม' อันมาจากรากศัพท์เดียวกับคำว่า 'อลังการ' ที่ใช้ในภาษาไทย

เมื่อมิช้ามินานมานี้ ดิฉันได้มีโอกาสฟังบรรยายจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าอินเดียท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้กล่าวถึงการอลังกาลัม ไว้อย่างน่าสนใจว่า ปรัชญาของการอลังกาลัมในอินเดียกับอลังกาลัมในบ้านเราต่างกัน ของเขาเน้นว่า ยิ่งเยอะยิ่งงาม ส่วนของบ้านเราเน้นความละเอียดวิจิตร แต่จะเยอะหรือน้อยไม่สำคัญค่ะ

ทั้งนี้ในส่วนนี้หากใครมีอะไรเพิ่มเติมก็ยินดีแลกเปลี่ยนนะคะ อยากได้ความรู้เพิ่มเติมเหมือนกันค่ะ





#37
แย่แล้ว รูปไม่ขึ้นจริงๆค่ะ

55555555 สงสัยต้องละความพยายาม
#38
ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีค่ะ อันที่จริงรูปที่ไม่ขึ้นอยู่ในกระทู้ที่ 13 แต่ขออนุญาตยกลงมาไว้ที่นี่เลยค่ะ



พระนารายณ์ ประทับยืนบนดอกบัว พระหัตถ์ขวาบนทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์ พระหัตถ์ขวาล่าง ประทานพร ส่วนพระหัตถ์ว้ายล่างทรงดอกบัว ซึ่งหายไปแล้วเพราะเขาทำดอกบัวต่างหากจากองค์เทวรูป ปัจจุบันเหลือวงแหวนอยู่ระหว่างนิ้วพระหัตถ์ที่จีบเป็นท่าถือ สามารถนำดอกบัวมาเสียบลงไปได้

#40
หมายความว่าคติการสร้างพระเทวรูปและพระพุทธรุปของคนสุโขทัยไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่การสร้างพระเทวรูปที่งดงาม และมีขนาดใหญ่โตย่อมแสดงให้เห้ฯความสำคัญของศาสนาพราหมณ์ ในอาณาจักรแห่งนี้ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองของคนในสุโขทัยและคนของเขมร ดังจะเห้ฯว่าช่างสุโขทัยพยายามคิดค้นและออกแบบพระเทวรูปของตัวเองขึ้นมา โดยปฏิเสธศิลปะเขมร ทว่ากลับสัมพันธ์กับศิลปะลังกาอย่างมีมิติ

และที่น่าสนใจกว่านั้นคือไม่ว่าสุโขทัยจะพยายามเช่นไร แต่หลังจากอิทธิพลทางการเมืองของตัวเองเสื่อมลง รูปลักษณ์ของพระเทวรูปแบบสุโขทัยก็ค่อยๆหายไป กลับไปรับอิทธิพลเขมร เช่นเดิม

ดังจะเห็นได้จากเทวรูปที่สร้างในสมัยหลังจากนี้จะค่อยๆทวีความแข็งกระด้างขึ้น แสดงทิพยภาวะขึงขังขององค์เทพออกมาให้มากที่สุด

เราจึงได้เห็นเทวรูปสมัยต่อมาทีค่อยๆแข็งขึ้น อาทิ พระคเณศองค์ประธานในสถานพระคเณศ เทวสถานสำหรับพระนคร หรือพระอิศวรประทับนั่งขัดสมาธิซึ่งดิฉันเคยพบเห็นเพียงสององค์ องค์หนึ่งประดิษฐานบนชุกชีของสถานพระอิศวร เทวสถานสำหรับพระนคร และอีกองคืหนึ่งอยู่ในความครอบครองของเอกชน