Loader

สิรวีย์พาเที่ยวตอนที่ 2

Started by อินทุศีตาลา, April 21, 2010, 11:45:46

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

สวัสดีค่ะ

หลังจากที่พาทุกท่านไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครมาในคราวที่แล้ว เว้นไปได้ไม่กี่วันดิฉันก็เริ่มเบื่ออีกแล้วล่ะค่ะ เลยอยากจะพาทุกท่านไปเที่ยวกันอีกสักทริป หวังเหลือเกินว่าคงจะไม่ทำให้ใครๆเบื่อกันวะก่อนนะคะ

แต่ละที่ที่สิรวีย์พาทุกท่านไปนั้น ตั้งใจว่านอกจากจะสวยงามและน่าสนใจแล้ว ยังจะพยายามให้ทุกที่มีเทพเจ้าฮินดูอยู่ด้วย เพื่อให้เข้ากับความเชื่อถือศรัทธาของทุกท่าน และที่สำคัญคือเป็นสถานที่ที่คนไทยมักลืมเที่ยว(หรือเขามักไม่เปิดให้เที่ยว) แม้จะอยู่ใกล้ๆก็ตาม

คราวที่แล้วเราไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในวังหน้ากัน ดังนั้นทริปนี้จึงขออนุญาตเริ่มต้นที่นี่ซะเลยค่ะ
หากใครเดินทางผ่านสะพานพระปิ่นเกล่าบ่อยๆ เมื่อจะขึ้นหรือลงสะพานฝั่งพระนครคงเห็ฯว่าด้านทิศใต้ของเชิงสะพาน มีอาคารจตุรมุขขนาดมหึมาปรากฎอยู่


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



อาคารหลังนี้มีหลังคาสีส้มแดงสดใสซาบซ่าน ประดับด้วยเครื่องลำยองครบถ้วยคือช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันซึ่งแบ่งเป็นสองชั้นสลักลายดอกพุดตานละเอียดอ่อน ประดับกระจกหลากสี สะท้อนแสงสวยงามมากค่ะ

ถ้ามีโอกาสได้เดินไปแถวนั้นก็จะพบว่าอาคารใหญ่โตหลังนี้ตั้งอยูในเขตวิทยาลัยนาฏศิลป์กรุงเทพ

นี่คือพระอุโบสถของวัดบวรสถานสุทธาวาสหรือวัดพระแก้ววังหน้าค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ดังที่เคยเล่าไว้ในทริปที่แล้วนะคะ ว่าวังหน้าแต่เดิมนั้นมีอาณาบริเวณใหญ่โตมากเพียงใด และธรรมเนียมการสร้างวังที่ประทับของเจ้านายสำคัญนั้นมักแบ่งพื้นที่เป็ฯ 4 ส่วน คือพระราชฐานชั้นนอก พระราชฐานชั้นกลาง พระราชฐานฝ่ายใน (ชาววังจะไม่เรียกพระราชฐานชั้นในนะคะ) และส่วนที่เป็นพระอารามประจำพระราชวัง

พิพิธภัณฑ์ที่พาไปเที่ยวคราวที่แล้วเป็นพระราชฐานฝ่ายในของวังหนเ ส่วนวัดนี้คือพระอารามประจำพระราชวังค่ะ

พระอุโบสถที่เราเห็ฯกันนี้สร้างในรัชกาลที่ 3 ค่ะ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ วังหน้าในรัชกาลที่ 3 แต่ก่อนหน้านั้น ในรัชกาลที่ 1 บริเวณตรงนี้เคยเป็นวัดเล็กๆวัดหนึ่ง เรียกว่าวัดหลวงชี เพราะมีเจ้านายเชื้อสายเขมรพระองค์หนึ่งมาบวชชีอยู่ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 จึงให้สร้างวัดให้พำนัก เพราะเจ้านายพระองค์นี้เป็ฯมารดาของสนมคนโปรดของท่าน และเป็นธิดาพระเจ้าอุไทยราชาแห่งเขมรด้วย ต่อมาพอหลวงชีสิ้น ก็กลายเป็นสวนกระต่าย  และวังหน้าในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างวัดที่เห็ฯหลงเหลือในปัจจุบัน

แต่วังหน้าพระองค์นี้ทิวงคตก่อนวัดเสร็จค่ะ เล่ากันว่าท่านประชวรพระโรคท้องมานพระอาการเต็มที โปรดให้พระองค์เจ้าดาราวดี นำผ้าที่จะใช้ห่มพระประธานในโบสถ์ที่สร้างค้างอยูมาถวาย แล้วทรงจบอธิษฐาน ขอให้ผู้มีบุญต่อไปช่วยสร้างให้เสร็จ รัชกาลที่ 4 ก็ทรงรับพระธุระนั้นสร้างจนเสร็จค่ะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร พระประธานในพระอุโบสถค่ะ องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี มีหลังคาทรงยอดครอบคล้ายพระมณฑป
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ต่อมาเมื่อเรามีพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองในรัชกาลที่ 4 เมื่อแรกท่านเสด็จมาเห็นวังหน้าและวัด เล่ากันว่าท่านตรัสว่า "อ้าว...อยู่ดีดีก็จะให้มาเป็นสมภารวัดร้าง" ดั้งนั้นจึงเกิดการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ขึ้น เล่ากันว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงเอาพระทัยใส่การสร้างวัดนี้มาก ดปรดให้ถ่ายแบบเจดีย์สำคัญๆมาไว้ในวัดมากมาย เช่น พระธาตุพนม กลางพระอุโบสถก็ดปรดให้ก่อฐานชุกชี หมายพระทัยว่าจะเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน แต่ก็ไม่เกิดขึ้นเพราะเสด็จสวรรคตเสียก่อน

หลังจากนั้นมีการสถาปนาพระโอรสองค์ใหญ่ของท่านเป็ฯวังหน้า และขัดแย้งกับรัชกาลที่ 5อย่างหนักจนถึงขั้นตั้งปืนใหญ่บนป้อมทั้งสองวังจะยิงกัน แต่เดชะบุญที่เรื่องสงบได้ และรัชกาลที่ 5 ก้ไม่ทรงตั้งวังหน้าอีก แต่ทรงพระกรุณาโปรดฯให้สถาปนาพระโอรสองค์ใหญ่ของท่านเป็นสยามมกุฏราชกุมารพระองค์แรก ซึ่งไม่ได้ประทับที่วังหน้าอีก กำแพงวังหน้าเกือบทั้งหมด และวัดจึงถูกรื้อลง เหลือแต่พระอุโบสถจนถึงปัจจุบัน

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

สิ่งที่อยากชวนทุกท่านมาชมในพระอุโบสถหลังนี้คือจิตรกรรมค่ะ ซึ่งเป็นฝีมือปนๆกันระหว่างรัชกาลที่ 3 และ 4

เมื่อกี้เล่าว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านมีพระประสงค์จะเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่นี้ ดังนั้นท่านจึงโปรดให้เขียนจิตรกรรมเรื่องสิหิงคนิทาน เอาไว้ระหว่างช่องหน้าต่าง ส่วนผนังด้านบนเขียนเรื่องพระประวัติพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประวัติพระคเณศ ประวัติช้างอัษฏทิศ (กำเนิดพระโกญจนาเนศวรศิวบุตร) วรรณคดีเช่น อุณรุทและรามเกียรติ์
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบคุณคุณสิรวีย์มากมายค่ะ ที่กรุณาแบ่งปันความรู้ดีๆ ให้ได้ทราบ ศิลปะไทย สวยงาม หาที่ติไม่ได้จริงๆ

และไฮไลท์ก็คือด้านหลังบานประตู หน้าต่างพระอุโบสถนี้ ช่างได้บรรจงวาดภาพพระเป็นเจ้า พระนารารณ์อวตาร เทพเจ้า นักสิทธิ์ ฤาษี ฯ เอาไว้ทุกบาน ตามรูปแบบที่น่าจะได้เค้าโครงมาจากตำราภาพเทวรูป ซึ่งน่าจะมีอายุสืบค้นไปได้ถึงต้นกรุง แต่เจ๋งกว่าตำรานั้นตรงที่ ตำราเป็ฯลายเส้น แต่ที่นี่เป็นภาพสีค่ะ

ใครเป็นใครดูเอาเองเลยค่ะ








   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ด้านหน้าของพระอุโบสถหลังนี้เป็นที่ประดิษฐานเทวรุปพระคเณสประจำวิทยาลัยนาฏศิลป์ค่ะ

พระอุโบสถหฟลังนี้ก่อนหน้านี้ก็ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆของกรมศิลปากรนะคะ อาทิ การครอบครู ปลุกเสกพระ ดิฉันโชคดีเคยได้ตามเจ้านายเข้าไปประกอบพิธี 2 - 3 ครั้งบรรยากาศเข้มขลังจริงๆค่ะ แต่เข้าใจว่าทุกวันนี้พิธีที่เข้าไปทำมีน้อยลงเพราะความห่วงใยในโบราณสถาน

แม้ว่าจะเป็นสถานที่ราชการแต่ก็ไม่ได้เข้าชมยากเย็นอะไรนะคะ ถ้าจะให้สะดวกก้อาจจะเวลาราชการ เข้าไปติดต่อขอนุญาตคุณพี่ รปภ. ทำหน้าตาอ่อนหวานแช่มช้อย แต่ไม่ต้องถึงขั้นละม้ายชายตานะคะ บอกเขาว่าอยากไปไหว้พระ เดี๋ยวคุณพี่เขาก็ให้เข้าไปเองคะ

ปัญหามีอยู่นิดเดียวคือพระอุโบสถมักไม่ค่อยเปิดให้เข้าชมภายในค่ะ ต้องสังเกตลาดเลาดีๆ เดี๋ยวเสียเที่ยว

ทริปนี้ยังไม่จบนะคะ เดี๋ยวคราวหน้าเราไปแต่ออีกที่หนึ่งค่ะ

พยายามหาภาพพระโกญจนาเนศวรศิวะบุตร แต่ได้ภาพไม่สวยทั้งนั้นเลย ใครมีภาพถ้ากรุณาแบ่งปันจะเป็นพระคุณมากเลยนะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

        ดิฉันติดตามอ่าน คอลัมของ พี่ "
สิรวีย์
"มาตลอด ทำให้ดิฉันคิดว่า การที่ใครสักคน กว่าจะเขียน กว่าจะหาข้อมูลให้เราๆท่านได้อ่านกันได้นั้นเป็นเรื่องยากมาก ไหนจะต้องหาข้อมูล และค้นคว้าทางวิชาการ จากที่ต่างๆ พร้อมทั้งรูปที่นำมาใชัในการประกอบให้เข้ากับคำบรรยาย แล้วมาให้เพื่อนๆให้ได้อ่านบางที่ใช้เวลาหลายวัน ดิฉันเอง ขอขอบใจ ในน้ำใจที่มีให้แก่กันและกันนะค่ะ 
ทำให้ดิฉันนึกถึงคำพระพุทธสุภาษิต ที่กล่าวไว้ว่า " สพฺพทานํ ธมฺม ทานํ ชินาติ "[HIGHLIGHT=#ffffff]การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง[/HIGHLIGHT]


ขอบพระคุณ  คุณ Phorn456 มากเลยนะคะ และขอบพระคุณที่กรุณาร่วมเดินทางกับพี่ตลอดเลย

นอกจากเพื่อแก้เซ้งแล้ว ที่พี่เพ้เจ้อมาตั้งยืดยาวนี่ก็เพระอยากชักชวนทุกๆคนให้หาเวลาว่างไปเที่ยวกัน
เที่ยวไทยครึกครื้น เสรษฐกิจไทยคึกคักค่ะ

หากมีคนได้ความรู้จากเรื่องที่พี่เพ้อเจ้อมานี้ พี่ก็รู้สึกยินดีมาก แต่เดาว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้แล้วเท่านั้น ดังนั้นจึงขอทำตัวเป็นเครื่องเตือนความจำค่ะ

ดังนั้น วันนี้จะขอพาเที่ยวต่อนะคะ เดินทางนิ๊ดดดดดดดนึง จากวัดพระแก้ววังหน้า เข้าสู่พระบรมมหาราชวังกันเลยค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตามที่เคยเล่าให้ฟังนะคะว่า พระราชวังขนาดใหญ่ที่กษัตริย์หรือเจ้านายสำคัญประทับ จะแบ่งเป็น 4 ส่วน
พระบรมมหาราชวังก็เช่นกันค่ะ ตามปรกติแล้ว เราก็สามารถเข้าชมได้เพียง 3 ส่วนคือ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เขตพระราชฐานชั้นนอกและเขตพระราชฐานชั้นกลาง

โดยเส้นที่เข้าชมจะเริ่มจากประตูวิเศษไชยศรี เดินตามถนนอมรวิถีเข้าไปแล้วบังคับเลี้ยวซ้ายไปด้านหลังของศาลาสหทัยสมาคม ผ่านหมู่อาคารพระคลังข้างที่ เข้าสู่วัดพระแก้ว แล้วออกจากวัดพระแก้วผ่านประตูดุสิตศาสดาเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นกลาง สุดเขตเพียงนี้

เมื่อก้าวเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นกลาง ด้านซ้ายมือจะเป็นประตูเหล็กดัด มองเข้าไปเห็ฯอาคารทรงยุโรปงดงามากเลยค่ะ อาคารนั้นคือ พระที่นั่งบรมพิมาน

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

พระที่นั่งแบบเฟรนซ์ เรอเนสซองซ์นี้ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดฯให้สร้างขึ้นอย่างงดงามเพื่อพระราชทานให้สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกเสด็จมาประทับ แต่เจ้าฟ้าพระองค์นั้นสวรรคตเสียก่อน มกุฎราชกุมารพระองค์ต่อมาคือเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธจึงมาประทับบ้างเป็นครั้งราวจนสิ้นรัชกาลที่ 5 และตลอดรัชกาลที่ 6 -7 ไม่มีเจ้านายพระองค์ใดมาประทับเลย

เมื่อพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัติพระนครครั้งหลัง เสด็จมาประทับที่นี่พร้อมพระชนนีและพระอนุชา จนกระทั่งเสด็จสรรคตด้วยพระแสงปืนที่ห้องบรรทมด้านทิศตะวันออก

ในรัชกาลปัจจุบันพระทั่นั่งองค์นี้ให้เป็นที่ประทับของพระราชอาคันตุกะระดับพระประมุข

สิ่งที่น่าสนใจของพระที่นั่งองค์นี้คือภาพเขียนสีรูปเทพเจ้าฮินดู




เพดานท้องพระโรงมีรูปเทพเจ้าประจำทิศทั้ง 4 ค่ะ

ถ้าสังเกตดีดี จะเห็นว่าที่คิ้วด้านบนของผนังมีกรอบเล็กๆ ภายในกรอบเป้นรูปพระอาทิตย์ชักรถ ภาพทั้งหมดสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบค่ะ โดยเพาะพระอาทิตย์นี้ เล่ากันว่าท่านทรงศึกษากายวิภาคของม้าอย่างดี และออกแบบให้เรามองเห็ฯท้องของม้าและใต้ราชรถพระอาทิตย์ เสมือนว่าท่านชักรถลอยอยู่บนฟ้าแล้วเราแหงนหน้าขึ้นมองเลยค่ะ (อันที่จริงมีภาพสีนะคะ แต่อยู่ไกลมือ ใช้ภาพนี้ไปก่อนนะคะ)

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

คราวหน้าจะพาทุกท่านเข้าไปในพระที่นั่งสำคัญอีกองค์หนึ่งของพระบรมมาหราชวังค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

วันนี้วันเสาร์แวะมาอ่านอีกแล้วค่ะ ภาพที่นำมาลงเป็นศิลปที่งดงามมากนะค่ะ


[/COLOR]