มีหลายท่านถามมาเรื่องการบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือ ใบไม้ทั้ง 21 ชนิด ว่าตกลงห้ามบูชาพระคเณศด้วยใบกระเพราหรือบุชาได้กันแน่
ทั้งนี้ผมขอตอบตามความรู้ที่มีว่า
การบูชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ(เรียกว่า "เอกวึศตีปตฺรปูชา" (เอกะวิมศะติปัตระปูชา))
เป็นความนิยมของบางท้องถิ่นในอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นมหาราษฏร์ ที่มีการบูชาพระคเณศอย่างแพร่หลาย และทางอินเดียใต้บางแห่ง ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป แต่พอดีว่าหนังสือหรือข้อมูลเกี่ยวกับการบุชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ เป้นข้อมูลแรกๆอันหนึ่งที่เราได้รับ เกี่ยวกับการบูชาตามแบบอินเดียเราจึงได้กระทำตามๆกันว่า ซึ่ง
ตามที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้น
การบูชาพระคเณศมักจะบุชาด้วยใบไม้สามอย่าง คือ
1.ทูรวา หรือหญ้าแพรก ซึ่งถือเป้นใบไม้ที่พระคเณศโปรดที่สุด
2.ใบศมี
3.ใบมะตูม
ส่วนใบกระเพราห้ามถวายบูชา
ผมขอยกโศลกสันสกฤตในปุราณะมาเป็นหลักฐานดังนี้
นากฺษไตรรฺจเยทฺวิษณุมฺ น ตุลสฺยา คณาธิปมฺ
น ทูรฺยา ยเชทฺ ทุรคำ วิลฺวปตฺเรศฺจ ภาสฺกรมฺ
ทิวากรํ ทุนฺตหีไนรฺวิลฺลปตฺระ สมรฺจเยตฺ
"พึงจดจำไว้ว่า ไม่บูชาพระวิษณุด้วยอักษัต(ข้าวสาร/ข้าวสารย้อมด้วยผงจันทน์ที่ใช้ในพิธี) ไม่ถวายตุลสีแด่พระคณาธิปติ(พระคเณศ)
ไม่ถวายทูรวา(หญ้าแพรก)แด่พระแม่ทุรคา ไม่ถวายใบพิลวะ (มะตูม )แด่พระภาสกร (พระอาทิตย์/สุริยเทพ)"
ข้อห้ามนี้ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปครับ พราหมณ์บัณฑิตทั้งหลายแห่งวัดเทพมณเฑียร ถือปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด
ข้อห้ามอื่นๆที่พึงทราบและปฏิบัตินะครับ ขอยกโศลกสันสกฤตมาดังนี้
คฤเห ลิงฺคทฺวยํ นารฺจฺยํ คเณศตฺริตยํ ตถา
ศงฺขทฺวยํ ตถา สูรฺโย นารฺจฺยํ ศกฺติตฺรยํ ตถา
ทฺเว จกฺเร ทฺวารกายาสฺตุ ศาลครามศิลาทฺวยมฺ
เตษำ ตุ ปูชเนไนว อุทเวคํ ปฺราปฺนุยาทฺ คฤหี
ในบ้านไม่พึงบูชา พระศิวลึงค์สององค์ และ พระคเณศสามองค์
สังข์ 2 ขอน พระอาทิตย์ 2 องค์ พระแม่ศักติ 3 องค์
จักร 2 องค์ หินทวารกาศิลา 2องค์ และพระศาลิครามศิลา 2 องค์
คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ผู้ไม่ปฏิบัติตามนี้ ย่อมได้รับความเดือดร้อนรำคาญ
(กฏนี้คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนต้องปฏิบัติตามเว้นแต่นักบวช คือ สันยาสีไม่ต้องถือปฏิบัติตามนี้)
อีกกฏที่สำคัญมากครับ คือกฏเรื่องการตั้งเทวรูป
คฤเห จลารฺจา วิชฺเญยา ปฺราสาเท สฺถิรสํชฺญิตา
อิตฺเยเต กถิตา มารฺคา มุนิภิะ กรฺมวิทิภิะ
ในบ้านพึงประดิษฐานและบูชาเทวรูปที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (จลมูรติ) ในปราสาท(วัดหรือมณเฑียรสถาน)พึงประดิษฐานเทวรูปให้มั่นคง(สถิร/เคลื่อนย้ายไม่ได้) หนทางนี้ได้แสดงไว้โดยบรรดามุนีทั้งหลายผู้ทรงความรู้ในกรรม(วิธีปฏิบัติ)
นอกจากนี้เทวรูปในบ้านไม่ควรใหญ่เกินไป บางตำราว่า เกินหนึ่งศอกของเจ้าของ อันนี้ขอไปค้น่อนนะครับ แต่ถือกันว่าเทวรูปในบ้านถ้าใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ผมขอตอบตามความรู้ที่มีว่า
การบูชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ(เรียกว่า "เอกวึศตีปตฺรปูชา" (เอกะวิมศะติปัตระปูชา))
เป็นความนิยมของบางท้องถิ่นในอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นมหาราษฏร์ ที่มีการบูชาพระคเณศอย่างแพร่หลาย และทางอินเดียใต้บางแห่ง ไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป แต่พอดีว่าหนังสือหรือข้อมูลเกี่ยวกับการบุชาพระคเณศด้วยใบไม้ทั้ง 21 ใบ เป้นข้อมูลแรกๆอันหนึ่งที่เราได้รับ เกี่ยวกับการบูชาตามแบบอินเดียเราจึงได้กระทำตามๆกันว่า ซึ่ง
ตามที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้น
การบูชาพระคเณศมักจะบุชาด้วยใบไม้สามอย่าง คือ
1.ทูรวา หรือหญ้าแพรก ซึ่งถือเป้นใบไม้ที่พระคเณศโปรดที่สุด
2.ใบศมี
3.ใบมะตูม
ส่วนใบกระเพราห้ามถวายบูชา
ผมขอยกโศลกสันสกฤตในปุราณะมาเป็นหลักฐานดังนี้
นากฺษไตรรฺจเยทฺวิษณุมฺ น ตุลสฺยา คณาธิปมฺ
น ทูรฺยา ยเชทฺ ทุรคำ วิลฺวปตฺเรศฺจ ภาสฺกรมฺ
ทิวากรํ ทุนฺตหีไนรฺวิลฺลปตฺระ สมรฺจเยตฺ
"พึงจดจำไว้ว่า ไม่บูชาพระวิษณุด้วยอักษัต(ข้าวสาร/ข้าวสารย้อมด้วยผงจันทน์ที่ใช้ในพิธี) ไม่ถวายตุลสีแด่พระคณาธิปติ(พระคเณศ)
ไม่ถวายทูรวา(หญ้าแพรก)แด่พระแม่ทุรคา ไม่ถวายใบพิลวะ (มะตูม )แด่พระภาสกร (พระอาทิตย์/สุริยเทพ)"
ข้อห้ามนี้ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปครับ พราหมณ์บัณฑิตทั้งหลายแห่งวัดเทพมณเฑียร ถือปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด
ข้อห้ามอื่นๆที่พึงทราบและปฏิบัตินะครับ ขอยกโศลกสันสกฤตมาดังนี้
คฤเห ลิงฺคทฺวยํ นารฺจฺยํ คเณศตฺริตยํ ตถา
ศงฺขทฺวยํ ตถา สูรฺโย นารฺจฺยํ ศกฺติตฺรยํ ตถา
ทฺเว จกฺเร ทฺวารกายาสฺตุ ศาลครามศิลาทฺวยมฺ
เตษำ ตุ ปูชเนไนว อุทเวคํ ปฺราปฺนุยาทฺ คฤหี
ในบ้านไม่พึงบูชา พระศิวลึงค์สององค์ และ พระคเณศสามองค์
สังข์ 2 ขอน พระอาทิตย์ 2 องค์ พระแม่ศักติ 3 องค์
จักร 2 องค์ หินทวารกาศิลา 2องค์ และพระศาลิครามศิลา 2 องค์
คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ผู้ไม่ปฏิบัติตามนี้ ย่อมได้รับความเดือดร้อนรำคาญ
(กฏนี้คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนต้องปฏิบัติตามเว้นแต่นักบวช คือ สันยาสีไม่ต้องถือปฏิบัติตามนี้)
อีกกฏที่สำคัญมากครับ คือกฏเรื่องการตั้งเทวรูป
คฤเห จลารฺจา วิชฺเญยา ปฺราสาเท สฺถิรสํชฺญิตา
อิตฺเยเต กถิตา มารฺคา มุนิภิะ กรฺมวิทิภิะ
ในบ้านพึงประดิษฐานและบูชาเทวรูปที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (จลมูรติ) ในปราสาท(วัดหรือมณเฑียรสถาน)พึงประดิษฐานเทวรูปให้มั่นคง(สถิร/เคลื่อนย้ายไม่ได้) หนทางนี้ได้แสดงไว้โดยบรรดามุนีทั้งหลายผู้ทรงความรู้ในกรรม(วิธีปฏิบัติ)
นอกจากนี้เทวรูปในบ้านไม่ควรใหญ่เกินไป บางตำราว่า เกินหนึ่งศอกของเจ้าของ อันนี้ขอไปค้น่อนนะครับ แต่ถือกันว่าเทวรูปในบ้านถ้าใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญได้เช่นเดียวกัน