Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Amrit_Phakti

#81
ออครับผม  ก็สงสัยอยู๋  เลยสอบถาม  ไม่ได้ไม่พอใจอะไรนะครับ
#82
ทำไมโพสไปแล้วไม่ติดหว่า  หรือขัดแย้งกับข้อไหนป่าว  ชี้แจงหน่อยครับมาสเตอร์
#83
รูปทรงนี่  คงไม่ใช่แบบที่ปากคลองอ่ะครับ  เพราะแม่ที่รบกวนท่านเป็นครูบายศรีที่ถวายงานให้ครูบากฤษณะอยุ๋  ส่วนราคา  ก็คงอยู๋ที่ราว5000-7000 แต่ไม่รู้ว่ายอดสุทธิ จะอยู่ที่เท่าไร  เห็นเค้าบอกส่วนมากทำกันอยู่ เศียรละ1000  ถ้าผม 9เศียร  ไม่ปาไป9000เหรอเนี่ย  หุหุ   ส่วนรูปเนี่ย  แม่เค้าบอกไม่ได้ถ่ายเก็บไว้  แต่เคยเห็นงานครูบากฤษณะก็โอเค  ใครมีแรง  ช่วยแรง ใครมีเงิน  ช่วยเงิน   งานนี้  ร่วมบุญกันนะครับ  จะนำไปถวายก่อนออกพรรษาประมาณ1อาทิตย์  ใครสนใจ  ไว้คุยกันครับ
#84
คิดว่าจะทำบายศรีแห้งครับ เพื่อจะได้นำไปไว้ที่วัดและให้ผู้คนได้ร่วมชมบารมีของปู่นาคาได้นานหน่อย  บายศรีสด เดี๋ยวก้แห้ง  งั้นเอาบายศรีแห้งเลยละกัน  อิอิ   ตอนนี้กำลังรวบรวมปัจจัยจากเพื่อนๆที่รู้จัก เพื่อจะได้ร่วมบุญกันในคราวนี้  ส่วนรูปที่ไปบูรณะ ทาสีใหม่คราวที่แล้ว ใครรู้จักเว็บฝากรูปที่นำรูปมาโชว์ในกระทู้ได้  บอกหน่อย  ผมฝากรูปไม่ได้ หากใครสนใจร่วมกุศลในครั้งนี้  ทิ้งE-Mailไว้นะครับ  ผมจะได้ทำเป็นเรคคอร์ดไว้  เพื่อแจ้งข่าวเป็นระยะๆ หรือเมลล์มาหาผมที่ ohm_sakthi_devotee@hotmail.com นะครับ
#85
สวัสดีเพื่อนๆทุกท่านนะครับ  ตอนนี้ผมได้มีความคิดที่จะทำบายศรีนาคราช9เศียร เพื่อนำไปถวายที่ศาลปู่นาคา ย่านาคี ณ วัดเขาสมโภชน์  ก่อนวันออกพรรษา  ใครที่สนใจ อยากร่วมบุญครั้งนี้ด้วยกัน  ยังไง  ผมจะมาแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมนะครับ หรือสอบถามมาทางเว็บก็ได้นะครับ
#86
เอารูปลงที่เว็บคลับแล้วนะครับ  ยังไงแวะไปดูได้
#87
เห็นแล้วอยากเลย  ใบพลูยังใช้ในพิธีแต่งงานด้วยนะครับ  เค้าจะนำใบพลู3ใบ มาบังหน้าเจ้าสาว แล้วแห่รอบเจ้าบ่าว3รอบ ก่อนจะเปิดหน้าให้เจ้าบ่าวเห็น  ส่วนทำไมต้องใบพลู  ยังรออ่านอยู่เหมือนกันนะครับ  แต่เท่าที่ทราบมา  เค้าบอกว่า  ใบพลูเป็นของสูงในเหล่าเครื่องถวายบูชา  ใครทราบอะไรเพิ่ม  บอกกล่าวหน่อยคร้าบ
#88
ขอเสริมนะครับ พระนามทั้ง8ของพระแม่ลักษมี ตามที่ผมได้เคยศึกษามา  อาจเขียนไม่เหมือนกันกับข้างบน  แต่ก็ใกล้เคียงตามรูปศัทพ์เดิม
1 อธิลักษมี
2 ธัญญลักษมี
3 ไดรยลักษมี
4 คชาลักษมี
5 สันธนลักษมี
6 วิชยลักษมี
7 วิทยาลักษมี
8 ธนลักษมี
#89
ขอเพิ่มเติมบทบูชาพระแม่อุมานะครับ
โอม โรคานเศษานะปะหัมสิตุษฏา รุษฏาตุกามาน สะกะลานะภ๊ษะฏาน
ตวามาศริตานาม นะวิปันนราฌาม ตวามาศริตาหยา ศระยะตามปะระยานติ
อ้างอิงจาก หนังสือสวดมนตร์เทวะปรารถนาของวัดเทพมณเฑียร
   
#91
สำหรับผม  ส่วนตัว  ผมบูชาพระแม่ ด้วยความรัก และความตั้งใจต่อพระองค์  ปฎิบัติ ด้วยความภักดี ไม่ได้ปฎิบัติโดยการวิงวอนขอ   แต่ในบางคราวที่เรามีเรื่องเดือดร้อน ก็บอกกล่าวกับท่านถึงทุกข์ที่เรามี  ให้ท่านเมตตาชี้ทางให้เรา
    สวดมนตร์  ถวายของต่างๆ  ถ้าทำด้วยความตั้งใจ  ความรัก ศรัทธา และ สติ  เชื่อเถอะครับ ว่า ทุกสิ่งจะสัมฤทธิเองด้วยพรแห่งมาตาที่ท่านมอบให้แก่ผู้บูชา   
#92
ครับผม เห็นด้วยครับ   เพียงแต่ขอเสริมนิดหน่อยนะครับ
  ในบางคราว  เรื่องของการสร้างสถาปนาองค์เทพ  ก็มีเรื่องของ วัตถุที่จะสร้างองค์พระ  หรือ ของที่ใช้ในการบูชา  บางครั้งมันก็มีค่านิยม ธรรมเนียมกันอยู่บ้าง  แต่มันเป็นเรื่องเชิงลึกมากกว่า สำหรับเราๆผู้บูชาธรรมดา  ไหว้ตามมีตามเกิด  แต่ให้เต็มที่ ผมว่า ก็คงจะเพียงพอสำหรับผู้บูชาแบบพวกเรานะครับ 
    ในครั้งหนึ่ง ที่งานบูชาขององค์ ปุรุโซตรัม(พระกฤษณะ) มีสาวกคนหนึ่งที่มากด้วยศรัทธา แต่ไม่มีความรู้ใดๆเลย  จึงถามต่อคนที่บูชาในงานว่าจะถือบวชอย่างไร  คนในนั้นก็กลั่นแกล้งเธอด้วยจิตใจที่เดียดฉันท์ว่าเธอเป็นคนยากจน และ โง่เขลา  เธอได้บอกวิธีถือศีลแบบผิดๆ  สาวกคนนั้นก็ปฏิบัติ ด้วยความจงรักภักดี  จนเป็นที่พอพระทัยแด่องค์ปุรุโซตรัมเป็นอันมาก 
    นี่คือตัวอย่างอย่างหนึ่งที่ผมอยากจะเล่าให้ฟังครับ
#93
กลับมาเมื่อวันที่10ครับ  สรุปกะไป3วัน  ล่วงไปซะ9วัน9คืน   เฮ้อออออ  ดำกลับมาเลย  เด๋วรอรูปจากเพื่อนสหายธรรมมิกก่อนนะครับ  จะเอามาลงให้ดูกัน  ผมไปที่นั่น  ได้พบกับพ่อปู่นาคา  ย่านาคี  เดี๋ยวไว้เอามาเล่าให้ฟัง พร้อมกิจกรรมสุดอิ่มบุญ  และรูปมาให้ชมกันนะครับ
#94
ปีนี้ยังไม่รู้ว่าจะยังไงดี  แต่ที่แน่ๆ  รอส่งพระแม่เข้าวัดเหมือนเดิมแน่ๆขอรับท่าน
#95
สำหรับในกลัศนี้  นอกจากน้ำ  ก็จะมี  หมากพลู  การบูร  ผงทั้ง3 เหรียญเงิน9 ทอง9  น้ำหอมๆ ครับ 
#96
รูปขึ้นรึป่าวววว  ยังไง  ลองแนะนำได้นะครับ  อย่างที่บอก  ทำตามใบสั่งนะ   ผิดถูกใครบอกด้วยนะคับ   ข้างใต้ รองด้วยแผ่นยันตรัมมหากาลี และข้าว+ผงขมิ้นอ่ะครับ  ส่วนหม้อ  ก็ใช้หม้อดิน พันด้วยสายสิญจน์   ละก็ประดับด้วยภูษาสีแดงดิ้นทอง  ละก็นอกสุด เป็นสร้อยประดับ  ใส่น้ำ+ของต่างๆตามที่ทราบมา  ยอดมะม่วง ส่วนยอด  ก็มะพร้าวคลุกผงขมิ้น เจิมด้วยผงจันและผงแดง  คล้องมาลาถวายเป็นกุหลาบ+มะนาว  ถวายมาลัยมะลิล้วนวางดอกบัวบนยอดเสือมน ศิราภรณ์ 
   ก็รู้ว่าให้ทำแบบนี้ก็ทำตามใบสั่งเนอะ   ผู้รู้ท่านใด มีข้อแนะนำ  บอกกล่าวกันได้นะครับ
#97
1-3นี้  ผมจะไปแสวงวิเวกที่วัดเขาสมโภช   ใครสนใจก็แอดมาคุยกันนะคับ ohm_sakthi_devotee@hotmail.com
   แล้วเป็นไงมั่งจะกลับมาเล่าให้ฟังนะ
#98
สาธุครึบพี่ตี๋  ชอบๆๆๆ  ขอปริ๊นแปะอ่านนะคับ
#99
เหมือนอย่างที่บอกนะครับ  สายใดทางใด  ก็มีหลายสาย หลายทาง   เข้าทางไหนไปทางนั้น    แต่ละเส้น  แต่ละสาย  ถ้าสายไหนเป็นสัจจะ  สายนั้นย่อมเป็นสัจจะ   แต่สายไหน มิใช่สัจจะ  สายนั้นย่อมไม่สามารถตั้งอยู่ได้  พิสูจน์  แล้วทำความเข้าใจ  นะคร้าบบบ
#100
คำสอน  พระเวทย์  หรือแม้แต่เทวะ  ท่านเสมือนหนึ่ง พาหนะ ที่จะพาเราล่วงข้ามไปสู่ที่หมาย   เมื่อเราถึงที่หมาย  เราก็มิจำเป็นต้องยึดหรือใช้พาหนะนั้นๆ   (อ่านแล้วขบคิดกันให้ดีก่อนจะตีกลับนะครับ)  คำตอบนี้หาได้มีอหังการ มมังการใดๆเจือปน  หากแต่คนมักเอาจิตตนมาใส่ให้เกิดอคติเสียเอง  ผมอธิบายเป็นกลางๆ  ใครจะว่าอย่างไรผมไม่สน  เพราะถือว่าท่านบอกไว้เช่นนี้    พระเวทย์ พระคัมภีร์ต่างๆ  อ้างอิงกันไม่ไหวหรอกครับ  ว่าคำสอนนี้มาจากเล่มไหน  นิกายไหน  ผมรู้แค่ว่า  ท่านมาบอกแบบนี้  พอจะเทียบได้กับสิ่งใดในศาสนาบ้างครับ   ศรุติเหรอ  ไม่รู้สิ  แล้วแต่จะเรียก   เอาเป็นว่า  พาหนะใด  เส้นทางใด  ที่เข้ากับจริต  เข้ากับชีวิต  และมโนมูลฐานของเรา   จงเลือกทางนั้นครับ  หากเปรียบคำสอนและศาสนา หรือเหล่าเทวา เป็นเรือ   ที่นำพาพวกเราข้ามมหาสมุทรแห่ง กิเลส  ตัณหา  อุปาทาน  ต่างๆ  เมื่อถึงฝั่งแห่งอภิปรมาตมันแล้ว  เราก็มิต้องใช้เรือเหล่านั้นแล้ว  ใช่หรือไม่ครับ พี่น้อง
#101
ว่าแต่ว่า  บูชาองค์ไหนล่ะครับ
#102
เด๋วจะลองเอาหม้อกลัศที่ประกอบเองมาให้วิจารณ์กัน  ทำตามใบสั่ง (ใครสั่งก็มะรู้....หุหุ องค์ดำๆผมยาวๆ) ก็เหนื่อยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก  ของมากที่สุด   แต่ผ่านไปได้ด้วยดี  เพื่อนๆลองเอากลัศของเพื่อนๆมาแลกกันดูมะคับ  หุหุ
    พอดีเมื่อวาน วันเกิด(25/04) เลยถือโอกาศตั้งกลัศในวันเกิดเลย  เด๋วเช้าจะถ่ายรูปมาให้ดูนะคับ 
#103
อิอิ  สงสัย ต่อไปต้องตั้งกรมตีความพระธรรมนูญฮินดูธรรมสภา   แบบศาลรัฐธรรมนูญรึป่าว  ไว้ตีความ  เอาให้วุ่นวายเล่นๆ  อิอิอิอิ   น่าสน  คอยดูๆๆๆๆๆ  อิอิอิ 
#104
สาเหตุใดใคร่รู้เหมือนกัน   แต่ส่วนตัวแล้ว  ผมมองว่า  คนเรา  มักแบ่งแยกเทวะ  องค์นั้น  มิใช่องค์นี้   หากตรีมูรติ  ได้บอกกล่าวให้เราได้ทราบแล้ว  ว่าทั้ง3 รวมเป็น1  และ1 นั้น คือทั้ง3   ไม่ควรแบ่งแยกท่าน  เพราะทั้ง3  ล้วนคือ 1
    ฟังดูอาจจะงง   แต่ผมเชื่อว่ามีคนเข้าใจในสิ่งที่ผมบอก  อนุโมทนานะครับ
   หุหุ  งง งง งง  งงกันรึปล่าว  อย่างงเลย  เข้าใกล้ท่านอีกนิด  เปิดจิตรับอีกหน่อย  ค่อยๆก้าวเดินตามรอยที่ท่านชี้ไว้  แล้วเราจะสบายเองล่ะครับ
#105
คนไทย  อะแด๊ป แอปพลาย เก่งครับ  อิอิอิ
   เรารับมา  คนไทยส่วนมาก  แค่รับมา  ไม่ค่อยลงลึกหรอกว่าอะไรยังไง  รุ้แค่ว่า  เค้าบอกว่าดี  ก็ดีตาม
   แต่ถ้าใครจะศึกษาลงลึก  ด้วยศรัทธา  และความรัก ความภักดี  ทำไปเถอะครับ  จะไทยเพียวๆ  หรือไทยผสมแขก  หรือแขกเพียวๆ  เอาให้ไม่เดือนร้อนตัวเอง  ไม่เดือดร้อนใคร  ก็น่าจะโอเค  ดูให้เหมาะสมแก่ บุคคล เวลา สถานที่ ก็น่าจะใช้ได้ 
   ทุกสิ่ง ไม่มีคำว่า 100%หรอกครับ  เอาให้ตามสมควรเป็นการดี   
   จารีต  มีไว้ให้เป็นแผนที่  ประเพณี มีไว้เป็นเข็มทิศ   
    ดู  ศึกษา เป็นแนวทาง   ไม่ใช่ให้ยึดติด
     นะครับผม
#106
อิอิ  อยู่ใกล้แค่นี้ไม่ได้เจอะซะทีนะพี่  อิอิอิ   ว่างๆแวะมาทักทายกันได้นะครับ  เปิดหลัง6โมงเย็นเป็นต้นไปน่ะครับ   แพ้แสงอ่ะ  อิอิ  ร้อนๆอยู่ไม่ได้  โอ๊ยยยยยยย  อิอิอิ   กลางคืน  สบายย  เย็น  ชอบบบบ  อิอิ   
#107
ผมก็เข้าใจว่าคนละองค์นะครับ   มานสาเทวี  ท่านมีพาหนะเป็นห่าน ทรงศิราภรณ์เป็นนาคมงกุฏ เป็นที่บูชาของเหล่านาคหรือ งูทั้งหลาย 
#108
พอจะเข้าใจคำว่าการทำสุทธิละครับ
   คือการทำร่างกายให้สะอาดก่อนสวดมนตร์ใช่มะครับ   คนฮินดูก่อนไหว้พระสวดมนตร์  มักจะอาบน้ำ แต่งตัวเรียบร้อย  ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอันนี้แล้วแต่สายไหนๆแยกกันไป   คนอินเดียแถวบ้านผมเค้ามาไหว้พระที่บ้านผม  ผมก็สงสัยว่าทำไมไม่เข้ามาไหว้ด้านใน  เค้าก็บอก  ตัวเค้ายังมอมแมม เนื้อตัวสกปรก  เค้าต้องอาบน้ำก่อน  น่าจะเป้นธรรมเนียมเดียวกันกับการทำ สุทธิ  หรือ ปริสุทธิ  ใช่มะครับ
#109
หุหุ  อ่านไป หัวเราะไป  ท่าทางอารมณ์ดี  อิอิ  มากมายหลายหลาก   อิอิ   รอดูๆๆๆๆ  เหอๆๆๆ
#110
เท่าที่รู้  มีบาราย  กับ สระอโนดาษ อ่ะครับ  อิอิ  รออ่านต่อ 
  สงกรานตืนี้  อยู่แต่บ้าน  เฮ้อออออออ  อิจฉา  อยากไปเมืองโบราณมั่งจัง  ไปละเหมือนได้เห็นชีวิตสมัยก่อน   อิอิอิอิ
#111
หุหุ  นานๆจะมีคนกล่าวถึงท่านซะที
   บทความนี้ผมเคยแปลไว้ให้อ่านเล่นๆกันละในคลับ  ตอนนี้กำลังจะแปลเรื่อง กาวาดี กับที่มาของเขาปาลานี  ยังไง  แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้นะครับ
  เพื่อนๆรออ่านกันแน่ๆเลย   อดใจรอนะครับ 
#112
หุหุ 
  ยาวเหยียด  ขอรอนั่งอ่านดีกว่า
   ว่าแต่ว่า  เอาข้อมูลเบื้องต้นที่มาตั้งคำถามนี้มาจากไหนครับ  ขอทราบที่มาที่ไปก่อน   ชื่อพิธีถูกเรียกกันเพี้ยนไปต่างกันไป  โซฮา  สวาฮา  ฮาวัล   ผมจึงไม่แน่ใจว่า  พิธีเซวา นี่มาจากไหนหรือทำอะไรบ้าง 
ส่วน  สุทธิ   คืออะไร  และมีกี่แบบ   แสดงว่าทางคุณรู้มาแล้วบ้างสิครับ  อยากทราบรายละเอียดเบื้องต้นสักนิดก่อน  เพราะปัจจุบัน  หลากหลายสำนัก  เรียกพิธีแตกต่างกันไป  จนปัจจุบันเริ่มสับสนกันก็มาก
     ส่วนที่ว่าบุคคลธรรมดา  ทำอารตีกี่ครั้ง    ไหวกี่ครั้งล่ะครับ  เอาให้ได้วันละครั้งก็โอเคแล้ว   หรือถ้าเป็นวัด  ก็ต้องดูอีกว่า มารีอัมมัน  กาลี  หรือเทวะ เทวี องค์ใด   เอาวันละครั้งให้ได้ก็พอละครับสำหรับคนธรรมดา
    ส่วนจำเป็นหรือไม่ที่สั่นกระดิ่ง   ถ้าได้ก็ควรครับ  เพราะพิธีเขาว่าไว้  แต่เป่าสังข์นี่  เอาก่อนเริ่มอารตีก็เป็นการดี
    คุรุ บาบาจี    ไม่ได้ติดตามผลงานอ่ะครับ  เลยไม่ทราบข้อนี้
    อักษรเทวะนาครี  เป็นอักษรแรกที่มนุษย์ได้เทวประทานมาตามตำนานน่ะนะ  ถือได้ว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์และมักใช้ในการเขียนมันตราหรือเขียนสิ่งที่เกี่ยวกับศาสนพิธี  ภาษาฮินดี  ก็เป็นภาษาที่ใช้ในศาสนาฮินดู   พุทธ มีบาลี  ฮินดีมี สันสกฤต  (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด  หรือถ้าผิด  วานผู้รู้แก้ไขด้วยนะครับ)
   เหอๆๆๆๆ  ว่าจะมานั่งดู อดคุยด้วยไม่ได้  เอาเป็นว่า  รอดูที่เหลือดีกว่า  อิอิอิอิ   
#113
ส่วนตัว  ชอบพระแม่ ธัญญลักษมี ที่สุดเลย  อิอิ  มีนกฮูกด้วย   ชอบๆๆๆ  อิอิ  ที่บ้านก็บูชาอยู่ครับ
#114
ถามชื่อพระคเณศ  ท่าทางจะตอบยากแฮะ   ท่านมีหลายชื่อแท้  ทำไงดี  อิอิอิอิ
   
#115
ขอเสริมนะครับ  เห็นว่าเป็นอะไรที่ใกล้ตัว  แต่พบเห็นยากแล้วในปัจจุบัน
    หากสังเกตให้ดี  กสัศที่ตั้งไว้บนยอดวิหารสำคัญๆ  จะวางเรียงไปตามสันหลังคาวิหาร  เรียงแถวกันไป  ลักษณะดังนี้เป็นที่มาของ  บราลี   ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของปราสาทราชวังในสมัยอยุธยา  หากใครไปเมืองโบราณมา  หรือเคยเห็นรูปของ  พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท อ่ะ  เอามาให้ดู  จะได้ไม่ต้องหาอีก    จะเห็นลักษณะยอดแหลมๆนั่นเป็นผลของอารยธรรมของการวางกลัศไว้บนยอดสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญๆครับ
   ถ้าข้อมูลผิดพลาด ก็ขออภัยด้วยนะครับ 
#116
ขอเซฟ ไปปริ๊น แปะให้คนที่สนใจได้อ่านนะครับ  ผนังบ้านว่างๆ  เอาความรู้มาแปะให้คนได้เข้าใจดีกว่า
#117
ยินดีที่ได้รู้จักครับ โต้ง   ผมเคนนะครับ   บางท่านก็รู้จักว่า  กล้า   เรียกชื่อไหนก็ได้  เพราะคนเดียวกันเน้อ 
#118
อิอิ  การทำความรู้จักพระที่เราจะบูชา  ผมเห็นด้วยนะครับ  เพราะไม่เช่นนั้น  หากมีใครมาถามว่า  ที่ไหว้อยู่เนี่ย  รู้จักท่านมากแค่ไหน  รู้จักท่านหรือไม่  ถ้าตอบไม่ได้  ก็คงจะไม่งาม   ความรู้หรือตำนาน ประวัติต่างๆ ศึกษาไว้ประดับความรู้ นะครับ  ไม่ใช่ให้จำฝังหัว  เพราะไม่มีใครสามารถยืนยันได้100%ว่านี่หรือนั่นคือความจริงแท้แน่นอนในตำนานเหล่านั้น  ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าตำนาน ตำนานๆมันก็หารูปเก่าไม่ได้  พริกตำนานๆยังไม่เหลือรูปพริกเลย  แค่เรารู้ว่านี่แต่เดิมเป็นพริก  พริกอะไรล่ะ  ไม่มีใครตอบได้  เพราะตำมานาน  แหลก ป่น  จำรูปเดิมไม่ได้ 
   เอาเป็นว่า  ศึกษาพอประดับไว้ก่อน  แล้วค่อยๆคลำทาง แล้วเดี๋ยวก็รู้หัวรู้หางเองแหละครับ   
#119
มาได้ไง มีนาคชิ กัลยานัม    นั่นเป็นการแต่งงานของพระแม่นิครับ  มาพันตูกันนคกัลยาได้ไงนิ เหอๆๆๆๆ
#120
ปางนั้นเดิมชื่อปาง กันดาสวามี (Kandaswaami) ครับ