Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - สการะวาตี

#1
แนะนำให้หาตามโรงหล่อพระหรือร้านขายรูปปั้นตามริมถนนนะคะ
#2
ดิฉันเคยไปหาองค์เทวรูปที่นั่นตอนปีใหม่ แต่ค่อนข้างหายากมาก และก็ไม่ได้บูชากลับมา ขนาดเท่าพระองค์จริงน่าจะไม่มีนะคะหรืออาจมีก็ได้นะแต่คงยาก เพราะเดินดูเกือบทุกร้านไม่ค่อยมีองค์เทพเลยค่ะ ส่วนมากจะเป็นพวกของตกแต่งบ้าน ถ้าองค์เทพก็จะเป็นปูนน่ะค่ะ
#3
พอดีได้บูชาองค์พระพิฆเนศมาค่ะ เป็นศิลาแลง แต่ตอนล้างดินออกทำให้สีที่เคลือบหลุด อยากรู้ว่าเขาใช้อะไรทาศิลาแลงคะ ใครพอรู้บ้าง
#4
คุณกาลิทัสเป็นผู้ที่มีความรู้ดีจังเลยนะคะ ^^ ปรบมือ 888
#7
น้ำนม คือ ความบริสุทธิ์
ดอกบัวและดวงประทีป คือ การบูชา

การบูชาแบบนี้ หมายถึง บูชาด้วยใจที่บริสุทธิ์ประดุจดังน้ำนมค่ะ^^
#8
ใช่ค่ะคือน้ำนม^^
#9
ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งของ เพียงแต่ระลึกถึงท่านภายในใจ น้อมท่านเข้ามาในใจหรือภาวนาพระนามถึงท่าน แค่นี้ก็แสดงถึงความศรัทธาของตัวเราแล้ว พระแม่ท่านทรงรับรู้ ทุกสรรพสิ่ง ทุกอย่างสำเร็จที่ใจ อาจเป็นบททดสอบอย่างนึงก็ได้ ผ่านมันไปให้ได้นะ อย่ายอมแพ้
ทุกอย่างสำเร็จที่ใจ ลองไปวัดแขกบอกสิ่งนั้นแก่ท่าน ว่าท่านศรัทธาในพระแม่ ลูกขอบูชาท่านในใจลูกตลอดไป และบอกปัญหากับท่าน น้อมบูชาท่านในจิต และอีกอย่างทำใจให้สบาย ปล่อยใจให้ว่างๆ และห้ามตำหนิคุณแม่หรือครอบครัวของท่าน แล้วสักวันท่านจะได้บูชาตามแบบที่ท่านต้องการอย่างแน่นอน ขอพระองค์ทรงคุ้มครอง
#11
สวยงามเหมาะสมแล้วค่ะ แต่ถ้าถวายอาภรณ์แด่มูรติจะสวยงามเป็นอย่างมาก ชอบหิ้งพระที่แยกกันเป็นสัดส่วนจัง^^
#12
ทินเนอร์น่าจะล้างออกนะคะ ลองใช้ผ้าหรือสำลีชุบแล้วเช็ดดูค่ะ หาซื้อได้ตามร้านที่ขายสีทาบ้าน ร้านโชห่วยใกล้บ้านลองถามเขาดู แต่ควรระวังการใช้หน่อยนะคะ เพราะทินเนอร์เป็นตัวทำละลายแต่ใช้กับเรซิ่นที่มีความแข็งอยู่แล้วคงไม่เป็นไร อย่าให้เข้าตาหรือสูดดมเป็นเวลานานๆ ^^
#13
อยากสอบถามถึงเทวรูปของคุณทิพย์ที่บูชาที่เป็นองค์พระแม่ ได้บูชามาจากวัด หรือได้มีการเบิกเนตรจากวัดหรือเปล่าคะ ถ้าบูชามาโดยยังไม่ได้เบิกเนตรพระองค์ ดิฉันแนะนำให้นำไปวัดเทพมนเฑียน หรือเทวสถานต่างๆที่มีพราหมประกอบพิธีให้ค่ะ^^
#14
ดิฉันแนะนำให้แขวนพระศอพระแม่กาลีค่ะ พลังพระองค์จะได้เย็นลง ส่งผลให้ท่านบูชาสงบสุขร่มเย็น^^
#15
ลาดูโมทกะ-พระพิฆเนศ
กุหลาบจามุน-พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทรุคา พระนารายณ์
เปร่า,บราฟี่-พระแม่ลักษมี
#16
อาหารที่ถวายต่อเบื้องพระพักตร์ของเทวรูปหรือภาพวาดของพระองค์ ชาวฮินดูเขาเรียกว่า ประสาด (Prasad) ซึ่งเป็นอาหารประเภทเดียวที่เทพเจ้าทรงรับจากมนุษย์ คำว่า "ประสาด" เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤตที่หมายถึง "ของขวัญแห่งพระเจ้า"

ในระหว่างการบูชาต่างๆ ชาวฮินดูจะถวายสิ่งของบางอย่างแด่พระเจ้า ข้าวของที่ถวายนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้ศรัทธาจะสรรหามาได้ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ ขนมหวาน ข้าว น้ำตาลอ้อย นม มะพร้าว ต้นกล้วย เป็นต้น แต่ประสาดมักจะใช้เรียกของที่รับประทานได้ และภายหลังถวายแด่เทพเจ้าแล้ว ประสาดก็จะถูกนำมาแจกจ่ายให้กัน ระหว่างผู้ที่ถวาย คนในครอบครัว และเพื่อนๆ

ชาวฮินดูเชื่อกันว่าพระเจ้าทรงรับอาหารที่ถวายให้แม้เป็นเพียงน้อยนิดแต่ก็อุทิศให้ด้วยความรักและศรัทธา โดยไม่จำเป็นต้องเป็นของสูงค่าอย่างเงิน ทอง หรือเครื่องแต่งกายมีราคาแต่อย่างใด จิตใจที่สูงส่งของผู้ที่อุทิศให้สูงค่ามากกว่า และเชื่อกันว่าพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้านั้นจะหลั่งใหลเข้าสู่ผู้ที่อุทิศผ่านทางประสาดนี่เอง แต่ถ้ามอบถวายโดยมิได้มีความศรัทธา อันนั้นไม่รวมเรียกว่า "ประสาด"

#17
ธันเตราส (Dhanteras) เป็นวันแรกของเทศกาลดิวาลี (Diwali) ปีใหม่ของชาวฮินดู ที่เฉลิมฉลองกันทั้งในอินเดียและทั่วโลก ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ แห่งเดือนการ์ติก (Kartik) ตามปฏิทินฮินดู วันนี้ยังเรียกกันในชื่อต่างๆ เช่น ธันตระโยทศรี (Dhantrayodashi) หรือ ธันวันตาริ ไตรโอทาสิ (Dhanwantari Triodasi) เป็นต้น ซึ่งเป็นวันที่แสดงถึงการเริ่มต้นของเทศกาลดิวาลีที่จะดำเนินไปเป็นเวลาห้าวันนับจากวันนี้ และวันดิวาลีจริงๆ

ซึ่งจะเฉลิมฉลองกันเป็นเวลาสองวันก่อนวันปีใหม่จริง "ดิวาลี (Diwali)" หรือ "ดีปาวาลี (Deepavali)" เพื่อเป็นการสรรเสริญแด่ "ธันวันตาริ (Dhanvantari)" อวตารปางหนึ่งของ "พระนารายณ์" หรือ "พระวิษณุ (Vishnu)" เทพเจ้าที่สำคัญพระองค์หนึ่งของชาวฮินดู ในตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อเทพและอสูรต่างสามัคคีกันกวนมหาสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤตนั้น ธันวันตาริ ก็ได้บังเกิดขึ้นจากเกษียรสมุทรพร้อมแบกหม้อน้ำอมฤตไว้ ในวันธันเตราสนี้

"ธันเตราส" ยังเรียกกันอีกชื่อว่า "ยมดีพ (Yamadeep)" ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับตำนานหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า กาลครั้งหนึ่งพระโอรสของกษัตริย์หิมะ (Hima) ผู้ทรงมีพระชันษา 16 ชันษา ได้สิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากอสรพิษขบในวันที่สี่หลังวันอภิเษก ซึ่งเป็นไปตามพระชะตาของพระองค์ แต่มเหสีผู้ทรงพระเยาว์ไม่ยินยอมให้เจ้าชายบรรทม พระนางได้วางเครื่องประดับทั้งหมดและเหรียญเงินจำนวนมากไว้ที่ประตูทางเข้าเป็นกองขนาดใหญ่ขวางทางเข้าห้องบรรทมไว้ พร้อมทั้งจุดตะเกียงไฟจำนวนมากเต็มไปหมด แล้วพระนางก็ทรงเล่าเรื่องราวและขับร้องเพลงให้พระสวามีได้สดับฟัง

เมื่อพระยม เทพเจ้าแห่งความตายเสด็จมาถึงในรูปจำแลงของพญางู สายตาของพระองค์ถึงต้องพร่ามัวไปด้วยแสงสะท้อนจากกองเครื่องประดับและเหรียญเงินเบื้องหน้า ไม่สามารถเสด็จเข้าไปในห้องบรรทมของเจ้าชายได้ พระองค์จึงทรงขึ้นไปประทับนั่งบนกองเครื่องประดับและเหรียญเงินที่ขวางทางอยู่นั้น พร้อมสดับฟังเสียงเพลงอันไพเราะตลอดทั้งคืน และเมื่อถึงยามเช้าพระยมก็เสด็จจากไปอย่างเงียบๆ

ดังนั้นเจ้าหญิงจึงสามารถรักษาชีวิตเจ้าชายพระสวามีจากความตายไว้ได้ ตั้งแต่นั้นมา ดันเตราส จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยมดีพดาน (Yamadeepdaan)" และการจุดตะเกียงไฟไว้ทั้งคืนก็เพื่อแสดงความเคารพต่อพระยม เทพเจ้าแห่งความตายนั่นเอง

โดยความหมายของคำว่า "ธัน (Dhan)" นั้นหมายถึง ความมั่งคั่ง ดังนั้นในวันธันเตราสนี้ จึงเน้นการบูชา "พระลักษมี" เทวีแห่งความมั่งคั่ง ในวันนี้ทุกบ้านเรือนและธุรกิจห้างร้านต่างก็ปรับปรุงและตกแต่งสถานที่กันใหม่ ส่วนทางเข้าหน้าบ้านหรือสำนักงานมักตกแต่งด้วย "รังโกลี" ภาพวาดด้วยทรายเป็นลวดลายงดงาม เพื่อต้อนรับการมาเยือนของเทพธิดาแห่งความมั่งคั่ง เป็นสิ่งชี้บอกทางเข้าให้กับพระนาง ทั้งยังมีการวาดรอยเท้าเล็กๆ ด้วยผงแป้งและผงสีแดงทั่วบริเวณบ้าน และจุดตะเกียงไฟไว้ตลอดทั้งคืน

ซึ่งการบูชาพระลักษมีจะกระทำในตอนเย็น พร้อมทั้งจุดตะเกียงน้ำมันที่ทำด้วยดินเผาใบเล็ก ที่เรียกว่า "ดิยา (Diyas)" เพื่อขับไล่เงาแห่งวิญญาณร้ายออกไป และขับร้องเพลง "ภาจัน (Bhajans)" บทเพลงสรรเสริญพระเทวีลักษมี พร้อมถวายขนมหวานตามประเพณีนิยม ที่เรียกว่า "ไนเวดิยา (Naivedya)" แด่รูปเคารพของพระนาง และขอพรให้ครอบครัวมีสุขภาพดีและมั่งคั่ง

ในส่วนชุมชนชนบทจะมีการตกแต่งประดับประดาฝูงวัวควายของตนเองและทำพิธีบูชา เนื่องจากเป็นที่มาของรายได้ครอบครัว ทางตอนใต้ของอินเดีย วัว จะได้รับการเคารพบูชาสูงสุด เนื่องจากเชื่อว่าเป็นอวตารปางหนึ่งของพระลักษมี

วันนี้ยังถือเป็นวันจับจ่ายซื้อหาข้าวของใหม่ๆ ที่ทำด้วยโลหะเข้าบ้านอีกด้วย เช่น เครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน ทอง หรือข้าวของเครื่องใช้ใหม่ที่ทำด้วยเหล็ก ทองแดง หรือทองเหลือง เพราะถือว่าเป็นมงคล หรือเป็นเครื่องหมายของความโชคดี

วันธันเตราสนี้ จึงไม่ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับครอบครัวเท่านั้น ธุรกิจร้านค้าเครื่องเงิน ทอง และโลหะต่างๆ ก็ร่ำรวยไปตามๆ กันด้วย

#18
ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูในประเทศอินเดียการบูชาพระเจ้านั้นจะได้รับพลังอันมหาศาลผ่านทางดวงตาของผู้บูชา จากการมองรูปของเทพเจ้า ดังนั้นการเพ่งดู การมองเห็น หรือถูกมอง จึงเป็นเรื่องสำคัญมากของชาวฮินดู

ชาวฮินดูจึงได้ทำสิ่งป้องกันความชั่วร้ายจากการมองด้วยสายตาอันชั่วร้ายด้วยเครื่องรางต่างๆ เช่น การนำภาพอสูรแลบลิ้นไปแขวนไว้หน้าบ้านหรือตามร้านค้าต่างๆ หรือเขียนภาพอสูรไว้บนลูกฟักทองกลมๆ ใส่สาแหรกแขวนไว้ใต้ชายคาหน้าบ้านและตามร้านค้า หรือแม้แต่การนำของเผ็ดร้อนเช่นพริกกับมะนาวแขวนเป็นพวงไว้หน้าบ้านหรือหน้าร้านค้าเช่นกัน

และอีกอย่างหนึ่งคือการนำก้อนสารส้มมาแขวนห้อยไว้กับอยู่หน้ารถยนต์ข้างป้ายทะเบียน หน้าประตูโรงแรมหรือหน้าบ้านก็มี และที่เห็นรูปประติมากรรมเป็นเรื่องทางเพศ (Erotic Art) ประดับปนๆ อยู่บนชั้นหลังคาซุ้มประตูตามเทวาลัยต่าง ๆ ก็เพื่อป้องกันความชั่วร้ายจากการของสายตาปีศาจเหมือนกัน

สิ่งเหล่านี้ถูกทำขึ้นมาเพื่อเป็นการดูดพลังทางด้านมืดที่มาจากสายตาปีศาจ ซึ่งเกิดจากการมองของคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาฮินดูให้ถูกดูดกลืนหายไป ตามคติความเชื่อดังกล่าวชาวฮินดูจึงไม่อนุญาตให้คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาฮินดูเข้าไปภายในห้องประดิษฐานเทพประธาน เนื่องจากเมื่อมีการมองจากพลังทางด้านมืด (หมายถึงการมองของคนที่ไม่ได้นับถือฮินดู) จะทำให้สิ่งดีงาม (รูปเทพเจ้า) ที่ถูกจ้องมองบ่อยๆ เกิดภาวะแปดเปื้อนและเสื่อมเสียได้ การกระทำนี้รวมถึงไปถึงการถ่ายภาพด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นหากสายตาของคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาฮินดูเป็นสายตาที่ไม่ประสงค์ดีหรือมีความอิจฉาริษยาก็จะยิ่งส่งผลร้ายหนักขึ้นไปอีก คติความเชื่อเช่นนี้แพร่หลายมาก ในภาษาอังกฤษก็มีคำเรียกพลังด้านมืดของดวงตาทำนองนี้ว่า Evil Eyes ส่วนในภาษาสันสกฤตเรียกว่า Drishti (โดยรากศัพท์คือ ทิษฐิ ในภาษาไทย)

หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลจาก "หนังสืออินเดียเริ่มที่นี่ทมิฬนาฑู และ เมืองโบราณฉบับพิเศษ"

#21
อุ้ยไกลเลย พอดีปกติจะไปเก็บแถวคลอง4 ตลาดไทย ข้างกำแพงวัดพระธรรมกายค่ะ แต่น้ำท่วมปีที่แล้วไม่รู้จะมีใบสวยๆหรือเปล่า
#22
งานไม่มีที่ติค่ะ ลงสีได้สวยมาก เห็นครั้งแรกก็ชอบเลย
#25
แต่งชุดใหม่แล้วค่ะสวยงามดี
#26
ดิฉันบูชาพระแม่มหาลักษมี พระแม่มารีอัมมัน พระแม่มหากาลี พระแม่ศรีนาคา เป็นหลักค่ะ
#27
สวยงานค่ะ ไปบูชามาจากไหนคะ ราคาเท่าไรอิอิ
#28
พระแม่มหาลักษมี



หม้อพระแม่

#32
โทษทีค่ะ พอดีเน็ตมันค้างอ่ะค่ะ ก็เลยกดตั้งหลายกระทู้ อิอิ