Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Darin

#1
แต่เราว่าช่างเขาก็ออกแบบสวยดีนะ ถึงจะเป็นปางในจินตนาการก็ตาม
#3
ทำเท่าที่ทำได้นะ
#4
มันเป็นเรื่องของความเหมาะสมนะ
ปกติพระแม่ลักษมีเป็นผู้ประทานเงินทอง
ดังนั้นเงินและทองจะต้องอยู่ต่ำกว่าพระแม่
และก็ไม่ควรสูงกว่ารูปองค์พระศิวะและพระคเนศ
เพราะจะดูเหมือนกับว่าให้ความสำคัญ
กับเงินมากกว่าพระองค์
#5
ไม่ทราบว่าพระแม่วิสารัคชี คือพระแม่อันนาปูรานาหรือเปล่า



#7
พระแม่ปารวตี ปกติแล้วเขามักจะทำ 2 กร





#8
พระแม่ซันโตชิ

#9
นี่เป็นรูปพระแม่มีนาคชีที่เมืองมาดุไร ลักษณะของที่ท่านถืออยู่ในมือ น่าจะเหมือนกับรูปปั้นของคุณเจ้าของกระทู้นะ

#11
ลองจุดธูปขอขมาบอกกล่าวต่อพระองค์ท่านว่าจะขอปั้นท่านใหม่ดูสิ
#12
พระแม่กัญญากุมารี



พระแม่ลลิตา




#14
ทำใจอย่างเดียวเลย เพราะเราไม่สามารถจะทำให้ใครเชื่อหรือคิดเหมือนเราได้ทุกอย่าง

สาเหตุที่ทำให้คนบางคนไม่ค่อยเชื่อถือศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า

1. การมีร่างทรงเทพ ทำให้ดูเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ไสยศาสตร์
2. มีความเชื่อถือศรัทธาในศาสนาพุทธมาก จนมองศาสนาอื่นด้อยกว่า
3. เห็นว่าเทพเจ้าเป็นเรื่องที่อุปโลกน์ขึ้น หรือเป็นเพียงตำนานที่สืบทอดกันมา
4. เห็นว่าเทพเจ้ายังมี รัก โลภ โกรธ หลงอยู่ สามารถให้คุณให้โทษต่อมนุษย์ได้
ซึ่งเป็นความคิดในด้านความกลัว

แต่ถ้าคุณยังมีศรัทธาในพระเป็นเจ้าอยู่ ก็จงศรัทธาต่อไป แต่ศรัทธาท่านไว้ในใจก็พอ
#15
พระแม่ลักษมีสวยดีนะคะ แต่ติดตรงที่มีเงินมาอยู่บนหัวนี่สิ รู้สึกแปลกๆ
ถ้ายังไงเอาเงินธนบัตรลงมาข้างล่างหน่อยจะดีกว่าค่ะ
#16
ลองไปเติมน้ำมันตะเกียงดูนะเพื่อความสว่างไสวของชีวิต
#17
คาถานี้ใช้สวดบูชาพระอินทร์ไม่ใช่หรือ
#18
เรื่องของหัวใจพูดยากนะ
แต่สิ่งสำคัญคือปัจจุบัน
คุณควรทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
อดีตมันผ่านไปแล้วยากที่จะย้อนกลับ
คุณไม่ควรทำให้หัวใจของตัวเอง
ต้องเศร้าหมองเพราะเรื่องในอดีต
หากคุณมีภรรยาใหม่
คุณก็ไม่ควรหักหลังหัวใจของเขา
เพราะเขาคือคนที่คุณได้เลือกมาเป็นภรรยาแล้ว
และมันจะเป็นบาปทางใจต่อกันเปล่าๆ
ถือเสียว่าทุกสิ่งทุกอย่างในอดีต
ที่เกิดขึ้นระหว่างคุณกับเขา
เป็นเพียงภาพความทรงจำในอดีต
ที่ดีต่อกันเท่านั้นพอ


แล้วไม่ทราบว่าอักษรโอมแบบทิเบต
มีความหมายเหมือนหรือแตกต่าง
กับอักษรโอมแบบฮินดูไหม?
เพราะเคยสงสัยมานานแล้วว่า
คำว่า โอม มณี ปัท เม ฮุม
หรือที่ชาวจีนใช้สวดว่า
โอม มณี แปะ มี่ ฮงที่แปลว่า
ดวงมณีในดอกบัว
ที่ใช้สวดบูชาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
มีความหมายเดียวกับคำว่าโอม
ในมหาเทพฮินดูด้วยหรือเปล่า




#19
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะคุณหริทาส
#20
http://www.youtube.com/v/zcy7xgvuVys

Shendur lal chadhayo achchha gajmukhko || Dondil lal biraje sut gauriharko ||
Hath liye gudladdu sai survarko || Mahima kahe na jay lagat hoo padko || 1 ||
Jai jai shri ganraj vidhyasukhdata || Dhanya tumara darshan mera man ramata ||
Bhavbhagat se koi sharanagat ave || santat santat sabhi bharpur pave ||
Aise tumMaharaj moko ati bhave || Gosavinandan nishidin gun gave || 3 ||
Jai jai shri ganraj vidhyasukhdata || Dhanya tumara darshan mera man ramata ||

Ghalin lotangan vandin charan || Dolyani pahin rup tujhe ||
Deva Preme alingan anande pujin || Bhave ovaleen mhane nama || 1 ||
Twamev mata cha Pita twamev || Twamev bandhusch sakha twamev ||
Twamev Vidhya dravinam twamev || Twamev sarwam mam dev dev || 2 ||
Kayena vacha manasendriyenva || Buddhayatmna va prakrutiswabhavat ||
Karomi yadhyat sakalam parasmai || Narayanayeti samarpayami || 3 ||
Achyutam keshavam ramnarayanam || krushanadamodaram vasudevam bhaje ||
Shridharam Madhavam gopikavallabham || Janaki nayakam ramchandra bhaje || 4 ||
Hare ram hare ram ram ram hare hare || Hare krishna hare krishna Krishna Krishna
hare hare || Hare ram hare ram ram ram hare hare || Hare krishna hare krishna Krishna
Krishna hare hare ||


#21
http://www.youtube.com/v/SucX2m98TXE

คล้า้ยๆแบบนี้หรือเปล่า 

Ghalin lotangan vandin charan
Dolyani pahin rup tujhe
Deva Preme alingan anande pujin
Bhave ovaleen mhane nama

Twameva mata, cha phita Twameva
Twameva bandhuscha sakha twameva.
Twameva vidya, dravinum twameva
Twameva sarvam mama deva deva

Kayena vacha manasendriyenva
Buddhyatmana va prakritiswabhavat
Karoomi yadhyath sakalam parasmai
Narayanayeti samarpayami

Achyutam keshavam ramnarayanam
Krushanadamodaram vasudevam bhaje
Shridharam Madhavam gopikavallabham
Janaki nayakam ramchandra bhaje

Hare raam hare raam
Raam raam hare hare
Hare krishna hare krishna
Krishna krishna hare hare
Hare raam hare raam
Raam raam hare hare
Hare krishna hare krishna
Krishna krishna hare hare
#22
งามมากๆๆๆ ชอบจังเลย
#23
หอยเป็นสัตว์มีชีวิต กินไม่ได้นะ
แล้วพวกซอสหอยนางรมก็เหมือนกัน
ไม่ควรใช้เพราะทำมาจากหอยนางรม
แต่ให้ใช้ซอสเห็ดหอมแทน
#24
ใจของคุณต้องการที่จะเอาท่านมาบูชาอยู่ก่อนแล้วหรือเปล่าจึงทำให้ฝันไป
แต่ถ้าคุณต้องการจะบูชาท่านจริงๆ ถ้ามีศิวะลึงค์ด้วยจะยิ่งดี
ส่วนการบูชาศิวะลึงค์จะทำอย่างไรนั้น
ก็รอท่านผู้รู้ท่านอื่นมาตอบละกัน
#25
ถ้ามองให้เป็นเรื่องลี้ลับก็จะบอกได้ว่า
พระพิฆเนศที่คุณบูชาท่านแฝงคุณมาสักการะด้วย
พระพิฆเนศท่านดีใจที่ได้มาที่นี่เลยร้องไห้
คุณจึงมีปฎิกริยาที่ไม่สามารถบังคับตัวเองไม่ให้ร้องได้
แต่ถ้ามองในเรื่องของจิตก็จะเป็นว่าคุณเกิดปิติที่ได้มาสักการะที่นี่
เลยร้องไห้ออกมาด้วยความยินดี
#26
ในเว็บสยามคเนศก็ได้บอกเกี่ยวกับปางของพระแม่ลักษมีไว้หลายปางด้วยกันค่ะแต่ยังไม่มีรูป สรุปก็คือมีมากกว่า 15 ปางค่ะ
ลิงค์ http://www.siamganesh.com/laksmi8devi.html

1.คชลักษมี
ปางหลักแห่งองค์พระแม่ลักษมีเทวี ปางนี้มีทั้งยืนและประทับนั่งบนดอกบัว มี 4 พระกร สวมอาภรณ์สีสันสวยงามล้วน สองพระกรหลังถือดอกบัว ยกพระหัตถ์ประทานพรและโปรยเหรียญทอง ประทานพรความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน ความรักแก่ผู้บูชา เป็นปางที่พบเห็นได้มากที่สุดในภาพเขียน (พบเทวรูปอยู่ทั่วไป มีลักษณะเดียวกับปางอิศวารยะลักษมี)


2.อิศวารยะลักษมี
ปางแห่งความกล้าหาญชาญชัย ปางนี้มีทั้งยืนและประทับนั่งบนดอกบัว มี 4 พระกร สวมอาภรณ์สีขาวล้วน สองพระกรหลังถือดอกบัว พระกรหน้ายกและหงายพระหัตถ์ 2 ข้างเพื่อประทานพร ผู้บูชาจะได้รับความกล้าหาญ กล้าคิดกล้าทำ เป็นปางแห่งชัยชนะและโชคลาภด้านความเสี่ยงทุกประเภท (พบเทวรูปอยู่ทั่วไป มีลักษณะเดียวกับปางคชลักษมี)

***** ความแตกต่างระหว่าง คชลักษมี และ อิศวารยะลักษมี *****
ลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่พระคชลักษมีมีช้างเป็นบริวาร นิยมสวดชุดสีชมพูหรือสีแดง พระอิศวารยะลักษมีไม่มีช้างบริวารและนิยมสวมชุดสีขาวสะอาดหรือสีอ่อนๆ

3.ธัญญลักษมี
ปางแห่งความอุดมสมบูรณ์ในพืชพรรณ พืชไร่ นา สวน ป่าไม้ ดอกไม้ ปางนี้มี 8 พระกร แต่ละพระกรทรงพืชพรรณต่างๆกัน เช่น ต้นข้าว ปางนี้พระแม่ลักษมีลงมาปรากฏเพื่อโปรดสรรพมนุษย์ที่ทำกินเพาะปลูกบนผืนแผ่นดิน เช่น เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ผู้บูชามักขอพรให้การเพาะปลูกมีผลผลิตงอกงาม ชาวไทย ลาว และเขมรรู้จักกันในนามของ "พระแม่โพสพ" (สามารถบูชาพระแม่ธัญญลักษมีได้กับพระแม่โพสพ)

4.ธนลักษมี
ปางแห่งทรัพย์สมบัติ เงินทอง มี 6 หรือ 8 พระกร ทรงศาสตราวุธต่างๆเช่น หอยสังข์ จักร ธนู ดอกบัว โถอัญมณี ยกพระหัตถ์ประทานพรและโปรยเหรียญทอง ประทานความรำรวยในทรัพย์สินเงินทองแก่ผู้บูชา (หากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก)

5.อาทิลักษมี
ปางแห่งความสำเร็จในการงานและการบุกเบิก มี 4 พระกร ทรงดอกบัว ธงไชย พระกรหน้ายกและหงายพระหัตถ์ 2 ข้างเพื่อประทานพร ให้พรด้านการทำงาน การทำมาหาเลี้ยงชีพ จะเป็นไปด้วยความราบรื่น (หากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก)

6.วิทยะลักษมี
ปางแห่งปัญญา ความรอบรู้ การศึกษาเล่าเรียน ปางนี้เทียบเท่าได้กับปัญญาแห่งพระแม่สุรัสวดี มี 8 พระกร ผู้บูชาจะได้รับสติปัญญาที่เลิศล้ำ ทั้งศาสตร์วิทยาการอันก้าวหน้าและศิลปะทุกแขนง (หากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก)

7.วีระลักษมี
ปางแห่งวีรชน นักสู้ ผู้มีพละกำลังอันไม่มีที่สิ้นสุด ปางนี้เทียบเท่าได้กับพละกำลังแห่งพระแม่ทุรกา มี 8 พระกร ทรงคันธนู ศร สังข์ ดาบ และศาสตราวุธอื่นๆ ยกพระหัตถ์ประทานพร ผู้บูชาจะได้รับพลังอำนาจและความยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น (หากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก)

8.วิชัยยะลักษมี
ปางแห่งชัยชนะและความแคล้วคลาดพ้นภัย มี 8 พระกร ทรงหอยสังข์ มีด ดาบ ตะบองหรือขวาน มีอานุภาพในการขจัดศัตรู ประทานความมียศถาบรรดาศักดิ์และการสรรเสริญจากผู้คน ประทานความสำเร็จทุกประการ (หากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก)

9.สันทนะลักษมี
ปางแห่งครอบครัว ความผูกพันระหว่างแม่ลูก ความอบอุ่นในครอบครัวรวมถึงการขอพรให้มีลูก-ทายาท ลูกหลานเชื่อฟังคำสั่งสอนและเติบโตอย่างแข็งแรง ปางนี้มีอานุภาพเทียบเท่ากับพระพิฆเนศปางบาละคเณศ (พระคเณศปางเด็ก) มี 6 พระกร ทรงดาบ พระกรหลังทรงหม้อทั้ง 2 ข้าง อุ้มเด็กชายนั่งบนตัก (หากต้องการบูชา จะพบแต่ภาพเขียน ไม่ค่อยปรากฎผู้สร้างเทวรูปปางนี้เท่าใดนัก)

10.เมธาลักษมี
ปางแห่งพลังอำนาจอันรุนแรง เปรียบได้กับพลังแห่งพระแม่กาลี
(ระหว่างค้นคว้าข้อมูล)

11.กิรติลักษมี
ปางแห่งชื่อเสียง การสรรเสริญและปางแห่งความซื่อสัตย์จงรักภักดี
(ระหว่างค้นคว้าข้อมูล)

12.อโรคยาลักษมี
ปางแห่งความปลอดภัยในชีวิต ความไร้โรคและการเดินทางปลอดภัย
(ระหว่างค้นคว้าข้อมูล)

13.สัมราชยลักษมี
ปางแห่งความหลุดพ้นจากบาป การมีอิสรภาพทางวิญญาณและบรรลุโมกษะ

14.ไชยลักษมี
ปางแห่งชัยชนะ ลักษณะเช่นเดียวกับปางวิชัยยะลักษมี
(ระหว่างค้นคว้าข้อมูล)

15.ภัคยาลักษมี
ปางแห่งพระเวท การทำสมาธิและความศักดิ์สิทธิ์ พลังเหนือธรรมชาติ
(ระหว่างค้นคว้าข้อมูล)

16.เสาวนาทรียะลักษมี
ปางแห่งความงดงามของสตรีเพศ ความสะอาดสะอ้าน อ่อนช้อย มีเสน่ห์
(ระหว่างค้นคว้าข้อมูล)

17.ไทรยะลักษมี
ปางแห่งการสวดมนต์ พิธีกรรม ภักดีโยคะ ประทานมนตราอันศักดิ์สิทธิ์แก่เหล่าฤาษี

18.สิทธะลักษมี
ปางแห่งความนิ่งสงบ จิตวิญญาณ และการเข้าถึงคำสอนของมหาเทพ
(ระหว่างค้นคว้าข้อมูล)
..............


ในเว็บฮินดูมิทติ้งก็เคยโพสไว้ค่ะ พระศรีมหาลักษมีสโตตรัม
บทสวดบูชาพระแม่ลักษมี 15 ภาค
ลิงค์ http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=3647.0

[ 1 ] อาทิ ลักษมี ( เทวีผู้เป็นที่สุด ผู้เริ่มต้นสิ่งใหม่ )

โอม อาทิ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
ปะระ พรหมมา สะวะรูปินี
ยะโส เทหิ ธะนัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระอาทิลักษมี
พระองค์ผู้เป็นบุคลาธิษฐานของความจริงอันสูงสุด
โปรดประทานชื่อเสียงและความร่ำรวยในโภคทรัพย์แก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 2 ] สันตนะ ลักษมี ( เทวีผู้คุ้มครองบุตรหลาน )

โอม สันตะนะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
ปุตระ เปาตระ ประทายินี
ปุตะราน เทหิ ธะนัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระสันตนลักษมี
พระองค์ผู้ประทานบุตรแก่ข้าพเจ้า
โปรดเมตตาคุ้มครองบุตรหลานและประทานความมั่งคั่งแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ศรี มหาลักษมี สโตตรัม

————————————————————————————————-

[ 3 ] วิทยะ ลักษมี ( เทวีผู้อุปถัมภ์การศึกษาเล่าเรียน )

โอม วิทะยะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
พรหมมา วิทะยา สะวะรูปินี
วิทะยัม เทหิ กะลัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระวิทยลักษมี
พระองค์ผู้เป็นบุคลาธิษฐานของสรรพวิทยา
โปรดประทานความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนวิทยาการต่างๆ
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 4 ] ธนะ ลักษมี ( เทวีแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย )

โอม ธะนะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ ทะริทะรึยะ นาศินี
ธะนัม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระธนลักษมี
พระองค์ผู้ขจัดซึ่งความขัดสนให้แก่ข้าพเจ้า
โปรดประทานทรัพย์สินเงินทองและความบริบูรณ์ในสมบัติแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 5 ] ธัญญะ ลักษมี ( เทวีแห่งความอิ่มหนำ )

โอม ธัญญะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวา ภะระนะ ภูษิเต
ธันญัม เทหิ ธะนัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระธัญลักษมี
พระองค์ผู้มีรูปโฉมงดงามประดับประดาพระวรกายด้วยเพชรพลอย
โปรดประทานอาหาร ความอิ่มหนำ ความไม่ขัดสนแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 6 ] เมธา ลักษมี ( เทวีแห่งสติปัญญาเฉียบแหลม )

โอม เมธา ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
กาลี กะละมะศะ นาศินี
ประคะนาม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระเมธาลักษมี
พระองค์ผู้ขจัดซึ่งความหายนะทั้งปวง
โปรดประทานสติปัญญาที่เฉียบแหลมแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 7 ] คช ลักษมี ( เทวีแห่งคชสาร ผู้ประทานสิริมงคล )

โอม คะชะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ เทวะ สะวะรูปินี
อะสะวัม จะ โคกุลัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระคชลักษมี
พระองค์ผู้เป็นบุคลาธิษฐานของเทพเจ้าทั้งปวง
โปรดประทาน ม้า ช้าง และสิริมงคลแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 8 ] วีระ ลักษมี ( เทวีแห่งความกล้าหาญชาญชัย )

โอม วีระ ลักษมี นะโมสะเตสะตุ
ปะระ ศักติ สะวะรูปินี
วีระยัม เทหิ พะลัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระวีรลักษมี
พระองค์ผู้เป็นบุคลาธิษฐานของพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่
โปรดประทานพลังและความแข็งแกร่งแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 9 ] ชัย ลักษมี ( เทวีแห่งชัยชนะ )

โอม ชะยะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ การะยะ ชะยะ ประเธ
ชะยัม เทหิ ศุภัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระชัยลักษมี
พระองค์ผู้มีชัยเหนือทุกสรรพสิ่ง
โปรดประทานชัยชนะและฝีมือในการจัดการแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 10 ] ภาคยะ ลักษมี ( เทวีแห่งความศักดิ์สิทธิ์ )

โอม ภาคะยะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
เสามังคะละยะ วิวาระธะนี
ภะคะยัม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระภาคยลักษมี
พระองค์ผู้มีความศักดิ์สิทธิ์
โปรดประทานความโชคดีและความสมบูรณ์พูนสุข
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 11 ] กีรติ ลักษมี ( เทวีแห่งชื่อเสียง )

โอม กีระติ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
วิษะณุ วักษะ สะตะละ สะติเต
กีระติม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระกีรติลักษมี
พระองค์ผู้ประทับเคียงคู่พระวิษณุอยู่เสมอ
โปรดประทานชื่อเสียงและความมั่งคั่งร่ำรวย
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 12 ] อโรคยา ลักษมี ( เทวีผู้ไร้ซึ่งโรคภัย )

โอม อะโรคะยา ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ โรคา นิวารินี
อายุระ เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระอโรคยาลักษมี
พระองค์ผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ
โปรดประทานสุขภาพที่ดีและอายุยืนยาวแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 13 ] สิทธา ลักษมี ( เทวีแห่งสมาธิและพลังอันลึกลับ )

โอม สิทธา ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ สิทธิ ประธายินี
สิทธิม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระสิทธาลักษมี
พระองค์ผู้เป็นพลังอันลึกลับและล้นเหลือ
โปรดประทานพลังอำนาจทางจิตวิญญาณแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 14 ] สุนทรีย์ ลักษมี ( เทวีแห่งความงดงาม )

โอม สุนทะรียะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะลังการะ โศภิเต
รูปัม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระสุนทรียลักษมี
พระองค์ผู้สว่างไสวด้วยเครื่องประดับกายอันตระการตา
โปรดประทานความสวยงามแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ 15 ] สัมราชย์ ลักษมี ( เทวีแห่งความอิสระ )

โอม สัมราชะยะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
ภักติ มุกติ ประธายะนี
โมกะษัม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม

คำแปล : ขอนมัสการพระสัมราชยลักษมี
พระองค์ผู้ประทานความอิสระเสรีและความพ้นภัย
โปรดประทานความหลุดพ้นแก่ข้าพเจ้า
และขอพระองค์โปรดเติมเต็มความปรารถนาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

[ บทสวดสรุปและขอพร ]

มังคะเล มังคะลาธะเร
มังคะละเย มังคะละประเธ
มังคะลาระตัม มังคะเลสิหิ
มังคะละยัม เทหิ เม สะทา

คำแปล : พระเทวีผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี
พระองค์คือความงอกงามแห่งความดีทั้งปวง
ผู้ประทับเคียงข้างพระสวามีอยู่ตลอดกาล
โปรดประทานความดีงามแก่ชีวิตรักของข้าพเจ้าด้วยเถิด

————————————————————————————————-

สะระวะ มังคะละ มังคะละเย
ศิเว สะระวะระตะ สาธะเก
ศะรังเย ตะริอัมพิเก
เคารี นารายะนี นะโมสะตุเต

คำแปล : พระเทวีผู้ประทานสิ่งที่ดีงามแก่ข้าพเจ้า ผู้เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข
ผู้ประทานความสมบูรณ์แก่สรรพสิ่ง ผู้เป็นที่พึ่งพิงแก่ข้าพเจ้ายามขัดสน
ผู้มีสามพระเนตร มีพระวรกายสุกสว่างดั่งทองคำ
ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระนารายณี พระองค์นั้น

————————————————————————————————-

ศุภัม ภะวะตุ กะละยาณิ
อายุระ อะโรคะยะ สัมปะธัม
มามะ ศัตรู วินาศะยะ
ทีปะ ชะโยติ นะโม นะมะหะ

คำแปล : ขอน้อมนมัสการแด่ผู้ให้กำเนิดแสงแห่งประทีปอันสว่างไสวดวงนี้
ขอให้ความดีงามทั้งหลายจงบังเกิดขึ้น
ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลายมีแต่ความสุขความเจริญ มีสุขภาพที่แข็งแรง
และขอพระองค์โปรดทำลายศัตรูที่ขัดขวางความดีของข้าพเจ้าให้พินาศด้วยเถิด

————————————————————————————————-
#27
เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยค่ะ











#28
อยากถามว่าพระแม่ลักษมี15ภาคจริงๆหรือคะ
แต่เท่าที่เคยเห็นมีอยู่8ภาค

1. อธิลักษมี หรือ มหาลักษมี 
2. ธัญญะลักษมี
3. คชาลักษมี
4. สันธนะลักษมี
5. วิชยะลักษมี
6. ไอศวรายะลักษมี
7. วีระลักษมี
8. ธนะลักษมี
แล้วไม่ทราบว่าภาคที่เหลือใครพอจะมีรูปหรือเปล่าคะ
แล้วชื่อว่าอะไรบ้างลักษณะยังไงบ้าง

#29
แก่ลงอีกปีแล้วสินะ
สุขสันต์วันเกิดค่ะ ขอให้มีความสุขมากๆนะ
#30
Happy New Year ค่ะ
ปีใหม่นี้ขอให้มีความสุขกันทุกคนนะคะ
#31
ทุกอย่างอยู่ความตั้งใจนะคะ
ขอเพียงเรามีความเคารพศรัทธาในตัวท่าน

หมั่นสวดมนต์ภาวนาและคอยระลึกถึงท่านอยู่เสมอ
แค่นี้คุณก็ได้รับพรแล้วค่ะ
หิ้งบูชาและการประดับตกแต่งที่สวยงาม
เป็นเพียงของภายนอกที่เสริมให้ดูดี
แต่ถ้าเจ้าของเพิกเฉยไม่ให้ความสนใจ
ต่อการสวดมนต์ภาวนา ก็เท่ากับว่า
ความงามจากการประดับตกแต่งนั้น
ก็ไร้ความหมาย เพราะความงามที่แท้จริง
ไม่ได้มาจากการประดับประดาตกแต่งจากภายนอก
แต่มาจากข้างใน ซึ่งนั่นก็คือความตั้งใจจริง
ของผู้ที่เป็นเจ้าของที่จะสวดมนต์ภาวนาถึงท่าน
และเคารพศรัทธาท่านด้วยหัวใจค่ะ
#32
ขอบคุณค่ะ เซฟได้ตามสบายเลยนะคะ
#34
อย่าหาว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลยนะ
ถึงแม้ว่าจะยืนยัน นั่งยัน นอนยันกันนะว่านี่คือพระศิวะปัญจมุขีอ่ะ
แต่ถ้าเขาไม่เอาป้ายหรืออะไรที่บ่งบอกว่า
นี่คือพระตรีมูรติออกไปซะอย่าง

หรือแม้แต่การเชิญพราหมณ์มาทำพิธี
แล้วยังสวดบทบูชาพระตรีมูรติอยู่อ่ะนะ
ยังไงๆคนส่วนใหญ่เขาก็ยังเชื่อว่าเป็นตรีมูรติอยู่ดีนั่นแหละ
เฮ้อ!เอาเป็นว่าอย่างที่เราได้เคยพูดไ้ว้ในตอนแรกนั่นแหละ
ใครคิดว่าเป็นองค์ไหนก็องค์นั้นนั่นแหละ
สวดกันไปตามแต่ศรัทธาก็แล้วกัน
#35
อีกอย่างนะถ้าเทพเจ้าไม่มีอยู่จริง
แล้วศาสนานี้จะดำรงคงอยู่มาเนิ่นนานจนถึงบัดนี้หรือ
ที่สำคัญพวกพราหมณ์ นักบวช ฤาษีหรือโยคีในสมัยก่อน
ที่คร่ำเคร่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดตบะญาณอันสูงส่งเพื่อเข้าถึงพระเจ้านั้น
หากไม่มีพระเป็นเจ้าอยู่จริงแล้วพวกเขาจะเคร่ำเคร่งปฏิบัติตนเช่นนี้ไปเพื่ออะไร
แล้วเชื่อหรือว่านัีกบวชหรือโยคีพวกนี้จะไม่มีญาณวิเศษที่พอจะหยั่งรู้
ได้ว่าเทพเจ้าที่พวกเขาเคารพนับถือนั้นมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่จริงอย่างไร
#36
เรื่องเทพเทวดาเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน
ต้องเห็นเองและสัมผัสเองเท่านั้นถึงจะรู้
ใครจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่
เราเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา
เราเชื่อว่าพระองค์มีอยู่จริง

ส่วนเรื่องอวตารของพระวิษณุนั้นในบางตำนานก็ไม่มีพุทธาวตารแต่เป็นพระบัลรามหรือพระพลรามอวตาร
#37
คิดให้ีดีก่อนนะว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากใคร
เทพเจ้าหรือมนุษย์?
มนุษย์ไม่ใช่หรือที่แต่งเรื่องราวเพื่อโจมตีศาสนาอื่น?
แล้วเทพเจ้าไปเกี่ยวอะไรด้วยล่ะ
เทพเจ้ามีความผิดด้วยหรือ?
ทางทีดีเคารพบูชาพระเป็นเจ้าต่อไปเถอะ
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของท่านเลย
#38
ขอยกบทความของคุณแด่ศานติอันนิรันด์มาให้อ่านค่ะและก็คิดว่าหลายท่านคงจะเคยอ่านกันมาแล้ว

"พระพุทธเจ้า พระเอกผู้หลอกลวงของฮินดู บทเรียนที่มักถูกลืม"

อินเดียหันจากพราหมณ์ มาหาพุทธศาสน์ ศาสนาพราหมณ์อันเก่าแก่ของอินเดีย ซึ่งพัฒนามาเป็นศาสนาที่เรียกในปัจจุบันว่า ฮินดู นับถือเทพสูงสุด ซึ่งในพุทธกาลได้แก่พระพรหม เทพที่เก่าแก่ที่สุดของฮินดู ผู้มีอำนาจสร้างสรรค์ดลบันดาลสรรพสิ่ง รวมทั้งชีวิตและสังคมของมนุษย์ ศาสนาพราหมณ์นั้น ได้จัดตั้งวางระเบียบสังคมด้วยระบบวรรณะ และกำกับวิถีของสังคมนั้นด้วยข้อกำหนดแห่งพิธีบูชายัญ บนฐานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท โดยอ้างอำนาจสูงสุดของพระพรหมเทพเจ้า ในระบบวรรณะ ๔ นั้น พระพรหมทรงสร้างและจัดสรรสังคมมนุษย์ โดยแบ่งคนให้มีศักดิ์และสิทธิ์ตามชาติกำเนิด ไม่มีทางแก้ไข เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ได้สอนให้มนุษย์รู้ว่าธรรมสูงสุดส่วนพระพรหมและเทพทั้งปวง เป็นเพียงเพื่อนร่วมสังสารวัฏที่มนุษย์พึงอยู่ร่วมด้วยเมตตา โดยต่างก็เป็นไปตามธรรม พร้อมกันนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศหลักการให้ถือว่าคนทั้ง ๔ วรรณะมีสถานะเสมอกัน ไม่มีการแบ่งแยกแตกต่าง มวลมนุษย์เสมอกันโดยธรรมจะแตกต่างกันไปก็ด้วยการทำกรรม ดังพุทธพจน์ที่ตรัสว่า


บุคคลไม่เป็นคนถ่อยทรามเพราะชาติกำเนิด ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด แต่เป็นคนถ่อยทราม เพราะการกระทำ เป็นพราหมณ์เพราะการกระทำ [ขุ.สุ.๒๕/๓๐๕๑๓๔๙]


สังฆะของพระพุทธเจ้าจึงเปิดรับคนทั้ง ๔ วรรณะเท่าเทียมกัน ดังคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า แม่น้ำสินธู แม่น้ำสรัสวดี แม่น้ำจันทภาคา แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำสรภู และมหินที ทั้งหมดนี้เมื่อหลั่งไหลมา สาครย่อมรับไว้ ชื่อเดิมก็สลัดหาย รู้กัน แต่ว่าเป็นสาครเหล่าชน ๔ วรรณะนี้ก็เช่นกัน บรรพชาในสำนักของพระองค์ (พระพุทธเจ้า) ย่อมละชื่อเดิม รู้กันแต่ว่าเป็นพุทธบุตร [ขุ.อป.๓๒/๓/๓๙]


อีกด้านหนึ่งคือการบูชายัญในพระไตรปิฎก มีเรื่องราวจารึกไว้หลายพระสูตรที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปทรงพบปะสนทนาโต้ตอบกับพราหมณ์ผู้ใหญ่มีชื่อเสียงและผู้ปกครองบ้านเมือง โดยทรงใช้วิธีการทางปัญญา ทำให้เขาเลิกล้มพิธีบูชายัญที่เอาใจเทพเจ้าเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวด้วยการเบียดเบียนคนและสัตว์ ให้เขาหันมาบำเพ็ญทานเผื่อแผ่แบ่งปันช่วยเหลือกันในหมู่มนุษย์เอง เมื่อการต่อสู้ทางปัญญาเข้มข้นขึ้น และพระพุทธศาสนาแผ่ขยายออกไป พิธีบูชายัญก็ลดความสำคัญลง แม้แต่พราหมณ์ก็สละวรรณะออกมาบวชเป็นพระภิกษุกันมากขึ้น ๆ ทำให้สถานะของศาสนาพราหมณ์สั่นคลอนอย่างมาก เมื่อเวลาผ่านไป พระพุทธศาสนาก็ยิ่งเจริญแพร่หลายกว้างขวาง จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะที่ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๘ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงนำธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ในการปกครองบ้านเมือง โดยทะนุบำรุงอำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์อย่างทั่วถึง และคุ้มครองในความเป็นธรรมเสมอเหมือนกัน นอกจากไม่ให้อภิสิทธิ์แก่วรรณะพราหมณ์แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชถึงกับทรงประกาศห้ามการฆ่าสัตว์บูชายัญ และทรงย้ำการห้ามบูชายัญนี้บ่อยครั้งในศิลาจารึกที่โปรดให้เขียนไว้ในท้องถิ่นดินแดนต่าง ๆ นับว่าเป็นการหักล้างหลักการของศาสนาพราหมณ์อย่างถึงรากถึงฐาน แน่นอนว่า ระบบวรรณะ และการบูชายัญเป็นสิ่งที่พราหมณ์จะต้องพยายามรักษาไว้ให้มั่นคงที่สุด หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตเพียง ๕๓ ปี ( นับแบบของเราว่า พ.ศ. ๓๑๓ แต่นับอย่างฝรั่งว่าประมาณ พ.ศ. ๒๙๘ )พวกพราหมณ์ก็โค่นล้มราชวงศ์โมริยะลง โดยพราหมณ์นามว่า ปุษยมิตร ซึ่งรับราชการเป็นเสนาบดีอยู่ในวัง ได้ปลงพระชนม์กษัตริย์เสีย แล้วพราหมณ์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เอง ตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อว่าศุงคะ มีเรื่องบันทึกไว้ว่า ราชาปุษยมิตรได้ประกาศศักดา โดยรื้อฟื้นการบูชายัญ เฉพาะอย่างยิ่งยัญพิธีที่ยิ่งใหญ่ของกษัตริย์คืออัศวเมธ อันได้แก่การฆ่าม้าบูชายัญ นอกจากนั้น ราชาปุษยมิตรได้ทำลายพระพุทธศาสนา เผาวัดกำจัดพระภิกษุสงฆ์ โดยถึงกับในค่าศีรษะแก่ผู้ฆ่าพระภิกษุได้ รูปละ ๑๐๐ ทินาร์* [Dutt, Sukumar. The buddha and Five After-Centuries. (London:Luzac and Company Limited, 1955,p.164] แต่เรื่องของปุษยมิตรอยู่ในยุคที่มีเอกสารน้อย จึงไม่มีรายละเอียด อย่างไรก็ตาม ราชาปุษยมิตรทำลายพระพุทธศาสนาไม่ได้มาก เพราะครองดินแดนของราชวงศ์โมริยะไว้ได้เพียงบางส่วน มีผู้ตั้งอาณาจักรอื่น ๆ ขึ้น แตกแยกออกไป และพระพุทธศาสนาก็ยังรุ่งเรืองต่อมาในหลายถิ่น เช่น ในอาณาจักรบากเตรีย ที่เราเรียกว่า แคว้นโยนกของกษัตริย์เชื้อชาติกรีก พระนามว่าพระเจ้าเมนานเดอร์หรือมิลินทะ แห่งแคว้นสาคละ หรือสากละในปัญจาบปัจจุบัน ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๔๐๐ (ราว ๑๕๐ ปีหลังยุคพระเจ้าอโศกมหาราช) เทพเจ้าองค์ใหม่ได้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาในศาสนาพราหมณ์นั้น คือพระวิษณุ (ได้แก่พระนารายณ์) และพระศิวะ (ได้แก่พระอิศวร) ในยุคต่อจากนี้ ตลอดเวลาระยะยาว พราหมณ์ได้พยายามล้มล้างพระพุทธศาสนาเรื่อยมา ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งอย่างรุนแรง และอย่างละมุนละม่อม รวมทั้งการสร้างนารายณ์อวตารปางที่ ๙ ที่เรียกว่าพุทธาวตาร หรือที่พราหมณ์เองเรียกว่าปางมายาโมหะ และศิวะอวตาร ตลอดจนตั้งคณะนักบวชฮินดูขึ้นมาเลียนแบบสังฆะ เดี๋ยวนี้ชาวฮินดูสร้างเทวาลัย บางพวกวางรูปพระนารายณ์ไว้ตรงกลาง แล้วบางแห่งก็เอารูปพระพุทธเจ้าไปวางไว้ข้าง ๆ ให้เป็นบริวาร การที่เขาทำอย่างนี้ เป็นเรื่องยุคหลัง ๆ ที่สืบมาแต่ราว พ.ศ. ๑๐๐๐ ครั้งนั้น ทางฝ่ายฮินดูแต่งเรื่อง โดยสร้างหลักคำสอนใหม่ขึ้นมา บอกว่าพระนารายณ์ซึ่งเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่จะอวตารลงมากู้และแก้ปัญหาของโลกเป็นระยะ ๆ แล้ว ครั้งหนึ่งก็ได้อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าของเราก็กลายเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ เขาบอกว่า บูชาพระพุทธเจ้าได้ไม่เป็นไร เพราะพระพุทธเจ้าก็เป็นพระนารายณ์ที่อวตารลงมา ว่าแล้วเขาก็เอาพระพุทธรูปไปไว้ในเทวาลัยของฮินดูด้วย โดยเอาพระนารายณ์ตั้งตรงกลาง แล้วเอาพระพุทธรูปไปวางไว้ข้าง ๆ เป็นการค่อยประสานกลมกลืนกันไป แต่ที่เขาบูชาพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตาร ดูเหมือนเป็นการยกย่องนั้น ถ้าศึกษาสักหน่อย ก็จะรู้ว่าเป็นการมุ่งร้าย เพราะเขาบอกว่า


พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อทำหน้าที่หลอกลวงคน ลัทธิฮินดูบูชาพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตารปางมายาโมหะ คือปางหลอกลวงคน หลอกลวงอย่างไร คือเขาแต่งเป็นเรื่องว่า มีมนุษย์จำนวนมากที่เป็นพวกของอสูรร้ายเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเป็นเจ้าและต่อพระเวท พระนารายณ์ก็เลยอวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อหลอกลวงคนเหล่านี้เอามารวมเข้าด้วยกันไว้ เพื่อช่วยให้เทพเจ้าทำลายคนเหล่านี้ได้สะดวกทีเดียวหมดเลย หมายความว่า ฮินดูให้พระพุทธเจ้าเป็นพระเอกในบทบาทของผู้หลอกลวง และถือว่าชาวพุทธก็คือพวกลูกน้องของอสูร


พราหมณ์ใช้พระนารายณ์มาชิงอินเดียกลับไป ไหน ๆ ได้พูดพาดพิงถึงการที่ฮินดูเอาพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตารแล้ว ก็ควรจะพูดให้เข้าใจชัดเจนขึ้นสักนิด เรื่องนารายณ์อวตารนี้เกิดขึ้นในยุคคัมภีร์ปุราณะของฮินดู ปุราณะ แปลง่าย ๆ ว่า เรื่องโบราณก็คล้ายกับคำว่าตำนาน แต่เป็นตำนานของฮินดูโดยเฉพาะคัมภีร์ปุราณะมีทั้งหมด ๑๘ คัมภีร์ แต่ก่อนเคยเข้าใจกันว่าเก่าแก่มาก แต่เวลานี้รู้กันลงตัวหมดแล้วว่า แต่งขึ้นเริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษ ที่ ๔ (ราว พ.ศ. ๘๕๐) และแต่งกันเรื่อย ๆ มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ (ราว พ.ศ.๑๔๕๐) แต่ปราชญ์บางท่านว่าถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ (ราว พ.ศ.๒๐๕๐) เรื่องเอาพระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระนารายณ์ที่เรียกว่าพุทธาวตารนั้น ปรากฏขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๑๐๐๐-๑๑๐๐ คัมภีร์ปุราณะ คัมภีร์แรกที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตาร คือ "วิษณุปุราณะ" ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่แต่งในช่วง พ.ศ.๙๔๓-๑๐๔๓ และบรรยายไว้ยืดยาว ชาวฮินดูเอาพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตารเพื่ออะไร ไม่ควรเดา ถ้าต้องการรู้ชัดก็อ่านข้อความในคัมภีร์ปุราณะที่เป็นต้นแหล่ง ก็จะได้ความแน่นอน ขอยกข้อความในคัมภีร์วิษณุปุราณะ ตอนสำคัญมาให้ดู ตอนหนึ่งว่า "พวกอสูร มีประหลาทะ เป็นหัวหน้า ได้ขโมยเครื่องบูชายัญของเทพยดาทั้งหลายไป แต่เหล่าอสูรเก่งกล้ามาก เทพยดาปราบไม่ได้ พระวิษณุเจ้า (พระนารายณ์) จึงทรงนิรมิตบุรุษแห่งมายา (นักหลอกลวง) ขึ้นมาเพื่อให้ไปชักพาเหล่าอสูรออกไปให้พ้นจากทางแห่งพระเวท ..... บุรุษแห่งมายานั้นนุ่งห่มผ้าสีแดง และสอนเหล่าอสูรว่า การฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นบาป..... ทำให้พวกอสูรเป็นชาวพุทธและชักพาให้หมู่ชนอื่น ๆ ออกนอกศาสนา พากันละทิ้งพระเวท ติเตียนเทพยดาและพราหมณ์ทั้งหลาย สลัดทิ้งสัทธรรมที่เป็นเกราะป้องกันตัว เทพยดาทั้งหลายจึงเข้าโจมตีและฆ่าอสูรเหล่านั้นได้"


อีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า "ในการสงครามระหว่างเทพยดากับเหล่าอสูร เทพยดาได้ปราชัย และมาขอให้องค์พระเป็นเจ้า (พระวิษณุ=พระนารายณ์) ทรงเป็นที่พึ่ง องค์พระเป็นเจ้าจึงได้ทรงมาอุบัติเป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ มาทรงเป็นองค์มายาโมหะ (ผู้หลอกลวง) และทรงชักพาให้เหล่าอสูรพากันหลงผิดไปเสีย ไปนับถือพุทธศาสนา และละทิ้งพระเวท แล้วพระองค์ก็ได้ทรงเป็นอรหันต์ และทำให้คนอื่น ๆ เป็นอรหันต์ พวกนอกพระศาสนาจึงได้เกิดมีขึ้น" ญาติโยมอาจสงสัยว่า ทำไมจะไปล่อให้อสูรออกนอกศาสนาเสียละ ทำให้เขานับถือไม่ดี หรือตอบง่าย ๆ ว่า พราหมณ์หรือฮินดูถือว่า อสูรเป็นศัตรูของเทวดา เมื่ออสูรมารู้พระเวท ทำพิธีบูชายัญ เป็นต้น ก็จะมีฤทธิ์มีอำนาจ เทวดาก็ปราบไม่ได้ เหมือนอย่างเรื่องข้างต้น พระนารายณ์จึงอวตารเป็นพระพุทธเจ้ามาหลอกอสูรกับพวกออกไปเสียจากศาสนาฮินดู (ให้เลิกนับถือพระเวท เลิกบูชายัญเป็นต้น) แล้วจะได้หมดฤทธิ์ หมดพลังอำนาจ เสร็จแล้วพวกเทวดาจะได้สามารถปราบหรือกำจัดอสูรได้สำเร็จ หมายความว่า พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อมาหลอกเหล่าอสูร ซึ่งเป็นศัตรูของเทวดาให้หลงผิดเลิกนับถือพระเวท เลิกบูชายัญ เป็นต้น แล้วอสูรจะได้หมดฤทธานุ-ภาพ คือมาช่วยให้เทวดาปราบอสูรได้สำเร็จ และก็หมายความว่า ชาวพุทธทั้งหมดนี้คือพวกอสูร ซึ่งจะต้องถูกปราบถูกกำจัดต่อไป คัมภีร์ภาควตปุราณะ ซึ่งเป็นปุราณะที่สำคัญที่สุดกล่าวว่า "เมื่อกลียุคเริ่มขึ้นแล้ว องค์พระวิษณุเจ้า (พระนารายณ์) จะลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า โอรสของราชาอัญชนะ (ที่จริงเป็นพระอัยกาของพุทธเจ้า) เพื่อชักพาเหล่าศัตรูของเทพยดาทั้งหลายให้หลงผิดไปเสีย มาสอนอธรรมแก่เหล่าอสูร ทำให้พวกมันออกไปเสียจากพระศาสนา พระองค์จะทรงสั่งสอนเหล่าชนผู้ไม่สมควรแก่ยัญ พิธีให้หลงผิดออกไป ขอนอบน้อมแด่องค์พุทธะ ผู้บริสุทธิ์ ผู้หลอกลวงเหล่าอสูร" ที่ว่ากลียุคนั้น ทางฮินดูถือว่ามีเครื่องหมายแสดงให้รู้คือ เมื่อใดการแบ่งแยกวรรณะทั้ง ๔ เริ่มผ่านคลายเสื่อมสลายลง ก็แสดงว่ากำลังเริ่มเข้าสู่กลียุค ตอนนี้ คัมภีร์ปุราณะก็กล่าวบรรยายไว้ด้วยว่า เมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระพุทธเจ้ามาหลอกอสูรและพวกให้หลงผิดออกไปจากศาสนาฮินดูเรียบร้อยแล้วต่อไป เมื่อสิ้นกลียุคแล้ว พระองค์ก็จะอวตารลงมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นอวตารปางที ๑๐ (ต่อจากพระพุทธเจ้าซึ่งเขาจัดเป็นปางที่ ๙ ) ชื่อกัลกี (กัลกยาวตาร) เพื่อกำจัดกวาดล้างฆ่าเหล่าอสูรนั้นให้หมดสิ้น แล้วเสด็จกลับคือสู่สรวงสวรรค์ ต่อแต่นั้น โลกก็จะกลับเข้าสู่ยุคทอง


คัมภีร์มหาภารตะ ก็ได้เขียนเติมแทรกข้อความต่อไปนี้ไว้ "เมื่อเริ่มกลียุค องค์พระวิษณุเจ้าจะลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นโอรสของราชาสุทโธทนะ และจะเป็นสมณโล้นออกสั่งสอนด้วยภาษามคธ ชักพาเหล่าประชาชนให้หลงผิดประชาชนเหล่านั้นก็จะกลายเป็นคนหัวโล้นไปด้วย และนุ่งห่มผ้าเหลือง พราหมณ์ก็เลิกทำพิธีเซ่นสรวง และหยุดสาธยายพระเวท..... ลำดับนั้น เมื่อสิ้นกลียุค พราหมณ์นามว่ากัลกี ผู้เป็นบุตรแห่งวิษณุยสะ จะมาถือกำเนิด และกำจัดเหล่าพวกอนารยชนคนนอกศาสนาเหล่านั้นเสีย"


อันคัมภีร์หนึ่งเขียนไว้ ให้รู้สึกเป็นประวัติศาสตร์(แบบเทียม ๆ) ว่า "บัดนี้ องค์พระวิษณุเจ้า มีพระทัยรำลึกถึงกลียุค จึงได้เสด็จลงมาอุบัติเป็นพระโคตมะ ศากยมุนี และสอนธรรมของพุทธศาสนาเป็นเวลา ๑๐ ปี ครั้งนั้น ราชาสุทโธทนะครองราชย์ ๒๐ ปี แล้ว ราชาศากยสิงหะครองราชย์ ๓๐ ปี ในตอนต้นแห่งกลียุคนั้น วิถีแห่งพระเวทได้ถูกทำลาย และประชาชนได้ไปนับถือพุทธศาสนากันหมด เหล่าชนผู้ถือองค์พระวิษณุเป็นสรณะ ได้ถูกชักพาให้หลงผิดไปแล้ว" ต่อมา พวกฮินดูนิกายไศวะสายศังกราจารย์ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับพวกไวษณพ ก็ได้นำวิธีการนี้มาให้ด้วย โดยสอนว่าศังกราจารย์เป็นอวตารของพระศิวะ (พระอิศวร) เพื่อมากำจัดพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนา ดังข้อความใน "ศังกรทิควิชยะ" ว่า "เทพยดาทั้งหลาย ได้มาร้องทุกข์แด่องค์พระศิวะเป็นเจ้าว่า พระวิษณุได้เข้าสิงสู่ในร่างของพระพุทธเจ้าในโลกมนุษย์เพื่อประโยชน์ของตน บัดนี้ เหล่าชนผู้เกลียดชังพระศาสนา ผู้ดูหมิ่นพราหมณ์ ดูหมิ่นธรรมแห่งวรรณะและอาศรมธรรมได้มีจำนานมากเต็มผืนแผ่นดินไม่มีบุคคลใดประกอบยัญพิธีเพราะคนทั้งหลายได้กลายไปเป็นคนนอกศาสนา (=นอกศาสนาฮินดู) คือเป็นพุทธ เป็นพวกกาปาลิก เป็นต้น ทำให้เหล่าเทพยดาทั้งหลายไม่ได้เสวยเครื่องเซ่นสังเวยองค์พระศิวะเป็นเจ้า (ได้ทรงสดับแล้ว) ก็ได้โปรดเห็นชอบกับเหล่าเทพยดา เสด็จอวตารลงมาเป็นศังกราจารย์ เพื่อกู้คำสอนแห่งพระเวท ในฟื้นคืนกลับมา เพื่อให้สากลโลกมีความสุขและทำลายความประพฤติชั่วให้หมดสิ้นไป" ตามที่ยกมาให้ดูให้ฟังนี้ ก็คงจะเห็นได้เองว่า เรื่องนารายณ์อวตารแสดงความรู้สึกและเจตนาที่แท้ของฮินดูต่อพุทธศาสนาอย่างไร เช่น จะเห็นว่าเขาถือว่าการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนาหมายถึงการเริ่มต้นของกลียุค เขาถือว่าชาวพุทธเป็นพวกอสูร และพระพุทธเจ้ามาทรงสั่งสอนนี้ ไม่ได้มาสอนด้วยเจตนาดี แต่ตั้งใจมาชักจูงอสูรคือชาวพุทธให้หลงผิด และที่ว่าหลงผิดก็คือจุดที่เขาโกรธแค้นมากว่าพระพุทธศาสนาสอนให้คนเลิกบูชายัญ (โยงไปถึงเรื่องการให้เลิกแบ่งวรรณะ)


เรื่องนี้ ก็ต้องตื่นกันเสียทีอีกด้วย บางท่านไม่ทราบเรื่องชัด เห็นว่าฮินดูนับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระนารายณ์อวตาร ก็คือ นับถือเท่ากับเป็นพระเจ้าของเขา ก็เลยกลายเป็นไม่รู้ทัน ขอให้มองง่าย ๆ


๑. มองในแง่กาลเวลา พระพุทธเจ้าปรินิพานล่วงไปแล้วตั้งพันกว่าปี ฮินดูเพิ่งจะมาว่าเป็นนารายณ์อวตารลงมา ไม่เข้าเรื่องกัน
๒. มองในแง่ของพระพุทธศาสนาเอง เรื่องพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระพุทธเจ้าหรือเป็น ใครก็ตาม ขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศานาไม่ยอมรับเรื่องเทพเจ้า ยิ่งใหญ่ที่สร้างสรรค์ดลบันดาลโลกและชีวิต
๓. มองในแง่ของฮินดูที่อยู่ข้างนอกว่ามีท่าทีต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร ก็ชัดว่า ไม่ได้คิดในทางที่ดี พระพุทธเจ้ากลายเป็นผู้หลอกลวง เอาชาวพุทธที่เขาว่าเป็นพวกอสูรไปแยกไว้ เพื่อให้พวกเทวดามากำจัดต่อไป น่าสงสัยด้วยว่า ชาวฮินดูที่กำจัดพระพุทธศาสนาและชาวพุทธในยุคต่าง ๆ ต่อมา จะอาศัยคำกล่าวในคัมภีร์อย่างนี้ไปเป็นข้ออ้างด้วยบ้างหรือเปล่า นอกจากนั้น คำในคัมภีร์ปุราณะ เช่นที่ยกมานี้ ฟ้องถึงสภาพในเวลานั้นว่า พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองมีผู้นับถือมาก และศาสนาพราหมณ์เสื่อมถอย จึงกลายเป็นเหตุให้ฮินดูร้อนรนเอาจริงเอาจังอย่างหนักที่จะหาทางกำจัดให้ได้ และมองเห็นทางที่แยบคาย หรือหมดทางอื่น จึงคิดวิธีใหม่โดยสร้างทฤษฎีขึ้นมากลืน

ที่มา:http://wongmalatorn-say.exteen.com/20071006/entry-1
#39
อ่อที่แท้เป็นอย่างนี้เอง เราเองก็แปลกใจ
เพราะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
ตอนแรกเราก็คิดว่ามันเหมือนภาพตัดต่อนะ
แต่แล้วก็คิดว่าเขาจะตัดต่อภาพพระแม่ไปทำไมกัน
แต่สุดท้ายก็รู้แล้ว ขอบคุณที่บอกค่ะ
#40
1.พระอันตัก คือ พระผู้ทำลาย
2.พระอวการ คือ พระผู้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3.พระอาตมัน คือ เทพเจ้าแห่งดวงวิญญาณ
4.พระอนิลสยะปติ คือ เจ้าแห่งลม
5.พระอนล คือ เจ้าแห่งไฟ
6.พระอาขัณฑ ลัสยะปติ คือ เจ้าแห่งพระอินทร์
7. พระอรักสยะปติ คือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์
8. พระอวรรณัก คือ พระผู้ไม่มีสีสรร
9. พระอทิ คือ เทพเจ้าผู้เริ่มแรก
10.พระอทิกร คือ พระผู้สร้างสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
11.พระอากาศกรณัม คือ เทพเจ้าแห่งอากาศธาตุ
12.พระอปาม อาตมัน คือ เทพเจ้าแห่งน้ำ
13.พระอสูรันตัก คือ พระผู้ประหารอสูร
14.พระอังคิรัส คือ เทพเจ้าฤาษีอังคิรัส
15.พระอันตระ คือ เจ้าแห่งฤาษีอัตริ
16.พระอปานสยะปะติ คือ เจ้าแห่งอปาน
17.พระอนันตะ คือ พระผู้ไม่ตาย
18.พระอนันตรูป คือ พระผู้มีรูปร่างอันมั่นคง
19.พระอริษัฏ นิหันตฤ คือ พระผู้ปราบอสูร อริษัต
20.พระอักรูระ  คือ พระผู้ไร้ความทารุณ
21.พระอหังการ คือ เทพเจ้าแห่งโลกทั้งหมด
22.พระอรถะ คือ เทพเจ้าแห่งทรัพยากร
23.พระอนิรุทร คือ เทพแห่งความงาม
24.พระอากาเศนวิหิน คือ เทพที่ไร้รูปร่าง-อากาศธาตุ
25.พระอเฆณปริวรชิต คือ พระผู้ไม่มีบาป
26.พระอถรวะ คือ เทพแห่งพระอถรวะเวท
27.พระอภีไทวัต คือ พระผู้ให้การสนับสนุนเทพทั้งหลาย
28.พระอมฤตสยะ ปรทาตฤ คือ พระผู้ประทานน้ำอมฤต
29.พระอันะปรัท คือ พระผู้ให้อาหารแก่ปวงมนุษย์
30.พระอรจิส คือ เทพเจ้าแห่งความสดชื่น
31.พระบาลจันทรนิภะ คือ พระผู้สว่างด้วยแสงพระจันทร์
32.พระบาล คือ พระผู้ให้การเลี้ยงดู
33.พระบัลภัทร คือ พระบัลราม
34.พระพลาธิป คือ พระผู้มีอำนาจสูงสุด
35.พระพลิพันธนักฤต คือ พระผู้ประหารอสูรพลี
36.พระพลาธาร คือ เจ้าแห่งความแข็งแกร่ง
37.พระพฤหัทวีร คือ นักรบผู้ยิ่งใหญ่
38.พระภูตานาม อาตมัน คือ เทพแห่งธาตุทั้งหลาย
39.พระพุทเธช อาตมัน คือ พระวิญญาณแก่ความฉลาด
40.พระพรหม อาตมัน คือ พระวิญญาณแห่งพระพรหม
41.พระพัฑวามุข คือ พระผู้มีไฟแห่งการทำลายล้างในปาก
42.พระภฤคุ คือ เทพแห่งฤาษีภฤค
43.พระพฤหัชจรวัส คือ พระผู้ใบหูอันใหญ่โต
44.พระภราชิษณุ คือ เทพแห่งความยิ่งใหญ่
45.พระภาสกราน ตวินาศัน คือ พระผู้ประหารอสูรภาสกรานตะ
46.พระภัคหะ คือ พระผู้ทำลายผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย
47.พระภัควาน คือ เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
48.พระภานุ คือ พระสุริยะเทพ
49.พระภักตสตุตะ คือ เทพเจ้าที่เป็นที่เคารพแห่งนักพรต
50.พระพุทธะ คือ พระผู้มีญาณอันยิ่งใหญ่
51.พระเภษัช คือ เทพเจ้าแห่งยา
52.พระพลาธยักษะ คือ เจ้าแห่งกองทัพสวรรค์
53.พระพรหมณัชกโษภัก คือ พระผู้ก่อกวนพระพรหม
54.พระภาวะ คือ เทพแห่งความปรารถนาที่ดี
55.พระภาวะยะ คือ เทพแห่งความคิดเห็น
56.พระภวะนาคัน คือ พระผู้ทำลายการเกิด
57.พระพฤหัทภานุ คือ พระผู้มีรัศมีอันยาว
58.พระพหุบาตร คือ พระผู้มีบาตมาก
59.พระพลิน คือ พระผู้มีอำนาจอันยิ่งใหญ่
60.พระพรหมจาริน คือ เทพแห่งนักศึกษา
61.พระภิกษุก คือ เทพแห่งภิขาจาร
62.พระพราหมัน คือ เจ้าแห่งวรรณะพราหมณ์
63.พระพลัม คือ เทพแห่งความแข็งแรง
64.พระภุวนานาม นิยามัก คือ พระผู้ปกป้องคุ้มครองจักรวาล
65.พระโภกตฤ คือ พระผู้ประทานความร่าเริงเบิกบาน
66.พระภูมา คือ เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์
67.พระภารัต คือ เทพแห่งแสงสว่าง
68.พระจันทร์สัชเศรษฐปติ คือ เทพเจ้ายิ่งใหญ่แห่งพระจันทร์
69.พระเจตสัชการณัม คือ ต้นเหตุแห่งความนึกคิด
70.พระจักษุษัช การณัม คือ เทพแห่งดวงตา
71.พระจักรฑฤก คือ เทพแห่งอาวุธจักรอันยิ่งใหญ่
72.พระเจตสาวิคัต คือ พระผู้ไม่มีความโอนเอน
73.พระจันทัส คือ เทพแห่งความงามอันยิ่งใหญ่
74.พระธรรม คือ เจ้าแห่งคุณงามความดี
75.พระเทวานาม คือ เทพเจ้าแห่งเทวะทั้งหลาย
76.พระทักษะสยะปติ คือ เทพเจ้าแห่งพระทักษะประชาบดี
77.พระทวิชานาม อุตตะมะปติ คือ เทพผู้ถือกำเนิดสองครั้ง
78.พระทุษฏานามโมหะ กรัตฤ คือ พระผู้เป็นที่ยำเกรงต่อคนชั่วร้ายทั้งหลาย
79.พระเทวล คือ เทพแห่งฤษีเทวล
80.พระทาตฤ คือ พระผู้ประทาน
81.พระทาน คือ เทพแห่งเครื่องบูชา ทาน
82.พระทรุมุข คือ เทพเจ้าผู้มีพักตร์อันบูดเบี้ยว
83.พระเทวาน ตักวินาศัม คือ พระผู้ประหารพระเทวานตัก
84.พระทุษฏาสุรนิหันตฤ คือ พระผู้ประหารอสูรชั่วร้าย
85.พระทัมเธนสถูลตระ คือ พระผู้ไม่มีความยินดียินร้าย
86.พระทาโมทร คือ พระผู้ทรงใช้บ่วงบาศ
87.พระทัณฑหัสตะ คือ พระผู้ถือกระบองอันยิ่งใหญ่
88.พระทุธศีลปริกรชิต คือ พระผู้ไม่มีลักษณะที่ชั่วร้าย
89.พระธนิน คือ เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย
90.พระธันปรัท คือ พระผู้ประทานความร่ำรวย
91.พระทุรวิษหะ คือ พระผู้ไร้ความกลัว
92.พระเทหิน คือ พระผู้ไม่มีรูปร่าง
93.พระหฤศยัม คือ เทพแห่งมโนภาพ
94.พระทัตตาเตรยะ คือ เทพแห่งฤาษีทัตตาเตรยะ
95.พระธูมรูป คือ เทพเจ้าแห่งควัน
96.พระไทตตยะสูทัน คือ พระผู้ประหารพวกไทตตยะ
97.พระทุรลัภ คือ พระผู้ที่ยากที่จะเข้าถึงพระองค์ได้
98.พระธารัก คือ พระผู้ค้ำจุน
99.พระเอกบาตร คือ พระผู้มีพระบาทข้างเดียว
100.พระเอกทัณฑิน คือ พระผู้ถือตะบองใหญ่อันหนึ่ง
101.พระคทาธร คือ เทพเจ้าผู้ถือตะบองใหญ่เป็นอาวุธ
102.พระคนธรรพ์วานามการณัม คือ เทพเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์
103.พระฆราณตมัน คือ เจ้าแห่งกลิ่นหอม
104.พระโควินทะ คือ เทพเจ้าแห่งโค
105.พระโคปาล คือ พระผู้ผู้ปกป้องโค
106.พระโคกษะ คือ พระผู้ดูแลจักรวาล
107.พระคุชยะ คือ พระผู้ประทับอยู่ในถ้ำ
108.พระเคาระ คือ พระผู้มีผิวสีขาวนวล