Loader

กรรมมุนาวัตตีโลโก

Started by Neosiris, January 18, 2012, 15:18:12

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

ในพระพุทธศาสนา ได้มีการจำแนกหน้าที่ของกรรมออกเป็น 4 ประเภท แต่ละปรเะเภทมีหน้าที่โดยเฉพาะ ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของกรรมประเภทอื่น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.กรรมนำไปเกิด(ชนกกรรม-ชะ-นก-กรรม) กรรมประเภทนี้มีหน้าที่นำสัตว์ที่จุติ(ตาย) จากภพหนึ่งไปเกิด(ปฎิสนธิ)ในภพใหม่ กรรมนี้เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดทารก บุคคลจะเกิดในที่ดีหรือเลวก็ด้วยอานุภาพของกรรมนี้ พอให้เกิดแล้วกรรมนี้ก็หมดหน้าที่ อานุภาพของกรรมนี้จะเป็นอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับกรรมที่บุคคลทำไว้ก่อนละโลกนั่นเอง

2.กรรมผู้ช่วยเหลือ(อุปถัมภกกรรม-อุ-ปะ-ถัม-ภะ-กะ-กรรม) กรรมประเภทนี้เปรียบเหมือนพี่เลี้ยงนางงาม ถ้าได้กำเนิดดี กรรมนี้จะช่วยส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น ถ้าไ้ด้กำเนิดชั่ว กรรมนี้จะช่วยสนับสนุนไปทางชั่ว รวมความว่า เหมือนพี่เลี้ยงดีและชั่ว ตัวอย่างเช่น บางคนได้กำเนิดมาดี ถ้าชาตินี้ทำดีอีก กรรมดีของเขาในปัจจุบันก็จะเป็นอุปถัมภกกรรม ช่วยสนับสนุนให้เขาดียิ่งๆขึ้นไปอีก  ในทางกลับกัน บางคนเกิดมาในกำเนิดไม่ดีเพราะชนกกรรมไม่ดี ถ้าชาตินี้ทำไม่ดีซ้ำอีก กรรมไม่ดีของเขาในปัจจุบันก็จะเป็นอุปถัมภกกรรม ฉุดให้เขาตกต่ำไปอีก

3.กรรมบีบคั้น(อุปปีฬกกรรม-อุ-ปะ-ปี-ฬะ-กะ-กรรม) กรรมประเภทนี้ตรงกันข้ามกับประเภทที่ 2 เช่น คนที่เกิดมาดี เพราะชนกกรรมดี แต่เมื่อเกิดมาแล้วทำแต่กรรมชั่ว กรรมชั่วก็จะฉุดเขาให้ต่ำลง กรรมนี้เรียกว่า กรรมบีบคั้น บางคนได้กำเนิดไม่ดี แต่เมื่อเกิดมาแล้ว หมั่นสั่งสมแต่กรรมดี กรรมดีของเขานั้นจะบีบคั้นความไม่ดีเ่ก่าให้หมดไป กรรมใหม่ที่ดีของเขาจะโดดเด่นขึ้นมา
จากเรื่องกรรมบีบคั้น นี้ย่อมให้ข้อคิดว่า คนเราจะเกิดมามีฐานะสูงส่งหรือต่ำต้อยก็ตาม จะต้องหมั่นสั่งสมแต่กรรมดีสถานเดียว มิฉะนั้นชีวิตก็จะมีแต่ความทุกข์และความเดือดร้อนยากที่จะพบความสุขกายสบายใจ

4.กรรมตัดรอน(อุปฆาตกรรม-อุ-ปะ-ฆาต-ตะ-กะ-กรรม) กรรมประเภทนี้เป็นกรรมตัดรอนได้ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วเป็นกรรมหนัก ตัวอย่างทางฝ่ายชั่ว เช่น บุคคลที่ทำอนันตริยกรรม 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะเคยทำ หรือตั้งใจทำกรรมดีเ่ท่าไร เขาก็จะตกนรกอย่างแน่นอน เพราะกรรมดีของเขาถูกตัดรอนหมด  ตัวอย่างทางฝ่ายดี เช่น  ซึ่งถือว่าเป็นอนันตริยกรรมฝ่ายกุศล ตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม ความชั่วอย่างอื่นไม่อาจทำลายเขาได้ เพราะฌานกรรมนั้นตัดรอนวิบากแห่งกรรมชั่วเสียสิ้น ครั้นละโลกเขาย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกอย่างแน่นอน

สูงไปกว่านั้น หากเขาได้บรรลุอรหัตผลก่อนที่จะละโลกอรหัตผลนั้น ย่อมตัดรอนวิบากกรรมอื่นเสียสิ้น เมือพระอรหันต์นั้นละเบญจขันธ์นิพพานแล้ว กรรมชั่วทุกอย่างที่เคยทำมาก็หมดโอกาสติดตาม คือเป็นอโหสิกรรมไปหมด นี่คือลักษณะของอุปฆาตตกกรรม

ถ้าพูดแบบโลกๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เศรษฐีที่กลายเป็นยาจก หรือคนขอทานที่กลายเป็นเศรษฐีนั่นเอง

[HIGHLIGHT=#e36c09]อนุโมทนา สาธุ ค่ะ[/HIGHLIGHT]