ปฏิทินวันสำคัญและเทศกาลทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู(ปํจางฺค) ประจำปีพุทธศักราช 2556
คริสตศักราช 2013, ปีวิกรม สัมวัต ที่ 2069-70, ปีศาลิวาหน ศาเก ที่ 1934-35
ปีพังคล สัมวัต ที่ 1419-20, ปี เนปาลี สัมวัต ที่1133
จากปฏิทินปัญจางค์ของ คุณพ่อฐากูร ปรสาท ออก ณ เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fimage.ohozaa.com%2Fi%2F6dc%2FUUpLnA.jpg&hash=6c4e80f54d40a2ad6cb36e5ae4a8e60a110de6b7) (http://image.ohozaa.com/view2/wFkXQZLrkaYSnTQt)
(แปลและจัดทำ โดย ศรีหริทาส)
คำชี้แจง
ปฏิทินวันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้ แปลจากปฏิทินโหราศาสตร์อินเดีย เรียกว่า ปัญจางค์(ปํจางฺค) ของคุณพ่อฐากูร ปรสาท ประเทศอินเดีย ซึ่งในปฏิทินจริงจะบอกรายละเอียดต่างๆ เช่น ข้างขึ้น-แรม นักษัตร,โยค ฯลฯ เพื่อใช้ในพีธีกรรมและทางโหราศาสตร์ด้วย แต่ในการแปลมานี้ได้ตัดทอนเหลือแค่วันสำคัญทางศาสนาฮินดูเท่านั้น จริงๆแล้วท่านสามารถสังเกตว่าวันนั้นเป็นวันดิถี(ข้างขึ้นแรม)ใด โดยดูจากชื่อวัน เช่น จตุรถี -4 ค่ำ, ปัญจมี- 5 ค่ำ,อัษฏมี -8 ค่ำ, นวมี- 9 ค่ำ, เอกาทศี - 11 ค่ำ,ทวาทศี 12 ค่ำ, ตรโยทศี 23 ค่ำ, ปูรณิมา คือวันเพ็ญ 15 ค่ำ และ อมาวาสยะ – แรม 15 ค่ำ(เดือนดับ)
มีข้อชี้แจง คือ
1.ท่านอาจสงสัยว่า ทำไม บางวันมีหลายค่ำในวันเดียวกัน เช่นเป็นทั้งปฺรโทษ(13 ค่ำ) และมาสศิวราตรี(14 ค่ำ) เนื่องจากตามหลักศาสนาฮินดูวันสำคัญส่วนใหญ่ ยึดวันตามจันทรคติ แต่บางครั้งวันของพระจันทร์จะคร่อมวันทางสุริยคติ เช่น ในวันที่ 29 เมษายน มีทั้ง 4 ค่ำและ 5 ค่ำในวันเดียว(ช่วงเวลาต่อกัน) นอกจากนี้แล้วบางครั้งดิถี(ขึ้น-แรม)ของอินเดียกับไทยอาจต่างกันนิดหน่อย การจะกำหนดว่าวันไหนเป็นวันสำคัญ คณาจารย์บางท่านก็ยึดถือว่า วันที่เริ่มต้นเข้าดิถีที่กำหนด บางท่านก็ให้ยึดตามปฏิทินไทย อันนี้ก็แล้วแต่สำนักและครูบาอาจารย์
2.ปฏิทินนี้อาจไม่ตรงกับปฏิทินวันสำคัญทางศาสนาของอินเดียในภูมิภาคอื่นๆ เช่นอินเดียใต้ซึ่งมีความแตกต่างกัน และอาจไม่ตรงกับประกาศของเทวสถานต่างๆในเมืองไทย เนื่องด้วยการคำนวนทางเวลา ทั้งนี้ขอให้ท่านอ่านประกาศเทศกาลและวันสำคัญต่างๆจากเทวสถานที่ท่านจะไปร่วมงานด้วย
3.ปฏิทินนี้เริ่มต้นด้วยเดือน ในวงเล็บจะบอกเดือนทางจันทรคติ ซึ่งจะคร่อมเดือนกันเช่น เดือนกุมภาพันธ์ (มาฆ - ผาลฺคุณ) ส่วนวันที่จะบอกวันตามปฏิทินทั่วไป ใช้เลขสากล ด้านหลังจะบอกว่าวันนั้นเป็นวันสำคัญอะไร วันใดที่มีเครื่องหมายดอกจัน (*) หมายถึงวันสำคัญ หรือเทศกาลพิเศษต่างๆ บางเดือนที่มีวันสำคัญซ้ำกันนอกจากเหตุผลในข้อที่1แล้ว ยังเพราะการแบ่งตามนิกายซึ่งได้ใส่ไว้ในวงเล็บด้านหลังแล้ว
4. ท่านที่จะใช้ปฏิทินนี้เพื่อการบูชาเทพเจ้าต่างๆ และถือพรตไม่ว่าจะอดอาหาร หรือทานมังสวิรัติ หรือพรตอื่นๆ ให้เลือกปฏิบัติในวันที่ท่านต้องการ ชาวฮินดูมีวันพระหลายวันตามแต่ลัทธินิกาย โดยมากคือ 8ค่ำ 11 ค่ำ 15 ค่ำ(ทั้งขึ้นและแรม) มีข้อแนะนำดังนี้
-สำหรับการบูชาพระคเณศ ได้แก่วัน 4 ค่ำ คือ ไวนายกี คเณศจตุรถี(ข้างขึ้น), สํกษฺฏี คเณศจตุรถี(ข้างแรม)
-สำหรับพระศิวะ ได้แก่ วันปฺรโทษ(13ค่ำ)(ถ้าปฺรโทษไหนตรงกับวันเสาร์ จะเรียกว่า ศนิปฺรโทษ เชื่อว่าให้คุณมากหากได้ถือพรตและทำบูชา), มาสศิวราตรี(ศิวราตรีประจำของเดือน)(แรม 14 ค่ำ)
-สำหรับพระเทวี คือ วัน ทุรคาษฏมี( 8 ค่ำ)
-สำหรับพระวิษณุ คือ วันเอกาทศี(11 ค่ำ) ซึ่งมีคำนำหน้าต่างๆกันออกไป เช่น กามทา เอกาทศี , โมกษทา เอกาทศี เนื่องด้วยเชื่อว่าการปฏิบัติในวันนั้นๆจะให้ผลที่ต่างกัน และปูรณิมา(ขึ้น15ค่ำ)
-สำหรับอุทิศศราทธพรตแด่ปิตฤ คือเทพบิดรหรือบรรพบุรุษ คือวันอมาวัสยะหรือวันเดือนดับ(แรม 15 ค่ำ)
-ในวันสังกรานติ หรือวันที่พระอาทิตย์ย้ายราศี บูชาพระสูรยนารายณ์
-วันฉลองหรือ ชยันตี หมายถึงวันประสูติของเทพเจ้า วันเกิดของนักบุญนักบวชและบุคคลสำคัญ
-นอกจากนี้วันอื่นๆที่มีพระนามเทพเจ้าปรากฏ ก็มีการบูชาเทพเจ้าในวันนั้นๆ และวันสำคัญอื่นๆ ให้ท่านดูรายละเอียดจากเวปไซต์ของโครงการหอมรดกไทย เรื่องศาสนาพราหมณ์ฮินดู
-ในปฏิทินนี้มีวันสำคัญของศาสนาอื่นๆในอินเดียด้วย
เดือนกุมภาพันธ์ (มาฆ - ผาลฺคุณ)
วันที่
2 วันฉลองสวามีวิเวกานันทะ (สวามีวิเวกานันทะ ชยันตี)นักบวชที่นำศาสนาฮินดู
ไปเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
6 ษษฏฺติลา เอกาทศี
7 ปฺรโทษ
8 มาสศิวราตรี
10 อมาวัสยะ(เดือนดับ)
11 วันฉลองวัลลภาจารย์ (วัลภาจารย์ ชยันตี)คณาจารย์เวทานตะฝ่ายไวษณวนิกาย
14 ไวนายกี คเณศจตุรถี
*15 วสันตปัญจมี สรัสวตีปูชา
17 วันฉลองมาธวาจารย์ (มาธวาจารย์ ชยันตี)คณาจารย์เวทานตะฝ่ายไวษณวนิกาย
18 ทุรคาษฺฏมี
21 ชยา-อชา เอกาทศี
23 ปฺรโทษ
*25 วันมาฆบูชา, มาฆีปูรณิมา และวันฉลองนักบุญรวิทาส(รวิทาส ชยันตี)
เดือนมีนาคม (ผาลฺคุณ - ไจตฺร)
วันที่
1 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
5 ชานกี ชยันตี
7 วันฉลองสวามีทยานันทะ สรัสวตี (สวามีทยานันทะ สรัสวตี ชยันตี)นักบวชผู้ก่อ
ตั้ง อารยสมาช
8 วิชยา เอกาทศี
9 ศนิ ปฺรโทษ
*10 มหาศิวราตรี บูชาพระศิวลึงค์และถือพรตตลอดทั้งคืน วันปรากฏพระลิงโคทภวมูรติ
และถือเป็นวันอภิเษกสมรสของพระศิวะและพระแม่ปารพตี
11 อมาวัสยะ(เดือนดับ)
15 ไวนายกี คเณศจตุรถี
18 กามทาสัปตมี
*26 โหลิกา ทหน, ปูรณิมา(วันเพ็ญ) วันเผารูปนางโหลิกาและฉลอง
*27 โหลิ (เล่นสาดสี)
*28 โหลิ, วสนฺโตตฺสว (เล่นสาดสี)
30 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
เดือนเมษายน (ไจตฺร - ไวศาขะ)
วันที่
3 ศีตลาษฺฏมี
6 ปาปโมจินี เอกาทศี
7 ปฺรโทษ
8 มาสศิวราตรี
10 อมาวัสยะ(เดือนดับ)
*11 วันเริ่มเทศกาลนวราตรีในฤดูวสันต์ (วาสํตีย นวราตฺรี ปฺรารํภ) บูชาพระแม่ 9 ราตรี
*13 เมษสังกรานติ วันสงกรานต์(1)
14 วันสงกรานต์(2),ไวนายกี คเณศจตุรถี, วันฉลอง ดร.อัมเพทกร (อัมเพทกร ชยันตี)
15 วันสงกรานต์(3), ศรีปัญจมี
*18 มหานิศาบูชา อัษฺฏมี บูชาพระทุรคา
*19 มหานวมี ทุรคาบูชา, และวันประสูติพระราม(ศรีราม นวมี)
21 กามทาเอกาทศี(นิกายสมารตะ)
22 กามทาเอกทศี(นิกายไวษณวะ)
*23 เภามะ ปฺรโทษ(วันอังคาร), วันฉลองพระศาสดามหาวีระ ของศาสนาไชนะ
(มหาวีระ ชยันตี)
25 ปูรณิมา(วันเพ็ญ), หนุมานชยันตี
28 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
**29 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี - วันเทวาภิเษกพระพิฆเนศวร์รุ่นทรงพล ของคณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
เดือนพฤษภาคม (ไวศาขะ- ชฺเยษฺฐ)
วันที่
3 ศีตลาษฺฏมี
5 วรูถินี เอกาทศี (นิกายไวษณวะ)
7 เภามะ ปฺรโทษ
8 มาสศิวราตรี
9 อมาวัสยะ(เดือนดับ)
11 วันฉลองฉัตรปตี ศิวาจี (ศิวาชี ชยันตี)ราชานักรบของพวกมาราธา
*12 วันฉลองปรศุราม(ปรศุรามชยันตี)อวตารของพระวิษณุ
13 อักษยตฤติยา
14 ไวนายกี คเณศจตุรถี
*15 วันฉลองท่านอาทิศังกราจารย์ (อาทย ศังกราจารย์ ชยันตี)เจ้าสำนักอไทฺตเวทานตะ
*16 วันฉลองท่านรามานุชาจารย์ (รามานุชาจารย์ ชยันตี)เคณาจารย์ของไวษณวนิกาย
ฝ่ายวิศิษฺฏาไทฺวตะ
18 ทุรคาษฺฏมี, อันนาปูรณาษฺฏมี
*19 วันฉลองประสูติพระแม่สีดา (ชานกี ชยันตี) สีตานวมี
21 โมหินี เอกาทศี
22 ปฺรโทษ
*23 วันฉลองการปรากฏของพระนรสิงห์ (ศรีนฤสิงหะ ชยันตี)นฤสิงหะ จตุรทศี
*25 วันวิสาขบูชา, ไวศขีปูรณิมา พุทธชยันตี
28 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
เดือนมิถุนายน (ชฺเยษฺฐ - อาษาฒ)
วันที่
1 ศีตลาษฺฏมี
4 อจลาเอกาทศี
5 ปฺรโทษ
6 มาสศิวราตรี
8 อมาวัสยะ(เดือนดับ), วฏสาวิตตรี พรต,วันฉลองพระเสาร์(ศนิ ชยันตี)
11 อุมาวตาร
12 ไวนายกี คเณศจตุรถี
17 ทุรคาษฺฏมี
*18 คงคา ทศหรา วันพระคงคาลงมาสู่โลก จัดกิจกรรมทางน้ำ
19 นิรชลา ภีมเสนี เอกาทศี(นิกายสมารตะ)บูชาพระนารายณ์โดยอดอาหารและน้ำ เป็นเวลา 14 ชม.
20 นิรชลา ภีมเสนี เอกาทศี(นิกายไวษณวะ)
21 ปฺรโทษ
*23 ปูรณิมา(วันเพ็ญ), วันฉลองนักบุญกพีรทาส (กพีร ชยันตี)นักบุญฝ่ายภักติและกวี
26 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
เดือนกรกฎาคม (อาษาฒ - ศฺราวณ)
วันที่
3 โยคินีเอกาทศี (นิกายสมารตะ), วันนักบุญเทวราหา บาบา ปุณยดิถี
4 โยคินีเอกาทศี (นิกายไวษณวะ)
5 ปฺรโทษ
6 มาสศิวราตรี
8 อมาวัสยะ(เดือนดับ)
*10 รถยาตรา วันนำพระวิษณุหรือพระชคันนาถแห่ไปรอบเมือง
12 ไวนายกี คเณศจตุรถี
16 ทุรคาษฺฏมี
19 หริศยนี เอกาทศี
20 ปฺรโทษ, วามน ทฺวาทศี วันประสูติพระวามน อวตารพระวิษณุ
*22 คุรุปูรณิมา,วยาสบูชา- วันไหว้ครูและฤษีวยาส
23 มํคล เคารี พรต
25 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
29 ศราวัณ โสมวาร พรต(พรต บูชาพระศิวะวันจันทร์ในเดือนศราวัณ)
30 มํคล เคารี พรต
เดือนสิงหาคม (ศฺราวณ -ภาทฺรปท)
วันที่
2 กามทา เอกาทศี
4 ปฺรโทษ
5 ศราวัณ โสมวาร พรต(พรต บูชาพระศิวะในเดือนศราวัณ)
6 อมาวัสยะ(เดือนดับ)
10 ไวนายกี คเณศจตุรถี
*11 นาคปัญจมี,ตกฺษกปูชา วันบูชานาค
12 ศราวัณ โสมวาร พรต(พรต บูชาพระศิวะในเดือนศราวัณ)
*13 วันฉลองท่านโคสวามีตุลสีทาส(ตุลสีทาสชยันตี)ผู้นิพนธ์ศรีรามจริตมานัส
15 วันฉลองเอกราชอินเดีย(สวตันตรทา ทิวัส)
17 ปุตฺรทา เอกาทศี
18 ปฺรโทษ
19 ศราวัณ โสมวาร พรต(พรต บูชาพระศิวะในเดือนศราวัณ)
*20 ศราวณีปูรณิมา, อุปกรฺม วันทำพิธีในพระเวทของพราหมณ์และทวิชาติ
*21 ศราวณีปูรณิมา, รักษาพันธัน(วันผูกข้อมือ), วันภาษาสันสกฤต
24 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
*28 วันประสูติพระกฤษณะ (ศฺรีกฤษฺณชนมาษฺฏมี)
เดือนกันยายน(ภาทฺรปท - อาศฺวิน)
วันที่
1 ชยา เอกาทศี
2 ปฺรโทษ
3 มาสศิวราตรี
*5 กุโศตฺปาฏินี อมาวสิยา(วันเก็บหญ้าคา หรือหญ้ากุศะเพื่อใช้ในพิธี)
*8 คเณศจตุรถี,คเณโศตฺสว เริ่มต้นเทศกาลคเณศจตุรถี
10 ฤษีปัญจมี
12 ทุรคาษฺฏมี เริ่มมหาลักษมีพรต(16 วัน)
14 วันภาษาฮินดี
15 รวิวาร พรต, ปทฺมกรฺม เอกาทศี
*17 วิศวกรฺมปูชา วันบูชาพระวิษณุกรรม, และ ปฺรโทษ
*18 อนันตจตุรทศี วันสุดท้ายของเทศกาลคเณศจตุรถี(วิสรชัน-ส่งเสด็จ)
19 ปูรณิมา(มหาลยา)เริ่มเทศกาลการทำบุญให้บรรพบุรุษ(10วัน)(รับตายาย)
22 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
28 มาตฤนวมี (มาตามห ศราทฺธ พิธีศราทฺธพรตอุทิศฝ่ายมารดา)
30 อินทิรา เอกาทศี(นิกายสมารตะ)
เดือนตุลาคม (อาศฺวิน - การฺติก)
วันที่
1 อินทิรา เอกาทศี(นิกายไวษณวะ)
*2 ปฺรโทษ, วันฉลองมหาตมาคานธี (คานธี ชยันตี)
3 มาสศิวราตรี
*4 อมาวัสยะ(เดือนดับ) ปิตฤวิสรชนฺ(วันส่งตายาย หรือบรรพบุรุษกลับปิตฤโลก)
*5 ศารทียา นวราตรี, เริ่มเทศกาลนวราตรีในฤดู ศารท บูชาพระแม่เจ้า (9 วัน)
8 ไวนายกี คเณศจตุรถี
11 มหานิศาปูชา,
12 มหาอษฺฏมี บูชาพระทุรคา
*13 ทุรคานวมี, มหานวมี วิชยทศมี(วันบูชาใหญ่พระแม่เจ้า-วันแห่)
15 ปาปำกุศ เอกาทศี
16 ปฺรโทษ
*18 ศรท ปูรณิมา บูชาพระวิษณุด้วยของขาว และครบจตุรมาศ(คือออกพรรษ 4 เดือน
ของสันยาสี), วันฉลองพระฤษีวาลมีกิ(วาลมีกิ ชยันตี)ผู้นิพนธ์รามายณะ
22 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
*27 ราธาษฏมี วันฉลองพระแม่ราธา
30 รมฺภา เอกาทศี
[/MOVE]
เดือนพฤศจิกายน(การฺติก-มารฺคศีรฺษ)
วันที่
*1 ปฺรโทษ, มาสศิวราตรี, ธนเตรสฺ, (ธนฺวนฺตฺริ ชยันตี)
*2 นรกจตุรทศี บูชาพระยมและจุดประทีป, วันฉลองประสูติของพระหนุมาน
(หนุมานชยันตี)
*3 ทีปวาลี, บูชาพระลักษมี พระกุเวรและ จุดประทีป,อมาวสยะ(เดือนดับ)
*4 อันนกูฏ(ถวายอาหาร 56 อย่าง ในเทวาลัย)
5 มาตฤทวีติยา วันบูชาพระจิตรคุปต์
7 ไวนายกี คเณศจตุรถี
*8 สูรฺยษษฺฐี ฑาลาฉฐ,บูชาพระสุริยเทพ ถวายอรฺฆยตอนย่ำสนธยา
9 ฑาลาฉฐ บูชาพระสุริยเทพ ถวายอรฺฆยตอนย่ำรุ่ง
11 อกฺษยนวมี,กูษฺมาณฑา
*13 หริปรโพธินี เอกาทศี, วันงานวิวาห์พระแม่ตุลสีและพระศาลิครามศิลา(ตุลสีวิวาห)
14 วันฉลองท่านบัณฑิตเนห์รู (เนห์รูชยันตี)อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย
15 ปฺรโทษ
*16 ไวกุณฺฑจตุรทศี บูชาพระวิษณุและพระศิวะ โดยเชื่อว่าจะตายแล้วไปไวกุณฑ์โลก
*17 ปูรณิมา, เทวทีปาวลี เทศกาลทีปวาลีของเทพเจ้า จุดประทีป,
วันฉลองคุรุนานักของศาสนาสิข(คุรุนานักชยันตี)
21 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
25 กาลไภรว อษฺฏมี
29 อุตฺปนฺนา เอกาทศี
30 ศนิ ปฺรโทษ
เดือนธันวาคม(มารฺคศีรฺษ- เปาษ)
วันที่
1 มาสศิวราตรี
2 อมาวัสยะ(เดือนดับ)
6 ไวนายกี คเณศจตุรถี
*7 ศฺรีรามวิวาโหตฺสว วันฉลองวันอภิเษกสมรสของพระรามกับพระแม่สีดา
9 มิตฺรสปฺตมี
11 มหานนฺทานวมี
*13 โมกษทา เอกาทศี, วันฉลองภควัทคีตา (คีตาชยันตี),เมานิเอกาทศี(ศาสนาไชนะ)
14 ศนิ ปฺรโทษ
16 ปิศาจโมจน ศราทฺธ
*17 ปูรณิมา, วันฉลองพระทัตตาเตรยคุรุ(ทัตตาเตรยชยันตี)
21 สํกษฺฏี คเณศจตุรถี
25 คริสตสมภพ
*27 วันฉลองพระปารศวนาถ (ปารศวนาถ ชยันตี)(ศาสนาไชนะ)
28 สผลา เอกาทศี
30 ปฺรโทษ, มาสศิวราตรี
31 วันสิ้นปีตามปฏิทินสากล
ทางทีมงาน และสมาขิก www.HinduMeeting.com (http://www.hindumeeting.com) ต้องขอขอบพระคุณพี่หริทาสเป็นอย่างสูง
สำหรับความกรุณาที่แบ่งปันความรู้ และเนื้อหาสาระอันมีประโยชน์ต่อพวกเราชาว HM มาโดยตลอดนะครับ
ผมอยากจะทราบว่า ถ้าผมจะเลือกวันบูชาพระคเณศ พิเศษเดือนละหนึ่งครั้ง ควรเลือก ไวนายกี คเณศจตุรถี หรือ สํกษฺฏี คเณศจตุรถี ดีครับ ขอข้อมูลความแตกต่างระหว่างข้างขึ้นและข้างแรม ควรเลือกข้างขึ้นหรือข้างแรมดี แต่ที่วัดแขกสีลมจะมีพิธีบูชาพระคเณศ ในวันแรม 4 ค่ำของทุกเดือน
ขอบคุณๆๆ ซาบซึ้งน้ำใจจริงๆ