Loader

บินดิ , ติลักษณ์

Started by กาลิทัส, January 29, 2009, 10:59:36

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

January 29, 2009, 10:59:36 Last Edit: March 16, 2012, 15:21:12 by กาลิทัส
บินดิ , ติลักษณ์




บินดิ มีชื่อเรียกเยอะแยะครับ  เช่น ติกะ, พอททู (อันนี้เป็นภาษาเรียกของทมิฬ), ซินดูร์, ติลักษณ์, ติลักกัม, บินดิยา, กุมกุม ชื่อพวกนี้เรียกแตกต่างกันเพราะความแตกต่างกันของท้องถิ่น หรือ วัสดุที่นำมาใช้ บินดิ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต บางครั้งก็เรียกว่า บินดี ซึ่งแปลว่า จุด ครับ ชาวอินเดียส่วนมากที่นับถือศาสนาฮินดู เชื่อว่า บินดิเป็นสัญลักณ์อันเป็นมงคล มากกว่าคิดถึงเรื่องความสวยความงาม โดยหญิงชาวฮินดูไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เค้าจะทำสัญลักษณ์นี้ไว้บริเวณระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง  โดยส่วนมากจะใช้ผงซินดูร์ หรือ กุมกุม ครับ
แต่เดิม อินเดียตอนเหนือนั้นจะเป็นที่เข้าใจกันว่า บินดิ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถานะทางสังคมว่าหญิงผู้นี้ได้ผ่านพิธีการมงคลสมรสแล้ว แต่ทางอินเดียใต้นั้น ผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะแต่งงานแล้วหรือยังไม่แต่งงาน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะแต้มบินดิทั้งหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะแต่งงาน เจ้าบ่าวจะแต่งตัวไม่สมบูรณ์ถ้าขาด ติลักษณ์ (เอาไว้จะกล่าวถึงในตอนท้ายๆ นะครับ) ติลักษณ์นี้จะถูกทำสัญลักณ์บริเวณหน้าผากของเจ้าบ่าว ขณะอยู่ในพิธีแต่งงาน เพราะผู้นับถือฮินดูอย่างเคร่งครัดจะมีความเชื่อว่า จะไม่มีประเพณีใดหรือการบูชาใดที่สมบูรณ์ ถ้าขาด ติลักษณ์ และ ซินดูร์
สีแดง ถูกเลือกเพราะว่าเป็นสีที่นำมาซึ่งความโชคดี เมื่อได้รับเจ้าสาวเข้ามาอยู่ในบ้าน บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคดี เพราะเชื่อว่าบินดีที่อยู่ระหว่างคิ้วเจ้าสาวนั้นมีพลังแห่งศักติ ((เอาไว้กล่าวอีกทีตอนท้ายๆ ครับ)) ช่วยคุ้มครองครอบครัว ช่วยคุ้มครองผู้เป็นสามีครับ
แต่ในระยะหลังการทำสัญลักษณ์บินดิ กลายเป็นแฟชั่น มีรูปแบบและสีสันหลากหลายขึ้นครับ


ทำไมต้องทำบินดิอยู่ระหว่างคิ้ว เพราะเชื่อกันว่าบริเวณนั้นเป็นจุดที่มีพลังมากที่สุดในร่างกายมนุษย์  เป็นจุดศูนย์รวมของจักราทั้งหลายในร่างกาย เป็นจุดศูนย์รวมสมาธิ เรียกว่าเป็นจุด command ของมนุษย์เลย และบางความเชื่อ จะกล่าวว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งพระแม่ปารวตี ที่คอยปกป้องคุ้มครองคนในครอบครัวให้อยู่กันอย่างผาสุก รักใคร่กลมเกลียวด้วย

ต่อมาจะพูดถึง ติลักษณ์ จะอยู่หน้าผากฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง เพื่อแสดงว่า ตนเป็นสาวกในศาสนาฮินดู เป็นสาวกของพระเป็นเจ้า มีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น เป็นตัวยู หรือขีดสามขีด ครับ และส่วนนี้จะมีการใช้ผงวิภูติ และผงจันทร์ด้วยครับ

และการเจิมติลักษณ์บริเวณหน้าผากนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิง (เจิมเหนือบินดิ) หรือฝ่ายชาย เหมือนที่เราไปให้พรามหณ์ที่วัดแขกเจิมแหละครับ แสดงถึง
ว่าเราได้รับพรจะพระท่านเมื่อเราได้ไปบูชาพระองค์มา เหมือนพระท่านอยู่กับเราตลอดเวลาครับ

ฝากไว้แค่นี้ครับ

February 18, 2010, 14:26:23 #1 Last Edit: February 18, 2010, 14:28:33 by ตรีศังกุ
เขาเรียก ดิลัก(ติลกะ หรือ ดิลก)
บทชินบัญชรว่า"เถรา ปญฺจ อิเม ชาตา นลาเฏ ติลกา มม"เถระทั้ง5บังเกิดเปนดิลกที่หน้าผาก(เถระทั้ง5คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระนันทะ พระอุบาลี พระสีวลี)

พี่คัฟ
ช่วยอธิบาย
ติลักษณ์แต่ละรุปให้หน่อยซิคัฟ
อยากทราบอะ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ขอบคุณมากคร้าฟพี่ยีนส์

ตอนแรก ก็ งง 55+

ได้ยินมาว่า มีอยู่ ด้วยกัน หลายสี ไม่รู้ ว่า แต่ละสี มีความหมาย แตกต่างกัน ยังไง มั่งอ่ะคร้าฟ

เพราะเคยเห็น มีสีแดง สีเหลือง สีขาว ฯลฯ แต่ละสีนิ่ มีความหมาย เหมือน หรือ ไม่เหมือน กันยังไงป่าว คราฟ

February 20, 2010, 11:32:42 #4 Last Edit: March 02, 2010, 10:57:20 by แต่ก็มิได้นำพา
http://www.youtube.com/v/GmhU2DhzD7w

งานเทศกาลหนุมานชยันดี เอาผงสีแดงที่ทาผมตรงหน้าผาก มาทาเทวรูปหนุมาน

จริงๆไม่ได้เพื่อหนุมาน แต่เป็นสัญลักษณ์ของความภักดีแบบสุดหัวใจของหนุมาน ที่รับใช้พระรามและนางสีดา เพราะในรามายณะหนุมานเอาผงนี้ทาร่างกายตนเอง

เรื่องมีอยู่ว่า

หนุมานเห็นนางสีดาแต่งตัว แล้วเห็นแถบสีแดงที่ผม หนุมานถามถึงเหตุผลที่แต้ม นางสีดาบอกว่าเพื่อให้สามีโชคดี
หนุมานเลยเข้าไปในห้องเก็บของ เอาผงแดงๆที่นางสีดาใช้แต้มที่ผม เอามาละเลงตัวให้มีสีแดงทั้งตัว แล้วไปเข้าเฝ้าพระรามและนางสีดา.......พอทราบแล้วใช่ป่าวครับ ว่าหนุมานเอาผงมาทาตัวทำไม

อ่านต่อในรามายณะ ตอน อุตตรกัณฑ์ เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในรามายณะ เรื่องเกี่ยวกับนางสีดา หรือเล่าเรื่องที่มาต่างๆ

...

หนังนี่ แค่เอามาประกอบคำอธิบายจากหนังสือด้วยนะครับ

ไม่ใช่เอาจากหนังมาอธิบาย

ป.ล.รามายณะเวอร์ชั่นนี้ มีขายในไทยแล้วยัง?

อื่ม ....  ส่วนหนึ่งของหนัง มาประกอบ คำอธิบาย ด้วย

แป๊ะ จริงๆ  ยอม  แต่ก็ ยังสงสัย อยู่ ดี อ่ะ แระ ตอบซะทีเหอะเรื่องสีอ่ะ

ยังงง อยู่ เรย นิ่ สีแดงโอเค แระ โชคดี แระสีอื่น ร่ะ คอยนะ

ผงสีขาว เรียกว่า ผงวิภูติ เป็นผงศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะเทพครับ เป็นผงเถ้าที่พระศิวะใช้ทาพระวรกายครับ ส่วนใหญ่พวกนักบวช โยคีในไศวะนิกายใช้ทาตัวอีกด้วย และวาดตรีปุณฑรตามร่างกาย บางก็ว่ามาจากเถ้ากระดูก บ้างก็ว่าเกิดจากการเถ้ากระดูกของพระกามเทพ ตอนที่ถูกพระเนตรที่สามของพระศิวะทำลายครับ


ผงสีเหลือง คือ ผงจันทน์
มักจะเห็นในกลุ่มนักบวชของไวษณพนิกายครับ

ส่วนผงสีแดง ซินดูร์
มักจะเห็นในกลุ่มศักติครับ

ยังไงเดี๋ยวเอารายละเอียดมาลงให้อีกที

ผมเคยเห้นมีผงสีน้ำเงินด้วยอะคัฟ
เคยเห็นในรูปอะ
เด็กเนปาลเจิมผงสีน้ำเงิน
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

[

และการเจิมติลักษณ์บริเวณหน้าผากนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิง (เจิมเหนือบินดิ) หรือฝ่ายชาย เหมือนที่เราไปให้พรามหณ์ที่วัดแขกเจิมแหละครับ แสดงถึง
ว่าเราได้รับพรจะพระท่านเมื่อเราได้ไปบูชาพระองค์มา เหมือนพระท่านอยู่กับเราตลอดเวลาครับ

ฝากไว้แค่นี้ครับ
[/quote]



จากรูปนะครับ

การเจิม ติลกฺ หรือ "ดิลก "ที่หน้าผากนั้น มีหลายความหมายครับ
ทั้งส่วนของการรับพร เรื่องสามีภรรยา และยังมีเรื่องเครื่องหมายที่บ่งบอกนิกายอีกครับ

ของที่ใช้เจิม จะแยกออกเป็นดังนี้
1.จนฺทน(จันดั๊น) ทำด้วยไม้จันทน์ฝน อาจผสมผงหอมเล็กน้อย ใช้ทั่วๆไปครับ ไม่ได้จำกัด อย่างวัดเทพมณเฑียรก้จะใช้แบบนี้
2.โคปีจนฺทน (โกปีจันดั๊น) อันนี้จะเหมือนกับดินสอพองของเรา ทำด้วยดินละเอียด ซึ่งได้จากเมืองมถุรา มักอัดเป็นแท่งๆ มีสีขาว สีเหลือง(ผสมขมิ้น) หรือสีส้ม จะใช้ในพวกไวษณวนิกายครับ ตามรูปข้างบนที่เป็นตัวยู หรือวี ถ้าเป็นสีขาวหรือสีเหลือง คือโคปีจนทน การเขียนเป็นยูหรือวี แทนสัญลักษณ์ พระวิษณุบาท ครับ
3.ผงภาสมะ หรือวิภูติ  อันนี้ทำจากขี้เถ้าครับ ซึงได้จากสามลักษณะ
3.1ขี้เถ้าจากพิธียัชญะกรรม โดยเก็บขี้เถ้าที่เหลือจากการโหมะ หรือการบูชาไฟมาจุลเจิม โดยมากจะเจิมทันทีหลังจากการบูชาไฟเสร็จสิ้น
โดยมักเจิมแล้วมักเป็นสีดำ ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มาก เจิมได้ทั่วไปไม่แบ่งแยกนิกาย
3.2ขี้เถ้าจากเผาศพมนุษย์ แต่เดิมจะใช้ขี้เถ้าเผาศพ ซึ่งโยคีนำมาทาตัวหรือเจิม เพราะถือว่าประพฤติวัตรเช่นเดียวกับพระศิวะ(โดยปกติถือว่าขี้เถ้าศพเป็นของอปมงคล ต้องผ่านพิธีกรรมและการบูชาพระศิวะก่อนจึงจะนำมาใช้) ปัจจุบันหายากมาก และมีการใช้ไม่แพร่หลาย ที่ยังคงใช้คือ วัดมหากาเลศวร ณ เมืองอุชเชน ที่พราหมณ์ปุโรหิต ยังต้องไปเอามาทุกเช้าจากที่เผาศพ เพื่อมาชโลมองค์พระศิวลึงค์ครับ นอกจากนี้ก็มักทำในพวกอโครี หรือนักบวชในไศวนิกายครับ(อันนี้สีขาว หรือออกเทาๆ)
3.3 ขี้เถ้าที่ได้จากการเผามูลโค และใบมะตูม อันนี้คือที่ใช้กันทั่วไปครับ มักมีการผสมเครื่องหอม มีขายตามร้านย่านค้าชาวอินเดีย เป้นของถวายพระศิวะ และใช้ในพิธีการเกี่ยวกับพระศิวะครับ
4.ขมิ้น หรือหริทรา  เป้นเครื่องประทินผิวของคนโบราณ
5.ผงกุมกุม หรือโลหรี มีสีแดง นักวิชาการคิดว่า สมัยโบราณคงใช้เลือดจริงๆของคนหรือสัตว์ที่ใช้บูชายัญมาเจิม แต่ต่อมาก้ใช้พืช หรือแร่ธาตุบางชนิดแทน หมายถึงพระแม่โดยเฉพาะครับ เพราะการบูชายัญด้วยสัตว์ เป้นกิจพิธี ในลัทธิศักติ และความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ต่างๆ (ในหนังสือ สนาตนปูชาวิธี ถึงเขียนว่า ห้ามเอากุมกุงบูชาพระนารายณ์ เพราะ พระนารายณ์เป็นคติการบูชาเทพผู้ชายที่พยายามเลิกการฆ่าสัตว์)
6.สินทูร(คนชอบไปเขียนว่า ซินดู๊ส บ้างอะไรบ้าง) มีสีส้ม เป็นแร่ชนิดหนึ่งใช้บุชาพระคเณศโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ของอย่างอื่นที่ใช้ประกอบหรือผสมในการเจิม เช่น ผงหอมแปดกลิ่น(อษฺฏคนฺธ)ผงจนฺทน แบบสีส้ม ผงเกสร ฯลฯ

ที่นี้ไล่มาตามรูปนะครับ
ที่เป็นตัวยูหรือวี เป็นของไวษณวนิกายหรือนิกายที่นับถือพระนารายณ์ทั้งหมด แต่แยกย่อยไปตามอนุนิกายอีกทีนะครับ มักอธิบายว่า ตัวยูนั้นคือ พระบาทของพระนารายณ์ ส่วนสีแดงตรงกลางหรือสีเหลืองตรงกลางหมายถึงพระลักษมี สีขาวทำด้วยโคปีจนฺทน ครับ

จากซ้าย(ผู้อ่าน)ไล่ไปขวา (แถวบน)
1.เป็นของนิกาย รามานันที ซึ่งก่อตั้งโดยสวามีรามานันทะครับ เป้นอาจารย์ของนักบวชและนักบุญสำคัญหลายท่าน เช่น สวามีนนารายัณ  ฯลฯ
2.นิมานันที  เข้าใจว่า เป็นของนิกายทของท่าน นิมพารกาจารย์ เรียกว่า ไทวตาไทวตเวทานตะ ซึ่งเป็นคณาจารย์รุ่นหลังของไวษณวนิกาย จุดสีดำเข้าใจว่าใช้ผงขี้เถ้าศักดิ์สิทธิจุลเจิม
3.วัลลภาจารย์ เป้นของนิกายของท่านวัลลภาจารย์ ซึ่ง เป้นนิกายที่เรียกว่า ศุทฺธาไทวตเวทานตะ(ถ้าจำไม่ผิด) เน้นที่องค์พระกฤษณะครับ
4.มาธวาจารย์ เป็นของนิกายของท่านมาธวาจารย์ ซึ่งเรียกว่าไทวตเวทานตะ ใช้กุงกุมทั้งหมด

ทั้งสี่นิกายนี้เป้นนิกายหลักๆของไวษณวนิกาย ที่ได้มุ่งเน้นที่องค์พระกฤษณะเป็นสำคัญ โดยนิกายทั้งสี่ได้ขยายความคิดมาจากนิกายของท่านรามานุชะอีกที
ชื่อเรียกนิกายที่ผมนำมาเป้นชื่อในทางปรัชญา (อาจมีชื่อเรียกอื่นๆในทางศาสนาครับ)
5.และ6 ทั้งสองอันที่มีสีเหลืองตรงกลาง เป็นของนิกายของท่านรามานุชะ ซึ่งเป้นผู้สถาปนาไวษณวนิกาย ทางอินเดียใต้ ที่เรียกว่า ศรีสัมปรทายะ
วัดที่สำคัญของท่านคือวัดที่ ติรุมาลา วัดพระศรีรังคัม  การแบ่งออกเป็นสองแบบ ผมเข้าใจว่า แบ่งตามอนุนิกายอีกที คือ
5. เข้าใจว่าเป้นของอนุนิกายวัทคไล
6.จของอนุนิกาย เตงคไล
สองอนุนิกายนี้สอนต่างกันนิดหน่อย ในเรื่องที่ว่า การจะหลุดพ้น ต้องอาศัยพระกรุณาของพระเจ้าแค่ไหน หรือมนุษย์ต้องทำอะไรแค่ไหน



แถวที่สอง จากซ้ายผู้อ่าน

เป้นของไวษณวะ ที่เป้นนิกายชั้นรอง และมีผู้นับถือไม่มาก
1.โคทนยสวามี อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆครับ
2.เภทิวาเล อันนี้ก็ไม่ทราบครับ
3.จตุรภุชี (แปลว่าสี่กร)อันนี้ก็ไม่ทราบ แต่อาจเป็นของอนุนิกายเคาฑิย(ไม่แน่ใจครับ)

4.อันนี้ของไศวนิกายครับ เขียนเป็นสามแถบ เรียก ตริปุณฑร จะเขียนแบบอื่นก็ได้ หรืออาจมีสีอื่นๆ วัสดุคือ ผงขี้เถ้า การมีสีอื่น ก็ด้วยการผสมวัสดุอื่นๆ เช่น ผงหอม ผงจันทน์ ลงในขี้เถ้า สามารถใช้ทั้งแบบเปียก ผสมน้ำ หรือเจิมแห้งๆก็ได้
6.อันยาวนี้ ของนิกาย กพีรปัณถี อันนี้เป้นของท่านนักบุญกพีรทาสครับ ซึ่งท่านเป็นผู้มที่พยายามผสานศาสนาฮินดูเข้ากับศาสนาอิสลาม และท่านมีอิทธิพลต่อศาสนาสิข ด้วยครับ
ถัดไป เป้นจุดสีแดง อันนี้ของศักตะนิกาย หรือนิกายที่นับถือพระแม่ครับ ซึ่งมักเจิมด้วยผงกุมกุมสีแดง


ถ้าไปวัดเทพมณเฑียร บัณฑิตท่านก็จะเจิมด้วย ผงจันทน์ สีส้ม ซึ่งได้จากไม้จันทน์ฝนผสมเครื่องหอมครับ

ถ้าไปวัดแขกสีลม พราหมณ์ท่านจะเจิมสองอย่าง สีขาวคือขี้เถ้าศักดิ์สิทธิ์ หมายถึงฑณธศิวะ และสีแดง คือพระแม่เจ้า ครับ

แต่ถ้าไปเที่ยวอินเดีย ไปวัดพระคเณศในมหาราษฏร์ พราหมณ์ท่านจะเจิมให้เราด้วยผงสินทูร สีส้มครับ

ขอบพระคุณพี่หริทาสสำหรับสาระความรู้ที่นำมาให้นะครับ ^_^
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

โห
เพิ่งทราบนะเนี้ยะ
ขอบคุณมากๆนะคัฟ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ขอบคุณทุกๆ ความรู้ คร้าฟ  ขอพระเป็นเจ้าประทานพร คร้าฟ ท่าน