ชุมชนคนรัก...ฮินดู (HINDUMEETING)

ประชาสัมพันธ์ => ประชาสัมพันธ์ => Topic started by: อักษรชนนี on October 16, 2011, 20:20:43

Title: ขอเชิญร่วมงานดีปาวลี ณ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔
Post by: อักษรชนนี on October 16, 2011, 20:20:43
ขอเชิญร่วมงาน "พิธีดีปาวลี"
ณ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จังหวัดเชียงใหม่
วันเสาร์ที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔


(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.kamalkapoor.com%2Fimages%2Fwallpapers%2F800x600%2Fdiwali-wallpaper1236.jpg&hash=68ede7dbc7e2c46eec58568e3c879fa44f93c0d9)

         ทางพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศได้จัดพิธีสาธิตการทำบูชา พระแม่ลักษมี พระพิฆเนศ ในวันดีปาวลีนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยในพิธีจะทำการบูชาองค์พระพิฆเนศ พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี ท้าวกุเวร และน้องสาวของพระแม่ลักษมี(อลักษมี)

         ในปีนี้ทางพิพิธภัณฑ์จัดงาน ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป

         จึงขอเชิญผู้ที่มีความสนใจศรัทธาเข้าร่วมพิธีได้ในวันและเวลาดังกล่าว โดยการเตรียมตัวที่จะเข้าร่ วมงานมีดังต่อไปนี้

-    ใส่เสื้อผ้าที่เป็นชุดใหม่ สีสดใสไม่ใส่สีดำ
-    สมุดบัญชี กระเป๋าเงินกุญแจเซฟ/ลิ้นชักใส่เงินสมุดจดบันทึกรายการใช่จ่ายต่างๆ ปากกาที่ใช้เซนเช็ค/เขียนบัญชีต่างๆ (นำใส่ถุงหรือกล่องเขียนชื่อติดให้เรียบร้อย) (เนื่องด้วยตามความเชื่อที่ว่าวันดีปาวลีเป็นวันเริ่มบัญชีและการเงินใหม่ จำเป็นต้องใช้ของเหล่านี้เพื่อให้พระแม่ลักษมี ประทานเงินตราให้)
-    ถางประทีป เทียน(เพื่อจุดให้แสงสว่าง)
-    พลุไฟ ชนิดต่างๆและพลุที่ทำให้เกิดเสียงดัง (ใช้ในพิธี บูชาน้องสาวของพระแม่ลักษมีคือพระแม่อลักษมี ซึ่งมีความตรงกันข้ามกับพระแม่ลักษมีทั้งหมดคือความไม่เป็นมงคล คบโชคร้าย อับจน หมองเศร้า โรคภัยโดยเขื่อว่าแสงสว่างและเสียงดังจะขับไล่พระแม่อลักษมีออกไปได้)
-    ผลไม้ตามฤดูกาลและแอปเปิ้ลแดง
-    ดอกไม้
-    ความศรัทธา และตั้งใจ

        ในพิธีจะมีการทำบูชาต่อองค์เทพต่างๆ เช่น องค์พระพิฆเนศ(เทพแห่งอุปสรรค บูชาเพื่อให้ท่านขจัดอุปสรรคและประทานความสำเร็จ พระแม่ลักษมีเทวีแห่งเงินตรา โภคทรัพย์ โชคลาภ พระแม่สรัสวดีเทวีแห่งการศึกษา หนังสือ บัญชี และอุปกรณ์การเชียน ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวรรณ)จตุโลกบาลผู้ดูแลทิศเหนือ เทวะที่ร่ำรวยเงินทองอันมากมี พระแม่อลักษมีน้องสาวของพระแม่ลักษมี และทำบูชาพระแม่ลักษมีที่สถิตอยู่ ณ เกษียรสมุทรทะเลน้ำนม โดยการ ลอยดอกไม้และถางประทีปในสายน้ำ


หมายเหตุ : ขอขอบคุณที่มาของข่าว จาก พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จังหวัดเชียงใหม่