Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - hindu

#1
ในสมัยฮินดูเก่ายุคพราหมณ์ ชนพื้นเมืองเป็นจะไม่ทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดอยู่แล้วครับ และถือว่าโคคือเทพเจ้าองค์หนึ่ง และที่สำคัญที่สุดคือ อินเดียใช้วัว ควายทำเกษตกรรม และ ใช้นมมาบริโภค และ ถวายพระเจ้า ดังนั้นโค จัดอยู่ในผู้มีพระคุณเหมือนแม่ที่ให้นมบุตร และถูกใช้งานทำการเกษต ชาวฮินดูจึงรู้คุณจึงไม่ทานสัตว์ที่ให้คุณและถ้าเป็นฮินดูแท้ก็ไม่ทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดครับ
#2
ผมเป็นคนบูชาพระพรหมคนหนึ่งครับ และศรัทธามาก เห็นด้วยกับสยามคเณศครับ
#3
องค์ในรูป ถูก แล้ว ครับ วีระ หรือ วีรัม เป็น ชื่่อ ที่ใช้เรียกพระในปางรบแทบทั้งสิ้น ครับ ยกตัวอย่างเช่น วัด วีลัมกาลี เป็น ต้น เหมือนคำว่า วีระบุรุษ วีระสตี ยังไงหละ ครับ
#4
ตามที่คุณ ARTICLE และ คุณ กาลิทัส โพสรูป นั้น คือ รูปพระสรัสวตี ที่แสดงถึงพลังอำนาจทางออกรบครับ จะเรียกได้ว่า เป็น วีระ สรัสวตี เทวี จะให้ได้ว่าในภาพนี้ พระสรัสวตี จะไม่ทรงถือ วีณา หรือ พิณ โดยทั่วไปแล้วจะถูกบูชา ในเทศกาล นวราตรี ครับ
#5
กาย วาจา ใจ
#7
สวัสดีครับ คุณ กาลิทัส และ สมาชิก hm ทุกท่าน เนื่องด้วยในปีนี้วันคเณศ จตุรถี ความจริงแล้วเป็นวัดไหนกันแน่ครับเพราะแต่ละวัด หรือ สถานทางพราหมณ์ฮินดูได้จัดขึ้นแตกต่างกันออกไป วัดเทพมนเฑียน จัดวันที่ 18-19 กันยายน 2553
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) จัดงานวันที่ 11 กันยายน 2553
ตามปฎิทินไทย ขึ้น 4 ค่ำ จะตรงกับ วันที่ 12 กันยายน 2553
แล้ววันคเณศจตุรถี ในปีนี้ ตรงกับวันใดของประเทศไทย หรือ ทั่วโลก ครับ
#9
สวยงามดีครับ คุณ ศรีมหา มารตี ผม อยากให้ช่วยสอนทำไหมพรม ที่ไว้ร้อยสับกับดอกไม้หน่อยนะครับ เพราะเวลาบางทีงดอกไม้สีสรรไม่สดจะได้มีไหมพรมช่วยให้สีเด่นชัดขึ้น ช่วยบอกวิธีด้วยนะครับ ของคุณครับ
#10
ศรี คุรุภโย นมะ


ในยุคนี้จะมีอะไรดีเท่า ศรี ภควัทคีตา
ขอบพระคุณ คุณกาลปุตรา ที่นำมาให้ผู้อ่านทั้งหลายได้ศึกษา วาจา และ ลีลา แห่งพระเจ้า

#11
เป็นกระทู้ที่ดีที่สุดเลยครับ
#12
ตอบข้อที่ 2
   
   สำหรับกล้วยที่วางบนใบพลูนั้น เป็น ผลไม้ที่ถวาย ใบพลูก็เช่น กัน ความเป็นจริงอาจถวายผลอื่นแทนกล้วยก็ได้ แต่ ทั้งไทยและอินเดีย กล้วยเป็นของหาง่าย และ 1 หวี ให้ผลหลายใบ จึงสะดวกที่จะนำมาถวายเทพ ที่ประดิษฐานอยู่หลายพระองค์ อาจจะวางหมากแห้งถวายด้วยก็ได้ สรุป เป็น การถวายผลไม้ หมาก ใบพลู เป็นสิ่งที่พระเสวยประจำ เหมือน คนไทย ที่จะขาด มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำว้า ไม่ได้เวลาบวงสรวง ที่ต้องมีทุกครั้งนะครับ ความหมาย เช่น เดียวกันครับ

ตอบข้อ 3

   เวลาถวายของแบบ ง่ายๆ ที่สุดจะมี ธูป และ ที่คุณเป็นเป็นด้ามจับจุดไฟ เข้าถวายเป็นประทีบ จากนั้นถวายข้าว ดอกไม้ น้ำ และที่คุณเห็นคล้าย ๆ เชิงเทียน คือ การอารตี

ตอบข้อ 4

   ปริปรัม หรือ เรียกว่า พะลีพลีดัม คือ หินรูปดอกบัวหงาย เป็นสิ่้งสักการะที่ต้องมาถวายสุดท้าย เป็นแท่นแห่งการการพลีของบูชาสู่พระประธาน และ เป็นแทบบูชา เทพที่รักษาและสถิตอยู่ภายในวัดทั้งหมด ที่การบูชายังไปไม่ถึง การมาถวายตรงจุดนี้ถือว่าถวายให้ทุกพระองค์ ทั้ง 4 ทิศ 8 ทิศ และในสากลจักวาล ดังจะเห็นว่า บางทีทำเป็นรูปบัว 4 ทิศ บ้าง 8 ทิศบ้าง เป็นการบูชาในพิธีการถวาย เทพประธาน และ เทพทุกพระองค์ ในทุกทิศที่อยู่ในวัดนั่นเอง รวมถึงเทพบริวาร ต่างๆ ด้วย

ตอบข้อ 5

   เป็นการถวายข้าวพระครับ ตามปกติ อาจจะมีชามข้า่วพระหน้าพระทุกองค์ก็ได้ แต่ด้วยว่า เป็นวันจะมีเทพประดิษฐานอยู่หลายพระองค์ ก็จะมีข้าว1 ชาม สามารถถวายได้หมด ถวายธูป ประทีบ  การเปิดฝาชามข้าว หลั่งน้ำ และ อารตี เท่านี้ถือว่า เทพรับของถวายแล้ว

   
#13
ตอบ ข้อที่ 1 สำหรับ การถวายเครื่องสักการะประจำวันให้กับองค์พระประธาน เป็นธรรมเนียมและเป็นสิ่งจำเป็นในเรื่องของมารยาทที่มีมาแต่โบราณ คือ เมื่อขณะที่พระเจ้ากำลังเสวยอาหารอยู่เป็นเรื่องเฉพาะพระองค์กับผู้รับใช้ใกล้ชิด(พราหมณ์) ดังนั้นพราหมณ์จึงปิดม่านในขณะที่พระองค์กำลังเสวยอาหาร ทางวัดอินเดียทางเหนือ ก็ ปิดม่านเช่น กัน และเมื่อเสร็จพิธี พราหมณ์ก็จะอารตีและ เปิดม่าน แสดงถึงพระได้เสวยแล้ว และ ให้พร การอารตีถือได้ว่า พระได้รับเครื่องสักการะแล้ว และ การ อาบน้ำ เปลี่ยนเครื่องทรงเช่น เดียวกัน ก็ต้องปิดม่าน เว้นแต่อาบในพิธีสำคัญ ก็จะทรงนุ่งในชุดสรงน้ำ คือ ผ้าบางๆ แล้วอาบน้ำมงคลต่างๆ จากนั้นปิดม่านเพื่อเปลี่ยนเครื่องทรง และ การนอน ของ พระ ก็ต้องปิดม่านเช่นเดียวกัน ความจริงแล้ว ถ้าเป็นวัด จะปิดม่านเวลา ประมาณ เที่ยง หรือ บ่ายโมง ถึง เวลา บ่ายสามโมง หรือ บ่ายสี่โมง เย็น เพื่อให้พระได้พักผ่อน จากนั้นเปิดม่าน ถวายของบูชาเล็ก ๆ น้อย (เป็นของว่าง)
ก่อนที่จะมีการถวายอาหารรอบเย็นและอารตี
#14
ผมเคยร้อยใบสะเดา ไปถวายพระแม่ที่สีลม พราหมณ์ ก็รับถวายนะครับ
#15
ในรูป คือ Viswakarma พระวิศวกรรม ซึ่งตามคตินี้ ถือ ว่า พระองค์เป็นปฐม แห่งการสร้างสิ้งทั้งปวงครับ
#16
จากที่อ่านมาแล้ว ผมไม่ค่อยได้ตอบกระทู้ใครเท่าไหร วันนี้ต้องบอกว่า หากินบนศรัทธาคน จริง ๆ คุณเจ้าของกระทู้ก็ต้องคิดให้ดีนะครับ เห็นใจจริงๆ
#18
บางท่านไม่ได้เป็นสมาชิก facebook นะครับจึงเข้าดูไม่ได้ ถ้าไม่เป็นการรบกวนช่วยนำรูปมาลงให้ชมด้วยนะครับ สาธุครับ
#19
แรงด้วยศรัทธาจริงๆ ครับ สาธุ
#20
สาธุด้วยนะครับ ช่วยนำภาพมาให้ชมกันก็จะดีมากครับ สาูีธุ นะครับ
#21
ชื่นและเป็นแรงใจให้คุณพลอยครับสู้ ๆ นะครับ
#22
เป็นเรื่องธรรมชาติครับ ของ ศาสนิกชน ชาวฮินดูในประเทศอินเดีย การเผา การลอยเป็นเรื่องปกติทุก ๆ วันอยู่แล้ว เข้าไม่ได้คิดว่าจะติดหรือไม่ติดซากอะไรมาทั้งนั้นเพราะนั่นคือธรรมชาติ ที่จะหวนกลับคืนสู่พระเจ้าอีกครั้ง และ เพราะทุกอย่างเป็นสัจธรรม ครับ
#23
สวัสดีครับคุณกาลปุตรา เป็นความรู้ที่ดีมาก ๆ ครับ พอดีผมมีบทสวดเป็นเป็นฮินดีอยากให้คุณกาลปุตราช่วยแปลหน่อยนะครับเพราะเห็นว่าคุณกาลปุตราจะแปลให้เป็นธรรมทานเลยอยากให้ดูให้นิดหน่อยนะครับ รบก่วนขออีเมลล์ด้วยนะครับผมจะได้ส่งให้ดูครับขอบพระคุณครับ
#24
ศรัทธาบังเกิดครับ สาธุ
#25
สิ่งเหล่านี้เป็นจารีตของพราหมณ์ที่จะประกอบพิธีครับ ส่วนคฤหัส ก็บูชาตามปกติที่เวป hm แนะนำไว้แล้วมากมายจะดีกว่าครับ เพราะพิธีกรรมหลายอย่างสมควรที่พราหมณ์จะเป็นผู้ประกอบพิธีเท่านั้นครับ
#26
เห็นด้วยกับ คุณมินตรา ครับเพราะถ้าตามหลักการหรือศาสนาแล้วก็ไม่สมควร แต่ถ้าใครบอกว่าศรัทธาก็พูดกันลำบากในเรื่องแบบนี้ ผมว่าสำริด แพงกว่าหินดำครับ ลองเปลี่ยนจากหินดำ มาเป็นสำริดก็สวยงามดีนะครับ เพราะหินก็ต้องอาบน้ำทุกวัน ต้องหาที่ตั้งโดยที่ห้ามขยับ ย้ายไปย้ายมา ผมว่าถ้าเราบูชาแบบสำริดจะดีกว่านะครับ
#27
ที่ แกลง น้อง ถ้าเขียนไม่ผิดนะ แถว kl นั่นแหละแต่ไม่ได้อยู่ในตัวเมือง ไปเครื่องบินเร็วสุดครับ ลงเครื่องก็ขึ้นรถไฟฟ้าเข้าตัวเมืองเลยครับ หรือ จะไปแท็คซีก็แพงหน่อย รถไฟถูกกว่า เร็วกว่าด้วย 555+ เพราะสมัยนี้ไปง่ายแล้ว หรือ จะไปไหว้พระคเณศที่เก่าแก่ที่สุดของมาเลที่ปีนัง ก็นั่งรถไฟฟ้าไปได้เลยครับ สดวก สบาย ของถูกแสนถูก ต้นปีไม่แนะนำให้ไปนะครับ ไปช่วง ทำมะดาดีกว่า ต้นปีของแพง เพราะจะเป็นช่วงเทศกาลไทปูซัมพอดี คนไปเยอะของแพง แต่ช่วงอื่นไม่แพง แต่ถ้าจะซื้อของถูก แนะนำเลยช่วงดีปาวลี ปีใหม่ฮินดู เข้าจะนำของมาลดราคา ต่อไปนี้ใครคิดจะไปซื้อของแถวเพื่อนบ้านเราก็แสนสบายถูกด้วย สายการบินก็ถูกแสนถูก แอร์เอเชีย แบบ สบายๆ แต่ถ้าอยากเดินทางแบบไม่รีบร้อนแต่เหนื่อยหน่อย ก็ รถไฟ ได้เลยครับ 
#28
เรื่องผงบูชาถ้าเป็นของอินเดียใต้จริง ๆ แล้ว ก็หอมทุกยี่ห้อ เพราะทำมาจากสมุนไพรครับ ทั้งกุมกุมัม วิภูติ จันทนัม ก็มีกลิ่น หอมอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปผสมอะไร แต่ที่พหุรัสก็จะมีแบบเหนือมากกว่า ซึ่งไม่หอม ส่วนขายของทางใต้ก็พอมีอยู่บ้างที่พหุรัส แต่ก็เห็นมีแต่วิภูติ    แต่กุมกุมแบบทางใต้ยังไม่เคยเห็น แต่แถวเพื่อนบ้านมีเพียบราคาไม่แพง แต่พอมาถึงไทยแพงแบบไม่หน้าเชื่อครับ อิอิอิ
#29
มีท่านใดพอทราบบ้างครับว่าปีนี้มหากาลีบูชาวันไหนครับ
#30
ผมรู้สึกทึ่งกับผลงานของคุณมากครับ เป็นภาพที่งามจริง ๆ วันหลังนำมาลงเป็นวิทยาทานใหม่นะครับเป็นกำลังใจให้กับความคิดดี ๆ ครับผม
#31
ขอบคุณมาก ๆ เลยสำหรับรูปสวย ๆ วันหลังนำมาลงอีกนะครับเป็นความรู้ดีมาก ๆ ครับ
#32
ไม่แน่ใจว่าพระนาง สีตาลา (sitala) หรือ ป่าว ไม่แน่ใจนะครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ
#34
ผมขออนุญาติคุณ tadatada นำไปใส่กรอบบูชานะครับ งามจริง ๆ
#35
สงสาร น้องโอ มีศรัทธาแรง หนามตำ แต่ก็ทำด้วยความรักในองค์พระแม่นะครับ นับถือครับผม
#36
ของที่นำมาแขวน เรียกว่า ตรนัม (ตะ-ละ-นัม) จะใช้ใบอ่อนของมะพร้ามคือใบสีขาวมาถัก กัน 5 ชั้นบ้าง 3 ชั้นบ้างตามแต่พิธี มักจะแขวนไว้รอบพิธี ส่วนใบลานใช้ในพิธี กาติเก ดีปัม สำหรับเผา
#37
คนไทยที่นิยมบวงสรวงบูชาเทพเจ้า เป็นผู้นับถือแบบพราหมณ์ หากได้ศึกษาศาสนาพราหมณ์แล้วย่อมเข้าใจได้ชัดเจนว่า การบูชาเทพเจ้าที่ตนไทยกระทำนั้น นับเป็นการบูชาในศาสนาพราหมณ์ไม่ได้ เพราะว่าการบูชาในศาสนาพราหมณ์ตามการปลูกฝังและตามเป้าหมายที่แท้จริงแล้ว เป็นการบูชาด้วยจิตที่สงบ สละความยึดมั่นในตัวตน สละความโลภทั้งมวล ยินยอมต่อการบัญชาของพระเป็นเจ้า ความรู้สึกพื้นฐานที่มีต่อพระเป็นเจ้าคือ พระองค์เป็นผู้ทรงความบริสุทธิ์เป็นเลิศ ทรงความยุติธรรม ให้ในสิ่งที่ตอบแทนการกระทำ และร้องขอสิ่งตอบแทนที่ตนไม่เคยกระทำไว้เลยไม่ได้ ที่สำคัญคือ การมีพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า พระองค์คือผู้ให้กำเนิดทุกชีวิต และพระองค์คือเป้าหมายสูงสุดของการกระทำทุกประการในชีวิตนี้ เพื่อการได้กลับคืนสู่พระองค์ และพื่นฐานเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่มีในความคิดความเชื่อของคนไทย คนไทยมิได้สร้างความรู้สึกเหล่านี้ไว้ในจิตใจ เพราะส่วนมากได้รับการถ่ายทอดแต่กิจกรรมคือพิธีกรรมบูชาที่สังเกตเห็นได้ แต่มิได้รับการถ่ายทอดการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ขณะที่กระทำการบูชาพระเป็นเจ้า จึงมิใช่ความรู้สึกแบบฮินดู มิใช่ด้วยความอุทิศยินยอมสละตัวตนหรือด้วยจิตสงบ แต่คนไทยมักจะทำการบูชาเพื่อความปรารถนา เรียงร้อง หรือ อ้อนวอน ร้องขอ หรือ ด้วยการกำหนดข้อตกลง สัญญา แลกเปลี่ยน การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการกระทำที่เกิดจากความคิด เป็นความเชื่ออีกลักษณะหนึ่งซึ่งมีการกระทำคือ การบูชาที่ปรากฏให้เห็นคล้ายกับการกระทำอย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ แต่นับเป็นการบูชาในแบบของศาสนาพราหมณ์ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย
                          จากหนังสือสู่พรหมัน ผมเห็นว่าเป็นบทความที่ดีเลยนำมาลงครับ
#38
[HIGHLIGHT=#ff0000]ว่าแต่ท่านนั้นนะเป็นใครอยากรู้จริง ๆ มีการนำมาลงได้ท่านของคุณก็หน้าจะบอกได้ว่านำมาจากไหนนะครับ ผมไม่ได้มานั่งอมภูมิหลอกนะ แต่ต้องการความชัดเจน บทสวดที่นำมาลงที่บอร์ดของผมก็เป็นที่รู้ว่าผมเผยแผร่อยู่แล้วไม่ได้ปิดอะไรแต่เห็นบทที่ผมใช้แต่งอยู่มาลงที่ส่ธรณะก็แค่อยากรู้ที่มาว่านำมาจากไหนเท่านั้นและที่สำคัญก็ให้ใช้สวดได้นะครับ แค่ต้องการความชัดเจนครับ[/HIGHLIGHT]
#39
ผมจะบอกก็ได้ครับ คุรุวันทนามีทั่วไปก็จริงอยู่ คุรุพรหมมา.............. แต่สิ่งที่ผมบอกไปช่วงคุรุพรหมณี คุรุไวษณวี คุรุมเหศวรี คุรุศักตินโม นะมะฮา เป็นบทที่ผมกับอาจารย์พราหมณ์ท่านหนึ่งที่วัดวิษณุเป็นคนแต่งขึ้นเพราะผมบอกว่าผมศักตินิกายอยากจะใช้คุรุฝ่าย สตรีด้วยจึงแต่งขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้ห่วงห้ามหรอกนะจะใช้ แต่ควรแจ้งที่มาที่ไปด้วย เพื่อความชัดเจนนะครับ

ผมอาจจะเคยลงไว้บางที่ก็คงมีที่เดียวในบอร์ดของผมเองยังไงก็ไม่ได้ว่าอะไรแต่เห็นบทที่ผมแต่งเองเลยข้องใจอยากรู้  จึงถามนะ ผม ปืน เอง ยังไงก็ชัดเจนหน่อย
#40
ศรัทธาไม่ได้อยู่ที่ใจอย่างเดียว แต่ต้องแสดงออกถึงความภักดี ในการกระทำ