Loader

รบกวนสอบถามท่านผู้มีความรู้ด้านโหราศาสตร์

Started by อินทุศีตาลา, February 11, 2010, 11:10:03

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

ดิฉันสงสัยเรื่องเทวดาเสวยอายุและเทวดาองค์แทรกค่ะ ทราบว่าเป็นหมู่เทวดานพเคราะห์
แต่อยากทราบเทวดาทั้งสองอย่างนี้ให้คุณให้โทษอย่างไร มีกฎเกณฑ์การนับอย่างไร (หากมีวิธีนับสำหรับคนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านโหราศาสตร์เลยจะเป็นพระคุณมากค่ะ) และมีวิธีปฏิบัติอย่างไร

ขอบพระคุณค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ไม่ใช่ผู้รู้นะครับ แต่มีความสนใจอยู่บ้าง
            
            
มหาทักษา ว่าด้วยกำลังเทวดาเสวยอายุ
http://rahu.moohin.com/phommachat/phommachath017c001.shtml

คำพยากรณ์พระเคราะห์เสวยอายุ
http://rahu.moohin.com/phommachat/phommachath017c002.shtml

ขอบพระคุณ คุณ tewadhol  มากเลยค่ะที่ให้ข้อมูล
แต่ยอมรับว่างงๆค่ะ เพราะไม่มีหัวทางด้านนี้เลย

สรุปคร่าวๆว่าๆเป็นเทวดาที่จะมีอิทธิพลต่อชะตาชีวิตของผูคนในปีนั้นๆใช่ไหมคะ

ยกตัวอย่างดิฉันเกิดวันพฤหัสบดี ปีนี้อายุ 27 แล้ว ก็เท่ากับว่า พระพุธเสวยอายุและพระราหูเป็นองค์แทรก อย่างนั้นใช่ไหมคะ
ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ที่คุณ tewadhol กล่าวมานั้นเป็นทักษาที่ไทยเรานำมาจากพม่ารามัญ หรือ ที่เรามักใช้กันเช่น บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาลกิณี

การเสวยอายุ ก็ตามเวปที่คุณ tewadhol นำมาโพส

แต่ถ้าเป็นแบบอินเดียนั้นจะเรียกว่า "ทศา (Dasas)" นับการเสวยอายุจากที่สถิตของพระจันทร์ในดวงชะตากำเนิด ว่าสถิตอยู่ในนวางศ์ของนพเคราะห์องค์ใด และนิยมใช้วิมโษตตรีทศามากที่สุด

การเสวยนั้นก็มีการซอยลงไปอีกมาก

1. มหาทศา (Maha Dasas)
2. อนุทศา หรือ อันตรทศา (Antar Dasas)
3. วิทศา หรือ ปรัตยันตรทศา (Pratyantra Dasas)
และยังมีการซอยลงไปลึกกว่านั้นอีก เช่น Sookshma-antardasas, Praana-antardasas, Deha-antardasas เป็นต้น แต่ส่วนมากนิยมใช้แค่ 2 - 3 ทศาที่กล่าวมาก็เพียงพอแล้วในการวิเคราะห์ดวงชะตา

และถ้าถามจากประสบการณ์ในเรื่องโหราศาสตร์แล้ว ผมเห็นว่าวิมโษตตรีทศาของทางโหราศาสตร์อินเดียนั้นใช้ได้ผลจริงกว่า ซึ่งสามารถเจาะลึกได้มากกว่าทักษารามัญ

ตรงนี้ดูได้จากดวงเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่งรัชกาลที่ ๑ ทรงมอบหน้าที่ให้พราหมณ์หลวงทั้งหมดช่วยกันหาฤกษ์การลงเสาหลักเมืองให้ และจากการวางดวงเมืองจะเห็นได้ว่าพราหมณ์หลวงนั้นได้วางดวงฤกษ์ให้ลัคนา กับ ชนมจันทร์ คานกำลังกันเพื่อให้เมืองไทยเราผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ได้ และเรื่องคำทำนาย 10 ยุคนั้นก็มาจากระบบวิมโษตตรีทศาด้วย

ส่วนทักษารามัญนั้น เรานำมาใช้กันที่หลังเพราะง่ายแก่การคำนวณ

ปล. เรื่องนี้ยาวครับ ขอเล่าไว้เพียงเท่านี้พอ เพราะ ต้องมีความรู้ทางโหราศาสตร์มาบ้างพอสมควร ถึงจะเข้าใจได้กระจ่าง
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

ครับ...คุณ สิรวีย์
อย่าว่าแต่คุณงงเลยครับ บางเรื่องที่อ่านผมก็งงเหมือนกัน 

สรุปคร่าวๆว่าๆ...ของคุณ ผมก็เข้าใจตามนั้นเหมือนกันครับ

ที่คุณยกตัวอย่างนั้น คำพยากรณ์เขาบอกว่า "พระพุธ แทรกพระราหู" เขาหมายความว่า
ตอนนี้พระราหูเสวยอายุคุณอยู่ แล้วมีพระพุธเข้ามาแทรกน่ะครับ

เรื่องโหราศาสตร์ดวงดาวนี่ เอาแต่พอเข้าใจบ้างคร่าวๆก็น่าจะพอนะครับ
ตามความคิดผมนะ เพราะลำพังแค่เราอ่านตามหนังสือหรือตามเวปต่างๆนั้น
จะให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เลยผมว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก

ลองเข้าไปเริ่มศึกษาที่เวปนี้ http://www.lekpluto.org/astrogod/astrogodindex.htm

ก่อน ผมว่าน่าจะดีนะครับ มีทั้งหมด 99 ตอน อ่านเล่นๆสนุกๆเหมือนอ่านนิยาย
บอกที่มาที่ไป ชาติกำเนิดของเทพแต่ละองค์ เปรียบเทียบตำนานทั้งไทย ทั้งฮินดู
ทั้งกรีก ให้เราได้อ่าน น่าจะคลายความสงสัยได้หลายๆเรื่องทีเดียวครับ
 

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเวลาไปงานทำบุญวันเกิด เห็ฯเขาตั้งโต๊ะสังเวยเทวดาองค์เสวยอายุและองค์แทรก หลายๆปีก็เปลี่ยนองค์ไป เลยอยากทราบเท่านั้นเองค่ะ แต่ถึงฟังท่านผู้รู้อธิบายไปก็อาจจะไม่เข้าใจเพราะยากเหลือเกิน ที่ทราบนี้คร่าวๆก็ขอบพระคุณมากแล้วค่ะ ลึกกว่านี้ก็คงงงกว่านี้

ขอบพระคุณเป็นหนที่สามค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)