Loader

ไปเจอวิธีตั้งกลัศถวายแด่องค์เทพ ไม่รู้ว่าถูกป่าว ช่วยตรวจสอบให้ด้วยครับ

Started by โอม มหา บารมี เทวา โอม, March 12, 2010, 22:12:26

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

กลัศบูชา
กลัศบูชา คือ การถวายบูชา “เทพประธาน” ด้วยมะพร้าว
อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ 1. หม้อ (ภาชนะสำหรับใส่น้ำ), ใบมะม่วง 5 ใบ (คัดขนาดใบที่ใกล้เคียงกัน ใบไม่มีรอยขาดแหว่ง หรือกัดแทะจากแมลง), มะพร้าวห้าว 1 ลูก(เหลาเนื้อเนียน ยอดแหลม), ผงเจิมสีแดง (บางแห่งใช้เพียงเท่านี้)
สูตร METRO LIFE ใช้เป็นภาพประกอบ มีของเพิ่มเติม อาทิ ใบพลู 1 ใบ, หมากลูกแห้งจากอินเดีย 1 ลูก(ซื้อได้จากตรอกแขก พาหุรัด ร้านขายหมากพลูไม่มี) เงิน 1 บาท และดอกไม้ประดับ
หมายเหตุ - บางแห่งใช้ผ้า(ดิบ) แดงหุ้มมะพร้าว ผูกยอดด้วยกลุ่มด้ายศักดิ์สิทธิ์
ภาชนะสำหรับกลัศบูชาเช่น หม้อดิน หรือ หม้อทองเหลืองหรือหม้อทองแดง หม้อแต่ละใบจะมี
ลวดลาย บ่งบอกถึงเทพประธาน
หมายเหตุ คนไทยไม่รู้เรียก “บายศรีแขก”
ขั้นตอนทำกลัศบูชา
1. เทน้ำบริสุทธิ์ใส่ในหม้อ
2. นำหมากแห้ง พร้อมเหรียญบาท วางไว้บนใบพลูและหย่อนใส่หม้อ
3. นำใบมะม่วงที่เตรียมไว้วางเรียงรายรอบหม้อ
4. นำมะพร้าวห้าววางไว้เหนือหม้อ ขณะวางลูกมะพร้าวด้วยมือขวา ให้กล่าวว่า “ ข้าพเจ้าขอบูชาต่อกลัศ
โดยขออัญเชิญพระวิษณุเทพอยู่บนปากแห่งภาชนะ อัญเชิญพระศิวะเทพประทับอยู่ที่คอของภาชนะ และอัญเชิญพระพรหมเป็นฐานของภาชนะ ขออัญเชิญพระแม่ศักติและพระโอรสประทับอยู่ใจกลางภาชนะใบนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาเทพทุกพระองค์ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวนี้

จากนั้นสั่นระฆัง และรำลึกน้อมบูชาต่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอบูชา โดยอัญเชิญพระแม่คงคา,พระแม่ยมุนา,พระแม่โคทวรี,พระแม่สรัสวดี,พระแม่นรมัท,พระแม่สินธุ และพระแม่กเวรีมาประทับอยู่ ณ น้ำบริสุทธิ์ในภาชนะนี้เพื่อให้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
สุดท้าย กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาเทพเจ้าผู้เป็นประธาน (เอ่ยพระนาม) เหนือกลัศนี้ ด้วยการกราบไหว้ ถวายผงเจิมและประดับด้วยดอกไม้เพื่อเป็นเทวบูชา”
5. จัดเรียงใบมะม่วงให้สวยงาม
6. ใช้ผงเจิมที่ลูกมะพร้าวด้วยนิ้วนาง
7. ตกแต่งด้วยดอกไม้ มาลัยให้สวยงาม
8. นำกลัศนั้นขึ้นทูนบนศีรษะ และตั้งกลัศนี้ไว้ในที่อันควร เป็นเวลา 1 วัน
9. ถือว่า น้ำในหม้อกลัศนี้คือ น้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้อาบเพื่อเป็นสิริมงคล เหรียญบาทเก็บไว้เป็นขวัญถุง หรือสะสมไว้เพื่อทำบุญ
10. มะพร้าวเก็บไว้จนแห้ง แล้วจำเริญในน้ำในโอกาสต่อไป
หมายเหตุ - หากมีผ้า(ดิบ) แดงหุ้มมะพร้าวอยู่
ต้องแก้ด้ายมงคล แล้วนำผ้า – ด้าย และมะพร้าวจำเริญน้ำไป
- ช่วงนำไปจำเริญน้ำ เหลียวซ้ายและขวาให้ดี ว่าไม่มีเทศกิจอยู่ ไม่งั้นอาจจะต้องโดนเสียค่าปรับ
- หม้อรูปพระคเณศ และขนานข้างด้วย อักษร “โอม” และรูปตรีศูล
- หม้อพระลักษมี 8 ปาง มีรูป ธนลักษมี,ไอศวรรยลักษมี,วิชัยลักษมี,สันทนลักษมี,คชลักษมี,วีรลักษมี, ธัญญลักษมีและอธิลักษมี
- หม้อนารายณ์ 10 ปาง มีรูป มัตสยาวตาร,กูรมาวตาร,วราหาวตาร, นรสิงหาวตาร,วานาวตาร,ปรศุรามวตาร, รามาวตาร,กฤษณาวตาร,พุทธาวตาร,กาลกิยาวตาร
- หม้อเทพนพเคราะห์
- ส่วนพระอุมา นิยมตั้งเป็นหม้อดิน !! หรือถ้าใครไม่มีหม้อทองเหลือง,ทองแดง อนุโลมใช้เป็นหม้อดินได้หมด แล้วกำหนดเทพประธานเอา
หมายเหตุ หม้อกลัศ มีขนาดให้เลือกทั้งเล็ก,กลาง,ใหญ่ ราคาแตกต่างกันไป หม้อทองเหลือง ราคาแพงกว่าหม้อชนิดอื่น
วงการมายา ไม่ใช่สนามเด็กเล่น แต่เป็นสมรภูมิรบ และ การผูกสัมพันธ์ไมตรี ทั้งจริงและจอมปลอม

มายา ความหมายของมันช่างลึบลับเหลือเกิน

วงการมายาไม่ใช่ของเล่นทั่วไป เข้าแล้วออกยาก ระวังเอาไว้

ไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าถูกไหม
รู้แต่ว่า ประเพณีแต่ละท้องที่ หรือแต่ละลัทธิ จะมีกรรมวิธี แตกต่างกัน
จะว่าไป หากเคยเห็นกรรมวิธีอันหลากหลาย
เราจะบอกได้ว่า มันไม่มีผิด-ถูก...
แต่ต้องดูก่อนว่า เราเข้าใจ ถึงคำว่า "กาลัส" ว่าหมายถึงอะไร

เท่าที่ผมทราบ กาลัส เป็นเพียง "สัญลักษณ์"
ที่ใช้ประกอบพิธีบูชา ต่อองค์เทพ องค์ใดองค์หนึ่ง
โดยผ่านการสถาปนา และสมมติ ให้เป็นองค์เทพองค์นั้นๆ

ทีนี้ ขั้นตอนในการสถาปนา นั้นน่ะ จะทำอย่างไร
มีขั้นตอนมากน้อยแค่ไหน มีรายละเอียดอย่างไร
ก็คงขึ้นอยู่กับแต่ละลัทธิ-นิกาย...

บางคนเขาว่า กาลัส คือบายศรีแขก...
แต่คนแขกเขาอาจว่า กาลัส ไม่ใช่บายศรี...
เพราะใช้คนละอย่างกัน..
แต่มีนัยให้เป็นการสมมุติ ถึงสิ่งที่ต้องการสมมุติ
คล้ายๆ กัน

เช่น บายศรีไทย อย่าง บายศรีปากชาม นั้น
ตั้งใจจะให้เป็นเขาพระสุเมรุอยู่ตรงกลาง
แล้วมีเขาอื่นๆ ล้อมรอบ ...
ก่อนเพล กับหลังเพล จะเสียบยอดบายศรี และใส่ใส้
ของบายศรี ต่างกัน..
โดยมีวัตถุประสงค์ ใช้เป็นของสูง เพื่อถวายบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ด้วยงานประดิษฐ์ใบตอง แบบภูมิปัญญาไทย
ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ ให้เป็นตัวแทนองค์เทพ แต่อย่างใด

แต่ต่อมา ก็ประดิษฐ์ เป็นนาค เป็นอะไรแปลกๆ กันมากขึ้น

ช่างทำบายศรีสมัยนี้ ไม่แน่ว่า
อาจทำบายศรีได้สวยงามมาก ทำได้หลายอย่าง อลังการ...
แต่ไม่รู้จักประวัติบายศรี และรูปแบบและการทำแบบโบราณเลย
ก็อาจมีเหมือนกัน..
แต่ละครู แต่ละตำรา ก็มีกรรมวิธี แตกต่างกัน

ดังนั้น จะถามว่า วิธีทำกาลัสนั้น ถูกไหม
ก็ควรต้องมีข้อมูลมาก่อนว่า...
เป็นกาลัสของวัฒนธรรมใด ลัทธิ-นิกายใด
ถ่ายทอดกันมาจากแหล่งภูมิปัญญาไหน
แล้วให้ผู้รู้ของต้นกำเนินศาสตร์การทำกาลัสนั้นๆ
มาตอบว่า.. ถูก หรือ ไม่...

แต่หากเป็นภูมิปัญญา ที่ตั้งขึ้นมาใหม่..
อันนั้น ก็จะเปรียบเทียบกับภูมิปัญญาแบบเดิมไม่ได้
ของใคร ใครก็ว่าถูก

ถ้าคนทำกาลัส แบบที่เขาเชื่อว่า ต้องมีสิ่งประกอบดังนี้ๆ
ซึ่งยังไงๆ มันก็หาไม่ได้ในเมืองไทย...
เขาอาจตอบว่า ไม่ถูกก็ได้
แต่ถึงหาเครื่องประกอบได้ครบ
พวกที่บอกว่า กาลัส ต้องสถาปนาด้วยมนต์ มากมาย
ก็จะตอบว่า หากขาดมนต์ ก็ไร้ความหมาย..เป็นต้น

แล้วถ้าคนไม่รู้มนต์ หรือไม่มีสิ่งประกอบตามสมมุติบัญญัติ
ก็คงไม่สามารถประดิษฐ์สิ่งสักการะพระเป็นเจ้า
ที่เรียกว่า "กาลัส" ได้เลย...

ผมว่า ใจแคบไปรึเปล่า...
หากใจบริสุทธิ์ พระเป็นเจ้า คงรับรู้ที่ใจ มากกว่าวัตถุประกอบ

มันพูดยากครับ...เรื่องความถูก ความผิด เนี่ย...
แล้วแต่คนๆ นั้น จะมีมาตรฐานในใจเขาอย่างไร
มีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ แบบไหน

อย่างไรก็ดี..
อยากให้ตระหนักกันว่า.. กาลัส หรือ พิธีกรรมใดๆ
ล้วนเป็นการสมมติ ทั้งสิ้น...
เราควรพยายามเรียนรู้ ว่า องค์ประกอบในสิ่งสมมตินั้น
หมายถึงอะไร เพราะอะไรจึงต้องมีสิ่งเหล่านั้น
ผมว่า จะได้ประโยชน์เชิงความรู้ มากกว่ามากังวล
เรื่องความผิด หรือ ถูก นะครับ

ถ้าบริสุทธ์ใจ ใจเราสะอาด มีเจตนาที่ดี
ทำด้วยความเคารพ อย่างจริงใจ
จะทำอย่างไร ก็ใช้เป็นตัวแทนพระเป็นเจ้า
หรือใช้เป็นเครื่องประกอบเพื่อบูชาพระเป็นเจ้า
ได้ทั้งนั้นแหละครับ ขอให้ตั้งใจจริง และจริงใจต่อท่าน
เท่านั้นก็พอ


                หม้อกลัศ
                                        เห็นตอนแรก คุณพระ...........ตกใจมาก













เครดิต เวปนี้ เรย คร้าฟ รูปสวยๆ เยอะ       http://picasaweb.google.com/alangarapriyan


รอท่านผู้รูมาให้คำตอบและข้อมูลดีๆคับ
 

พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง
   โททนต์เสน่คงสำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวายมลายสิ้นทั้งอินทรีย์   สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด   ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

รูปภาพ ของพี่จิ้งจอกพันหน้า สวยมากมายเลยค่ะ ^^
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]   "เรา"สามารถเห็นอะไรได้ก้อด้วย"หัวใจ"ของ"เรา"เท่านั้น[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]สิ่งสำคัญ"เรา"ไม่สามารถเห็นได้ด้วย"ดวงตา[HIGHLIGHT=#d7e3bc]"  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

รูปของคุณจิ้งจอกพันหน้าสวยมากมายเลยครับ

แต่ข้อความของคุณโอมมหาบารมีเหมือนผมเคย

อ่านเจอในหนังสือเหมือนกันเดี๋ยวขอผมไปค้นก่อน
โอม ทัต ปูรูชยา วิดมาเฮ วักรา ทุนดายา ดีมาฮี ทะโน ทันติ ปราโชดายะ 

จะหารูปที่มีผ้าแดงห่อที่ลูกมะพร้าว แต่หาไม่เจออ่ะ วันก่อนไปที่บ้านพี่นาง(พี่นางนี่ใครไปเทพมณเฑียรอารตีตอนเย็นบ่อยๆจะรู้จักพี่นาง)อาจารย์จันเดอ

ไปทำพิธีสรงน้ำพระพิคเณศวรให้องค์เบ่อเร่มเรยแล้วก็ทำพิธี ก่อนที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดที่โึี่คราช เห็นอาจารย์ตั้งหม้อกลัศมีผ้าสีแดงห่อไว้ที่ลุก

มะพร้าวด้วย ใช้หม้อดินทำ แต่ไม่มีก้องถ่ายรูปเรยไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดูกันอ่ะคร้าฟ

ผมเคยเห็นแถวบ้านตั้งหม้อกลัศที่ตั้งซ้อนกันขึ้นไปโดยใช้หม้อเก้าใบซ้อนกันแล้ววางลูกมะพร้าวไว้บนสุดคัฟ
สงสัยมานานแล้ว
เพราะแถวบ้านผมเค้าตั้งหม้อแบบนี้
ก้อเลยอยากถามว่าวิธีตั้งแบบนี้ที่อินเดียเค้าทำกันบ้างรึป่าวคับ
ถ้ามีเค้าเรียกว่าอารายคัฟ
ตั้งเพื่ออาราย??
รบกวนด้วยนะคัฟ

อ่ะห้ะ ได้ความรู้อีกเยอะเลย ขอบคุณนะคร้าบ

ชอบภาพหม้อกลัศที่พี่ กี้ เอาฝากอ่ะครับ เริดมาก
วงการมายา ไม่ใช่สนามเด็กเล่น แต่เป็นสมรภูมิรบ และ การผูกสัมพันธ์ไมตรี ทั้งจริงและจอมปลอม

มายา ความหมายของมันช่างลึบลับเหลือเกิน

วงการมายาไม่ใช่ของเล่นทั่วไป เข้าแล้วออกยาก ระวังเอาไว้

แรกๆ ที่เห็นหม้อกลัศ ในรูปก็ ผงะ  เรย อลังการ มาก


จริงๆ รูปสวยๆ มีอีก เยอะแยะ อ่ะคร้าฟ ลองเข้าไปดูตามลิ้งค์ที่ให้ไว้ใต้ภาพอ่ะคร้าฟ


เผื่อจะได้แรงบันดาลใจ นำมาประดิษฐ์ประดอย ตกแต่งให้องค์เทวรูปในเทศกาลต่างๆ


แต่ละรูปแสดงให้เห็นเรยว่าเค้าใส่ใจกันในทุกรายละเอียด เล็กๆ น้อยๆ เค้าก็เนี๊ยบมาก


ที่ชอบมั่กๆๆๆๆๆๆๆๆ คือมงกุฎ กะเครื่องเพรช สวยจริงๆ  หาในเมืองไทย ไม่ได้อ่ะ  สงสัยต้องประดิษฐ์เอง


เรื่องเครื่องเพรขต้องถามพี่เกียร์ แร่ะ อ่ะเพราะ พี่เกียร์ ทำเครื่องเพรช เป็น เดวจะให้สอน ให้ระกราน เหอ...เหอ....เหอ....