กราบสวัสดีพี่ ๆ น้อง ๆ ชาวฮินดูมิทติ้ง กันทุกคนนะครับ บังเอิญเมื่อวันก่อนได้อ่านกระทู้นึงของพี่น้อง ๆ ของเราในเว็บนี้ได้ถามถึงความหมายของบายศรีกันมานะครับ ก็เห็นพี่ๆ หลาย ๆ ท่านได้แบ่งปันข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ กันมากมายสำหรับเรื่องของบายศรี กระผมก็เลยขออณุญาติได้ทำการรวบรวมข้อมูลของบายศรีที่พวกเราชาวไทยได้ให้ความสำคัญกันมากตั้งแต่สมัยอดีตจนปัจจุบันครับ และใช้ในงานพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะพี่น้อง ๆ ในเว็บแห่งนี้ก็ได้ใช้เพื่อการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เราต่างคนต่างนับถือกันนะครับ และเพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากจะได้ความหมายของเรื่องบายศรีกันนะครับ กระผมก็หวังว่าบทความเรื่องบายศรีบทนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่พี่ ๆ น้อง ๆ ของเรากันทุกคนนะครับ ขอบพระคุณอย่างสูง
บายศรี
บายศรีเป็นสิ่งมีค่าสำหรับชาวไทยตั้งแต่โบราณจนมาถึงบัดนี้ นับตั้งแต่แรกเกิดจบเติบใหญ่เราจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่าง ๆ ซึ่งต้องมี บายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้น ๆ
บายศรี เป็นคำเขมร แปลว่าข้าวสุก
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่าจับ สัมผัส จับต้อง
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสฤต ตรงกับคำภาษายาลีว่า สิริ แปลว่ามิ่งขวัญ
รวมความคำว่าบายศรีแปลว่าข้าวขวัญ หรือสิ่งที่นำให้สัมผัสกับความดีงามตามความหมายของชาวอีสาน กระผมก็ขอให้คำจำกัดความของบายศรีว่า บายศรีคือภาชนะที่ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษเพื่อสำหรับใส่อาหารคาวหวานในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่าง ๆ ทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎร
บายศรีของหลวง (กรมศิลปากร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร "ขัตติยราชประเพณีโบราณที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระราชกุมาร" หน้า 18 – 19) หรือของพระมหากษัตริย์
บายศรีของหลวงมี 3 ชนิด คือ
1.บายศรีสำรับเล็ก มีชั้นแก้ว 3 ชั้นกับพานทาอง 3 ชั้น และพานเงินซ้อนกัน 3 ชั้นเป็นขนาดเล็กตั้งบายศรีแก้วไว้กลาง บายศรีทองอยู่ทางขวา บายศรีเงินอยู่ทางซ้ายของผู้รับขวัญ (เจ้าของขวัญ) สำหรับทำขวัญในงานเล็กน้อย

บายศรีสำรับเล็ก ภาพพระราชทาน 30 มิถุนายน 2520 ภาพขยายเฉพาะเครื่องสังเวยบนชั้นบายศรี จะมีโตกเล็ก ๆ ใส่ขนมที่มีชื่อเป็นมงคลและขนมอย่างโบราณ
2.บายศรีสำหรับใหญ่ มีลักษณะเหมือนกันแต่ขนาดใหญ่ สำหรับทำขวัญสมโภชในการอย่างใหญ่ มีชุดละ 5 ต้น

เป็นภาพพระราชทาน ใช้ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร และพระราชพิธีที่สำคัญอื่น ๆ การตั้งเครื่องบายศรีสำรับใหญ่พร้อมเครื่องจุนเจิม มีน้ำมันจัน แป้งกระแจะอย่างละ 1 ชุด มะพร้าวอ่อน 3 ผล ชุดละผล พลู 7 ใบ แว่นเทียนชุดละ 3 ปักบนพานทอง พานแก้ว และพานเงิน ภายในบรรจุข้าวสารเต็มพานไม้ขนาบบายศรีใช้ไม้ชัยพฤกษ์หรือไม่ไผ่ศรีสุข
3.บายศรีตองลองทองขาว คือบายศรีใหญ่เป็นแต่เหลี่ยมแป้นไม้ของชั้นและแกนไม้ เป็นทองขาวเท่านั้น บายศรีนี้ดูเหมือนจะเป็น 7 ชั้น มีคู้หนึ่งจะใช้อย่างไรบอกไม่ถูกใช้เติมกับบายศรีสำรับใหญ่ก็มีแต่ตั้งไว้ต่างหากไม่เข้ากัน ดังในรูปที่นำมาประกอบให้ดู

เป็นภาพพระราชทาน ใช้ในพระราชพิธีสมโภชช้าง ประกอบกับบายศรีสำรับเล็ก
(ภาพและข้อมูลบางส่วนจากหนังสือชุดมรดกไทย เล่มที่ 3 งานใบตอง เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี โดย อ.มณีรัตน์ จันทนะผะลิน) กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ณ โอกาศนี้ด้วยครับ
บายศรี
บายศรีเป็นสิ่งมีค่าสำหรับชาวไทยตั้งแต่โบราณจนมาถึงบัดนี้ นับตั้งแต่แรกเกิดจบเติบใหญ่เราจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่าง ๆ ซึ่งต้องมี บายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้น ๆ
บายศรี เป็นคำเขมร แปลว่าข้าวสุก
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่าจับ สัมผัส จับต้อง
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสฤต ตรงกับคำภาษายาลีว่า สิริ แปลว่ามิ่งขวัญ
รวมความคำว่าบายศรีแปลว่าข้าวขวัญ หรือสิ่งที่นำให้สัมผัสกับความดีงามตามความหมายของชาวอีสาน กระผมก็ขอให้คำจำกัดความของบายศรีว่า บายศรีคือภาชนะที่ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษเพื่อสำหรับใส่อาหารคาวหวานในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่าง ๆ ทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎร
บายศรีของหลวง (กรมศิลปากร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร "ขัตติยราชประเพณีโบราณที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระราชกุมาร" หน้า 18 – 19) หรือของพระมหากษัตริย์
บายศรีของหลวงมี 3 ชนิด คือ
1.บายศรีสำรับเล็ก มีชั้นแก้ว 3 ชั้นกับพานทาอง 3 ชั้น และพานเงินซ้อนกัน 3 ชั้นเป็นขนาดเล็กตั้งบายศรีแก้วไว้กลาง บายศรีทองอยู่ทางขวา บายศรีเงินอยู่ทางซ้ายของผู้รับขวัญ (เจ้าของขวัญ) สำหรับทำขวัญในงานเล็กน้อย

บายศรีสำรับเล็ก ภาพพระราชทาน 30 มิถุนายน 2520 ภาพขยายเฉพาะเครื่องสังเวยบนชั้นบายศรี จะมีโตกเล็ก ๆ ใส่ขนมที่มีชื่อเป็นมงคลและขนมอย่างโบราณ
2.บายศรีสำหรับใหญ่ มีลักษณะเหมือนกันแต่ขนาดใหญ่ สำหรับทำขวัญสมโภชในการอย่างใหญ่ มีชุดละ 5 ต้น

เป็นภาพพระราชทาน ใช้ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร และพระราชพิธีที่สำคัญอื่น ๆ การตั้งเครื่องบายศรีสำรับใหญ่พร้อมเครื่องจุนเจิม มีน้ำมันจัน แป้งกระแจะอย่างละ 1 ชุด มะพร้าวอ่อน 3 ผล ชุดละผล พลู 7 ใบ แว่นเทียนชุดละ 3 ปักบนพานทอง พานแก้ว และพานเงิน ภายในบรรจุข้าวสารเต็มพานไม้ขนาบบายศรีใช้ไม้ชัยพฤกษ์หรือไม่ไผ่ศรีสุข
3.บายศรีตองลองทองขาว คือบายศรีใหญ่เป็นแต่เหลี่ยมแป้นไม้ของชั้นและแกนไม้ เป็นทองขาวเท่านั้น บายศรีนี้ดูเหมือนจะเป็น 7 ชั้น มีคู้หนึ่งจะใช้อย่างไรบอกไม่ถูกใช้เติมกับบายศรีสำรับใหญ่ก็มีแต่ตั้งไว้ต่างหากไม่เข้ากัน ดังในรูปที่นำมาประกอบให้ดู

เป็นภาพพระราชทาน ใช้ในพระราชพิธีสมโภชช้าง ประกอบกับบายศรีสำรับเล็ก
(ภาพและข้อมูลบางส่วนจากหนังสือชุดมรดกไทย เล่มที่ 3 งานใบตอง เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี โดย อ.มณีรัตน์ จันทนะผะลิน) กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ณ โอกาศนี้ด้วยครับ