Loader

มหาภารตยุทธกับการรับรู้ของคนไทย

Started by อินทุศีตาลา, April 12, 2011, 16:48:23

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

สงกรานต์นี้ว่างจากภารกิจทั้งหลายค่ะ กอปรกับอายุได้ล่วงเลยวัยที่จะออกไปเล่นสาดน้ำข้างนอกแล้ว แต่เมื่ออยู่เฉยๆก็เบื่อ เลยนึกได้ว่ามีอะไรอยากแบ่งปันกับท่านทั้งหลายในบอร์ดเพื่อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ขึ้นอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน

อนุสนธิที่ครั้งหนึ่งดิฉันเคยเสียมารยาทปะทะคารมกับอดีตสมาชิกบอร์ดท่านหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องความเข้าใจของคนไทยที่มีต่อพระกฤษณะ และตั้งใจไว้ตั้งแต่นั้นว่าจะหาโอกาสชวนทุกท่านคุยเรื่องนี้ต่อ แต่จนแล้วจนรอดก็หามีโอกาสและเวลาไม่ จึงว่างเว้นไปเสียนาน ดังนี้ ในโอกาสขึ้นปีใหม่ของไทย (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวแก่พระกฤษณะเลย แต่ว่าดิฉันว่างพอดี)จึงขอเชิญเพื่อนสมาชิกบอร์ดทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับประเด็นนี้กันค่ะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

บทความนี้ปรับปรุงมาจากตอนที่ทำรายงานส่งอาจารย์สมัยเรียนประวัติศาสตร์เอเชียใต้เมื่อ ปี2 หรือ ปี3 ค่ะ พอดีไปค้นเจอเอามาแก้ๆเสียหน่อย ตรงไหนผิดพลาดขอเชิญทุกท่านต่อเติมค่ะ

มหากาพย์มหาภารตยุทธกับการรับรู้ของสังคมไทย

มหากาพย์มหาภารตยุทธ ถือเป็นวรรณกรรมโบราณที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและแนวคิดของคนในภารตประเทศเป็นอย่างยิ่งนับเนื่องจากอดีตมาจนกระทั่งปัจจุบัน ดังที่ยะวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า "แม้ว่ารามายณะจะเป็นมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ และเป็นที่รักของประชาชนโดยทั่วไป แต่อันที่จริงแล้ว ต้องนับว่ามหากาพย์มหาภารตะต่างหากที่เป็นวรรณกรรมสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งของโลก มหากาพย์มหาภารตะมีความยาวมหึมา เป็นสารานุกรมหรือที่รวมของเรื่องเรื่องราวปรัมปรา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความรู้อันเกี่ยวกับสถาบันทางสังคมและการเมืองของอินเดียในสมัยโบราณ
      
มหากาพย์ที่มีความยาวถึง 100,000 โศลก หรือประมาณเจ็ดเท่าของมหากาพย์อีเลียตและโอดิสซี ที่ชาวตะวันตกถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นต้นธารแห่งอารยธรรมของพวกเขานี้ แต่งขึ้นโดยฤาษีกฤษณะ ไทวปานยะหรือนามที่เราทั้งหลายรู้จักกันดีว่า เวท วยาส นักวิชาการหลายสาขาลงความเห็นว่า มหากาพย์เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อราว 1,400 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล (ประมาณ 3,000 กว่าปีมาแล้ว) และคงจะได้รับการต่อเติมเสริมแต่งเรื่องมาจนกระทั่งประมาณ พ.ศ.743 จึงมีเรื่องราวอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ และแบ่งออกเป็นสองฉบับใหญ่ คือ ฉบับที่แพร่หลายทางอินเดียในตอนเหนือ และฉบับที่แพร่หลายในอินเดียทางตอนใต้

จะอย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับวัฒนธรรมอื่นๆของอินเดียที่ส่งอิทธิพลให้กับดินแดนต่างๆทั่วโลก มหาภารตยุทธก็ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วเช่นกัน และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างยิ่ง คำถามที่น่าสนใจก็คือในเมื่อมหากาพย์เรื่องนี้มีความยิ่งใหญ่เกรียงไกรและเป็นที่ยอมรับนับถือเท่าๆกับหรือมากกว่ามหากาพย์รามายณะ แต่ทำไมมหาภารตะจึงหายไปหลงเหลือแต่รามายณะ....ในเวลานี้

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

มหาภารตยุทธก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
นับตั้งแต่อดีตกาล ผู้คนในเอเชียตะวันออกรู้จักและคุ้นเคยกับมหากาพย์มหาภารตยุทธเป็นอย่างดี อย่างน้อยก็ในเหล่านักบวชและชนชั้นปกครองซึ่งมีศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเป็นเครื่องพยุงสถานะ หลักฐานที่เห็นได้ชัดก็คือภาพสลักในเทวสถานหลายแห่งเล่าเรื่องราวมหาภารตยุทธ ที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดก็คือระเบียงคดของปราสาทนครวัด
ในพื้นที่ที่จะกลายมาเป็นประเทศไทย เรายังได้พบเทวสถานสำคัญซึ่งมีการสลักเสลาภาพเล่าเรื่องมหาภารตยุทธ เช่น ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง, เป็นต้น
นอกจากภาพสลักแล้ว เรายังพบโบราณวัตถจำพวกเทวรูปหลายชิ้น ที่เกี่ยวพันหรืออาจเกี่ยวพันกับมหาภารตยุทธ อาทิ เทวรูปหินทราย เป็นบุคคลสวมหมวกทรงกระบอก ยกแขนข้างหนึ่งขึ้น ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าคือรูปพระกฤษณะกำลังยกภูเขาโควรรธนะ เป็นต้น

พระกฤษณะปราบช้างกุวัลยปิถะที่ปราสาทพิมาย

พระกฤษณะปราบกาลิยะนาค

สันนิษฐานว่าพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ที่เมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

มหาภารตยุทธในสมัยสุโขทัยอยุธยา
ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันว่ามหาภารตยุทธหรือแม้กระทั่งรารมายณะเองยังเป็นที่รู้จักในสมัยสุโขทัยหรือไม่ เพราะหลักฐานทางโบราณคดีที่หลงเหลืออยู่ในเวลานี้ยังไม่มีชิ้นใดระบุได้ว่าอิทธิพลของมหากาพย์ทั้งสองแพร่หลายมาถึง  ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าพระนาม 'รามคำแหง' ของกษัตริย์สุโขทัยนั้นหมายถึงพระรามจันทราวตาร ในมหากาพย์รามายณะ แต่นักวิชาการด้านศาสนวิทยา, คติชนวิทยาและภาษาศาสตร์หลายท่าน อาทิ ศ.ประเสริฐ ณ นคร ลงความเห็นว่า พระนาม 'ราม' นั้น หาได้หมายถึงพระรามในคติฮินดูไม่ แต่หมายถึง 'พระราม' อันเป็นนามของอนาคตพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งที่คัมภีร์อนาคตวงศ์ ระบุว่าจะเสด็จอุบัติขึ้นในอนาคตโลก คัมภีร์นี้คงแพร่หลายอย่างยิ่งแล้วในเวลานั้นเพราะในกาลต่อมาเป็นหนึ่งใน 'หนังสืออ้างอิง' ที่ พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1 ทรงใช้ในการแต่งไตรภูมิพระร่วงเมื่อปี 1888
นอกจากเทวรูปหมู่หนึ่งที่กษัตริย์ผู้ทรงธรรมพระองค์นั้นทรงสร้างขึ้นและประดิษฐานไว้ ณ เทวาลัยมหาเกษตรพิมานในเมืองสุโขทัยแล้ว ดูเหมือนว่าเรื่องราวของพระเป็นเจ้าในสมัยสุโขทัยจะมีเหลือมาถึงเราน้อยเต็มที
แต่กุญแจดอกสำคัญของอิทธิพลมหาภารตยุทธในอาณาจักรสุโขทัย กลับเด่นชัดขึ้นเมื่อปลายสมัย เมื่อปรากฏพระนามของขัตยราชพระองค์หนึ่งในราชวงศ์พระร่วงว่า 'พระเจ้ายุทธิษเฐียรหรือยุทธิษฐิระ'
          เจ้าชายพระองค์นี้เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาบรมปาล ปัจฉิมกษัตริย์แห่งอาณาจัรสุโขทัยซึ่งขณะนั้นมีราชธานีอยู่ที่เมืองสองแคว และเป็นพระสหายของ 'พระราเมศวร'ขัติยชาติที่ทรงมีเชื่อสายทั้งพระราชวงศ์พระร่วงทางฝ่ายพระมารดาและราชวงศ์ผู้ครองอยุธยาจากฝ่ายพระราชบิดา
          เจ้าชายทั้งสองตกลงกันว่าถ้าพระราเมศวรได้รับการสถาปนาให้ปกครองแผ่นดินอยุธยาซึ่งเวลานั้นมีอำนาจเหนือสุโขทัยแล้ว จะต้องสถาปนาเจ้าชายยุทธิษเฐียรเป็นกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยด้วย แต่การณ์หาได้เป็นไปดังนั้นไม่
          เพราะเมื่อพระราเมศวรทรงครองกรุงศรีอยุธยาในพระนาม 'สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ' แล้ว ต้องปรับปรุงรูปแบบการปกครองเสียใหม่ ลดอำนาจเจ้าท้องถิ่นลง เจ้าชายยุทธิษเฐียรจึงเป็นได้แค่ 'เจ้าเมืองสองแคว' มิใช่กษัตริย์ นั่นทำให้พระองค์เปลี่ยนพระทัยไปเข้าข้างศัตรูของอยุธยา คืออาณาจักรล้านนา และได้รับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าติโลกราชให้ขึ้นไปครองเมืองพะเยา
     ยังปรากฏพระพุทธรูปสำริดเนื้อสุกใสองค์หนึ่ง ซึ่งจารึกที่ฐานกล่าวว่า
ศักราช 1389 เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ วันอาทิตย์ อุตรภัทรนักษัตร โสริยาม พระราชาผู้เป็นใหญ่ ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายุทธิษฐิรราม" เป็นพระราชาผู้ครองเมืองอภินว ทรงประสูติในวงศ์ของนักรบผู้กล้าหาญเป็นเยี่ยม ทรงประกอบด้วยธรรม แตกฉานพระไตรปิฎก ได้สร้างพระพุทธรูปทององค์นี้ มีนำหนักประมาณ14 พัน เพื่อดำรง (พระศาสนา) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
<o:p> </o:p>
อันพระนามยุทธิษเฐียรหรือยุทธิษฐิระนี้ ย่อมทราบกันดีว่าคือพระนามของหนึ่งในภราดาปาณฑพ  โอรสของนางกุนตีที่เกิดจากพระธรรมเทพ 
นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อที่น่าสนใจอีกชื่อหนึ่ง ในศิลาจารึกหลักที่สอง ซึ่งพบที่อุโมงค์วัดศรีชุมในเมืองสุโขทัย เป็นจารึกที่บอกเล่าเรื่องราวของพระเถระสำคัญรูหนึ่งของสุโขทัยคือ 'สมเด็จพระมหาเถรศรีสัทธาราชจุฬามุนี ศรีรัตนลงกาทีป มหาสามีเป็นเจ้า' ซึ่งทรงมีพระชาติกำเนิดเป้ฯเชื้อพระวงศ์เก่าแก่ของสุโขทัย ก่อนจะเสด็จออกผนวชและจาริกไปยังเมืองต่างจนถึงเมืองลังกาและทรงได้รับการยอมรับนับถือเป็นอย่างยิ่งในเมืองนั้น
ตอนหนึ่งของจารึกกล่าวว่าเสด็จไปถึงยัง 'นครพระกฤษณ์' ซึ่งมีพระเจดีย์โบราณใหญ่โต และทรงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นั้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคือเมืองนครปฐม
ชื่อนครพระกฤษณ์นั้น น่าสนใจมาก ด้วยเป็นที่ทราบกันว่านครปฐมนั้นคือศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดี ที่มีนามคล้าย 'ทวารกา' นครของพระกฤษณะ และอาจเป็นต้นเหตุทำให้พระมหาเถรฯทรงเรียกเมืองนี้ว่า 'นครพระกฤษณ์
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

 

พระพุทธรุปสำริด ที่ฐานมีจารึกพระนาม'พระเจ้ายุทธิษฐิระ'



ศิลาจารึกหลักที่ 2
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

หลักฐานทีสำคัญอีกข้อหนึ่งซึ่งยืนยันว่าคนอยุธยาคุ้นเคยกับมหาภารตยุทธกันอย่างดีก็คือ วรรณคดีเรื่อง อนิรุทธ์คำฉันท์ ซึ่งฝีปราชญ์แต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาและเป็ฯต้นเค้าของวรรณดีเรื่อง อุณรุท ซึ่งแต่งขั้นในสมัยหลัง

เนื้อเรื่องของวรรรกรรมเหล่สนี้กล่าวถึงพระเจ้าอนิรุทธ์ หรืออุณรุท ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระกฤษณะ (ซึ่งในวรรณคดีไทยทั้งสองเรื่องเรียกว่า พระจักรกฤษณ์)

จึงอนุมานได้ว่าแม้มหาภารตยุทธจะไม่ได้ทรงอิทธิพลล้นหลามแก่วัฒนธรรมสุโขทัยและอยุธยา แต่ก็หาได้ห่างหายไปจากการรับรู้ของผู้คนไม่
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เชื่อว่ากระทู้นี้คงร้างเช่นเดียวกับกระทู้อื่นๆที่ดิฉันเคยตั้งมา แต่อย่างไรก็ตามดิฉันจะพยายามตั้งกระทู้ทำนองนี้ขึ้นให้มาก เพื่อยืนยันว่าสมาชิกบอร์ดนี้ยังคงสนใจใฝ่หาและแบ่งปันความรู้กันอยู่ แม้จะมีดิฉันเพียงคนเดียวก็ตาม

และหวังว่ากระทู้นี้คงจะทำให้หลายๆท่านที่เข้ามาดูได้ทราบว่า HM หาได้เต็มไปด้วยคนที่เข้ามาเพื่อกิจร้ายต่างๆไม่ ที่สำคัญที่สุดคือจะได้กระตุ้นเตือนให้บรรยากาศแห่งความรักและการเรียนรู้ซึ่งห่างหายไปนานแล้วกลับมาอีกครั้ง

คราวหน้าจะมาต่อเรื่องดังนี้ค่ะ
มหาภารตยุทธในความรับรู้ของผู้คนยุคธนบุรีและรัตนโกสินทร์
วิเคราะห์เหตุ 'ทำไมพระกฤษณะในสมัยรัตนโกสินทร์จึงไม่ได้รับการยอมรับเทียบเท่าพระราม'


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบพระคุณ คุณอินทุศีตาลา ที่นำสาระประโยชน์ทางวิชาการดีๆมาแบ่งปันให้กับเราชาว HM นะครับ

เป็นอีกมิติทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของประเทศไทยที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และศึกษาจริงๆครับ

ปล. รอติดตามอ่านตอนต่อไปอยู่นะครับ เป็นกำลังใจให้ครับผม
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

 
  กำ.. อย่าเพิ่งท้อใจไปนะค่ะ

กระทู้ทรงคุณค่าเช่นนี้อิชั้นจะคอยติดตามและก็คิดว่าเพื่อนๆท่านอื่นก็จะเอาใจใส่และคอยติดตามเหมือนอิชั้นเช่นกันคะ

เราทำดีสักอย่างอิชั้นเชื่อว่าพรของพระเป็นเจ้า (ศรีกฤษณะ) ต้องสถิตอยู่กับตัวคุณอินทุศีตาลาอย่างแน่นอนคะ







   
    ... จงมอบจิตใจให้เรา ภักดีต่อเราอุทิศบูชาและนอบน้อมต่อเรา  เมื่อทำได้ดั่งนี้จึงจะเข้าถึงเรา
      เราให้สัญญา  เพราะท่านได้แสดงความภักดีต่อเราอย่างสุดตัว
       โดยการอุทิศหน้าที่ทุกอย่างเพื่อเราผู้ทรงมหิทธานุภาพและยิ่งใหญ่กว่าเทพทั้งหมด
      จงมีเราเป็นที่พึ่ง  เราจะปลดเปลื้องความชั่วร้ายทั้งหลายให้ อย่าได้กังวลใจเลย


       อนึ่ง.. ผู้ที่ภักดีต่อเราโดยไม่ภักดีต่อสิ่งอื่นใดอีก
       อุทิศการงานเพื่อเรา  บูชาเรา สำรวมจิตกำหนดที่เรา
       คนเหล่านี้แหละอรชุน ที่เราจะช่วยให้หลุดพ้นจากมหาสมุทรแห่งความเกิดและความตาย

     ...   ภควัทคีตา :: 18: 65-66 ; 12 :7


ขอพรแห่งพระหริคริชณะั ให้สำเร็จในทุกความปรารถนา

ฮเร คริชณะ ฮเร คริชณะ คริชณะ คริชณะ ฮเร ฮเร
ฮเร รามะ ฮเร รามะ รามะ รามะ ฮเร ฮเร
โอม มหากาลา ไภราวะ นะมะฮา
ขอนอบน้อมแต่องค์พระมหาไภราวะ ผู้ทรงเป็นที่รักษาความยุติธรรม และ ทรงเป็นนายแห่งความตายและการสงคราม  ขอพระองค์ทรงปกปักรักษาและอวยพรแด่ ข้าพเจ้า บิดามารดาของข้าพเจ้า ครูอาจารย์ของข้าพเจ้า คนรักของข้าพเจ้า และสหายของข้าพเจ้า ให้มีความสุขความเจริญด้วเทอญ


จงระวังความคิดให้ดี เพราะความคิดนี่ละ ทำให้เกิดชาติภพมากมายนับไม่ถ้วน

ขอบพระคุณคุณพี่ศรีมหามารตี, คุณอักษรชนนีและคุณ tomino ค่ะ ที่กรุณาแวะเวียนมาให้กำลังใจ ดิฉันหวังว่ากำลังเล้กๆของดิฉันจะมีส่วนแสดงให้โลกได้รู้ว่าบอร์ดนี้ยังเต็มไปด้วยไมตรี และยังเปี่ยมไปด้วยความรู้ เช่นเคย

ขออนุญาตต่อนะคะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

มหาภารตยุทธในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
ระยะเวลา 15 ปีในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หมดไปกับการกอบกู้บ้านเมืองทั้งในแง่ของการเมืองการปกครองและศิลปวัฒนธรรมกระแสหลัก ดังนั้นเรื่องราวของมหากาพย์มหาภารตยุทธจึงไม่มีหลงเหลือให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนนัก
ล่วงมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเด่นชัด บ้านเมืองเป็นปรกติสุขจนกระทั่งเริ่มมีการค้าขายและติดต่อสื่อสารกับนานาอารยประเทศอีกครั้ง นอกจากการรื้อฟื้นตำรับตำราและขนบธรรมเนียมโบราณอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตต่างก็ได้ใช้ความเข้าใจเดิมที่ตนมีอยู่สร้างสรรค์ผลงานมากมายขึ้นมาประดับพระนคร หนึ่งในนั้นคือเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องด้วยมหาภารตยุทธ
ในปี พ.ศ.2373 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏว่ามีพราหมณ์เทศท่านหนึ่งเดินทางเข้ามายังพระนคร มีนามว่าพราหมณ์อัจจุตะนันนำมาแต่ชมพูทวีป และได้ให้การถึงความเป็นไปในเมืองพาราณสีบ้านเกิด แม้เนื้อความจะเป็นที่ถกเกถียงถึงข้อเท็จจริงทั้งในส่วนของผู้ให้การและคำแปล แต่เรื่องนี้ก็เป็นพยานว่ากรุงเทพมหานครมีการติดต่อสื่อสารกับพราหมณ์เทศมาตั้งแต่เริ่มแรก และพราหมณ์เหล่านี้ย่อมนำมาซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามลัทธิของตนเข้ามาเผยแพร่ด้วย




เทวสถานสำหรับพระนคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดฯให้สร้างขึ้น

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

หลักฐานทีทำให้เราเชื่อได้ว่าลัทธิความเชื่อแบบพราหมณ์อินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อแนวคิดของคนกรุงเทพฯ ก็คือสมุดภาพ 'ตำราเทวรูปและเทวดานพเคราะห์' ซึ่งมีถึง 5 เล่มสมุดไทย ที่สันนิษฐานว่าผู้ที่โปรดให้สร้างขึ้นก็คือเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในราวๆรัชกาลที่ 4 โยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ภาพต้นแบบในการเขียนภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส, วัดสุทัศน์เทพวราราม และอีกหลายๆ แห่ง
ตำราภาพเหล่านี้ปรากฏภาพเทพเจ้าพระองค์ต่างๆในปางต่างๆกันไป ตั้งแต่พระมหาเทพทั้งสามและอวตารในรูปแบบต่างๆ เรื่อยไปจนถึงพระศักติและเทพชั้นรอง อาทิ พระอุมาเทวี, พระลักษมีเทวี, พระขันธกุมาร, พระพิฆเณศวร เป็นต้น และบางภาพแม้ชื่อที่จารไว้ข้างภาพจะเพี้ยนไปบ้าง แต่เราก็ยังสามารถเทียบเคียงภาพเทพเจ้าต่างๆนั้นกับภาพเทพเจ้าตามคติอินเดีย อาทิ ภาพพระปรเมศวรปราบมุลาคะนีในสมุดไทยดำเลขที่ 32กับพระศิวะนาฎราช, ภาพพระอิศวรสร้างพระหิมพานในร่มไม้สกรมในสมุดไทยดำเลขที่ 70 กับพระทักษิณามูรติ และที่สำคัญคือพระนารายณ์ทรงขลุ่ยปราบอสูรเวรำภากับภาพพระพลเทพถือไทยในพระสมุทรูปพระไสยสาตร เลขที่ 33 กับพระกฤษณะและพระพลราม ซึ่งทำให้เราทราบว่าอย่างน้อยผู้คนในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 4 ก็คุ้นเคยกับรูปพระกฤษณะในฐานะอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ รวมไปถึงยังรู้จักพระพลราม ในชื่อ พระพลเทพ อีกด้วย




ปล.ดิฉันจะพยายามทำลายความขี้เกียจของตัวเอง เอารูปภาพที่อ้างถึงเหล่านี้มาห้ชมกันในเร็ววันค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

หลักฐานสำคัญอีกชั้นหนึ่งที่ยืนยันว่าชาวกรุงเทพรู้จักมหากาพย์มหาภารตยุทธอย่างดีก็คือ คำฉํนท์นิพนธ์เรื่อง 'กฤษณาสอนน้องคำฉํนท์' ซึ่งสันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินทร์แต่งขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราช มีเค้าโครงเนื้อหามาจากชีวิตของนางเทราปตี หรือนางกฤษณาในที่นี้

อย่างไรก็ตามผู้ที่ทรงเข้าพระทัยแตกฉานในหมากาพย์มหาภารตยุทธ น่าจะเริ่มต้นที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะทรงพระราชนิพนธ์บทละครหลายเรื่องที่มีเค้าเป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหาภารตยุทธ อาทิ ศกุนตลา, สาวิตรี เป็นต้น ทำให้ชื่อของมหาภารตยุทธเริ่มเป็นที่คุ้นเคยอย่างกว้างขวางอีกครั้งในหมู่นักปราชญ์ของไทยและแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน




ศกุนตลาฝีมือครูเหม เวชกร


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

วิเคราะห์สาเหตุที่อิทธิพลต่อผู้คนของมหาภารตยุทธในดินแดนอุษาคเนย์เบาบางกว่ารามายณะ

ต้องยอมรับว่าแม้ศาสนาพราหมณ์จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม เฉพาะอย่างยิ่งในเขตประเทศไทย, กัมพูชา, พม่า, ลาวและอินโดนีเซียนับตั้งแต่อดีต ทว่าน้อยกว่าอิทธิพลของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาหลักที่ผู้คนยอมรับนับถือจนใช้พุทธธรรมเป็นกรอบให้แก่ทัศนคติของตน

หากพิจารณาเฉพาะในหมู่ของชนชั้นปกครองแล้ว จะเห็นว่าระบอบเทวราชามักมีแนวคิดเรื่องพุทธราชาควบคู่ไปด้วยเสมอ โดยเน้นให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในศีลธรรมจรรยา เป็นผู้แทนของความดีที่ไม่มีรอยด่างพร้อย เรื่องราวในมหากาพย์รามายณะสะท้อนภาพการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่วชัดเจน โดยมีพระรามและทศกัณฐ์เป็นเครื่องหมาย การจะแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ให้เป็นพระเจ้าผู้ประเสริฐอย่างพระราม ซึ่งไม่ทรงมีข้อด่างพร้อยเลยจึงง่ายกว่าเมื่อเทียบกับพระกฤษณะซึ่งหลายครั้งทรงมีวีรกรรมที่ค่อนข้างจะคึกคะนอง โดยเฉพาะช่วงต้นแห่งพระชนม์ชีพ นอกจากนี้ตอนจบของมหากาพย์รามายณะ ยังงดงามยิ่งกว่าตอนจบของมหภารตที่พูดถึงการล่มสลายของพระราชวงศ์ยาทพและการสิ้นสูญนครทวารกาอันเป็นจุดเริ่มต้นของกลียุค



พระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ศิลปะเขมรก่อนเมืองพระนคร
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เราจึงเห็นการแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ให้เป็นผู้ประเสริฐ โดยใช้พระรามเป็นสื่อ ยกตัวอย่างการถวายพระนาม "รามาธิบดี" แด่พระมหากษัตริย์ ทั้งในสยามและในกัมพูชา ทั้งนี้เพื่อยกย่องว่าทรงเป็นกษัตริย์และพระเจ้าผู้ประเสริฐ ดังนั้นเรื่องราวของรามายณะจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าในรูปแบบต่างๆ อาทิ จิตรกรรม, ประติมากรรม, วรรณกรรม, ศิลปะการแสดง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

แต่เรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตยุทธแม้กระทั่งเรื่องราวของพระกฤษณะกลายเป็นเรื่องย่อยที่ชี้ให้เห็นถึงฤทธานุภาพอันอเนกอนันต์ของพระเจ้าเท่านั้น ไม่ได้อยู่ในฐานะ 'ของหลวง' อีกต่อไป

พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน'ลิลิตนารายณ์สิบปาง' ยิ่งย้ำชัดถึงทัศนคติของคนไทยและอาจหมายถึงคนทั่วทั้งอุษาคเนย์ที่มีต่อพระกฤษณะว่า ทรงมีทั้งข้อดีและข้อเสีย สะท้อนความเป็นมนุษย์มากกว่าพระราม ซึ่งกลายเป็นเทพเจ้าในอุดมคติไปแล้ว



ฉากการรบในรามายณะ ภาพสลักที่ระเบียงนครวัด



พระกฤษณะทรงนำเสื้อผ้าของนางโคปีไปซ่อนขณะพวกนางเล่นน้ำอยู่
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ดังนี้เราจึงได้รู้เห็นเรื่องราวในรามายณะมากกว่ามหาภารตยุทธ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่ามหากาพย์อันยิ่งใหญ่นี้ไม่มีอิทธิพลต่อผู้คนแถบนี้

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ที่แสดงมาทั้งหมดนี้เป็ฯความคิดของเด็กมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 เมื่อหลายปีมาแล้วนะคะ ย่อมมีส่วนผิดพลาดอยู่มาก และที่มั่นใจได้เลยก็คืออ่านไม่ค่อยีปเรื่องเท่าไร
ความมุ่งหมายสำคัญที่สุดของดิฉันไม่ได้อยู่ที่การให้ความรู้นะคะ เพราะถ้าหมายใจอย่างนั้น คงต้องผิดหวังเพราะทุกท่านก็น่าจะรู้ๆกันอยู่แล้ว แต่จุดมุ่งหมายสำคัญของดิฉันคือการกระตุ้นให้ทุกท่านหันมาร่วมใจกันสร้างความสัมพันธ์อันดีและส่งเสริมบรรยกากาศแห่งการเรียนรู้ให้กลับมาสู่ 'บ้าน' ที่รักของเรามากกว่า

นอกจากนี้หากมีคุณประโยชน์ใดเกิดขึ้นจากบทความเหล่านี้ ดิฉันขอน้อมถวายเป็นเทวพลีแด่พระกฤษณะ เนื่องในโอกาสที่ดิฉันกำลังจะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนสถานะครั้งสำคัญในชีวิต ขอได้โปรดอำนวยสุขให้กับดิฉันและผู้เป็นที่รักด้วย

และขอมอบบทความนี้เป็นมิตรพลีแด่ท่านทั้งหลายที่ได้สละเวลาอ่านแต่ต้นมาจนบัดนี้

อินทุศีตาลา



'ในเรื่องของอรรถ กาม ธรรมและโมกษะแล้ว สิ่งใดที่มีในมหาภารตสิ่งนั้นย่อมมีในโลก แต่หากสิ่งใดไม่มีในที่นี้แล้ว ย่อมไม่มีในโลกเช่นกัน'
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบคุณค้าบที่ได้นำสาระดีๆมาให้อ่านกัีนคับพี่โด่ง
โอม มหากาลา ไภราวะ นะมะฮา
ขอนอบน้อมแต่องค์พระมหาไภราวะ ผู้ทรงเป็นที่รักษาความยุติธรรม และ ทรงเป็นนายแห่งความตายและการสงคราม  ขอพระองค์ทรงปกปักรักษาและอวยพรแด่ ข้าพเจ้า บิดามารดาของข้าพเจ้า ครูอาจารย์ของข้าพเจ้า คนรักของข้าพเจ้า และสหายของข้าพเจ้า ให้มีความสุขความเจริญด้วเทอญ


จงระวังความคิดให้ดี เพราะความคิดนี่ละ ทำให้เกิดชาติภพมากมายนับไม่ถ้วน

ขอขอบพระคุณคุณอินทุศีตาลาอีกครั้งนะครับ สำหรับบทความดีๆที่นำมาให้ได้ร่วมกันเรียนรู้

ปล. ผมได้ทำการแก้โค๊ตที่ติดมากับตัวหนังสือให้เรียบร้อยแล้วนะครับ และได้เพิ่มเติมภาพหลวงพ่อนากที่เห็นรายละเอียดได้ชัดเจนให้ด้วยครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีมากค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

โอ้ว์ ดีครับที่มีงานวิชาการในลักษณะนี้มาลงไว้  ถ้าคุณอินทุศีตาลาทำรายงานขนาดนี้ได้ตอนปีสอง เก็ตเอโลด 555

ขอบคุณครับ สำหรับบทความ และ บทวิเคราะห์ดีๆ แบบนี้ครับ

น่าติดตามครับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ให้แง่คิด เหมาะแก่การนำไปค้นคว้าหาข้อมูลในเชิงลึกต่อไปอย่างแท้จริงครับ

รอติดตามเรื่อยๆ นะครับ

ปล. สมัยธนบุรี ส่วนมากรับอิทธิพลมาจากสมัยอยุธยาครับ ที่เด่นหน่อย สำหรับมหาภารตะ ในสมัยธนบุรี คงหนีไม่พ้น กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ครับ

ทำให้ผมชักอยากศึกษาเพิ่มขึ้น

เมื่อเช้า นั่งคิดอะไรเพลิน ๆ ก็นึกถึง มนตรา บทนึงขึ้นมา ที่จะมีอยู่ในหนังสือ "มนต์พิธี" ของเราชาวพุทธ
อีโวโฮสติ้ง ถ้าคุณต้องการHostingคุณภาพ โปรดนึกถึงเราอีโวโฮสติ้ง