โคปุรัม หรืออีกอย่างหนึ่งเรียกว่า โคปุระ แต่ฮินดูชนมักจะเรียกว่า วิมานัม สิ่งนี้สถาปัตยกรรมอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นหอสูง และมีลักษณะเด่นไปด้วยศิลปะอันงดงามทั้งสีสัน ลวดลายปูนปั้น ประดับประดาอย่างหรูหรา โดยเฉพาะวัดทางอินเดียใต้ โคปุรัมนี้มักจะสร้างกันบริเวณทางเข้าวัด ถ้าบ้านเราก็คงเรียกว่าซุ้มประตูวัด อย่างศาสนาพุทธจะมีใบเสมาเป็นเครื่องบอกอาณาเขตวัด แต่อินเดียเค้าจะถือว่าพ้นจากโคปุรัมเข้าไปนั่นคือบริเวณวัดครับ
และแต่ละวัดมักจะมีโคปุรัมมากกว่า 1 อันครับ เพราะฮินดูจะเชื่อเกี่ยวกับพลังของสุริยะ นั่นคือจะสร้างโคปุรัมหลายอันเพื่อรับพลังของสุริยะ เพื่อจะขับพลังของวัดด้วย
นี่ครับโคปุรัมของวัดแขกสีลม ((ประตูข้างครับ))
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fimg.photobucket.com%2Falbums%2Fv227%2Fcoloncocon%2Fphotos%2F2008%2F02littleindia%2Fli0011.jpg&hash=86c4ac8a077255e784e8c51ac5c0e25d639d7897)
มาดูกันชัดๆ ((อันนี้ประตูหน้าครับ))
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fimg.photobucket.com%2Falbums%2Fv227%2Fcoloncocon%2Fphotos%2F2008%2F02littleindia%2Fli0001.jpg&hash=2ed360105caec923ac0d99d4c972b2a423c7b4d6)
ขอบคุณครับ (https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2FYahooIM%2F16.gif&hash=b848b95738e85a069e9ab27d570aa3fef2988524)
จากที่ลุงผมเล่ามา ไม่ได้อ้างอิงจากไหนผิดถูกไม่ว่ากัน
สถาปัตยอินเดียใต้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวปะการัง เพราะชาวทมิฬผูกพันกับทะเล ทั้งลายที่ดูคล้ายน้ำ ทั้งสีสันและโครงสร้างที่ซับซ้อน
"อากาศแถบทมิฬจะร้อน ทำให้เฉ็ดสีรุนแรง" คำพูดของ ศิลป พีระศรี
ทำให้บังเกิดความสวยงามออกมาทางสถาปัตยกรรม
ส่วนทางเหนือ จะสูงใหญ่ดูหนามักไม่มีสัสัน ดูคล้ายภูเขา ไม่ก็ขาวไปเลย เพราะแรงบัลดาลใจมาจากเทือกเขาต่างๆ ประมาณหิมาลัยครับ
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ^^
แล้วโคปุระ เข้ามาในศิลปะเขมรแบบนครวัด พบว่ามีการสร้างโคปุระแบบอินเดียใต้