Loader

สาระน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีคเณศจตุรถี

Started by หริทาส, August 14, 2009, 19:07:40

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

ผมหายไปนานด้วยภาระงานการสอนหนังสือ
แต่ช่วงนี้เห็นว่าใกล้เทศกาลคเณศจตุรถีแล้ว จึงนำเอาบทความเล็กๆที่ผมเขียนไว้มาให้ผู้สนใจได้อ่านกัน

ก็ตามเดิมครับ ขอสงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปเผยแพร่ครับ

คเณศจตุรถี(Ganesha Caturthi )
เรียบเรียง โดย ศรีหริทาส

       

             พระพิฆเนศวร์ทรงเป็นที่เคารพสักการะทั้งในประเทศอินเดียและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในประเทศอินเดีย แคว้นที่เคารพพระพิฆเนศวร์เป็นพิเศษ คือแคว้นมหาราษฏร์ ซึ่งครอบคลุมเมืองมุมไบ และเมืองใกล้เคียงอื่นๆ  ดังจะเห็นได้จากจำนวนเทวสถานขององค์พระพิฆเนศวร์จำนวนมากมายในดินแดนแถบนั้น และเทศกาลที่ถือว่าเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุด คือ “ คเณศจตุรถี ”
พิธีคเณศจตุรถี หรือ วินายกจตุรถี( Vinayaka caturthi ) หรือ คเณโศตสวะ( Ganeshotsava ) คือพิธีสักการะพระคเณศ โดยถือว่าเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระองค์ จตุรถี แปลว่า ลำดับที่ 4 ซึ่งหมายถึงวันขึ้น 4 ค่ำ(ศุกลปักษะ จตุรถี)ในเดือนภัทรบท( Bhadrapad )ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งอยู่ในช่วงราวๆกลางเดือนสิงหาคม และกันยายนของทุกปี ในพิธีนี้จะมีการปั้นเทวรูปพระคเณศขึ้นจากวัสดุธรรมชาติเช่นดินเหนียว หรือวัสดุอื่นๆ  ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กไม่กี่นิ้วไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าตึกสองหรือสามชั้น จากนั้นจะสร้าง “ มณฑป( Mandapa ) ” ขึ้น เพื่อประดิษฐานเทวรูปดังกล่าว รูปแบบของมณฑปขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและงบประมาณของเจ้าภาพเป็นสำคัญ ในเทศกาลคเณศจตุรถีบางแห่งมีการประกวดมณฑปและองค์เทวรูปทั้งในเรื่องความคิดสร้างสรรค์และความสวยงาม แม้แต่องค์เทวรูปที่สร้างขึ้นในเทศกาลก็ไม่ได้ถูกกำหนดรูปแบบที่ตายตัวไว้ เราจึงเห็นการสร้างเทวรูปพระคเณศในรูปแบบแปลกๆ เช่น พระคเณศในรูปแบบฮีโร่ในภาพยนตร์ซึ่งจะเห็นๆได้ เฉพาะในเทศกาลนี้เท่านั้น   เมื่อการเตรียมการต่างๆพร้อมแล้ว จะมีการอัญเชิญเทวรูปพระคเณศขึ้นประดิษฐานในมณฑป และเชิญพราหมณ์มาทำพิธี “ ปราณประติษฐา ” หรือการทำให้เทวรูปนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา จากนั้นจะทำการบูชา 16 ขั้นตอนตามหลักศาสนาที่เรียกว่า โษทโศปจาร(อุปจาระทั้ง 16) เช่นการสรงด้วยนม ด้วยน้ำผึ้ง การบูชาด้วย ดอกไม้ และเครื่องบูชาต่างๆ ตามด้วยสวดมนตร์ที่เรียกว่า “ คเณศาถรวศีรษะ ” หรือ คเณศ อุปนิษัท ในคัมภีร์พระเวท และทำการบูชาด้วยประทีป หรือการอารตี เป็นขั้นตอนสุดท้าย นอกจากนี้ชาวฮินดูที่มีศรัทธาจะถือพรตอดอาหารหรือทานแต่มังสวิรัติ ในช่วงเทศกาลจตุรถีอีกด้วย
           การประดิษฐานพระคเณศจะเริ่มประดิษฐานไว้ตั้งแต่วันขึ้น 4 ค่ำ(ศุกล จตุรถี)ไปจนถึงวัน
อนันตะ จตุรทศี หรือวันขึ้น 14 ค่ำ เป็นเวลาทั้งสิ้น 10 วัน ในทุกๆวันจะมีการชุมนุมกันสวดมนตร์ และทำพิธีอารตีในเวลาค่ำ เมื่อถึงวันที่ 11 ที่เรียกว่า พิธีวิสรชัน หรือการส่งเทพเจ้ากลับเทวโลก ในวันนั้น จะมีพิธีการบูชาด้วยอุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน อีกรอบหนึ่ง และจะจัดขบวนแห่ เทวรูปไปตามท้องถนน พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีและการเต้นรำอย่างสนุกสนาน โดยจะมีการร้องตะโกนถวายพระพรแด่พระคเณศ เช่น  “ คณปติ บ๊าปป้า โมรยา !” (พระบิดาคเณศจงเจริญ) มงคล มูรติ โมรยา ! (พระผู้มีรูปมงคลจงเจริญ)ในภาษามาราฐี เป็นต้น และมีการสาดผงสินทูรหรือ ผงอพีระ สีแดง เพื่อเป็นสิริมงคล ไปยังผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน การแห่เทวรูปจะแห่ไปที่ทะเล หรือที่แหล่งน้ำที่อยู่ใกล้  เมื่อถึงชายฝั่งจะมีการทำพิธีอารตีอีกรอบหนึ่ง และ นำเทวรูปนั้นไปลอยลงในทะเลหรือแม่น้ำ เท่ากับ ได้ส่งพระคเณศกลับยัง   เทวโลก นอกจากนี้ชาวอินเดียยังเชื่อว่าการที่เทวรูปนั้นสลายสู่สภาวะเดิม เป็นการแสดงสภาวะของธรรมชาติ และถือว่าทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ต่อการเพาะปลูก เพราะแม่น้ำและดินจะได้รับพรจากองค์เทวรูปที่ได้ผ่านพิธีกรรมไปแล้วด้วย
         ในเชิงประวัติศาสตร์ แต่เดิมเทศกาลคเณศจตุรถีมิได้เป็นเทศกาลที่แพร่หลายระดับรัฐ แต่ในปี ค.ศ. 1893 ท่านพาล คงคาธร ดิลก นักเคลื่อนไหวทางสังคมและนักปฏิรูปสังคมอินเดีย ได้ปรับปรุงพิธีนี้และยกระดับให้เป็นพิธีของรัฐด้วยเห็นว่า พระคเณศนั้นทรงเป็น “ เทพเจ้าของทุกๆคน ” ซึ่งไม่ว่าคนในวรรณะไหนก็สามารถบูชาและเข้าถึงพระองค์ได้ การจัดเทศกาลนี้ก็ถือเป็นการลดช่องว่างระหว่างชนชั้นไปในตัว โดยเฉพาะชนชั้นพราหมณ์และพวกไม่ใช่พราหมณ์ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงการต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษที่ออกกฎไม่ให้มีการชุมนุมกันตามท้องถนน โดยอาศัยการแห่พระคเณศออกมาในวันสุดท้ายของเทศกาล

          พิธีคเณศจตุรถีจึงเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีความร่วมมือร่วมใจที่ต้องอาศัยกำลังของบุคคลในชุมชน ทั้งในส่วนของการจัดเตรียมองค์เทวรูป การสร้างประรำพิธี การจัดพิธีการบูชาและการแห่แหนในวันสุดท้าย  นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอินเดียไปสู่ชาวโลก ชาวอินเดียจึงมีความภาคภูมิใจในเทศกาลนี้มากและนับว่าเป็นเทศกาลที่ชาวต่างชาติรู้จักกันมากที่สุด
             ในประเทศไทย แต่เดิมการจัดพิธีคเณศจตุรถี มักเป็นการจัดกันกลุ่มเล็กๆในหมู่ชาวอินเดีย และไม่ใช่เทศกาลที่แพร่หลายเป็นที่รู้จัก เพราะชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักมาจากรัฐอุตรประเทศ ซึ่งพิธีคเณศจตุรถีไม่ได้เป็นเทศกาลสำคัญของรัฐดังเช่นชาวมาราฐีในแคว้นมหาราษฏร์ มีเพียงองค์กรเดียวของคนไทย คือ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศวร์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดเทศกาลคเณศจตุรถีมาเป็นเวลาหลายปีจนเทศกาลนี้ค่อยๆเป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ แต่กระนั้นในจังหวัดอื่นๆนอกจากกรุงเทพและเชียงใหม่แล้ว ก็ยังไม่มีการจัดพิธีคเณศจตุรถี หากมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นองค์พระคเณศ จัดเทศกาลนี้ขึ้น ก็อาจถือว่าเป็นการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดนครปฐม และเป็นโอกาสที่สำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณี และความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์พระคเณศให้แพร่หลายไปด้วย

พอดีก๊อปมาจากไฟล์เวิร์ดแล้วมัน
แปลกๆ เรยต้องแก้ไขครับ

แล้วไหนๆ พูดถึงเทศกาลคเณศจตุรถีแล้ว
ท่านที่อยากร่วมงานแต่ไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศอินเดียหรือเชียงใหม่ได้

ที่จังหวัดนครปฐม
โดยภาควิชาปรัชญามหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดงานคเณศจตุรถีขึ้นนะครับตามรายละเอียดทางด้านล่างนะครับ

กำหนดการ
โครงการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
“ สืบสานประเพณีคเณศจตุรถี ”
พิธีคเณศจตุรถี เฉลิมฉลองวันประสูติพระพิฆเนศวร์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552
ณ มณฑลพิธี บริเวณ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2552  ถึง  วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม  2552

ดำเนินการปั้นเทวรูปพระพิฆเนศวร์สำหรับใช้ในพิธี โดย อาจารย์ชัชวาลย์ วรรณโพธิ์ศิลปินร่วมสมัยชั้นนำ และจัดเตรียมประดับตกแต่งสถานที่ปะรำพิธี(มณฑป)


วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2552  วันคเณศจตุรถี(วันประสูติพระพิฆเนศวร์)

เวลา 13.00 น.     เริ่มพิธีสถาปนา และบูชาพระคเณศตามประเพณีฮินดู

                    -สวัตติวาจน สังกัลปะ กลัศสถาปนา ทีปสถาปนา ศังขปูชา
                   -อัญเชิญเทวรูปประดิษฐานที่มณฑป  สถาปนาเทวรูป    ปราณประติษฐา
                   -บูชาเทวรูป ด้วยอุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน เช่นการสรงด้วยน้ำ อภิเษกเทวรูป

                     ถวายอาหาร(ไนเวทยัม) ถวายธูปและประทีป เป็นต้น
เวลา 15.00น.      คเณศจตุรถี กถา  พิธีถวายบูชาอารตี  เสร็จแล้ว ผู้เข้าร่วมพิธีรับพร รับการ

                     เจิมและรับประสาท(ของที่ถวายแล้ว)เพื่อเป็นสิริมงคล
เวลา 17.00น.       พิธีสันธยอารตี(เวียนประทีปบูชา)  ร่วมสวดมนตร์ เสร็จแล้วรับพรและ

                     ประสาท
*ประกอบพิธีโดยบัณฑิตพรหมานันทะ พราหมณ์อินเดีย

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2552  และ วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2552
เวลา 17.00 น.     พิธีบูชาพระคเณศด้วยปัญจอุปจาระ ทำพิธีสันธยอารตีและร่วมสวดมนตร์  เสร็จ
                    แล้วรับพรและประสาท(ของบูชา)เพื่อเป็นสิริมงคล

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552(วัน วิสรชันหรือส่งเสด็จ)

เวลา 15.30 น.     พิธีบูชาพระคเณศด้วย อุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน ทำพิธีมงคลอารตี


เวลา 17.30น         เชิญร่วมขบวนแห่องค์พระพิฆเนศวร์  เริ่มขบวนจากภาควิชาปรัชญาไปยัง
                     สระแก้ว เพื่อส่งเสด็จ(ลอยน้ำ) ตามความเชื่อของชาวอินเดีย

เวลา 18.00น.      พิธีอารตี จากนั้นแจกประสาท ประกอบพิธีวิสรชัน(นำเทวรูปลอยลงในสระแก้ว)
                    เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีคเณศจตุรถี



ทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ที่24 ส.ค. 2552  เชิญร่วมสวดมนตร์ และพิธีมงคลอารตี  ในเวลา 17.00 น.



ขอเชิญท่านที่สนใจและมีศรัทธาต่อองค์พระพิฆเนศวร์เข้าร่วมพิธีได้ตามวันและเวลาดังกล่าว
สอบถามโทร 034-255096-7 ต่อ 23303 ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


การเดินทาง
1.รถตู้ทับแก้ว -กรุงเทพ
ขึ้นรถที่ปอกุ้งเผา เลยเซ็นทรัลปิ่นเกล้ามานิดหน่อย(หลังศาลพระศิวะ)ราคา 40 บาทต่อเที่ยวรถออกเมื่อเต็ม (ออกไว) รถจะจอดหน้ามหาวิทยาลัย เดินตรงเข้ามาจะถึงคณะอักษรศาสตร์
2.รถบัส กรุงเทพ-ดำเนิน
ขึ้นที่สายใต้ใหม่(สุด)ราคาไม่เกิน30 บาท บอกว่าลงทับแก้ว รถจะจอดหน้ามหาวิทยาลัย
3.รถนครปฐม-กรุงเทพ
ขึ้นที่สายใต้ใหม่ รถจะจอดที่องค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมอไซค์รับจ้างมาอีกประมาณ 20 บาท



ไม่ทราบว่าประชาสัมพันธ์ได้มั๊ย หรือต้องที่ห้องอื่น

ยังไงถ้าผิดกติกา ท่านเวปมาสเตอร์ย้ายได้ตามสมควรนะครับ

เห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ เรยอยากนำมาเสนอครับ

น่าสนใจมากเลยครับ

เหอๆๆๆๆ ดีจังจัดที่คณะอักษรฯด้วย

เพราะหลังจากจบคอสเวิร์คก็ไม่ได้เข้าไปทับแก้วเลย

สงสัยได้เข้าไปอีกรอบก็การคราวนี้แหล่ะครับพี่


งานนี้เด็กภาคประวัติศาสตร์ขอแจมด้วยสักคนแล้วกันครับพี่ ฮาๆๆๆๆๆๆๆ


ปล.อัญเชิญเทวรูปส่วนตัวไปร่วมพิธีด้วยได้ไหมครับพี่หริทาส 
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ได้เรยครับ

ยินดีมากครับ
ถ้าจะเอาเทวรูปส่วนตัวมาเข้าพิธี
ควรเอามาวันที่ 24 ส.ค. นะครับ
เสร็จพิธีก็รับพระกลับไปบูชาได้เลยหรือจะ สร้างพระขึ้นมาด้วยวัสดุธรรมทชาติ แล้วจัดบูชาเป็นการส่วนตัว
พอวันสุดท้าย ก็เอามาเข้าขบวนแห่ และร่วมไปวิสรชันท่านที่สระแก้วก็ได้ครับ

ปีนี้
พวกพี่ๆไปไหว้กันที่ไหนอะคัฟ
อย่าลืมเอารูปมาฝากกันนะคัฟ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ขอบคุณมากครับ สำหรับสาระความรู้ คิดถึงคุณหริทาสมาก หายไปนานเชียว

ไปมาแล้ว  ที่เชียงรายนี่เองค่ะ

ที่เชียงรายก็มีวัดแขกกะเค้าเหมือนกันนะคะ

ไปแล้วได้รับรู้อะไรเยอะเลยค่ะ

เกิดความอิ่มอกอิ่มใจ  และสุขใจค่ะ  ที่ได้ไปร่วมพิธี
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

วัดแขกสีลมปีนี้  วันที่  11  กันยายน  พ.ศ. 2553  เชิญนะคะ 

ท่านสมาชิกใบบอร์ดนี้ที่จะสั่งขนมโมทะกะ และ ขนมลาดู  ควรสั่งแต่เนิ่นๆ นะคะ  ช่วงนั้นลูกค้าแน่นค่ะ




พรที่เทพประทานจะไม่มีวันเสื่อม  เว้นแต่ผู้นั้น จะเสื่อมไปจากพรเอง