Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - โอม กาลี โอม

#1
ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อน ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย นะครับ
และขออนุญาตอ้างถึงกระทู้ของอาจารย์ตุลย์ และ คุณกาลิทัส


Quote from: ปฏิทินวันสำคัญและเทศกาลทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูhttp://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=5094

Quote from: วันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูhttp://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=6.0


เดือน มีนาคม

วันที่ ๗    มหาศิวะราตรี
วันที่ ๒๓    โหลีปูรณิมา
วันที่ ๒๔   โหลี

เดือน เมษายน

วันที่ ๘   วันเริ่ม นวราตรี (วสันต์ นวราตรี)
วันที่ ๑๔   วันปีใหม่ (Tamil New Year)
วันที่ ๑๕   ศรีราม นวมี
วันที่ ๑๖    วันสุดท้าย นวราตรี (วสันต์ นวราตรี)
วันที่ ๒๒   มหุมาน ชยันตี

เดี๋ยวกลับมา   ทำต่อให้นะครับ
#2
[HIGHLIGHT=#ffffff]गणेशचतुर्थी คเณศจตุรถี ๒๕๕๕[/HIGHLIGHT]
ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕

พราหมณ์ทำพิธีขึ้น "มูษกธวัช" หรือพิธี มูษกธวัชโรปณ เป็นการขึ้นธงรูปหนู พร้อมเสียงสวดมนตร์และสังข์ประโคม อันแสดงถึงการกำหนดเขตสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเริ่มต้นเทศกาลอย่างเป็นทางการ

ธงรูปหนูในพิธีนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะได้อัญเชิญมาจากวัดศรีสิทธิวินายก เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย

ใน ๑ ปีธงนี้จะขึ้นเสาเพียง ๑ ครั้งเท่านั้น และจะยกลงเมื่อส่งเสด็จแล้ว ดังนั้นในพิธีของเราทุกปี จึงไม่มีการปั้นรูปหนู หรือมูษกราช เพราะถือว่าธงนี้เป็นสัญลักษณ์ขององค์พระคเณศอยู่แล้ว ดังปรากฏในบทสวดในคัมภีร์พระเวท "คณปตยาถวรศีรษะ" หรือ "คเณศอุปนิษัทว่า "...เอกทํตํ จตุรหสฺตํ ปาศมํกุศธาริณํ , รทํ จ วรทํ หสฺไตรรฺพิภฺราณํ มูษกธฺวชมฺ" มีงาเดียว มีสี่กร ทรงไว้ซึ่ง บ่วงบาศก์ ขอช้าง งาหัก และวรมุทรา มีธงรูปหนู(มูษกธวัช)



























พิธี ปราณปรติษฐา และเนตรโตรมีลัน หรือการเบิกเนตร ซึ่งโดยปกติตามวิธี เขาจะไม่ให้ศาสนิกชนดู จนกว่าพระจะทำพิธีเสร็จ













#3
เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ.2555

ขอเชิญรดน้ำขอพรบัณฑิตลลิต โมหัน วยาส ประธานปูชารี เทวสถานเทพมณเฑียร
ในวันพุธที่ 4 เมษายน 2555 เวลา 18.30 น. ณ เทวสถานเทพมณเฑียร



อนึ่ง ในเวลา 17.30 น. ของวันเดียวกัน ขอเชิญรดน้ำขอพรพระครูญาณสยมภูว์ (ขจร นาคะเวทิน) ณ ที่ทำการมูลนิธิพระพิฆเนศวร์ ตรอกโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า

#4
ภารตนาฏยัมคืออะไร

ประวัติการแสดงภารตนาฏยัม

โดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล

(อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก ศูนย์สันสกฤต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
)


การแสดงภารตนาฏยัมในสมัยโบราณ

         การกระโดดโลดเต้น เมื่อประสบกับสิ่งสุข ความทุกข์ ความสนุกสนานและความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับจิตวิญญาณของ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่การเรียนรู้ที่จะเต็นประกอบจังหวะดนตรี และมีความสามัคคีเต็นพร้อมกันอย่างมีแบบแผนนั้น จึงถือว่าเป็น การเต้นรำ การฟ้อนรำ หรือจับระบำ ของมนุษย์นั้น  มีมาเนินนานแต่ครั้งที่มนุษย์พร้อมกับมนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์สัญลักษณ์ และมีอารยธรรมแตกต่างจากสัตว์ มีภาพเขียนโบราณสมัยยุคหิน และรูปปั้นในยุคสำริด ที่มีการบัณทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำเพื่อ เฉลิมฉลอง จากชัยชนะจากสงคราม การบูชาพระเจ้า ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก ฉะนั้นการเต้นรำจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และมีความเป็นสากลเช่นเดียวกับเพลงต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับการเต็นรำเหล่านั้น

      ศิลปะการร้องเพลงและเต็นรำ เป็นสิ่งที่พัฒนาควบคู่กัน ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน ในแต่ละชนชาติและลักษณะที่เป็นสากลทั้งหลาย โดยธรรมชาติ และธรรมชาติคือ ครูที่ยิ่งใหญ่และแท้จริงที่สุดของมนุษย์ เป็นผู้สนให้มนุษย์ รู้จักการจังหวะ และความไพเราะ ดังเช่น เสียงของลม เสียงของสายฝน เสียงของน้ำไหล ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นจังหวะดนตรี และดนตรีในที่สุด สัญนิฐานว่า ณ เวลาที่ดนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ในทันทีการเต็นรำก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย โดยการเต้นรำที่พัฒนาในแต่ละท้องถิ่น นั้นคือการเต้นรำส่วนการเต็นรำที่ถือได้ว่ามีแบบแผน และเป็นนาฏศิลป์ร่วมสมัย นั้นคือ การเต้นรำร่วมสมัย

      ลัทธิความเชื่ออันเป็นวัฒนธรรมของอินเดียหลักที่สำคัญ สองอย่างคือ ไศวนิกาย และไวษณวนิกาย ที่เน้นย้ำถึงความภักดีในพระเป็นเจ้า ได้ส่งอิทธิพลต่อ บทเพลงทั้งหลายและการเต้นรำชนิดต่างๆของอินเดีย ดังนั้น การเต้นรำอันศักดิ์สิทธิ์ได้จัดแสดงแล้วในสถานที่บูชาทั้งหลายทั้งปวงมากมายในประเทศอินเดีย โดย ประวัติศาสตร์การศึกษาด้านการเต้นรำของอินเดียนั้นส่วนมาก ได้ถูกบันทึกอยู่ในรูปของตำราสันสกฤตทั้งหลาย และตำราที่เก่าที่สุดคือ ตำราภารตนาฏยศาสตร์ ซึ่งน่าจะแต่งขึ้นราวๆ ก่อนคริสศตวรรษที่ ๓

      นอกจากนี้ต้นฉบับหลักฐานที่เก่าที่สุดปรากฏอยู่ในทาง ทมิฬนาดู นั้นให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การศึกษาด้านดนตรี,การเต้นรำ และนาฏกรรมการละครนั้น อยู่ในยุค สังคัม ในยุคนั้นงานเขียนทั้งหลายในภาษาทมิฬที่เกี่ยวกับ การศึกษาด้านดนตรี และการเต้นรำ ปรากฏอยู่มากมาย เช่น ตำรากูถานู้ล, ตำราอินทรกาลิยัม,ตำราสยันถัม,ตำราอีไสนุนุกัม,ตำราอคถิยัม เป็นต้น ซึ่งได้ปรากฏแล้วในยุคทองแห่งศิลปวัฒนธรรม คือ ยุคสังคัม ของอินเดียใต้  โดยเฉพาะในทางทมิฬนาดู มหากาพย์อันเป็นที่รู้จักดี ศิลปธิการัม ได้ถูกประพันธ์แล้วโดยกวีที่ยิ่งใหญ่ชาวพุทธิ ได้ให้ข้อมูลและอ้างอิงถึง ศิลปะนาฏกรรมการแสดง (นาฏกัม) การเล่นเครื่องดนตรีเช่นพิณ(อียาล) และการศึกษาด้านดนตรี(อีไส) ในสมัยที่พุทธศาสนายังประดิษฐานและเป็นที่นับถืออย่างยิ่งในอินเดียใต้สืบต่อจากยุคสังคัมนั้น

       ในภาษาทมิฬ การเต้นรำ ถูกเรียกว่า กูถุ หรือ อาดัล จากนั้นเมื่อการเต็นรำเพื่อบูชาพระเป็นเจ้า เปลียนมาเป็นการเต็นรำเพื่อความบันเทิงในพระราชวังแล้ว มันจึงถูกเรียกว่า สะดิร ซึ่งปรากฏในยุคเริ่มต้นของ ศตวรรษที่ ๒๐ , และต่อมา สะดิร นี้เอง ได้ถูกอ้างอิงกล่าวถึงในฐานะที่มาของ ภารตนาฏยัม

      คำว่า ภารตนาฏยัม นั้นมีที่มาจาก ภา หมายถึง ภาวัม(อารมณ์ร่วมที่ได้รับจากการแสดงนาฏกรรม), ร หมายถึง ราคัม (ความสูงต่ำของการเรียงตัวกันของกลุ่มตัวโน๊ต ที่กำกับด้วยบันได้เสียง ที่แตกต่างกันในแต่ละบทเพลง) และ ตะ หมายถึง ตาลัม (จังหวะการตีลงจังหวะของแต่ละเพลง) ฉะนั้นการเต้นรำ คือ นาฏยัม นั้นที่ประกอบไปด้วยองค์รวมของ ภาวะ,ราคะ,ตาลัม ก็คือ ภารตนาฏยัม

      ภารตนาฏยัม เป็น ศิลปะ นาฏกรรม ที่มีความหลากหลายรูปแบบ และไม่มีขีดจำกัดของการประยุกต์ใช้เอกลักษณ์รูปแบบการเต้นเฉพาะตนที่คิดขึ้นเองของแต่ละสำนักเรียนภารตนาฏยัม ซึ่งมีการมุ่งเน้นเอกลักษณ์และจุดเด็นทางการแสดงที่ต่างกัน ของ นฤตติ (ท้วงท่าในการเต็น), นฤติยา(การแสดงให้อารมณ์ความรู้สึก) และ นาฏยะ(ศิลปะการละคร)

      ลักษณะเฉพาะของภารตนาฏยัม คือการยืนเต้นย่อเข่า ลงต่ำกว่าส่วนสูงของตนเองครึ่งหนึ่ง ที่มวยจีนเรียกว่า การนั่งท่านั่งม้า แต่ในภารตนาฏยัม เรียกว่า อรถะมันฑี และท่าเต็นพื้นฐานต่างๆอันสอดคล้องกับจังหวะการตี ตาลัม ทั้งหลายที่เรียกว่า อะดาวู้ และเมื่อนำอะดาวู้ทั้งหลายมาประดิษฐ์เต้นเรียงร้อยเป็นลำดับหนึ่งชุดลำดับการเต้นนั้นเรียกว่า โกรไว ซึ่งอาจารย์ หรือผู้ให้จังหวะ ที่เรียกว่า นาฏฏุวะนัร จะเป็นผู้ตีฉิ่ง และเป็นผู้ขับบทกำกับจังหวะของนักเต้นภารตนาฏยัม ซึ่งการกำกับจังหวะอย่างนี้เรียกว่า นาฏฏุวังคัม โดยผู้กำกับจังหวะนั้นอาจจะร้องสัญลักษณ์ทางเสียงของ โกรไว ทั้งหลายไปด้วยที่เรียกว่า โสลลุกัตตุ แต่ถ้า โกรไว เหล่านี้มีการเล่นจังหวะช้าเร็วแตกต่างกันด้วย (มีถึงสี่ระดับคือ ช้า, เริ่มเร็วขึ้น,เร็วมาก และ เร็วที่สุด)ลำดับชุดการเต้น โกรไว ที่มีการเต็นช้าเร็วสี่ หรือสามระดับ ในหนึ่ง โกรไว นั้นจะเรียกว่า ชาตี และในแต่ละชาตี จะมีการจบด้วยชุดการเต้นเล็กชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ธีรมานัม ในหนึ่งเพลง อาจจะมี สี่ หรือ ห้า ชาตี หรือมากว่านั้นตามแต่ความยาวของเพลง แต่ทุกชาตี หรือโกรไว จะต้องจบด้วยชุดการเต้นที่เรียกว่า ธีรมานัม

        ในส่วนของการแสดงสีหน้าอารมณ์ประกอบเพลง ของภารตนาฏยัมนั้น ถูกเรียกว่า อภินะยา ซึ่งต้องอาศัย การใช้ภาษาร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวของหัว (ศิระ เบธา), การเคลื่อนไหวของตา (ทฤษฏิ เบธา) ,การหมุ่นตัว (พรหมรี เบธา) และการใช้มือทำเป็นสัญลักษณ์ต่างๆประกอบที่เรียกว่า หัสถะ เป็นต้น เพื่อดึงอารมณ์และความรู้สึก ทางนาฏศาสตร์ ที่เรียกว่า นวรสะ ออกมาจากผู้แสดงไหลผ่านควบคู่ไปกับความหมายของบทเพลง
#6
วันนี้ตั้งใจจะไปอัญเชิญพระลักษมีมา ตอนแรกไปดูที่ร้านประจำ สูงประมาณศอกกว่า ๆ มีซุ้มสวยงาม หนักประมาณ 6.5 กิโล

ในเงินจำนวนนั้น สามารถอัญเชิญได้ถึง 3 พระองค์ ก็ ปรึกษาเพื่อนสนิท ก็เลยอัญเชิญเป็นองค์ เล็ก ๆ มา ตามในรูปครับ



#7
เรียน คุณกาลิทัส

ช่วงหลังนี้ จะเห็นรูปกบแช่แข็งบ่อย เนื่องจาก imageshack บังคับให้ไปลงทะเบียนโดเมนเนม

ขอความกรุณาคุณกาลิทัส ในฐานะเจ้าของบ้านไปลงทะเบียนด้วยนะครับ

ไม่เช่นนั้น เพื่อนสมาชิก อาจจะต้องทำการเปลี่ยนที่ฝากรูปชั่วคราวก่อนนะครับ

เต้ย
#8


องค์นี้ ที่ร้านบอกว่าเป็นพระแม่มารีอัมมา แต่มีเพื่อนบอกว่าเป็นการุอัมมา
เลยไม่แน่ใจว่าเป็นพระองค์ใดกันแน่



พระอรรถนารีศวร

เพิ่งหัดนุ่งผ้าให้พระแม่ เพราะ ที่ผ่านมา มีแต่เทวรูปแบบงานไทย ๆ เลยแต่งยาก นี่เป็นครั้งแรก ฝีมือพอไปวัดกะเพื่อน ๆ ได้ไหมครับ

จริง ๆ ผ้าก็ลองซื้อผ้าที่เขาแบ่งขายมาตัด

เพราะยังไม่กล้าซื้อผ้าผืนใหญ่ ๆ มา ตัด กลัว เสียผ้า

ปกติถ้าจะใช้ผ้า ส่วนใหญ่ใช้ผ้าอะไรกันครับ ที่จัดจีบได้สวย ๆ
#9
เคยอ่าน กระทู้จึงจำไม่ได้ จริง ๆ ว่าใครเขียนแต่น่าจะเป็น อาจารย์ตุลย์

ที่พูดคุยเรื่องอาหารมังสวิรัติของชาวฮินดูแท้ ๆ ว่าจะไม่รับประทานถั่วที่มีตา

จำพวก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง

แล้วถ้าเป็นถั่วงอก ล่ะครับ มันเกิดจากถั่วเขียว แต่ก็กลายสภาพเป็นผักไปแล้ว ถือว่าเป็นมังสวิรัติ หรือไม่ครับ

เรื่องที่ 2 โยเกิร์ต ถือว่าเป็น มังสวิรัติ หรือไม่ครับ

ที่ถามเรื่องนี้เพราะเห็นว่าสามารถนำโยเกิร์ตถวายได้ แม้ในการอภิเษก ก็ใช้โยเกิร์ต ด้วยเช่นกัน (เท่าที่ระลึกได้นะครับ)

คราวนี้ในโยเกิร์ต มีสิ่งมีชีวิตอยู่ ภาษาคนเรียนวิทย์ เค้าเรียกอะไรนะ จุลินทรีย์ หรืออะไรสักอย่าง เลยสอบถามมาให้หายข้องใจ

หากท่านใดพอทราบ และอนุเคราะห์้ คำตอบให้เป็นวิทยาทานได้ จักของพระคุณเป็นอย่างสูง
#10
ภาพชุดนี้ถ่ายเมื่อตอนบ่ายแก่ ๆ ของวานนี้


















พระนารายณ์


ศรีกฤษณะ


มหาลักษมี


พระพรหม


พระศิวะ


พระพิฆเณศ


พระขันทกุมาร


พระแม่มหากาลี
#11
เรียนสอบถาม คุณกาลิทัส

ไม่ทราบเกิดอะไรขึ้น ทำไมเข้าเว็บไม่ได้ ตั้งแต่วานนี้ ผมไม่แน่ใจว่าาเป็นที่โฮสติ้ง หรือ ISP ที่ผมใช้บริการอยู่ แต่ดูจากคนโพสแล้ว ของวันที่ 9 กพ. 54 ไม่มีเลย

สงสัย จะมีหลายท่านที่เข้าไม่ได้เหมือนกับผมหรือเปล่าครับ
#12
ถ้าเข้าเว็บด้วย hindumeeting.com/forum
จะเข้าเว็บไม่ได้ครับ

ต้องมี www. นำหน้า ไม่แน่ใจว่ามีการลบ DNS มีปัญหาหรือเปล่าครับ



Uploaded with ImageShack.us
#13
ถ้านำผง kumkum หรือ ผงวิภูติ หรือผงจันดรา ผสมน้ำไว้ในผอบ ถ้าเหลือ สามารถนำมาผสมน้ำใช้ในคราวต่อไปได้หรือไม่ครับ
#14
ชื่อเต้ย ครับ

ไหว้พระแม่มาตั้งแต่ประมาณ ปี 2540 แล้วครับ แต่ก็ ไม่ได้รู้อะไรมากมาย

ยังต้องศึกษาหาความรู้อีกเยอะครับ
#15
พอดี วันนี้ มีแรงมากมายมหาศาล เลยจัดห้องใหม่ โดยแยกเทพ มาไว้อีกห้องต่างหาก เนื่องจากห้องพระ ตอนนี้เล็กไปถนัดตา

พอดี ถ่ายเมื่อสักครู่นี้เองนะครับ เลยอาจจะไม่ค่อยชัด