Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - สยมภูวญาณ

#1
ขอพระเปนเจ้าจงอำนวยพระพรอันมงคลแก่ลูกด้วยเทอญฯ เปี่ยมด้วยศรัทธาจริงๆคับ
#3
อยากทราบหลักการสร้างเทวสถานและหลักการสถาปนาตามหลักฮินดูศาสตร์อ่ะคับใครสามารถตอบหรือชี้แนะกรุณาด้วยนะคับ ตลอดจนองค์ประกอบของเทวสถานว่าต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างอยากทราบครับ
#4
เพลงขอเป็นกำลังใจให้คุณพี่พรทิพย์นะครับ
หายไปนาน...กลับมาครั้งนี้น่ารักขึ้นเยอะ
#5
มาอ่านทำความเข้าใจอีกสักรอบครับ
#6
ขอบคุณทุกความรู้ที่ทุกท่านกรุณามาช่วยให้ความรู้ไขความกระจ่าง
ประดุจเปลวเทียนอันสว่างที่ขจัดอวิชชาให้หมดไป
ขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ
#7
ขอต้อนรับด้วยใจอันเปนมิตรครับ
#8
กราบขอบพระคุณคุณอักษรชนนีและคุณสิรวีย์อีกครั้งนะครับ
ที่มาให้ข้อมูลความรู้อย่างมากมาย
งั้นแสดงว่าเครื่องนมัสการที่บุคคลธรรมดาสามัญสามารถใช้ได้
และไม่ผิดธรรมเนียมเห็นจะเป็นเครื่องนมัสการกระบะมุกและเครื่องทองน้อยใช่มั้ยครับ
รบกวนขอความเห็นด้วยครับคุณพี่ทั้งสอง จักเป้นพระคุณยิ่งและวานฝากเป็นธุระด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
#9
.............................
#10
ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีเป็นอย่างสูงครับ
ที่เอื้อเฟื้อความรู้มาในโอกาสนี้
พระคุณนี้จะไม่ลืมเลือนเลยครับ
ขอบคุณบ้านหลังนี้ครับที่เป็นศูนย์รวมบุคคลเก่งๆและรอบรู้ไว้มากมาย
ขอบคุณจากใจครับ
#11
...........................
คริคริ
#12
อยากทราบอ่ะครับ
เรื่องเกี่ยวกับกระบะนมัสการที่ใช้ในพิธีหลวง
ว่ามีข้อแตกต่างในการใช้อย่างไร
และมีที่มาจากอะไร
และจำนวนเทียนและธูปที่ใช้นั้นมีความหมายอย่างไรครับ
อยากรู้จริงๆครับ
รบกวนด้วยครับ
#13

ศีรษะนี้ชื่ออสูรผัดครับ
ลูกของหนุมานกับนางเบญกาย
ไม่ได้ชื่อกุมภกรรณจ้า



พระรามครับ

พระอิศวรครับ


เบญกายครับ
#14
รูปสวยจังครับ
เสียดาย
เพลงไม่ได้เก็บรูปเอาไว้เลย
มีแต่ในหนังสืออ่ะครับ
ถ้ายังไงเดี๊ยวจะลงข้อมูลชนิดประเภทให้ฟังนะครับ
#15
กำลังจะลงรูปให้ชมนะครับ
แต่ตอนนี้ยังขัดข้องบางประการครับ
#16
Quote from: balloon101 on June 09, 2010, 19:43:15
ก็ศึกษาดีแล้วคับก็เลยอยากเอาท่านมากบูชาเพราะเป็นตังค์ของตนเอง

ตอบตรงและแรงดีนะครับน้องบอลลูน
กรองหน่อยก็ดีนะครับ
รักษาน้ำใจกัน
#18
Quote from: จิ้งจอกพันหน้า on June 01, 2010, 20:10:45
อนุโมทนาด้วย ครับผม
จริงๆ อยากตามไปด้วยจัง คิดคิดคิดคิด


ก้อบอกแล้วว่าไปเช้าเย็นกลับก้อยังได้
ไม่เชื่อ
พิธีมีวันอาทิตย์
วันศุกร์ก้ออยู่ด้วยทั้งวัน
เฮ้ออออออออออออ
#19
พิธีไหว้ครูโขนละคร ณ ศูนย์นาฏยศิลป์ชลบุรี จัดวันอาทิตย์ที่6 มิถุนายน 2553 ผู้ประกอบพิธีคือ ครูไพฑูรย์ เข้มแข็ง พิธีจะเริ่มตอน9.09 น.นะครับ งานนี้เพลงได้ลงไปด้วย พี่น้องชาวHM ที่สะดวกสามารถไปร่วมพิธีได้นะครับเพื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งพิธีที่จัดขึ้นเป็นตามแบบฉบับพิธีหลวง สถานที่อยู่ใกล้ๆกับโลตัสนะครับ ใครสนใจติดต่อได้ครับ
#20
เป็นกำลังใจกับคุณนะครับ
แม้คุณเลือกหยิบก้อนหินมาก้อนนึง
แล้วอธิษฐานบูชาประดุจพระแม่ผู้เป็นเจ้า
ด้วยศรัทธาและด้วยใจ
ผมคิดว่าแม้จะเป็นเพียงแค่หินธรรมดาๆ
แต่ก็สามารถมีพลังสื่อถึงพระเป็นเจ้าได้
เพราะพระเป็นเจ้าสถิตอยู่ทุกที่ทุกแห่ง
และในใจของเราด้วยครับ
#21
สวยมากครับ
อนุโมทนาด้วยนะครับ
นุ่งผ้าสวยดี
ที่สำคัญใส่หมวกด้วย
น่ารักๆๆๆๆ
ยกนิ้วให้
เป็นกำลังใจให้นะครับ
#22
ยินดีต้อนรับครับ
ยินดีที่ได้รู้จักนะครับผม
#24
ขอบคุณมากครับจากใจเลย.....................ขอบคุณจร้าาาาาาาา
#26
เพลงมีลำดับขั้นตอนการประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละครและพิธีครอบ พิธีรับมอบ ตามแบบแผนปฏิบัติของครูอาคม  สายาคม ซึ่งเป็นรายการที่เคยประกอบพิธีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวที่พระราชทานสวมมงคล ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2506 อ่ะครับแต่ไม่รู้ว่าจะเป็นดาบสองคมรึป่าว ยังไงรบกวนเว็บมาสเตอร์พิจารณาด้วยนะครับ แต่ตอนนี้เพลงขอเอาลำดับพิธีการไหว้ครู-ครอบตามแบบฉบับคุณครูม.ร.ว.จรูญสวัสดิ์  ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นตัวอย่างการไหว้ครูครอบในพิธีของราษฎร์ ขั้นตอนมีดังนี้ครับ
   1.เพลงพราหมณ์เข้า หมายถึงพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีมายังมณฑลพิธี
   2.ประธานจุดธูปเทียน เรียกเพลงสาธุการ
   3.ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวบูชาครู-ศิษย์กล่าวตาม เรียกเพลงสาธุการกลอง
   4.กล่าวอัญเชิญเทวดาให้เสด็จมาชุมนุมในพิธี  เรียกเพลงตระเชิญ
   5.กล่าวอัญเชิญเทวดาแต่ละองค์แล้วเรียกเพลงดังนี้ -ตระสันนิบาต อัญเชิญพระอิศวร
                                       -ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์  อัญเชิญพระนารายณ์
                                       -เสมอข้ามสมุทร  อัญเชิญพระพรหม
                                       -ตระพระคเณศ  อัญเชิญพระคเณศ
                                       -โคมเวียนและกลม อัญเชิญเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย
    6.ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวอัญเชิญบูรพาจารย์ เรียกเพลง -ตระฤษีกไลโกฎ อัญเชิญพระฤษีกไลโกฎ
                                            -ดำเนินพราหมณ์ อัญเชิญครูฤษีทุกๆองค์
    7.ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวไหว้ครู เรียกเพลง  -เพลงช้าเพลงเร็วเพลงลา อัญเชิญครูพระ นาง วานร
                                   -เสมอสามลาและเสมอมาร  อัญเชิญครูยักษ์
   8.ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวไหว้พระพิราพ ศิษย์ทุกคนกล่าวตาม เรียกเพลง -เพลงตระประทานพร อัญเชิญพระพิราพ
                                                          -องค์พระพิราพ(พระพิราพเต็มองค์)คือการเสด็จมาของพระพิราพ
    9.ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวบูชาครู เรียกเพลง -ลงสรง แสดงความคารวะด้วยการรดน้ำ
                                    -เสมอเข้าที่ อัญเชิญครูเข้าประทับตามที่ที่ได้จัดเตรียมไว้ให้
    10.กล่าวถวายเครื่องสังเวย เรียกเพลงนั่งกินแล้วเซ่นเหล้า เป็นการถวายภัตตาหารผลาหารพร้อมทั้งเครื่องดื่มแก่ครู
    11.ศิษย์ร่วมกันรำถวายมือ เพลงช้าเพลงเร็ว ตระนิมิตร บาทสกุณีฯ
    12.กล่าวลาเครื่องสังเวย แล้วเรียกเพลงตระเทวาประสิทธิ์และเพลงโปรยข้าวตอก
    13.ประกอบพิธีครอบ-รับมอบ เรียกเพลงเสมอเถร แทนการเสด็จมาของพระฤษี และดำเนินการครอบ-รับมอบจนเสร็จสิ้น
    14.เพลงพราหมณ์ออก การเสด็จกลับของพระภรตฤษี
    15.เพลงเชิด  การเดินทางกลับของเหล่าเทพที่เสด็จมา
    16.เพลงเสมอ   การเดินทางกลับของเทพที่เสด็จมา
    17.เพลงกราวรำ-ลา   เป็นการแสดงความยินดีเมื่อสำเร็จลุล่วงและเป็นการส่งครู

เสร็จละครับพี่น้อง ใครมีอะไรเพิ่มเติมช่วยแนะนำด้วยนะครับ
#28
รอกันนานนิดนึงนะครับ..อิอิ..เพลงเหนื่อยกับการสอนนักเรียนมากไปหน่อย
กลับมาก็เลยน๊อคเอาซะ
วันนี้จะทำตามสัญญาละนะครับ
การไหว้ครูนาฏศิลปไทยโขนละคอน มีทั้งหมดที่สามารถสรุปได้ 5 ขั้นตอนครับ ได้แก่
ขั้นที่๑ ไหว้ครูเมื่อเริ่มเรียน หรือที่เรียกว่าคำนับครู เป็นพิธีที่จะคัดเลือกศิษย์ว่าจะอยู่ในสาขาหรือจำพวกใด และครูผู้ใหญ่จะพาศิษย์นำกล่าวบูชาครู เครื่องสังเวยที่ถวายจะยังไม่มากมายเท่าใดนัก แล้วครูจะจับมือให้รำเป็นปฐมฤกษ์(ท่ารำที่หัดให้ท่าแรกคือท่าถวายบังคม)จากนั้นศิษย์ก็จะแยกย้ายกันไปฝึกหัดกับครูของตน
ขั้นที่๒   เมื่อศิษย์ฝึกหัดไปได้พอสมควร สามารถออกแสดงเป็นตัวประกอบได้บ้างก็จะทำพิธีไหว้ครูเพื่อต่อเพลงหน้าพาทย์ ซึ่งเป็นเพลงที่ถือว่าศักดิ์สิทธ์ ในขั้นนี้จะต้องจัดเตรียมสถานที่เครื่องสังเวยบูชาและเชิญครูผู้ใหญ่ที่ได้รับหน้าที่ครอบมาประกอบพิธีและทำพิธีครอบในตอนท้าย การครอบของฝ่ายนาฏศิลป์จะครอบศีรษะครูทั้งหมด๓ศีรษะ อันได้แก่ พระภรตฤษี พระพิราพ เทริด ให้แก่ศิษย์ทีละคน
ขั้นที่๓   ไหว้ครูเมื่อศิษย์มีความสารถที่จะเป็นครูถ่ายทอดความรู้ให้กับศิษย์รุ่นหลังได้ พิธีไหว้ครูครั้งนี้เป็นพิธีที่สำคัญ จะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องสังเวยมากมาย ลำดับพิธีการในขั้นนี้มีความละเอียดซับซ้อนมาก เมื่อครูนำการกล่าวไหว้ครูถวายเครื่องสังเวยเสร็จสิ้น ครูผู้ประกอบพิธีซึ่งสมมติเป็นพระภรตฤษีจะทำพิธีครอบศีรษะและมอบอาวุธศิลป์ ศร พระขรรค์และอุปกรณ์การแสดงให้กับศิษย์ โดยที่ศิษย์จะเข้ามาถวายดอกไม้ธูปเทียนผ้าขาวเงินกำนล พร้อมทั้งขันให้ครูเสียก่อน ครุครอบศีรษะสำคัญให้พร้อมทั้งมอบอาวุธให้ศิษย์รับไว้และประสิทธิ์ประสาทพรพร้อมทั้งอนุญาตให้ไปเป็นครูได้ ในขั้นนี้เรียกว่า พิธีรับมอบ
ขั้นที่๔   ไหว้ครูเมื่อเริ่มเรียนหน้าพาทย์สูงสุด หน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นหน้าพาทย์สูงสุดทั้งทางดนตรีและนาฏศิลป์ ผู้ที่จะเรียนและได้รับการต่อท่า จะต้องผ่านกฏเกณฑ์และระเบียบมากมายต่างๆ การต่อหน้าพาทย์เพลงนี้ มีกฎเกณฑ์กำหนดว่า ผู้ได้รับการถ่ายทอดต้องมีความรู้ ความสามารถสูง เป็นชายที่บวชแล้ว มีวัยวุฒิสมควร การต่อหน้าพาทย์จะต้องทำพิธีไหว้ครูก่อน และจะต้องทำการต่อท่าในวัดหรือในวังเท่านั้น ไม่นิยมต่อท่ารำที่บ้าน เพราะเชื่อกันว่า พระพิราพมีมหิทธานุภาพมาก ศิลปินจึงมีความเคารพเกรงกลัว จะเชิญเสด็จให้ลงมาแต่ในวัดหรือวังเท่านั้น
ขั้นที่๕   ไหว้ครุเมื่อรับมอบให้เป็นผู้ประกอบพิธีต่อไป นิยมประกอบพิะีภายหลังการไหว้ครูครั้งใหญ่ประจำปี เมื่อเสร็จสิ้นพิธีครอบและรับมอบแล้ว ครูผู้ใหญ่จะเรียกศิษย์ที่มีความสามารถมีคุณสมบัติครบถ้วนตามบทบัญญัติไว้ให้เข้ามา แล้วมอบตำรา ไม้เท้า และศีรษะครูที่สำคัญ พร้อมทั้งประสิทธิประสาทกรรมสิทธิ์ และพรมงคลท่ามกลางครูผู้ใหญ่หลายๆท่าน
   ขั้นตอนการไหว้ครูทางนาฏศิลป์โขนละคอน ศิลปินบางท่านอาจจะได้รับการประกอบพิธีไม่ครบทั้ง๕ขั้นตอนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละท่านและตามความคิดเห็นของครูผู้ใหญ่ แต่อย่างน้อยทุกท่านจะผ่านขั้นตอน ๑ ๒ ๓ แล้วทุกท่านครับ
#29
สวยมากเลยพี่เสือ
เพลงชอบรูปนี้จังเลย
กระต่ายน่ารักดี
โอ๊ยยยยยยยยยย....ชอบๆๆๆๆ
ขอบคุณนะครับพี่
ที่ตั้งใจวาดให้เพลง
คริคริ
#30
คืนนี้เพลงจะเอาลำดับพิธีการไหว้ครูครอบครูโขนละครมาฝากทุกคนนะครับ
รอซักพักนะครับ
ขอบคุณเสียงขอบคุณจากทุกท่านครับ
#31
Quote from: บุตรมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวี on May 05, 2010, 00:19:48
ขอบคุณความรู้ดีๆครับพี่กาลิทัส

ถ้าน้องบอลลูนจะหาที่วางพี่แนะนำทำเองกะได้ครับ 
แบบประมาณว่าหล่อที่วาง(ปัก)เองก็ได้ครับ  ใช้เป็นปูนอ่าคับ  หาตัวแบบดีๆหน่อย
และเอาดินน้ำมันมาปั้นให้ได้เท่าขนาดด้ามตรี  ยาวพอสมควรวางไว้ตรงก้นแบบแล้วเทปูนลง
พอแห้งก็ค่อยๆแคะเอาดินน้ำมันออก  ตกแต่งให้สวยตามชอบใจครับ
พี่เคยทำใช้ถ้วยโฟมใส่ขนมหวานใบเล็กๆแล้วมาำสีเองอ่า  หนักดีด้วยตรีจะได้ไม่ล้มไงคับ

ขอบคุณความรู้ดีๆครับเพราะกำลังคิดอยู่เลยว่า
จะใช้อะไรทำแท่น ได้ไอเดียแล้วครับ
ขอบคุณมากครับ
#32
ทุกท่านเคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมพระรามต้องกายสีเขียว พระลักษมณ์ต้องสีเหลือง และตัวละครอื่นๆที่มีสีแตกต่างกัน วันนี้เพลงได้ไปหาคำตอบเผื่อท่านที่สนใจถือว่าเป็นเกร็ดเล็กๆอีกเกร็ดหนึ่งที่น่าสนใจครับ
  จารีตเรื่องสีในนาฏกรรม เป็นสิ่งที่เพิ่มสีสันในการแสดงโขนละคร และเป็นเครื่องบอกความสำคัญของตัวโขนละครอีกด้วยซึ่งเป็นจารีตปฏิบัติที่สืบมาแต่ครั้งโบราณ สีในการแสดงโขนมีหลักที่ควรสังเกต ดังนี้ครับ
  ๑. กำหนดขึ้นจากช่วงกำเนิดของตัวโขน เช่น พระราม กำเนิดในเวลาดึกสงัด (มัชฌิมยาม)จึงมีกายสีเขียว พระพรต  กำเนิดในเวลาเช้า พระอาทิตย์ทอแสง จึงมีผิวกายสีแดง พระลักษมณ์ กำเนิดในช่วงบ่าย (สามนาฬิกาห้าบาท)จึงมีผิวกายสีเหลือง พระสัตรุด กำเนิดในช่วงเย็น(สี่โมงเศษ) จึงมีผวกายสีม่วง
   ๒. กำหนดขึ้นจากเชื้อสายของตัวโขน เช่น บิดามีสีกายอย่างไรบุตรก็จะมีสีกายเช่นนั้น ในกรณีนี้บางครั้งไม่สามารถยึดถือเป็นจารีตเคร่งครัด อาจเปลี่ยนแปลงได้ ดังเช่น ท้าวลัสเตียน บิดาของทศกัณฐ์มีผิวกายสีขาว แต่ทศกัณฐ์นั้นมีกายสีเขียว แม้ในชั้นหลานก็มีกายสีเขียวเช่น อินทรชิตเป็นต้น  กรณีเช่นนี้ต้องย้อนขึ้นไปถึงชั้นบิดาของท้าวลัสเตียน คือท้าวจตุรพักตร์ ซึ่งมีเชื้อสายจากพระพรหมจึงมีสีกายสีขาว
   ประการหนึ่งชาติกำเนิดเดิมก็มีส่วนในการกำหนดสีของตัวโขนเช่นกัน อาทิ เช่นลิงสิบแปดมงกุฎและพญาวานร อาทิ พระพุธ เป็นสุรเสน สีกายสีเขียว พระเกตุเป็นกุมิตัน สีกายสีทอง พระอังคารเป็นวิสันตาวี ผิวกายสีชมพู เป็นต้น
   นอกจากนี้การเลือกใช้สีของนางโขนยังบ่งบอกได้อีกว่าสีนี้เป็นนางกษัตริย์ที่ยังสาว หรือนางกษัตริย์ที่แก่แล้ว ตลอดจนสีที่เป็นนางศักดิ์ต่ำทั่วไปอีกด้วย ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูเล่นๆนะครับว่า สีที่ใช้บอกว่าเป็นนางโขนที่ยังสาวเป็นสีอะไร
    ใครมีเกร็ดเพิ่มเติมสามารถเสนอได้นะครับแลกเปลี่ยนกัน
  ๓. กำหนดขึ้นจากลักษณะพื้นฐานธรรมชาติที่ปรากฎ เช่น พระอาทิตย์สีแดงชาด ตามรัศมีของแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์สีเหลืองนวล ตามรัศมีของแสงจันทร์ พระเพลิงสีหงสบาท (แดงส้ม) ตามสีของเปลวไฟครับ
#33
เพลงก็ชอบครับตอนนี้อ่ะนะ แต่มีอีกตอนหนึ่งที่เพลงชอบมากก็คือตอนนารายณ์ปราบนนทุก (ชอบนางนารายณ์มากๆ) ผมกับเพื่อนพากันสงสัยว่าทำไมในเรื่องรามเกียรติ์พระนารายณ์ถึงต้องแปลงกายเป็นแต่ผู้หญิงและก็แปลงได้งดงามที่สุดด้วย และพระอิศวรก็ชอบแปลงกายเป็นผู้ชายคู่กับพระนารายณ์(แค่สงสัยเล่นๆนะครับ) ถ้าใครอยากทราบเรื่องอะไรในวงการนี้เพิ่มเติมก็ส่งเสียงมาได้นะครับ ถ้าตอบไม่ได้เพลงจะพยายามสืบค้นสอบถามบรรดาครูให้ครับ
#34
ได้เรียนถามกับครูของเพลงครับ
ท่านได้บอกว่านี่คือ พระเวสสุกรรม ซึ่งสร้างได้สองลักษณะ
คือหน้าเขียวมงกุฎน้ำเต้า และศีรษะโล้นเขียนลายดอกไม้ หรือจะโพกผ้าก็ได้ครับ
#35
น้ำตาคลอครับพี่น้อง.......
ขอบคุณทุกกำลังใจมากๆนะครับ
เพิ่งรู้นะเนี้ยพี่เสือว่าพี่กี้เค้าโทรหาพี่ด้วย
วันนั้นซึ้งใจมากเลยรู้มั้ย
เพลงแค่บอกพี่กี้ในเอ็มไม่ได้โทรคุยกันเลย
ก็คิดว่าคงลืมไปแล้วมั้ง
ครั้นเราจะโทรหาก็เกรงใจมากๆ
แต่แล้วพี่กี้เป็นคนที่โทรเข้ามาหาเพลงเองเลย
แล้วคุยกันเหมือนคนที่เคยคุยโทรศัพท์กันมากนานมาก
บอกว่าเดี๊ยวจะออกไปหา
โห.....เชื่อมั้ยเพลงปลื้มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ปลื้มน้ำใจพี่คนนี้มากๆเลยครับ
ใครที่มีโอกาสได้รู้จักนับว่าเป็นบุญ
บุญแห่งการเป็นกัลยาณมิตรครับ
เพลงคอนเฟิร์ม
#36
ไม่ใช่ครับ
พระปัญจสีขร (ปัญจสิข)
เป็นเด็กเลี้ยงโค ช่วงที่เป็นมนุษย์ได้สร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย ได้บังเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจตุมหาราช ชื่อว่า "ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร" กายเป็นสีทอง มีกุณฑล ทรงภูษาสีแดงประดับด้วยนิล เป็นพระพุทธอุปัฏฐากในพระพุทธบาทยุคล มีความสามารถในเชิงดีดพิณ และขับลำนำ ซึ่งพิณของพระปัญจสีขรมีลักษณะรูปพรรณเลื่อมเหลือง ดั่งผลมะตูมสุก ตระพองพิณเป็นทองทิพย์ คันพิณทำด้วยแก้วอินทนิลมณี มี 50 สาย ทำจากเงิน ลูกบิด (เวทกะ)ที่สอดสายพิณอยู่ปลายคันทำด้วยแก้วประพาฬ ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปัญจสีขร มียอดมงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด เป็นหน้าสวม ขาว ลักษณะใบหน้าเหมือนมนุษย์

พระปรคนธรรพ มีพระนามจริงว่า "พระนารทมุนี"
เป็นผู้สร้างพิณขึ้นเป็นคันแรก เป็นตนในมหาฤาษีทั้งสิบ เกิดจากพระนลาฏของพระพรหม เป็นคนธรรพจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีความดีเกินกว่าจะเป็นมนุษย์แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นเทวดา อาศัยอยู่ระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ มีความชำนาญในการขับร้องและเล่นดนตรี มีหน้าที่บรรเลงดนตรีให้ความสำราญและขับกล่อมเทพยดา
ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปรคนธรรพ มี 2 ลักษณะ คือ หน้าสีเขียวช่อแค เป็นหน้าสวมมงกุฎยอดบวช ปาก จมูกเหมือนมนุษย์ ส่วนตาจระเข้หรือตานกนอน และอีกลักษณะคือ หน้าสีส้มหรือสีปูนแห้ง เป็นหน้าสวมใบหน้า หน้าเหมือนมนุษย์เขียนลายทักษิณาวรรตใส่ยอดชัย<!--colorc-->
<!--colorc-->
<!--/colorc-->
#37
Quote from: nai 3 on May 15, 2010, 11:34:20
แต่ในวงการนาฏดุริยางค์  เพลงหน้าพาทย์ ทุกเพลงจะชั้นสูงฤไม่ก็ตาม  ก็ยังได้รับความเคารพอยู่เสมอครับ


อ้อ....สิ่งนี้แน่นอนอยู่แล้วครับผม
#38
เคยมีโอกาสพูดคุยกับครูผู้ใหญ่ในสายดุริยางค์ไทยเกี่ยวกับเรื่องของที่มาของเพลงหน้าพาทย์
ท่านได้บอกไว้ว่า เพลงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีที่มาตั้งแต่สมัยอยุธยาและสูญหายไปเยอะ
ในส่วนที่มาที่ไปของการแต่งเพลงนี้ ที่เพลงถามก็เพราะสงสัยว่าทำไมหน้าพาทย์ถึงถือว่าเป็นเพลง
ที่ศักดิ์สิทธิ์ ท่านผู้นั้นจึงตอบว่า เพราะเหล่านี้เป็นทิพยดุริยางค์ในสรวงสวรรค์ที่เหล่าเทวดา
พากันขับประโคม การได้มานั้นบรมครูผู้เชี่ยวชาญในทางดนตรีท่านได้มีการปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรม
และส่วนหนึ่งคือการเคารพครูเสมือนผู้ประกอบพิธีที่เปรียบเหมือนสื่อกลางระหว่างครูเทพและมนุษย์
เหมือนอักษรเทวนาครีที่ถือกันว่ามีที่มาจากเทพประทานมาและถือว่าเป็นอักษรศักดิสิทธ์
เพลงหน้าพาทย์ก็เช่นเดียวกันครับ
ในวงการนาฏศิลป์จะถูกหล่อหลอมมาอย่างเข้มงวดทีเดียว
ไม่ว่าจะได้ยินเพลงหน้าพาทย์บรรเลงที่ไหนก็จะต้องยกมือขึ้นไหว้
ตลอดจนการรำเพลงหน้าพาทย์ก็จะต้องรำอย่างมีสติ จะผิดมิได้และจะต้องรำให้จบเพลงแม้ว่าจะรำผิดก็ตาม
เพลงได้ต่อหน้าพาทย์เพลงแรกคือเพลงตระนิมิตร
ครูผู้ถ่ายทอดกำชับว่าจะต่อได้เพียงสามครั้งเท่านั้น
เราก็ใจฝ่อกลัวจำไม่ได้ ความสำคัญของเพลงหน้าพาทย์จึงมิใช่เป็นเพียงแค่เพลงไทยทั่วๆไป
หากแต่เป็นเพลงอันมาจากสภาวะอันเป็นทิพยดุริยางค์
ปัจจุบันเพลงหน้าพาทย์เข้าถึงกันง่ายมากขึ้นในวงกว้าง
คุณค่าและความศักดิ์สิทธิ์จึงลดลงจากจิตใจของคนในสังคม
ธรรมเนียมจารีตที่บรมครูได้ยึดถือกันมาต่างเจือจางเบาบางลงทุกวันๆ

ท่านทั้งหลายครับ......มรดกของชาติจารีตของวงการและความเสื่อมถอยของสังคม
โปรดช่วยกันหน่อยนะครับ.........อย่าฟังด้วยอารมณ์คะนองอย่าฟังด้วยความงมงาย
จงฟังด้วยความเคารพเฉกเช่นบทเพลงสรรเสริญพระเป็นเจ้าที่ท่านทั้งหลาย
ฟังด้วยศรัทธาเถิดนะครับ
#39
ขอบคุณครับพี่กี้
ที่เอายูทูปมาลงให้เราก้องงอยู่ตั้งนาน
กลัวผู้อ่านไม่เห็นภาพ
ขอบคุณมากครับและก็ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะครับ
#40
ในการไหว้ครูฉบับโบราณแล้วนั้นมีการเรียกเพลงหน้าพาทย์ชื่อตระนาฏราช ซึ่งชื่อก้อบอกไว้อยู่แล้วนะครับว่าเป็นเพลงสำหรับเทพพระองค์ใด
ในปัจจุบันนี้ ได้ลดทอนการเรียกเพลงหน้าพาทย์ลงด้วยปัจจัยต่างๆ ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดซึ่งแล้วแต่ดุลยพินิจของครูผู้ประกอบพิธี ผมเองยังไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูแบบโบราณจริงๆซะที แต่เคยเห็นข่าวในทีวีเมื่อปีกลายว่ามีการไหว้ครูฉบับโบราณในงานวันพระนริศฯ โดยมีครูไพฑูรย์  เข้มแข็ง เป็นผู้ประกอบพิธี ซึ่งในส่วนตัวผมชอบครูไพฑูรย์มากๆ เพราะครูท่านมีอุปนิสัยใจเย็น หน้าท่านดูอิ่มไม่รีบร้อน ท่านเคยจับท่ารำให้เพลงด้วยครับ จากการที่ผมได้สอบถามหลายท่านเค้าก็ประทับใจครูท่านนี้เป็นอย่างมาก อีกอย่างครูท่านนี้เป็นอีกท่านหนึ่งที่สามารถรับเชิญให้ไปประกอบพิธีในที่ต่างๆได้อีกด้วยครับ
http://www.youtube.com/watch?v=cI9F_QKr61w&feature=player_embedded