Loader

อยากทราบว่าควร สั่นกระดิ่ง และ เป่าสังข์ ตอนไหน?

Started by bestz81, September 08, 2010, 10:53:49

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

อยากทราบว่า เราควรสั่นกระดิ่ง และเป่าสังข์ ใน ตอนไหน ครับ

มี 2 เวลา

1. เวลาที่จะเริ่มสวดมนต์ให้สั่นกระดิ่ง หรือ เป่าสังข์  เป็นการอัญเชิญเทพ  หรือ  บอกกล่าวท่าน

2. จะสั่นกระดิ่งไปพร้อมกับการทำอารตีบูชาไฟ  หลังสวดมนต์เสร็จ  (ไม่ต้องเป่าสังข์แล้ว)

Quote from: ratkai on September 08, 2010, 12:23:05
มี 2 เวลา

1. เวลาที่จะเริ่มสวดมนต์ให้สั่นกระดิ่ง หรือ เป่าสังข์  เป็นการอัญเชิญเทพ  หรือ  บอกกล่าวท่าน

2. จะสั่นกระดิ่งไปพร้อมกับการทำอารตีบูชาไฟ  หลังสวดมนต์เสร็จ  (ไม่ต้องเป่าสังข์แล้ว)

ผมเคยได้ยินมาว่า การสั่นกระดิ่ง หรือ เป่าสังข์ เป็นการบูชาเทพเจ้าที่ทำกันเฉพาะกับนักบวชในเทวาลัยเท่านั้น ไม่ควรทำในบ้าน

เพราะจะเปลี่ยนจากบ้านที่ฆราวาสอยู่เป็นเทวาลัย หากคนที่อาศัยอยู่ในบ้านปฏิบัติตนไม่เคร่งครัดเหมือนนักบวช จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ..
ข้าแต่พระเป็นเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้เที่ยงแท้ หากปราศจากพระองค์แล้ว ข้าพเจ้าก็ไร้ค่า ..


การสั่นกระดิ่ง สามารถกระทำได้ภายในบ้านครับ หลังจากการทำอารตี สามารถลั่นกระดิ่งได้ หรือ แม้กระทั่งลั่นกระดิ่งขณะอารตี ก็สามารถปฎิบัติได้ภายในบ้านเช่นกันครับ ตรงนี้แทบจะทุกบ้านเรียกว่า 80% ของผู้บูชาศาสนาฮินดูจะมีกระดิ่งติดบ้านเพื่อบูชาครับ

ส่วนเรื่องของสังข์ ก็สามารถกระทำได้ภายในบ้านเช่นกัน แต่ส่วนมากสังข์มักจะถูกลั่นในงานพิธี หรือ ภายในวัดมากกว่าบ้านครับ คนฮินดูที่อยู่ในประเทศอินเดีย จะลั่นสังข์ภายในบ้านไม่เกิน 5% ครับ และสังข์ก็สามารถถูกลั่นหลังพิธีอารตีได้เช่นกันครับ


การจะเป็นพราหมณ์หรือไม่นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้วัดจากวรรณะ แต่วัดจากการกระทำและจิตอันไม่หวังผลทางโลกวัตถุที่ผิดๆ ต่อให้เกิดในวรรณะพราหมณ์แล้วไปประกอบกรรมแบบผิดๆ ก็ย่อมถือว่าไม่ใช่พราหมณ์ เพียงแต่อาศัยเกิดในวรรณะพราหมณ์เท่านั้น

ในมุมกลับกันแม่เกิดในวรรณะจัณฑาล แต่เป็นผู้ใฝ่ดี รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตใจที่ไม่หวังผลตอบแทนในโลกวัตถุ จัณฑาลผู้นั้นย่อมประเสริฐเสมือนพราหมณ์ผู้ทรงศีล

ดังนั้นการจะดูที่รูปลักษณ์ภายนอกนั้นจึงมิได้ ผู้มีจิตเป็นพราหมณ์อยู่ ณ สถานที่ใดในโลก สถานที่นั้นย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์เสมือนดั่งเทวาลัยเช่นกัน

กระดิ่งหรือสังข์จะอยู่คู่กับใครนั้นจึงมิใช่เรื่องจำเป็น เพราะเป็นเพียงมงคลวัตถุ เปรียบดั่งปืน ถ้าอยู่ในมือโจรย่อมร้ายสามารถนำไปปล้นไปสังหารผู้อื่นได้ แต่ถ้าอยู่ในมือคนดี เขาย่อมนำปืนนั้นมาไว้เพื่อป้องกันตัวหรือขจัดสิ่งชั่วร้าย ปืนไม่ผิดแต่คนผิด (แก๊สโซฮอล์ก็ไม่ผิด ... อิอิ)

ฉันใดก็ฉันนั้นกระดิ่งและสังข์ก็เช่นกัน จะอยู่ในมือของคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์แพศย์ ศูทร หรือแม้กระทั่งจัณฑาล ก็ไม่ถือว่าผิด แต่หากอยู่ในมือของผู้มีจิตใจดั่งจัณฑาลนั้นย่อมถือว่าผิด
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

ขอขอบคุณอีกครั้งครับ สำหรับทุกความเห็น มีประโยชน์ มากมาก เลย ครับ