Loader

นาฏดุริยศิลป์โขนละคอนเครื่องประกอบพระยศแห่งพระมหากษัตริย์

Started by สยมภูวญาณ, May 14, 2010, 17:15:03

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

วันที่ 27 ที่จะถึงนี้ ทางวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่กำหนดให้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์และดุริยางค์ไทย ทำให้หวนรำลึกถึงพิธีนี้เมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นปีที่เพลงได้รับมอบเพื่อที่จะสามารถไปเป็นครูและจับท่ารำแก่ผู้อื่นต่อไปได้ ท่านทั้งหลายเชื่อมั้ยครับว่า เมื่อพิธีได้เริ่มขึ้นจนดำเนินมาสู่พิธีรับมอบ รุ่นของเพลงมีจำนวนน้อยที่สุดในปีนั้นและเพียงรอบเดียวของปีที่มีคุณสมบัติในการรับมอบ ผู้คนที่ศรัทธาและอยู่ในสายวงการนาฏศิลป์ต่างจับจ้องและร่วมเป็นสักขีพยานกันพร้อมหน้า(จัดในโรงละคร) เพลงและเพื่อนได้ถือขันกำนลที่ตั้งใจประดิษฐ์ขึ้นด้วยใจอันปราณีตค่อยๆคลานเข้าไปใกล้ผู้ทำพิธีซึ่งในที่นี้สมมติให้เป็นพระภรตฤาษี น้อมกราบและยื่นข้นนั้นให้และก็เป็นการครอบครูผ่านไปจนเสร็ดทุกเศียรและทุกคน ผู้ทำพิธีที่บนศีรษะมีเศียรพ่อแกครอบไว้อยู่นั้นช่างดูมีเมตตามีน้ำใจกรุณาเป็นอย่างยิ่ง หากนี่เป็นองค์สมมติใครที่อยู่ในต่อหน้าคงรับรู้ได้ว่ามันตื้นตันเพียงใดหากในสภาวะอันเป็นทิพย์นั้นผู้ที่อยู่เบื้องหน้าเราคือพ่อแก่พระภรตฤาษีและถัดออกไปเป็นเทวสภาพร้อมพรั่งด้วยเหล่ามหาเทพและครูต่างๆ จากนั้นท่านได้ถือกำอาวุธเครื่องโรงซึ่งใช้ในการแสดงต่างๆ ร่ายคาถาและให้พรอันเป็นมงคล(ตอนนั้นเพลงไม่รู้ว่าท่านพูดว่าอะไรแต่รับรู้ได้ว่ามันคือมงคลแห่งครูที่ไพเราะที่สุดเท่าที่ได้ยินมา) พลันนึกคิดย้อนกลับไปตั้งแต่วันแรกที่ย่างก้าวเข้ามาในวงการนี้ได้ถูหล่อหลอมปั้นแต่งจนสำเร็จความลำบากนานา จนมาถึงวันนี้ที่ถือว่าเป็นวันสุดท้ายในฐานะผู้เรียนและต่อจากนี้จะอยู่ในฐานะครูผู้ถ่ายทอดแล้ว จากนั้นผู้ทำพิธีได้ส่งมอบกำอาวุธมาให้ทุกคนจับเอาไว้เหนือหัวและให้พรความรู้สึกนั้นเกินบรรยาย เชื่อมั้ยครับว่าน้ำตาผมเอ่อล้นร้องไห้ด้วยความตื้นตันเพื่อนๆก็เช่นเดียวกัน แล้วพากันค่อยๆแบกอาวุธออกจากโรงพิธี ท่านทั้งหลายครับบอกได้คำเดียวว่ามันช่างศักดิ์สิทธิ์และน่าภูมิใจในฐานะผู้อยู่ในวงการอันเป็นเครื่องพระกอบพระยศแห่งพระมหากษัตริย์จริงๆ ซึ่งไม่ว่าวงการนี้จะผ่านมรสุมหนักหนาและตกต่ำเพียงใด ตลอดจนเฟื่องฟูจนขีดสุดผมก้อภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการธำรงรักษามรดกของชาติที่คนส่วนใหญ่ห่างเหินและมองด้วยความดูถูกว่าเป็นอาชีพเต้นกินรำกินก็ตาม ไว้จะมาเล่าเรื่องคุณสมบัติปลีกย่อยของผู้ประกอบพิธีให้ฟังนะครับใครอยากฟังช่วยส่งเสียงด้วยละกันนะครับ

ครูเคยเล่าว่า ผู้ประกอบพิธีต้องเป็นศิลปินชายจึงจะสามารถเป็นผู้นำพิธีไหว้และครอบส่วนศิลปินหญิงน้ันแม้จะทรงคุณวุฒิ ก็เป็นได้เพียงผู้นำทำพิธี จะเป็นผู้ครอบไม่ได้ เพราะถือกันว่าครอบไม่ขึ้นและหากทำพิธีครอบก็จะนำมาซึ่งผลในทางร้ายไม่ตนเองก็ศิษย์ หรือไม่ก็ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ศิลปินชายใช่ว่าจะครอบได้ทุกคนไปจะต้องได้รับมอบกรรมสิทธิ์จากครูผู้ทำพิธีครอบมาแต่เดิมประสิทธิ์ประสาทให้เสียก่อน และจะทำพิธีได้ก็ต่อเมื่อครูผู้มอบกรรมสิทธิ์นั้นได้เสียชีวิตแล้วเท่านั้น ความนิยมอีกอย่างคือ ครูผู้นั้นจะต้องฝึกหัดเป็นตัวพระ แม้ศิลปินชาย,หยิงผู้แสดงเป็นตัวลิงจะมีฝีมือเพียงไรก็ทำได้แค่ผู้นำทำพิธีแต่จะครอบไม่ได้ โดยถือกันว่า ผู้หญิงเป็นหินเพศ ลิงเป็นสัตว์เดรัจฉาน และจะใช้ผู้แสดงเป็นยักษ์มาทำพิธีครอบก็พออนุโลมได้ เพราะพระในทางนาฏศิลป์ถือว่ามีศักดิ์เท่ากับเทวดา และยักษ์ก็มาจากเชื้อสายของพระพรหม ดังนั้นการที่นิยมใช้ตัวพระมาทำพิธีครอบย่อมถือเป็นสวัสดิมงคลและคงอยู่สืบมาจนทุกวันนี้
    ในช่วงสมัยหลังจากท่านพระยานัฏกานุรักษ์สิ้นชีวิต ไม่มีผู้ใดจะประกอบพิธีไหว้ครู-ครอบ หญิงเดียวที่ได้ทำหน้าที่นี้คือ คุณหณิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ  สุวรรณภารต) เพราะท่านได้รับพระราชทานเจิมจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นสตรีท่านแรกและท่านเดียวที่ได้เคยเป็นผู้นำประกอบพิธีไหว้ครูและครอบในวงการนาฏศิลป์ครับ

เจ้อ่านซึ้งมากเลยคะ  พาลเอาน้ำตา  จะไหลเหมือนได้ร่วมอยู่ในความรู้สึกนั้นจริงๆ  ไม่ได้เเสร้งนะคะ

เจ้นึกถึงวันไหว้ครูช่างปั้นเหมือนกันค่ะ  ที่ครูจับมือทีละคน  ปั้น  จับทุกนิ้ว  บรรจงเจิม  เกรียงปั้น  จับมืออย่างใจดีเเลอบอุ่น  จับมือนักเรียนเเต่ละคน  เขียนลาย

ซึ้งมากเลย  เเล้วครูครอบครูให้ทุกคน  เจ้เสือก็ถือขันกำนัลไปเหมือนกันคะ  เเต่คนสุดท้ายเพื่อนเลย  เพราะเจ้เป็น  นักเรียน  ญ  คนเดียวที่สอบติดรุ่นนั้น  เจ้ก็ถือขันกำนัลไปอย่างสวยงามเหมือนกันคะ  กราบครูเเต่
ละท่าน  อวยพรให้เจ้ซึ้งมาก  เพราะเเต่ละท่านนั้น
ได้ปั้นพระ  สร้างโบทถ์  วิหาร  เจดีย์  ซ่อมวัดซ่อมวัง
เเละสืบต่อมาตั้งเเต่บรรพบุรุษ  พี่เสือดีใจมากเลยเหมือนกัน  เเต่ที่พี่เสือ  ประทับใจไม่เเพ้กันนั้น  ในงานไหว้ครู  สมเด็จพระเทพท่าน  เสด็จด้วย  ท่านประทับนั่งพับเพียบ  ประนมมือไหว้ครู  ร่วม  สามชั่วโมง  เป็นงานไหว้ครูที่พี่เสือซึ้งใจที่สุด  เเม้ฝีมือพี่เสือจะไม่ให้  เเต่ใจก็รักเเละภูมิใจมาก  มาถึงช่วงท่านพรมน้ำมนต์นะคะ  พี่เสือ  ไม่ได้อะคะ  เพราะว่า  หมดตรงที่  ปี่พาทย์คะ  พี่เสือเรยก้มหา  หยดน้ำที่ร่วงหล่น  บนพื้นเเถวนั้น  เเล้วเเตะมาเจิมศรีษะค่ะ  เเค่นี้ก็ดีใจที่สุดเเระ
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

ที่สำคัญ  ไม่รู้เหมือนกันไหมนะคะน้องเพลง

ครูจับหัวเเม่มือเเล้วกดคะ ดูสปริงวงสวิง 

เเละบอกว่า อย่าดื้อน่ะ  เเล้วเผลอครูกด 

พระเจ้าช่วย  ช่างปั้นเขากดนิ้วโป้งกันคะ

ทว่าไป  ครูของเจ้ท่านใจดีมากเลยจริงๆคะ

เวลาเจ้มือซ้น  กล้ามเนื้อฉีกที่ตำปูนหนักไปหน่อย

ครูก็ใจดีคะ  นวดให้โดยไม่ต้องเอ่ยปาก  เมื่อมีขนม

ครูของเจ้  ก็จะป้อนนักเรียน  ทุกคน  เพราะมือเปื้อน

เจ้ก็ป้อนครูเหมือนกันค่ะ  นี่ละคะความอบอุ่นของ

ช่างปั้น  เเล้วภาพความทรงจำเหล่านั้น  จะหมุนเวียน

มาให้นึกถึง  ตอนไหว้ครู  ทำให้อดร้องไห้ไม่ได้  ทำไรไม่ถูก  เลย  เอาผ้าเย็น  เช็ดเท้าครู  ทีละเท้า  ทีละนิ้ว  เพื่อเวลานั้นเจ้จะได้ก้มหน้า  จะได้ไม่มีใครเห็นน้ำตาอันปิติของเสือ  ตอนนั้นได้เเต่ขอว่า  ขอเดินตามรอยเท้าครู  เเม้เป็นครู  ผู้หญิง  ที่สอนเจ้  เเต่ครูป็ทำกระทั่งยอดเจดีย์  ปีนขึ้นไปปั้นถึงหน้าบันโบทถ์  ปูกระเบื้องโบทย์  ทำสิ่งที่สูงส่ง  ทุกวันนี้ครู  คือ  ไอดอลของเสือ  ครูสอนเสมอว่า  คิดให้สูง  ทำให้สูง  อย่าคิดว่าไม่มีบุญ อย่าใช้คำว่าบุญไม่ถึงกับตัวเอง  ให้คิด  ให้ทำดุจนางฟ้านางสวรรค์ทำ  เพราะเราเป็นคนเลือกได้  ว่าจะคิด  จะทำดั่งเดรัจฉาน  หรือ  นางสวรรค์  เเละครูบอกว่า  ต่อไปนี้  สามารถทำได้  ได้รับอนุญาติเเล้ว ก็จงสร้างสรรค์ทำในสิ่งที่สูงส่ง   
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

27  นี้  เจ้เสือดีใจด้วยนะ
ภูมิใจเพลงจังเลย  กอดหน่อยน้องรัก
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

ใช่ครับพี่เสือ
เพลงซึ้งมากเลยมันคือจุดที่ทุกคนที่เริ่มศึกษาต่างมุ่งหวัง
ให้วันนี้ของตนมาถึง
มองกลับไปวันที่เราท้อและเหน็ดเหนื่อยกับการเขี่ยวเข็นของครูที่เรามองว่าโหดร้ายที่สุด
บัดนี้มันพลันหายและนึกกราบท่านทุกคนที่ช่วยปั้นแต่งเรามาจนฝีมือได้ขนาดนี้
ร้องไห้ใหญ่เลยคนอื่นที่เห็นเค้านึกว่าองค์ลง(รู้ครับว่าไม่เหมาะสม) แต่เราไม่ใช่ไง
เสร็จแล้วก้อลงมาไล่กราบครูที่สอนทุกคนเลยครับได้รับพรท่วมท้น

มาถึงวันนี้เป็นวันแรกที่เพลงได้เป็นคุณครู(ฝึกสอน)จะทำให้ดีที่สุด ให้สมกับคำว่าครูเลยครับ

Quote from: สยมภูวญาณ on May 14, 2010, 18:03:14
ใช่ครับพี่เสือ
เพลงซึ้งมากเลยมันคือจุดที่ทุกคนที่เริ่มศึกษาต่างมุ่งหวัง
ให้วันนี้ของตนมาถึง
มองกลับไปวันที่เราท้อและเหน็ดเหนื่อยกับการเขี่ยวเข็นของครูที่เรามองว่าโหดร้ายที่สุด
บัดนี้มันพลันหายและนึกกราบท่านทุกคนที่ช่วยปั้นแต่งเรามาจนฝีมือได้ขนาดนี้
ร้องไห้ใหญ่เลยคนอื่นที่เห็นเค้านึกว่าองค์ลง(รู้ครับว่าไม่เหมาะสม) แต่เราไม่ใช่ไง
เสร็จแล้วก้อลงมาไล่กราบครูที่สอนทุกคนเลยครับได้รับพรท่วมท้น

ใช่คะ  ใครอาจคิดว่าองค์ลง  คือเสือฝืนอะคะ  กลั้นใจไม่ให้ซึ้ง 

ไม่ให้ร้องไห้  พอตื้นตันมากๆ  หายใจไม่ออก  เพราะต้องกลั้นใจ
เกรงว่าเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงสะอื้น  กะอึกกะอัก  จนกะอักกะอ่วน

จนสำรอกเพรากลั้นใจไว้นาน  เพลงจ๋า  เพลงต้องดีใจกับเจ้เสือก่อนนิดนึงนะคะ  เสือได้เข้าเรียนช่างทำหัวโขนคะต่อจากช่างปั้นคะ 

สงสัยเจ้กับเพลง  เราคงเป็นน้องพี่ที่มีทางเดินชีวิต  เเละวิชาที่สัมพันธ์กันนะคะ  เพลงว่าไหม


ดีใจ  ปลื้มใจกับน้องที่สุด  ถ้าเสือ  กระโจนได้วิ่งไวเหมือนเสือละก็  จะกระโจนไปกอดน้องเพลง  เดี๊ยวนี้เลย  ปลื้มใจกับน้องเพลงจริงๆ 
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

Quote from: สยมภูวญาณ on May 14, 2010, 18:06:42
มาถึงวันนี้เป็นวันแรกที่เพลงได้เป็นคุณครู(ฝึกสอน)จะทำให้ดีที่สุด ให้สมกับคำว่าครูเลยครับ

ครูของเพลงครอบครูให้  ประสิทธิ์วิชาให้  ก็เพื่อให้เพลงมีวันนี้เเละวันต่อไปจ้า  ดังนั้นเมื่อครอบครูเเล้ว 
ก็เท่ากับได้รับอณุญาติว่าเราสามารถทำได้
เเละควรจะทำให้ดีที่สุดนะคะ 

เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

Quote from: เสือร้องไห้ on May 14, 2010, 18:15:18
Quote from: สยมภูวญาณ on May 14, 2010, 18:06:42
มาถึงวันนี้เป็นวันแรกที่เพลงได้เป็นคุณครู(ฝึกสอน)จะทำให้ดีที่สุด ให้สมกับคำว่าครูเลยครับ

ครูของเพลงครอบครูให้  ประสิทธิ์วิชาให้  ก็เพื่อให้เพลงมีวันนี้เเละวันต่อไปจ้า  ดังนั้นเมื่อครอบครูเเล้ว 
ก็เท่ากับได้รับอณุญาติว่าเราสามารถทำได้
เเละควรจะทำให้ดีที่สุดนะคะ 

ขอบคุณครับพี่เสือ

ขอบคุณ คุณสยมภูวญาณ ที่นำเรื่องราวดีๆแบบนี้มาร่วมแบ่งปันกันนะครับ

       นาฏศิลป์และดุริยศิลป์ของไทยเหล่านี้ถือเป็นสิ่งอันน่าภาคภูมิใจ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เราในฐานะคนไทยควรร่วมกันรักษาและเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้

       ผมคิดว่าถือเป็นโชคดีของคนไทยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์มรดกของชาตินี้ไว้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ดังเห็นได้จากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีต่อวงการนาฏศิลป์และดุริยศิลป์ของไทย ดังที่ผมขออนุญาตนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ อันเกี่ยวเนื่องกับกิจการนาฏศิลป์และดุริยศิลป์ของไทย มาประกอบในกระทู้นี้ด้วยนะครับ
.

.
(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคล้องพวงมาลัยที่ศีรษะโขน ละคร ที่จะทรงใช้ครอบ)
.
.
.
(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอบศีรษะพระพิราพพระราชทานแก่นายมนตรี ตราโมท
เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๗ ณ ศาลาดุสิตดาลัย)
.
.
        โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนละคร เพื่อเป็นการสืบสานฝีมืองานช่างของไทยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ในการนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการแสดงโขน ชุด พรหมาศ เพื่อฟื้นฟูการแสดงโขนให้มีความงดงามถูกต้องตามแบบประเพณี สมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ชาวไทยทุกคนควรภาคภูมิใจ
.

.
.
.
(สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ไปทรงทอดพระเนตรการแสดงโขน ชุด พรมมาศ  ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  )
เครดิตภาพ จาก http://konnonth.multiply.com
.
(คำว่า "พรมมาศ" ในที่นี้ สะกดตามต้นฉบับพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งปกติทั่วไปจะใช้คำว่า "พรหมมาศ" หรือ "พรหมมาสตร์" )
.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ครูผู้ใหญ่ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าตอนท่านเรียนอยู่ชั้นต้นสมัยนั้นพิธีไหว้ครูยังมีการให้ทำการบูชายัญนักแสดงด้วยโดยจะจับนักแสดงมัดกับเสากลางโรงพิธีแล้วมีครูผู้ใหญ่อีกท่านรำดาบหมายจะประหารชีวิตเพื่อมิให้มีศิลปแขนงนี้คงอยู่แล้วผู้ทำพิธีก้อเข้ามาทำการขอร้องให้ไว้ชีวิตและยังคงมีศิลปะแขนงนี้อยู่คู่โลกต่อไป ครูท่านบอกว่าครูผู้ที่ถูกมัด(ขณะนั้นเป็นนักเรียน) ถึงกับร้องไห้เพราะกลัวมากทีเดียว เมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้วก้อเข้ารับพรมน้ำมนต์และดำเนินพิธีต่อไป (ผิดพลาดอย่างไรขอโทษด้วยละกันนะครับ)

Quote from: สยมภูวญาณ on May 14, 2010, 17:15:03
ผมก้อภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการธำรงรักษามรดกของชาติ ที่คนส่วนใหญ่ห่างเหินและมองด้วยความดูถูกว่าเป็นอาชีพเต้นกินรำกินก็ตาม ไว้จะมาเล่าเรื่องคุณสมบัติปลีกย่อยของผู้ประกอบพิธีให้ฟังนะครับใครอยากฟังช่วยส่งเสียงด้วยละกันนะครับ

ผมคนหนึ่งที่ไม่เคยคิดดูถูกเหล่านาฏศิลปินเลย เพราะหากไม่มีพวกท่านๆ มรดกทางวัฒนธรรมแขนงนี้คงสูญสิ้นไปอย่างแน่นอน

ขอเป็นกำลังใจให้คุณและนาฏศิลปินทุกๆท่าน และขอรอฟังเรื่องราวดีๆจากคุณเจ้าของกระทู้อยู่ต่อไปนะครับ

ปล.หากได้มีโอกาสมาแสดงที่กรุงเทพฯเมื่อไหร่ ก็รบกวนแจ้งข่าวกันด้วยนะครับ จะได้ตามไปชม (ชอบอยู่แล้วโขน-ละครเนี่ย ^_^)
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ตื้นตันใจมากมาย ( เป็นคนเซ็นซิถีบบบ ฮ่ะ 55+ )

อ่านแล้วรู้สึก อิ่มเอมหัวใจ จนบอกไม่ถูก เหมือนได้เข้าไปอยู่ ร่วมพิธี ด้วย ยังไงยังงั้น
แอบน้ำตาคลอ กรุบกริบ คริๆ
ื เป็นพิธีไหว้ครู ที่แสนศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เพียงแค่เล่าสู่กันฟัง
ยังสัมผัสได้ถึง พลังอันศักดิ์สิทธิ์ในพิธี ยากนักจักอธิบาย
สาธยาย ออกมาเป็นคำพูดได้่
จนหมดสิ้นทั้งยังได้มี น้องเสือมาร่วม แบ่งปันความปราบปลื้มใจ ในสิ่งที่พี่ได้รู้มาสักพักใหญ่

บังคับให้เสือเล่าให้คนฟัง ก็ไม่ยอม ดูซิ่ เพิ่งจะมายอมเล่าให้คนอื่นฟัง เรื่องน่ายินดีขนาดนี้ เก็บกันไว้ได้ยังงงงไงงงง  คุณพี่ ละคันปากยิกๆๆๆๆๆ  ( นิส้ัยพี่ชอบแส่ เรืองชาวบ้านไงคริๆ )
และขอขอบพระคุณเรื่องเล่าพร้อมภาพบรรยาย
จากคุณอักษรชนนี ที่มา่ช่วยเสริม
ให้ กระทู้นี้ ไร้ที่ติ จริงๆ ครับ ภูมิใจ ที่ได้เกิดเป็นคนไทย และมีในหลวงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
ของลูก
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ในการไหว้ครูฉบับโบราณแล้วนั้นมีการเรียกเพลงหน้าพาทย์ชื่อตระนาฏราช ซึ่งชื่อก้อบอกไว้อยู่แล้วนะครับว่าเป็นเพลงสำหรับเทพพระองค์ใด
ในปัจจุบันนี้ ได้ลดทอนการเรียกเพลงหน้าพาทย์ลงด้วยปัจจัยต่างๆ ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดซึ่งแล้วแต่ดุลยพินิจของครูผู้ประกอบพิธี ผมเองยังไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูแบบโบราณจริงๆซะที แต่เคยเห็นข่าวในทีวีเมื่อปีกลายว่ามีการไหว้ครูฉบับโบราณในงานวันพระนริศฯ โดยมีครูไพฑูรย์  เข้มแข็ง เป็นผู้ประกอบพิธี ซึ่งในส่วนตัวผมชอบครูไพฑูรย์มากๆ เพราะครูท่านมีอุปนิสัยใจเย็น หน้าท่านดูอิ่มไม่รีบร้อน ท่านเคยจับท่ารำให้เพลงด้วยครับ จากการที่ผมได้สอบถามหลายท่านเค้าก็ประทับใจครูท่านนี้เป็นอย่างมาก อีกอย่างครูท่านนี้เป็นอีกท่านหนึ่งที่สามารถรับเชิญให้ไปประกอบพิธีในที่ต่างๆได้อีกด้วยครับ
http://www.youtube.com/watch?v=cI9F_QKr61w&feature=player_embedded



กะทู้ยอดเยี่ยมถูกใจอีก 1กะทู้ ชื่นชอบนาฏศิลป์มานานละค่ะ

กราบขอบพระคุณท่านเจ้าของกะทู้ และทุกๆท่านที่ให้ความรู้ค่ะ

Quote from: สยมภูวญาณ on May 14, 2010, 21:32:00
ในการไหว้ครูฉบับโบราณแล้วนั้นมีการเรียกเพลงหน้าพาทย์ชื่อตระนาฏราช ซึ่งชื่อก้อบอกไว้อยู่แล้วนะครับว่าเป็นเพลงสำหรับเทพพระองค์ใด
ในปัจจุบันนี้ ได้ลดทอนการเรียกเพลงหน้าพาทย์ลงด้วยปัจจัยต่างๆ ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดซึ่งแล้วแต่ดุลยพินิจของครูผู้ประกอบพิธี ผมเองยังไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมพิธีไหว้ครูแบบโบราณจริงๆซะที แต่เคยเห็นข่าวในทีวีเมื่อปีกลายว่ามีการไหว้ครูฉบับโบราณในงานวันพระนริศฯ โดยมีครูไพฑูรย์  เข้มแข็ง เป็นผู้ประกอบพิธี ซึ่งในส่วนตัวผมชอบครูไพฑูรย์มากๆ เพราะครูท่านมีอุปนิสัยใจเย็น หน้าท่านดูอิ่มไม่รีบร้อน ท่านเคยจับท่ารำให้เพลงด้วยครับ จากการที่ผมได้สอบถามหลายท่านเค้าก็ประทับใจครูท่านนี้เป็นอย่างมาก อีกอย่างครูท่านนี้เป็นอีกท่านหนึ่งที่สามารถรับเชิญให้ไปประกอบพิธีในที่ต่างๆได้อีกด้วยครับ
                 http://www.youtube.com/v/cI9F_QKr61w&feature=player_embedded



ขอบคุณครับพี่กี้
ที่เอายูทูปมาลงให้เราก้องงอยู่ตั้งนาน
กลัวผู้อ่านไม่เห็นภาพ
ขอบคุณมากครับและก็ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะครับ

โห  ทู้นี้ช่างเป็นกระทู้ที่น่าภูมิใจอีกอันนึงเลยคะ

แอบปลาบปลื้มมากๆด้วย  และดีใจที่ยังมีคนเห็นคุณค่าของมรดกไทย

คนในวงการนาฎศิลป์  มาเองเลย อิอิ

นี่สิของจริง..............


เคยมีโอกาสพูดคุยกับครูผู้ใหญ่ในสายดุริยางค์ไทยเกี่ยวกับเรื่องของที่มาของเพลงหน้าพาทย์
ท่านได้บอกไว้ว่า เพลงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีที่มาตั้งแต่สมัยอยุธยาและสูญหายไปเยอะ
ในส่วนที่มาที่ไปของการแต่งเพลงนี้ ที่เพลงถามก็เพราะสงสัยว่าทำไมหน้าพาทย์ถึงถือว่าเป็นเพลง
ที่ศักดิ์สิทธิ์ ท่านผู้นั้นจึงตอบว่า เพราะเหล่านี้เป็นทิพยดุริยางค์ในสรวงสวรรค์ที่เหล่าเทวดา
พากันขับประโคม การได้มานั้นบรมครูผู้เชี่ยวชาญในทางดนตรีท่านได้มีการปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรม
และส่วนหนึ่งคือการเคารพครูเสมือนผู้ประกอบพิธีที่เปรียบเหมือนสื่อกลางระหว่างครูเทพและมนุษย์
เหมือนอักษรเทวนาครีที่ถือกันว่ามีที่มาจากเทพประทานมาและถือว่าเป็นอักษรศักดิสิทธ์
เพลงหน้าพาทย์ก็เช่นเดียวกันครับ
ในวงการนาฏศิลป์จะถูกหล่อหลอมมาอย่างเข้มงวดทีเดียว
ไม่ว่าจะได้ยินเพลงหน้าพาทย์บรรเลงที่ไหนก็จะต้องยกมือขึ้นไหว้
ตลอดจนการรำเพลงหน้าพาทย์ก็จะต้องรำอย่างมีสติ จะผิดมิได้และจะต้องรำให้จบเพลงแม้ว่าจะรำผิดก็ตาม
เพลงได้ต่อหน้าพาทย์เพลงแรกคือเพลงตระนิมิตร
ครูผู้ถ่ายทอดกำชับว่าจะต่อได้เพียงสามครั้งเท่านั้น
เราก็ใจฝ่อกลัวจำไม่ได้ ความสำคัญของเพลงหน้าพาทย์จึงมิใช่เป็นเพียงแค่เพลงไทยทั่วๆไป
หากแต่เป็นเพลงอันมาจากสภาวะอันเป็นทิพยดุริยางค์
ปัจจุบันเพลงหน้าพาทย์เข้าถึงกันง่ายมากขึ้นในวงกว้าง
คุณค่าและความศักดิ์สิทธิ์จึงลดลงจากจิตใจของคนในสังคม
ธรรมเนียมจารีตที่บรมครูได้ยึดถือกันมาต่างเจือจางเบาบางลงทุกวันๆ

ท่านทั้งหลายครับ......มรดกของชาติจารีตของวงการและความเสื่อมถอยของสังคม
โปรดช่วยกันหน่อยนะครับ.........อย่าฟังด้วยอารมณ์คะนองอย่าฟังด้วยความงมงาย
จงฟังด้วยความเคารพเฉกเช่นบทเพลงสรรเสริญพระเป็นเจ้าที่ท่านทั้งหลาย
ฟังด้วยศรัทธาเถิดนะครับ

โห ... ตอบได้คำเดียวว่าอึ้งและภูมิใจเป็นที่สุดคะ ขนลุกเลยคะ  ส่วนตัวพี่แล้วไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้เท่าไหร่นะค่ะ  ก็อาศัยหลายๆท่านช่วยกันจากบอร์ดนี้ละคะ

ขอองค์บรมครูคุ้มครองและประทานพรแก่คุณนะค่ะ คุณสยมภูวญาณ



แต่ในวงการนาฏดุริยางค์  เพลงหน้าพาทย์ ทุกเพลงจะชั้นสูงฤไม่ก็ตาม  ก็ยังได้รับความเคารพอยู่เสมอครับ




ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

Quote from: nai 3 on May 15, 2010, 11:34:20
แต่ในวงการนาฏดุริยางค์  เพลงหน้าพาทย์ ทุกเพลงจะชั้นสูงฤไม่ก็ตาม  ก็ยังได้รับความเคารพอยู่เสมอครับ


อ้อ....สิ่งนี้แน่นอนอยู่แล้วครับผม

เอ............พระปัญจสิงขร  นิคือเทวฤษีนารท  ใช่ไหมครับ  หรือว่าเป็น  พระปรคนธรรพ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ไม่ใช่ครับ
พระปัญจสีขร (ปัญจสิข)
เป็นเด็กเลี้ยงโค ช่วงที่เป็นมนุษย์ได้สร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย ได้บังเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจตุมหาราช ชื่อว่า "ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร" กายเป็นสีทอง มีกุณฑล ทรงภูษาสีแดงประดับด้วยนิล เป็นพระพุทธอุปัฏฐากในพระพุทธบาทยุคล มีความสามารถในเชิงดีดพิณ และขับลำนำ ซึ่งพิณของพระปัญจสีขรมีลักษณะรูปพรรณเลื่อมเหลือง ดั่งผลมะตูมสุก ตระพองพิณเป็นทองทิพย์ คันพิณทำด้วยแก้วอินทนิลมณี มี 50 สาย ทำจากเงิน ลูกบิด (เวทกะ)ที่สอดสายพิณอยู่ปลายคันทำด้วยแก้วประพาฬ ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปัญจสีขร มียอดมงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด เป็นหน้าสวม ขาว ลักษณะใบหน้าเหมือนมนุษย์

พระปรคนธรรพ มีพระนามจริงว่า "พระนารทมุนี"
เป็นผู้สร้างพิณขึ้นเป็นคันแรก เป็นตนในมหาฤาษีทั้งสิบ เกิดจากพระนลาฏของพระพรหม เป็นคนธรรพจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีความดีเกินกว่าจะเป็นมนุษย์แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นเทวดา อาศัยอยู่ระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ มีความชำนาญในการขับร้องและเล่นดนตรี มีหน้าที่บรรเลงดนตรีให้ความสำราญและขับกล่อมเทพยดา
ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปรคนธรรพ มี 2 ลักษณะ คือ หน้าสีเขียวช่อแค เป็นหน้าสวมมงกุฎยอดบวช ปาก จมูกเหมือนมนุษย์ ส่วนตาจระเข้หรือตานกนอน และอีกลักษณะคือ หน้าสีส้มหรือสีปูนแห้ง เป็นหน้าสวมใบหน้า หน้าเหมือนมนุษย์เขียนลายทักษิณาวรรตใส่ยอดชัย<!--colorc-->
<!--colorc-->
<!--/colorc-->

เอ่อ....  พอจะมีรูปให้ชมบ้างไหมครับ  แบบนึกไม่ค่อยออกครับ - -*
 

พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง
   โททนต์เสน่คงสำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวายมลายสิ้นทั้งอินทรีย์   สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด   ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

Quote from: อักษรชนนี on May 14, 2010, 18:29:30
ขอบคุณ คุณสยมภูวญาณ ที่นำเรื่องราวดีๆแบบนี้มาร่วมแบ่งปันกันนะครับ

       นาฏศิลป์และดุริยศิลป์ของไทยเหล่านี้ถือเป็นสิ่งอันน่าภาคภูมิใจ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เราในฐานะคนไทยควรร่วมกันรักษาและเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้

       ผมคิดว่าถือเป็นโชคดีของคนไทยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์มรดกของชาตินี้ไว้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ดังเห็นได้จากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีต่อวงการนาฏศิลป์และดุริยศิลป์ของไทย ดังที่ผมขออนุญาตนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ อันเกี่ยวเนื่องกับกิจการนาฏศิลป์และดุริยศิลป์ของไทย มาประกอบในกระทู้นี้ด้วยนะครับ
.

.
(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคล้องพวงมาลัยที่ศีรษะโขน ละคร ที่จะทรงใช้ครอบ)
.
.
.
(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอบศีรษะพระพิราพพระราชทานแก่นายมนตรี ตราโมท
เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๗ ณ ศาลาดุสิตดาลัย)
.
.
        โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนละคร เพื่อเป็นการสืบสานฝีมืองานช่างของไทยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ในการนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการแสดงโขน ชุด พรหมาศ เพื่อฟื้นฟูการแสดงโขนให้มีความงดงามถูกต้องตามแบบประเพณี สมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ชาวไทยทุกคนควรภาคภูมิใจ
.

.
.
.
(สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ไปทรงทอดพระเนตรการแสดงโขน ชุด พรมมาศ  ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  )
เครดิตภาพ จาก http://konnonth.multiply.com
.
(คำว่า "พรมมาศ" ในที่นี้ สะกดตามต้นฉบับพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งปกติทั่วไปจะใช้คำว่า "พรหมมาศ" หรือ "พรหมมาสตร์" )
.
.


ผมสงสัยว่า เศียรที่น่าสีทองศีษะโล้นวางต่ำกว่าพระพิฆเนศแต่สูงกว่าเศียรช้างเอราวัณคือใครคับ วอนผู้รู้ช่วยแถลงข้อสงสัย

สงสัยเหมือนกัน ยังไงรอผู้รู้มาช่วยบอกด้วยคนครับ
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

เจ้เสืออ่านกระทู้ของเพลงเเล้ว  เดินทางกลับบ้านที่
สุราษธานี  เอาความปลื้มยินดี  ของน้องเพลง
กลับมาเล่าให้  เเม่ที่บ้านฟังด้วย  เท่ห์มากเลย
มีน้องเก่งอย่างนี้  ว่าไปเจ้เสือยังปลื้มไม่หายเลย  ด้วยระยะ  ทาง  688  กิโลเมตร  เจ้ปลื้มใจมาตลอดทาง

เก่งมากเลยจ่ะเพลง

เจ้จะบอกอะไรให้นะคะ  วันนั้นพี่จิ้งจอกคะ  โทรมาหาเจ้เสือบอกว่า  เสือไปไปไป  ไปซื้อหนมให้เพลง
เพลงมาเเสดงที่  กทม  พี่เสือบอก  เสียดายค่ะ  พี่เสือ  อยู่สุราษ  กลับมาขอตังค์ค่าเทอม  เลยอดดูเลย

ว่าไปคนที่ดีใจตื่นเต้นไม่เเพ้พี่เสือ  เชียร์สุดฤทธิ์

คือ  พี่จิ้งจอกพันหน้าคะ  เเล้วอย่างงี้  จะมาว่าพี่กี้ไม่รัก  ไม่ห่วงน้องไม่ได้นะคะ   เจ้ เป็นเสือใส่รองเท้าอีกเเระ  ใส่รองเท้าเตรียมตัวไปนอกบ้านจ้า
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

Quote from: จิ้งจอกพันหน้า on May 14, 2010, 21:12:14
ตื้นตันใจมากมาย ( เป็นคนเซ็นซิถีบบบ ฮ่ะ 55+ )

อ่านแล้วรู้สึก อิ่มเอมหัวใจ จนบอกไม่ถูก เหมือนได้เข้าไปอยู่ ร่วมพิธี ด้วย ยังไงยังงั้น
แอบน้ำตาคลอ กรุบกริบ คริๆ
ื เป็นพิธีไหว้ครู ที่แสนศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เพียงแค่เล่าสู่กันฟัง
ยังสัมผัสได้ถึง พลังอันศักดิ์สิทธิ์ในพิธี ยากนักจักอธิบาย
สาธยาย ออกมาเป็นคำพูดได้่
จนหมดสิ้นทั้งยังได้มี น้องเสือมาร่วม แบ่งปันความปราบปลื้มใจ ในสิ่งที่พี่ได้รู้มาสักพักใหญ่

บังคับให้เสือเล่าให้คนฟัง ก็ไม่ยอม ดูซิ่ เพิ่งจะมายอมเล่าให้คนอื่นฟัง เรื่องน่ายินดีขนาดนี้ เก็บกันไว้ได้ยังงงงไงงงง  คุณพี่ ละคันปากยิกๆๆๆๆๆ  ( นิส้ัยพี่ชอบแส่ เรืองชาวบ้านไงคริๆ )
และขอขอบพระคุณเรื่องเล่าพร้อมภาพบรรยาย
จากคุณอักษรชนนี ที่มา่ช่วยเสริม
ให้ กระทู้นี้ ไร้ที่ติ จริงๆ ครับ ภูมิใจ ที่ได้เกิดเป็นคนไทย และมีในหลวงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
ของลูก
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


เนอะว่าไหม  ปลื้มใจเหมือนกัน  โดยเฉพาะ  น้องเพลงของเรา  ยิ่งเป็นคนที่รู้จักกันด้วยยิ่งน่าปิติ  จนซึ้งใจไปอีกคน  ต่อไปคงมีครูสอน  ที่หน้าตาน่ารัก  หล่อ  มากๆ  เจ้เสือคอนเฟริม  พี่กี้ขา  หากน้องเพลงมา  กทม

เราคงต้องนัด  เลี้ยงฉลอง  กันดีไหมคะ  พี่กี้ขา  เรื่องน่ายินดีเรื่องนั้นน่ะ  จะบอกได้ไง  ก็ก่อนหน้าเรียนยังไม่จบ  ก็เลยบอกเเค่จบวิทยาศาสตร์  ตอนนี้เรียนจบเเร้ว  ออกตัวได้เต็มที่  เรื่องนั้นที่ปิดไว้เพราฝีมือยังไม่ดี 
เลยไม่กล้าเอ่ย  ตอนนี้คิดได้เเร้ว  ทำไปเรื่อยๆก็คงดีขึ้นเอง

เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

Quote from: ศรีมหามารตี on May 15, 2010, 10:58:31
โห  ทู้นี้ช่างเป็นกระทู้ที่น่าภูมิใจอีกอันนึงเลยคะ

แอบปลาบปลื้มมากๆด้วย  และดีใจที่ยังมีคนเห็นคุณค่าของมรดกไทย

คนในวงการนาฎศิลป์  มาเองเลย อิอิ

นี่สิของจริง..............

เสือก็ปลื้มเหมือนกันคะเจ้  ดีดี  ดีใจด้วยนะเพลง  มีคนชื่นชม  น้องเพลงมากมาย  เป็นกำลังใจให้ครูฝึกสอนครูเพลงนะคะ

เดี๊ยวต่อไปคงเรียกเพลงธรรมดาไม่ได้เเระ  ต้องเรียก  ครูเพลง
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

น้ำตาคลอครับพี่น้อง.......
ขอบคุณทุกกำลังใจมากๆนะครับ
เพิ่งรู้นะเนี้ยพี่เสือว่าพี่กี้เค้าโทรหาพี่ด้วย
วันนั้นซึ้งใจมากเลยรู้มั้ย
เพลงแค่บอกพี่กี้ในเอ็มไม่ได้โทรคุยกันเลย
ก็คิดว่าคงลืมไปแล้วมั้ง
ครั้นเราจะโทรหาก็เกรงใจมากๆ
แต่แล้วพี่กี้เป็นคนที่โทรเข้ามาหาเพลงเองเลย
แล้วคุยกันเหมือนคนที่เคยคุยโทรศัพท์กันมากนานมาก
บอกว่าเดี๊ยวจะออกไปหา
โห.....เชื่อมั้ยเพลงปลื้มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ปลื้มน้ำใจพี่คนนี้มากๆเลยครับ
ใครที่มีโอกาสได้รู้จักนับว่าเป็นบุญ
บุญแห่งการเป็นกัลยาณมิตรครับ
เพลงคอนเฟิร์ม

ศรีษะที่มีสีทอง  จะใช่พระขันธกุมาร  รึป่าวครับ
ผมเหมือนเคยเห็นมีการทำศรีษะของพระองค์ออกมาด้วย
บางครั่งก็ใส่มงกุฏที่เกล้าผมอะคัฟ

แบบในภาพอะครับ  ในภาพจะมีศรีษะของเทวนารีด้วยอะคัฟ

ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ได้อ่านกระทู้นี้แล้วชื่นใจจริงค่ะ ขอบพระคุณคุณสยมภูวญาณมากที่นำเรื่องดีดีเหล่านี้มาแบ่งปันกัน

สมัยเรียนมัธยม เพื่อนสนิทคนหนึ่งของดิฉันเป็นครอบครัวนาฏศิลป์ มีบ้านพักอยู่ในวิทยาลัยนาฏศิลป์ ดิฉันก็พลอยได้รู้ได้เห็นอะไรๆเหล่านี้มาด้วยตลอด จนกลายเป็นชื่นชอบไปไนที่สุด และมีโอกาสได้ร่วมพิธีครอบครัวมาตั้งแต่เวลานั้น

แต่เมื่อมหาวิทยาลัยนี่เองที่ได้มีโอกาสครอบครูอย่างเป็นทางการกบเขาเสียที ตื่นเต้นและยินดีมากเลยค่ะ

นาฏศิลป์และดนตรีเป็นเครื่องหมายของความเจริญของวัฒนธรรมที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด ดังนั้นจึงน่าภูมิใจไม่ใช่น้อยที่เรามีนาฏศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตน และมีคนอีกมากมายยกตัวอย่างเช่นคุณสยมภูวญาณ ทำหน้าที่รักษาและถ่ายทอดสมบัติอันล้ำค่านี้ต่อไป

ความรู้ด้านนี้ดิฉันน้อยนักนะคะ แต่รู้สึกว่าหัวโขนศรีษะโล้น หน้าทองที่ตั้งอยู่บนโต๊ะคราวงานพรมมาสนั้น ผู้สวมจะแสดงเป็ฯเทวดาในเรื่องและใช้สวมในการรำประเลงซึ่งเป็นรำหน้าม่านค่ะ

เดาเอาแบบคนโง่ (มากๆ) ว่าน่าจะใช้เป็นศรีษะเทวดาโดยทั่วไปค่ะ

ผิดถูกอย่างไรคงต้องรอท่านผู้รู้ท่านอื่น
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ได้เรียนถามกับครูของเพลงครับ
ท่านได้บอกว่านี่คือ พระเวสสุกรรม ซึ่งสร้างได้สองลักษณะ
คือหน้าเขียวมงกุฎน้ำเต้า และศีรษะโล้นเขียนลายดอกไม้ หรือจะโพกผ้าก็ได้ครับ

อ่อ
ผมก็สงสัยอยุ่ว่าถ้าเป็นเทวดาธรรมดาทำไมเค้าถึงตั้งไว้เหนือศรีษะพระฤษีกับพระพิราพ
ขอบคุณนะคัฟคุณเพลง ผมพึ่งเคยเห็นพระวิษณุกรรมหน้าทอง

พูดถึงโขนผม ชอบตับพรหมมาสตร์ ที่สุด  ดูอลังการมากคัฟ

ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

เพลงก็ชอบครับตอนนี้อ่ะนะ แต่มีอีกตอนหนึ่งที่เพลงชอบมากก็คือตอนนารายณ์ปราบนนทุก (ชอบนางนารายณ์มากๆ) ผมกับเพื่อนพากันสงสัยว่าทำไมในเรื่องรามเกียรติ์พระนารายณ์ถึงต้องแปลงกายเป็นแต่ผู้หญิงและก็แปลงได้งดงามที่สุดด้วย และพระอิศวรก็ชอบแปลงกายเป็นผู้ชายคู่กับพระนารายณ์(แค่สงสัยเล่นๆนะครับ) ถ้าใครอยากทราบเรื่องอะไรในวงการนี้เพิ่มเติมก็ส่งเสียงมาได้นะครับ ถ้าตอบไม่ได้เพลงจะพยายามสืบค้นสอบถามบรรดาครูให้ครับ

ขอบพระคุณ คุณสยมภูวญาณนะคะ ความรู้ใหม่อีกแล้ว นี่คือเหตุผลที่ดิฉันรัก HM ค่ะ มีความรู้เพียบเลย แอบไปเอารูปรำประเลงมาฝากค่ะ



อันนี้เป็นภาพที่ใช้ประชาสัมพันธ์การแสดงโขนชุดพรหมาสต์

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ทุกท่านเคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมพระรามต้องกายสีเขียว พระลักษมณ์ต้องสีเหลือง และตัวละครอื่นๆที่มีสีแตกต่างกัน วันนี้เพลงได้ไปหาคำตอบเผื่อท่านที่สนใจถือว่าเป็นเกร็ดเล็กๆอีกเกร็ดหนึ่งที่น่าสนใจครับ
  จารีตเรื่องสีในนาฏกรรม เป็นสิ่งที่เพิ่มสีสันในการแสดงโขนละคร และเป็นเครื่องบอกความสำคัญของตัวโขนละครอีกด้วยซึ่งเป็นจารีตปฏิบัติที่สืบมาแต่ครั้งโบราณ สีในการแสดงโขนมีหลักที่ควรสังเกต ดังนี้ครับ
  ๑. กำหนดขึ้นจากช่วงกำเนิดของตัวโขน เช่น พระราม กำเนิดในเวลาดึกสงัด (มัชฌิมยาม)จึงมีกายสีเขียว พระพรต  กำเนิดในเวลาเช้า พระอาทิตย์ทอแสง จึงมีผิวกายสีแดง พระลักษมณ์ กำเนิดในช่วงบ่าย (สามนาฬิกาห้าบาท)จึงมีผิวกายสีเหลือง พระสัตรุด กำเนิดในช่วงเย็น(สี่โมงเศษ) จึงมีผวกายสีม่วง
   ๒. กำหนดขึ้นจากเชื้อสายของตัวโขน เช่น บิดามีสีกายอย่างไรบุตรก็จะมีสีกายเช่นนั้น ในกรณีนี้บางครั้งไม่สามารถยึดถือเป็นจารีตเคร่งครัด อาจเปลี่ยนแปลงได้ ดังเช่น ท้าวลัสเตียน บิดาของทศกัณฐ์มีผิวกายสีขาว แต่ทศกัณฐ์นั้นมีกายสีเขียว แม้ในชั้นหลานก็มีกายสีเขียวเช่น อินทรชิตเป็นต้น  กรณีเช่นนี้ต้องย้อนขึ้นไปถึงชั้นบิดาของท้าวลัสเตียน คือท้าวจตุรพักตร์ ซึ่งมีเชื้อสายจากพระพรหมจึงมีสีกายสีขาว
   ประการหนึ่งชาติกำเนิดเดิมก็มีส่วนในการกำหนดสีของตัวโขนเช่นกัน อาทิ เช่นลิงสิบแปดมงกุฎและพญาวานร อาทิ พระพุธ เป็นสุรเสน สีกายสีเขียว พระเกตุเป็นกุมิตัน สีกายสีทอง พระอังคารเป็นวิสันตาวี ผิวกายสีชมพู เป็นต้น
   นอกจากนี้การเลือกใช้สีของนางโขนยังบ่งบอกได้อีกว่าสีนี้เป็นนางกษัตริย์ที่ยังสาว หรือนางกษัตริย์ที่แก่แล้ว ตลอดจนสีที่เป็นนางศักดิ์ต่ำทั่วไปอีกด้วย ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูเล่นๆนะครับว่า สีที่ใช้บอกว่าเป็นนางโขนที่ยังสาวเป็นสีอะไร
    ใครมีเกร็ดเพิ่มเติมสามารถเสนอได้นะครับแลกเปลี่ยนกัน
  ๓. กำหนดขึ้นจากลักษณะพื้นฐานธรรมชาติที่ปรากฎ เช่น พระอาทิตย์สีแดงชาด ตามรัศมีของแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์สีเหลืองนวล ตามรัศมีของแสงจันทร์ พระเพลิงสีหงสบาท (แดงส้ม) ตามสีของเปลวไฟครับ

เข้ามาเก็บเกี่ยว เสพสารแห่งความรู้ครับผม
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของกระทู้ และ ทุกๆท่าน ครับ ชุ่มชื่นหัวใจมากมาย