Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - หริทาส

#121
กระทู้นี้เยี่ยมจริงๆ อยากให้ตั้งเป็นกระทู้พิเศษเลยครับ
#122
ตามตำนานเล่ากันว่า

เมื่อท่านเกิดท่านไม่ยอมมองไม่ยอมร้องไห้ จนที่บ้านท่านต้องนำไปไว้เบื้องบาทพระวิษณุ จากนั้นท่านได้ไปนั่งสมาธิอยู่ที่ใต้ต้นมะขามครับ

รูปของท่านจึงมักเป็นรูปนั่งสมาธิอยู่ที่ใต้ต้นมะขาม

และมี กวีนักบุญชื่อ มธุรกวี อัลวาร์เดินทางมาจากภาคเหนือ เนื่องจากเห้นแสงสวาง่ที่ภาคใต้ของอินเดีย

เมอื่มาถึง ก็มายอมตนเป็นสานุศิษย์ ของท่าน นามมัลวาร์ ทั้งที่อายุมากกว่าครับ
#123
หริทาสเจ้าเก่ามาตอบครับ

เอาแบบงูๆปลาๆนะครับ

รูปที่เห้นนี้คือท่าน นามมัลวาร์ (ไม่มีความรู้ภาษาทมิฬครับ)

ท่านเป็นหนึ่งในกลุ่มนักบุญกวี 12 ท่านที่เรียกว่า กลุ่ม "อัลวาร์" Alvar
กลุ่มนี้ เป้นกลุ่มนักบุญที่เผยแพร่ไวษณวนิกายไปทั่วทั้ง ภูมิภาคอินเดียทางตอนใต้ครับ โดยท่าน นามอัลวาร์ผู้นี้ มีอีกนามหนึ่งว่า ศตโคปา
เป็นอัลวาร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในทั้ง 12 องค์ กลุ่มอัลวาร์ได้ประพันธ์กวีนิพนธ์ที่เรียกว่า ทิพยปรพันธัม(ทิพฺยปฺรพนฺธมฺ)  เป็นบทกวีภาษาทมิฬสรรเสริญพระวิษณุและนับว่าเป็นขบวนการภักติยุคแรกๆ ในพวกไวษณวนิกายทางภาคใต้ของอินเดีย(คนทมิฬในไวษณวนิกายถือว่าบทกวีของอัลวาร์เป็นพระเวทของทมิฬทีเดียว)

ท่านได้ประพันธ์กวีนิพนธ์ไว้ในทิพยประพันธัม ถึง 1296 บท จากทั้งสิ้น ประมาณ 4000 บท งานของท่านมีสี่ชิ้นได้แก่
  • TiruvAymozhi
  • Tiruviruttam
  • TiruvAsiriam
  • Periya Tiruvanthadi


    ส่วนความสัมพันธ์กับท่านนาถมุนีนั้น

    ท่านนาถมุนีเป็นผู้สถาปนาศรีสัมประทายะ หรือศรีไวษณวะ ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งของไวษณวะ  ท่านเกิดภายหลังกลุ่มอัลวาร์ แต่เป็นผู้รวบรวมบทกวีนิพนธ์ของอัลวาร์ทั้ง 12 องค์มาไว้ และได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของกลุ่มอัลวาร์มามาก

  • นอกจากนี้ท่านนาถมุนี ยังได้พัฒนาปรับปรุงแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาของไวษณวนิกาย สรุปในภาษาสันสกฤต และทำการโต้แย้งกับคำสอนของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายในขณะนั้น

    จากท่านนาถมุนี ก็สืบทอดมาสู่ ท่านยมุนาจารย์ 
    จากท่านยมุนาจารย์ ก็สืบทอดมาสู่
    ท่านรามานุชาจารย์ หรือท่านยรามานุชะ นักปรัชญาที่สำคัญที่สุดในสายไวษณวะ สถาปนาแนวคิดที่เรียกว่า วิศิษฏาทไวตะ

    ท่านนาถมุนีจึงเป็นปรมาจารย์ของท่านรามานุชะ และเกี่ยวพันกับอัลวาร์ ในฐานะผู้รวบรวมบทกวีของอัลวาร์และ รับอิทธิพลทางความคิดครับ

    อันนี้ลองไปหาอ่านรายละเอียด และ งานนิพนธ์ของท่านได้ตามเวปไซต์ของไวษณวนิกายครับ
#124
มาตอบเท่าที่ปัญญาน้อยๆจะมีนะครับ
เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่น รายละเอียดเกี่ยวกับพิธีก็แตกต่างกันออกไป แม้ว่าจะมีแกนหลักเหมือนกันคือจากคัมภีร์พระเวทก็ตาม
ดูจากรูปแล้วคงเป็นประเพณีของทางอินเดียภาคใต้ ซึ่งผมไม่ค่อยมีความรู้เลย ก็จะตอบเท่าที่รู้แล้วกันนะครับ ตรงบ้างไม่ตรงบ้างนะครับ

เรื่องหญ้าคา ในศาสนาฮินดูใช้หญ้าคาหลายอย่างครับ หญ้าคาเรียกว่า กุศะ จัดเป็นของมงคลอย่างหนึ่ง ตามตำนานการกวนเกษียรสมุทร และตำนานในปุราณะ หญ้าคาจึงถูกนำมาใช้ในพิธี เท่าที่ผมเห็นมาดังนี้ครับ
1.ใช้เพื่อความบริสุทธิ์สะอาด
1.1ใช้ในพิธียัญญะกรรม เช่นการประกอบพิธีโหมะ
1.2 ใช้ในการทำพิธีทั่วๆไปโดยนำมาพันรอบนิ้วนางข้างขวาเป็นแหวน เรียกว่า ปวิตฺร เชื่อกันว่าทำให้นิ้วนั้นบริสุทธิ์ จะได้ใช้จุลเจิมหรือประกอบพิธีต่างๆได้ แต่ปัจจุบัน ถือว่าใช้แหวนทองหรือแหวนอื่นๆก็ได้ครับ
1.3ใช้ในพิธีที่เกี่ยวกับความบริสุทธ์อื่นๆ เช่น ทศสนาน คือการอาบน้ำชำระบาป การประพรมน้ำศักดิ์สิทธิ์(ซึ่งในเวลาต่อมาพระพุทธศาสนาและไทยก็รับมาใช้
1.3 ในการสรงสนานเทวรูปบางคร้งก็ใช้หญ้าคาเช่นเดียวกัน โดยถือว่าเป็นของที่ทำให้บริสุทธิ์ ดังในเรื่องพระราชพิธี ศิวราตรี ของพราหมณ์ไทยซึ่งสมัยก่อน การถวายน้ำสรงพระศิวลึงค์ ก็จะเจาะรูที่หม้อสรงแล้ว สอดหญ้าคาลงไปครับ
2.ใช้หญ้าคาแทนสิ่งต่างๆในพิธีกรรม

2.1 ที่เคยเห็นมานะครับ บางครั้งเขาใช้หญ้าคาพันสายสิญจน์ ใช้ในพิธีแต่งงานในขั้นตอน โคทาน หรือการมอบโคให้คู่แต่งงาน โดยใช้หญ้าคานั้นแทนโคจริงๆครับ<o:p></o:p>
2.2 อาจเป็นไปได้อย่างที่เพื่อนบางท่านนำมาโพสว่าหญ้าที่ใช้ในหม้อกลัศ มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์
เพราะหม้อกลัศในทางหนึ่ง เป็นสัญลักษณ์แทนเทพเจ้า พระองค์หนึ่งๆก็ได้ เช่นมะพราวแทนพระเศียร ใบมะม่วงแทนพระหัตถ์ หม้อแทนพระวรกาย เป็นต้น การช้หญ้าคา จึงอาจหมายถึงการประดับตกแต่งพระวรกาย เช่นเป็นมงกุฏอย่างที่เพื่อนๆว่ามา ก็เป็นไปได้ครับ
แต่ทั้งนี้ นี่เป้นประเพณีทางใต้ไปถามผู้ที่รู้ธรรมเนียมทางใต้จะดีกว่าครับ

เรื่องข้าวสารนี่ผมเคยพูดไส้หลายกระทู้แล้ว
ถือว่าตอบทั้งเรื่องสังข์และเรื่องหม้อกลัศไปพร้อมกันเลย

ข้าวสารนั่นเรียกว่าอักษัต เวลาในพิธีกรรม กจะใช้ในพิธีที่มีความหมายมงคล หรือความเจริญงอกงาม
โดยปกติใช้ถวาย โดยแทนสิ่งต่างๆ เช่นเครื่องประดับเครื่องอลังการต่างๆ
ใช้แทนเทพเจ้า หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในกรณีที่ประกอบเป้น ปีฐ หรือมณฑลต่างๆ หรือแท้แต่ในหม้อกลัศ

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ข้าวสารรองสิ่งต่างๆ เช่น เทวรูป กลัศ สังข์ ประทีปโดยถือว่าข้าวสารนั้นแทน อาสนะ
หรือในกรณีเป้นมณฑล ข้าวสารนั้นเปนตัวแทนอาณาเขตของมณฑลหรือจักรวาลครับ



เรื่องใบมะม่วง ใบมะม่วงในศาสนาฮินดู ก็ใช้ในพิธีกรรมต่างๆเช่นเดียวกัน
เช่น วิวิธโหมะ ซึ่งใช้บมะม่วงแทนช้อนตักเนย ในพิธีบูชาไฟ และใช้ในการ ชำระบาปโดยการรดน้ำเรียกว่า การ มารชนมฺ และการถวายน้ำแด่เทวดา เรียกว่า ตรปณํ ใบมะม่วงจึงเกี่ยวข้องถึงพิธีที่เกี่ยวกับน้ำ หรือการทำให้บริสุทธิ์สะอาดเช่นเดียวกับหญ้าคาครับ
ในรูป มีการเรียงสังข์หลายขอนพร้อมครื่องประกอบ คงจะใช้ในการอภิเษกเทวรูป จึงได้มีการใส่ทั้งหญ้าคาและใบมะม่วงไว้ อาจด้วยเหตุผลที่ผมกล่าวมาครับ

เรื่องหม้อกลัศที่มียอดเป้นสังข์

อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่ากลัศนันั้น หมายถึงเทวดาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็ได้ การสถาปนากลัศจึงมีรูปแบบต่างๆกันออกไป เช่นที่เคยเห้น คือมียอดเป้นมะพร้าว เป็นประทีป เป็นสังข์ เป้นเทวรูป มะพร้าวก็หุ้มผ้าสีต่างๆกันก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายครับ ดังนั้นการสถาปนายอดกลัศให้เป็นสังข์ จึงอาจมุ่งหมายให้เป้นเทพเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งที่เกี่ยวกับสังข์ อันนี้ผมเองก็ไม่ทราบครับ หรืออาจใช้เพื่อการอภิเษกหรือการทำพิธีพิเศษบางอย่างครับ
อันนี้ตอบเท่าที่ความรู้ที่จำกัดของตัวเองมีครับ

ส่วนการเอาใบอ่อนมะพร้าวหรือใบจากมาพับและตกแต่ง อันนี้ผมก็เคยเห้นคนอินเดียทางใต้ทำ อาจเพื่อตกแต่งเป้นสำคัญ ส่วนความหมายอื่นๆคงต้องถามผู้ที่รู้เรื่องทางใต้นะครับกระทู้นี้อย่าน้อยใจว่าไม่มีคนมาตอบ เพราะเด๋วนี้หลายๆท่านคงแอบกังวลหรือระแวงเรื่องการ ลองภูมิรู้ซึ่งมีกันบ่อยๆครับ หรือบางทีไม่ใช่ไม่อยากตอบ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่รู้ก็เลยนิ่งไว้ครับ ตอนแรกผมเองก็จไม่ตอบแระเพราะไม่มั่นใจในความรู้ตัวเอง แต่ก็ตอบไปเท่าที่ทราบกลัวท่านจขกทจะอึดอัด 5555
#125
ขอบคุณครับน้องอักษรชนนี

คือพี่เห็นว่า พวกเราในฐานะศาสนิกชนควรทำอะไรบ้างเท่าที่พอจะทำได้ ในฐานะศาสนิกชนครับ
#126
โอมฺ

ขออนุญาติท่านเวปมาสเตอร์และท่านสมาชิกบอร์ดทุกท่านครับ ผมเองในฐานะศาสนิกชนซึ่งมีเสียงเรียกร้องจากหัวใจอันเจ็บปวดจึงเขียนสิ่งเหล่านี้มายังท่านทั้งหลาย

ในสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังเต็มไปด้วยความรุนแรงเช่นนี้   ทั้งการประหัตประหารกันโดยใช้อาวุธและความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ
และมีผู้เสียชีวิตจากทุกฝ่ายเป็นจำนวนมากแล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด
แน่นอน พวกเราในบอร์ดนี้ย่อมมิได้ต้องการแสดงออกทางการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองใดๆ
เพราะบอร์ดฮินดูแห่งนี้เป็นบอร์ดทางศาสนาที่เน้นความรู้และความศรัทธาในศาสนาเป็นสำคัญ
แต่เราปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า เราก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้ สังคมไทยที่กำลังประสบภาวะวิกฤติอย่างยิ่ง
และด้วยความเป็นศาสนิกชน ซึ่งในศาสนาฮินดูของเรามีคำสอนเรื่อง "อหิงสธรรม" หรือหลักแห่งความไม่เบียดเบียนทั้งกายวาจาใจ
การพบว่าเพื่อนมนุษย์อันเป็นบุตรของพระผู้เป็นเจ้า หรือ"หริปุตร"ด้วยกันเช่นเดียวกับเรา ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใครก็ตามได้รับความทุกข์ทั้งกายใจ หรือต้องตายลง ด้วยความรุนแรง

ผมเชื่อว่า การพบความจริงเช่นนี้ย่อมจะยังความทุกข์ใจให้แก่พวกเราซึ่งเป็นศาสนิกชนและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างแน่นอน

ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้พวกเราทั้งหลายซึ่งเป็นศาสนิกชน ทั้งที่เป็นฮินดู หรือเป็นผู้ศรัทธาในองค์พระผู้เป็นเจ้าในรูปแบบและพระนามใดๆก็ตาม
ได้ร่วมกันภาวนาเพื่อสันติภาพ และขอให้มีความสงบสันติบังเกิดขึ้นโดยเร็ว
โดยขอให้พวกเราได้ภาวนาแผ่เมตตาธรรมถึงทุกฝ่าย เพราะ"แสงอาทิตย์ย่อมส่องไปในทุกที่ไม่ว่าในพระราชวัง หรือเรือนของจัณฑาล"
พระเมตตาของพระเป็นเจ้าก็ย่อมไม่เคยเลือกที่รักมักที่ชัง และปกแผ่ไปยังทุกสิ่ง

ให้พวกเราได้รักษาหัวใจแห่งความเป็นศาสนิกชน ซึ่งไม่ลืมเมตตาธรรมอันเป็นคุณธรรมที่พระเป็นเจ้าทั้งหลายได้ทรงยึดถือและสั่งสอน
และขจัดความเกลียดชังออกไปจากจิตใจให้มากที่สุด

ขอเชิญทุกท่านได้ลงนามในกระทู้นี้และได้ภาวนาร่วมกัน ไม่ว่าท่านจะอยู่ในแห่งหนใดก็ตาม



โอมฺ สรฺเว ภวนฺตุ สุขินะ
โอม ขอให้สรรพสิ่งทั้งปวงจงมีสุข

สรฺเว สนฺตุ นิรามยาะ
ขอให้สรรพสิ่งทั้งปวงปราศจากภัย

สรฺเวภทฺราณิ ปศฺยํตุ
ขอให้สรรพสิ่งทั้งปวงได้พบแต่สิ่งดีงาม

มา กศฺจิทฺ ทุะขภาคฺ ภเวตฺ
อย่าได้มีภาคส่วนแห่งความทุกข์เลย

โอมฺ ศานฺติ ศานฺติ ศานฺติ


ด้วยเสียงเรียกร้องจากภายใน
หริทาส
ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
#127
Quote from: TITLE on May 13, 2010, 10:50:16
ภาพหิ้งพระเเละเทวรูปครับผม











ผมขอแนะนำนิดเดียวครับ

เวล่ตั้งบูชาพระเทวรูป ถ้าเทวรูปสององค์นั้นเป็น พระสวามีและชายากัน

ให้พึงตั้งเทวรูปเทพเจ้าชายไว้ทางขวาของเทพเจ้าหญิงเสมอครับ ถึงจะถูกต้องตามประเพณีครับ

คือพระนาฏราชอยู่ทางขวามือของพระเทวีครับ


อ่อผมก็คนดนตรีไทยครับ ลูกศิษย์ครูเฉียบ(อ.นัฐพงศ์ โสวัตร)

"ขอคุณครูจงรักษา ให้ข้าอยู่เย็นเป็นสุข"
ผมก็ชอบประโยคนี้ในโองการไหว้ครูครับ

ยังเคยพิมพ์รูปครูแจกแล้วเอาประโยคนี้ไว้ในรูปด้วยครับ
#128
Quote from: ikkyu on May 16, 2010, 12:50:01
แล้วทำไมท่านต้องนั่งยอง ๆ ท่านี้ด้วยหละครับ
น่าสงสัยจัง!

อ่า จะเรียกว่านั่งยองๆก็ไม่ใช่นะครับ ดูดีๆจะเห็นสายรัดหัวเข่า สายนี้เรียกว่า โยคปัตต์ สำหรับพวกโยคีเอาไว้ช่วยในการทำโยคะ
คือท่านนั่งในท่าโยคะนะครับ
#129
Quote from: ศรีมหามารตี on May 16, 2010, 11:20:10
สวัสดีคะ ...  กระทู้นี้อิชั้นต้องรบกวนเรียนถามกูรู หรือผู้มีความรู้หลายๆท่าน ในบอร์ดนี้หน่อยนะค่ะ

ว่าพระบาบาบาลักนาถ คือใคร  ถ้าอิชั้นสะกดหรือออกเสียงผิดก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


ਬਾਬਾ ਬਾਲਕ ਨਾਥ   
เพราะเป็นภาษาปัญจาบ
   แต่พอจะทราบมาว่าท่านมีความเกี่ยวข้องกับพระศิวะ



กราบขอบพระคุณล่วงหน้าคะ ....







เอาเท่าที่ทราบนะครับ

ท่านพาลักนาถ

เป็นศิษย์ของ ท่านทัตตาเตรยคุรุ หรือคุรุทัตตะ  ซึ่งถือกันในสายสิทธาจารย์ หรือสายนาถว่าเป็น อาทิคุรุ หรืออาจารย์ท่านแรก

สายนาถ เป็นสายนักบวชพวกหนึ่ง เกี่ยวพันกับการบำเพ็ญโยคะแบบสิทธะ และการนับถือพระศิวะ พวกนี้จะจาริกเร่ร่อนไปครับ

ในตำนานกล่าวว่า ท่านพาลักนาถ เป็นพระสกันทะมาอวตารครับ(ในนิกายเขาเชื่อกันแบบนี้)และท่านได้บำเพ็ญภาวนาต่อพระศิวะ จนได้บรรลุสิทธิอำนาจต่างๆ
และท่านได้สร้างปาฏิหารย์มากมาย ท่านพาลักนาถยังได้เคยพบกับคุรุโครักขนาถซึ่งเป็นอาจารย์สายนาถที่สำคัญ

แต่ตัวท่านพาลักนาถไม่ใช่พวก นวนาถ หรือพระอาจารย์สายนาถทั้ง 9 ครับ แม้ว่าจะมีรูปลักษณ์ที่คล้ายกัน

ท่านเป็นที่เคารพมากในอินเดียทางภาคเหนือครับ


ถ้าลองไปค้นดูในตำนานของพระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน ซึ่งนับถือสิทธาจารย์เหมือนกันจะพบว่า นาถบางองค์ หรือสิทธาบางองค์ เป็นองค์เดียวกัน หรือน่าจะเป็นองค์เดียวกันครับ

เช่นโครักขนาถ ในตำนานสิทธาของพระพุทธศาสนาวัชรยานเรียกว่า โครักษะ
หรือ มัสเยนทรนาถ ฯลฯ กีมี่อปรากฏครับ
#130
ผิดเยอะครับ นอกจากพระนามต่างๆเหมือนที่คุณพิษประจิมว่าไว้ ยังมีการผิดเรื่องไวยากรณ์ด้วยครับ

เอาง่ายๆก่อนว่า เวลาจะเป้นบทสวด ไม่ใช่ เอา โอม ไว้หน้า พระนาม แล้วตามด้วย นมะ ได้เลย ต้องมีการผันพระนามตามกฏไวยากรณ์สันสกฤตด้วยครับ ซึ่งขึ้นอยู่กับเพศและพจน์ของนามนั้น
#131
ขอบคุณน้องอักษรชนนีมากครับ ที่เอาข้อมูลดีๆมาให้เรารับทราบ วันหลังพี่คงต้องรบกวนขอข้อมูลเพื่อทำงานบ้างแล้วว อิอิ

เพิ่งเห็นรูปท่านบัณฑิตวิทยาธรกสุกุล เคยได้ยินแต่ท่านเล่าให้ฟัง
#132
Quote from: ramadas on May 07, 2010, 11:34:20
ขอบพระคุณ ท่านหริทาสมากครับ สำหรับความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับมุทรา กระจ่างแจ้งเลยเดียวครับ เวลาบูชาพระคเณศ ผมก็ใช้บทสวดในหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นประจำครับ (เท่าที่ทำได้และโอกาสอำนวย ครับ) เพราะกล่าวถึงการบูชาทุกขั้นตอนไว้อย่างละเอียดมากครับ ต้องขอขอบคุณสำหรับการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าวครับ

...แต่รบกวนเรียนถามท่านหริทาสอีกอย่างครับ....
ในขั้นตอนสุดท้ายของการบูชาในหนังสือดังกล่าวที่ถวายดอกไม้พร้อมสวดว่า"..ปุษปัมชลิม สมรปยามิ..." นั้น หมายความถึงการส่งเสด็จกลับ (วิสรณัม) ด้วยหรือเปล่าครับ เพราะเห็นในการบูชาอย่างย่อ มีขั้นตอนการส่งเสด็จกลับด้วยครับ   ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องกล่าวส่งเสด็จอีกครั้ง
ใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ




ครับผม ใน การบูชา 16 ขั้นตอน บางทีเรียกขั้นตอนนี้ว่า นมัสการ ก็มีครับ ซึ่งก็อย่างเดียวกับการถวาย ปุษฺปามฺชลิมฺ (ในหนังสือผมคงพิมพ์ผิด) หมายถึงการสวดมนตร์ถวายและถวายดอกไม้ในมือเราด้วย

เวลาทำพิธีที่เป็นทางการ พราหมณ์ท่านอาจรวบบทสวดต่างๆไว้ในปุษฺปามชลิมฺ คือบทสวดสรรเสริญ บทขอขมา( กฺษมาปฺรณํ) และบทส่ง(วิสรชัน)ไว้ในคราวเดียว หรืออาจแค่สวดสรรเสริญอย่างเดียวก็ได้ การเลือกมนตร์ต่างๆขึ้นอยู๋กับพราหมณ์แต่ละท่านครับ

บางครั้งก็ไม่ต้องวิสรชันก็ได้ครับ เพราะโดยมากเท่าที่เห็นมา การวิสรชันจะจำเป็นมากในกรณีที่มีการถวายบูชาต่อสิ่งต่างๆที่อาจต้องรื้อถอนทีหลัง เช่น กลัศ มณฑลต่างๆ กองข้าวที่แทนเทวรูป ฯลฯ เพราะเสร็จพิธีก็ต้องรื้อถอนออกไป

ดังนั้น ถ้าเราบูชาในห้องพระของเราหรือเทวรูปของเราเองซึ่งไม่จำเป้นต้องโยกย้ายรื้อถอนออกไป  อาจไม่ต้องสวดบทวิสรชันก็ได้ครับ บางครั้งเขาก็ถือว่า พอถวายบูชาเสร็จ เมื่อกล่าวนมัสการแล้วก็เท่ากับเป้นวิสรชันไปในตัวแล้วครับ
ถ้าอยากให้สบายใจยิ่งขึ้น สวดบทกษฺมาปรณํ เพิ่มไปจากบทสรรเสริญได้ครับ ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก
#133
Quote from: ramadas on May 06, 2010, 10:14:13
ในหนังสือ "คเณศวิทยา" ที่ผมได้รับในคราวไปสัมมนาที่ทับแก้ว ท่านหริทาสได้กล่าวถึงการกระทำ "คราสมุทรา" ในขณะถวายอาหารด้วย ขอเรียนถามว่าการกระทำดังกล่าวหมายถึงอะไร และคนธรรมดาที่ไม่ใช่พราหมณ์สามารถกระทำได้หรือไม่ครับ และหากมีภาพตัวอย่างจะยิ่งวิเศษครับ ขอบคุณครับ


ตอบครับ

เท่าที่ผมเรียนและสอบถามจากครูอาจารย์มา

เวลาถวายบูชาอย่างเป็นพิธีการ ออกจะยุ่งมากทีเดียว โดยเฉพาะเวลาถวายไนเวทยมฺ หรือถวายอาหาร

อันนี้เล่าให้ฟังก่อนนะครับ

เมื่อบูชาไปถึงขั้นตอนถวายอาหารแล้ว ผู้บูชาหรือปูชารีจะล้างมือ ประพรมน้ำที่บริเวณจะถวายอาหาร
ตั้งอาหารต่างๆไว้หน้าพระ ประพรมน้ำพร้อมภาวนาคายตรีมนตร์เพื่อให้อาหารนั้นบริสุทธิ์(คายตฺรีมนฺเตฺรณ สํโปฺรกฺษเยตฺ) วางดอกไม้ลงบนอาหาร ถ้าถวายพระแม่ต่างๆและพระคเณศเอาลองค์หรือกานพลูวางไว้บนอาหาร ถ้าถวายพระนารายณ์พระกฤษณะ หรือพระรามเอาใบตุลสีวางบนอาหาร ถ้าถวายพระศิวะเอาใบมะตูมวางบนอาหารนั้นแล้ว
จากนั้นผู้ถวายทำมุทรา ต่อหน้าเทวรูป คือ เธนุมุทฺรา(แม่โคกามเธนุ ) ทำมสฺยมุทฺรา(วางคว่ำมือ) (อันนี้แล้วแต่สำนักครับ บางสำนักก็ทำแค่เธนุมุทฺรา บางสำนักก็ทำจกฺรมุทราด้วย  อาจารย์บัณฑิตลลิตจะทำสองมุทราครับ คือเธนุกับมัสยะ ส่วนอาจารย์บัณฑิตวิทยาธรจะทำแต่เธนุ)
แล้วสวดบทถวายอาหาร คือบท นาภฺยา อสีทํตริกข...จากปุรุษสูกตะในฤคเวท สวดเสร็จแล้ว ทำคราสมุทรา

ทำไมต้องทำคราสมุทรา เพราะ เป็นการถวายอาหารลงใน "ปราณ" ของเทวรูปครับ
ตามคติฮินดู มนุษย์เรามี ปราณอยู่ห้าชนิด(ปราณ อปาน วยาน อุทาน และ สมาน) แต่ละอย่างก็ทำหน้าที่ต่างๆกันในร่างกาย
คนฮินดูเชื่อว่า กระบวนการย่อยอาหารก็ต้องใช้ปราณด้วย รวมทั้ง กระบวนการลำเลียงสารอาหาร ฯลฯ มากมายครับ ซึ่งปราณทั้ง 5 จะทำหน้าที่สอดประสานกัน

วิธีการทำคราสมุทรา ก็ทำคล้ายใช้นิ้วโป้ง หยิบหรือคีบบนส่วนต่างๆของมือเดียวกัน .....อธิบายยากแหะ เปลี่ยนไปตามคำสวดถวายปราณทั้ง 5 โดยคล้ายๆหยิบลมจากบนอาหารถวายหน้าเทวรูป ผมอธิบายไม่ถูกครับ 5555

พอถวายเสร็จแล้ว ก็ถวายน้ำดื่มตาม เรียกมา มธฺเยปานียํ(น้ำระหว่างถวายอาหาร) ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์ล้างพระหัตถ์ เรียก อาจมานียํ และ หสฺตปรกฺษารณํ(ถ้าจำไม่ผิด)

นี่ครับเฉพาะขั้นตอนถวายอาหารอย่างเดียว ถ้าทำแบบที่ปูชารีตามวัดทำ หรือทำในพิธีการ

บางวัดเวลาถวายมหาไนเวทยํ เค้าจะปิดม่านเลยครับ เพราะถือว่า ถ้าคนที่ไม่บริสุทธิ์มาจ้องมองอาหารของเทวรูป อาหารจะมีมลทิน แต่นี่ก็เป็นธรรมเนียมของบางวัดเท่านั้นครับ

กลับมาสู่คำถามครับ

จริงๆแล้วเวลาที่เราปฏิบัติถวายบูชาประจำวัน ผมได้เรียนว่า ทำเพียงแค่ 5 ขั้นตอนก็พอ(ปัญจอุปจารวิธี)
และในเวลาถวายอาหารนั้น ก็เพียง
1.ถ้าอาหารนั้นเป้นผลไม้ พึงล้างให้สะอาดก่อน และก่อนถวายให้ล้างมือ
2.เวลาจะถวายนำอาหารใส่ภาชนะที่เหมาะสม วางไว้เบื้องหน้าเทวรูป ถ้ามีดอกไม้ ก็วางบนอาหารนั้นนิดหน่อย เป็นสัญลักษณ์ว่าของที่วางดอกไม้นี้เป็นของประณีตที่จะถวาย
3.ประพรมอาหารทุกอย่างนั้นด้วยน้ำสะอาดเล็กน้อย ภาวนาคายตรีมนตร์ ถ้าไม่รู้คายตรีมนตร์ ให้ระลึกในใจว่า "ด้วยอำนาจพระคายตรีมนตร์ขอให้อาหารที่จะถวายนี้บริสุทธิ์"ประมาณนั้นครับ
4.จากนั้นกล่าวคำถวายตามแต่ท่านถนัด รู้สันสกฤตก็กล่าวสันกฤต รู้ไทยก็กล่าวแบบไทย มนตร์สั้นมนตร์ยาวไม่เป็นไรทั้งนั้น
5.ทำมุทราไม่เป็นก็ไม่เป็นไรครับ อันนั้นเอาไว้เวลาที่เราเชิญบัณฑิตมาทำบูชาหรือเราไปบูชาที่วัดแล้วบัณฑิตทำให้ค่อยว่ากัน เราทำเองบูชาเองที่บ้านก็ทำไม่ต้องใช้มุทราในทัศนะของผมไม่ผิดอะไรครับ เพราะเราได้ถวายอาหารนั้นแล้วไม่ว่าจะทำมุทราหรือไม่ก็ตาม อีกอย่างระหว่างใช้มุทรากับมนตร์ที่ไม่ค่อยจะคล่องแคล่ว หรือถวายแบบง่ายๆแล้วคล่องแคล้วใจจดจ่อมีสมาธิกว่า ผมว่าอย่างหลังดีกว่าครับ
6.ระลึกในใจว่า"น้อมถวายอาหารนี้ลงในปราณทั้ง 5 คือ ปราณ อปาน วยาน อุทาน สมาน ขอพระเป้นเจ้ารับอาหารนี้"
7.ถวายน้ำสะอาด ให้เป็นน้ำดื่มและน้ำบ้วนพระโอษฐ์


ผมว่าเท่านี้ก็เยี่ยมแล้วครับ
จริงๆพวกมุทรานี้ พวกพราหมณ์เค้าเรียนกัน ด้วยเหตุผลสองประการใหญ่ครับ
1.เพื่อนทำสันธยา หรือการภาวนาตามวิธีของพราหมณ์ จะมีมุทราหลายมุทราในขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเราไม่จำเป้นต้องทำตามเพราะเราไม่ได้ทำสันธยาแบบพราหมณ์ครับ
2.ใช้(บ้าง)ในการประกอบพิธี ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่สำนักครับ

ดังนั้น ไม่รู้มุทราก็ยังทำพิธีบูชาประจำวันของเราได้โดยสมบูรณ์ครับ


ป.ล. อีกเหตุผลที่ผมลงเรื่องมุทราใว้ในหนังสือก็เพื่อ เป็นหลักฐานในเรื่องการบูชาตามธรรมเนียมที่ถูกต้องครับ บางเรื่องที่ผมเห็นว่าอาจไม่สำคัญหรือข้ามไปได้บ้างสำหรับการบูชาโดยส่วนตัวของคนทั่วไป จึงไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ครับ
#134
ทธิ เป็นโยเกิร์ตนั่นแหละครับ แต่ไม่ใช่โยเกิร์ตชนิดดื่มได้แบบบ้านเรา(พวกนมเปรี้ยวต่างๆ)

ในอินเดียตามบ้านต่างๆยังนิยมทำทานกันเองครับ โยเกิร์ตตามบ้านๆ จะข้น มันและเปรี้ยวกว่าโยเกิร์ตสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด
เข้าใจว่าในวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาและในพระวินัยท่านแปลว่า นมส้ม ครับ
#135
Quote from: พิษประจิม on May 05, 2010, 14:00:02
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

โยเกิร์ต คือ นมเปรี้ยว
แต่คนไทยใช้ในความหมายกว้างออก ว่าหมายถึงนมเปรี้ยวข้นๆที่ใช้ช้อนตัก

...

คํ สันสกฤตออกเสียงว่า คัม
แต่ คัง คือการออกเสียงภาษาบาลีครับ


อันนี้ผมต้องชี้แจงอีกแล้ว 5555

ที่คุณพิษประจิมหรือแต่ก็มิได้นำพาว่ามา

โยเกิร์ต ผมหมายถึง ทธิ ในสันสกฤตนะครับ ซึ่งก็หมายถึง นมที่กลายเป็นของเหลวข้นๆแล้ว ไม่ใช่ นมเปรี้ยวในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป เพราะเดี๋ยวทธิจะกลายเป็นยาคูลล์ไป 555


เรื่องพีชะ มนตร์ คํ ในคณปติมนตร์

คุณว่ามาถูกแล้ว แต่ยังถูกไม่หมด เพราะไม่พิจารณา มนตร์ทั้งหมด

ในไวยากรณ์สันสกฤต ถ้าใส่ อนุสวาระ หรือเครื่องหมายพินทุบนพยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นออกเสียง คล้าย อัม สะกด(แต่ที่ตรงกับภาษาเดิม เสียงจะขึ้นนาสิกเล็กน้อย เพื่อให้แตกต่างกับการใช้ ม  สะกด)
เช่น สิทฺธํ ออกเสียงว่า สิทธัม(สิด - ธัม) ศรณํ(ศะ ระ ณัม)
ในกรณีนี้ ใช้กับ การมีอนุสวาระ โดย ไม่มีคำอื่นตามมาหรือไม่มีการสนธิคำ หรือคำๆนั้นอยู่ท้ายประโยค


แต่ในกรณีที่คำนั้นมีการเข้าสนธิ หรือมีตัวที่ตามมา เป็นพยัญชนะอื่น
ตามกฏไวยากรณ์สันสกฤต ให้ใช้ "พยัญชนะนาสิกของตัวที่ตามมา" เเพ่อความไพเราะและความสะดวกในการออกเสียง(ซึ่งเป้นเรื่องที่ไวยากรณาจารย์ต่างๆถือเป้นเรื่องทีสำคัญเรื่องหนึ่งในสันสกฤต)

เช่น คํคา คำนี้ไม่อ่านว่า คัมคา แค่อ่านว่า คัง - คา เพราะ ตัวที่ตามมา คือ ค พยัญชนะ นาสิกของวรรคที่ตัวค ควายอยู๋คือ ง
(วรรค ก - ก ข ค ฆ ง-ตัวสุดท้ายของวรรค คือ พยัญชนะนาสิก)

สํขย อ่านว่า สัง ขะ ยะ
ตัวนาสิกของ ข คือ ง (ววรค ก วรรคเดียวกับ ค)

อญฺชเนย อ่านว่า อัญ ชะ เน ยะ(เพราะนาสิกของวรรคที่มี ช คือ ญ )

ถ้าพยัญชนะ ตัวที่ตามมาไม่สังกัดวรรค หรือเป็นอูษมัน(ส ศ  ษ) ให้ใช้ มฺ เป็นตัวสะกด


กรณี คํ คณปตเย
โบราณจารย์ ถือว่า คํ เป็นพีชะ ไม่ได้ใช้ลอยๆ แต่ตามมาด้วย พยัญชนะ ค จึงอนุโลมการออกเสียงให้เป็นไปตามกฏข้างต้น
(เพราะตามไวยากรณ์ จริงๆ ควรเขียนติดกันเป็น คํคณปตเย แต่เพื่อจำแนกพีชมนตร์ให้ชัดเจนจึงเขียนแยกกัน)


ดังนั้น แม้ว่าจะเขียนว่า คํ คณปตเย ก็ต้องอ่านว่า คัง(GaM) คณปตเย ครับ


ข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งคือ มนตร์นี้ไม่ใช่มนตรเปาราณิก หรือมนตร์ในปุราณะ แต่เป็นมนตร์ประเภทไวทิก(หรือมนตร์ในพระเวท)(มนตร์นี้ปรากฏในคณปตฺยาถวฺรศฺรีษํ ในพระเวท)

ซึ่งไม่ใช่ตันติสันสกฤต การออกเสียงมนตร์ในพระเวทไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามที่เขียน แต่เป็นไปตามคุรุปรัมปรา หรือที่สั่งสอนกันมาตาม "ศาขา" หรือสาขาที่เรียน ซึ่งใช้วิธีเรียนแบบมุขปาฐะ


ตัวอย่างจากปุรุษสูกตะ ในฤคเวท มณฑลที่ 10

โอมฺ สหสฺรศีรษะ ปุรุษะ  ...

ถ้าสวดแบบฤคเวทก็ออกเสียงตามที่เขียนไว้ข้างต้น(ทำนองและความหนักเบาเป้นไปตามสำนักที่เรียน)

แต่ถ้าสังกัดศุกล ยชุรเวท(ยชุรเวทขาว) วาชสํเนยิ ศาขา จะสวดว่า

โอมฺ เม่อะ หรือโอม (อี้ม)สหัสะระฉีเรคา ปุรุเรขาฮะ

ษ จะออกเสียงเป็น ข ในกรณีของศาขานี้

ดังนั้น โอมฺ คํ คณปตเย นมะ ซึ่งเป็นมนตร์ไวทิก โบราณจารย์กำหนดออกเสียง คํ เป็น กัง ด้วยสองเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นครับ
(ผมก็ฟังอาจารย์ท่านสอนมาแบบนี้ครับ)

จึงเรียนมาให้ทราบเพื่อความกระจ่าง

#136
เรื่องใบกระเพรา

ผมคงต้องเน้นนะครับว่า "โดยปกติ" ไม่นำมาบูชาพระคเณศครับ
เรื่องนี้ผมไม่ได้พูดเอง เพราะเขียนในหนังสือ นิตยกรฺม ปธติ กับหนังสือ สนาตนบูชาวิธี และบรรดาบัณฑิตในวัดเทพมณเฑียรก็ปฏิบัติตามนี้ทุกท่านครับ

ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อ ที่มาจากปุราณะ

แต่การนำใบกระเพราและใบไม้อื่นๆมาบูชาในคเณศจตุรถีอาจกระทำได้ โดยเหตุผล อย่างที่ได้ชี้แจงไปแล้ว
1.เป็นเทศกาลเฉพาะครับไม่ใช่สิ่งที่กระทำทุกวัน
2.เป็นความเชื่อและนิยมในท้องถิ่นมหาราษฏร์เท่านั้น ซึ่งแม้แต่ในเวลาปกติ วัดพระคเณศต่างๆในแคว้นนี้ก็ไม่ถวายกระเพราครับ


และพอดีว่าคติการบูชาพระคเณศด้วยใบไม้ต่างๆนี้เรารับรู้จากหนังสือต่างๆมาก่อนเรื่องอื่นๆ แต่จริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องทำตามก็ได้
เพราะในพิธีบูชาพระคเณศ ใบไม้ที่สำคัญที่สุดคือ ทูรวาหรือหญ้าแพรกครับ


เรื่องนี้ขอยืนยัน นั่งยัน นอนยัน ว่าโดยในเวลาปกติไม่นำใบกระเพราบูชาพระคเณศครับ
(ซึ่งนี่ผมว่าตามคัมภีร์ ตามที่ครูสอนและธรรมเนียนนิยมครับ)
#137
ผมเองก็ชอบเทวรูปศิลปะไทย แต่เน้นว่าเป็นศิลปะสุโขทัยครับ

ถ้าเป็นเทวรูปที่ทำกันหลังๆ เครื่องประดับพราวๆนี่ไม่ชอบเลยครับ 5555

เคยไปยืน นานแสนนานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไปยืนจ้องเทวรูปพระอีศวรและพระนารายณ์องค์ใหญ่อ่ะครับ

สวยงามจับจิตจับใจ

#138
เรื่องนามท่านวาลมีกิ ผมไม่แน่ใจครับ

#139
อันนี้เคยได้ยินมาครับ เรื่องพระวาลมีกิเป็นโจรป่า
ลองอ่านในภารตนิยาย ของท่านอาจารย์ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ท่านแปลมาจากสันสกฤตแบบเรียบเรียงเรียงใหม่นะครับ ในตอน วาลมีกิ
ผมจำไม่ได้ว่าเรื่องพระวาลมีกิเป็นโจรนี้ อยู่ในตัวรามายณะเอง อาจในอุตรกัณฑ์ (พอดีหนังสือไม่ได้อยู่กับตัว)ครับ หรืออาจอยู่ในฉบับอื่นๆ

เรื่องมีอยู่ว่า ชาติก่อนของพระวาลมีกิเป็นโจร ภายหลังไปปล้นของบัณฑิตท่านหนึ่งเดินผ่าน ผู้นั้นก็ทำนายว่า เพราะกรรมเก่าท่านจึงต้องมาเป็นโจรป่า แต่ในชาติต่อไปท่านจะเกิดเป็นโจรอีกและในที่สุดจะพ้นทุกข์ ได้เป็นมหากวีของโลก

ชาติต่อมาคือในชาติที่เปนพระวาลมีกิ ช่วงแรกก็ยึดอาชีพเป็นโจรป่าครับ แต่เผอิญสัปตฤาษี 7 ตนผ่านมา วาลมีกิก็ไปปล้น พระฤาษีทั้ง 7 ก็เทศน์ 1 กัณฑ์ บอกว่า ทำไมถึงมาเป็นโจร วาลมีกิบอกว่า เพราะเลี้ยงลูกเมีย  พระฤาษีให้ไปแกล้งถามลูกเมียว่า สมมุติว่าพ่อโดนราชบุรุษจับตัวไป จะไปยอมรับโทษแทนพ่อซักกึ่งหนึ่งไหม ฝ่ายเมียและลูกต่างไม่ยอม วาลมีกิเสียใจว่าลูกเมียไม่ได้สำนึกคุณที่ปล้นมาเลี้ยงดู หมดอาลัยในชีวิตก็กลับไปพบสัปตฤาษีอีก พระฤาษีอยากให้พ้นทุกข์และล้างบาปทั้งปวงจึงให้สวดพระนามพระราม แต่วาลมีกิโง่มาก แม่แต่ "รามะ" ก็สวดไม่ได้ พระฤาษีให้สวดกลับกันเป็น "มะรา"(พอสวดติดกันไปยาวๆ กลายเป็น รามะ เอง) วาลมีกิสวดจนจอมปลวกขึ้นหุ่มตัว จึงได้ชื่อว่า วาลมีกิแปลว่า จอมปลวกครับ ภายหลังสัปตฤษีเวียนมาอีก หลังผ่านไปหลายร้อยปี และมาสถาปนาให้เป็นฤาษีสำคัญ ตั้งอาศรมอยู่ที่แม่น้ำตมสาครับ
#140
Quote from: ศรีมหามารตี on April 26, 2010, 21:06:34




องค์นี้เรียกว่า พระทักษิณามูรติ ครับ
(ทกฺษิณามูรฺติ)

องค์นี้เป็นที่เคารพนับถือในทางใต้ครับ ถือว่าเป็นอีกภาคหนึ่งของพระศิวะ นิยมนับถือในพวกไศวะนิกาย
และในหมู๋ ผู้นับถือนิกาย อไทวตเวทานตะ ซึ่งสถาปนาโดยท่านศังกราจารย์จะถือว่าพระทักษิณามูรติเป็นคุรุสูงสุด และถือว่าองค์ศังกราจารย์เป็นพระทักษิณามูรติอวตาร

พระทักษิณามูรตินี้ เป็นพระศิวะ ในรูปของ "ครู" ผู้มาแสดงธรรมสูงสุดให้ศิษย์เกิดความรู้แจ้ง

ประทับหันพระพักตร์ไปทิศใต้ ประทับใต้ต้นไทร อันเป้นสัญลักษณ์แห่งต้นไม้ปัญญาญาณ หรือต้นไม่แห่งชีวิต นั่งในท่าไขว้ห่าง(บางครั้งมีสายโยคปัตต์รัด)แสดง ท่าโยคะ พระบาทหนึ่งเหยียบอปัสมารา ซึ่งตีความกันว่าเป้นสัญลักษณ์แห่งอวิทยา(อวิชชา)

ตำนานว่า เมื่อบรรดา  ฤาษี พรหมบุตรทั้ง 4 ตน คือ สนัตกุมาร สนักกุมาร สนันทนกุมาร และสนาตนกุมาร ได้บำเพ็ญเพียรมานาน แต่ไม่รูว่าอะไรคือความจริงแท้สูงสุด ก็พากันสวดอ้อนวอนต่อพระศิวะ พระศิวะจึงทรงอวตารมาในรูปของพระทักษิณามูรติ

เมื่อพรหมบุตร ถามว่า อะไร คือความจริงสูงสุด  พระทักษิณามูรติ ทรงนิ่งเงียบ และประทับในท่านั้น
บรรดาพรหมบุตรก็เข้าถึงความจริงแท้ทันที


ในนิกายของท่นศังกราจารย์ถือว่าพระคุรุมูรติเป็นคุรุสูงสุดและอวตารในรูปของศังกราจารย์ กุมารทั้ง 4 หรือศิษย์ทั้งสี่ ก็คือศิษย์สำคัญของศังกราจารย์ 4 ท่าน ได้แก่ สุเรศวราจารย์ โตฏกาจารย์ ปัทมปาทาจารย์  และหัสตามาลกาจารย์

ลองเปรียบเทียบรูปพระทักษิณามูรติ กับศังกราจารย์ดูนะครับ


#141
Quote from: เสือร้องไห้ on April 28, 2010, 18:26:48
Quote from: สิรวีย์ on April 28, 2010, 17:22:24


พี่โด่งขา  ลองตั้งเทวรูปองค์บนสุด  สลับซ้ายขวาดีไหมค่ะ

จะได้หันหน้าเข้าหากันน่ะคะ    ดูเเล้วอบอุ่นดีค่ะ



อันนี้แอบมาแสดงความคิดเห็นนะครับ

ตามหลักของศาสนาฮินดู
เทวดาที่มีพระชายาหรือศักติ เมื่อประทับด้วยกัน ศักติหรือชายานั้นจะอยู่เบื้องซ้ายของพระสวามีหรือเทพองค์นั้นเสมอครับ เป็นการให้เกียรติพระสวามี เพราะคนอินเดียถือว่า ด้านขวาเป็นด้านที่เคารพครับ


กฏเกณฑ์นี้เป็นกฎเกณฑ์ทั่วไปครับ แม้แต่มนุษย์ เวลาประกอบพิธีกรรม ถ้าแต่งงานแล้ว ภรรยาต้องอยู่ในพิธีด้วย และต้องอยู่เบื้องซ้ายสามี

ในพิธีแต่งงาน ก่อนการแต่ง ว่าที่เจ้าสาวจะอยู่เบื้องขวา พอแต่งแล้ว ก็อยู๋ทางซ้ายและจะอยู่ทางซ้ายไปตลอดครับ ธรรมเนียมนี้ไทยเราก็รับมาใช้ เช่นในการรดน้ำสังข์ในพิธีแต่งงาน เจ้าสาวอยู่ทางซ้ายเจ้าบ่าวเสมอครับ
#142
Quote from: nai 3 on April 23, 2010, 23:01:01
ที่พี่หริทาสบอก
ปาทุกา เป็นสิ่งบูชาที่อยุ่เฉพาะในวัดหลอครับ

ผมหมายถึงปาทุกาชนิดที่มีที่ครอบศีรษะอ่ะครับ เพราะเอาไว้ให้พราหมณ์หรือสาธุนำมาครอบศีรษะเมื่อมีผู้ไปสักการะเทวรูป

แต่ปาทุกาทั่วๆไปก็นำมาบูชาได้ ที่บ้าน โดยนิยมขนาดจำลองเล็กๆ บางท่านก็ตั้งถวายเป้นเครื่องราชูปโภคของเทพเจ้า เช่นเดียวกับฉัตรและจามร
อย่างที่ผมบอกครับ ปาทุกาโดยส่วนใหญ่นิยมความหมายถึงคุรุมากกว่า หรือใช้สักการะในกรณีที่เข้าไม่ถึงองค์เทวรูป(ปาทุกาชนิดนนี้มักมีขนาดเท่าของจริงครับ)
#143
ที่คุณแต่ก็มิได้นำพากล่าวเรื่องไมยราพย์

คือครั้งแรกผมลองนำชื่อทางวิทยาศาสตร์ไปลองค้นดู ก็พบว่าเป็นต้นไมยราพย์ยักษ์
ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าไมยราพย์ที่เราๆท่านๆมีในสนามหน้าบ้าน เช่นที่เราพบตามชานเมือง
มีขนาดสูงท่วมหัวนะครับ และมีต้นกำเนิดในอินเดียถ้าผมจำไม่ผิด
แรกๆผมก็คิดว่าศมีน่าจะเป็นไมยราพย์ยักษ์

แต่พอได้ไปเทวสถานพระวิฆนหรที่ปูเน่ ในอินเดีย เค้าปลูกศมีไว้ข้างๆตัววิหารในเทวสถาน
พอดูแล้วไม่ใช่ไมยราพย์เพราะคนละลี ขนาด และเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณต้นมะตูมที่เราปลูกไว้นานๆ
ดูๆไปน่าจะเป้นต้นส้มป่อยมากกว่า ลองค้นดูต้นส้มป่อยก็มีใบและผลคล้ายกับต้นที่พบ แต่ก้ยังไม่กล้าฟันธงครับ


เอาไว้มีโอกาสจะไปสอบถามครูบาอาจารย์อีกทีครับ
ส่วนที่ท่านอื่นถามมาเรื่องใบกระเพรา


โดยปกติธรรมเนียมการบูชาและข้อห้ามบูชาที่ชาวฮินดูกำหนดไว้(อันนี้ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านว่ามานะครับ)
เอาเฉพาะบางข้อ
เช่น พระนารายณ์ห้ามบูชาด้วยข้าวสาร(อักษัต)
พระคเณศห้ามบูชาด้วยใบกระเพรา
พระศิวะห้ามบูชาด้วยกุงกุม(อันนี้เขียนไว้ในหนังสือสนาตนปูชาวิธีครับ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นใครห้ามทำข้อนี้)ฯลฯ

จริงๆกระเพราสามารถบูชาเทพได้หลากหลาย เช่นอวตารต่างๆของพระวิษณุและนักบุญในสายไวษณวนิกาย พระหนุมาน แม้แต่พระศิวะก็บูชาด้วยใบกระเพราได้  และยังมีการนำกระเพราใส่ลงในอาหารก่อนถวายเพื่อให้บริสุทธิ์
แต่พระคเณศเป็นข้อห้ามครับ ห้ามทำเป็นทั้งมาลา ถวายเป็นใบ หรือใส่ลงในอาหาร
เพราะที่มาเป้นตำนานในปุราณะ(จำได้ลางๆ) ประมาณว่า สาปๆกันไปๆมาๆ แล้วที่หลังมาแก้สาป พระคเณศท่านก็ว่าให้กระเพราเป้นที่รักของเทวดาอื่นๆ ใช้บูชาได้ยกเว้นท่านเท่านั้น

จึงเป็นธรรมเนียมที่จะไม่ถวายใบกระเพรา

แต่ผมได้ให้ข้อสังเกตไปแล้วว่า การบูชาด้วยใบไม้ต่างๆในคเณศจตุรถี เป็นโอกาสพิเศษนั่นประการหนึ่ง ซึ่งอาจยกเว้นข้อห้ามบางอย่าง เช่นเรื่องกระเพรา
2.เป็นธรรมเนียมท้องถิ่นของบางแคว้นในอินเดีย ไม่ได้ปฏิบัติกันโดยทั่วไปครับ
#144
Quote from: อักษรชนนี on April 19, 2010, 22:59:31
ภาพรองพระบาทพระคเณศ ที่พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จังหวัดเชียงใหม่



รองเท้าแบบนี้เรียกว่า ปาทุกา ครับ
โดยปกติเป็นรองเท้าสำหรับ ฤษี หรือนักบวช แต่ยังสามารถถวายแด่เทวรูปต่างๆ
ปาทุกา ของจริงจะใช้ไม้ทำ(เข้าใจว่าโบราณเรียกว่าเขียงเท้า-เช่นที่เรียกปรากฏในพระวินัย ) แต่ที่ถวายเทวรูปมักทำด้วยโลหะต่างๆ มีทั้งขนาดเท่าของจริงและของจำลองเล็กๆ
สำหรับปาทุกา ที่มีฐานสูง และใช้สำหรับครอบศีรษะนั้น เข้าใจว่า เป็นธรรมเนียนนิยมของทางอินเดียภาคใต้
ซึ่ง นักบวชหรือพราหมณ์จะนำมาครอบศีรษะแก่ผู้มาสักการะเทวสถาน ไม่ได้เอาไว้ใช้ในบ้าน หรือเอาไว้บูชาทั่วๆไปครับ
นอกจากนี้ ปาทุกา ยังใช้สักการะ ในกรณ๊ที่ผู้ไปสักการะ ไม่สารถเข้าถึงองค์เทวรูปได้

เช่นในวัดต่างๆ ซึ่งไม่อนุญาตให้เข้าไปห้องประดิษฐานภายใน ก็จะตั้งปาทุกา(บางครั้งอาจทำเป้นรูปเท้าก็ได้)
แล้วให้คนกราบหรือสักการะรูปเท้าหรือปาทุกานั้น ประดุจได้ สักการะพระบาทของเทวรูป

อีกประการหนึ่ง ปาทุกา ยังมีความหมายพิเศษ หมายถึงคุรุ หรือนักบวชที่เคารพครับ
เพราะตามธรรมเนียม เวลาทำคุรุบูชา เค้ามักทำบูชาที่ปาทุกาของครู ในกรณีที่ครูสิ้นไปแล้ว อยู่ไม่ได้อยู่ที่นั่น
โดยถือว่าได้สักการะบาทเท้าของครู
และนักบวชรูปสำคัญๆ เค้ามักเก็บปาทุกาของท่านไว้ เป็นของสูงค่าเป็นปูชนียวัตถุครับ

เช่นปาทุกาของท่านศิรทิบาบา (ไสบาบา แห่งศิรทิ ไม่ใช่องค์ที่ผมฟูๆนะครับ)
ปาทุกาของท่านตุลสีทาส ก็เก็บรักษาไว้ที่วัดตุลสีมานัส จวบจนทุกวันนี้
#145
โอม ศรีกฤษฺณาย นมะ!!
ศฺรีมทฺภควทฺคีตามฺ วิชยเต!
สตฺยสตาตนธรฺม กี ชย!!

ขอความนอบน้อมมีแด่องค์พระกฤษณะ!!
ขอพระศรีมัทภควัทคีตา จงมีชัย!!
ขอพระศาสนาสนาตนธรรม(ฮินดู) จงมีชัย!!


ขอสาธุการกับการแปลคีตาในครั้งนี้ของท่านกาลปุตราครับ

ที่ใดมีธรรม ที่นั่นมีชัย!
#146
ขอบคุณ น้อง Fluorine ที่มาช่วยตอบให้แทนครับผม
#147
และโดยธรรมเนียมแล้ว ถ้ายังหาไม่ครบได้ทั้งสามอย่าง

แค่หญ้าแพรกก็พอครับ
#148
เรื่องใบไม้ถวายบูชาพระคเณศนี้

ผมคิดดูแล้วคงเป็นประเพณีของบางท้องถิ่นในอินเดียจริงๆครับ และกระทำเฉพาะในโอกาสพิเศษ
เผอิญว่า เรื่องใบไม้ 21 ใบนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคเณศจตุรถีที่คนไทยรับรู้มากกว่าเรื่องอื่นๆ
จึงทำให้เราปฏิบัติตาม

แต่ผมได้สอบถามครูบาอาจารย์แล้ว ไม่ว่าในจตุรถี หรืองานบูชาทั่วๆไป ก็สามารถ ใช้ใบไม้บูชาเพียงสามอย่างก็เพียงพอ

คือ1. ทูรวา หรือ หญ้าแพรก ใบทูรวาหรือหญ้าแพรกนี้ ใช้บูชาได้ ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการบูชาประจำวัน ในโอกาสพิเศษ หรือ จตุรถีก็ตาม และถือเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ ที่สำคัญที่สุดของพระคเณศครับ

2.ใบศมี อันนี้ผมกำลังสืบค้นอยู่ เพราะตอนแรกที่ค้นคว้าจากชื่อทางวิทยาศาสตร์มันตรงกับต้นไมยราพย์ยักษ์ แต่ตอนที่ไปเห็นที่อินเดีย สงสัยจะไม่ใช่
น่าจะเป็นต้น"ส้มป่อย" ของทางบ้านเรามากกว่า อันนี้ขอไปสืบหาก่อนนะครับ

3.ใบมะตูม อันนี้สามารถถวายได้ครับ แต่สำคัญเป็นรองจากสองใบข้างต้น ซึ่งถือว่าเป้นของพระคเณศโดยเฉพาะ


จริงๆแล้วคติการถวายบูชา ทั้ง
21 ใบ ผมว่าน่าจะเป็นการรวมเอาใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ของ
เทพเจ้าอื่นๆ และสมุนไพรต่างๆ มาใช้บูชาพระคเณศในบางโอกาสเท่านั้น


มีข้อสังเกตนิดนึงครับ เพราะโดยปกติ ถือกันเป็นธรรมเนียมว่า ไม่ใช้ใบกระเพรา(ตุลสี)
บูชาพระคเณศโดยเด็ดขาดครับ
#149
เสียดายครับ พี่เองก็ไปประมาณ 6.00น. ปีนี้เริ่มช้าซักนิดแต่คนเยอะครับ โดยมากก็เป็นพี่น้องชาวอินเดียเป็นส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกำหนดการ โดยพิธีกันยาบูชาและทุรคาอารตี เป็นวันที่23 ส่วน 24 เป้นบูชาไฟ ทุรคาสัปตาศตีโหมะอย่างเดียว และรามนวมีบูชาในตอนเที่ยง


ยังไงมีงานดีๆพี่จะมาแจ้งอีกนะครับ
#150
Quote from: บุตรมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวี on March 18, 2010, 00:50:45
Quote from: หริทาส on March 17, 2010, 16:06:04
ข้าวที่ใช้ในพิธีที่เรียกว่า อักษัต(อกฺษต)


วิธีทำง่ายมาก

เลือกข้าวสารที่ไม่หักไม่ปน
เอาจันทน์ สีส้ม หรือกุงกุม (สีแดง) ละลายน้ำให้เหลว
เอาข้าวผสม ใช้มือค่อยๆผสมให้จันทน์ย้อมข้าวให้ทั่ว แล้วรอให้แห้ง
นำมาใช้ได้ครับ

โดยใช้ในขั้นตอนกาอาวาหัน(อัญเชิญ)
ถวายอาสน และถวายที่พระนลาฏ หลังจากถวายเจิมกุงกุมหรือจันทน์ ครับ
และใช้ในการวิสรชัน หรืออัญเชิญกลับ

อันนี้คืออักษัตในพิธี


ส่วนข้าวสารย้อมสีที่ใช้ในการทำ ปีฐหรือมณฑลที่เป็นรูปเลข่าคณิตต่างๆ
ใช้ข้าวสารย้อมสีผสมอาหารครับ

โดยใช้ในขั้นตอนกาอาวาหัน(อัญเชิญ)
ถวายอาสน และถวายที่พระนลาฏ หลังจากถวายเจิมกุงกุมหรือจันทน์ ครับ
และใช้ในการวิสรชัน หรืออัญเชิญกลับ


อันนี้ขอรายละเอียดหน่อยได้ป่ะคับ  งงนิดนึงอ่า  คำเป็นทางการไปเลยออกจางงคับ





คืออย่างนี้ครับ การถวายอักษัตินี่จริงๆใช้ในหลายขั้นตอนครับ และขึ้นอยู่กับว่าเราบูชา กี่ขั้นตอนอย่างไร

อย่างแรกที่ใช้ คือในขั้นตอนของการ "สังกัลปะ" คือโดยปกติเวลาก่อนจะบุช่า สนานหรืออายน้ำ ถวายทาน ฯลฯ พราหมณ์ก็จะทำการสังกัลปะก่อน แปลว่าการตั้งจิตใจหรือสำรวมใจ โดยจะให้ผู้บูชาถือดอกไม้ อักษัต เงินเหรียญ ไว้ในมือขวา แล้วหยอดน้ำลงไปในมือนั้น จากนั้นพราหมณ์จะสวดว่าเราจะทำพิธีอะไร ใครเป้นเจ้าภาพ(ออกชื่อ) วันเวลาไหน ขึ้นกี่ค่ำ เดือน ปีแบบฮินดู สถานที่ทำ ทำเพื่ออะไร ขอพรๆๆ โดยจะกล่าวเป็นสันสกฤต
แล้วจากนั้นจะถวายครับ

แต่ขั้นตอนนี้ต้องรู้สันสกฤต และทราบวันเดือนปีแบบฮินดู ถ้าไม่เป้น ก็แค่ตั้งจิตใจว่าเราทำอะไรบูชา กี่ขั้นตอน ใครทำ ทำที่ไหนอย่างไรก็พอครับ

ขั้นต่อไปที่ใช้ คือการอาวาหัน หรือการอัญเชิญ เมื่อจะอัญเชิญ เอาอักษัตและดอกไม้ใส่ในมือ และสวดอัญเชิญ แล้วถวายอักษัตดอกไม้นั้นแด่เทวรูป


ขั้นที่ใช้ต่อไป คือเมื่อเราถวายจุลเจิมแล้ว เราเจิมพระนลาฏของเทวรูปด้วยนิ้วนางขวา ด้วยจันทน์กุงกุมของหอมต่างๆ เสร็จแล้วเราหยิบอักษัตจำนวนหนึ่ง ติดที่พระนลาฏตรงที่เราจุลเจิมด้วยเสมือนถวายอลังการประดับประดาต่างๆ

ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือการวิสรชัน หรือการอัญเชิญกลับ เมอื่ถวายบูชาครบทั้งหมดแล้ว ก็จะทำการอัญเชิญกลับ โดยเอาอักษัตใส่ในมือ แล้วทำการสวดวิสรชันจากนั้นถวายอักษัตยังมณฑล หรือเทวรูปหรือกลัศ สสมือนได้อัญเชิญกลับคครับ

ทีนี่โดยปกติ ถ้าเราบูชาที่บ้าน ก็บูชาแค่เพียง 5 ขั้นตอนก็พอครับ (ปัญโจปจาระ)
1.ถวายจุลเจิมของหอม และติดอักษัตที่พระนลาฏของเทวรูป
2.ถวายดอกไม้มาลัย
3.ถวายประทีป
4.ถวายธูป
5.ถวายอาหาร

เท่านี้ก็พอครับ

อ่อ เป็นธรรมเนียมว่าอักษัตนี้โดยปกติจะไม่ถวายแก่พระนารายณ์และอวตารต่างๆของพระนารายณ์นะครับ
#151
เท่าที่ทราบมานะครับ

จันทน์(เหลืองๆ ส้ม ๆ)ที่ใช้ไม้จันทน์ฝนอ่ะครับ สามารถใช้ได้ทุกพระองค์ครับ
และตามที่ท่านกาลิทัสว่ามา


ส่วนของพิเศษแต่ละองค์นอกเหนือจากการแต้มจันทน์
พระเทวี นิยมเจิมผง กุงกุม สีแดงครับ
พระวิษณุและพระอวตารของพระองค์ ใช้จันทน์ และ โคปีจันทน์ เป็นแท่งๆ เอามาฝน
พระศิวะ ใช้ภัสมะหรือวิภูติ เป็นขี้เถ้าศักดิ์สิทธิ์ครับ
พระคเณศ ใช้สินทูร เป็นผงสีส้มๆครับ
#152
ขอบคุณน้องคิวอักษรชนนีอีกครั้งครับ   ทุกครั้งที่พี่ไม่มีโอกาสไปร่วมงานสำคัญ

ก็ได้น้องนี่แหละครับที่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพให้ได้ชม

พระคุ้มครองครับ
#153
ข้าวที่ใช้ในพิธีที่เรียกว่า อักษัต(อกฺษต)


วิธีทำง่ายมาก

เลือกข้าวสารที่ไม่หักไม่ปน
เอาจันทน์ สีส้ม หรือกุงกุม (สีแดง) ละลายน้ำให้เหลว
เอาข้าวผสม ใช้มือค่อยๆผสมให้จันทน์ย้อมข้าวให้ทั่ว แล้วรอให้แห้ง
นำมาใช้ได้ครับ

โดยใช้ในขั้นตอนกาอาวาหัน(อัญเชิญ)
ถวายอาสน และถวายที่พระนลาฏ หลังจากถวายเจิมกุงกุมหรือจันทน์ ครับ
และใช้ในการวิสรชัน หรืออัญเชิญกลับ

อันนี้คืออักษัตในพิธี


ส่วนข้าวสารย้อมสีที่ใช้ในการทำ ปีฐหรือมณฑลที่เป็นรูปเลข่าคณิตต่างๆ
ใช้ข้าวสารย้อมสีผสมอาหารครับ
#154



ขอประทานโทษครับ

ผมได้สอบถามท่านบัณฑิต พรหมานันทะ ว่างานที่วัดมีอย่างไร ท่านกรุณาแจ้งมาว่า

ในปีนี้ วัดเทพมณเฑียรจะมีบูชาเฉพาะในวัน มหานวมี คือวันที่ 24เท่านั้น

ส่วนวันที่ 23 ไม่มีบูชาพิเศษคงเป็นการสวดมนตร์ธรรมดาตามปกติ

ดังนั้น

ผมขอแนะนำว่า ให้ไปร่วมงานในวันที่ 24 มีค. นะครับ
โดยเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30  น.(ดาดฟ้า)โดยมีพิธีคือ
มหาทุรคาปูชา
จากนั้น สัปตาศตีหาวน การบูชาไฟโดยสวดทุรคาสัปตาศตี และสูกตะต่างๆในคัมภีร์พระเวทถึงพระเทวีต่างๆจนครบ
จากนั้น กันยาบูชา(ประมาณ 8.00น.) อย่าลืมติดขนม เงิน เครื่องเขียน ผลไม้ ไปถวายแก่พระแม่กันยา(เด็กๆ)ใครมีลูกสาวเล็กอย่าลืมพาไปวัดเพื่อรับพรนะครับ
จากนั้นทุกท่านร่วมกันอารตี (ทางวัดจัดถาดอารตีให้ทุกคนได้อารตีส่วนตัว )หรืออาจนำประทีปส่วนตัวไปจากบ้านก็ได้ครับ
จากนั้นรับประสาท เพื่อละพรต


เวลา12.00น. บูชาพระรามเนื่องในโอกาส รามนวมี(วันประสูติของพระราม)
#155
Quote from: อักษรชนนี on March 15, 2010, 22:43:52
Quote from: หริทาส on March 15, 2010, 22:40:25
Quote from: อักษรชนนี on March 15, 2010, 22:35:16
ขอบพระคุณที่นำข่าวมาแจ้งนะครับพี่หริทาส

จะพยายามฝ่ากองทัพมนุษย์แถวราชดำเนินไปร่วมงานที่วัดให้ได้แน่นอนคร๊าบบบบ

อ้อมไปทางคลองหลอดน่าจะโอเคนะครับ ว่าแต่บ้านน้องอักษรชนนีนี่อยู่แถวๆนั้นนี่ครับ ยังไงก็ติดตามข่าวสารนะครับ

ใช่ครับพี่ แถวนั้นเลย เหอๆๆๆๆ (ตอนนี้เหมือนรู้สึกว่าอยู่สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะทหารตั้งด่านถี่กันสุดฤทธิ์)

ผมคงจะไปเส้นดำเนินแหล่ะครับพี่ ทำตัวเนียนๆไป ถ้าไม่มีเหตุรุนแรงก็พอจะไปได้อยู่ครับ

(ว่าแต่เท่าที่สังเกตพิธีนี่ส่วนใหญ่มีช่วงเช้าใช่ป่ะครับ)

ใช่ครับ ที่วัดจะไม่มีพิธีช่วงกลางคืนเลยครับ

ถ้าไปไฮไลท์ ก็ไปสองวันสุดท้ายแล้วแต่จะว่างไปวันไหนนะครับ
กำหนดการนี่ พี่ไม่ได้เอาจากของวัดที่พิมพ์แจกปีนี้ ก็ดูในปฏิทินฮินดู แล้วระลึกชาติเอาว่า มีอะไรบ้าง ยังไงใครไปวัดช่วงนี้ ก็มาอัพเดทก็จะดีครับ

แต่คิดว่าคงไม่ผิดพลาดอะไรครับ
#156
Quote from: อักษรชนนี on March 15, 2010, 22:35:16
ขอบพระคุณที่นำข่าวมาแจ้งนะครับพี่หริทาส

จะพยายามฝ่ากองทัพมนุษย์แถวราชดำเนินไปร่วมงานที่วัดให้ได้แน่นอนคร๊าบบบบ

อ้อมไปทางคลองหลอดน่าจะโอเคนะครับ ว่าแต่บ้านน้องอักษรชนนีนี่อยู่แถวๆนั้นนี่ครับ ยังไงก็ติดตามข่าวสารนะครับ
#157
ผมไปเขียนเป็นอีกกระทู้แล้วนะครับ

จะได้แจ้งให้ทราบกัน
#158
ลืมมาบอกเพื่อนๆไปเลยครับ

พอดีก่อนหน้านี้ผมงานยุ่ง

แล้วไม่ค่อยได้ไปที่วัดเลยครับ

เทศกาลนวราตรี ในประเพณีของอินเดียเหนือนั้น ปีหนึ่งจะมีสองครั้งครับ

ครั้งแรกจะทำในฤดูวสันต์ เรียกว่า วสันตียนวราตรี ตกในราวเดือนมีค.-เมษายนของทุกปี

ส่วนอีกนวราตรีเรียกว่า ศราทธีย นวราตรี หรือนวราตรีในฤดู ศราทธ ครับซึ่งจะตกในราวๆ กันยา-ตุลาคม(ใกล้เคียงหรือตรงกับวัดสีลม)

ในส่วนของประเพณีฝ่ายเหนือนั้น

นวราตรีผมจะเอากำหนดการคร่าวๆทำที่ผมจำได้นะครับ ซึ่งกำหนดการที่ถูกต้องต้องไปสอบถามจากทางวัดเองครับ

16 มีค. 53 วันที่ 1
เวลา?(แล้วแต่ทางวัดกำหนดตามฤกษ์)
กลศสถาปนา คเณศามพิกาปูชา(บูชาพระคเณศและพระแม่เคารี)
โษฑศมาตฤกาปูชา ทีปสถาปนา

17 มีค.53 (2) - 22  มีค 53(7)
เวลาเช้าประมาณ  7.00 น. สวดทุรคาสัปตศตี ทุรคาสตุตี และหนุมานจาลีสาร่วมกัน จากนั้นอารตี



23 มีค. 53 อัษฏมี

เวลาเช้าประมาณ  7.00 น. สวดทุรคาสัปตศตี ทุรคาสตุตี และหนุมานจาลีสาร่วมกัน จากนั้นอารตี





24 มีค 53 (มหานวมีปูชา)
5.30น. ทุรคาปูชา บูชาพระแม่ทุรคา(ดาดฟ้า)
6.00น. ทุรคาสัปตาศตี โหม บูชาไฟ ถวายพระแม่นวทุรคาทั้ง 9 ปาง และพระแม่ศักติต่างๆ(ดาดฟ้า)
9.00น.กันยาปูชา(พิธ๊บูชาแก่เด็กผู้หญิง โดยจะคัดเลือกเด็กๆ 9 คนและทำการบูชา ในงานนนี้ผู้ปกครองสามารถนำลูกหลานที่ไปรับพร และอย่าลืมนำขนม เงิน และของขวัญไปถวายพระแม่ในรูปกันยานะครับ)
10.00น. ทุรคาอารตี(ทุกคนอารตีร่วมกัน)
รับประสาทและพร

12.00น. พิธีบูชาพระรามเนื่องในโอกาส รามนวมีหรือวันประสูติของพระราม




ทั้งนี้กำหนดการต่างๆ ควรเช็คกับทางวัดให้แน่นอนอีกครั้งนะครับ

(ผมได้แก้ไขแล้วนะครับ เนื่องจากทราบมาว่าปีนี้ทางวัดได้งดวันมหาอัษฏมี โดยให้มีมหาบูชาวันเดียว คือวันที่ 24 ครับ)
#159
Quote from: อักษรชนนี on March 15, 2010, 19:15:03
ขอบพระคุณพี่หริทาสมากๆเลยครับสำหรับบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกลัศ

เพราะเรื่องนี้ในความคิดผมเป็นเรื่องที่คลุมเครือมานานพอสมควร

อย่างน้อยๆบทความของพี่หริทาสก็ช่วยทำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกลัศมีความกระจ่างขึ้น

ขอขอบพระคุณด้วยความเคารพในความรู้เป็นอย่างยิ่งเลยครับพี่

มิได้ครับ รับการคารวะสามจอก 5555


พี่พอมีเวลา และเห็นเรื่องนี้เป้นเรื่องที่คนถามมากคนอธิบายน้อย และกลัว จะ "ไหล"ไปไกล

ก็เลยมาเขียนไว้ก่อนครับบ

ถ้ามีโอกาสคงจะเขียนอะไรต่อมิอะไรมาให้อ่านกันอีกครับ
#160
โอมฺ ศฺรีคุรุภฺโย นมะ||
ขอความนอบน้อมจงมีแด่ครูทั้งหลาย||



ว่าด้วยเรื่องกลัศ

มีหลายคนสงสัยหรือเพิ่งเริ่มสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของ กลัศ(กลศ)หรือบางคนไพล่ไปเรียกว่า "บายศรีแขก"
หม้อน้ำอะไรไม่รู้มีใบมะม่วง มีมะพร้าวๆ เห็นไปพิธีฮินดูที่ไหนก็มีคนตั้งเอาไว้ แถมสมัยนี้หัวใสมีคนทำขายทั่วไปตามร้านขายดอกไม้เครื่องบูชา ก็ยังมึนๆทั้งคนขายคนซื้อว่า ตกลงกลัศนี่คืออะไรกันแน่


วันนี้หลังจากตรวจข้อสอบแล้วพอมีเวลาว่าง ผมก็อยากมาแชร์ความรู้กับทุกๆคน เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า กลัศ เท่าที่สติปัญญาอันน้อยของผมจะมีนะครับ ซึ่งอาจแตกต่างกับสิ่งที่ทุกคนรู้ หรือคงช่วยเสริมเติมเต็มในมิติที่อาจขาดหายไปนะครับ


เท่าที่ค้นคว้ามา

กลัศ(สันสกฤต กลศ)ออกเสียงคล้าย กลัช แปลตามตัวแปลว่า "หม้อน้ำ" ซึ่งมีอีกหลายคำที่แปลว่าหม้อน้ำ
เช่ม  กุมภ์(กุมฺภ ซึ่ง หลายคนเสียงว่า กุมบ๊อม ซึ่งผมว่ามาจาก กุมภํ ตัว ภออกเสียงคล้าย บ เสียงก้อง ทำให้แรกๆก็งงว่าคืออะไรครับ)
ขตะ เป็นต้น

หม้อกลัศถูกนำมาใช้ในพิธีของศาสนาฮินดูมาตั้งแต่ยุคพระเวทแล้ว โดยในสมัยแรก หมายถึง หม้อปูรณกลัศ หรือปูรณฆตะ หมายถึง "หม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์" ซึ่งในยุคพระเวท เรียกว่า โสมกลัศ หรือ จันทรกลัศ
ในยุคพระเวทเชื่อว่า หม้อกลัศ คือหม้อที่บรรจุ น้ำ อมฤต(อมฤต)เป็น แหล่งธารของชีวิต และเป็นตัวแทนแห่งความสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญาหาร เนื่องจาก น้ำเป็นสัญลักษณ์ของความบริบูรณ์ และหม้อน้ำก็ดุจดังครรโภทรของพระแม่ธรณีซึ่งยังให้เกิดพืชผลตามมา

(อ่านรายละเอียดได้ต่อจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Kalasha )


สัญลักษณ์หม้อปูรณฆตะ ที่ใช้ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

ดังนั้นในทางหนึ่งหม้อกลัศจึงเป้นสัญลักษณ์มงคลถึงความอุดมสมบูรณ์
และอีกทางหนึ่ง กลัศ คือการจำลองจักรวาลหรือระบบนิเวศวิทยาที่ประกอบด้วย แผ่นดิน แผ่นน้ำ ต้นไม้พืชพันธ์และชีวิตนานา ซึ่งเป็นภาพของความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งที่ใกล้ชิด


ในสมัยต่อมา กลัศได้ค่อยๆปรับเปลี่ยนความหมาย จากสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ มาสู่การเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าบางพระองค์ในพระเวท

ซึ่งได้เคยสอบถามจากครู คือท่านอาจารย์บัณฑิตลลิตว่า การสถาปนากลัศในพิธีทำเพื่ออะไร

ท่านว่า โดยปกติแล้ว เวลาจะทำพิธีบูชาที่เป็นทางการและครบถ้วนสมบูรณ์

ก่อนการบูชาเทวดาประธาน(ปฺรธานเทวตา)ที่เรากำหนดไว้แล้ว
ต้องบุชาเทวดา ห้าหมวดก่อน

เรียกว่า ปญฺจางฺคปูชา
โดย สถาปนา ปีฐ หรือแท่นนั่งของเทวดา โดยใช้เม็ดข้าวย้อมสีและทำเป็นรูปร่างทางเลขาคณิตต่างๆ สมมุติว่าเป็นที่ประทับตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้ และทำการสถาปนาอัญเชิญเทวดาต่างๆมาสถิตในปีฐนั้น
ปัญจางคเทวตา
ได้แก่
1.พระคเณศ
2.พระแม่เคารี (ใช้หมากพันสายสิญจน์ แทนทั้งสองพระองค์ทั้งพระคเณศและพระเคารี การบูชานี้เรียกว่า คเณศามฺพิกาปูชา)
3.โษฑศมาตฤกา หรือพระแม่ทั้ง 16 พระองค์(รวมทั้งพระเทวเสนา)เช่น สวาหา สวาธา ฯลฯ ใช้ข้าวสารสีแดง-เหลืองทำเป็นตารางและใช้หมากวางไปในจุดต่างๆ
4.ฆฤตสัปตมาตฤกา พระแม่ทั้ง 7 พระองค์ ใช้ฆีเช็ดแผ่นไม้หรือหิน แล้วปูผ้าจากนั้น ใช้กุงกุมจุด เป็นจุดสมมุติว่าเป็นพระแม่องค์หนึ่งๆ ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ โดยมีอักษร "ศฺรีะ" อยู่เบื้องบน พระแม่สัปตมาตฤกา เช่นพระลักษมี พระสรัสวตี กาลี ฯลฯ
5.วรุณเทวตา หรือการบูชาเทวดาวรุณ โดยการ สถาปนากลัศขึ้น


แท่นปัญจางคเทวตาปีฐ(ก่อนการอัญเชิญเทวดามาสถิต) โปรดสังเกตว่า ตารางสีเหลี่ยมสีเหลืองแดงคือปีฐของพระแม่โษฑศมาตฤกา สามเหลี่ยมสีแดงคือที่ประทับพระแม่เคารี สวัสติกะสีเหลืองคือที่ประทับพระคเณศ(หมากจะถูกนำมาวางเมื่ออาวาหัน หรืออัญเชิญแล้ว)และข้าวรูปดอกบัว คือที่ตั้งของกลัศ หรือที่ประทับของเทวดาวรุณ(เข้าใจว่าภาพนี้กลับหัวนะครับ เนื่องจากสามเหลี่ยมของพระแม่เคารีต้องเป็นสามเหลี่ยมคว่ำ เนื่องจากผู้ถ่ายภาพไม่สามารถถ่ายจากด้านในมณฑลพิธีได้จึงถ่ายจากรั้วด้านนอกทำให้ภาพกลับหัว) (ขอบคุณภาพจากสยามคเณศครับ)


ดังนั้นการสถาปนากลัศก่อนการบูชาเทวดา
คือการ สถาปนาและบูชาพระวรุณ
ซึ่งในคัมภีร์พระเวท พระวรุณ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ มหาสมุทรและท้องฟ้า และคอยลงทัณฑ์ผู้กระทำผิด


พระวรุณ



เมื่อทำบูชาปัญจางคเทวตาบูชาแล้ว จึงทำการบูชาเทพเจ้าที่กำหนดต่อไป


ต่อมากลัศได้ทำหน้าที่อีกประการหนึ่ง คือ เป็น "ตัวแทน"ของเทวดา ต่างๆโดยตรง

เช่นพระคเณศ พระศิวะ พระแม่ต่างๆ โดยพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีจะสวดมนตร์ตามคำภีร์พระเวท และระบุให้กลัศเป็นเทวดาแต่ละองค์
และเมื่อทำการบูชา ก็จะบูชาที่กลัศนั้น เสมือนว่า ได้บูชาเทพเจ้าพระองค์นั้น โดยไม่ต้องใช้ มูรติ หรือเทวรูปก็ได้





ปราชญ์ได้ตีความและอธิบาย ส่วนต่างๆของกลัศให้กลายเป็นส่วนต่างๆหรืออวัยวะของเทพเจ้า เช่น มะพร้าวเป็นส่วนพระเศียร ใบมะม่วงเป็นส่วนของพระพาหา หรือแขน เป็นต้น และได้มีการอธิบายไปถึงเรื่องของจักรต่างๆ รวมทั้งจักรวาลวิทยาที่ปรากฏในกลัศ




รูปเคารพของพระคเณศปรากฏแบบ กลัศ



กลัศสามใบในมณฑลพิธีมหาศิวราตรี บน มณฑลของศักติและโยคินีต่างๆ ใบสีแดงหมายถึงพระแม่มหาลักษมี ใบสีขาวหมายถึงพระแม่มหาสรัสวตี และใบสีดำหมายถึงพระแม่มหากาลี(ภาพจากเวปสยามคเณศครับ)


ดังนั้น โดยสรุป กลัศที่ใช้ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู จึงอาจแบ่งออกได้ตามวิวัฒนาการและความหมาย ดังนี้
1.เป็นสัญลักษณ์ของหม้อปูรณฆตะ หรือ หม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นความหมายที่เก่าแก่ที่สุด และสะท้อนระบบชีววิทยาตามแนวคิดพระเวท
2.เป็นตัวแทนของเทวดา วรุณ ซึ่งเป็นเทวดาในฤคเวท
3.เป็นตัวแทนของเทวดาต่างๆ ตามแต่จะสถาปนา เช่น สัตยนารายณ์ พระเทวี และพระศิวะ
4.ในการตีความของบางท่าน กลัศยังหมายถึงจักรวาลวิทยา หรือจะว่าไปเป็น "มณฑล" แบบหนึ่ง และยังเชื่อมโยงไปเรื่องจักรต่างๆ (อันนี้ผมความรู้น้อยต้องขออภัยที่ไม่ได้ให้รายละเอียด)


กลัศ จึงไม่ใช่ "บายศรี" โดยประการสำคัญ คือ กลัศ ไม่ใช่ "เครื่องบูชา" แต่ตัวกลัศเอง เป็น "วัตถุแห่งการบูชา"
แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงอยู่บ้างในเชิงความคิดเช่น การถือว่าบายศรีเป็นเขาพระสุเมรุ(บายศรีปากชาม)หรือการจำลองระบบจักรวาลวิทยาแบบหนึ่ง แต่บายศรีเป็นคติ "ผี"ในสังคมโบราณ ที่มีเรื่องของ "ขวัญ" และถูกทำให้เกี่ยวข้องกับฮินดูในภายหลัง



กลัศทำยังไง ประกอบพิธียังไง

พราหมณ์กำลังประกอบพิธีสถาปนากลัศ (ภาพในงานมหาศิวราตรี ขอบคุณเวปไซต์สยามคเณศ เจ้าของภาพครับ)



การสถาปนากลัศ มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปในแต่ละสำนัก (เช่นของที่ใส่ วัสดุ การห่อหุ้ม สี ฯลฯ)โดยมีโครงสร้างหลักเหมือนกัน คือประกอบด้วยหม้อ บรรจุน้ำ ใบมะม่วงและมะพร้าว


ผมขอยกตัวอย่างการสถาปนากลัศ เท่าที่ทราบจากครูท่าน มาไว้เป็นความรู้นะครับ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พราหมณ์โดยมากในฝ่ายเหนือ กระทำกัน

ใช้หม้อน้ำ หากเป็นวัสดุที่กำหนดว่ามีค่าและศักดิ์สิทธิ์ เช่น เงิน ทอง ทองเหลือง ทองแดง ปัญจโลหะ ใช้ได้เลยโดยไม่ต้องห่อหุ้ม(แต่ต้องพันด้วยสายสิญจน์แดงที่คอกลัศ) หากเป็นหม้อดินเผาต้องหุ้มด้วยผ้าแดง(ท่านว่า เสมือนการห่อหุ้มพระมูรติด้วยเสื้อผ้า) และมี ฝาด้วยเรียกว่า ปูรวปาตฺร ซึ่งจะรองรับมะพร้างวอีกที หม้อนี้ต้องไม่เคยใช้มาก่อน และควรมีขนาดพอเหมาะ คือราวๆ ปากกว้าง 6-9 นิ้ว ไม่มีหู วางมะพร้าวแล้วสวยงาม มะพร้าวไม่หล่นลงไป หรือมะพร้าวใหญ่กว่ากลัศมาก
ในประเพณีทางภาคเหนือ บนปากกลัศ หากใช้มะพร้าว ต้องหุ้มผ้าแดงที่มะพร้าว เสมือนการห่อหุ้มพระมูรติเช่นกัน มะพร้าวต้องรานเปลือกออกให้หมดจะได้ไม่ใหญ่เกินไป นอกจากมะพร้าวแล้ว ในบางกรณี ที่ปากกลัศอาจเป็น เทวรูปของเทวดาประธาน หรือ ประทีป(ในกรณีการบูชาพระสุริยนารายณ์ ในเทศกาลสังกรานติ)



กลัศที่มีเทวรูปพระศิวะอยู่บนปาก ประดิษฐานอยู่กลางมณฑลที่เรียกว่า ทฺวาทศชฺโยติลิงฺคสรฺวโตภทฺรปีฐ(หรือมณฑลแห่งพระชโยติศิวลึงค์ทั้ง 12) เป็นกลัศของเทวดาประธาน ในงานศิวราตรี


เมื่อจะสถาปนากลัศ พราหมณ์จะสวดมนตร์ในคัมภีร์พระเวท เติมน้ำ
อัญเชิญเทวดาวรุณ และเติมสิ่งต่างๆ คือ  ใบมะม่วง (ยอดที่มีใบ 5หรือ9 ใบโดยไม่ฉีกขาด และรูปร่างสวยงาม) ใส่สัปตมฤติกา(ดินจากที่ต่างๆ 7 ที่เช่นที่เลี้ยงโค(โครส)) สัปตเอาษธิ(สมุนไพร 7 อย่างเช่น ขมิ้น หญ้าฝรั่น ฯลฯ)หมากและพลู คัณธะ หรือเครื่องหอม คือ จันทน์น้ำหอมขมิ้นฯลฯ ดอกไม้ หญ้าแพรก เหรียญเงิน และคล้องมาลัยที่ปากกลัศเมื่อบรรจุสิ่งต่างๆแล้วจะปิดด้วยปูรฺวปาตฺรที่หงายขึ้นวางข้าวสารย้อมสีและทำสัญลักษณ์มงคลเช่นสวัสติกะ จากนั้นวางมะพร้าว(ศรีผลหรือนาฬิยัล)บนปูรวปาตฺร  จุลเจิม คล้องดอกไม้ มาลัย บนยอดวางดอกบัว ทำการบูชาและสถาปนาเทวดาให้สถิตยังส่วนต่างๆโดยการถวายอักษัตในส่วนต่างๆ แล้ว ประดิษฐานในมณฑล หรือถ้าไม่ได้สถาปนาปีฐ ต้องวางบนข้าวสารย้อมสีเสมือนเป้นแท่นนั่ง โดยไม่วางกลัศไว้บนโต๊ะหรือที่บูชาเฉยๆ โดยทุกๆขั้นตอนพราหมณ์จะสวดมนตร์ในพระเวทตลอด

นอกจากทำกลัศเพื่อบูชาแล้ว ยังมีการสถาปนากลัศเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่นอีก เช่น ในพิธีอภิเษกของบางนิกาย ก้ใช้น้ำจากกลัศในการอภิเษกหรือรดสรงเทวรูปด้วย โดยถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในการอภิเษกนักบวชเพื่อเลื่อนฐานะ เช่น เพื่อเป็น สวามี (คล้ายการฮดสรง หรือสถาปนา ครูบา หรือ อาชญา พระสงฆ์ในภาคเหนือและภาคอีสานสมัยก่อน)ใช้รดสรงผู้มีอายุมาก(คล้ายการรดสรงขึ้นพลับพลาของคนแกด่ในภาคใต้)ซึ่งเป็นประเพณีในอินเดียใต้

และในพิธ๊ที่เกี่ยวกับการสถาปนาเทวสถานก็จะมีการสถาปนากลัศ1008 ใบ หรือ108ใบใช้รดสรงเทวรูปประธาน
และการทำศิขรบูชา หรือสถาปนากลัศไว้บนยอดเทวสถาน(ไม่จำเป็นต้องเป็นกลัศจริงๆก็ได้ อาจทำด้วยโลหะ หรือปูนปั้นเป้นรูปกลัศหรือหม้อน้ำ ซึ่งมาจากการสร้างบ้านและเทวสถานของวพราหมณ์ในสมัยโบราณที่ต้องเอาหม้อน้ำไว้บนหลังคาเพื่อกันอัคคีภัยและเป็นสัญลักษณ์บางอย่าง) ทำการรดสรงยอดนั้นเรียกว่า กุมภาภิเษก(ที่บางคนเรียก กุมบอม?)

พิธีสถาปนาหม้อน้ำ 1008ใบ



พิธีกุมภาภิเษกยอดของเทวสถานและทำศิขรปูชา



จะเห็นได้ว่าการสถาปนากลัศในพิธีกรรมมีความยุ่งยากมาก และเมื่อเสร็จพิธี จะถือว่าน้ำในกลัศ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ เมื่อวิสรชัน หรือเชิญเทวดากลับแล้ว จะเปิดและประพรมเป็นสิริมงคล

ได้เรียนถามท่านครูว่า ถ้าเสร็จพิธีแล้วเราจะทำยังไงกับของต่างๆ ท่านว่า สมัยโบราณ ทุกสิ่งในพิธีต้องยกให้พราหมณ์ผู้ประกอบพิธี(รวมทั้งแผ่นดิน หรือที่ดินที่ทำยัญญกรรมด้วย) แต่ปัจจุบันก็ไม่ได้ทำเช่นนั้นแล้ว พวกข้าวต่างๆพราหมณ์จะเอาไปรับประทานของใช้เอาไปใช้ แต่สมัยปัจจุบันไม่สะดวก ประสาทต่างๆก็จะเอาไปจำเริญน้ำ หรือลอยน้ำ


จะเห็นได้ว่าการสถาปนากลัศเป็นเรื่องซับซ้อนยุ่งยาก ถ้าหากประสงค์จะสถาปนากลัศให้ถูกต้อง ก็ควรให้พราหมณ์ผู้ชำนาญในพิธีเป็นผู้สถาปนา และชาวฮินดูเองก็ไม่ได้ทำกลัศสถาปนากันบ่อย มักทำเฉพาะในพิธีและโอกาสสำคัญ เช่น คฤหประเวศ(ขึ้นบ้านใหม่) คเณศจตุรถี สัตยนารายณ์ปูชา นวราตรี เป็นต้น


เว้นแต่ต้องการมีกลัศเพื่อใช้ในลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์มงคล เพื่อความอุดมสมบูรณ์
ในปัจจุบัน มีการทำกลัศในลักษณะสัญลักษณ์มงคลมาก เช่น ทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกันประดับประดาสวยงาม และนำมาวางไว้ในที่มงคลของบ้าน โดยมิได้ถือว่าเป็นวัตถุแห่งการบูชาเช่นเดียวกับเทวรูป และไม่ต้องซีเรียสในเรื่องของพิธีกรรมมากนัก



บทความ โดย หริทาส

ท่านใดจะนำไปเผยแพร่ต่อ โปรดแจ้งด้วยครับ