Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - หริทาส

#201
อะโห คุณ giftzy_69

อย่าถึงต้องกราบผมเลยครับ ผมไม่มีอะไรหรอก ถ้าผมพอจะมีความดี มีความรู้อะไรบ้าง สิ่งเหล่านั้นย่อมเป็นของครูบาอาจารย์ผมทั้งสิ้น
ถ้ามีเมตตาผม เอ็นดูผม หรือรู้สึกดีๆกับผม ขอให้เคารพครูอาจารย์ผมแทนแล้วกันครับ
คือ ท่านอาจารย์บัณฑิตลลิต โมหัน วยาส กับอาจารย์ดร.ประมวล เพ็งจันทร์อ่ะครับ
ไปเทพมณเฑียรเจอท่าน ก็แสดงความเคารพท่าน ผมก็จะมีความสุขมากๆ
เพราะชีวิตผมไม่ได้มีความดีอะไรมากมาย สิ่งที่เติมเต็มชีวิตผม จากสิ่งว่างเปล่าให้กลายเป็นพอจะมีอะไรบ้าง คือกรุณาสาครของครูครับ
มีโอกาส พระเมตตาเราคงได้พบเจอกัน แล้วก็ขอบพระคุณมากครับในคำอวยพร ขอพระเป็นเจ้าอวยพรกลับไปร้อยเท่าพันเท่าครับ (ยกเว้นเรื่องอ้วนท้วน เอาเท่าผมก็พอ 555555)

คุณเจ้าชาย คนรู้จักคนเก่าคนแก่ ขอบคุณที่ติดตามกันมาตลอด (พูดยังก๊ะเอเอฟ 5555)
เด๋วมีความคืบหน้ายังไงจะแจ้งอีกทีนะครับ


ยังไงรอท่านเวปมาสเตอร์มาช่วยวินิจฉัยนะครับ
#202
ถ้ามีคนไปซัก 6-7 คน ผมก็จะได้เพิ่งใบบุญติดสอยไปด้วยครับ อิอิ
#203
แวะมาที่ห้องภาคปรัชญาเลยครับ

แต่ตอนนี้พี่ลาป่วย

กลับบ้านตจว. คงกลับไปหลังปีใหม่โน้นเรยครับ

ถ้ามาวันพุธ -พฤหัส พี่สอน บ่ายสองห้าสิบ ส่วนวันศุกร์พี่สอนทั้งบ่ายครับ
นอกนั้นก็แวะมานั่งคุยกันขำๆได้ครับ เที่ยงๆบ่าย ก็ดี  หรือเย็นย่ำค่ำมืดก็ได้ครับ
#204
น้องอักษรชนนี

ปัญหาอีกอย่างคือ พวกเราที่ทำหนังสือนี้ ไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าอ่ะครับว่าหนังสือควรจะมีราคาเท่าไหร่
เพราะวัตถุประสงค์เดิม คือทำเพื่อแจกในงานสัมมนา แต่หนังสือเราพิมพ์มามากมายจึงยังมีอยู่พอควร
พี่เองก็ไม่ค่อยถนัดเรื่องเงินๆทองๆ ยังไงคงต้องฟังหลายๆความเห็นและพี่เองคงต้องไปปรึกษาหัวหน้าในกรณีเรื่องการบริจาคขั้นต่ำและการช่วยค่าจัดส่ง

ที่จริงพี่ก็อยากจะกระจายหนังสือนี้ไปกว้างๆ เพราะคิดว่า มีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ เพราะมีเรื่องการสวดมนตร์และการบูชาด้วย นอกเหนือจากเรื่องราวทางวิชาการและเกร็ดต่างๆอย่างเดียว


อ่อ พี่อัพเดทบอกคิวด้วยว่า หนังสือเล่มพี่นี้ได้นำไปถวายและรับการประสาทพร จากเทวสถานอษฺฏวินายก ของพระคเณศ ทั้ง 8 แห่ง และพระสิทธิวินายก ที่เมืองมุมไบ ด้วย เมื่อช่วงที่พี่ไปอินเดียไม่นานมานี้ครับ แจ้งเพื่อจะได้ทราบข่างที่เป็นสิริมงคลนี้ด้วย

ยังไงรอท่านเวปมาสเตอร์มาร่วมปรึกษาอีกคนนะครับ
#205
โอ้ว์ หลายท่านสนใจหนังสือเรื่อง คเณศวิทยาอ่ะครับ

จริงๆหนังสือนี้เป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเพื่อแจกในงานสัมมนา เกี่ยวกับพระคเณศที่ ภาควิชาผมจัดในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา พอดีว่ายังมีเหลืออยู่พอสมควร หัวหน้าภาควิชาเรยดำริห์ว่า

ถ้านำมาให้บริจาคเพื่อหารายได้จัดกิจกรรมต่างๆของนักศึกษาคงมีประโยชน์


ผมขอเวลาไปปรึกษาท่านหัวหน้าก่อนนะครับ ว่าถ้ามีผู้สนใจจะส่งให้ทางไปรษณีย์ หรือจะยังไงดี คงเป็นหลังปีใหม่อ่ะครับ

อีกอย่างหนึ่ง คงต้องปรึกษาท่านเวปมาสเตอร์ด้วยว่า จะสามารถทำได้มั๊ย ผิดกฏกติกาของทางบอร์ดรึป่าว หรือจะยังไง หรือหากเวปมาสเตอร์มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจก็น่าจะได้คุยกันก่อนครับ เพราะเดี๋ยวจะเป้นการทำอะไรไม่เป็นไปตามกรอบกติกา

แหม แต่ดำเนินการค่าภาษีนี่ 5555 ผมมันก็แค่ครูจนๆครับ 555

ยังไงไว้หาจ้อสรุปกันอีกทีนะครับ

แต่ก็ขอบคุณในความสนใจกับทุกท่านครับ
#206
พี่สาหร่ายไกด์ใจดีฝากข่าวมาประชาสัมพันธ์ครับ

กุมภเมลา – Kumbh mela
ศรัทธา กับ ความภักดี ที่มีต่อพระเป็นเจ้า
เนื่องด้วยในเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2553 ที่จะถึงนี้ ในประเทศอินเดีย จะมีการจัดเทศกาลอันพิเศษยิ่งของศาสนาฮินดู คือเทศกาลกุมภ์เมลา(Kumbh Mela ) ซึ่งจะมีขึ่นในทุกๆ 12 ปี ณ เมืองหริทวาร เทศกาลกุมภ์เมลา เป็นการชุมนุมที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดของศาสนาฮินดู ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยท่านอาทิศังกราจารย์ ในราว ศ.ต.ที่ 8 เพื่อให้นักบวชฮินดูทุกลัทธินิกายและศาสนิกชนได้มาชุมนุมกัน โดยมีการแสดงธรรม การแห่แหนของบรรดานักบวช การอภิปรายหัวข้อทางศาสนา การประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่นการอาบน้ำ การบูชา ฯลฯโดยมีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 70 ล้านคน
เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของศาสนาฮินดู


30 ล้านคน          คือ       ประมาณการคนที่จะลงอาบน้ำในวันอาบน้ำใหญ่
70 ล้านคน          คือ       จำนวนคนที่ร่วมพิธีทั้งหมด
22,500 ไร่         คือ       พื้นที่ริมฝั่งน้ำถูกใช้งาน
15,000 ดวง         คือ       จำนวนไฟถนนที่ใช้งาน
5,000 อาศรม      คือ       จำนวนอาศรมที่ตั้งเรียงรายไปตามพื้นที่
15,000 ราย          คือ       จำนวนคนหายทุกๆ วันตลอดงานเทศกาล“จาก หนังสือเรื่อง “อินเดียที่ฉันตามหา” โดย ธนิษฐา แดนศิลป์ หน้า124”
เที่ยวบินกับการเดินทาง
13 JAN 10- BKK-DEL –IC 853-0855-1210
17 JAN 10-DEL-BKK  -IC 854- 1400-1920


รายการเดินทาง
วันพุธที่            13 มกราคม 2553             กรุงเทพฯ – นิว เดลลี - อารตี บูชาไฟ เมืองฮาริดวาร
วันพฤหัสฯ ที่       14 มกราคม 2553             มกร สังกรานติ– เที่ยวชมเมืองฮาริดวาร และเหล่าอาศรมต่างๆ
วันศุกร์ที่          15 มกราคม 2553             สุริยุปราคา กับการอาบน้ำที่ท่าน้ำฮาร์กิเปาริ * เที่ยวชมเมืองฤาษีเกษ
วันเสาร์ที่          16 มกราคม 2553             ฮาริดวาร – เดลลี ช้อปปิ้ง ก่อนกลับ...
วันอาทิตย์ที่       17 มกราคม 2553             ชมเมืองเดลลี – กรุงเทพฯ   ถึงกรุงเทพฯ 1920 น



อัตราค่าเดินทางท่านละ 36,900.- บาท พักเต้นท์พิเศษ ริมแม่น้ำคงคา – ห้องน้ำในตัว



สนใจติดต่อ พี่สาหร่าย ไกด์ ใจดี (คุณนเรนทร์ ดูเบย์)
บริษัท เที่ยวรอบโลก จำกัด                                     
78/44
หมู่ 6 ถนนสุขุมวิท 103 หนองบอน ประเวศ กรุงเทพฯ 10250 

โทร. 0-2393-8354-5, 08-9488 4747, 08-9443 4747, 08 9443 4747

แฟกซ์. 0-2748-1465                            

Email: trltour@yahoo.com            Msn chat: saraivw@hotmail.com            


ถ้ามีผู้สนใจซัก  6-7 ท่าน อาจมีการเชิญวิทยากรพิเศษ คือ อ.หริทาสร่วมเดินทางไปด้วยครับ
ถ้าไม่มีคนสนใจ พี่สาหร่ายแจ้งว่า ไกด์ไปเองคนเดียว เพราะอยากไปอยู่แล้ว 555


[/B]
#207
"ที่จริงแล้วนักวิชาการสันนิษฐานว่า เป็นการรวบรวมเอาพระคเณศรูปแบบต่างๆเท่าที่ปรากฏในเวลานั้น และในบริเวณใกล้เคียงมารวบรวมไว้ และวาดเป็นภาพ โดยมหาราชาแห่ง[HIGHLIGHT=#ffff00]แคว้นไมซอร์ในต้นศต.ที่ 19 [/HIGHLIGHT]ครับ แต่จะถือว่า ตามแบบโบราณ พระคเณศก็มีสีพระวรกายอยู่ไม่กี่สีหรอกครับ"

คุณตรีศังกุ ไมซอร์นี่ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นอินเดียใต้ครับ

เรื่องพระคเณศ สามสิบสองปาง ผมค้นคว้ามาแล้ว ในโศลกสันสกฤต บอกว่ามีมาในมุคคลปุราณะก็จริง แต่ตัวคัมภีร์ตัตตวะนิธิ ซึ่งมีทั้งภาพและโศลก รวบนวมขึ้นไว้ในอินเดียภาคใต้ครับ โดย มหาราชา กฤษณโวเทยาร์(ถ้าจำไม่ผิด) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมรูปแบบพระคเณศต่างๆเท่าที่ปรากฏในเวลานั้นไว้  ซึ่งรวบรวมไว้ได้ 32 ปาง แต่ถือว่า 16 ปางแรกที่เรียกว่า โศฑศคณปติ มีความสำคัญกว่า และแพร่หลายกว่า

แต่ที่จริงแล้ว ในสามสิบปางของศรีตัตวะนิธิ ไม่ได้มีแค่ที่ปรากฏในอินเดียภาคใต้เท่านั้น นักวิชาการบางท่านก็เห็นว่า มีพระคเณศรูปแบบต่างๆที่ปรากฏ ในภูมิภาคต่างๆของอินเดีย อย่างพระนฤตคณปติ เป็นต้น หรือพระคเณศบางปางที่อยู่ในลัทธิตันตระ ก็มีปรากฏในภาคเหนือของอินเดียนะครับ

เพียงแต่มีข้อน่าสังเกตว่า ไม่ปรากฏ พระคเณศสองพระกร ซึ่งเป็นพระคเณศในยุคแรกๆที่มีการสร้างขึ้น ในราว ศต. ที่ 10-11 ในสามสิบสองปางครับ

ดังนั้น ที่จริง การสร้างปางต่างๆ จะว่าเป็นคติของอินเดียใต้ก็ไม่เชิงนัก เพราะในแต่ละภูมิภาคของอินเดีย ก็มีการกำหนดรูปแบบของพระคเณศไว้

ถ้าจะพูดให้ถูกต้องและรัดกุม ก็ควรบอกว่า การรวบรวมพระคเณศปางต่างๆไว้ด้วยกันในคัมภีร์เดียว เป็นสิ่งที่ทำขึ้นในอินเดียภาคใต้ครับ

และไม่เพียงแต่พระคเณศ ในคัมภีร์ตัตวะนิธิยังรวบรวมเอาเทวปางต่างๆของเทพเจ้าอีกหลากหลายพระองค์ไว้ด้วย

นี่เขียนไปเพราะคันมือตามสันดานนักวิชาการครับ


อยากรู้เรื่องพระคเณศในหลากหลายมิติ หรือเกร็ดต่างๆ อย่าลืมไปทำบุญหนังสือ "คเณศวิทยา"(เรียบเรียงโดย อ.หริทาส) ของภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทับแก้ว นครปฐมได้เรยครับ เห้นว่าเค้ากำลังหารายได้ไปจัดงานวันเด็ก ที่เมืองกาญจน์อยู่ เข้าไป ถามหาภาคปรัชญา บอกว่า มาทำบุญซื้อหนังสือคเณศวิทยาครับ 55555555

แอบประชาสัมพันธ์เลย
#208
พระคเณศของคุณเทวาเหนือเกล้า
องค์แรกน่าจะเป้นการออกแบบของไทยเราเองป่าวครับ ที่มีอาจารย์ศิลปากรท่านนึงออกแบบมา มีลักษณะแบบเอกเขนก ที่ต่อมาเรียกกันว่า
ปางเสวยสุขหรือไงนี่อ่ะครับ

ส่วนอีกองค์หนึ่งเข้าใจว่าทำคล้ายปางของกรมศิลป์ เพียงแต่เปลี่ยนจาก ทันตะ หรืองา เป็น อภัยมุทรา

เรื่องเทวลักษณะ มีข้อต้องพิจารณามากมายครับ
สัดส่วน ความสมดุลย์ รส เทพอาวุธ ท่าทาง ความรู้สึกของผู้บุชา วัสดุ สีสัน เครื่องประดับ

ผมคงตอบได้ยากอ่ะครับว่าถูกต้องมั๊ย แต่ถ้าคุณเทวาเหนือเกล้ามีความสบายใจ และไม่ได้รู้สึกว่าเทวรูปที่เราบุชามีอะไรแปลกๆ ก็บูชาเถอะครับ
#209
เพิ่มเติมอีกนิดนะครับ

ในคัมภีร์ศรีตัตวะนิธิ ที่วาดถึงพระคเณศ 32 ปาง โดยอ้างว่า มีที่มาจากคัมภีร์มุทคลปุราณะนั้น(มีโศลกกำกับ)
บอกว่า พระคเณสในแต่ละปางมีสีกาย โดยสรุป เป็น 4 กลุ่มคือ
.พระคเณศโดยทั่วๆไป มีพระวรกาย
1สีแดง ซึ่งมีหลายเฉดสี เช่น รักตะ หรือแดงแบบพระอาทิตย์อ่อนๆ หรือแดงดั่งพระอาทิตย์ ฯลฯ
2.สีขาว ก็มีหลายเฉดสี เช่นขาวดั่งสผาฏิกะ หรือคริสตัล ขาวแบบจันทร์ในฤดูศารทธ ฯลฯ
3.เหลือง เหลืองดั่งทอง(เสารวรฺณ) ดั่งขมิ้น(หริทฺรา) ฯลฯ
4.และหากเป้นพระคเณศในลัทธิตันตระ ก็มักมีพระวรกายสีดำหรือน้ำเงิน(ศฺยามฺ, นีลฺ) หรือแดง

แต่ 32 ปางนี้ มักเขาใจผิดว่าเป็นคัมภีร์ ปางของพระคเณศที่เป้นมาตรฐานหรือเป้นต้นแบบ ใช้จัดส้รางหรืออะไรทำนองนี้

ที่จริงแล้วนักวิชาการสันนิษฐานว่า เป็นการรวบรวมเอาพระคเณศรูปแบบต่างๆเท่าที่ปรากฏในเวลานั้น และในบริเวณใกล้เคียงมารวบรวมไว้ และวาดเป็นภาพ โดยมหาราชาแห่งแคว้นไมซอร์ใ นต้นศต.ที่ 19 ครับ แต่จะถือว่า ตามแบบโบราณ พระคเณศก็มีสีพระวรกายอยู่ไม่กี่สีหรอกครับ
#210
อันนี้ผมมาขอเสริมเรื่องสีพระวรกายนิดนึงแอ่ะครับ


คือในศาสนาฮินดู เนี่ย สีหรือ รงฺค ใช้ในหลากหลายลักษณะครับ ซึ่งมักเป็นสัญลักษณ์สแดงถึงสภาวะตามธรรมชาติบางอย่าง ดังเราจะเห็นว่าทำไมเทวดาอินเดียต้องมีกายสีๆ

ถ้าว่าตามหลักปรัชญาสางขยะแล้ว สรรพสิ่งในโลก เกิดจากปุรุษะ คือธรรมชาติฝ่ายที่มีเจตน์จำนง และปรกฤติ คือธรรมชาติฝ่ายที่มีกัมมันตภาพ หรือเคลื่อนไหวแปรเปลี่ยน แต่ปราศจากการรู้คิด
สิ่งที่เกิดจากปรกฤติ มีคุณสมบัติ สามประการ (ตฺริคุณะ)
ได้แก่ 1.สัตวคุณ ได้แก่คุณสมบัติด้านความสว่าง ขาว ความจริง ความเย็น ความดี ความสงบ ความสะอาด หยุดนิ่ง ฯลฯ ถ้าหมายถึงสีคือ สีขาว
2.รชัสคุณ ได้แก่ การเคลื่อนไหว ความร้อน ความโกรธ อารมณ์ที่วูบไหว การเกิด  พลังงาน แรงขับดัน ฯลฯ สีแดง
3.ตมัสคุณ ได้แก่ ความมืด ความตาย การทำลาย ความดับสูญ ความหลง ความมัวเมา ฯลฯ สีดำ

ทั้งสามคุณะนี้แสดงออกมาในสิ่งต่างๆในโลก โดยมีอัตราส่วนของคุณะนี้ต่างกันออกไป
ไม่เว้นแม้แต่เทพเจ้า เพราะเทพเจ้าเอง ก็ทรงเป็น สิ่งที่ปรากฏออกมาจาก สคุณพรหมัน หรืออีศวร ที่สำแดงออกในคุณลักษณะต่างๆ
ถ้าว่าตามหลักสางขยะ
พระวิษณุมี สัตวคุณมาก เพราะทำหน้าที่ธำรงโลก
พระพรหมมี รชัสคุณมาก เพราะสรรค์สร้างโลก
พระศิวะมี ตมัสคุณมาก เพราะเกี่ยวกับการประลัย

อันนี้ว่าตามหลักทั่วๆไปนะครับยังไม่ได้เจาะจงถึงพระคเณศ

ที่นี้สีพระวรกายของพระคเณศ อันนี้ว่าตามคัมภีร์มุทคลปุราณะ นะครับ ท่านว่า พระคเณศนั้น มีการอวตารมาในโลก สองแบบ
แบบแรก เรียกว่า อัษฏาวตาร คือการอวตารมาแปดปางเพื่อปราบอสูรต่างๆ แบบที่สองเรียกว่า ยุคาวตาร หรือการอวตารมาในยุคต่างๆของโลก 4 ยุค

ในมุทคละปุราณบอกว่า
ในสียุคของโลกพระคเณศอวตารมาดังนี้
1.กฤตยุคหรือสัตยุค ยุคนี้ความดีของโลกบริบูรณ์ พระคเณศอวตารมา พระนามว่า มโหกฏวินายก สิบกร มีพระวรกายดั่งดวงอาทิตย์ ทรงสิงหาสนะ
2.เตรตยุคหรือไตรดายุต ยุคนี้ความดีเหลือสามในสี่ส่วน พระคเณศอวตารมาพระนามว่า มยุเรศวร มีหกกร พระวรกายขาวดั่งดวงจันทร์ ทรงมยุราสนะ
3.ทวาปรยุค ยุคนี้ความดีเหลือครึ่งเดียว พระคเณศอวตารมาพระนามว่า คชานน  มีสี่กร พระวรกายแดง ทรงมุษก หรือหนูเป็นพาหนะ
4.กลียุค ยุคของเรานี่เอง ความดีเหลือเพียง 1 ในสี่ส่วนพระคเณศ จะอวตารมาพระนามว่า ธูมรวรรณ มีสองกร พระวรกายสีหม่นดั่งเมฆหมอก ทรงม้าสีดำ จะมาปราบความชั่วร้ายทั้งหลาย

ถ้าสังเกตดูในคติตามมุทคลดีจะเห็นว่า คงได้รับอิทธิพลของไวษณวนิกาย เกี่ยวกับรูปลักษณ์ของพระเจ้าที่เปลี่ยนไปตามความดีในโลก พระนารายณ์ในปุราณะของฝ่ายนั้นก็บอกว่า พระวรกายจะเปลี่ยนจากสีขาวหม่นลงเรื่อยๆ ปัจจุบัน พระนารายณ์สีเกือบดำแล้วครับ

พระคเณศเองก็เปลี่ยนสีพระวรกายหม่นลง และมีพระกรลดลงด้วยครับ

อันนี้ว่าไปตามปุราณะนะครับ

แต่ในกรณีที่จะทำเป็นสีของเทวรูป ผมเห้นด้วยกับท่านที่บอกว่า ให้เน้นที่เทวลักษณะเป็นสำคัญครับ เด่วนี้ชักจะมีเทวรูป พระคเณศแปลกๆ แบบ เจ็ดสีเจ็ดวันอะไรมากมาย ไม่เคยเห้นมาก่อน ม่วงครามน้ำเงืนชมพู ฯลฯ

จากประสบการณ์ผม ที่อินเดีย พระคเณศมักจะใช้สีส้ม ที่เป้นสีเดียวกับผงสินทูรนะครับ
การใช้สีส้มทาที่เทวรูปโดยเฉพาะในแคว้นมหาราษฏร์นั้น เป้นธรรมเนียมที่เกิดจากความเชื่อว่า ผงสินทูรเป็นสิ่งที่พระคเณศทรงโปรดประการหนึ่ง สีส้มเป้นสีประจำของศาสนาฮินดูประการหนึ่ง และ การใช้สีส้มแต้มทาสิ่งใดสิ่งนั้นแสดงว่าเป้นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่นหากเอาผงสีส้มไปแต้มตามก้อนหิน ก้อนหินนั้นจะได้รับการเคารพบูทันที

เทวรูปพระคเณศในอินเดีย โดยเฉพาะองค์ที่เป็นสวายัมภูที่มีชื่อเสียงมักจะทาด้วยสีส้ม หรือเป็นสีดำ เงิน ทอง ฯลฯ ตามวัสดุเดิม(หิน,เงิน ทอง ฯลฯ)ครับ


ส่วนวชิราวุธ เป็นพระราชนิยมในล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระคเณศ ต้นแบบในสมัยรัชกาลที่ หก โดยมากผู้ออกแบบ คือกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และจะเห็นได้ว่า ได้รับอิทธิพลจากเทวรูปพระคเณศของชวา ในส่วนท่านั่ง กระโหลกประดับ เพราะพระคเณศองค์สำคัญที่ เราเอามาจากชวา คือองค์ที่จัณฑิสิงหสาหรี่ ถวายรัชกาลที่ 5 ได้กลายมาเป้นต้นแบบพระคเณศยุคหลัง จนเมอื่กรมศิลปากรจัดสร้างและท่านอาจารย์ศิลป์ออกแบบ ก็ ใช้แบบเมเรื่อยมาครับครับ
#211
อันนี้ผมเสริมในมิติทางประวัติศาสตร์ อีกอย่างแล้วกันนะครับ

คือเรื่องพระทัตตะ หรือพระทัตตาเตรยะ นั้น ที่จริงแล้วนักวิชาการสันนิษฐานว่า
เป็นคติที่มีเฉพาะถิ่นเท่านั้นนะครับ โดยแตกแขนงอ้างมาจากปุราณะบางเล่ม แล้วมาขยายความต่อ หรือในทางกลับกัน คือเอาตำนานท้องถิ่นเข้าไปผนวกกับปุราณะ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติในอินเดียครับ

ซึ่งมีการสันนิษฐานกันว่า พระทัตตาเตรยะ เป็นบุคคลที่อาจมีอยู่จริง และเป็นนักบวชสำคัญในนิกาย อไทฺวตเวทาตะของท่านศังกราจารย์
ที่มาเผยแพร่ลัทธินี้ในแคว้นมหาราษฏร์ ซึ้งสันนิษฐานว่า ท่านอาจเป็นนักบวชนามว่า ท่านสวามี นรสิงห สรัสวตี เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้รจนาคัมภีร์
"อวธูตคีตา " เป็นคัมภีร์ปรัชญาลึกซึ่ง แสดงทัศนะแบบอไทฺวตเวทานตะอย่างชัดเจน

เรื่องราวของพระทัตตะ หรือท่านสวามี นรสิงห สรัสวตี ปรากฏในคัมภีร์พื้นบ้านชื่อ คุรุจริต แปลว่า เรื่องราวของคุรุหรือหมายถึงท่านคุรุทัตตาเตรยะครับ
ในเวลาต่อมาได้มีการสืบลำดับวงศ์ทางศาสนาที่เรียกว่า คุรุปรัมปรา และมีการตั้ง ปีฐ หรือตำแหน่ง หรือสำนักทางศาสนาขึ้น เรียกว่า ทัตตะปีฐ สืบต่อๆกันลงมา ศิษยานุศิษย์รุ่นหลังได้ถือว่าท่านเป็นพระเป็นเจ้าทั้งสามพระองค์อวตารสอนสั่งลัทธิอไทฺวตะให้เข้มแข็งขึ้นอีก
ดังนั้นคนในแคว้นมหาราษฏร์ จึงถือว่าท่านทัตตะ ดำรงอยู่ในสองสถานะ คือ พระตรีมูรติที่อวตารมาในรูปเดียวกัน และเป็น คุรุที่สำคัญครับ

แต่คตินี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าไหร่ในอินเดียและนอกอินเดีย

จึงมีความพยายามที่จะโปรโมทท่านคุรุทัตตะ ผ่านสื่อต่างๆ เช่นภาพยนตร์ ดังที่เข้ามาฉายในเมืองไทย มีการอ้างอิงถึงปุราณะต่างๆ และการสร้างวัดใหม่ๆของท่าน ผมยังเคยเห็นโบสถ์ท่านที่ใหม่ๆจำนวนมากมายในแคว้นมหาราษฏร์ครับ

ต้องไม่ลืมนะครับว่า ปุราณะในอินเดีย ไม่ได้เขียนจบในวันเดียว ต่างเขียนกันมาเรื่อยๆ เติมสีใส่เนยกันไป ขัดกันเองบ้าง ทำเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างบ้าง กรณีเรื่องของพระทัตตะ เป็นตัวอย่างที่ดีของการแสดงให้เห็นว่า มีการต่อเติมเสริมความปุราณะให้เข้ากับเรื่องราวของชาวบ้าน หรือเอาส่วนเ็ล็กๆในปุราณะมาช่วยให้นิทานชาวบ้านน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

ตรีมูรติตามทฤษฎีของศาสนาฮินดู คือ พระเป็นเจ้าหนึ่งเดียว(อีศวร หรือ สคุณพรหมัน) ปรากฏออกมาทำหน้าที่ในสามลักษณะ คือ สฤษฏิ์ ธำรง และประลัย ได้แก่พระเป็นเจ้าทั้งสามองค์คือ พระพรหมา วิษณุ มเหศวรศิวะ นั่นเอง โดยไม่ต้องเอามารวมกันเป็นองค์เดียว
#212
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ที่จะให้มีการแนะนำหนังสือ

ในฐานะที่เป็นครูบาอาจารย์ ผมคิดว่า เรื่องการแนะนำหนังสือจะเป็นประโยชน์
เพราะบางครั้ง ศาสนิกชนก็อาจขาดมิติทางวิชาการที่จะช่วยให้รู้กว้างขวางลุ่มลึก
และมองเรื่องต่างอย่างรอบด้าน

ส่วนหนังสือผม แนะนำแล้วจะไปหาที่ไหนอ่านล่ะครับ เพราะทำทีไรทำแจกทุกครั้ง 5555
#213
ตอบคุณ plawan

เรื่องลัทธิภักติ ที่คุณหมายถึง น่าจะหมายถึงลัทธิภักติที่ปรากฏในไวษณวนิกายช่วงแรกๆ ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาที่กลายเป็นมหายานแล้ว แต่ทั้งนี้นักวิชาการหลายท่านยังถกเถียงว่า ลัทธิภักติในพระพุทธศาสนามหายานเองก็อาจได้รับอิทธิพลจากฮินดูก็ได้ เพราะปรากฏว่า แนวคิดเรื่องความภักติ มีปรากฏในคัมภีร์ชั้นอุปนิษัทที่เก่าแก่ ซึ่งเรื่องนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ครับ

แต่ในที่นี้ผมหมายถึง "ขบวนการภักติ" (Bhakti Movement) ซึ่งอยู่ในช่วงยุคกลางของอินเดีย เป็นขบวนการปฏิรูปศาสนาฮินดู ที่นำโดยฆราวาส
โดยได้รับอิทธิพลของไวษณวนิกายที่นำโดยท่านสวามีรามานันทะ และท่านกพีรทาส และอาจได้รับอิทธิพลย้อนไปถึง สมัยนักปรัชญาอินเดียเวทานตะฝ่ายไวษณวนิกาย คือ ท่านมัธวาจารย์ วัลลภาจารย์และท่านไชตันยะ
ขบวนการภักตินี้ ส่งอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของศาสนาสิขและพิธีกรรมต่างๆของศาสนาฮินดูภาคเหนือในปัจจุบันครับ เช่นการภชัน กีรตัน การชุมนุมเพื่อฟังเทศนาคัมภีร์ต่างๆ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ช่วงเวลาที่เกิดขบวนการภักติ เป็นช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนาปลาสนาการไปจากอินเดียแล้วครับ อีกทั้งวรรณคดีของไวษณวนิกายยุคแรกๆมีการพาดพิงถึงพระพุทธศาสนาหลายอย่าง แต่หากเราไปดูวรรณกรรมฝ่ายภักติ ของขบวนการนี้ จะพบว่า แทบไม่มีการกล่าวถึงพระพุทธศาสนาเลย แต่มักจะกล่าวถึง ศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามหรือความพยายามที่จะประนีประนอมทั้งสองศาสนา หรือมีลักษณะเป็นกวีนิพนธ์เสียมากกว่าแนวคิดทางปรัชญาครับ
ถ้าจะได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาจริงๆก็เจือจางเต็มที และหากจะกล่าวอย่างรัดกุม คงกล่าวได้ว่า ขบวนการภักติได้รับอิทธิพลของไวษณวนิกายในยุคก่อนๆมากกว่าครับ
#214
ผมขอนำภชันของท่านมีราบางบท ซึ่งผมได้แปลไว้ เพื่อสอนนักศึกษาในรายวิชาศาสนาฮินดู ที่ศิลปากร
มาลงไว้พอเป็นตัวอย่างนะครับ

121

วันนี้ ฉันได้ยินได้ฟัง(เรื่องอัน)นำมาสู่ความปีติยินดีของฉัน
ว่าองค์พระหริได้ทรงมาเยือน
(ฉัน)พบว่า ที่จริงแล้ว พระองค์ไม่ได้เสด็จมาดอก
ฉันเพ่งมองไปยังท้องถนนด้วยความโหยหาอาวรณ์
ดวงตาทั้งคู่ของฉันจะไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งของฉัน
และปลดปล่อยกระแสท่วมท้นของหยาดน้ำตา

ฉันจะสามารถทำสิ่งใดอีกเล่า ?
ฉันได้พบกับความสูญเสียอย่างแท้จริง
มีรากล่าว
“ ข้าฯแต่พระคิริธร นายเหนือหัวของฉัน
ข้าพระองค์เฝ้าคอยการเสด็จมาของพระองค์ ด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ ”

122
วสันตฤดูช่างแผ่กว้างออกไป
และชายส่าหรีของฉันก็เปียกปอน
พระองค์ก็มาจากไปสู่ดินแดนอันไกลโพ้น
และหัวใจของฉันก็พบว่า มันเหลือที่จะทนรับได้
ฉันยังคงส่งจดหมาย ถึงพระผู้เป็นสุดที่รักของฉัน
ถามว่า เมื่อไหร่ที่พระองค์จะเสด็จกลับมา
พระเป็นเจ้าของมีรา คือพระคิริธร ผู้ทรงศักดิ์
ข้าฯแต่พระกฤษณะ พระเชษฐาแห่งพระพลราม
โปรดอนุญาตให้ข้าน้อยได้เห็นพระองค์เถิด
#215
 สันตะมีราพาอี (Santa Mirabai) หรือ ภักตะมีราพาอี (Bhakta Mira)

ท่านไม่ใช่เทพเจ้านะครับ แต่เป็นนักบุญองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู และเป็นนักบุญหญิงที่มีชื่อเสียงมาก
ท่านเกิดในตระกูลสูง เป็นเจ้าหญิงแห่งราชปุต ในแคว้นราชสถาน ช่วงยุคกลางของอินเดีย

เรื่องราวชีวิตของท่านสนุกสนานและนิยมเล่าสืบๆกัน ตำนานเล่าว่า ท่านหลงรักพระกฤษณะ ตั้งแต่วัยเยาว์
และใฝ่ฝันที่จะเป็นเจ้าสาวของพระกฤษณะ ในวัยเด็กท่านเห็นขบวนแห่เจ้าบ่าวงานแต่งงาน ท่านจึงไปถามกับมารดาว่า
"ใครเล่าจะเป็นเจ้าบ่าวของลูก" มารดาของท่านพาไปยังวิหารประจำวัง และบอกว่า เทวรูปพระกฤษณะเบื้องหน้าคือเจ้าบ่าวของท่าน
นับตั้งแต่วันนั้น ท่านก็เฝ้าใฝ่ฝันถึงพระกฤษณะ จนเวลาต่อมาท่านได้แต่งงานกับราชกุมาร โภช ราช แต่ส่วนตัวท่านก็ยังยืนยันว่า ท่านเป็นเจ้าสาวของพระกฤษณะเท่านั้น

เมื่อขัดแย้งกับครอบครัวใหม่ ท่านได้ยอมสละความสุขแห่งราชวัง ออกไปเร่ร่อนอย่างยากจน
สมาคมอยู่ด้วย สาธุนักบวชทั้งหลาย (สาธุสังฆะ) ตัวท่านได้เป็นสาวกของท่าน ภักตะรามทาส ซึ่งเป็นสานุศิษย์ของท่านสวามีรามานันทะ นักบวชไวษณวนิกายรูปสำคัญ ที่ก่อให้เกิดขบวนการภักติขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันตกของอินเดีย

ขบวนการภักติ เป็นขบวนการการปฏิรูปทางศาสนาที่สำคัญในศาสนาฮินดู ในยุคที่มีความขัดแย้งกับศาสนาอิสลามและผู้ปกครองใหม่
ขบวนการนี้เป็นขบวนการของไวษณวนิกาย เน้นความภักดีต่อพระเป็นเจ้า ปฏิเสธการถือชั้นวรรณะ ไม่เน้นความสำคัญของพิธีกรรมและนักบวช
และมีนักบุญส่วนใหญ่เป็นฆราวาส นอกจากนี้ยังได้สร้างวัฒนธรรมการขับร้องภชัน หรือ กีรตัน บทสวดสรรเสริญและบทกวีต่างๆ และยังให้ความสำคัญกับพระนามของพระเจ้าอีกด้วย
นักบุญที่มีชื่อเสียงในขบวนการภักติยุคกลางของอินเดียได้แก่ ท่านตุลสีทาสผู้ประพันธ์รามายณะ ฉบับภาษาฮินดีโบราณหรือภาษาอวธี (รามจริตมานัส)
มีราพาอี ท่านตุการาม ท่านไรทาสหรือรวิทาส(ทั้งสองท่านเป็นคนวรรณะศูทร) ท่านสุรทาส ท่านนรสีห์ เมหตา ท่านรามทาส ท่านกพีรทาส(ท่านผู้นี้เป็นชาติมุสลิม แต่มีลูกศิษย์ทั้งฮินดูและมุสลิม) ท่านคุรุนานักซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านกพีรทาส เป้นต้น

ถ้าเราไปวัดเทพมณเฑียรในวันอาทิตย์ตั้งแต่ 9 โมง เราก็จะพบการขับร้องภชัน นั่นคือวัฒนธรรมการชุมนุมกัน เพื่อร่มขับสวดร้องเพลงสรรเสริญ และสนทนาธรรมในศาสนา เรียกว่า สัตสังฆ์ อันได้รับอิทธิพลจากขบวนการภักติในยุคกลางนี่เอง

ย้อนกลับมาที่ท่านมีรา

ตัวท่านมีราเอง ได้ประพันธ์กวีนิพนธ์จำนวนมาก ใช้ขับร้องมาจนถึงทุกวันนี้ บทขับของท่านเรียกว่า มีราภชัน ซึ่งเป็นบทกวีพรรณนาความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ในแบบคู่รัก ที่มีความงดงามไพเราะ จนผู้ฟังที่มีใจอ่อนไหวอาจน้ำตาตกได้ง่ายๆ  เป็นเอกลักษณ์ของมีราภชัน และท่านถือว่าตัวท่านเองเป็น นางโคปี ผู้หลงรักพระกฤษณะจนแทบบ้าคลั่ง และเฝ้ารอคอยวันที่จะได้พบพระผู้เป็นที่รักยิ่งของตน

ตามตำนานเล่าว่า ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ท่านได้เข้าไปอยู่ในวิหารของพระกฤษณะและได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย
เชื่อกันว่า พระกฤษณะได้รับท่านไปอยู่ในโคโลกอย่างมีความสุขแล้ว

ท่านเป็นตัวอย่างของศาสนิกชนผู้ภักดีต่อพระเป้นเจ้าอย่างสูงสุดท่านหนึ่งครับ
#216
โอ้ว์


ไม่ต้องขอบคุณผมหรอกครับ

ผมตะหาก ที่ต้องขอบพระคุณทุกท่าน ทั้งน้องๆที่อุตส่าห์ช่วยประชาสัมพันธ์และมาร่วมงาน รวมทั้งที่ไม่ได้มาร่วมและให้กำลังใจตลอดมา
จนงานครั้งนี้ลุล่วงไปได้....


ขอพระคเณศอวยพระพรแด่ทุกท่านครับ

วันรหลังมีงานอะไรดีๆ เด๋วผมจะมาบอกอีก

เอาไว้มีเวลาว่างจะถอดเสียงบรรยายมาให้อ่านกันครับ


พระคเณศจงเจริญ
#217
ขอขอบคุณน้องอักษรชนนีมากครับที่นำรูปมาลงไว้

ยินดีมากครับที่ได้มีโอกาสรับใช้ โดยเฉพาะในทางความรู้

ถ้ามีงานอะไรแบบนี้อีก พี่จะมารีบบอกครับ

อ่อ ส่วนเรื่องความรู้ในหนังสือ "คเณศวิทยา" ขอรบกวนอย่าเพ่งเผยแพร่ทางเวปไซต์นะครับ
เพราะอาจมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์

ขอบคุณอีกครั้งครับ
#218
จะถึงวันงานกันแล้วนะครับ

หวังว่าคงได้พบทุกท่านนะครับ
#219
น้องอักษรชนนี

ไม่เป็นไรครับ ที่น้องเข้าใจแบบนั้น ขนาดหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับศาสนายังเข้าใจว่าวัดเทพมณเฑียรเป็น ไวษณวนิกายเลยครับ

ท่านอาจารย์บัณฑิตลลิตเคยบอกว่า จริงๆวัดของเราเป็นวัดของทุกคนทุกนิกายไม่ได้แบ่งแยกอะไร แต่ถ้าถามจริง โดยคติ หลักปรัชญา เป็น สมารตะ ซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติของคนทางเหนือ(คนอุตรประเทศ)แทรกซึมอยู่มากมายครับ


อย่างวัด พระพาลจี(บาลาจี) วัดติรุมาลา วัดศรีรังคัมในอินเดียใต้
วัดในพฤณทาวัน วัดชคันนาถ อย่างนั้น ไวษณวของแท้ครับ

เดี๋ยวนี้พี่กะว่าจะมาตอบ เฉพาะ เรื่องที่เป็นความรู้จริงๆ หรือเรื่องข้อมูลทางวิชาการ
หรือเรื่องที่อาจเกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย

ส่วนเรื่องความคิดเห็น ของดครับ 5555555

#220
การจัดวางแบบนี้มีความหมายครับ


เรียกว่าการจัดวางแบบ "ปัญจายตัน(ปญฺจายตน)"

เป็นวิธีการจัดวางเทวรูปที่กำหนดตามแนวทางของท่านศังกราจารย์ ครับ

เรามักเรียนหนังสือกันมาว่า ศาสนาฮินดูมี แค่สามนิกายใหญ่ๆ 1.ไศวะ นับถือพระศิวะ 2.ไวษณวะ นับถือพระวิษณุ และ ศากตะ นับถือ พระแม่เจ้า

แต่ที่จริงมีอีกนิกายหลักคือ "สมารตะ"(สฺมารต) นิกาย สมารตะ แปลว่า ผู้ยอมรับในคัมภีร์ชั้นสมฤติ หรือคัมภีร์ชั้นรอง เช่น ปุราณะ มหากาพย์ต่างๆ (สมารตะ ต้องเป็น เศราตะ หรือนิกายที่นับถือพระเวท หรือคัมภีร์ชั้น ศรุติ อยู่แล้ว) นิกายนี้ยอมรับในปรัชญา ของท่านศังกราจารย์ว่า

เทพเจ้าทั้งหลายล้วนเป็นการปรากฏของ นิรคุณพรหมัน หรือความจริงแท้หนึ่งเดียว ดังนั้น เทพทั้งหลายจึงเท่าเทียมกัน
(ข้อนี้ต่างจากนิกายทั้งสามข้างต้น ที่ถือว่าเทพในนิกายของตนเป็นพระเจ้าสูงสุด)
จึงมีการให้กราบไหว้ เทวดาทั้ง 5 เป็นประจำ ได้แก่
1.พระศิวะ
2.พระวิษณุ
3.พระเทวี
4.พระคเณศ
5.พระสุริยเทพ (หรือพระพรหม หรือพระสกันทะ ก็ได้)
เทวดาทั้ง 5 เท่าเทียมกัน ควรสักการะทุกวัน

แต่ทั้งนี้ ก็ควรมี เทวดาที่เรียกว่า "อิษฏเทวตา" หรือเทวดาที่เรารักเคารพเป็นพิเศษ เหมือนเป็นประธานของเทวดาทั้งหลาย จะเป็นองค์ใดก็ได้ ซึ่งศาสนิกชนเป็นผู้เลือกเอง ไม่มีการบังคับ

ดังนั้นจึงมีรูปแบบการจัดวางให้มีการเคารพเทวดาทั้ง 5 องค์พร้อมๆกัน เรียกว่า ปัญจายตน  โดยมีการกำหนดว่า ให้เอา อิษฏเทวตา หรือเทวดาที่จะเลือกเป็นศูนย์กลาง เป้นประธาน ไว้ตรงกลางซึ่งจะเป็นองค์ใดก็ได้ใน 5 องค์ แล้วอีก 4 องค์อยู่ล้อมรอบ โดยมีการกำหนด ทิศที่ตั้งของแต่ละองค์ไว้ด้วยครับ

(ข้อนี้ลองไปสังเกตวัดแขกสีลมนะครับ ซึ่งการจัดวางพระศิวลึงค์จะไม่ใช้แบบ ปัญจายตน เพราะไม่ใช่สมารตะนิกาย ของวัดสีลมจะประกอบด้วย พระศิวลึงค์ และพระโคนันทิ)

ในกรณีของวัดเทพมณเฑียร เรียกว่า การจัดวางแบบ "ศิวปัญจายตน" ซึ่งจะต้องมี พระโคนนทิ เพิ่มไปอีก 1
ในศิวปัญจายตนของวัดเทพมณเฑียร ประกอบด้วย
พระศิวลึงอยู่กลาง
เทวดาที่อยู่รอบๆ คือ พระเทวี
พระคเณศ
พระสุริยเทพ(องค์ที่ทรงม้า)
พระนารายณ์
พระโคนนทิ
นาค(นำมาไว้ในภายหลัง)

นอกจากพระศิวปัญจายตน แล้ว ให้ลองสังเกตที่เทวาลัย พระสุรัสวดี ทางเข้าวัดนะครับก็เป็นการจัดวางแบบปัญจายตนเหมือนๆกัน
เรียกว่า เทวีปัญจายตน ประกอบด้วย พระเทวี(ในกรณ๊นี้คือพระสุรัสวดี)ล้อมรอบด้วย
พระศิวะ พระพรหมา พระวิษณุ และพระคเณศครับ


ดังนั้น ข้อมูลที่บอกว่า วัดเทพมณเฑียรเป้นวัดไวษณวนิกายจึงเป้นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครับ

จริงๆแล้วเป็นวัดในสมารตนิกาย(วัดวิษณุยานนาวาก็ด้วย) แต่ได้รับอิทธิพลของลัทธิภักติ และการับถือพระนารายณ์ อันเป้นประเพณีของชาวเหนือของอินเดียครับ

ส่วนการบูชาศิวปัญจายตน

ก็ควรบูชาพระคเณศ พระโคนนทิ แล้วบูชาเทวดารอบๆก่อน จากนั้นจึงค่อยบูชาพระศิวลึงค์ ครับ

#221
ตามภาษาสันสกฤต เดิม เขียนว่า "พลีปีฐ" นะครับ

ถ้าเขียนแบบนี้พอจะเดาความหมายกันได้มั๊ยครัย

พลี หมายถึงการถวาย หรีอการยัญญะต่างๆ
ส่วนปีฐ แปลว่า ที่ตั้ง หรือแท่น หรือแปลว่าที่นั่งก็ได้นะครับ เช่นเวลาทำบรมราชาภิเษก พิธีตริปวายตรียัมปวาย เข้าจะมีการทำ "ภัทรบิฐ" ซึ่งคำว่า บิฐ ก็คือ ปีฐ ในภาษาสันสกฤต หมายถึงแท่นนั่งของเทวดา สมมุติโดยใช้ข้าวสารสีต่างๆ และแป้งข้าวสาลีครับ

พลีปีฐ จึงหมายถึง แท่นที่ใช่ในการอุทิศถวายพลีต่างๆแก่เทพเจ้า  เข้าใจว่าเดิมคงเป็นที่ตั้งของเสา ยูปะ ซึ่งในสมัยพระเวทมีการ มัดสัตว์หรือคนกับเสายูปะ แล้วบูชายัญ (ทุกวันนี้ยังมีอยู่ในเบงคอล เช่นวัดกาลีฆัฏ และในเนปาล)

ผมเข้าใจว่า พลี ปีฐ คือที่อุทิศถวายยัญญะต่างๆ ซึ่งกลายมาจากที่ตั้งของเสายูปะ แต่ปัจจุบันเลิกการบูชาด้วยสัตว์แล้ว ยังคงมีการถวายสิ่งต่างๆที่พลีปีฐ หรือทุบมะพร้าวที่นั้นเป้นสัญลักษณ์ของการยัญญะอยู่ครับ

บางแห่งจะทำพลีปีฐเป็นรูปเท้าของเทพเจ้าก็มี

อันนี้ ก็เท่าที่ทราบนะครับ ผิดถูกยังไงวานผู้รู้มาเสริม

ส่วนการสถาปนาเสาธง ประจำเทวสถานนั้น ทำทั้งในประเพณีของภาคเหนือและภาคใต้ครับ ซึ่งเป้นข้อกำหนดพิธีในการตั้งเทวสถาน เรียกว่า การทำพิธี ธฺวชาโรปณฺ  ถ้าจำไม่ผิดนะครับ  เสาธงของวัดเทพมณเฑียรก็อยู่บนหลังคาชั้นดาดฟ้าไงครับ เมื่อถึงวันสถาปนาวัด ก็จะไปทำพิธีบูชาธวชฺ หรือธงที่นั้น

#222
ขอแอบเสริมและแก้ไข กลัวว่าจะเข้าใจผิดกันครับ

รูปพระแม่ปัทมาวตีที่นำมาลงไว้นั้น  ที่จริง เป็น เทวีพระองค์หนึ่งในศาสนาไชนะ หรือศาสนาเชน  อันเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน และควบคู่กับพุทธศาสนาโดยตลอด

ศาสนาเชนได้มีการหยิบยืมรูปเคารพทั้งในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูไปใช้ เช่น พระเทวีปัทมาวตี ที่เดิมเป็นพระนามหนึ่งของพระแม่ลักษมี ศาสนาเชนได้หยิบยืมเอารูปลักษณ์และคติความเชื่อไป เช่นความเชื่อเรื่องความโชคดีและร่ำรวย ด้วยเพราะศาสนิกชนในศาสนาเชนมักต้องประกอบอาชีพการค้าขาย เนื่องจากถือหลักอหิงสาอย่างเคร่งครัด จึงไม่สามารถประกอบอาชีพหลายๆอย่างได้ เช่น กสิกรรม และ ประมง ที่ต้องเบียดเบียนชีวิตอื่น ดังนั้นเทวีพระองค์นี้จึงเป็นพระเทวีที่สำคัญ

นอกจากเทวีปัทมาวตีแล้ว ยังมีเทพอื่นๆของศาสนาฮินดูกลายเป็นเทพในศาสนาไชน ด้วย เช่น พระแม่ ไชนยักษี อัมพิกา ซึ่งคือพระแม่เคารีในศาสนาเชน หรือพระคเณศ ก็ทรงอยู่ในฐานะ "ยักษะ" หรือเทพเจ้าจำพวกหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ รูปลักษณ์ของพระศาสดาในศาสนาเชนจะมีความคล้ายคลึ่งกับพระพุทธรูปในพุทธศาสนามาก พระศาสดาเหล่านี้เรียกว่า พระตีรถังกร (ในพระบาลีเรียกเดียรถีร์ ) (พระมหาวีร เป็นตีรถังกร พระองค์หนึ่ง ในบรรดาหลายองค์ เช่นพระปารศวนาถ สวามี  พระอาทินาถ สวามี เป็นต้น) ซึ่งมีหลายพระองค์เช่นเดียวกับในศาสนาพุทธ แต่ข้อต่างอย่างสำคัญระหว่าง พระตีรถังกรกับพระพุทธเจ้า คือ พระตีรถังกรมักจะไม่ทรงจีวรหรืออาภรณ์ใดๆ แต่จะมีรูปจักระ หรือดอกไม้อยู่ตามพระวรกาย คนไทยที่ไปเที่ยวอินเดีย มักเข้าใจผิดว่ารูปพระตีรถังกรเหล่านี้ เป็นพระพุทธรูปอยู่เสมอ

ส่วนรูปพระเทวีปัทมาวตี รูปที่เป็นเทวรูปหินอ่อน เป็นเทวีปัทมาวตี ในวัดเชน ชื่อวัดอาทีศวร ในเมืองมุมไบครับ


คิดว่าคนตั้งเขียนเรื่องนี้ คงนำเรื่องพระปัทมาวตีในศาสนาฮินดูมา แล้วเผอิญไปเอารูปพระปัทมาวตีของเชนมาแทน จึงกลัวว่าจะเกิดความสับสน ส่วนรูปข้างบนไม่ใช่พระพุทธเจ้าในฐานะองค์อวตารของพระวิษณุ แต่เป็นพระตีรถึงกร พระศาสดาเชนครับ
ส่วนองค์เทวีที่เรียกว่า ปัทมาวตีของฮินดูที่ผมเคยเห็นภาพจากวัดทางใต้ ก็เป็นเทวีพระลักษมีทรงดอกบัวในพระกรบนทั้งสอง เหมือนที่เราเห้นทั่วๆไปครับ

ในอินเดียไม่ถือเป้นเรื่องเสียหายนะครับที่จะเคารพนบไหว้ พระศาสดาหรือเทพเจ้าของศาสนาอื่นๆ เช่น ไชนะ หรือพระพุทธเจ้า เพราะชาวฮินดูคิดว่า พระศาสนาเหล่านี้ล้วนเกิดภายในอินเดีย ซึ่งจัดเป็น ระบบฮินดู หรือต่างส่งอิทธิพลถึงกัน ฮินดูบางคนก็คิดว่า ศาสนาไชน เป็นส่วนหนึ่ง ของสนาตนธรรม หรือศาสนาฮินดูครับ
#223
แอบมาแถมอีกเรื่องนึง

ที่เวลาชาวอินเดีย เข้าไปเจิแล้วจะนิยมเอามือนึงประคองท้ายทอยไว้

อันนี้เป้นธรรมเนียมที่น่ารักและ เกี่ยวกับเรื่องความสุภาพครับ

โดยปกติ เวลาชาวอินเดียรับของจากพราหมณ์หรือผู้ใหญ่ เค้าจะใช้มือขวาเท่านั้น เพราะมือซ้ายไม่สุภาพ (มือซ้ายไว้ล้างก้น)
โดยเพื่อให้สุภาพขึ้นไปอีก เค้าจะเอามือซ้ายประคองมือขวา  ไม่ว่าจะส่งของหรือรับของมา

จริงๆเมื่อก่อนบ้านเราทำกันแบบนี้แหละครับ ผมยังเห้นผู้ใหญ่ตามต่างจังหวัดยังทำอยู่ เดี๋ยวนี้ลืมกันไปหมดแล้ว

ดังนั้น เมื่อเขาเอา ศีรษะไปให้พราหมณ์เจิม จึงต้องประคองศีรษะไว้ เช่นเดียวกับเวลารับของอ่ะครับ
เป็นการแสดงออกด้วยความสุภาพและความเคารพครับ
#224
แอบมาเติมครับ


การไหว้พระคเณศที่มีการไขว้มือดึงหู และเคาะที่ศีรษะ เป็นท่าไหว้ที่ปแพร่หลายในอินเดียทางภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ครับ
แป็นท่าไหว้เฉพาะพระคเณศเท่านั้น

เรียกว่า "โถปปุกรณัม" ครับ

การดึงหูนั้น เป็นสัญลักษณ์ของการขออภัย หรือการสำนึกความผิด
(ก็เหมือนที่บางคนมักจะโดนท่านภรรยาดึงนั่นแหละครับ)
ซึ่งชาวอินเดียบางคน ก็จะดึงเวลาสวดมนตร์กับเทพองค์อื่นๆ ก็มี (เพื่อสำนึกผิด)
หรือดึงเวลาจะไปง้อผู้หญิง

ส่วนการเคาะศีรษะนั้น มีการอธิบายว่า เพื่อปลุก จักระ หนึ่งในศรีศษะ ที่เชื่อกันว่า เป็นที่ๆพระคเณศประทับอยู่ในร่างกาย เพื่อให้พลังนั้นตื่นขึ้นครับ

นอกจากนี้ยังมีการอธิบายว่า การแสดงท่าโถปปุกรณัม ทำให้พระคเณศขบขัน และทรงพระสรวลแล้วจักระ จะออกมาจากพระโอษฐ์ครับ

อันนี้ก็ว่าตามที่อ่านมานะครับ

อ่อ  ใครอยากรู้เรื่องพระคเณศมากขึ้น ก็อย่าลืมไปร่วมงานสัมนา เรื่องพระคเณศที่ภาควิชาปรัชญาเค้าจัดนะครับ วันที่ 26 นี้ ดูรายละเอียด ให้บอร์ดข่าวประชาสัมพันธ์นะครับ

อิอิ แอบโฆษณาเลย 5555
#225
เท่าที่ได้ข่าวมา เห็นจะจริงนะครับ
งานมีตั้งแต่ 21-23 ครับ เป็นเทวรูปพระคเณศที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างครับ เห็นว่าสมาคมฮินดูสมาชร่วมด้วยครับ
#226
ได้เรยครับ

ยินดีมากครับ
ถ้าจะเอาเทวรูปส่วนตัวมาเข้าพิธี
ควรเอามาวันที่ 24 ส.ค. นะครับ
เสร็จพิธีก็รับพระกลับไปบูชาได้เลยหรือจะ สร้างพระขึ้นมาด้วยวัสดุธรรมทชาติ แล้วจัดบูชาเป็นการส่วนตัว
พอวันสุดท้าย ก็เอามาเข้าขบวนแห่ และร่วมไปวิสรชันท่านที่สระแก้วก็ได้ครับ
#227
ขอเชิญท่านที่มีศรัทธาในองค์พระคเณศและผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานพิธีคเณศจตุรถีตามกำหนดการดังนี้ครับ


กำหนดการ
โครงการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
“ สืบสานประเพณีคเณศจตุรถี ”
พิธีคเณศจตุรถี เฉลิมฉลองวันประสูติพระพิฆเนศวร์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552
ณ มณฑลพิธี บริเวณ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2552  ถึง  วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม  2552

ดำเนินการปั้นเทวรูปพระพิฆเนศวร์สำหรับใช้ในพิธี โดย อาจารย์ชัชวาลย์ วรรณโพธิ์ศิลปินร่วมสมัยชั้นนำ และจัดเตรียมประดับตกแต่งสถานที่ปะรำพิธี(มณฑป)


วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2552  วันคเณศจตุรถี(วันประสูติพระพิฆเนศวร์)

เวลา 13.00 น.   เริ่มพิธีสถาปนา และบูชาพระคเณศตามประเพณีฮินดู

            -สวัตติวาจน สังกัลปะ กลัศสถาปนา ทีปสถาปนา ศังขปูชา
             -อัญเชิญเทวรูปประดิษฐานที่มณฑป  สถาปนาเทวรูป    ปราณประติษฐา
             -บูชาเทวรูป ด้วยอุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน เช่นการสรงด้วยน้ำ อภิเษกเทวรูป

             ถวายอาหาร(ไนเวทยัม) ถวายธูปและประทีป เป็นต้น
เวลา 15.00น.    คเณศจตุรถี กถา  พิธีถวายบูชาอารตี  เสร็จแล้ว ผู้เข้าร่วมพิธีรับพร รับการ

             เจิมและรับประสาท(ของที่ถวายแล้ว)เพื่อเป็นสิริมงคล
เวลา 17.00น.     พิธีสันธยอารตี(เวียนประทีปบูชา)  ร่วมสวดมนตร์ เสร็จแล้วรับพรและ

             ประสาท
*ประกอบพิธีโดยบัณฑิตพรหมานันทะ พราหมณ์อินเดีย

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2552  และ วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2552
เวลา 17.00 น.   พิธีบูชาพระคเณศด้วยปัญจอุปจาระ ทำพิธีสันธยอารตีและร่วมสวดมนตร์  เสร็จ
            แล้วรับพรและประสาท(ของบูชา)เพื่อเป็นสิริมงคล

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552(วัน วิสรชันหรือส่งเสด็จ)

เวลา 15.30 น.   พิธีบูชาพระคเณศด้วย อุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน ทำพิธีมงคลอารตี

เวลา 17.30 น.   แห่เทวรูปไปโดยรอบมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์เริ่ม

            ต้นที่ภาควิชาปรัชญา  และไปสิ้นสุดที่บริเวณสะพานสระแก้ว
เวลา 18.00น.    พิธีอารตี จากนั้นแจกประสาท ประกอบพิธีวิสรชัน(นำเทวรูปลอยลงในสระแก้ว)

            เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีคเณศจตุรถี

ทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ที่24 ส.ค. 2552  เชิญร่วมสวดมนตร์ และพิธีมงคลอารตี  ในเวลา 17.00 น.

ขอเชิญท่านที่สนใจและมีศรัทธาต่อองค์พระพิฆเนศวร์เข้าร่วมพิธีได้ตามวันและเวลาดังกล่าว
สอบถามโทร 034-255096-7 ต่อ 23303 ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


การเดินทาง
1.รถตู้ทับแก้ว -กรุงเทพ
ขึ้นรถที่ปอกุ้งเผา เลยเซ็นทรัลปิ่นเกล้ามานิดหน่อย(หลังศาลพระศิวะ)ราคา 40 บาทต่อเที่ยวรถออกเมื่อเต็ม (ออกไว) รถจะจอดหน้ามหาวิทยาลัย เดินตรงเข้ามาจะถึงคณะอักษรศาสตร์
2.รถบัส กรุงเทพ-ดำเนิน
ขึ้นที่สายใต้ใหม่(สุด)ราคาไม่เกิน30 บาท บอกว่าลงทับแก้ว รถจะจอดหน้ามหาวิทยาลัย
3.รถนครปฐม-กรุงเทพ
ขึ้นที่สายใต้ใหม่ รถจะจอดที่องค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมอไซค์รับจ้างมาอีกประมาณ 20 บาท



ผมโพสไว้ในกระทู้สาระความรู้เรื่องพระคเณศแล้วมาโพสไว้ที่นี้ด้วยครับ

ขออนุญาตนะครับท่านเวปมาสเตอร์
#228
กำหนดการ
โครงการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
“ สืบสานประเพณีคเณศจตุรถี ”
พิธีคเณศจตุรถี เฉลิมฉลองวันประสูติพระพิฆเนศวร์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552
ณ มณฑลพิธี บริเวณ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2552  ถึง  วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม  2552

ดำเนินการปั้นเทวรูปพระพิฆเนศวร์สำหรับใช้ในพิธี โดย อาจารย์ชัชวาลย์ วรรณโพธิ์ศิลปินร่วมสมัยชั้นนำ และจัดเตรียมประดับตกแต่งสถานที่ปะรำพิธี(มณฑป)


วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2552  วันคเณศจตุรถี(วันประสูติพระพิฆเนศวร์)

เวลา 13.00 น.     เริ่มพิธีสถาปนา และบูชาพระคเณศตามประเพณีฮินดู

                    -สวัตติวาจน สังกัลปะ กลัศสถาปนา ทีปสถาปนา ศังขปูชา
                   -อัญเชิญเทวรูปประดิษฐานที่มณฑป  สถาปนาเทวรูป    ปราณประติษฐา
                   -บูชาเทวรูป ด้วยอุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน เช่นการสรงด้วยน้ำ อภิเษกเทวรูป

                     ถวายอาหาร(ไนเวทยัม) ถวายธูปและประทีป เป็นต้น
เวลา 15.00น.      คเณศจตุรถี กถา  พิธีถวายบูชาอารตี  เสร็จแล้ว ผู้เข้าร่วมพิธีรับพร รับการ

                     เจิมและรับประสาท(ของที่ถวายแล้ว)เพื่อเป็นสิริมงคล
เวลา 17.00น.       พิธีสันธยอารตี(เวียนประทีปบูชา)  ร่วมสวดมนตร์ เสร็จแล้วรับพรและ

                     ประสาท
*ประกอบพิธีโดยบัณฑิตพรหมานันทะ พราหมณ์อินเดีย

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2552  และ วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2552
เวลา 17.00 น.     พิธีบูชาพระคเณศด้วยปัญจอุปจาระ ทำพิธีสันธยอารตีและร่วมสวดมนตร์  เสร็จ
                    แล้วรับพรและประสาท(ของบูชา)เพื่อเป็นสิริมงคล

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552(วัน วิสรชันหรือส่งเสด็จ)

เวลา 15.30 น.     พิธีบูชาพระคเณศด้วย อุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน ทำพิธีมงคลอารตี


เวลา 17.30น         เชิญร่วมขบวนแห่องค์พระพิฆเนศวร์  เริ่มขบวนจากภาควิชาปรัชญาไปยัง
                     สระแก้ว เพื่อส่งเสด็จ(ลอยน้ำ) ตามความเชื่อของชาวอินเดีย

เวลา 18.00น.      พิธีอารตี จากนั้นแจกประสาท ประกอบพิธีวิสรชัน(นำเทวรูปลอยลงในสระแก้ว)
                    เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีคเณศจตุรถี



ทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ที่24 ส.ค. 2552  เชิญร่วมสวดมนตร์ และพิธีมงคลอารตี  ในเวลา 17.00 น.



ขอเชิญท่านที่สนใจและมีศรัทธาต่อองค์พระพิฆเนศวร์เข้าร่วมพิธีได้ตามวันและเวลาดังกล่าว
สอบถามโทร 034-255096-7 ต่อ 23303 ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


การเดินทาง
1.รถตู้ทับแก้ว -กรุงเทพ
ขึ้นรถที่ปอกุ้งเผา เลยเซ็นทรัลปิ่นเกล้ามานิดหน่อย(หลังศาลพระศิวะ)ราคา 40 บาทต่อเที่ยวรถออกเมื่อเต็ม (ออกไว) รถจะจอดหน้ามหาวิทยาลัย เดินตรงเข้ามาจะถึงคณะอักษรศาสตร์
2.รถบัส กรุงเทพ-ดำเนิน
ขึ้นที่สายใต้ใหม่(สุด)ราคาไม่เกิน30 บาท บอกว่าลงทับแก้ว รถจะจอดหน้ามหาวิทยาลัย
3.รถนครปฐม-กรุงเทพ
ขึ้นที่สายใต้ใหม่ รถจะจอดที่องค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมอไซค์รับจ้างมาอีกประมาณ 20 บาท



ไม่ทราบว่าประชาสัมพันธ์ได้มั๊ย หรือต้องที่ห้องอื่น

ยังไงถ้าผิดกติกา ท่านเวปมาสเตอร์ย้ายได้ตามสมควรนะครับ

เห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ เรยอยากนำมาเสนอครับ
#229
แล้วไหนๆ พูดถึงเทศกาลคเณศจตุรถีแล้ว
ท่านที่อยากร่วมงานแต่ไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศอินเดียหรือเชียงใหม่ได้

ที่จังหวัดนครปฐม
โดยภาควิชาปรัชญามหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดงานคเณศจตุรถีขึ้นนะครับตามรายละเอียดทางด้านล่างนะครับ
#230
พอดีก๊อปมาจากไฟล์เวิร์ดแล้วมัน
แปลกๆ เรยต้องแก้ไขครับ
#231
ผมหายไปนานด้วยภาระงานการสอนหนังสือ
แต่ช่วงนี้เห็นว่าใกล้เทศกาลคเณศจตุรถีแล้ว จึงนำเอาบทความเล็กๆที่ผมเขียนไว้มาให้ผู้สนใจได้อ่านกัน

ก็ตามเดิมครับ ขอสงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปเผยแพร่ครับ

คเณศจตุรถี(Ganesha Caturthi )
เรียบเรียง โดย ศรีหริทาส

       

             พระพิฆเนศวร์ทรงเป็นที่เคารพสักการะทั้งในประเทศอินเดียและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในประเทศอินเดีย แคว้นที่เคารพพระพิฆเนศวร์เป็นพิเศษ คือแคว้นมหาราษฏร์ ซึ่งครอบคลุมเมืองมุมไบ และเมืองใกล้เคียงอื่นๆ  ดังจะเห็นได้จากจำนวนเทวสถานขององค์พระพิฆเนศวร์จำนวนมากมายในดินแดนแถบนั้น และเทศกาลที่ถือว่าเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุด คือ “ คเณศจตุรถี ”
พิธีคเณศจตุรถี หรือ วินายกจตุรถี( Vinayaka caturthi ) หรือ คเณโศตสวะ( Ganeshotsava ) คือพิธีสักการะพระคเณศ โดยถือว่าเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระองค์ จตุรถี แปลว่า ลำดับที่ 4 ซึ่งหมายถึงวันขึ้น 4 ค่ำ(ศุกลปักษะ จตุรถี)ในเดือนภัทรบท( Bhadrapad )ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งอยู่ในช่วงราวๆกลางเดือนสิงหาคม และกันยายนของทุกปี ในพิธีนี้จะมีการปั้นเทวรูปพระคเณศขึ้นจากวัสดุธรรมชาติเช่นดินเหนียว หรือวัสดุอื่นๆ  ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กไม่กี่นิ้วไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าตึกสองหรือสามชั้น จากนั้นจะสร้าง “ มณฑป( Mandapa ) ” ขึ้น เพื่อประดิษฐานเทวรูปดังกล่าว รูปแบบของมณฑปขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและงบประมาณของเจ้าภาพเป็นสำคัญ ในเทศกาลคเณศจตุรถีบางแห่งมีการประกวดมณฑปและองค์เทวรูปทั้งในเรื่องความคิดสร้างสรรค์และความสวยงาม แม้แต่องค์เทวรูปที่สร้างขึ้นในเทศกาลก็ไม่ได้ถูกกำหนดรูปแบบที่ตายตัวไว้ เราจึงเห็นการสร้างเทวรูปพระคเณศในรูปแบบแปลกๆ เช่น พระคเณศในรูปแบบฮีโร่ในภาพยนตร์ซึ่งจะเห็นๆได้ เฉพาะในเทศกาลนี้เท่านั้น   เมื่อการเตรียมการต่างๆพร้อมแล้ว จะมีการอัญเชิญเทวรูปพระคเณศขึ้นประดิษฐานในมณฑป และเชิญพราหมณ์มาทำพิธี “ ปราณประติษฐา ” หรือการทำให้เทวรูปนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา จากนั้นจะทำการบูชา 16 ขั้นตอนตามหลักศาสนาที่เรียกว่า โษทโศปจาร(อุปจาระทั้ง 16) เช่นการสรงด้วยนม ด้วยน้ำผึ้ง การบูชาด้วย ดอกไม้ และเครื่องบูชาต่างๆ ตามด้วยสวดมนตร์ที่เรียกว่า “ คเณศาถรวศีรษะ ” หรือ คเณศ อุปนิษัท ในคัมภีร์พระเวท และทำการบูชาด้วยประทีป หรือการอารตี เป็นขั้นตอนสุดท้าย นอกจากนี้ชาวฮินดูที่มีศรัทธาจะถือพรตอดอาหารหรือทานแต่มังสวิรัติ ในช่วงเทศกาลจตุรถีอีกด้วย
           การประดิษฐานพระคเณศจะเริ่มประดิษฐานไว้ตั้งแต่วันขึ้น 4 ค่ำ(ศุกล จตุรถี)ไปจนถึงวัน
อนันตะ จตุรทศี หรือวันขึ้น 14 ค่ำ เป็นเวลาทั้งสิ้น 10 วัน ในทุกๆวันจะมีการชุมนุมกันสวดมนตร์ และทำพิธีอารตีในเวลาค่ำ เมื่อถึงวันที่ 11 ที่เรียกว่า พิธีวิสรชัน หรือการส่งเทพเจ้ากลับเทวโลก ในวันนั้น จะมีพิธีการบูชาด้วยอุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน อีกรอบหนึ่ง และจะจัดขบวนแห่ เทวรูปไปตามท้องถนน พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีและการเต้นรำอย่างสนุกสนาน โดยจะมีการร้องตะโกนถวายพระพรแด่พระคเณศ เช่น  “ คณปติ บ๊าปป้า โมรยา !” (พระบิดาคเณศจงเจริญ) มงคล มูรติ โมรยา ! (พระผู้มีรูปมงคลจงเจริญ)ในภาษามาราฐี เป็นต้น และมีการสาดผงสินทูรหรือ ผงอพีระ สีแดง เพื่อเป็นสิริมงคล ไปยังผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน การแห่เทวรูปจะแห่ไปที่ทะเล หรือที่แหล่งน้ำที่อยู่ใกล้  เมื่อถึงชายฝั่งจะมีการทำพิธีอารตีอีกรอบหนึ่ง และ นำเทวรูปนั้นไปลอยลงในทะเลหรือแม่น้ำ เท่ากับ ได้ส่งพระคเณศกลับยัง   เทวโลก นอกจากนี้ชาวอินเดียยังเชื่อว่าการที่เทวรูปนั้นสลายสู่สภาวะเดิม เป็นการแสดงสภาวะของธรรมชาติ และถือว่าทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ต่อการเพาะปลูก เพราะแม่น้ำและดินจะได้รับพรจากองค์เทวรูปที่ได้ผ่านพิธีกรรมไปแล้วด้วย
         ในเชิงประวัติศาสตร์ แต่เดิมเทศกาลคเณศจตุรถีมิได้เป็นเทศกาลที่แพร่หลายระดับรัฐ แต่ในปี ค.ศ. 1893 ท่านพาล คงคาธร ดิลก นักเคลื่อนไหวทางสังคมและนักปฏิรูปสังคมอินเดีย ได้ปรับปรุงพิธีนี้และยกระดับให้เป็นพิธีของรัฐด้วยเห็นว่า พระคเณศนั้นทรงเป็น “ เทพเจ้าของทุกๆคน ” ซึ่งไม่ว่าคนในวรรณะไหนก็สามารถบูชาและเข้าถึงพระองค์ได้ การจัดเทศกาลนี้ก็ถือเป็นการลดช่องว่างระหว่างชนชั้นไปในตัว โดยเฉพาะชนชั้นพราหมณ์และพวกไม่ใช่พราหมณ์ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงการต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษที่ออกกฎไม่ให้มีการชุมนุมกันตามท้องถนน โดยอาศัยการแห่พระคเณศออกมาในวันสุดท้ายของเทศกาล

          พิธีคเณศจตุรถีจึงเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีความร่วมมือร่วมใจที่ต้องอาศัยกำลังของบุคคลในชุมชน ทั้งในส่วนของการจัดเตรียมองค์เทวรูป การสร้างประรำพิธี การจัดพิธีการบูชาและการแห่แหนในวันสุดท้าย  นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอินเดียไปสู่ชาวโลก ชาวอินเดียจึงมีความภาคภูมิใจในเทศกาลนี้มากและนับว่าเป็นเทศกาลที่ชาวต่างชาติรู้จักกันมากที่สุด
             ในประเทศไทย แต่เดิมการจัดพิธีคเณศจตุรถี มักเป็นการจัดกันกลุ่มเล็กๆในหมู่ชาวอินเดีย และไม่ใช่เทศกาลที่แพร่หลายเป็นที่รู้จัก เพราะชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักมาจากรัฐอุตรประเทศ ซึ่งพิธีคเณศจตุรถีไม่ได้เป็นเทศกาลสำคัญของรัฐดังเช่นชาวมาราฐีในแคว้นมหาราษฏร์ มีเพียงองค์กรเดียวของคนไทย คือ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศวร์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดเทศกาลคเณศจตุรถีมาเป็นเวลาหลายปีจนเทศกาลนี้ค่อยๆเป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ แต่กระนั้นในจังหวัดอื่นๆนอกจากกรุงเทพและเชียงใหม่แล้ว ก็ยังไม่มีการจัดพิธีคเณศจตุรถี หากมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นองค์พระคเณศ จัดเทศกาลนี้ขึ้น ก็อาจถือว่าเป็นการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดนครปฐม และเป็นโอกาสที่สำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณี และความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์พระคเณศให้แพร่หลายไปด้วย
#232
ส่วนเรื่อง การให้พระเรื่องความรักนี่ ก็ไม่ทราบว่าใครเป็นคนประดิษฐ์คิดขึ้น เพราะว่า ไม่ว่าจะเป็น พระตรีมูรติ หรือพระสทาศิวเอง ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรเกี่ยวกับความรักเรยครับ ท่านพระราชครูวามเอง ก็เคยปรารภไว้ในหนังสือพิมพ์หนึ่งว่า นี่เป้นความเข้าใจที่ผิดครับ

สงสัยเพราะสมัยก่อน เค้าทาผนังศาลท่านสีแดง ก็เรยต้องเอาอะไรแดงๆบูชาอ่ะครับ แล้วสีแดงมันก็สีดอกกุหลาบ ดอกกุหลาบมันก็ความรักนี่(ได้ข่าวว่าเป็นวัฒนธรรมฝรั่ง ดอกกุหลาบแทนความรัก 5555)ก็เลยท่านไปเกี่ยวกับความรักไปเรย    เหอเหอ
#233
เรื่องพระตรีที่เวิร์ลเทรด ผมได้เคยนำลงไว้ในบอร์ดเก่าแล้วนะครับ

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจเรื่องตรีมูรติก่อนนะครับ
ตรีมูรตินั้นแปลว่า สามรูป ซึ่งมิใช่ชื่อของเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษ แต่เป็นทฤษฎ๊การแบ่งหน้าที่ ของเทพเจ้าสูงสุด(อีศวรหรือสคุณพรหมัน)ซึ่งในปรัชญาอินเดีย ถือว่า พระเจ้าสูงสุดนั้น ได้ปรากฏออกมาในสามลักษณธ เพื่อกระทำหน้าที่ สามอย่าง คือ สรรค์สร้าง รักษา และทำลาย คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ และพระศิวะ ตามลำดับ
ตรีมูรติ จึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นรูปเคารพ แบบสามองค์รวมกัน แต่จะแยกเป็นสามองค์เลยก็ได้ หรือในบางครั้ง ก็มีคการ เอารูปเคารพทั้งสามองค์มารวมเป้นองค์เดียวซึ่งปรากฏในหลายลักษณะ เช่นในอินเดียที่มีสามพระเศียร หรือพระศิวเอกบาทในไศวนิกาย ในศิวลึงค์บางรูปแบบ หรือหากศึกษารูปเคารพในศิลปะเขมร จะพบว่ามีการทำรูปเคารพสามองค์ โดยมีเทพเจ้าที่เคารพตามนิกายอยู่ตรงกลาง เช่นพระศิวะ และมีเทพเจ้าเล็กๆสององค์งอกออกมาจากด้านข้าง เป็นต้น

นอกจากนี้ ในบางท้องถิ่น ยังมีการถือว่า คุรุในสมัยโบราณบางท่านเป้นพระตรีมูรติ เช่น ท่านคุรุทัตตเตรยะ ซึ่งเดิมเป็นเทวตำนานที่แพร่หลายเฉพาะในแคว้นมหาราษฏร์เท่านั้น ให้กลายมาเป้ยองค์อวตารของพระตรีมูรติ และมีการโฆษณาอย่างแพร่หลาย เช่นในสื่อโทรทัศน์หรือสิ่งพิมพ์  ในนิกายสมารตะก็จะถือว่าพระคุรุทัตตาเตรยะ เป็นผู้สืบทอดคำสอนในสายอไทฺวตะเวทานตะ และ เป็นผู้รจนาคัมภีร์อวฑูตคีตาด้วย เรื่องราวของพระคุรุทัตตเตรยะ ปรากฏในเรื่อง คุรุจริต ครับ

ส่วนเรื่องพระตรีมูรติที่เวิลเทรดอย่างนี้ครับ
ผมก็ได้ยินมา อย่างที่ได้เล่าไว้อ่ะครับเรื่องที่ท่านพระราชครูวามท่านปฏิเสธในการทำพิธ๊ (ซึ่งเป็นสิ่งที่เหล่าพราหมณ์ในราชสำนักถือปฏิบัติว่าจะไม่ทำพิธีที่ผิดแบบแผน และ เทพเจ้าไม่ถูกต้อง)


และถ้าเราพิจารณาจากปฏิมาณวิทยา ของรูปเคารพที่เราเรียกกันว่าพระตรีมูรติที่เวิร์ลเทรดนะครับ
จะเห็นได้ว่า เป็นเทวรูปที่มี 5 พระเศียร และที่พระนลาฏจะปรากฏพระเนตรที่สาม ซึงถ้าประมวลจากลักษณะดังกล่าวจะพบว่า
เป็นพระ ปัญจมุขีศิวะ หรือพระ สทาศิวะ ครับ
ในคัมภีร์และบทสรรเสริญต่างๆ จะมีการบรรยายไว้เสมอว่า พระศิวะ ทรงมีห้าพระเศียร(ปัญจวักตระ) ซึ่งเป้นลักษณะเฉพาะของพระศิวะ รวมทั้งการมีพระเนตรที่พระนลาฏนั้น นอกจากพระศิวะ แล้ว ก็มักจะปรากฏในเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องกับพระศิวะ และพระแม่ศักติในลัทธิตันตระเท่านั้นครับ
และหากเราศึกษารูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ฮินดูในเขมร เราจะพบเทวรูปในลักษณะนี้อยู่ครับ ดังตัวอย่าง เช่น ที่ปรากฏในวัดภู จำปาสัก ซึ่งเป็นรูปพระตรีมูรติที่มีสามองค์แยกจากกันครับ

เท่าที่ทราบข้อมูลมาอีก คือรูปพระสทาศิวะ(ที่เรียกกันว่าพระตรีมูรติ)นี้ แต่เดิมเป้นรูปเคารพอยู่ที่วังเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้างเวิร์ลเทรดในปัจจุบันครับ แต่ได้มีการสร้างขึ้นใหม่ครับ แต่ไหงกลายเป็นพระตรีไปไม่รู้ เพราะใครก็ไม่ทราบ


โดยสรุปที่เวิลล์เทรดคือ พระสทาศิวะ หรือพระศิวปัญจมุขีครับ จะเป็นพระตรีมูรติก็ต้องมีรูปพระวิษณุและพระพรหมด้วยครับถึงจะเรียกว่าพระตรีมูรติได้

นอกจากนี้ ผมได้รับฟังมาจากท่านพระครูญาณสยมภูว์(พราหมณ์ขจร นาคเวทิน)ว่า เมอื่ตอนพระเจ้าอยู่หัวท่านเสด็จงานงานเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร ได้ถวายเทวรูปพระตรีมูรติ(แบบของเวิลล์เทรด) พระองค์ท่านทอดพระเนตรแล้วตรัสว่า "นี่พระตรีมูรติหรือ" คือพระองค์ท่านทรงทราบว่า ที่จริงแล้วพระตรีมูรติเป็นอย่างไรที่ถูกต้อง เพราะทางคณะพราหมณ์ได้เคยถวายเทวรูปพระทัตตาเตรยะ ทองคำ นานมาแล้ว ครับ เล่ากันว่า ผู้บริหารกรุงเทพทำหน้าเลิ่กลั่กกันใหญ่ครับ
#234
คุณสวีตตี้ ขออภัยด้วยนะครับ ....รูปอื่นๆสวยๆมีเย๊อะแยะ นำมาให้เพื่อนๆชมแทนแล้วกันครับ

ผมต้องรีบไปรีบกลับ เพราะมีงานตอนเช้า เลยไม่ได้อยู่ร่วมพิธี ยังไงก็ขอพระพรพระศิวเจ้าอวยพระพรทุกท่านครับ
#235
การถวายบูชา 108 พระนาม (อษฺโฏตรศตนาม)
จะทำหลังจากถวาย สรง ถวายวัสตระ(หรือผ้าทรง) และ เจิมผงจันทน์(จนฺทนหรือคนฺธมฺ)แล้วครับ จึงถวาย 108 พระนาม และมาลาต่อไป
#236
ครับ

การถวายบูชานั้นก็ทำตามแบบที่เรียกว่า โษฑศอุปจาระ หรือการบูชาทั้ง 16 ขั้นตอนเหมือนกับบูชาเทพเจ้าอื่นๆนั่นแหละครับ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ก็ทำบูชาด้วย ปญฺโจปจาระ 5 ขั้นตอน ลองไปค้นที่เคยเขียนไว้นะครับ

ส่วนของที่ใช้สรงนั้น ก็ประกอบด้วย ปญฺจามฤต หรืออํมฤตทั้ง 5 นม เนย น้ำตาล ฯลฯ น้ำสะอาด น้ำหอม น้ำคงคา
เวลาทำอภิเษกจะใช้นมหรือน้ำสะอาดก็ได้ครับ ไม่เคยเห็นว่ามีการถวายด้วยน้ำมะตูม (แต่ในหนังสือของท่านพระคุณเจ้าสวามีศิเวนทรปุรีบอกว่า มีการถวายสรงด้วยน้ำผสมกับเมล็ดงาดำ เรียกว่าติลาน แต่มักไม่ใคร่จะได้สรงเท่าไหร่) ส่วนจะถวายผลมะตูมก็สมารถถวายได้ครับ

การถวาย 108 พระนามสามารถถวายสิ่งใดก็ได้ครับ 108 สิ่ง ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้หรือผลไม้ แต่มักนิยมถวายสิ่งที่เชื่อกันว่าพระเป็นเจ้าเหล่านั้นโปรดปราน เช่น ถวายใบมะตูม 108 ใบแด่พระศิวะ ถวายใบกระเพรา 108 ใบแก่พระนารายณ์เป็นต้น

จริงๆแล้วไปทำบูชาที่วัดจะสะดวกกว่า และได้ฟังพระเวทด้วยนะครับ ถือเป็นโอกาสที่ดีครับ
#237
โอมฺ นมะ ศิวาย


สวัสดีครับทุกท่าน ผมมีข่าวจะนำมาแจ้งบอกครับ
ในวันที่ 23 ก.พ. 52 นี้ ตรงกับวันมหาศิวราตรี ครับ

ใน 1 ปีจะมีมหาศิวราตรีเพียงวันเดียว คือวัน แรม 14 ค่ำของเดือน ผาลคุน ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 23 ก.พ. ของประเทศไทย

ถือเป็นวันมหาพรตวันหนึ่ง

ในวันนี้ ศาสนิกชนควรไป ทรรศัน(ไปเยี่ยมชม นมัสการ)พระศิวลึงค์ยังเทวสถานต่างๆ
และในวันนี้เป็นวันพรตครับ
ผู้ที่เคร่งครัด ตั้งใจจะถือพรต จะไม่รับประทานอาหารเลยนับแต่อาทิตย์ขึ้นในวันที่ 23 ไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น ในวันที่ 24 หรือหลังจากได้รับประสาท หรือของที่ได้รับจากการถวายบูชาแล้ว
แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องสุขภาพ ก็ควรดื่มนมเล็กน้อย หรือ ผลไม้เล็กน้อย

ท่านควรภาวนาปญฺจากฺษรมนตร์ หรือ ศฑกฺษรมนตร์ (โอมฺ นมะ ศิวาย)ตลอดทั้งวันและราตรี

และตามเทวสถานจะมีการถวายบูชา ตลอดทั้งราตรี


นอกจากท่านที่จะถือพรตตามศรัทธาแล้ว

วัดเทพมณเฑียรสมาคมฮินดูสมาช เสาชิงช้า จะจัดการบูชาในวันศิวราตรี

เริ่ม 19.00 น. สันธยอารตี(อารตีประจำวัน)
จากนั้นเริ่มการบูชาพระศิวลึงค์ และทำรุทราภิเษก สวดรุทราษฏาธยายีในคัมภีร์ยชุรเวท ไปสิ้นสุดที่เวลาประมาณ 23.00น.
จากนั้นอารตีมหาศิวราตรี และ ขับร้องภชัน สิ้นสุดที่เวลาประมาณ 24.00น.(ปีนี้ทำบูชารอบเดียว)

ท่านที่สนใจสามารถไปร่วมการบูชาได้

หากท่านประสงค์จะนำศิวลึงค์ไปบูชาในพิธีโปรดนำสิ่งของบูชาไปเอง และควรไปก่อนเวลา 18.00น.

ของที่ต้องนำไป
1.พระศิวลึงค์
2.ถาดที่สามารถรองรับน้ำสรงได้ ถาดใส่อุปกรณ์ต่างๆ ที่สรงน้ำที่เป็นรูปปากโค หรือ หม้อสรงน้ำเจาะรู สำหรับทำอภืเษก
3.หม้อหรือแก้วใส่น้ำพร้อมช้อน
4.ดอกไม้มี ดาวเรือง กุหลาบ มะลิหรือจำปี บัวแดง พวงมาลัย 2 พวง
5.นม จำนวนให้พอสรง ประมาณ 2 ลิตร
6.โยเกิร์ตธรรมชาติ 1 ถ้วย
7.น้ำผึ้ง 1 ขวด หรือหลอด
8.ฆี เนยอินเดีย 1 กระป๋อง หรือเนยสดละลาย
9.น้ำอ้อย 1 ขวด
10.น้ำหอม ที่ยังไม่ใช้ 1 ขวด
11.ผงสินทูร สีส้ม ผงกุงกุม สีแดง ผงอบีระ ผงวิภูติหรือภาสมะ (พาหุรัดมีขายทุกสิ่ง)
12.ข้าวสารย้อมผงสินทูรหรือกุงกุม  1ถ้วยย
13.สายยัชโญปวีต(ถ้าไม่มีทางวัดมีแจก)
14.สายสิญจน์แขก(รักษี) สีแดง 1 ม้วน
15.ขนมอินเดีย ผลไม้ต่างๆ และมะพร้าว 1 ลูก
17.ธูปหอม
18.การบูรอารตี(ทางวัดมีให้)
19.หมากพลู กานพลูและกระวานแขก
20.ผ้าทรงของพระศิวลึงค์(ถ้ามี)
21.เงินบูชา ตามกำลังศรัทธา
22.ใบมะตูม(ขาดไม่ได้ -บางครั้งทางวัดนำมาแจก)

แต่ถ้าท่านไม่นำศิวลึงค์ไปบูชาเอง ก็สามารถไปร่วมการบูชาของทางวัดได้ โดยอาจนำไปเพียงนมและดอกไม้ ก็ได้

ขอพระศิวอวยพระพรทุกท่าน
#238
เด๋วว่างๆจะมาตอบนะครับ

ช่วงนี้ยุ่งมากมาย
#239
สวัสดีครับทุกท่าน

ว่างๆก็คงแวะวเวียนมาตอบตามอัตภาพครับ

สวัสดีครับคุณกระบี้น้อย

งานผมยุ่งมากมายเพราะว่าช่วงนี้ก็ใกล้สอบแล้ว ต้องรีบตรวจงานนักศึกษาให้ทันอ่ะครับ
ยังไงก็รักษาสุขภาพนะครับทุกท่าน
#240
[HIGHLIGHT=#632423]สุขสันต์วันเกิดครับคุณลองภูมิ มีความสุขมากๆครับ[/HIGHLIGHT]