Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - โอม กาลี โอม

#41
อยู่แถว ๆ ปากคลองตลาด (เดินมานิดนึงก็ถึงพาหุรัด)

ถ้ามาปากคลองถูก (ถ้าจำไม่ผิด ก็น่าจะมี สาย ๘ ที่มาถึงปากคลอง) แล้วถามคนแถวนั้นดูว่า จะเดินมาอินเดียเอ็มโพเรียม อย่างไร จริง ๆ ก็ ไม่ยากครับ

แล้วลองเดินดู ข้าง ๆ ห้างอินเดียเอ็มโพเรียม ด้วยนะครับ ตรงข้าง ๆ ห้างจะมีตึกแถว เข้าไปอีกหลายร้าน
#42
ผมว่า ถ้ามีเวลา และสะดวก ลองเดินดูดีกว่านะครับ เพราะที่นี่ ไม่อนุญาต ให้มีการ ประชาสัมพันธ์ หรือ จำหน่ายวัตถุมงคล ใด ๆ

แนะนำว่าถ้าอยากได้งานไทย ลองดูที่วัดราชนัดดา (ตรงสะพานผ่านฟ้า)

ถ้าอยากได้แบบงานอินเดีย ก็ที่พาหุรัดครับ

ทั้งสองที่นี้ มีหลายร้าน เลย เดินดู แล้วเช็คราคาก่อน แล้วค่อยตัดสินใจก็ได้ครับ

ในกรณีที่ไม่ได้อยู่กรุงเทพ ลองดูตามร้านขายสังฆภัณฑ์ ครับ เดี๋ยวนี้ก็มีหลายร้าน แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นงานไทย (แบบวัดราชนัดดา) และราคาอาจจะสูงกว่า
#43
ลองเดิอน ดู ครับ ปีที่แล้ว ผมได้ งาน แบบเดียวกันมา 3 องค์ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ต้องเดินดูเพราะความชอบของแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ
#44
ทำได้ครับ ถ้าสมองอันน้อยนิด จำไม่ผิด เรียกว่า อลังกาลั่ม ครับ
#45
Quote from: bugbon on March 26, 2012, 14:36:32
สอบถามผู้รู้ครับ

อยากทราบว่านอกจาผ่าส่าหรีแล้ว จะสามารถใช้ผ้าไหมของไทยนุ่งถวายได้มั้ยครับ


ไม่ได้รู้อะไรมาก แต่ อยากตอบนะครับ

จริง ๆ ผมว่า สามารถทำได้ครับ

เพราะผมว่า กำลัง จะไปผ้าลายไทย มาห่มให้เทวรูปอยู่เหมือนกัน
#46
ยินดีต้อนรับครับผม
#47
ตามความเข้าใจของผม น้ำตาลทรายแดง กับน้ำตาลทรายขาว นั้นทำมาจากน้ำอ้อยเช่นเดียวกันครับ

ต่างกันที่ ฟอกขาว หรือไม่ได้ฟอกขาวครับ
#48
น้ำมันเนย หรือ GHEE หรือ ฆี มีขายที่พาหุรัดครับ กระป๋องสีเขียว ๆ กระป๋ิิองประมาณ 1KG หรือ น้อยกว่านั้นนิดหน่อย อยู่ที่ 350-380 บาท แล้วแต่ร้านครับ
น้ำตาลที่เคยเห็นใช้ก็ น้ำตาลทรายบ้านเรา นี่แหละครับ

ผิดพลาดประการใด ขออภัยล่วงหน้าครับ
#49
ขออภัยตอบผิดคำถามครับ

ปล. ถ้าบนห้าง ไม่แน่ใจว่าจะเป็นชั้น 4 ที่ขายอาหาร หรือเปล่านะครับ เพราะ มีร้านอาหารอินเดีย อยู่ข้างบนด้วย แต่ชั้น 1-3 นี่ ผมไม่เคยเจอ นอกจาก ช่วงมีงาน บางครั้ง ก็ จะมีร้านขนมอินเดีย มาขายครับ
#50
Quote from: กาลิทัส on February 01, 2012, 09:20:15
เศียรพระกาลีแบบของน้องเจ้าของกระทู้ ปัจจุบันมีงานลักษณะนี้อยู่ที่วัดราชนัดดาแล้วครับผมเพิ่งสังเกตุเห็นเมื่อเดือนที่แล้วนี้เองครับ แต่ความละเอียดของเนื้องานผมคิดว่ายังไม่เท่าของน้องเจ้าของกระทู้ครับ

เดินที่วัดราชฯ เห็นมาสักระยะนึงแล้วครับ

Quote from: shaya on January 31, 2012, 18:16:09
เศียรพระแม่แปลกดีค่ะ แบบว่าไม่เคยเห็น

เป็นงานสั่้งทำน่ะครับ ช่างที่ทำก็ไม่เคยทำมาก่อน แต่ก็หารูปให้ช่างดูครับ
#51
ทำพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา โบสถ์พราหมณ์ และองค์การศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ในประเทศไทย ร่วมกันจัดพิธีเสกน้ำเทพมนต์ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวันที่ ๒๘ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

พิธีนี้ตามคติพราหมณ์ ถือว่าการได้อาบน้ำเทพมนต์ หรือ พุทธมนต์ ในวาระสำคัญต่าง เป็นมงคลแก่ตัวผู้อาบ น้ำคือพระแม่คงคาเมื่อได้ทำ การสวดสรรเสริญ สาธยายมนต์ พระเวทย์แล้วนั้น บังเกิดเป็นน้ำศักสิทธิ์ ผู้ที่รับน้ำจากการพรมหรืออาบย่อมเกิดเป็นสิริมงคล ดังนั้น ในวาระอันสำคัญนี้ จึงได้มีพิธีเสกน้ำศักสิทธิ์ ทั้งทางเทพมนต์และพุทธมนต์

ถวายในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ มีการรวมน้ำทั้ง ๒ ที่วัดพระเชตุพนฯ เริ่มตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น.เป็นต้นไป และจะนำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น. เป็นต้นไป
#52
       โดยปกติทางขนบธรรมเนียมแล้ว การศึกษาภารตนาฏยัม จนจบ มารคัม (ชนิดการแสดงทั้งหมด) นั้นจะต้องใช้เวลาประมาณ ๖ ถึง ๗ ปี โดยในระบบการศึกษาแต่โบราณ ผู้ปกครองจะต้อง พานักเรียน ไปมอบตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์ในสำนักเรียนภารตนาฏยัม จากนั้นนักเรียนจะต้องเคารพแล้วรับใช้อาจารย์ของตน พร้อมไปกับการเรียนพื้นฐานของภารตนาฏยัม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว อาจารย์ผู้สอนภารตนาฏยัมแต่ละท่านนั้นมีเอกลักษณ์ และวิธีการเต็นพื้นฐานที่เรียกว่า อะดาวู้ เป็นของตนเอง ฉะนั้นอาจารย์ผู้สอนจะไม่รู้สึกพอใจหากศิษย์ของตนจะไปเรียนที่สำนักของอาจารย์ภารตนาฏยัมท่านอื่นควบคู่ไปด้วย นอกจากท่านเองจะเป็นผู้เห็นควรว่าศิษย์ของท่านจะต้องเรียนสิ่งใดเพิ่มเติม ที่ท่านไม่ถนัดหรือไม่รู้ ท่านอาจารย์ก็จะเป็นคนพาเราไปฝากยังสำนักของเพื่อนของท่านที่ท่านรู้จักดีให้เอง ฉะนั้นศิษย์จึงไม่สามารถทำสิ่งใดอันเป็นสิ่งที่ข้ามหน้าข้ามตาท่านได้

      ส่วนบทเพลงที่ใช้ประกอบการเต้นรำ ภารตนาฏยัมนั้น คือ เพลงกรรณาติก ซึ่งแพร่หลายอยู่ในอินเดียใต้มีการใช้ตาลัม ที่รัดกุมในการร้องเพลง และตีกลองสองหน้าที่เรียกว่า มฤคตังคัม มีการใช้เครื่องดนตรี สรัสวดี วีณา(จะเข้ อินเดีย) , ไวโอลิน , และฉิ่ง ต่อหางถือยาว ที่เรียกว่า นาฏฏุวังคัม ฯลฯ ซึ่งโดยมากเป็นการร้องและแสดงสด ซึ่งบทเพลงกรรณาติกที่ไพเราะนั้นจะถูกถ่ายทอดอย่างวิจิตรไพเราะเป็นมหัสจรรย์ด้วย มธุระ ภักติ คือความจงรักภักดีต่อพระเป็นเจ้า ทั้งหลายในศาสนาฮินดู ที่ถูกถ่ายทอดมาเป็นบทเพลงอันศักดิ์สิทธิ์

      ซึ่งการแสดงภารตนาฏยัม  เริ่มนิยมเป็น การระบำ ประกอบการแสดงละคร เพื่อแสดงพระเกียรติหรือสรรเสริญ พระเจ้า ที่เรียกว่านาฏกรรม ด้วยเทวทาสี ทั้งหลายนั้นสามารถนับย้อนหลังไปได้ถึงยุคโจฬะ ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียใต้

     การแสดงเต้นภารตนาฏยัมในสมัยโบราณมักแสดงโดย เทวทาสี สาวนักเต้นบูชาพระเจ้า ที่อาศัยอยู่ตามวัดศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในอินเดีย โดยที่ผู้ทำหน้าที่คุมจังหวะที่เรียกว่า นาฏฏุวนัร นั้นจะเป็นชาย ผู้เป็นเกจิอาจารย์ ด้านการดนตรีกรรณาติก ซึ่งมีวัฒนธรรมการสืบทอดจากพ่อสู่ลูกเป็นลำดับไป ซึ่งเอกลักษณ์และรูปแบบ ของสำนักดนตรีกรรณาติก นั้นบ้างตระกูลก็มีการรู้จักกันมาในนามของชื่อของสถานที่หมู่บ้าน ท้องถิ่นเดิม ที่บรรพบุรุษของเขาได้เคยอาศัย เช่น ปะนิส ซึ่งแตกแขนงมากมายเป็น ตระกูลของนักดนตรีกรรณาติกต่างๆที่มีชื่อเสียงเช่น ปัณฑะนัลลุร ปะนิส, ตัณจาวุร ปะนิส, วาฬุวัร ปะนิส, กาญจี ปะนิส ฯลฯ จนถึงยุคเริ่มต้นของ คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ วงดนตรี ที่เคยยืนๆนั่งๆอยู่เบื่องหลังของ นักแสดงภารตนาฏยัม ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปสู่มุมซ้ายมือบนเวทีแสดง และนั่งลงอย่างเป็นระเบียบ พร้อมกับฉากหลังการแสดงที่สวยงาม ด้วยการปฏิวัติทางศิลปะนาฏกรรมการแสดงในสมัยยุคฟื้นฟูภารตนาฏยัมถึงยุคปัจจุบัน

     สำหรับการแต่งการนั้นเป็นประเพณีนิยมที่สืบทอดมาจาก เทวทาสี ทั้งหลายแต่ครั้งโบราณ มีการใส่เสื้อแขนกระบอกเปิดพุง และนุ่ง สารี ที่เป็นผ้าไหมหรือฝ้ายทับ พันรอบตัวและจับจีบมาผูกที่เอว มีการนุ่งผ้าปิดท้าย แล้วคาดเข็มขัดทอง หรือโลหะเคลือบสีท้องทับ จากนั้นนักแสดงภารตนาฏยัมจะต้อง ประดับตนเองด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย เช่น บนศรีษะ(ตะไลสะมัน) จะต้องติดเข็มกลัดเพชรพลอย ประดิษฐ์เป็นรูปพระจันทร และพระอาทิตย์ ซ้ายขวา ตรงกอบหน้า มีการสวมเครื่องประดับเป็นสร้อยมีตุ้มห้อยย้อยไปด้านหลัง ถึงหางเปี้ย และมีตุ้มห้อยตรงกลางเรียกว่า ระโกดี  จากนั้นจะต้องมวยผมหรือใช้ผมปลอมประดิษฐ์เป็นมวย และติดเข็มกลัดตรงยอดมวยที่เรียกว่า กันจะลัม แล้วจึงนำมาลัยดอกมะลิ หรือดอกไม้ประดิษฐ์มาพันรอบมวยผม ต่อจากมวยผมจะต้องถึกเปี้ย หรือใช้เปี้ยปลอม ที่ติดด้วยเข็มกลัด เป็นปล้องๆของเปี้ยไป ประมาณเจ็ดเข็มกลัด ใหญ่เล็กไปตามลำดับ ซึ่งเข็มกลัดที่ติดบนเปี้ยทั้งเจ็ดนี้ นักวิชาการบางท่านอธิบายว่า เป็นตัวแทนของ สัปตจักร ฐานแห่งพลังทั้งหลายในลัทธิโยคะ จากนั้นจึงมีการสวมต่างหูตุ้มเป้นรูประฆัง สวมกำไลมือ และสร้อยคอแบบสั้นรัดคอ กับสร้อยคอยาวห้อยมาที่อก จากนั้นจึงใส่กำไลข้อมือ พาหุรัด รัดแขน แหวน ฯลฯ จากนั้นจึงไปกราบอาจารย์ผู้สอนก่อนที่จะขึ้นแสดง หลังจากอาจารย์ให้พรแล้วจึงสวม สะลังไก คือกระพรวน ที่เย็นเป็นแผงสี่ ถึงหกแถว ติดกับหนังตัดเป็นเข็มขัดใหญ่ใช้รัดเท้าทั้งสองข้างเพื่อทำให้เกิดเสียงดังเวลาเต้น สำหรับผู้ที่เริ่มแสดงเป็นครั้งแรก จะต้องมอบ สะลังไกให้อาจารย์ผู้สอนกลับไปสวดบูชาที่บ้านของอาจารย์เองที่บ้านอาจารย์ หลังจากนั้นเมื่อวันแสดงจึงมากราบอาจารย์รับสะลังไก ไปใส่พร้อมกับพรที่อาจารย์ให้ก่อนขึ้นแสดง


       สำหรับการแสดงภารตนาฏยัมนั้น มีการแสดงอารมณ์ เรียกว่า นวรส คือรสทั้ง ๙ คือ

       ๑. วีระ-กล้า
       ๒. กรุณา-เมตตา
       ๓. ศฤงคาร-รัก
       ๔. อัทภูตะ-ประหลาดใจ
       ๕. หาสยะ-ขบขัน
       ๖. ภยานกะ-กลัว
       ๗. รุทระ-โกรธ
       ๘. พีภัตสะ-เกลียด
       ๙. ศานตะ-สงบ
#53
ภารตนาฏยัมคืออะไร

ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม

โดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล

(อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก ศูนย์สันสกฤต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
)


การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ

         การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น  มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง จากชัยชนะจากสงคราม การบูชาพระเจ้า ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก ฉะนั้นการเต้นรำจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และมีความเป็นสากลเช่นเดียวกับเพลงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับการเต็นรำเหล่านั้น

      ศิลปะการร้องเพลงและเต็นรำ เป็นสิ่งที่พัฒนาควบคู่กัน ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ในแต่ละชนชาติและลักษณะที่เป็นสากลทั้งหลาย โดยธรรมชาติ และธรรมชาติคือ ครูที่ยิ่งใหญ่และแท้จริงที่สุดของมนุษย์ เป็นผู้สนให้มนุษย์ รู้จักการจังหวะ และความไพเราะ ดังเช่น เสียงของลม เสียงของสายฝน เสียงของน้ำไหล ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นจังหวะดนตรี และดนตรีในที่สุด สัญนิฐานว่า ณ เวลาที่ดนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ในทันทีการเต็นรำก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย โดยการเต้นรำที่พัฒนาในแต่ละท้องถิ่น นั้นคือการเต้นรำส่วนการเต็นรำที่ถือได้ว่ามีแบบแผน และเป็นนาฏศิลป์ร่วมสมัย นั้นคือ การเต้นรำร่วมสมัย

      ลัทธิความเชื่ออันเป็นวัฒนธรรมของอินเดียหลักที่สำคัญ สองอย่างคือ ไศวนิกาย และไวษณวนิกาย ที่เน้นย้ำถึงความภักดีในพระเป็นเจ้า ได้ส่งอิทธิพลต่อ บทเพลงทั้งหลายและการเต้นรำชนิดต่างๆของอินเดีย ดังนั้น การเต้นรำอันศักดิ์สิทธิ์ได้จัดแสดงแล้วในสถานที่บูชาทั้งหลายทั้งปวงมากมายในประเทศอินเดีย โดย ประวัติศาสตร์การศึกษาด้านการเต้นรำของอินเดียนั้นส่วนมาก ได้ถูกบันทึกอยู่ในรูปของตำราสันสกฤตทั้งหลาย และตำราที่เก่าที่สุดคือ ตำราภารตนาฏยศาสตร์ ซึ่งน่าจะแต่งขึ้นราวๆ ก่อนคริสศตวรรษที่ ๓

      นอกจากนี้ต้นฉบับหลักฐานที่เก่าที่สุดปรากฏอยู่ในทาง ทมิฬนาดู นั้นให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การศึกษาด้านดนตรี,การเต้นรำ และนาฏกรรมการละครนั้น อยู่ในยุค สังคัม ในยุคนั้นงานเขียนทั้งหลายในภาษาทมิฬที่เกี่ยวกับ การศึกษาด้านดนตรี และการเต้นรำ ปรากฏอยู่มากมาย เช่น ตำรากูถานู้ล, ตำราอินทรกาลิยัม,ตำราสยันถัม,ตำราอีไสนุนุกัม,ตำราอคถิยัม เป็นต้น ซึ่งได้ปรากฏแล้วในยุคทองแห่งศิลปวัฒนธรรม คือ ยุคสังคัม ของอินเดียใต้  โดยเฉพาะในทางทมิฬนาดู มหากาพย์อันเป็นที่รู้จักดี ศิลปธิการัม ได้ถูกประพันธ์แล้วโดยกวีที่ยิ่งใหญ่ชาวพุทธิ ได้ให้ข้อมูลและอ้างอิงถึง ศิลปะนาฏกรรมการแสดง (นาฏกัม) การเล่นเครื่องดนตรีเช่นพิณ(อียาล) และการศึกษาด้านดนตรี(อีไส) ในสมัยที่พุทธศาสนายังประดิษฐานและเป็นที่นับถืออย่างยิ่งในอินเดียใต้สืบต่อจากยุคสังคัมนั้น

       ในภาษาทมิฬ การเต้นรำ ถูกเรียกว่า กูถุ หรือ อาดัล จากนั้นเมื่อการเต็นรำเพื่อบูชาพระเป็นเจ้า เปลียนมาเป็นการเต็นรำเพื่อความบันเทิงในพระราชวังแล้ว มันจึงถูกเรียกว่า สะดิร ซึ่งปรากฏในยุคเริ่มต้นของ ศตวรรษที่ ๒๐ , และต่อมา สะดิร นี้เอง ได้ถูกอ้างอิงกล่าวถึงในฐานะที่มาของ ภารตนาฏยัม

      คำว่า ภารตนาฏยัม นั้นมีที่มาจาก ภา หมายถึง ภาวัม(อารมณ์ร่วมที่ได้รับจากการแสดงนาฏกรรม), ร หมายถึง ราคัม (ความสูงต่ำของการเรียงตัวกันของกลุ่มตัวโน๊ต ที่กำกับด้วยบันได้เสียง ที่แตกต่างกันในแต่ละบทเพลง) และ ตะ หมายถึง ตาลัม (จังหวะการตีลงจังหวะของแต่ละเพลง) ฉะนั้นการเต้นรำ คือ นาฏยัม นั้นที่ประกอบไปด้วยองค์รวมของ ภาวะ,ราคะ,ตาลัม ก็คือ ภารตนาฏยัม

      ภารตนาฏยัม เป็น ศิลปะ นาฏกรรม ที่มีความหลากหลายรูปแบบ และไม่มีขีดจำกัดของการประยุกต์ใช้เอกลักษณ์รูปแบบการเต้นเฉพาะตนที่คิดขึ้นเองของแต่ละสำนักเรียนภารตนาฏยัม ซึ่งมีการมุ่งเน้นเอกลักษณ์และจุดเด็นทางการแสดงที่ต่างกัน ของ นฤตติ (ท้วงท่าในการเต็น), นฤติยา(การแสดงให้อารมณ์ความรู้สึก) และ นาฏยะ(ศิลปะการละคร)

      ลักษณะเฉพาะของภารตนาฏยัม คือการยืนเต้นย่อเข่า ลงต่ำกว่าส่วนสูงของตนเองครึ่งหนึ่ง ที่มวยจีนเรียกว่า การนั่งท่านั่งม้า แต่ในภารตนาฏยัม เรียกว่า อรถะมันฑี และท่าเต็นพื้นฐานต่างๆอันสอดคล้องกับจังหวะการตี ตาลัม ทั้งหลายที่เรียกว่า อะดาวู้ และเมื่อนำอะดาวู้ทั้งหลายมาประดิษฐ์เต้นเรียงร้อยเป็นลำดับหนึ่งชุดลำดับการเต้นนั้นเรียกว่า โกรไว ซึ่งอาจารย์ หรือผู้ให้จังหวะ ที่เรียกว่า นาฏฏุวะนัร จะเป็นผู้ตีฉิ่ง และเป็นผู้ขับบทกำกับจังหวะของนักเต้นภารตนาฏยัม ซึ่งการกำกับจังหวะอย่างนี้เรียกว่า นาฏฏุวังคัม โดยผู้กำกับจังหวะนั้นอาจจะร้องสัญลักษณ์ทางเสียงของ โกรไว ทั้งหลายไปด้วยที่เรียกว่า โสลลุกัตตุ แต่ถ้า โกรไว เหล่านี้มีการเล่นจังหวะช้าเร็วแตกต่างกันด้วย (มีถึงสี่ระดับคือ ช้า, เริ่มเร็วขึ้น,เร็วมาก และ เร็วที่สุด)ลำดับชุดการเต้น โกรไว ที่มีการเต็นช้าเร็วสี่ หรือสามระดับ ในหนึ่ง โกรไว นั้นจะเรียกว่า ชาตี และในแต่ละชาตี จะมีการจบด้วยชุดการเต้นเล็กชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ธีรมานัม ในหนึ่งเพลง อาจจะมี สี่ หรือ ห้า ชาตี หรือมากว่านั้นตามแต่ความยาวของเพลง แต่ทุกชาตี หรือโกรไว จะต้องจบด้วยชุดการเต้นที่เรียกว่า ธีรมานัม

        ในส่วนของการแสดงสีหน้าอารมณ์ประกอบเพลง ของภารตนาฏยัมนั้น ถูกเรียกว่า อภินะยา ซึ่งต้องอาศัย การใช้ภาษาร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวของหัว (ศิระ เบธา), การเคลื่อนไหวของตา (ทฤษฏิ เบธา) ,การหมุ่นตัว (พรหมรี เบธา) และการใช้มือทำเป็นสัญลักษณ์ต่างๆประกอบที่เรียกว่า หัสถะ เป็นต้น เพื่อดึงอารมณ์และความรู้สึก ทางนาฏศาสตร์ ที่เรียกว่า นวรสะ ออกมาจากผู้แสดงไหลผ่านควบคู่ไปกับความหมายของบทเพลง
#55
จริง ๆ มีภาพอันน่าประทับใจ อีกภาพ อยู่ที่อาจารย์ตุลย์ เป็นภาพก้อนเมฆ เป็นรูปองค์พระเคณศ ปรากฏบนท้องฟ้า ก่อนหน้าจะอัญเชิญลงแม่น้ำเจ้าพระยา
#57
กำหนดการ พิธีคเณศจตุรถี มงคลมูรติสมภพ
วันที่ ๓ - ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔




วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔
เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.    พิธีบูชากลัศ พิธีสราวโตภัทรปิฐ พิธีบูชาดาวนพเคราะห์ พิธีสถาปนา พิธีอุปจาระ ๑๖ ขั้นตอน พิธีอารตี (หลังเสร็จพิธีแจกน้ำมนต์คงคา-หิมาลัย แก่ผู้ศรัทธาทุกท่าน)
   ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.   ผู้ศรัทธาทุกท่านร่วมรับประทานอาหาร ชั้น ๒
   ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.   การแสดงดนตรี ภชัญ วงวิษณุ
   ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.   พิธีอภิเษก คณปติอถรวเศรษา (สรงน้ำนม) ผู้ศรัทธาทุกท่านรับน้ำนม* (ทำบุญแล้วแต่จิตศรัทธา) (หลังเสร็จพิธีแจกมวลสารผงสินธู)
   ๑๕.๐๐ - ๑๕.๑๕ น.   ท่านมหาบีร์ โกเดอร์ นายกสมาคมฮินดูสมาช กล่าวต้อนรับ
   ๑๕.๑๕ - ๑๕.๔๕ น.   กิจกรรม ถามตอบ และให้ความรู้ (ผู้ตอบคำถามถูกต้องรับเหรียญที่ระลึก)
   ๑๕.๔๕ - ๑๖.๑๕ น.   การแสดงดนตรีไทย (จากนักเรียนโรงเรียนภารตะ)
   ๑๖.๑๕ - ๑๗.๐๐ น.   สอนการฝึกสมาธิ สอนการบูชา ๕ ขั้นตอน โดยท่านบัณฑิต พราหมณ์อินเดีย
   ๑๗.๐๐ - ๑๘.๓๐ น.   พิธีบูชา ๑๐๘ พระนาม ผู้ศรัทธาทุกท่านรับหญ้าแพรก ร่วมถวายหญ้าแพรก (หลังเสร็จพิธีแจกข้าวสารมงคล)
   ๑๘.๓๐ - ๑๙.๐๐ น.   การแสดงดนตรี ภชัญ วงศิลปากร
   ๑๙.๓๐ - ๒๐.๐๐ น.   พิธีมหาอารตี (หลังเสร็จพิธีแจกปราสาท และรูปพระพิฆเนศ)



   
วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔
เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.   พิธีบูชากลัศ พิธีกรรม (หลังเสร็จพิธีแจกเม็ดรุทรักษะ)
   ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.   ผู้ศรัทธาทุกท่านร่วมรับประทานอาหาร ชั้น ๒
   ๑๓.๐๐ - ๑๔.๓๐ น.   พิธีอุตระบูชา พิธีมหาอารตี
   ๑๔.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.   จัดขบวนแห่องค์พระพิฆเนศ แห่ไปยังสวนนาคราภิรมย์ เพื่อทำพิธีวิสารชัน** (หลังเสร็จพิธีแจกผ้ายันต์ และรูปภาพที่ระลึก)



   
* ช่วงพิธีสรงน้ำนมองค์พระพิฆเนศ ผู้ศรัทธาสามารถรับน้ำนมที่ซุ้ม (ทำบุญแล้วแต่จิตศรัทธา) ท่านละ ๑ ขวด เพื่อร่วมสรงองค์พระพิฆเนศ (เก็บขวดไว้ เมื่อทำพิธีสรงน้ำนมเสร็จแล้ว ทุกท่านสามารถมารับน้ำนมกลับไปใช้อาบเพื่อความเป็นสิริมงคล)

** พิธีวิสารชัน คือพิธีส่งเสด็จพระพิฆเนศสู่สรวงสวรรค์ ผู้ศรัทธาทุกท่านตั้งแถวบริเวณท่านาคราภิรมย์ พราหมณ์จะโยงสายสิญจน์จากเรือที่จะใช้ส่งพระพิฆเนศมายังท่านาคราภิรมย์ เพื่อให้ผู้ศรัทธาทุกท่านได้ร่วมส่งเสด็จพระพิฆเนศกลับสู่สรวงสวรรค์ เมื่อองค์พระพิฆเนศลงสู่แม่น้ำ พร้อมด้วยบริวารคือหนูมุสิกะ และหม้อกลัศ เป็นอันเสด็จพิธีมงคลแห่งปี





กิจกรรม
๑. เมื่อผู้ศรัทธาทุกท่านเดินทางมาถึงโบสถ์เทพมณเฑียร เชิญผู้ศรัทธาทุกท่านขึ้นไปบูชามหาเทพทั้ง ๑๐ พระองค์ ที่ชั้น ๓
๒. บูชาองค์ประธานในพิธีคเณศจตุรถี ลานด้านล่าง (มีชุดบูชาด้านข้าง)
๓. ร่วมกิจกรรมตามซุ้มต่าง ๆ
   - ซุ้มสรงเครื่องหอม เพื่อขอพรเรื่องความรักและเพื่อให้กิจการงานไหลลื่น
   - ซุ้มปิดทององค์พระพิฆเนศ เพื่อขอพรด้านเงินทอง
   - ซุ้มโล้ชิงช้า ขอพระด้านสุขภาพ และความสุข
   - ซุ้มสรงธัญพืช ขอพรเรื่องความอุดมสมบูรณ์
   - ซุ้มพระพิฆเนศ ๓๒ ปาง ขอพรแห่งความสำเร็จ
   - ซุ้มอัษฏวินายกะ จำลองพระพิฆเนศที่สำคัญในอินเดีย มาเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้บูชา และรับพระ ทั้ง ๘ ประการ
   - ซุ้มประทักษิณาวัตร (เดินวนขวา รอบองค์พระพิฆเณศ) เพื่อรับพรความสำเร็จทั้งปวง
   - ซุ้มหนูอธิษฐาน เขียนคำอธิษฐานและนำไปใส่หูหนูมุสิกะ เพื่อให้หนูมุสิกะนำคำขอพรของท่านไปทูลต่อองค์พระพิฆเนศ
   - ซุ้มพระพิฆเนศหนุนดวง เขียนชื่อของตัวท่านเองที่หลังองค์พระพิฆเนศ แล้วนำไปใส่ในหม้อกลัศ (หม้อแห่งทรัพย์สิน) แล้วจะนำไปทำพิธีลอยน้ำในวันที่ ๔ เพื่อให้ทุกคำขอพรสัมฤทธิ์ผล
   
#58
ขณะนี้ ยังขาด รถกระบะ เพื่อใช้ในขบวนแห่ (วันที่ ๔ กันยายน) อีก 1 คัน

ถ้าท่านใด มีความประสงค์จะนำรถมาเข้าร่วมขบวน กรุณาแจ้งความประสงค์ มาที่ 08 6300 1691

หมายเหตุ
- ในวันที่ ๔ จะต้องขำรถมาตบแต่ง ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น.
#59
กติกาการส่งภาพเข้าประกวด
๑. ผู้ส่งภาพถ่าย สามารถคัดเลือก รูปภาพส่งเข้าประกวด ได้ท่านละ ๓ ภาพ โดยส่งภาพถ่ายขนาด ๘ x ๑๐ นิ้ว ภายในระยะเวลาที่กำหนด
๒. ๑ ท่านสามารถรับรางวัลสูงสุดได้เพียง ๑ รางวัลเท่านั้น
๓. ภาพถ่ายจะต้องเป็นภาพถ่ายกิจกรรมในวันงาน "คเณศจตุรถี มงคลมูรติสมภพ" วันใดวันหนึ่งเท่านั้น
๔. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
#60
ขอเพิ่มเติมเรื่องการ ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดหน่อยนะครับ
ขอเชิญร่วมประกวดภาพถ่าย "ด้วยแรงศรัทธา" สำหรับบุคคลทั่วไป ในงานพิธี คเณศจตุรถี มงคลมูรติสมภพ
วันเสาร์ ที่ ๓ และ วันอาทิตย์ ที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

กำหนดส่งภาพถ่าย ขนาด ๘ X ๑๐ นิ้ว ระหว่างวันที่ ๖ - ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔

ผู้ชนะการประกวด ๓ ท่าน จะได้รับของที่ระลึกจากโบสถ์เทพมณเฑียร

ส่งภาพได้ที่ สำนักงานสมาคมฮินดูสมาช ชั้น 2 (โบสถ์เทพมณเฑียร)
เวลาทำการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ๐๘ ๘๑๘๗ ๙๕๒๔ , ๐๘ ๖๓๐๐ ๑๖๙๑





อนึ่ง ขอขอบพระคุณฮินดูมีตติ้ง สำหรับพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์
#61
มาร่วมแชร์รูปวันส่งเสด็จพระคเณศครับผม

จริง ๆ วันนี้พิธีกรรม ก็ ไม่น้อย แต่ไม่ค่อยได้ถ่าย โดยเฉพาะตอนโหมกูณฑ์ถวายพระคเณศ (นั่งถวายอยู่หน้ากูณฑ์)

ขณะที่อาจารย์ตุลย์ทำอาระตี น้ำตาก็เริ่มซึม

ตอนส่งเสด็จ ใจจริงก็ว่า จะ ถ่าย เพราะมือว่างแล้ว แต่ น้องคนนึง ดั๊น ส่งฉิ่งมาให้ตีเสียนี่ ก็เลยบรรเลงฉิ่ง ถวายพระคเณศเสียเลย

































เมื่อส่งเสด็จเสร็จแล้ว ฝนก็โปรยปราย ดั่งธารน้ำทิพย์จากพระคเณศทรงประทานแก่ผู้ศรัทธา

งานนี้ต้องขอขอบพระคุณคณาจารย์ ทุกท่านและอาจารย์ตุลย์ รวมทั้งบรรดานิสิต นักศึกษา และผู้ศรัทธาทุกท่าน
#64
มาร่วมแชร์รูปวันส่งเสด็จพระคเณศครับผม

จริง ๆ วันนี้พิธีกรรม ก็ ไม่น้อย แต่ไม่ค่อยได้ถ่าย โดยเฉพาะตอนโหมกูณฑ์ถวายพระคเณศ (นั่งถวายอยู่หน้ากูณฑ์)

ขณะที่อาจารย์ตุลย์ทำอาระตี น้ำตาก็เริ่มซึม

ตอนส่งเสด็จ ใจจริงก็ว่า จะ ถ่าย เพราะมือว่างแล้ว แต่ น้องคนนึง ดั๊น ส่งฉิ่งมาให้ตีเสียนี่ ก็เลยบรรเลงฉิ่ง ถวายพระคเณศเสียเลย
#65
แวะมาช่วยเพิ่มเติมข้อมูลให้นะครับ

*วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2554 วันวิสรชันหรือวันส่งเสด็จ

เลื่อนเวลาประกอบพิธีกรรมขึ้นมาเป็น 13.00 น. และจะเสร็จประมาณ 16.00 น.

ถ้าใครว่างก็ขอเชิญร่วมส่งเสด็จ ด้วยนะครับ
#66
เท่าที่พอจำได้ และด้วยความรู้อันน้อยนิด

เจ และมังสวิรัติ ของอินเดีย ไม่เหมือนของสากล

ถ้าอยู่ในช่วงถือพรต หรือช่วงบวช จะไม่กินถั่วที่มีตา เพราะถือว่าถั่วเหล่านั้นมีชีวิต (สามารถงอกมาเป็นต้นได้)

นม / นมเปรี้ยว สามารถ ดื่ม/ทานได้

ท้ายนี้ขอยกข้อความของอาจารย์ตุลย์ที่เคยเขียนเอาไว้มาให้อ่านก่อนนะครับ

Quote from: หริทาส on October 12, 2010, 17:38:56
ในเทศกาลนวราตรี


ศาสนิกชนส่วนใหญ่จะถือพรต(วรัต) การทานอาหารในช่วงถือพรตมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับศรัทธา
เช่น

1.ปกติทานเนื้อสัตวย์ก็งดเนื้อสัตว์
2.โดยปกติคนฮินดูทานมังสวิรัติ(ไม่ทานไข่ แต่สามารถทานผลิตภัณฑ์จากนมและเนยได้)อยู่แล้ว
ถ้าช่วงบวชหรือถือพรต โดยเฉพาะในเทศกาลนวราตรี จะไม่ทานข้าวและถั่วที่มีตาทุกชนิด เช่นถั่วเขียวถั่วเหลือง ถั่วแดง ดำ(อาจารย์ท่านบอกว่า เนื่องจากเมล็ดพืชอย่างนี้งอกได้) แต่มันฝรั่ง ผักต่างๆ ผลไม้ทานได้ บางครั้งเขาก็เรียกอาหารในช่วงนี้ว่าอาหารบวชครับ และบางท่านก็จะทานแต่ผลไม้เท่านั้น
3.บางท่านทานแค่นม หรือ อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
4.หรืออาจงดทานจำกัดจำนวนมื้อ


และต้องงดกิจกรรมทางเพศทุกอย่าง

นี่คือแนวทางเกี่ยวกับอาหารในการถือบวชในช่วงนวราตรีครับ แต่ให้คำนึงถึงสุขภาพและความพร้อมด้วย


ความละเอียดและปราณีต ของประเพณีแต่ละศาสนามีอยู่ครับ ไว้ผมจะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม แล้วจะมาช่วยขยายความเพิ่มให้อีกนะครับ
#68
Quote from: chooca on May 27, 2011, 19:46:14
ร้านรัตนาแฟชั่นอยู่ตรงไหนเหรอคับ ผมยังไม่เคยเห็นชื่อร้านเลยอ่ะ รบกวนหน่อยนะคับ เพราะอยากไปหาเช่าองค์มาบูชาอ่ะคับ



เดินเข้าซอยด้านข้าง อินเดีย เอ็มโพเรียม เดินเข้าไปในนี้ ร้านจะอยู่ฝั่งตึกแถว มีป้ายชื่อร้านติดอยู่ครับ ส่วนร้านตรงข้าม กันอยู่อยู่ที่ตึกอินเดียเอ็มโพเรียม

Quote from: ballnaldo on July 17, 2011, 11:49:40
ใครเคยไป เช่าแถว วัดราชนัดดามั้งค่ะ  ถ้าเทียบคุณภาพ+ ราคา กับ ตรอกแขกแล้ว แถวไหนดีกว่ากันค่ะ

แล้วแต่ความชอบครับ แต่ก่อนผมก็ชอบวัดราชนัดดานะครับ

แต่หลัง ๆ พอเจองานอินเดีย ที่สองร้านนี้ แล้วราคาไม่สูงมาก ก็ชอบครับ

งานทองเหลืองไทย กับทองเหลืองอินเดีย งานต่างกัน ลองเปรีัยบเทียบเอาได้เลยครับ
#69
ส่งที่ร้านอีศ ก็ได้ครับผม ภาพ หลังงาน มาติดต่อขอรับคืนได้ครับ
#70
งามมากครับ
#71
อ้าวหรอครับ เห้นในกระทู้ที่คุณกาลิทัส เขียนเอาไว้ ด้านล่างบอกไว้ว่าเป็น ไมยราพย์

อ้อ ที่แท้ มีไมยราพย์ยักษ์ อีก

ขอโทษ จขกท. ครับผม
#72
ศมี คือต้นไมยราพย์ครับ ที่เวลา โดนมือเรา แล้วใบ จะหุบเอง
#73
@yimnarakdee ช่วยตอบให้นะครับ ที่พาหุรัดมีขาย ครับ
#74
Quote from: ศรีเคารีปุตรายะ on July 02, 2011, 15:37:19
อยากทราบรายละเอียดการประกวดวาดภาพอ่ะคับ


พอจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างคับ



การประกวดวาดภาพ ไม่จำกัดขนาด ไม่จำกัดประเภทการใช้สี แล้วแต่ความถนัดของผู้ส่งเข้าประกวดครับ

ส่งภาพ ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2554

สามารถส่งภาพได้ที่ เทพมณเฑียร ชั้น 2 (Office ของสมาคมฮินดูสมาช)

วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.
และวันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 13.00 น.

และถ้าพบทีมงานของปินากิน นอกเวลาดังกล่าว สามารถฝากไว้ได้เช่นกันครับ
#75
@yimnarakdee ที่พาหุรัด มีขายแบบสำเร็จรูปครับ พับจีบมาเรียบร้อยแล้ว มีหลายขนาด เลยครับ ลองเดินดูได้ครับ
#76
Quote from: พรศักติบารมี on July 02, 2011, 21:11:35
ตรงไม้อาญาสิทธิ์สวรรค์ที่เจ้าแม่เทียนส่องเซ่งโบ้(ทับทิม)ถืออ่ะค่ะ

ป.ล. ช่วยแปลด้วยนะคะถ้าอ่านออก ขอบพระคุณมากค่ะ

Thanks: เกมส์ทําอาหารเกมส์ต่อสู้เกมส์ปลูกผักเกมส์มันๆของขวัญ


รูปเล็กมากครับ
#77
Quote from: tumbuki99 on June 27, 2011, 20:38:20
พอดีผมอยากจะได้เทวรูปของพระแม่มารีอัมมัน งานทองเหลืองครับ  ขนาด9นิ้ว  อยากทราบว่าราคาประมาณเท่าไหร่ครับ เอาที่ราคาถูกสุดที่เพื่อนๆ เคยเช่าบูชามาครับ  แล้วระหว่างที่พาหุรัดกับวัดราชนัดดาที่ไหนจะถูกกว่ากันครับ  งานทองเหลือง  ขอบคุณครับ



ที่วัดราช มีแบบ นั่งซุ้มแล้วนะครับ ถ้าจำไม่ผิด อยู่ที่ประมาณ 3900 แต่ การเททองเหลืองแบบไทย กับอินเดีย ต่างกันอยู่ ของไทย จะเทบาง ๆ

แม่ค้า ยกลงมาให้ดู ยกคนเดียวไหว น่ะครับ

ถ้าเป็นงานอินเดีย คงหนักเอาการ เพราะองค์ หน้าตัก 3 นิ้ว ที่ผมบูชามา ก็ หนักสัก 2 กิโล แล้วครับ
#78
ขออนุญาตทีมงานฮินดูมีตติ้ง ในการใช้พื้นที่ประกาศถึงอาสาสมัคร นะครับ

สำหรับอาสาสมัครท่านใด ยังไม่ได้แจ้งชื่อทางอีเมลล์ ขอความกรุณาแจ้งชื่อภายใน วันที่ 27 กรกฏาคม 2554 ด้วยนะครับ

สามารถแจ้งชื่อ และ เบอร์โทรมาได้ที่ toey@pinakin.in.th

ทางเราจะกำหนดประชุมทีมงาน กันเร็ว ๆ นี้ครับ แล้วจะโทรไปนัดหมายทุกท่านอีกครั้งนึงในวันสองวันนี้ครับ
#79
ยังครับ

สามารถแจ้งชื่อ และ เบอร์โทรมาได้ที่ toey@pinakin.in.th เลยครับ
#80
Quote from: Kapom on June 14, 2011, 08:57:46
ขอสมัครเป็นอาสาด้วยคนได้ไหมครับ ^^

ติดต่อมาที่ 0863001691 ได้เลยครับผม