Loader

สงสัยเรื่องทิศขององค์ศิวลึงค์และโยนี

Started by ลองภูมิ, January 21, 2010, 01:43:45

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

ถ้าใครเคยไปเขาพนมรุ้ง มีใครเคยสังเกตุหรือเปล่าว่า เหตุใดร่องน้ำที่รองใต้ศิวลึงค์(โยนี)ต้องอยู่ทางด้านซ้ายของฐาน โดยด้านหน้าของลึงค์จะหันออกทางทิศตะวันออก ไม่ทราบว่าเขามีคติในการสร้างแบบนี้จากที่ใด และเหตุใดร่องน้ำของโยนีต้องหันไปทางทิศเหนือ แล้วมีข้อจำกัดในทิศของการวางศิวลึงค์หรือเปล่า ? แล้วอีกข้อหนึ่ง เสาหินที่เป็นมีรูปดอกบัวในวัดพระแก้วมรกต เป็นเสาอะไร หรือเป็นศิวลึงค์หรือเปล่า (ตั้งอยู่หน้าโบสถ์)

ในรูปประกอบเป็นศิวลึงค์ที่อยู่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง





ขออนุญาติแสดงความเห็นในข้อที่ ๒ นะครับ (เพราะข้อที่ ๑ นี่ไม่ทราบเหตุผลจริงๆ คงต้องรอผู้รู้ท่านอื่นๆมาช่วยกันอธิบาย)

Quote from: ลองภูมิ on January 21, 2010, 01:43:45

แล้วอีกข้อหนึ่ง เสาหินที่เป็นมีรูปดอกบัวในวัดพระแก้วมรกต เป็นเสาอะไร หรือเป็นศิวลึงค์หรือเปล่า (ตั้งอยู่หน้าโบสถ์)


เสาหินหลายเหลี่ยมที่ยอดบนเป็นบัวหัวเสานั้น ผมว่าไม่ใช่ศิวลึงค์หรอกครับ เพราะความเห็นส่วนตัวผมคิดว่าไม่มีส่วนใดของเสานี้ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับศิวลึงค์เลย น่าจะเป็นส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมโบราณ หรือไม่ก็สร้างขึ้นมาไว้เพื่อเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งมากกว่า แล้วต่อมาจึงมีการนำมาตั้งไว้บริเวณหน้าพระอุโบสถ สำหรับตกแต่งคล้ายๆกับบรรดาอับเฉาเรือ หรือตุ๊กตาหินของจีนที่นิยมนำมาประดับตกแต่งรอบพระอารามครับ (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)

โดยเสาหินต้นนี้ ตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วหน้าพระอุโบสถ  และที่บริเวณใกล้ๆเสาก็มีการตั้งรูปสลักหินพระโพธิสัตว์กวนอิม ประติมากรรมรูปนกวายุภักษ์ และวัวสำริด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มศิลปะวัตถุที่ใช้ประดับตกแต่งรอบวัดพระศรีรัตนศาสดารามครับ

.
.


ปล.ภาพศิวลึงค์ ที่จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง เป็นศิวลึงค์ที่เรียกว่า "มุขลึงค์" เนื่องจากปรากฏภาพหน้าคน (พระศิวะ?) อยู่ตรงกลางด้านหนึ่งของพระศิวลึงค์ครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ตามที่ได้ยินได้ฟังมา เสาหินด้านหน้าพระอุโบสถวัดพระแก้วนั้น นักวิชาการทั้งหลายจัดให้เป็นศิลปะกรรมในยุคทวารวดี ต่อยุคลพบุรีซึ่งเวลานี้เปลี่ยนชื่อเป็นยุคศิลปะเขมรในประเทศไทยค่ะ อนุมานเอาจากลายพวงอุบะที่ห้อยมาจากปลายเสา สันนิษฐานว่าอาจเป็นเสาที่เตริยมไว้สำหรับทำจารึกหรือเพื่อประกอบสถาปัตยกรรม ต่อมาในสมัยหลังจึงได้เพิ่มบัวสำริดที่หัวเสาเข้าไป แล้วนำมาตั้งอย่างที่เห็น
เอาไว้ค้นเจอรายละเอียดจัเอามาเล่าให้ฟังอย่างละเอียดอีกครั้งค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ต้องขอขอบคุณทั้งสองท่านที่ช่วยมาเสริมให้ครับ งั้นก็จะรอคำตอบจากผู้รู้ท่านอื่นต่อไปครับ แต่เรื่องเสาที่หน้าโบสถ์วัดพระแก้วก็น่าสนใจนะครับ ความเป็นมาและจุดประสงค์? ...

ถ้าใครเคยไปเขาพนมรุ้ง มีใครเคยสังเกตุหรือเปล่าว่า เหตุใดร่องน้ำที่รองใต้ศิวลึงค์(โยนี)ต้องอยู่ทางด้านซ้ายของฐาน โดยด้านหน้าของลึงค์จะหันออกทางทิศตะวันออก ไม่ทราบว่าเขามีคติในการสร้างแบบนี้จากที่ใด และเหตุใดร่องน้ำของโยนีต้องหันไปทางทิศเหนือ แล้วมีข้อจำกัดในทิศของการวางศิวลึงค์หรือเปล่า ?

จากการที่ได้สอบถามจากอาจารย์  ประวัติศาสตร์ศิลปะมา  ขอตอบว่า

ทิศเหนือเเละทิศตะวันออกเป็นทิศมงคล  รวมถึงเป็นทิศของคนเป็น  มาจากความเชื่อเรื่อง  การกำเนิด  ญ  เเละ  ช
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

ชอบกระทู้นี้จังเลย น่าสนใจน่าศึกษาดีค่ะ ขอบคุณพี่ตี๋สำหรับคำถามดี ๆ ขอบคุณน้องอักษรสำหรับความเห็นเรื่องเสาในวัดพระแก้ว นั่นสิทำให้อยากรู้ความเป็นมาและที่มาอื่น ๆ อีกนะ ขอบคุณน้องโด่งค่ะ นับถอยหลังรอคอยติดตามอ่านข้อมูลที่น่าศึกษาจากน้องโด่งเช่นเคยค่ะ ว่าแต่ยัยหนูเสือ พี่อยากรู้เพิ่มเติมเรื่องการกำเนิด ช ญ อ่ะมาอธิบายหน่อยจิ๊น้องรัก  รออยู่นะจ๊ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


ได้ซิคะพี่เทวาเหนือเกล้าเเต่หลังไมค์นะคะ  เผื่อติดเรท  ล้อเล่นคะ 
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

เห็นด้วยกับคุณลองภูมิว่าเสาที่หน้าพระอุโบสถเป็นสิ่งน่าสนใจค่ะ

ดังที่เรียนว่าเป็นเสาหินทราย รูป 6 เหลี่ยม ส่วนปลายสลักเป็นลายพวงอุบะหรือมาลัยร้อยระยางลงมา ด้านบนเป็นรูปบัวคลี่กลีบทำจากสำริด ประมาณกันว่าอายุราวสมัยทวาราวดี จากลายพวงอุบะที่หัวเสา ในสมัยหลังจึงมีการหล่อบัวประดับที่หัวเสาค่ะ ยังเป็ฯที่ถกเถียงกันว่าเป็นเสาอะไร อาจจะทำขึ้นเพื่อเป็นศิลาจารึก หรือเสาศาสนสถาน หรืออาจเป็นเสาแสดงจุดสำคัญแบบเสาอโศก

ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นด้วยพระบรมราชโองการของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดฯให้นำมาตั้งที่หน้าโบสถ์ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระแก้วมรกต นัยว่าเป็นเสาประทีป ดิฉันเห้ฯว่าน่าสนใจเพราะเป็นโบราณวัตถุที่สมบูรณ์มากชิ้นหนึ่งของสมัยทวาราวดี ซึ่งตั้งอยู่ในสถานที่ที่มิใช่พิพิธภัณฑ์ ส่วนจะเป็นเสาที่พบจากที่ไหน เคลื่อนย้ายมาจากไหน เวลานี้ดิฉันยังค้นไม่พบเลยค่ะ จะพยายามค้นอีกทีหนึ่ง ข้อมูลเหล่านี้ยังค่าวๆนะคะ อาจจะผิดอยู่บ้าง เดาว่าเคยอ่านพบในหนังสือศิลปะทวาราวดีของศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล แต่เล่มนี้ของดิฉันดันอยู่ต่างจังหวัดค่ะ กำลังให้คนที่นั่นค้นข้อมูลให้อยู่

ส่วนจะเป็นศิวลึงก์หรือไม่นั้น โดยส่วนตัวคิดว่าอาจจะไม่ใช่นะคะ เพราะเท่าที่ได้เห็นและฟังเจ้าหน้าที่ที่เคยศึกษาอย่างใกล้ชิด ปรากฎว่าปลายของสิ่งนี้เป็นปลายตัดค่ะ มีคิ้วด้านบน(ดังภาพของคุณอักษรชนนีกรุณานำมาลงไว้) ส่วนที่บัวคลี่กลีบสำริดหุ้มไว้นั้นทำคล้ายลิ่ม สำหรับสอดกับสิ่งอื่น จึงสันนิษฐานกันว่าสิ่งนี้เป็นเสาของสิ่งก่อสร้าง

ดิฉันความรู้น้อย ไม่แน่ใจว่าศิวะลึงก์ที่เป็นเหลี่ยมทั้งองค์นั้นมีหรือเปล่า เพราะเท่าที่เคยเห็นมาเป็นแท่งมนเสียส่วนใหญ่ จะมีก็แต่แบบที่เป็น ตรีมูรติลึงก์เท่านั้นที่ส่วนวิษณุภาคทำเป็นหลายๆเหลี่ยม พรหมภาคทำเป็ฯสี่เหลี่ยมและรุทรภาคทำเป็นแท่งมน แต่ทั้งหมดก็ต่อกันรวมอยู่ในแท่งเดียว ดังนั้นหากท่านใดเคยเห็ฯหรือทราบว่ามีแล้วจะกรุณาเล่าให้ดิฉันฟังจะเป็นพระคุณสูงสุดค่ะ

ดังนั้นในส่วนตัว ย้ำว่าส่วนตัวนะคะ ดิฉันจึงเห็นด้วยกับนักวิชาการทั้งหลายว่า สิ่งนี้เป็นเสาศาสนสถานหรือเสาที่เตรียมไว้สลักจารึก ไม่ใช่ศิวลึงก์ค่ะ

คนในเอเชียเรามีรสนิยมถวาย ของแปลก แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ค่ะ นอกจากถือว่าได้บุญแล้ว ยังเป็นการเสริมบารมี ประกาศแสนยานุภาพ ดังนั้นวัดพระแก้วจึงเต็มไปด้วยโบราณวัตถุศิลปะวัตถุมากมาย อาทิ สิงห์คู่ศิลปะเขมร วัวสำริด หินบดยา ตุ๊กตาโรมัน ภาพเขียนจีน ฯ

ธรรมเนียมนี้ยังมีที่พม่าด้วย ดังวัดพระมหามัยมุนีมีเทวรูปและประติมากรรมศิลปะเขมรอยู่ ซึ่งพม่าได้ไปจากอยุธยา อยุธยาได้ไปจากเขมรอีกต่อ

ในวัดสำคัญๆหลายแห่งจึงมีของน่าดูมากมาย เช่นตุ๊กตาแกะสลักจากหินอ่อนสวยๆ แจกันหินอ่อน ดังบริเวณบันไดทางขึ้นพระอุโบสถพระแก้วเคยมีตุ๊กตาหินอ่อนรูปเทพเจ้าแห่งลมหนาว และเทวีแห่งฤดูใบไม้ผลิ ประดับอยู่ เป็ฯของบรรณาการจากเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันตุ๊กตาสองชิ้นนี้แสดงอยู่ ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรีค่ะ ขนาดใหญ่เท่าคนจริงๆเลย ใครว่างๆเชิญแวะเที่ยวชมนะคะ


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ได้ความรู้เพิ่มเติม ก่อนนอน อีกหนึ่งเรื่อง 55+

เมื่อวานนี้ทั้งวัน ดิฉันเข้าไปทำธุระที่พระบรมมหาราชวัง มีเวลาว่างนิดหน่อยเลยแวะไปกราบพระแก้วมรกตแล้วถ่ายรูปเสาศิลามาฝากค่ะ
เสานี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก หน้าพระอุโบสถ รายล้อมด้วยเครื่องบูชาที่ทำจากสำริดและศิลาเช่นเดียวกันในภาพจะเห็นกระถางธูปสำริดและตุ๊กตารูปนกหงส์ สันนิษฐานกันว่าเป็นของในรัชกาลที่สามค่ะ แต่จะอยู่ที่นี่มาแต่เดิมหรือย้ายมาจากสวนขวาในรัชกาลที่ 4 คงต้องค้นกันต่อไป
มองดีดีจะเห็นว่ามีร่องรอยของการฉาบปูนที่เสานะคะ แต่ไม่รู้ว่าปูนเก่าแค่ไหน แต่ก็อนุมานได้ว่าครั้งหนึ่งเสานี้เคยถูกหุ้มด้วยปูน ดังนั้นประเด็นเรื่องอาจเป็นเสาจารึกจึงตกไป

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ด้านหนึ่งของเสา ถัดจากหงส์คู่ออกมา มีตุ๊กตาผู้หญิงจีน ทำท่าคารวะตั้งอยู่ หันหน้าเข้าหาพระอุโบสถ คนนิยมกันว่าเป็นเจ้าแม่กวนอิม ด้านหน้ารูปสลักนี้มีรูปแกะหินเป็นหัวหมูวางในจาน น่ารักมากเลยค่ะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ลายอุบะที่ปลายเสาค่ะ



บางคนเรียกลายมาลัยดอกรักเข้าไปนั่น แต่เห็นภาพชัดดีนะคะ มาลัยดอกรักแท้ๆเลย
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

และด้านหนึ่งของเสา ขนาบกับกระถางสำริด มีวัวสำริดคู่หนึ่ง พวงพีงดงามเชียวค่ะ ไม่ทราบที่มาที่ไปเช่นกัน

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ทนๆชมภาพกันหน่อยนะคะ ดิฉันทำได้ทุกอย่าง ยกเวน้ทำสิ่งต่างๆให้เรียบร้อย อันมีเรื่องถ่ายรูปรวมอยู่ด้วยค่ะ ถ่ายที่ไร ถ้าไม่เอียงก็ขาดๆวิ่นๆ
555555
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)