คายทรีมันตระ (กายตรีมนตรา) นั้นเป็นมนต์บทหนึ่งที่ถือว่าสำคัญมาก
เดิมนั้นเป็นมนตราที่ใช้บูชา สุริยเทพ ในภาคของจิตใจที่มีพระนามว่า "สวิตฤ"
ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีในบทมนต์คายตรีนั้นจะกล่าวถึงพระนามของสุริยเทพพระองค์นี้ไว้
गायत्रीमन्त्र กายะทรีมัรทระ หรือ คายตรีมนตรา
ॐ भू र्भुवः स्वः । โอมฺ บูรบุวะฮ สฺวะฮ
तत् सवितुर्वरेण्यं । ทัท สะวิทุรวะเรณฺยัมฺ
भर्गो देवस्य धीमहि । บฺรโก เดวัสยะ ดีมะฮิ
धियो यो नः प्रचोदयात् ॥ ดิโย โยนะฮ พระโชดะยาทฺ
โอม = พยางค์อันศักดิ์สิทธิ์, ความเป็นอมตะ, พรหมัน, ปรมาตมัน
บูร = โลก, พื้นดิน, มนุษย์, โลกวัตถุ, ภูมโลก
สฺวะฮ = อากาศ, ชั้นบรรยากาศ, ดวงดาว, อวกาศ, จักรวาลวัตถุ
ทัท = นั้น, ดังนั้น, เช่นนั้น (ใช้นำหน้าเพื่อบ่งชี้)
สะวิทุร = อิศวร, ผู้สร้างโลก, ผู้กระตุ้น, ผู้ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ, ผู้ขัดเกลา, พลังอันเจิดจรัสของพระอาทิตย์, พระนามหนึ่งของสุริยเทพองค์ปัจจุบัน คือ พระสวิตฤ (สาวิตรี)
วะเรณฺยัม = อันเป็นที่น่าปรารถนา, ดีเลิศ, งดงาม, ทางเลือกที่ดีที่สุด, สมควรแก่การบูชาบรวงสรวงกราบไหว้
บฺรโก = ความเบิกบาน, ความสว่างไสว, ความงดงาม, ชื่อเสียง, ความรุ่งเรือง, การทำลายซึ่งอวิชชา, การล้างบาป
เดวัสยะ = นามหนึ่งของพระสวิตฤ หมายถึง ผู้ปลุกให้ตื่นจากหลับใหล, ผู้เตือนให้รู้, พระผู้เป็นเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นทิพย์, โชติช่วง, เปล่งปลั่ง, เป็นประกายสุกสว่าง
ดีมะฮิ = การนำมาซึ่งความสำเร็จ, การนำไปสู่ปัญญาในการแก้ไขปัญหา, การเรียนรู้, การรับรู้, การพิจารณาไตร่ตรองแล้ว, การเข้าถึงซึ่งฌาน
Dheemahi = We meditate
ดิโย โยนะฮ = ปัญญาอันหลักแหลมเหนือโลกวัตถุ, การทำสมาธิสวดมนตร์บูชาด้วยความภักดีของเรา, การแตกฉานทางปัญญา
พระโชดะยาทฺ = การชี้ทางสว่างให้มุ่งไป, แรงกระตุ้น, แรงบันดาลใจ, ความเคลื่อนไหว, ความมุ่งมั่น, การก่อให้เกิดแรงจูงใจ, อาการเหมือนเด็กที่ไม่เคยอยู่ไม่นิ่ง
แปลโดยรวมว่า
แปลโดยรวมว่า
"โอม ด้วยพลังแห่ง พื้นปฐพี ห้วงนภากาศ แลสวรรค์อันเป็นทิพย์
ข้าแด่ พระสุริยเทพผู้มีพระนามว่า "พระสวิตฤเจ้า" ผู้ปลุกเหล่ามวลชีวิตให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหล
พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ทรงนำมาซึ่งความเจิดจรัสสว่างไสว
ข้าพระเจ้าขอสวดมนตร์สรรเสริญพระองค์ด้วยความภักดีทั้งกายและใจ
ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแรงกระตุ้นแห่งชีวิต ดุจดั่งดวงประทีปแห่งปัญญาอันสร้างสรรค์
ทรงโปรดเมตตาชี้นำทางสว่างในการแก้ไขปัญหาต่างๆ แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ"
ข้าแด่ พระสุริยเทพผู้มีพระนามว่า "พระสวิตฤเจ้า" ผู้ปลุกเหล่ามวลชีวิตให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหล
พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ทรงนำมาซึ่งความเจิดจรัสสว่างไสว
ข้าพระเจ้าขอสวดมนตร์สรรเสริญพระองค์ด้วยความภักดีทั้งกายและใจ
ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแรงกระตุ้นแห่งชีวิต ดุจดั่งดวงประทีปแห่งปัญญาอันสร้างสรรค์
ทรงโปรดเมตตาชี้นำทางสว่างในการแก้ไขปัญหาต่างๆ แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ"
คายตรี นั้นจะหมายถึง บทสวด 3 ช่วงเวลา ซึ่งในสมัยโบราณจะนิยมสวดในช่วงเวลาดังนี้
1. ช่วงเช้ามืดในขณะที่แสงอุษาจับท้องฟ้า หรือ ขณะที่พระอัศวินแฝดเคลื่อนราชรถนำพระอุษาและสุริยเทพโผล่พ้นท้องฟ้าในรุ่งอรุณ หรือ เมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าเรือนที่ 1 ในจักรราศี (เรือนลัคนา)
โดยจะทำการบูชาพระสุริยเทพในองค์แรก (สุริยเทพมี 8 - 12 องค์ที่ถูกกล่าวไว้ในฤคเวท
ในที่นี้จะหมายถึง สุริยเทพไววัสวัต (Vivasvat - वैवस्वत - ผู้แผ่รัศมี) เป็นสุริยเทพผู้ขับไล่ความมืดมน ความน่าสะพรึงกลัว จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ภาสกร คือ ผู้ทำให้เกิดแสงสว่าง
ในที่นี้จะหมายถึง สุริยเทพไววัสวัต (Vivasvat - वैवस्वत - ผู้แผ่รัศมี) เป็นสุริยเทพผู้ขับไล่ความมืดมน ความน่าสะพรึงกลัว จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ภาสกร คือ ผู้ทำให้เกิดแสงสว่าง
2. ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ตรงกลางศีรษะ หรือ พระอาทิตย์สถินในเรือนที่ 3 (เรือนสหัชชะ) ของจักรราศี หรือ พระอาทิตย์อยู่ในส่วนที่ 4 จากทั้งหมด 7 ส่วนของท้องฟ้าเวลากลางวัน
จะบูชาพระมิตรา (Mitra - मित्रा) สุริยเทพแห่งข้อความสัญญาต่างๆ โดยมีหูหนึ่งพัน และดวงตานับหมื่นดวง มีแสงเจิดจรัสมาก พระมิตรานั้นเป็นหนึ่งในจำนวนสุริยเทพทั้งหลาย ซึ่งทำหน้าที่ประสานสามัคคีในหมู่ชน เป็นผู้ผยุงสวรรค์และโลกมนุษย์ เป็นสุริยเทพแห่งเวลากลางวัน
3. ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน หรือ ช่วงอสูรสายันณ์ หรือ พระอาทิตย์สถิตอยู่ในเรือนที่ 7 (ปัตนิ) ของจักรราศี
จะบูชาพระปุษัณ (pushan पुष्ण) สุริยเทพในรูปคนศีรษะล้าน แก่ชรา ไม่มีฟัน ดังนั้นของที่จะนำมาถวายแด่พระปุษัณจึงเป็นข้าวที่ต้มจนเละ เป็นสุริยเทพผู้ขับต้อนเหล่าสรรพสัตว์ให้กลับที่พักเพื่อพักผ่อนในยามเย็น
แต่ต่อมาในยุคมหากาพย์ การจะตีความถึงสภาวะของแสงสว่างภายในจิตใจให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างนั้นกระทำได้ยาก
จึงได้ถูกปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นบทมนต์บูชาเทพที่ตนนั้นนับถือให้เป็นพระเจ้าสูงสุดองค์ใดก็ได้แทน
แล้วต่อมาอีกได้เกิดความคิดในรูป "บุคคลาธิฐาน" ให้ปรากฏออกมาในรูปของพระเทวีองค์ใหม่ซึ่งมี 5 เศียร
โดยแต่ละเศียรจะมาจาก พระปารวตี, พระลักษมี, พระสรัสวตี, พระปฤถวี (พระภูมิเทวี หรือ พระธรณี) และ พระคงคา
ซึ่ง 2 องค์หลังนี้บางท่านก็ให้ความหมายว่าเป็นพระพักตร์ของพระแม่ทุรคากับพระแม่กาลี
ซึ่งเรื่องนี้ก็แล้วแต่ทรรศนะความเชื่อส่วนบุคคล
แต่ถ้าจะถือตามความหมายในบทมนต์เดิมแล้ว จะสื่อถึงพระสวิตฤ ซึ่งเป็นสุริยเทพในแง่นามธรรม
เพราะจะเปรียบพระสุริยเทพพระองค์นี้เป็นดั่งแสงสว่างของพระอาทิตย์ที่ปรากฏอยู่ภายในจิตใจของคนเรา
พระองค์จะแผ่รัศมีความสว่างแห่งปัญญา เพื่อขับไล่ความมืดมิตแห่งอวิชชา นั่นเอง
ฉะนั้นอย่าไปยึดติดกับรูปลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นมายา (สุคุณพรหมัน) หรือ ปฏิมาให้มากนัก
พระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงนั้นทรงไร้ซึ่งรูปลักษณ์ ไร้เพศ โดยในฤคเวทจะกล่าวถึงพระองค์ในรูป "นิรคุณพรหมัน"
ซึ่งเป็นพรหมันอันไม่ปรากฏรูปลักษณ์ อันหมายถึง ภาวะของการไร้ซึ่งคุณ แต่กลับแฝงไว้ด้วยคุโณปการอันมากมายมหาศาล
ขอให้เราเข้าใจเพียงแต่ว่า พระเจ้าที่แท้จริงแล้วนั้นคือความสงบสันติภายในจิตใจของเราก็พอ