Loader

การบูชาพระของฮินดูตามธรรมเนียมที่ถูกต้อง

Started by กาลิทัส, January 28, 2009, 11:17:13

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

โดยปกตินั้น การบูชาของฮินดูตามประเพณีที่ถูกต้องและเป็นพิธีการ จะต้องประกอบด้วยสองส่วนที่สำคัญ
1.ยชมาน ได้แก่ผู้เป็นเจ้าภาพหรือเป็นผู้กระทำขั้นตอนต่างๆของพิธีนั้นๆ ผู้เป็นยชมานจะได้บุญจากการประกอบพิธีนั้นครับ เพราะเป็นผู้บูชา
2.พราหมณ หมายถึง พราหมณ์ที่เราเชิญมาให้เป็นผู้สวดพระเวทตามขั้นตอนต่างๆ และอำนวยการพิธี ครับ ในประเพณีฮินดู แต่ละครอบครัวจะมี พราหมณ์ประจำครอบครัว เรียกว่า ปุโรหิตครับ
ถ้าจะทำให้ถูกต้องจะต้องมีทั้งพราหมณ์และเราในฐานะผู้เป็นเจ้าภาพครับ แม้แต่พราหมณ์เองเมื่อจะประกอบพิธีที่สำคัญก็จะต้องเอาพราหมณ์อื่น มาสวดครับ
ส่วนการ บูชา หรือ "ปูชา" นั้น มีหลายระดับ หลายแบบครับ เริ่มตั้งแต่ แบบง่ายๆ ไม่มกี่ขั้นตอน หรือเพียงแค่การไหว้เฉยๆ ไปจนถึงมีการใช้มนตร์ในพระเวทและประกอบด้วยขั้นตอนมากมายครับ จะลองนำเท่าที่จะเห็นว่าสามารถกระทำได้มาให้นะครับ
การบูชาที่สามารถกระทำในบ้านเรือนนั้น หรือง่ายนั้น เรียกว่า ลฆุปูชา (บูชาเล็กน้อย) หรือหากทำเป็นประจำทุกวัน จะเรียกว่า ไทนิกปูชา ครับ การบูชาประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องเอามนตร์ในพระเวท หรือโศลกต่างๆมาใช้ในการบูชา แต่จะประกอบด้วยส่วนสำคัญง่ายๆ คือ
1.มนตร์ของเทพที่เราทำการบูชานั้น ตามด้วย
2.คำถวายบูชา หรือบอกว่าเรากำลังทำอะไรถวาย
อาจเพิ่มบทสวดมนตร์ที่พอสวดได้ครับ
ทั้งนี้ เวลาชาวอินเดียบูชาพระจะทำครั้งละองค์ครับ หรือถ้าบูชาหลายองค์ในเวลาเดียวกัน ก็ทำไปทีละองค์ครับ โดยต้องเริ่มที่พระคเณศก่อนเสมอ ไม่ว่าจะบูชาองค์ใดก็ตามจะต้องเริ่มที่พระคเณศก่อนเสมอครับ
เวลา
เรามักบูชาในช่วงเวลาสันธยา เช้ามืดและหัวค่ำครับ หรือเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ถ้าไม่สะดวกก็ตามเวลาที่สะดวกครับ
แต่ถ้าไม่สะวกที่จะทำทุกขั้นตอน ก็ให้บูชาง่ายๆ ในแต่ละวัน ส่วนที่ขั้นตอนมากๆ ให้ทำในเวลาเทศกาลพิเศษหรือวันพิเศษสำหรับองค์นั้นครับ
การเตรียมตัว
ต้องอาบน้ำก่อนครับ หรืออย่างน้อยๆควรชำระมือเท้าปากให้สะอาดครับ ถ้าเป็นเทศกาลสำคัญควรทานมังสวิรัติหรือถือพรตอดอาหารและงดการเสพเมถุนธรรม เสื้อผ้าไม่ต้องขาวก็ได้ โดยปกติผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์จะไม่นุ่งโธตีแบบโจงกระเบนนะครับ แต่บางที่อาจให้นุ่งแบบผ้าถุงก็ได้ครับ
1.เมื่อมายังที่บุชาให้ประพรมน้ำไปรอบๆตัว อธิษฐานให้เกิดความบริสุทธิ์สะอาด
2.จิบน้ำสามครั้ง(อาจมนมฺ) เอาน้ำใส่อุ้งมือขวาแล้วจิบจากโคนมือ
สวดว่า ครั้งที่ 1 โอม เกศวาย นมะ
2.ครั้ง 2 โอม นารายณาย นมะ
3.ครั้ง 3 โอม มาธวาย นมะ
แล้วล้างมือสวด โอม หฤษีเกศาย นมะ
เจิม จันทน์ ที่หน้าผากเราเองใช้สีไหนก็ได้แดงส้ม เหลือง ถ้าไม่มีใช้น้ำเปล่าด้วยนิ้วนางขวา
สำรวมใจรำลึกว่ากำลังจะบูชา ที่ไหน ว.ด.ป.เวลาใด ถวายใคร เราชื่ออะไร นี่เรียกว่า สังกัลปะ ปกติจะต้องเป็นสันสกฤต แต่อนุโลมตามแบบไทยๆ เอาดอกไม้ใส่มือขวา นึกเสร็จถวาย
จากนั้นเริ่มการบูชา
ให้สวดมนตร์ว่า(สวดถึงเทวดาทั้งหลาย พ่อแม่ครูอาจารย์)
โอมศรีมันมหาคณาธิปตเย นมะ
ลักษมีนารายณภยาม นมะ
อุมามเหศวราภยาม นมะ
หิรัณยคัรภาภยาม นมะ
สถานเทวตาภโย นมะ
กุลเทวตาภโย นมะ
อิษฎเทวตาภโย นมะ
สรเวภโย เทเวภโย นมะ
สรเวภโย ศรีคุรุภโย นมะ
สรเวภโยพราหมณมเณภโยนมะ
มาตาปิตฤจรณกมเลภโย นมะ
อวิฆนมัสตุ
สวดมนร์ถึงพระคเณศซักบทใดบทหนึ่งก่อน(ถ้าบูชาองค์อื่นๆ)แล้วถวายดอกไม้
1.นำเทวรูปมา ทำการอันเชิญสวดว่า...... อาวาหยามิ
2.ถวายที่นั่ง(ใช้เม็ดข้าวสารแทน) สวด ....... อสนัม สมรปยามิ
3..นำมูรติของเทพมาตั้งในที่สมควร
สรงด้วยน้ำสะอาด สวดว่า
โอมฺ คํ คณปตเย นมะ(อ่านว่า โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ)สนานัม สะมะระปยามิ
4.สรงด้วยนมสดสวดว่า
โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ ปยะสนานนัม สะมะระปะยามิ
5.สรงด้วยของ 5 อย่างผสมกันอย่างละนิด(เนย โยเกิร์ต นม น้ำผึ้ง น้ำตาล)สวดว่า โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ ปัญจามะริดตะ สนานนัมสะมะระปะยามิ
6.จากนั้นสรงด้วยน้ำสะอาดอีกทีชำระล้าง เช็ด
7.พรมด้วยน้ำอบน้ำหอม แต้มเจิมด้วยผงสีแดง(สินทูร) หรือแป้งกระแจะแบบไทยๆก็ได้ที่พระนลาฏ(หน้าผาก)
สวดว่าโอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ คันธัม สะมะระปะยามิ
8.ถวายเครื่องทรงถ้ามี สวดว่าโอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ วัสตะรัมสะมะระปะยามิ
9.ถวายดอกไม้พวงมาลัย สวดว่าโอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ มาลาปุษปัมสมรปยามิ
10.ถ้าเป็นพระคเณศ ถวายใบหญ้าแพรก สวดว่าโอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ ทูรวาปัตรัม สมรปยามิ
เป็นพระศิวะถวายใบมะตูม สวดว่า บิลวะปัตรัม สมรปะยามิ
พระนารายณ์ ถวายใบกระเพราแดง สวดว่า ตุลสีปัตรัม สมรปยามิ
11.ถวายธูป(เอาวนๆขวาหน้าพระ 5 รอบ ธูป 5 ดอก) สวดว่า ธูปัม สะมะระปะยามิ
11.ถวายอาหาร(ขนมลัฑฑู สำหรับพระคเณศ) หรือขนมที่ไม่มีไข่เจือปน หรือผลไม้ต่างๆ
สวดว่า ไนเวดะยัม ผลานิ จะ สมรปะยามิ
12.ถวายหมาก ถ้ามีสวดว่าโอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ ตามบูลัม สะมะระปะยามิ
13.ถวายเงิน สวดว่า โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ
ดักษิณา สะมะระปะยามิ(เอาเงินนี้ไปทำบุญ)
14 เอาดอกไม้ใส่มืออธิษฐาน แล้วถวายดอกไม้นั้น
15.อารตีถวาย
สวดว่า โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ อารติกยัม สะมะระปะยามิ
16.เอาดอกไม้ใส่มืออธิษฐานขอขมาและเชิญท่านกลับ สวดว่า โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ วิสะระจะนัม สะมะระปะยามิ
ประทักษิณ หมุนรอบตัวเองสามรอบ ก้มกราบลงสามครั้งเป็นอันเสร็จ สวดแผ่เมตตาว่า โอมฺ ศานติ ศานติ ศานติ หรือบท สฺรเว ภวันตุ สุขินะ...ฯลฯ
ของที่บูชาเอามาแบ่งกันทานเป็นมงคล
อันนี้ผมเขียนแบบคร่าวๆมากๆ คำอ่านก็ลองเขียนในแบบที่ท่านน่าจะเอาไปใช้ได้(ไม่ได้อิงการหลักถอดคำสันสกฤตมากนัก)
เวลาถวายบูชาองค์อื่นๆ ก็แค่เปลี่ยนคำข้างหน้าเป็นมนตร์ของแต่ละองค์
มนตร์เทพต่างๆ ที่ใช้ในการถวาย
1.พระคเณศ โอมฺ ศรี คเณศาย นมะ
พระศิวะ โอม นมะ ศิวาย (อ่าวว่า โอม นะมัศ ฉิวายะ หรือ นะมฮะ ฉิวายะก็ได้)
พระนารายณ์ โอมฺ นารายณาย นมะ หรือ โอม วิษฺณเว นมะ
พระพรหม โอมฺ พฺรหฺมเณ นมะ
พระแม่อุมาฯ โอมฺ อุมาไย นมะ หรือ โอมฺ อมฺพาไย นมะ
พระแม่ลักษมี โอมฺ มหาลกฺษฺมไย นมะ
พระแม่สรสฺวตี โอม มหาสรสฺวตฺไย นมะ
พระขันธกุมาร โอมฺ สกนฺทาย นมะ หรือ โอมฺ เทวเสนาย นมะ
พระกฤษณะ-ราธา โอมฺ ราธากฤษณาภยามฺ นมะ
พระราม-สีตา โอมฺ สีตารามภยามฺ นมะ
พระแม่อื่นๆ โอมฺ อมฺพาไย นมะ
ฯลฯ
ในการถวายบูชาต่างๆ ให้ใช้มือขวาเท่านั้น ส่วนการเจิมให้ใช้นิ้วนางขวา
แต่ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนนี้ทั้งหมดครับ
เอาเป็นว่าในแต่ละวันให้ทำแค่
ถวายดอกไม้ ธูป อาหารและน้ำ ถ้าสามารถอารตีได้ก็ทำครับ แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว
ที่สำคัญและถือเป้นขั้นสูงสุดของการบูชาคือมานัสบูชา(มานสปูชา) แปลว่าการบูชาด้วยใจ ถือไม่ต้องมีสิ่งภายนอกแต่ให้เอาสิ่งต่างจินตาการไว้ในใจแล้วถวายด้วยความภักดีครับ นั้นคือที่สุดครับ
สาธุครับ แต่ถ้าในสามารถทำครบทุกขั้นตอนของอุปจาระ ได้จะเหลือ แค่ 5 หรนือสาม ถวายแค่ธูป ประทีป ดอกไม้ อาหาร และการสวดมนตร์ ก็พอครับ โดย นานๆ จึงจะสรงน้ำก็ไม่ผิดครับ
อ่อ ยังไง มานัสบูชานั้น สำคัญสุดนะครับ
ที่มา พี่หริทาส
ขอบคุณครับ

ได้ความรู้มากๆเลย ขอบคุณมากๆค่ะ

   

ขอบคุณค่ะ 

ทำด้วยใจศรัทธาและกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

สรงด้วยน้ำสะอาด สวดว่า
โอมฺ คํ คณปตเย นมะ(อ่านว่า โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ)สนานัม สะมะระปยามิ
4.สรงด้วยนมสดสวดว่า
โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ ปยะสนานนัม สะมะระปะยามิ
5.สรงด้วยของ 5 อย่างผสมกันอย่างละนิด(เนย โยเกิร์ต นม น้ำผึ้ง น้ำตาล)สวดว่า โอม กัง กะนะปะตะเย นะมะฮะ ปัญจามะริดตะ สนานนัมสะมะระปะยามิ


แล้วถ้าจะทำการสรงศิวลึงค์  ต้องสวดว่าอย่างไรครับ

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่นำมามอบให้นะคะ
โอมเจมาตากาลี

พี่คะ แล้วถ้าหากเราได้แต่ถวายผลไม้ทุกๆวันอังคารต่อองค์พระพิฆเนศร์จะได้ไหมคะและจะสวดยังไงอ่ะคะ สวดว่า โอมศรีคเณศายะ นะมะฮาหรือต้องมีอะไรเพิ่มเติมอีกเหรอคะ  เพราะหนูไม่รู้ว่าจะไปหาซื้อชุดอารตีที่ไหนน่ะค่ะพี่ ขอความสว่างให้หนูด้วยค่ะ  ขอบคุณสำหรับความรู้ที่พี่ ๆ ทีมงานได้ให้ค่ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


เพื่อนของกิมเขาถวายวันอังคารกับวันพฤหัสค่ะ  ส่วนกิมถวายวันอังคาร และก็ถวายบ่อยด้วย ตามต้องการเราด้วยค่ะ
บทสวดมนต์ของกิมก็จะ เซิร์ทในเน็ตเอาอ่ะค่ะ ปริ๊นมา สวดบูชาสรรเสริญองค์ท่านนั่นแหล่ะค่ะ
ส่วนอารตีศึกษามาเยอะแล้ว แต่ก็ยังไม่เคยปฏิบัติค่ะ  ชุดอารตีจิงๆ ไม่ต้องยึดถือตามในทางปฏิบัติก็ได้ค่ะ ถ้ามีได้ก็ดี
แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้วัสดุตามธรรมชาตินั่นแหล่ะค่ะ  พี่กาลิทัสเขาแนะนำเทียนเล็กๆๆ
ส่วนเพื่อนกิมใช้เชิงเทียนนั่นแหล่ะคะ


[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

ขอบคุณมากมายเลยค่ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


Quote from: เทวาเหนือเกล้า on October 02, 2009, 01:41:43
พี่คะ แล้วถ้าหากเราได้แต่ถวายผลไม้ทุกๆวันอังคารต่อองค์พระพิฆเนศร์จะได้ไหมคะและจะสวดยังไงอ่ะคะ สวดว่า โอมศรีคเณศายะ นะมะฮาหรือต้องมีอะไรเพิ่มเติมอีกเหรอคะ  เพราะหนูไม่รู้ว่าจะไปหาซื้อชุดอารตีที่ไหนน่ะค่ะพี่ ขอความสว่างให้หนูด้วยค่ะ  ขอบคุณสำหรับความรู้ที่พี่ ๆ ทีมงานได้ให้ค่ะ


วัดราชนัดดาค่ะ  อุปกรณ์เพียบราคาย่อมเยา ในซอยถนนปั้นก้อมีนะ
เห็นอยูนะค่ะว่ามีตะเกียงอารตีวางขายอยู่อ่ะ  เพราะล่าสุดเข้าไปซื้อการบูร
แบบก้อน 1 กล่อง ราคา 140 บ. ไม่รู้ถูกหรือแพงกว่าที่อื่นยังไงให้เพื่อนๆ HM แนะนำด้วยละนะจ๊ะ
ความดีไม่ต้องทำให้ใครเห็น
ไม่ต้องบอกประกาศให้ใครรู้
นั่นสิน๊ะคือความดีที่แท้จริง

Quote from: Kimnei on September 28, 2009, 08:11:20
ขอบคุณค่ะ 

ทำด้วยใจศรัทธาและกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่
   ป้าเห็นด้วยที่ซู๊ด........
[HIGHLIGHT=#ffff00]เข้ามาหาความรู้ไม่นานชักเก่งใหญ่หลานป้า.......[/HIGHLIGHT] 55555

ขอบคุณพี่กาลิทัสที่ให้ความรู้ และขอบคุณพี่น้อง HM ที่ให้ทางสว่างค่ะ


โอม ศรีลักษมี เจ นะมะฮา
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


เป็นกระทู้ที่ทรงคุณค่ายิ่งครับ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

Quote from: nai 3 on April 25, 2010, 00:30:42
เป็นกระทู้ที่ทรงคุณค่ายิ่งครับ
เห็นด้วยครับผม

ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้จากคุณกาลิทัสอีกแล้วครับ

11.ถวายอาหาร(ขนมลัฑฑู สำหรับพระคเณศ) หรือขนมที่ไม่มีไข่เจือปน หรือผลไม้ต่างๆ
สวดว่า ไนเวดะยัม ผลานิ จะ สมรปะยามิ


สาธุท่านนี้สิรู้จริง   ข้อ 11 นี้นึกว่าจะไม่กล่าวถึงซะแล้ว อ่านไปลุ้นไป อิอิ   ขนมโมทกะ ก็อีกชนิดนะคะที่ถวายพระพิฆเณศได้เป็นพิเศษ  เย็นได้รับปราสาท เป็นประจำ

สาธุค่ะ กับ ความรู้ดีๆ


พรที่เทพประทานจะไม่มีวันเสื่อม  เว้นแต่ผู้นั้น จะเสื่อมไปจากพรเอง

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

โยเกิร์ต คือ นมเปรี้ยว
แต่คนไทยใช้ในความหมายกว้างออก ว่าหมายถึงนมเปรี้ยวข้นๆที่ใช้ช้อนตัก

...

คํ สันสกฤตออกเสียงว่า คัม
แต่ คัง คือการออกเสียงภาษาบาลีครับ

Quote from: พิษประจิม on May 05, 2010, 14:00:02
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

โยเกิร์ต คือ นมเปรี้ยว
แต่คนไทยใช้ในความหมายกว้างออก ว่าหมายถึงนมเปรี้ยวข้นๆที่ใช้ช้อนตัก

...

คํ สันสกฤตออกเสียงว่า คัม
แต่ คัง คือการออกเสียงภาษาบาลีครับ


อันนี้ผมต้องชี้แจงอีกแล้ว 5555

ที่คุณพิษประจิมหรือแต่ก็มิได้นำพาว่ามา

โยเกิร์ต ผมหมายถึง ทธิ ในสันสกฤตนะครับ ซึ่งก็หมายถึง นมที่กลายเป็นของเหลวข้นๆแล้ว ไม่ใช่ นมเปรี้ยวในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป เพราะเดี๋ยวทธิจะกลายเป็นยาคูลล์ไป 555


เรื่องพีชะ มนตร์ คํ ในคณปติมนตร์

คุณว่ามาถูกแล้ว แต่ยังถูกไม่หมด เพราะไม่พิจารณา มนตร์ทั้งหมด

ในไวยากรณ์สันสกฤต ถ้าใส่ อนุสวาระ หรือเครื่องหมายพินทุบนพยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นออกเสียง คล้าย อัม สะกด(แต่ที่ตรงกับภาษาเดิม เสียงจะขึ้นนาสิกเล็กน้อย เพื่อให้แตกต่างกับการใช้ ม  สะกด)
เช่น สิทฺธํ ออกเสียงว่า สิทธัม(สิด - ธัม) ศรณํ(ศะ ระ ณัม)
ในกรณีนี้ ใช้กับ การมีอนุสวาระ โดย ไม่มีคำอื่นตามมาหรือไม่มีการสนธิคำ หรือคำๆนั้นอยู่ท้ายประโยค


แต่ในกรณีที่คำนั้นมีการเข้าสนธิ หรือมีตัวที่ตามมา เป็นพยัญชนะอื่น
ตามกฏไวยากรณ์สันสกฤต ให้ใช้ "พยัญชนะนาสิกของตัวที่ตามมา" เเพ่อความไพเราะและความสะดวกในการออกเสียง(ซึ่งเป้นเรื่องที่ไวยากรณาจารย์ต่างๆถือเป้นเรื่องทีสำคัญเรื่องหนึ่งในสันสกฤต)

เช่น คํคา คำนี้ไม่อ่านว่า คัมคา แค่อ่านว่า คัง - คา เพราะ ตัวที่ตามมา คือ ค พยัญชนะ นาสิกของวรรคที่ตัวค ควายอยู๋คือ ง
(วรรค ก - ก ข ค ฆ ง-ตัวสุดท้ายของวรรค คือ พยัญชนะนาสิก)

สํขย อ่านว่า สัง ขะ ยะ
ตัวนาสิกของ ข คือ ง (ววรค ก วรรคเดียวกับ ค)

อญฺชเนย อ่านว่า อัญ ชะ เน ยะ(เพราะนาสิกของวรรคที่มี ช คือ ญ )

ถ้าพยัญชนะ ตัวที่ตามมาไม่สังกัดวรรค หรือเป็นอูษมัน(ส ศ  ษ) ให้ใช้ มฺ เป็นตัวสะกด


กรณี คํ คณปตเย
โบราณจารย์ ถือว่า คํ เป็นพีชะ ไม่ได้ใช้ลอยๆ แต่ตามมาด้วย พยัญชนะ ค จึงอนุโลมการออกเสียงให้เป็นไปตามกฏข้างต้น
(เพราะตามไวยากรณ์ จริงๆ ควรเขียนติดกันเป็น คํคณปตเย แต่เพื่อจำแนกพีชมนตร์ให้ชัดเจนจึงเขียนแยกกัน)


ดังนั้น แม้ว่าจะเขียนว่า คํ คณปตเย ก็ต้องอ่านว่า คัง(GaM) คณปตเย ครับ


ข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งคือ มนตร์นี้ไม่ใช่มนตรเปาราณิก หรือมนตร์ในปุราณะ แต่เป็นมนตร์ประเภทไวทิก(หรือมนตร์ในพระเวท)(มนตร์นี้ปรากฏในคณปตฺยาถวฺรศฺรีษํ ในพระเวท)

ซึ่งไม่ใช่ตันติสันสกฤต การออกเสียงมนตร์ในพระเวทไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามที่เขียน แต่เป็นไปตามคุรุปรัมปรา หรือที่สั่งสอนกันมาตาม "ศาขา" หรือสาขาที่เรียน ซึ่งใช้วิธีเรียนแบบมุขปาฐะ


ตัวอย่างจากปุรุษสูกตะ ในฤคเวท มณฑลที่ 10

โอมฺ สหสฺรศีรษะ ปุรุษะ  ...

ถ้าสวดแบบฤคเวทก็ออกเสียงตามที่เขียนไว้ข้างต้น(ทำนองและความหนักเบาเป้นไปตามสำนักที่เรียน)

แต่ถ้าสังกัดศุกล ยชุรเวท(ยชุรเวทขาว) วาชสํเนยิ ศาขา จะสวดว่า

โอมฺ เม่อะ หรือโอม (อี้ม)สหัสะระฉีเรคา ปุรุเรขาฮะ

ษ จะออกเสียงเป็น ข ในกรณีของศาขานี้

ดังนั้น โอมฺ คํ คณปตเย นมะ ซึ่งเป็นมนตร์ไวทิก โบราณจารย์กำหนดออกเสียง คํ เป็น กัง ด้วยสองเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นครับ
(ผมก็ฟังอาจารย์ท่านสอนมาแบบนี้ครับ)

จึงเรียนมาให้ทราบเพื่อความกระจ่าง


สวัสดีครับคุณหริทาส

ตรงนี้ผมลืมบอก รีบไปหน่อยไม่ได้อธิบายเพิ่ม

....

ตอนที่เรียนหลักสันสกฤต
บทที่มันขึ้น"...คํ คณปตเย..."
อ.ท่านให้อ่านว่า ...คัม คะนะปะตะเย... ถ้ามันเขียนติดกัน อ.ท่านอ่าน คัง-คะนะปะตะเย

ยังไงขอบคุณอ.หริทาสมากนะครับ ที่ช่วยชี้แจง

...

ส่วนนมเปรี้ยว ที่เรียกว่า ทธิ เป็นยังไงครับ
เหมือนโยเกิรตที่กินกันรึเปล่าครับ......ไม่เคยกินทธิหน่ะ

ทธิ เป็นโยเกิร์ตนั่นแหละครับ แต่ไม่ใช่โยเกิร์ตชนิดดื่มได้แบบบ้านเรา(พวกนมเปรี้ยวต่างๆ)

ในอินเดียตามบ้านต่างๆยังนิยมทำทานกันเองครับ โยเกิร์ตตามบ้านๆ จะข้น มันและเปรี้ยวกว่าโยเกิร์ตสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด
เข้าใจว่าในวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาและในพระวินัยท่านแปลว่า นมส้ม ครับ

แจ่มแจ้งกันเลยทีเดียวครับ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ในหนังสือ "คเณศวิทยา" ที่ผมได้รับในคราวไปสัมมนาที่ทับแก้ว ท่านหริทาสได้กล่าวถึงการกระทำ "คราสมุทรา" ในขณะถวายอาหารด้วย ขอเรียนถามว่าการกระทำดังกล่าวหมายถึงอะไร และคนธรรมดาที่ไม่ใช่พราหมณ์สามารถกระทำได้หรือไม่ครับ และหากมีภาพตัวอย่างจะยิ่งวิเศษครับ ขอบคุณครับ
[HIGHLIGHT=#ffffff]ชนใดหวังข้ามอุปสรรค  พึงพำนักพิคเนศนาถา
สำเร็จสมดังจินดา พระองค์พาข้ามพิฆะจัญไร
[/HIGHLIGHT]

Quote from: ramadas on May 06, 2010, 10:14:13
ในหนังสือ "คเณศวิทยา" ที่ผมได้รับในคราวไปสัมมนาที่ทับแก้ว ท่านหริทาสได้กล่าวถึงการกระทำ "คราสมุทรา" ในขณะถวายอาหารด้วย ขอเรียนถามว่าการกระทำดังกล่าวหมายถึงอะไร และคนธรรมดาที่ไม่ใช่พราหมณ์สามารถกระทำได้หรือไม่ครับ และหากมีภาพตัวอย่างจะยิ่งวิเศษครับ ขอบคุณครับ


ตอบครับ

เท่าที่ผมเรียนและสอบถามจากครูอาจารย์มา

เวลาถวายบูชาอย่างเป็นพิธีการ ออกจะยุ่งมากทีเดียว โดยเฉพาะเวลาถวายไนเวทยมฺ หรือถวายอาหาร

อันนี้เล่าให้ฟังก่อนนะครับ

เมื่อบูชาไปถึงขั้นตอนถวายอาหารแล้ว ผู้บูชาหรือปูชารีจะล้างมือ ประพรมน้ำที่บริเวณจะถวายอาหาร
ตั้งอาหารต่างๆไว้หน้าพระ ประพรมน้ำพร้อมภาวนาคายตรีมนตร์เพื่อให้อาหารนั้นบริสุทธิ์(คายตฺรีมนฺเตฺรณ สํโปฺรกฺษเยตฺ) วางดอกไม้ลงบนอาหาร ถ้าถวายพระแม่ต่างๆและพระคเณศเอาลองค์หรือกานพลูวางไว้บนอาหาร ถ้าถวายพระนารายณ์พระกฤษณะ หรือพระรามเอาใบตุลสีวางบนอาหาร ถ้าถวายพระศิวะเอาใบมะตูมวางบนอาหารนั้นแล้ว
จากนั้นผู้ถวายทำมุทรา ต่อหน้าเทวรูป คือ เธนุมุทฺรา(แม่โคกามเธนุ ) ทำมสฺยมุทฺรา(วางคว่ำมือ) (อันนี้แล้วแต่สำนักครับ บางสำนักก็ทำแค่เธนุมุทฺรา บางสำนักก็ทำจกฺรมุทราด้วย  อาจารย์บัณฑิตลลิตจะทำสองมุทราครับ คือเธนุกับมัสยะ ส่วนอาจารย์บัณฑิตวิทยาธรจะทำแต่เธนุ)
แล้วสวดบทถวายอาหาร คือบท นาภฺยา อสีทํตริกข...จากปุรุษสูกตะในฤคเวท สวดเสร็จแล้ว ทำคราสมุทรา

ทำไมต้องทำคราสมุทรา เพราะ เป็นการถวายอาหารลงใน "ปราณ" ของเทวรูปครับ
ตามคติฮินดู มนุษย์เรามี ปราณอยู่ห้าชนิด(ปราณ อปาน วยาน อุทาน และ สมาน) แต่ละอย่างก็ทำหน้าที่ต่างๆกันในร่างกาย
คนฮินดูเชื่อว่า กระบวนการย่อยอาหารก็ต้องใช้ปราณด้วย รวมทั้ง กระบวนการลำเลียงสารอาหาร ฯลฯ มากมายครับ ซึ่งปราณทั้ง 5 จะทำหน้าที่สอดประสานกัน

วิธีการทำคราสมุทรา ก็ทำคล้ายใช้นิ้วโป้ง หยิบหรือคีบบนส่วนต่างๆของมือเดียวกัน .....อธิบายยากแหะ เปลี่ยนไปตามคำสวดถวายปราณทั้ง 5 โดยคล้ายๆหยิบลมจากบนอาหารถวายหน้าเทวรูป ผมอธิบายไม่ถูกครับ 5555

พอถวายเสร็จแล้ว ก็ถวายน้ำดื่มตาม เรียกมา มธฺเยปานียํ(น้ำระหว่างถวายอาหาร) ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์ล้างพระหัตถ์ เรียก อาจมานียํ และ หสฺตปรกฺษารณํ(ถ้าจำไม่ผิด)

นี่ครับเฉพาะขั้นตอนถวายอาหารอย่างเดียว ถ้าทำแบบที่ปูชารีตามวัดทำ หรือทำในพิธีการ

บางวัดเวลาถวายมหาไนเวทยํ เค้าจะปิดม่านเลยครับ เพราะถือว่า ถ้าคนที่ไม่บริสุทธิ์มาจ้องมองอาหารของเทวรูป อาหารจะมีมลทิน แต่นี่ก็เป็นธรรมเนียมของบางวัดเท่านั้นครับ

กลับมาสู่คำถามครับ

จริงๆแล้วเวลาที่เราปฏิบัติถวายบูชาประจำวัน ผมได้เรียนว่า ทำเพียงแค่ 5 ขั้นตอนก็พอ(ปัญจอุปจารวิธี)
และในเวลาถวายอาหารนั้น ก็เพียง
1.ถ้าอาหารนั้นเป้นผลไม้ พึงล้างให้สะอาดก่อน และก่อนถวายให้ล้างมือ
2.เวลาจะถวายนำอาหารใส่ภาชนะที่เหมาะสม วางไว้เบื้องหน้าเทวรูป ถ้ามีดอกไม้ ก็วางบนอาหารนั้นนิดหน่อย เป็นสัญลักษณ์ว่าของที่วางดอกไม้นี้เป็นของประณีตที่จะถวาย
3.ประพรมอาหารทุกอย่างนั้นด้วยน้ำสะอาดเล็กน้อย ภาวนาคายตรีมนตร์ ถ้าไม่รู้คายตรีมนตร์ ให้ระลึกในใจว่า "ด้วยอำนาจพระคายตรีมนตร์ขอให้อาหารที่จะถวายนี้บริสุทธิ์"ประมาณนั้นครับ
4.จากนั้นกล่าวคำถวายตามแต่ท่านถนัด รู้สันสกฤตก็กล่าวสันกฤต รู้ไทยก็กล่าวแบบไทย มนตร์สั้นมนตร์ยาวไม่เป็นไรทั้งนั้น
5.ทำมุทราไม่เป็นก็ไม่เป็นไรครับ อันนั้นเอาไว้เวลาที่เราเชิญบัณฑิตมาทำบูชาหรือเราไปบูชาที่วัดแล้วบัณฑิตทำให้ค่อยว่ากัน เราทำเองบูชาเองที่บ้านก็ทำไม่ต้องใช้มุทราในทัศนะของผมไม่ผิดอะไรครับ เพราะเราได้ถวายอาหารนั้นแล้วไม่ว่าจะทำมุทราหรือไม่ก็ตาม อีกอย่างระหว่างใช้มุทรากับมนตร์ที่ไม่ค่อยจะคล่องแคล่ว หรือถวายแบบง่ายๆแล้วคล่องแคล้วใจจดจ่อมีสมาธิกว่า ผมว่าอย่างหลังดีกว่าครับ
6.ระลึกในใจว่า"น้อมถวายอาหารนี้ลงในปราณทั้ง 5 คือ ปราณ อปาน วยาน อุทาน สมาน ขอพระเป้นเจ้ารับอาหารนี้"
7.ถวายน้ำสะอาด ให้เป็นน้ำดื่มและน้ำบ้วนพระโอษฐ์


ผมว่าเท่านี้ก็เยี่ยมแล้วครับ
จริงๆพวกมุทรานี้ พวกพราหมณ์เค้าเรียนกัน ด้วยเหตุผลสองประการใหญ่ครับ
1.เพื่อนทำสันธยา หรือการภาวนาตามวิธีของพราหมณ์ จะมีมุทราหลายมุทราในขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเราไม่จำเป้นต้องทำตามเพราะเราไม่ได้ทำสันธยาแบบพราหมณ์ครับ
2.ใช้(บ้าง)ในการประกอบพิธี ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่สำนักครับ

ดังนั้น ไม่รู้มุทราก็ยังทำพิธีบูชาประจำวันของเราได้โดยสมบูรณ์ครับ


ป.ล. อีกเหตุผลที่ผมลงเรื่องมุทราใว้ในหนังสือก็เพื่อ เป็นหลักฐานในเรื่องการบูชาตามธรรมเนียมที่ถูกต้องครับ บางเรื่องที่ผมเห็นว่าอาจไม่สำคัญหรือข้ามไปได้บ้างสำหรับการบูชาโดยส่วนตัวของคนทั่วไป จึงไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ครับ

ขอบคุณ  คุณหริทาส  ครับ
 

พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง
   โททนต์เสน่คงสำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวายมลายสิ้นทั้งอินทรีย์   สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด   ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

ขอบพระคุณ ท่านหริทาสมากครับ สำหรับความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับมุทรา กระจ่างแจ้งเลยเดียวครับ เวลาบูชาพระคเณศ ผมก็ใช้บทสวดในหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นประจำครับ (เท่าที่ทำได้และโอกาสอำนวย ครับ) เพราะกล่าวถึงการบูชาทุกขั้นตอนไว้อย่างละเอียดมากครับ ต้องขอขอบคุณสำหรับการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าวครับ

...แต่รบกวนเรียนถามท่านหริทาสอีกอย่างครับ....
ในขั้นตอนสุดท้ายของการบูชาในหนังสือดังกล่าวที่ถวายดอกไม้พร้อมสวดว่า"..ปุษปัมชลิม สมรปยามิ..." นั้น หมายความถึงการส่งเสด็จกลับ (วิสรณัม) ด้วยหรือเปล่าครับ เพราะเห็นในการบูชาอย่างย่อ มีขั้นตอนการส่งเสด็จกลับด้วยครับ   ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องกล่าวส่งเสด็จอีกครั้ง
ใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ

[HIGHLIGHT=#ffffff]ชนใดหวังข้ามอุปสรรค  พึงพำนักพิคเนศนาถา
สำเร็จสมดังจินดา พระองค์พาข้ามพิฆะจัญไร
[/HIGHLIGHT]

Quote from: ramadas on May 07, 2010, 11:34:20
ขอบพระคุณ ท่านหริทาสมากครับ สำหรับความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับมุทรา กระจ่างแจ้งเลยเดียวครับ เวลาบูชาพระคเณศ ผมก็ใช้บทสวดในหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นประจำครับ (เท่าที่ทำได้และโอกาสอำนวย ครับ) เพราะกล่าวถึงการบูชาทุกขั้นตอนไว้อย่างละเอียดมากครับ ต้องขอขอบคุณสำหรับการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าวครับ

...แต่รบกวนเรียนถามท่านหริทาสอีกอย่างครับ....
ในขั้นตอนสุดท้ายของการบูชาในหนังสือดังกล่าวที่ถวายดอกไม้พร้อมสวดว่า"..ปุษปัมชลิม สมรปยามิ..." นั้น หมายความถึงการส่งเสด็จกลับ (วิสรณัม) ด้วยหรือเปล่าครับ เพราะเห็นในการบูชาอย่างย่อ มีขั้นตอนการส่งเสด็จกลับด้วยครับ   ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องกล่าวส่งเสด็จอีกครั้ง
ใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ



ผมว่ามาจาก ปุษฺปาญฺชลิมฺ ปุษฺป+อัญฺชลิ นะครับ
เคยเห็นต้นฉบับเขียนว่า pushpanjalim

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะคับ บางทีผมมีลืมอะไรก่อน หลังแต่อยู่ที่ใจ หวังว่าท่านคงไม่ว่าอะไร
คิดเองข้างเดียว..

Quote from: ramadas on May 07, 2010, 11:34:20
ขอบพระคุณ ท่านหริทาสมากครับ สำหรับความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับมุทรา กระจ่างแจ้งเลยเดียวครับ เวลาบูชาพระคเณศ ผมก็ใช้บทสวดในหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นประจำครับ (เท่าที่ทำได้และโอกาสอำนวย ครับ) เพราะกล่าวถึงการบูชาทุกขั้นตอนไว้อย่างละเอียดมากครับ ต้องขอขอบคุณสำหรับการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าวครับ

...แต่รบกวนเรียนถามท่านหริทาสอีกอย่างครับ....
ในขั้นตอนสุดท้ายของการบูชาในหนังสือดังกล่าวที่ถวายดอกไม้พร้อมสวดว่า"..ปุษปัมชลิม สมรปยามิ..." นั้น หมายความถึงการส่งเสด็จกลับ (วิสรณัม) ด้วยหรือเปล่าครับ เพราะเห็นในการบูชาอย่างย่อ มีขั้นตอนการส่งเสด็จกลับด้วยครับ   ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องกล่าวส่งเสด็จอีกครั้ง
ใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ




ครับผม ใน การบูชา 16 ขั้นตอน บางทีเรียกขั้นตอนนี้ว่า นมัสการ ก็มีครับ ซึ่งก็อย่างเดียวกับการถวาย ปุษฺปามฺชลิมฺ (ในหนังสือผมคงพิมพ์ผิด) หมายถึงการสวดมนตร์ถวายและถวายดอกไม้ในมือเราด้วย

เวลาทำพิธีที่เป็นทางการ พราหมณ์ท่านอาจรวบบทสวดต่างๆไว้ในปุษฺปามชลิมฺ คือบทสวดสรรเสริญ บทขอขมา( กฺษมาปฺรณํ) และบทส่ง(วิสรชัน)ไว้ในคราวเดียว หรืออาจแค่สวดสรรเสริญอย่างเดียวก็ได้ การเลือกมนตร์ต่างๆขึ้นอยู๋กับพราหมณ์แต่ละท่านครับ

บางครั้งก็ไม่ต้องวิสรชันก็ได้ครับ เพราะโดยมากเท่าที่เห็นมา การวิสรชันจะจำเป็นมากในกรณีที่มีการถวายบูชาต่อสิ่งต่างๆที่อาจต้องรื้อถอนทีหลัง เช่น กลัศ มณฑลต่างๆ กองข้าวที่แทนเทวรูป ฯลฯ เพราะเสร็จพิธีก็ต้องรื้อถอนออกไป

ดังนั้น ถ้าเราบูชาในห้องพระของเราหรือเทวรูปของเราเองซึ่งไม่จำเป้นต้องโยกย้ายรื้อถอนออกไป  อาจไม่ต้องสวดบทวิสรชันก็ได้ครับ บางครั้งเขาก็ถือว่า พอถวายบูชาเสร็จ เมื่อกล่าวนมัสการแล้วก็เท่ากับเป้นวิสรชันไปในตัวแล้วครับ
ถ้าอยากให้สบายใจยิ่งขึ้น สวดบทกษฺมาปรณํ เพิ่มไปจากบทสรรเสริญได้ครับ ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก

อ่านทีไรก็ยังทรงคุณค่าอยู่เสมอ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

July 15, 2010, 23:21:44 #28 Last Edit: July 19, 2010, 00:42:49 by บุตรมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวี
Quote from: nai 3 on July 15, 2010, 22:57:03
อ่านทีไรก็ยังทรงคุณค่าอยู่เสมอ
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับผม
แต่ผมมีข้อสงสัยบางอย่างครับ  ตามนี้เลย

Quote from: หริทาส on May 06, 2010, 13:44:50



ตอบครับ

เท่าที่ผมเรียนและสอบถามจากครูอาจารย์มา

เวลาถวายบูชาอย่างเป็นพิธีการ ออกจะยุ่งมากทีเดียว โดยเฉพาะเวลาถวายไนเวทยมฺ หรือถวายอาหาร

อันนี้เล่าให้ฟังก่อนนะครับ

เมื่อบูชาไปถึงขั้นตอนถวายอาหารแล้ว ผู้บูชาหรือปูชารีจะล้างมือ ประพรมน้ำที่บริเวณจะถวายอาหาร
ตั้งอาหารต่างๆไว้หน้าพระประพรมน้ำพร้อมภาวนาคายตรีมนตร์เพื่อให้อาหารนั้นบริสุทธิ์(คายตฺรีมนฺเตฺรณสํโปฺรกฺษเยตฺ) วางดอกไม้ลงบนอาหารถ้าถวายพระแม่ต่างๆและพระคเณศเอาลองค์หรือกานพลูวางไว้บนอาหารถ้าถวายพระนารายณ์พระกฤษณะ หรือพระรามเอาใบตุลสีวางบนอาหารถ้าถวายพระศิวะเอาใบมะตูมวางบนอาหารนั้นแล้ว
จากนั้นผู้ถวายทำมุทราต่อหน้าเทวรูป คือ เธนุมุทฺรา(แม่โคกามเธนุ ) ทำมสฺยมุทฺรา(วางคว่ำมือ)(อันนี้แล้วแต่สำนักครับ บางสำนักก็ทำแค่เธนุมุทฺราบางสำนักก็ทำจกฺรมุทราด้วย  อาจารย์บัณฑิตลลิตจะทำสองมุทราครับคือเธนุกับมัสยะ ส่วนอาจารย์บัณฑิตวิทยาธรจะทำแต่เธนุ)
แล้วสวดบทถวายอาหาร คือบท นาภฺยา อสีทํตริกข...จากปุรุษสูกตะในฤคเวท สวดเสร็จแล้ว ทำคราสมุทรา

ทำไมต้องทำคราสมุทรา เพราะ เป็นการถวายอาหารลงใน "ปราณ" ของเทวรูปครับ
ตามคติฮินดู มนุษย์เรามี ปราณอยู่ห้าชนิด(ปราณ อปาน วยาน อุทาน และ สมาน) แต่ละอย่างก็ทำหน้าที่ต่างๆกันในร่างกาย
คนฮินดูเชื่อว่า กระบวนการย่อยอาหารก็ต้องใช้ปราณด้วย รวมทั้งกระบวนการลำเลียงสารอาหาร ฯลฯ มากมายครับ ซึ่งปราณทั้ง 5จะทำหน้าที่สอดประสานกัน

วิธีการทำคราสมุทราก็ทำคล้ายใช้นิ้วโป้ง หยิบหรือคีบบนส่วนต่างๆของมือเดียวกัน.....อธิบายยากแหะ เปลี่ยนไปตามคำสวดถวายปราณทั้ง 5โดยคล้ายๆหยิบลมจากบนอาหารถวายหน้าเทวรูป ผมอธิบายไม่ถูกครับ 5555

พอถวายเสร็จแล้ว ก็ถวายน้ำดื่มตาม เรียกมา มธฺเยปานียํ(น้ำระหว่างถวายอาหาร)ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์ล้างพระหัตถ์ เรียก อาจมานียํ และหสฺตปรกฺษารณํ(ถ้าจำไม่ผิด)

นี่ครับเฉพาะขั้นตอนถวายอาหารอย่างเดียว ถ้าทำแบบที่ปูชารีตามวัดทำ หรือทำในพิธีการ

บางวัดเวลาถวายมหาไนเวทยํ เค้าจะปิดม่านเลยครับ เพราะถือว่าถ้าคนที่ไม่บริสุทธิ์มาจ้องมองอาหารของเทวรูป อาหารจะมีมลทินแต่นี่ก็เป็นธรรมเนียมของบางวัดเท่านั้นครับ

กลับมาสู่คำถามครับ

จริงๆแล้วเวลาที่เราปฏิบัติถวายบูชาประจำวัน ผมได้เรียนว่า ทำเพียงแค่ 5 ขั้นตอนก็พอ(ปัญจอุปจารวิธี)
และในเวลาถวายอาหารนั้น ก็เพียง
1.ถ้าอาหารนั้นเป้นผลไม้ พึงล้างให้สะอาดก่อน และก่อนถวายให้ล้างมือ
2.เวลาจะถวายนำอาหารใส่ภาชนะที่เหมาะสม วางไว้เบื้องหน้าเทวรูป ถ้ามีดอกไม้ก็วางบนอาหารนั้นนิดหน่อยเป็นสัญลักษณ์ว่าของที่วางดอกไม้นี้เป็นของประณีตที่จะถวาย
3.ประพรมอาหารทุกอย่างนั้นด้วยน้ำสะอาดเล็กน้อย ภาวนาคายตรีมนตร์ถ้าไม่รู้คายตรีมนตร์ ให้ระลึกในใจว่า"ด้วยอำนาจพระคายตรีมนตร์ขอให้อาหารที่จะถวายนี้บริสุทธิ์"ประมาณนั้นครับ
4.จากนั้นกล่าวคำถวายตามแต่ท่านถนัด รู้สันสกฤตก็กล่าวสันกฤต รู้ไทยก็กล่าวแบบไทย มนตร์สั้นมนตร์ยาวไม่เป็นไรทั้งนั้น
5.ทำมุทราไม่เป็นก็ไม่เป็นไรครับอันนั้นเอาไว้เวลาที่เราเชิญบัณฑิตมาทำบูชาหรือเราไปบูชาที่วัดแล้วบัณฑิตทำให้ค่อยว่ากันเราทำเองบูชาเองที่บ้านก็ทำไม่ต้องใช้มุทราในทัศนะของผมไม่ผิดอะไรครับเพราะเราได้ถวายอาหารนั้นแล้วไม่ว่าจะทำมุทราหรือไม่ก็ตามอีกอย่างระหว่างใช้มุทรากับมนตร์ที่ไม่ค่อยจะคล่องแคล่วหรือถวายแบบง่ายๆแล้วคล่องแคล้วใจจดจ่อมีสมาธิกว่าผมว่าอย่างหลังดีกว่าครับ
6.ระลึกในใจว่า"น้อมถวายอาหารนี้ลงในปราณทั้ง 5 คือ ปราณ อปาน วยาน อุทาน สมาน ขอพระเป้นเจ้ารับอาหารนี้"
7.ถวายน้ำสะอาด ให้เป็นน้ำดื่มและน้ำบ้วนพระโอษฐ์


ผมว่าเท่านี้ก็เยี่ยมแล้วครับ
จริงๆพวกมุทรานี้ พวกพราหมณ์เค้าเรียนกัน ด้วยเหตุผลสองประการใหญ่ครับ
1.เพื่อนทำสันธยา หรือการภาวนาตามวิธีของพราหมณ์ จะมีมุทราหลายมุทราในขั้นตอนต่างๆซึ่งเราไม่จำเป้นต้องทำตามเพราะเราไม่ได้ทำสันธยาแบบพราหมณ์ครับ
2.ใช้(บ้าง)ในการประกอบพิธี ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่สำนักครับ

ดังนั้น ไม่รู้มุทราก็ยังทำพิธีบูชาประจำวันของเราได้โดยสมบูรณ์ครับ


ป.ล.อีกเหตุผลที่ผมลงเรื่องมุทราใว้ในหนังสือก็เพื่อเป็นหลักฐานในเรื่องการบูชาตามธรรมเนียมที่ถูกต้องครับบางเรื่องที่ผมเห็นว่าอาจไม่สำคัญหรือข้ามไปได้บ้างสำหรับการบูชาโดยส่วนตัวของคนทั่วไป จึงไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ครับ
จากตัวแดงด้านบนนะครับ 
1  เราควรใช้อะไรในการพรมน้ำครับ  เป็นดอกไม้หรือเปล่าครับ  แล้วจึงวางดอกไม้นั้นลงบนอาหารที่จะถวาย
2  ภาวนาคายตรีมนตร์  เป็นบทคายตรีแบบที่รู้จักกันทั่วไป  หรือว่าเป็นบทคายตรีของแต่ละพระองค์ครับ
3  ในบางครั้งการสรงน้ำเห็นว่ามีน้ำผสมกำยานด้วย  ไม่ทราบว่ากำยานที่นำมาผสมเป็นอย่างไรครับ  หาซื้อได้ที่ไหนครับ
ขอบพระคุณครับ
 

พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง
   โททนต์เสน่คงสำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวายมลายสิ้นทั้งอินทรีย์   สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด   ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

ขอบคุณ มากครับ ผมจะนำไป ปฏิบัติครับ

เรื่องของถวาย บางทีไม่จำเป็นต้องซื้อที่พาหุรัดหรอกครับ

ทธิ หรือนมเปรี้ยวอินเดีย
จะไปซื้อที่พาหุรัดก็จะดูยุ่งยาก บางทีซื้อโยเกิร์ตตามห้างก็ได้

นมเปรี้ยว ยังไงมันก็คือนมที่หมักด้วยจุลินทรีย์

.....

ถ้าถวายของที่พื้น ต้องใช้"ใบตอง"มารองของที่ถวายครับ

Quote from: พิษประจิม on July 16, 2010, 09:06:05
พรมน้ำ ครับ
ไม่ใช่ พรหมน้ำ
พอดีพิมพ์ผิดครับ  แก้ไขให้แล้วนะครับ
 

พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง
   โททนต์เสน่คงสำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวายมลายสิ้นทั้งอินทรีย์   สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด   ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

Quote from: บุตรมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวี on July 15, 2010, 23:21:44
Quote from: nai 3 on July 15, 2010, 22:57:03
อ่านทีไรก็ยังทรงคุณค่าอยู่เสมอ
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับผม
แต่ผมมีข้อสงสัยบางอย่างครับ  ตามนี้เลย

Quote from: หริทาส on May 06, 2010, 13:44:50



ตอบครับ

เท่าที่ผมเรียนและสอบถามจากครูอาจารย์มา

เวลาถวายบูชาอย่างเป็นพิธีการ ออกจะยุ่งมากทีเดียว โดยเฉพาะเวลาถวายไนเวทยมฺ หรือถวายอาหาร

อันนี้เล่าให้ฟังก่อนนะครับ

เมื่อบูชาไปถึงขั้นตอนถวายอาหารแล้ว ผู้บูชาหรือปูชารีจะล้างมือ ประพรมน้ำที่บริเวณจะถวายอาหาร
ตั้งอาหารต่างๆไว้หน้าพระประพรมน้ำพร้อมภาวนาคายตรีมนตร์เพื่อให้อาหารนั้นบริสุทธิ์(คายตฺรีมนฺเตฺรณสํโปฺรกฺษเยตฺ) วางดอกไม้ลงบนอาหารถ้าถวายพระแม่ต่างๆและพระคเณศเอาลองค์หรือกานพลูวางไว้บนอาหารถ้าถวายพระนารายณ์พระกฤษณะ หรือพระรามเอาใบตุลสีวางบนอาหารถ้าถวายพระศิวะเอาใบมะตูมวางบนอาหารนั้นแล้ว
จากนั้นผู้ถวายทำมุทราต่อหน้าเทวรูป คือ เธนุมุทฺรา(แม่โคกามเธนุ ) ทำมสฺยมุทฺรา(วางคว่ำมือ)(อันนี้แล้วแต่สำนักครับ บางสำนักก็ทำแค่เธนุมุทฺราบางสำนักก็ทำจกฺรมุทราด้วย  อาจารย์บัณฑิตลลิตจะทำสองมุทราครับคือเธนุกับมัสยะ ส่วนอาจารย์บัณฑิตวิทยาธรจะทำแต่เธนุ)
แล้วสวดบทถวายอาหาร คือบท นาภฺยา อสีทํตริกข...จากปุรุษสูกตะในฤคเวท สวดเสร็จแล้ว ทำคราสมุทรา

ทำไมต้องทำคราสมุทรา เพราะ เป็นการถวายอาหารลงใน "ปราณ" ของเทวรูปครับ
ตามคติฮินดู มนุษย์เรามี ปราณอยู่ห้าชนิด(ปราณ อปาน วยาน อุทาน และ สมาน) แต่ละอย่างก็ทำหน้าที่ต่างๆกันในร่างกาย
คนฮินดูเชื่อว่า กระบวนการย่อยอาหารก็ต้องใช้ปราณด้วย รวมทั้งกระบวนการลำเลียงสารอาหาร ฯลฯ มากมายครับ ซึ่งปราณทั้ง 5จะทำหน้าที่สอดประสานกัน

วิธีการทำคราสมุทราก็ทำคล้ายใช้นิ้วโป้ง หยิบหรือคีบบนส่วนต่างๆของมือเดียวกัน.....อธิบายยากแหะ เปลี่ยนไปตามคำสวดถวายปราณทั้ง 5โดยคล้ายๆหยิบลมจากบนอาหารถวายหน้าเทวรูป ผมอธิบายไม่ถูกครับ 5555

พอถวายเสร็จแล้ว ก็ถวายน้ำดื่มตาม เรียกมา มธฺเยปานียํ(น้ำระหว่างถวายอาหาร)ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์ล้างพระหัตถ์ เรียก อาจมานียํ และหสฺตปรกฺษารณํ(ถ้าจำไม่ผิด)

นี่ครับเฉพาะขั้นตอนถวายอาหารอย่างเดียว ถ้าทำแบบที่ปูชารีตามวัดทำ หรือทำในพิธีการ

บางวัดเวลาถวายมหาไนเวทยํ เค้าจะปิดม่านเลยครับ เพราะถือว่าถ้าคนที่ไม่บริสุทธิ์มาจ้องมองอาหารของเทวรูป อาหารจะมีมลทินแต่นี่ก็เป็นธรรมเนียมของบางวัดเท่านั้นครับ

กลับมาสู่คำถามครับ

จริงๆแล้วเวลาที่เราปฏิบัติถวายบูชาประจำวัน ผมได้เรียนว่า ทำเพียงแค่ 5 ขั้นตอนก็พอ(ปัญจอุปจารวิธี)
และในเวลาถวายอาหารนั้น ก็เพียง
1.ถ้าอาหารนั้นเป้นผลไม้ พึงล้างให้สะอาดก่อน และก่อนถวายให้ล้างมือ
2.เวลาจะถวายนำอาหารใส่ภาชนะที่เหมาะสม วางไว้เบื้องหน้าเทวรูป ถ้ามีดอกไม้ก็วางบนอาหารนั้นนิดหน่อยเป็นสัญลักษณ์ว่าของที่วางดอกไม้นี้เป็นของประณีตที่จะถวาย
3.ประพรมอาหารทุกอย่างนั้นด้วยน้ำสะอาดเล็กน้อย ภาวนาคายตรีมนตร์ถ้าไม่รู้คายตรีมนตร์ ให้ระลึกในใจว่า"ด้วยอำนาจพระคายตรีมนตร์ขอให้อาหารที่จะถวายนี้บริสุทธิ์"ประมาณนั้นครับ
4.จากนั้นกล่าวคำถวายตามแต่ท่านถนัด รู้สันสกฤตก็กล่าวสันกฤต รู้ไทยก็กล่าวแบบไทย มนตร์สั้นมนตร์ยาวไม่เป็นไรทั้งนั้น
5.ทำมุทราไม่เป็นก็ไม่เป็นไรครับอันนั้นเอาไว้เวลาที่เราเชิญบัณฑิตมาทำบูชาหรือเราไปบูชาที่วัดแล้วบัณฑิตทำให้ค่อยว่ากันเราทำเองบูชาเองที่บ้านก็ทำไม่ต้องใช้มุทราในทัศนะของผมไม่ผิดอะไรครับเพราะเราได้ถวายอาหารนั้นแล้วไม่ว่าจะทำมุทราหรือไม่ก็ตามอีกอย่างระหว่างใช้มุทรากับมนตร์ที่ไม่ค่อยจะคล่องแคล่วหรือถวายแบบง่ายๆแล้วคล่องแคล้วใจจดจ่อมีสมาธิกว่าผมว่าอย่างหลังดีกว่าครับ
6.ระลึกในใจว่า"น้อมถวายอาหารนี้ลงในปราณทั้ง 5 คือ ปราณ อปาน วยาน อุทาน สมาน ขอพระเป้นเจ้ารับอาหารนี้"
7.ถวายน้ำสะอาด ให้เป็นน้ำดื่มและน้ำบ้วนพระโอษฐ์


ผมว่าเท่านี้ก็เยี่ยมแล้วครับ
จริงๆพวกมุทรานี้ พวกพราหมณ์เค้าเรียนกัน ด้วยเหตุผลสองประการใหญ่ครับ
1.เพื่อนทำสันธยา หรือการภาวนาตามวิธีของพราหมณ์ จะมีมุทราหลายมุทราในขั้นตอนต่างๆซึ่งเราไม่จำเป้นต้องทำตามเพราะเราไม่ได้ทำสันธยาแบบพราหมณ์ครับ
2.ใช้(บ้าง)ในการประกอบพิธี ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่สำนักครับ

ดังนั้น ไม่รู้มุทราก็ยังทำพิธีบูชาประจำวันของเราได้โดยสมบูรณ์ครับ


ป.ล.อีกเหตุผลที่ผมลงเรื่องมุทราใว้ในหนังสือก็เพื่อเป็นหลักฐานในเรื่องการบูชาตามธรรมเนียมที่ถูกต้องครับบางเรื่องที่ผมเห็นว่าอาจไม่สำคัญหรือข้ามไปได้บ้างสำหรับการบูชาโดยส่วนตัวของคนทั่วไป จึงไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ครับ
จากตัวแดงด้านบนนะครับ 
1  เราควรใช้อะไรในการพรมน้ำครับ  เป็นดอกไม้หรือเปล่าครับ  แล้วจึงวางดอกไม้นั้นลงบนอาหารที่จะถวาย
2  ภาวนาคายตรีมนตร์  เป็นบทคายตรีแบบที่รู้จักกันทั่วไป  หรือว่าเป็นบทคายตรีของแต่ละพระองค์ครับ
3  ในบางครั้งการสรงน้ำเห็นว่ามีน้ำผสมกำยานด้วย  ไม่ทราบว่ากำยานที่นำมาผสมเป็นอย่างไรครับ  หาซื้อได้ที่ไหนครับ
ขอบพระคุณครับ


1 ดอกไม้พรมน้ำครับ แล้วจะใช้ดอกอื่นวางก็ได้ครับวางไปให้ครบสิ่งที่จะถวาย พอเป็นพิธี อาจารย์ท่านสอนว่า พระคเณศและพระเทวีโปรดลองค์ หรือกานพลูครับ ในนม หรืออาหารหรือขนมที่จะถวาย ให้ใส่กานพลูลงไปด้วยนิดหน่อย ถ้าถวายพระนารายณ์และพระอวตารต่างๆของพระองค์ให้ใส่กระเพราด้วยครับ
2 คายตรี ทั่วไปนี่แหละครับ แต่ภาวนาในใจ บางครั้งท่านก็จะสวดว่า คายตฺรีมนฺเตฺรณสมฺโปฺรกฺษย แปลว่าด้วยคายตรีจะได้ทำการประพรมชำระล้าง
แต่สวดในใจ เพราะในสมฤติกล่าวว่าพราหมณ์พึงภาวนาคายตรีก่อนเพื่อให้อาหารนั้นบริสุทธิ์ กับเทพก็เช่นกัน แต่ก็มีบ้างทีบางทีคณาจารย์ก็สวดคายตรีขององค์นั้นด้วย แต่โดยปกติใช้มูลคายตรี หรือคายตรีธรรมดานี่แหละครับ
3ในตำราที่ผมเรียนมาไม่มีการถวายน้ำผสมกำยานครับ นั่นอาจเป็นธรรมเนียมทางใต้ แต่เรามีการถวายสรงน้ำสุคันธหรือน้ำผสมเครื่องหอม ก็โดยผสมน้ำหอมลงใน้น้ำสะอาด พร้อมผงขมิ้นและจัทน์ และกลีบดอกไม้แต่ขั้นตอนนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ครับ เพราะเมื่อสรงเสร็จเราถวายเครื่องหอมจุลเจิมอยู่แล้ว

แต่ถ้าจะผสมน้ำกำยานถวาย ผมเห็นเขาใช้น้ำผสมผงจันทน์แดงนะครับ สีออกน้ำตาลๆหน่อย ที่ร้านของชำในพาหุรัดมีขายครับ ไม่เคยทราบว่าเขาเอากำยานมาบดๆแล้วผสมถวาย



ขอบพระคุณอาจารย์หริทาสมากๆครับ
ดีใจมากๆที่อาจารย์กลับมาให้ความรู้กับพวกเราชาวสมาชิกครับ
 

พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง
   โททนต์เสน่คงสำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวายมลายสิ้นทั้งอินทรีย์   สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด   ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

Quote from: บุตรมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวี on July 27, 2010, 00:55:56

ขอบพระคุณอาจารย์หริทาสมากๆครับ
ดีใจมากๆที่อาจารย์กลับมาให้ความรู้กับพวกเราชาวสมาชิกครับ


งานผมเยอะครับ พอดีที่ภาควิชา มีอาจารย์ลาไปเรียนด๊อกเตอร์ที่เมืองนอกเสียคนนึง

งานของอาจารย์ท่านนั้นผมก็ต้องไปรับแทน จึงยุ่งหน่อยครับ
แต่จะพยายามหาโอกาสแวะเวียนเข้ามาครับ
ขอบพระคุณในคำขอบพระคุณครับ


ขอบคุณมากครับอาจารย์หริทาส ที่กลับมาให้ความรู้แก่พวกเรา ^^
                     
                    Jai Maa Adhi Shakti
                     जय माँ आधी शक्ति

ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายเลยขอบคุณพี่หริทาสและพี่กาลิทัสครับ