Loader

อินทุศีตาลาชวนคุย ตอน อลังกาลัม...ไม่ได้มีแต่ของเขา ของเราก็มี

Started by อินทุศีตาลา, May 03, 2011, 16:58:53

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

สวัสดีค่ะ

หลังจากที่ไม่ได้แวะเข้ามาชวยทุกท่านคุยเสียพักใหญ่ ด้วยธุระติดพันมากมายดิ้นไม่หลุด ในที่สุดก็เริ่มกลับมาหายใจหายคอสะดวกขึ้น คิดถึงเพื่อนๆในบอร์ดค่ะ เลยกลับเข้ามาชวนคุยเรื่องไม่เป็นเรื่องเสียหน่อย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสสนทนาวิสาสะกับบรรดาผู้มีศรัทธาอย่างยิ่งใหญ๋ต่อพระผู้เป้นเจ้ามากมายหลายท่าน ได้ทราบด้วยความชื่นชมว่าหลายต่อหลายท่านมีความสามารถในการประดับพระเทวรูปด้วยผ้าแพรพรรณและนานาวิภูษิตาภรณ์หลากหลายอันอลังการ ล้วนประดิษฐ์สรรค์สร้างอย่างปราณีตวิจิตรบรรจง ซึ่งแน่นอนว่าดิฉํนผูไร้ฝีมือเชิงช่างใดใดไม่สามารถทำได้

แถมหลายท่านยังมีใจเอื้อเฟื้อเผยแพร่กลวิธีอันแยบคายในการประดิษฐ์ตกแต่งนั้นสู่คนอื่นๆ เป็นกุศลมัยอย่างยิ่งยวด ดิฉันผู้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการใช้วาทะ เลยขออนุญาตมาชวนคุยเรื่องนี้กันค่ะ

การประดับตกแต่งพระเทวรูปนี้ เป็นหนึ่งในวิชาการประดับตกแต่งซึ่งเรียกตามอย่างภาษาสันสกฤตว่า 'อลังกาลัม' อันมาจากรากศัพท์เดียวกับคำว่า 'อลังการ' ที่ใช้ในภาษาไทย

เมื่อมิช้ามินานมานี้ ดิฉันได้มีโอกาสฟังบรรยายจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าอินเดียท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้กล่าวถึงการอลังกาลัม ไว้อย่างน่าสนใจว่า ปรัชญาของการอลังกาลัมในอินเดียกับอลังกาลัมในบ้านเราต่างกัน ของเขาเน้นว่า ยิ่งเยอะยิ่งงาม ส่วนของบ้านเราเน้นความละเอียดวิจิตร แต่จะเยอะหรือน้อยไม่สำคัญค่ะ

ทั้งนี้ในส่วนนี้หากใครมีอะไรเพิ่มเติมก็ยินดีแลกเปลี่ยนนะคะ อยากได้ความรู้เพิ่มเติมเหมือนกันค่ะ





   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

คำถามที่ดิฉํนมักถูกถามอยู่เสมอก็คือ ในสมัยโบราณบ้านเมืองแถวนี้เขามีการอลังกาลัมพระเทวรูปกันหรือไม่ อย่างไร

ดิฉันตอบได้ทันที (แต่ไม่รู้ว่าจะถูกหรือเปล่านะคะ) ว่า 'มี'

ขออนุญาตให้ดูรูปนี้นะคะ



พระวิษณุอนันตศายิน ปัทมนาภะ ศิลปะเขมรแบบก่อนนครวัด จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑธสถานแห่งชาติกรุงพนมเปญ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

พระวิษณุสำริดองค์นี้ จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงพนมเปญ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มศิลปะเขมรแบบบาปวน

สังเกตว่าช่างเขมรทำให้พระองค์มีพระเศียรโล้นเรียบ ประดับพระองค์แต่น้อย และมีช่องว่างระหว่างพระหัตถ์ขวากับพระเศียร ทั้งนี้นักวิชาการสันนิษฐานว่าเพื่อให้สามารถสวมเครื่องประดับพระเศียรประเภททงกุฎลงไปได้ โดยที่พระหัตถ์จะรองรับพระมงกุฎพอดี และยังเชื่อว่าคงมีการประดับพระองค์ด้วยเครื่องประดับและผ้าแพรพรรณอีกด้วย หรือบางทีก็อาจจะไม่มีการใช้ผ้าเลยก็ได้ ดังจะได้แสดงให้เห้ฯต่อไปค่ะ

เครื่องประดับเหล่านี้ไม่มีเหลือมาถึงปัจจุบันค่ะ คงเป็นเพราะทำจากโลหะมีค่าเช่น ทองคำ และตกแต่งด้วยอัญมณีจึงกระจัดกระจายพลัดพรายไปตามเรื่อง

ในบ้านเรา มีองค์นี้ค่ะ


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

พระวิษณุอนันตศายินในความเห็นที่ 2 นัน พบที่ปราสาทแม่บุญตะวันตก ซึ่งเป็นเทวาลัยในลัทธิไวษณพนิกาย
ส่วนอันหลังนี้พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเชื่อว่าปราสาทหลังนี้เป็นเทวาลัยในลัทธิไศวนิกาย

ทั้งสององค์ถูกจัดอยู่ในศิลปะเขมรหมวดเดียวกันคือ บาปวน และมีรูปร่างคล้ายกันคือประดับกายแต่น้อย พระเศียรโล้น ในส่วนขององค์หลังนั้นมีพิเศษอยู่ที่กรองศอ พาหุรัด ทองกร และเบ้าตามีการเจาะลึกลงไป สันนิษฐานว่าเพื่อฝังอัญมณีมีค่า รูปสำริดนี้ถูกพบเมื่อปี พ.ศ.2532 ที่ด้านหน้าทางขึ้นโคปุระด้านทิศใต้ ขอให้สังเกตว่ามีเดือยอยู่ใต้ฐานเพื่อประดิษฐานบนแท่นที่เจาะรูป้องกันการขยับเขยื้อน

การค้นพบรูปนี้ที่ใกล้ประตูเทวาลัยทำให้ ศ.บวซเซลิเยร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสที่เก่งกาจด้านเอเชียอาคเนย์ศึกษาสันนิษฐานว่าอาจเป้ฯรูปของพระนันทิเกศวร ซึ่งตามปรกติจะรักษาประตูเทวาลัยประธานในลัทธิไศวนิกายคู่กับพระมหากาล

แต่ดิฉันอดคิดไม่ได้จะเป็นพระอิศวรเองได้ไหมหนอ เพราะดูเขาตั้งใจหล่อเสียเหลือหลาย งดงามไม่มีที่ติ และพบแต่เพียงองค์เดียว ไม่เห้ฯมีพระมหากาลเป็นคู่สักหน่อย

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ โถงทางเข้า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ค่ะ

คำถามต่อไปก็คือ แล้วดิฉันเชื่อได้อย่างไรว่าเขาตกแต่งพระเทวรูปด้วยมงกุฎ ขอตอบด้วยภาพนี้ค่ะ



ชิ้นส่วนเครื่องประดับ จัดแสดง ณ พิพิภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ของจริงมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับคนค่ะ ดังนั้นไม่ได้ทำเป็นเครื่องประดับของคนแน่ๆ น่าจะทำถวายรูปเคารพมากกว่า


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ในระหว่างวันเวลาและการเปลี่ยนถ่ายทางอำนาจการเมืองระหว่างอาณาจักร คติการ 'ทรงเครื่อง' จึงค่อยๆเลือนหายไปพร้อมๆกับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูที่ค่อยๆซาลง แต่ก็ไม่ได้หายไปเลยนะคะ เพียงแต่ลดลทลาทลงไปเท่านั้น โดยมีศาสนาพุทธทั้งฝ่ายมหายานและหินยานรุ่งเรืองขึ้นแทนที่

อย่างไรก็ตามการอลังกาลัมตามแบบแผนเดิมๆก็หาได้หดหายไปไม่ แต่ได้เปลี่ยนแปลงจนกลายเป็น






พระพุทธรูปทรงเครื่อง

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

และจากอาณาจักรหนึ่งก็ไหล่บ่าไปสู่อาณาจักรหนึ่ง จนแผ่ขยายไปทั่ว





ขอให้ลองสังเกตดูว่าความปรารถนาจะสัการะพระพุทธรูปด้วยเครื่องอลังกาลัมนั้นไม่เคยห่างหายไปจากจิตสำนึกของผู้คนแทบนี้ เรายังได้เห็นพระพุทธรุปพร้อมเครื่องทรง ทั้งแบบที่ทรงเครื่อง และแบบที่ถวายเครื่องทรงทีหลัง อาทิ



พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกตน้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเสาะหาหยกขนาดใหญ่ สีสันสดใสงดงามแล้วให้ช่างหลวง Faberche จำหลักเป็นพระพุทธรูป เมื่อส่งมาถึงกรุงเทพ ทรงพระกรุณาฯให้สร้างสังวาลย์พระนพและฐานชุกชีถวายเป็นพุทธบูชา



พระพุทธชินราชซึ่งมีธรรมเนียมที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างเครื่องทรงถวาย อาทิ รัชกาลที่ 4 ทรงถอดกำไลหยกที่ทรงสวมอยู่ถวายไว้ที่นิ้วพระหัตถ์ต่างพระธัมรงค์ หรือสังวาลย์นพรัตนราชวราภรณ์ที่ในหลวงรัชกาลปัจจุบันถวายไว้ เป้ฯต้น





   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

และยังมีพระพุทธรูปอีกมามายที่เป็นเช่นนี้ แต่จะหาพระพุทธรูปองค์ใดที่ยังคงรักษษขนบของอลังกาลัมไว้ได้อย่างครบถ้วนเช่น พระพุทธรูปองค์นี้หาได้ยากแล้วในราชอาณาจักรไทย



พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

เอาไว้พรุ่งนี้มาต่อนะคะ (สงสัยพูดกับตัวเองคนเดียวนะเนี่ย 55555)
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบพระคุณนะครับคุณอินทุศีตาลา ที่มีกระทู้ดีๆมาให้พวกเราได้อ่านและพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง

จะว่าไปแล้วเท่าที่เห็นส่วนใหญ่ บ้านเราจะเน้นการแต่งองค์ทรงเครื่องให้พระพุทธรูปเสียมากกว่าเทวรูป (อาจเป็นเพราะมีหลักฐานที่เป็นศิลปะวัตถุ เหลือให้เห็นมากกว่าก็เป็นได้)

ปล. ไว้ประเดี๋ยวจะพยายามลองค้นๆภาพเก่าที่พอมี มาร่วมแบ่งปันในกระทู้นี้นะคร๊าบบบ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พระราชพิธีประจำอันสำคัญยิ่งพระราชพิธีหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตลอดระยะเวลากว่า 200 ปีก็คือ พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

พระราชพิธีนี้มีความน่าสนใจตรงที่สามารถนำมาเปรียบเทียบเชื่อมโยงเข้ากับการปฏิบัติพระเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ได้อย่างมีมิติ กล่าวคือ คล้ายกับการอภิเษกและเปลี่ยนเครื่องทรงพระเทวรูปซึ่งยังคงทำกันอยู่ในพิธีสำคัญประจำปี หรือแม้แต่ประจำวันในเทวสถานสำคัญหลายๆแห่ง


ลำดับพระราชพิธีคร่าวๆจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(หรือผู้แทนพระองค์) เสด็จพระราชดำเนินมาถึงยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ประทับพระราชอาสน์แล้วเจ้าพนักงานอาลักษณ์กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นไปยังบุษบกทองคำทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทางเกยด้านหลังฐานชุกชี
ก่อนหน้านั้นเจ้าพนักงานพระราชพิธีจะเปลื้องเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออก คงเหลือไว้เพียงเครื่องประดับพระเศียร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงยังชั้นบนสุดของเกยซึ่งลาดพระสุจหนี่ไว้ ทรงคม ถวายพวงมาลัยดอกไม้โดยทรงแขวนไว้ที่จงกลเทียนสองข้างบุษบกพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วทรงถอดเครื่องประดับพระเศียรพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออก พระราชทานแก่เจ้าพนักงานซึ่งจะเชิญลงมาเบื้องล่าง  ประดิษฐานบนโต๊ะบริเวณใกล้กับบันไดเกยด้านทิศตะวันออกซึ่งเชิญเครื่องทรงชิ้นอื่นๆลงมาประดิษฐานไว้ก่อนแล้ว โต๊ะนี้จะทอดภาชนะสำหรับทรงผสมพระสุคนธ์ไว้ด้วย 


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเปลื้องเครื่องประดับพระเศียรพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออก


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เมื่อทรงถอดเครื่องประดับพระเศียรพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรออกนั้น เจ้าพนักงานประโคม ประโคมและเป่าสังข์ บัณฑิตไกวบัณเฑาะว์ไปจนตลอด
จากนั้นเจ้าพนักงานพระราชพิธีถวายพระมหาสังข์ประจำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งปรกติทอดถวายไว้ด้านหน้าองค์พระ ทรงรับแล้วหลั่งน้ำพระสุคนธ์ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วพระราชทานพระมหาสังข์คืนให้เจ้าพนักงานรับแล้วเชิญลงมา



สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สรงพระสุคนธ์ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ด้วยพระมหาสังข์ประจำพระองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

จากนั้นเจ้าพนักงานถวายผ้าขาวเนื้อดีเพื่อทรงซับพระองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระราชทานคืน เจ้าพนักงานเชิญลงมา
จากนั้นเจ้าพนักงานจะถวายเครื่องประดับพระเศียรสำหรับฤดูกาลใหม่ ทรงรับแล้วสวมถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  ทรงคมแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับลงมาเบื้องล่าง ประทับพระราชอาสน์บริเวณโต๊ะซึ่งเชิญเครื่องผสมพระสุคนธ์ไว้ ทรงผสมพระสุคนธ์อันได้มาจากการสรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้วทรงแบ่งพระราชทานเจ้าพนักงานเก็บไว้ ระหว่างนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานสวมเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจนครบบริบูรณ์ แล้วเสด็จออกทรงเปลี่ยนพระรัศมีพระสัมพุทธพรรณีหน้าชุกชี แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการต่างๆบูชาพระพุทธรูปสำคัญในพระอุโบสถ แล้วประทับพระราชอาสน์


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงซับพระองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรด้วยผ้าขาวเนื้อดี
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงผสมพระสุคนธ์ในภาชนะต่างๆ บนโต๊ะที่ทอดอยู่เบื้องพระพักตร์นั้น เจ้าพนักงานอัญเชิญเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรซึ่งเพิ่งเปลื้องเสร็จ ลงมาทอดไว้

จากนั้นไป พระราชครูพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนบายศรีทอง นาค เงิน เวียนเทียนสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้วทรงหลั่งน้ำพระสุคนธ์จากพระมหาสังข์ลงในพระหัตถ์ลูบพระองค์เพื่อสวัสดิมงคล ตลอดจนพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ แล้วทรงพระสุหร่ายข้าราชการและประชาชนบรรดาที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ทั่วกันจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ


พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเวียนเทียนสมโภช





   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

จะเห็นว่าลำดับพระราชพิธีการเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรนั้น คล้ายกับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระเทวรูป คือ เริ่มต้นด้วยการอภิเษก การเปลี่ยนเครื่องทรง การบูชาด้วยมนตราและอาหาร (ในที่นี้คือบายศรี) แล้วอารตีถวายไฟ

เมื่อไม่นานมานี้ได้สนทนากับท่านอาจารย์หริทาส ซึ่งได้กรุณาอธิบายไว้อย่างน่าสนใจและสามารถใช้เป็นบทสรุปของอินทุศีตาลาชวนคุยตอนนี้ได้อย่างดีว่า 'ร่องรอยของการถ่ายทอด รับส่งขนบธรรมเนียมและประเพณีของอินเดียกับไทยนั้นยังสามารถเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะในราชสำนักไทย '
นอกจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว พระพุทธรูปอีกหลายองค์ที่ทรงเครื่องอลังกาลัมไว้อย่างอลังการ อาทิ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระพุทธเลิศหล้านภาลัยและบรรดาพระพุทธรูปฉลองพระองค์บนฐานชุกชีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเครื่องทรงทุกชิ้นสามารถถอดประกอบได้อย่างน่าอัศจรรย์ ล้วนทำขึ้นจากโลหะมีค่า ดังเราสามารถใช้เป็นอย่างในการจินตนาการถึงการทรงเครื่องถวายแด่เทวรูปพระวิษณุอนันตศายินและพระศิวะ? ศิลปะบาปวนที่ได้ยกมาให้ชมตอนต้น
เพื่อให้เห็นภาพว่าพระพุทธรูปทรงเครื่องเหล่านี้ สามารถถอดประกอบเครื่องได้อย่างไรนั้น ดิฉันขอนำรูปพระพุทธรูปทรงเครื่องในพระอุโบสถวัดเทพธิดารามมาให้ชมกันเป็นการปิดท้ายค่ะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

พระพุทธรูปทรงเครื่องเช่นนี้ เป็นที่นิยมสร้างในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นค่ะ โดยถือเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของเจ้านายชั้นสูง เครื่องทรงทุกชิ้นถอดประกอบได้และสร้างสรรค์อย่างละเอียดปราณีต รูปแบบของฉลองพระองค์คล้ายคลึงกับพระเครื่องต้น








   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



ขอให้สังเกตว่าเครื่องทรงทุกชิ้นมีรอยต่อประกบกัน สามารถถอดออกได้





แม้แต่ฉลองพระบาทก็สามารถถอดออกได้ค่ะ

นักวิชาการเชื่อว่าการถวายเครื่องทรงแด่พระพุทธรูปมีวิวัฒนาการมาจากการถวายเครื่องทรงแด่พระเทวรูป โดยฝ่ายพุทธได้เพิ่มเติมคติเรื่องพระพุทธรูปปางทรมานพระยามหาชมพูขึ้นภายหลังค่ะ



   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

นอกจากในเมืองไทยแล้ว ในประเทศเพื่อนบ้านหลายชาติก็มีการถวายเครื่องทรงแด่พระพุทธรูปด้วย อาทิ พระบางที่ประเทศลาว และที่สำคัญที่สุดคือพระมหามัยมุนีเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า ซึ่งนอกจากเครื่องทรงอันอลังการแล้ว ทุกเช้ายังมีพิธ๊ล้างพระพักตร์และถวายภัตตาหารแด่พระองค์ ซึ่งทำสืบต่อกันมาช้านานแล้ว สะท้อนให้เห็ฯกลิ่นอายการรับ - ส่ง - ถ่ายทอด ทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจมากค่ะ



ดังนี้ จึงขอยุติเพียงเท่านี้ โอกาสหน้าพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอขอบพระคุณอีกครั้งนะครับ เชื่อว่าท่านที่เข้ามาอ่านในกระทู้นี้น่าจะได้รับเกร็ดความรู้ที่ดีๆไปไม่มากก็น้อยเลยครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขออนุญาตนำภาพเครื่องทรงทั้งสามฤดูของพระแก้วมรกตมาร่วมแบ่งปันให้ชมกันด้วยนะครับ

หมายเหตุ : ภาพทั้งหมดจากคลังกระทู้เก่าเว็บ pantip.com


.

.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขออนุญาตแก้ไขข้อมูลผิดพลาดค่ะ ดิฉันเบลอไปนิด

จากความเห็นที่ 11 พราหมณ์เบิกบายศรี 'แก้ว ทอง เงิน' นะคะ ไม่ใช่ 'ทอง นาก เงิน'

ขอประทานอภัยค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

สุดยอดครับพี่โด่ง ของพุทธของไทยเราก็มีอลังการัมด้วย เป็นกรรับส่งต่อของวัฒนธรรมอันดีงามทั้งสองศาสนาครับผม และระหว่างประเทศด้วยครับ
โอม มหากาลา ไภราวะ นะมะฮา
ขอนอบน้อมแต่องค์พระมหาไภราวะ ผู้ทรงเป็นที่รักษาความยุติธรรม และ ทรงเป็นนายแห่งความตายและการสงคราม  ขอพระองค์ทรงปกปักรักษาและอวยพรแด่ ข้าพเจ้า บิดามารดาของข้าพเจ้า ครูอาจารย์ของข้าพเจ้า คนรักของข้าพเจ้า และสหายของข้าพเจ้า ให้มีความสุขความเจริญด้วเทอญ


จงระวังความคิดให้ดี เพราะความคิดนี่ละ ทำให้เกิดชาติภพมากมายนับไม่ถ้วน

ขอบพระคุณ ครับสำหรับความรู้ดี ๆ
อีโวโฮสติ้ง ถ้าคุณต้องการHostingคุณภาพ โปรดนึกถึงเราอีโวโฮสติ้ง