Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - หริทาส

#161
Quote from: แต่ก็มิได้นำพา on March 04, 2010, 15:18:59
http://en.wikipedia.org/wiki/Tyagaraja
ตฺยาคราช

http://en.wikipedia.org/wiki/Muthuswami_Dikshitar
มุตฺถุสวามี

http://en.wikipedia.org/wiki/Shyama_Shastry
ศฺยามะ ศาสฺตรี


เรื่องของทั้งสามท่านนี้ หาอ่านในภาคภาษาไทย สำหรับผู้ไม่ถนัดอังกฤษ ได้จากหนังสือ "ดนตรีอินเดีย"
ของอ.เฉลิมศักดิ์  พิกุลศรี สำนักพิมพ์จุฬาฯ ครับ
#162
Quote from: แต่ก็มิได้นำพา on March 04, 2010, 06:15:52
Quote from: หริทาส on March 03, 2010, 18:21:08
Quote from: giftzy_69 on March 03, 2010, 05:37:33
 



ท่านผู้นี้คือท่าน ตยัฆราชครับ

เป็นนักประพันธ์เพลงและนักดนตรีที่มีชื่อมาก ของอินเดียใต้ เป็นหนึ่งในสามอภิมหานักดนตรีหรือสามเทพเจ้าแห่งการณาฏกสังคีต
คือ ท่านมุธุสวามี ทิษิตร์ ท่านสยาม ศาสตรี และท่านตยัฆราช(ในอินเดีย นักดนตรี กวี และนักบุญมักเป็นคนๆเดียวกัน)

ท่านเกิดวันที่ 4 มิ.ย. คศ.1767

ท่านได้สละชีวิตฆราวาสเมื่อภรรยาตายลง ผลงานของท่านนับว่ามีชื่อเสียงมาก ยังคงนำมาขับร้องกันในปัจจุบัน
และท่านยังแต่งอุปรากร 2 เรื่อง

ทั้งดนตรีและอุปรากรของท่าสนล้วนแต่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความจงรักภักดีในพระเจ้าทั้งสิ้น



ตฆัยราช เป็นอีกชื่อนึงของท่านหรอครับ



โอ้ว์ ขอบคุณคุณตรีศังกุมากครับที่มาทักท้วง

ผมเลยกลับไปดูรูป ปรากฏว่า รูปที่นำมานี้ เป็นท่าน ปุรันทรทาส จริงๆด้วย เนื่องจากมองในแวบแรก ลักษณะของการนั่งท่าทางและการแต่งตัวเหมืออนกับท่านตยัคราช มากๆ ผมจึงคิดว่าเป้นท่านตยัคราช ตามภาพด้านล่างนี้จะเป็นท่านตยัคราชครับ



แต่ท่านทั้งสองก็เป็นนักประพันธ์ดนตรีการณาฏิกสังคีต ที่มีชื่อเสียงมาก
ท่านปุรันทรทาส เกิดก่อนในราว คศ.1484 (แต่บางเล่มว่าท่านเกิดในสมัยศต.ที่ 17 เช่นเดียวกับท่านตยัคราช)
ท่านตยัคราชเกิดในคศ 1767 ที่ติธุวรุ
ส่วนท่านปุรันทรทาส เกิดใกล้กับปูเณ่ แคว้นมหาราษฏร์ จึงได้รับอิทธิพลการนับถือพระวิโฐพาเจ้า ท่านได้แต่งเพลงกีรตันไว้ ถึง 4 แสนเพลง
(เค้าเล่ากันมาแบบนี้) และคงส่งอิทธิพลถึงท่านตยัคราชไม่มากก็น้อย
ท่านปุรันทรทาสได้รับการนับถือว่าเป้นภักตะท่านนึง เช่นเดียวกับนักบุญอื่นๆ
นอกจากนี้ในวงการการณษฏิกสังคีต เรียกท่านว่า สังคีตปิตามหะ  หรือท่านปู่ แห่งดนตรี(ทำนองอาจารย์ปู่)

ส่วนท่านตยัคราชมีความศัรทธาในองค์พระรามเป็นพิเศษ
จึงประพันธ์เพลงเกี่ยวกับการสรรเสริญพระรามไว้จำนวนมาก




และนี่คือไตรเทวสังคีตแห่งดนตรีการณาฏิกครับ
ท่านมุธุสวามี ทิกษิตร์ ท่านตยัคราช และ ท่านสยาม ศาสตรี





ขอบคุณมากๆครับที่มาทักท้วงไม่งั้นผมคงให้ความรู้ผิดๆไป บอร์ดเราจะน่าอยู่ด้วยการแชร์และช่วยกันแก้ไข โดยปราศจากอคติต่อกันนี่แหละครับ


#163




นื่คือรูปท่านมาธวาจารย์ครับ

ท่านมาธวาจารย์ เป็นนักบวชในไวษณวนิกาย ฝ่ายที่เรียกว่า ไทฺวตะ
ซึ่งเป้นสำนักเวทานตะพวกหนึ่ง ปรัชญาไทวตะ ยืนยัน ทวิภาวะ หรือความต่างกัน 2 อย่าง 5 ประเภทที่เรียกว่า ปัญจเภทะ
1.พรหมัน(พระเจ้า) กับ ชีวาตมัน (อาตมันย่อยในแต่ละชีวะ)
2.พรหมัน กับวัตถุสสาร
3.ชีวาตมันกับสสาร
4.ชีวาตมันกับชีวาตมันแต่ละดวง
5.สสารหน่อยหนึ่งๆกับสสารอื่นๆ
คำสอนของท่านเน้น คล้ายท่านรามานุชะ ที่ว่า ชีวาตมันไม่อาจเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมันได้ พรหมันในทรรศนะของมาธวาจารย์คือ พระเจ้าแบบบุคคล คือ(พระวิษณุในรูปองค์พระกฤษณะ)

การหลุดพ้นจะมีขึ้นได้โดยอาศัยพระกรุณาของพระเจ้า

การชูสองนิ้วของท่าน ผมเข้าใจว่า เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงการตอกย้ำ เรื่องหลักปัญจเภทะ หรือ หลัก ไทวตะของท่านนั่นเองครับ
#164
Quote from: giftzy_69 on March 02, 2010, 05:50:18


องค์นี้ใช่พระนามว่าพระรังคนาถสวามี ครับ หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า พระศรีรังคนาถ
พระองค์เป็นเทวรูปหินสีดำ เป็นพระนารายณ์บรรทมสินธิ์ ที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่ง ตามตำนานเล่าว่า เมอื่พระรามปราบราวัณหรือทศกัณฑ์แล้ว พิเภกได้ทูลขอเทวรูปไว้บูชา พระองค์จึงประทานพระรังคนาถ(เอามาจากไวกุณฑ์โลก ถ้าจำไม่ผิด)พร้อมวิมานทองที่ประดิษฐาน  พิเภกแบกไปลงกา ระหว่างทางแวะพัก แต่เทวรูปเกิดไม่เขยี้ยน เลยต้องประดิษฐานไว้ ณ ที่ปัจจุบันนี้
เทวาลัยนี้เรียกว่า เทวาลัย ศรีรังคัมครับ ถือเป็นศูนย์กลางอีกแห่งของไวษณวนิกายในอินเดียใต้
ท่านรามานุชะ ถือว่า พระรังคนาถ เป็นองค์พระนารายณ์อวตาร มาด้วยพระองค์เอง เนื่องจากพระเจ้ามีพระกรุณามากต้องการให้สาวกได้ปรนนิบัติพระองค์ด้วยตนเอง เทวาลัยนี้จึงมีผู้ไปสักการะมาก แต่เขาไม่ให้เข้าดูพระรังคนาถนะครับ
ส่วนเทวรูปยืนเป็น "อุสวมูรติ"หรือเทวรูปสำหรับใช้แห่ครับ
#165
Quote from: giftzy_69 on March 03, 2010, 05:37:33






ท่านผู้นี้คือท่าน ตยัฆราชครับ

เป็นนักประพันธ์เพลงและนักดนตรีที่มีชื่อมาก ของอินเดียใต้ เป็นหนึ่งในสามอภิมหานักดนตรีหรือสามเทพเจ้าแห่งการณาฏกสังคีต
คือ ท่านมุธุสวามี ทิษิตร์ ท่านสยาม ศาสตรี และท่านตยัฆราช(ในอินเดีย นักดนตรี กวี และนักบุญมักเป็นคนๆเดียวกัน)

ท่านเกิดวันที่ 4 มิ.ย. คศ.1767

ท่านได้สละชีวิตฆราวาสเมื่อภรรยาตายลง ผลงานของท่านนับว่ามีชื่อเสียงมาก ยังคงนำมาขับร้องกันในปัจจุบัน
และท่านยังแต่งอุปรากร 2 เรื่อง

ทั้งดนตรีและอุปรากรของท่าสนล้วนแต่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความจงรักภักดีในพระเจ้าทั้งสิ้น


ส่วนเทวรูปองค์ล่าง เป็นเทวรูปพระวิษณุเก่าแก่ อยู่ในเมืองปันธารปุระ อันธรประเทศ
มีพระนามหลายพระนาม เช่นพระวิฐฺฐล พระปาณฑุรังคะ ชาวบ้านเรียกกันในภาษาท้องถิ่น(มาราฐี)ว่า วิโฐพา
เทวรูปองค์นี้เป็นแรงบันดาลใจให้นักบุญหลายท่านครับ เช่นท่านตุการาม(แต่งอภังคะถวาย) ท่านชญาญเทวะ ท่าน ชัยเทวะ(แต่งหริปาฐะ)
แม้แต่นักบุญยุคใหม่อย่างท่าน คชานันมหาราช ก็ได้รับแรงบันดาลใจ
ทุกวันนี้ยังมีคนเดินทางแสวงบุญ ยังปันธารปุระอย่างมากมายครับ
(ผมก็อยากไป)
#166
สวัสดึครับ ผมขอโทษด้วยที่มาตอบช้าครับ


ข้าวสารที่ใช้ในพิธีนั้น ไม่ใช่ข้าวสารเฉยๆนะครับ มีการใช้ข้าวสารในสองลักษณะ
1. ข้าวสารย้อมด้วยสีต่างๆ อันนี้จะใช้เมื่อมีพิธีใหญ่ โดยข้าวสารย้อมสีเหล่านี้จะถูกนำมาจัดเป็น มณฑล หรือ "ปีฐ" อันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า ต่างๆ โดยมีการกำหนดรูปทรง สี และรูปร่างเอาไว้ครับ ซึ่งโดยมากจะมี ปีฐสำคัญๆคือ คเศณามพิกา(พระคเณศและพระเคารี), โษทศมาตฤกา,วาสฺตุปุรุษ,เกษตรปาล ,นวครหะ ฯลฯ โดยจะมีการวางเข้าสารเหล่านี้เป็นรูปร่างต่างๆครับ
2.ข้าวสารใช้ในการถวายบูชา อันนี้เรียกว่า อักษัต(อกฺษตฺ)
อักษัต จะเป้นข้าวสารย้อมหรือผสมด้วย ผงจันทน์ หรือผงขมิ้น หรือผงกุงกุมครับ
การใช้อักษัตในพิธี ใช้แทนบางสิ่งที่เราไม่สามารถถวายได้

เช่น ในพิธี เมื่อจะอาวาหน หรืออัญเชิญก็จะถวายข้าวอักษัต เมื่อปราณปรติษฐาก็ใช้
เมื่อจะถวายอาสนะ ก็ใช้สิ่งนี้ หรือดอกบัว หรือใบมะตูมอันนี้แล้วแต่เทพท่านครับ
เมื่อจะวิสรชันหรืออัญเชิญกลับก็ใช้ข้าวสารนี้


บางครั้งใช้แทนเครื่องบูชารวมๆ ในกรณีที่ถวายบูชาอย่างย่อๆ โดยใช้พร้อมกับดอกไม้ก็ได้

เช่น โอมฺ ศรีคเณาศาย นมะ สรฺโวปจารรฺเถ อกฺษตปุษปํ สมรปยามิ
(ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระคเณศ  ขอถวายอุปจาระทั้งหลาย(การบูชาด้วยขั้นตอนต่างๆ ) ด้วยดอกไม้และอักษัตนี้)


ส่วนเมื่อเวลาแต้มจันทน์ หรือเจิมแล้ว แล้วพรามหณ์ท่านจะถวายอักษัตด้วย

ใช้แทน เครื่องประดับตกแต่งต่างๆครับ

โดยท่านจะสวดว่า โอมฺ.................... นมะ  อลํการวิภูษิตํ อกฺษตานฺ สมรปยามิ ครับ


อักษัตนี้ถวายเทวดาได้เกือบทุกองค์เว้นแต่ พระวิษณุ และอวตารของพระองค์ครับครับ

เป็นธรรมเนียมที่จะไม่ถวายอักษัตแก่พระวิษณุ เว้นแต่ในวันอักษยะ ตฤตียา เท่านั้น ในรอบ 1 ปี



ส่วนงาดำ โดยปกติ จะถวาย ในสาม ลักษณะ คือ 1 ถวายลงในกุณฑ์ ในขณะบูชาไฟ
2.ใช้ในเวลาถวายน้ำอุทิศแก่ ปิตฤ หรือเทพบิดร หรือบรรพบุรุษ โดยผสมลงในน้ำ แล้วทำการ "" ตรปณมฺ" หรือถวายน้ำ
3.ใช้สรงพระศิวลึงค์ เรียกว่า ติลสนานมฺ แต่เข้าใจว่าทำในบางพิธีเท่านั้นครับ

ผมไม่เคยเห็นการเจิมด้วยงาดำครับ
#167
[

และการเจิมติลักษณ์บริเวณหน้าผากนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิง (เจิมเหนือบินดิ) หรือฝ่ายชาย เหมือนที่เราไปให้พรามหณ์ที่วัดแขกเจิมแหละครับ แสดงถึง
ว่าเราได้รับพรจะพระท่านเมื่อเราได้ไปบูชาพระองค์มา เหมือนพระท่านอยู่กับเราตลอดเวลาครับ

ฝากไว้แค่นี้ครับ
[/quote]



จากรูปนะครับ

การเจิม ติลกฺ หรือ "ดิลก "ที่หน้าผากนั้น มีหลายความหมายครับ
ทั้งส่วนของการรับพร เรื่องสามีภรรยา และยังมีเรื่องเครื่องหมายที่บ่งบอกนิกายอีกครับ

ของที่ใช้เจิม จะแยกออกเป็นดังนี้
1.จนฺทน(จันดั๊น) ทำด้วยไม้จันทน์ฝน อาจผสมผงหอมเล็กน้อย ใช้ทั่วๆไปครับ ไม่ได้จำกัด อย่างวัดเทพมณเฑียรก้จะใช้แบบนี้
2.โคปีจนฺทน (โกปีจันดั๊น) อันนี้จะเหมือนกับดินสอพองของเรา ทำด้วยดินละเอียด ซึ่งได้จากเมืองมถุรา มักอัดเป็นแท่งๆ มีสีขาว สีเหลือง(ผสมขมิ้น) หรือสีส้ม จะใช้ในพวกไวษณวนิกายครับ ตามรูปข้างบนที่เป็นตัวยู หรือวี ถ้าเป็นสีขาวหรือสีเหลือง คือโคปีจนทน การเขียนเป็นยูหรือวี แทนสัญลักษณ์ พระวิษณุบาท ครับ
3.ผงภาสมะ หรือวิภูติ  อันนี้ทำจากขี้เถ้าครับ ซึงได้จากสามลักษณะ
3.1ขี้เถ้าจากพิธียัชญะกรรม โดยเก็บขี้เถ้าที่เหลือจากการโหมะ หรือการบูชาไฟมาจุลเจิม โดยมากจะเจิมทันทีหลังจากการบูชาไฟเสร็จสิ้น
โดยมักเจิมแล้วมักเป็นสีดำ ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มาก เจิมได้ทั่วไปไม่แบ่งแยกนิกาย
3.2ขี้เถ้าจากเผาศพมนุษย์ แต่เดิมจะใช้ขี้เถ้าเผาศพ ซึ่งโยคีนำมาทาตัวหรือเจิม เพราะถือว่าประพฤติวัตรเช่นเดียวกับพระศิวะ(โดยปกติถือว่าขี้เถ้าศพเป็นของอปมงคล ต้องผ่านพิธีกรรมและการบูชาพระศิวะก่อนจึงจะนำมาใช้) ปัจจุบันหายากมาก และมีการใช้ไม่แพร่หลาย ที่ยังคงใช้คือ วัดมหากาเลศวร ณ เมืองอุชเชน ที่พราหมณ์ปุโรหิต ยังต้องไปเอามาทุกเช้าจากที่เผาศพ เพื่อมาชโลมองค์พระศิวลึงค์ครับ นอกจากนี้ก็มักทำในพวกอโครี หรือนักบวชในไศวนิกายครับ(อันนี้สีขาว หรือออกเทาๆ)
3.3 ขี้เถ้าที่ได้จากการเผามูลโค และใบมะตูม อันนี้คือที่ใช้กันทั่วไปครับ มักมีการผสมเครื่องหอม มีขายตามร้านย่านค้าชาวอินเดีย เป้นของถวายพระศิวะ และใช้ในพิธีการเกี่ยวกับพระศิวะครับ
4.ขมิ้น หรือหริทรา  เป้นเครื่องประทินผิวของคนโบราณ
5.ผงกุมกุม หรือโลหรี มีสีแดง นักวิชาการคิดว่า สมัยโบราณคงใช้เลือดจริงๆของคนหรือสัตว์ที่ใช้บูชายัญมาเจิม แต่ต่อมาก้ใช้พืช หรือแร่ธาตุบางชนิดแทน หมายถึงพระแม่โดยเฉพาะครับ เพราะการบูชายัญด้วยสัตว์ เป้นกิจพิธี ในลัทธิศักติ และความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ต่างๆ (ในหนังสือ สนาตนปูชาวิธี ถึงเขียนว่า ห้ามเอากุมกุงบูชาพระนารายณ์ เพราะ พระนารายณ์เป็นคติการบูชาเทพผู้ชายที่พยายามเลิกการฆ่าสัตว์)
6.สินทูร(คนชอบไปเขียนว่า ซินดู๊ส บ้างอะไรบ้าง) มีสีส้ม เป็นแร่ชนิดหนึ่งใช้บุชาพระคเณศโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ของอย่างอื่นที่ใช้ประกอบหรือผสมในการเจิม เช่น ผงหอมแปดกลิ่น(อษฺฏคนฺธ)ผงจนฺทน แบบสีส้ม ผงเกสร ฯลฯ

ที่นี้ไล่มาตามรูปนะครับ
ที่เป็นตัวยูหรือวี เป็นของไวษณวนิกายหรือนิกายที่นับถือพระนารายณ์ทั้งหมด แต่แยกย่อยไปตามอนุนิกายอีกทีนะครับ มักอธิบายว่า ตัวยูนั้นคือ พระบาทของพระนารายณ์ ส่วนสีแดงตรงกลางหรือสีเหลืองตรงกลางหมายถึงพระลักษมี สีขาวทำด้วยโคปีจนฺทน ครับ

จากซ้าย(ผู้อ่าน)ไล่ไปขวา (แถวบน)
1.เป็นของนิกาย รามานันที ซึ่งก่อตั้งโดยสวามีรามานันทะครับ เป้นอาจารย์ของนักบวชและนักบุญสำคัญหลายท่าน เช่น สวามีนนารายัณ  ฯลฯ
2.นิมานันที  เข้าใจว่า เป็นของนิกายทของท่าน นิมพารกาจารย์ เรียกว่า ไทวตาไทวตเวทานตะ ซึ่งเป็นคณาจารย์รุ่นหลังของไวษณวนิกาย จุดสีดำเข้าใจว่าใช้ผงขี้เถ้าศักดิ์สิทธิจุลเจิม
3.วัลลภาจารย์ เป้นของนิกายของท่านวัลลภาจารย์ ซึ่ง เป้นนิกายที่เรียกว่า ศุทฺธาไทวตเวทานตะ(ถ้าจำไม่ผิด) เน้นที่องค์พระกฤษณะครับ
4.มาธวาจารย์ เป็นของนิกายของท่านมาธวาจารย์ ซึ่งเรียกว่าไทวตเวทานตะ ใช้กุงกุมทั้งหมด

ทั้งสี่นิกายนี้เป้นนิกายหลักๆของไวษณวนิกาย ที่ได้มุ่งเน้นที่องค์พระกฤษณะเป็นสำคัญ โดยนิกายทั้งสี่ได้ขยายความคิดมาจากนิกายของท่านรามานุชะอีกที
ชื่อเรียกนิกายที่ผมนำมาเป้นชื่อในทางปรัชญา (อาจมีชื่อเรียกอื่นๆในทางศาสนาครับ)
5.และ6 ทั้งสองอันที่มีสีเหลืองตรงกลาง เป็นของนิกายของท่านรามานุชะ ซึ่งเป้นผู้สถาปนาไวษณวนิกาย ทางอินเดียใต้ ที่เรียกว่า ศรีสัมปรทายะ
วัดที่สำคัญของท่านคือวัดที่ ติรุมาลา วัดพระศรีรังคัม  การแบ่งออกเป็นสองแบบ ผมเข้าใจว่า แบ่งตามอนุนิกายอีกที คือ
5. เข้าใจว่าเป้นของอนุนิกายวัทคไล
6.จของอนุนิกาย เตงคไล
สองอนุนิกายนี้สอนต่างกันนิดหน่อย ในเรื่องที่ว่า การจะหลุดพ้น ต้องอาศัยพระกรุณาของพระเจ้าแค่ไหน หรือมนุษย์ต้องทำอะไรแค่ไหน



แถวที่สอง จากซ้ายผู้อ่าน

เป้นของไวษณวะ ที่เป้นนิกายชั้นรอง และมีผู้นับถือไม่มาก
1.โคทนยสวามี อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆครับ
2.เภทิวาเล อันนี้ก็ไม่ทราบครับ
3.จตุรภุชี (แปลว่าสี่กร)อันนี้ก็ไม่ทราบ แต่อาจเป็นของอนุนิกายเคาฑิย(ไม่แน่ใจครับ)

4.อันนี้ของไศวนิกายครับ เขียนเป็นสามแถบ เรียก ตริปุณฑร จะเขียนแบบอื่นก็ได้ หรืออาจมีสีอื่นๆ วัสดุคือ ผงขี้เถ้า การมีสีอื่น ก็ด้วยการผสมวัสดุอื่นๆ เช่น ผงหอม ผงจันทน์ ลงในขี้เถ้า สามารถใช้ทั้งแบบเปียก ผสมน้ำ หรือเจิมแห้งๆก็ได้
6.อันยาวนี้ ของนิกาย กพีรปัณถี อันนี้เป้นของท่านนักบุญกพีรทาสครับ ซึ่งท่านเป็นผู้มที่พยายามผสานศาสนาฮินดูเข้ากับศาสนาอิสลาม และท่านมีอิทธิพลต่อศาสนาสิข ด้วยครับ
ถัดไป เป้นจุดสีแดง อันนี้ของศักตะนิกาย หรือนิกายที่นับถือพระแม่ครับ ซึ่งมักเจิมด้วยผงกุมกุมสีแดง


ถ้าไปวัดเทพมณเฑียร บัณฑิตท่านก็จะเจิมด้วย ผงจันทน์ สีส้ม ซึ่งได้จากไม้จันทน์ฝนผสมเครื่องหอมครับ

ถ้าไปวัดแขกสีลม พราหมณ์ท่านจะเจิมสองอย่าง สีขาวคือขี้เถ้าศักดิ์สิทธิ์ หมายถึงฑณธศิวะ และสีแดง คือพระแม่เจ้า ครับ

แต่ถ้าไปเที่ยวอินเดีย ไปวัดพระคเณศในมหาราษฏร์ พราหมณ์ท่านจะเจิมให้เราด้วยผงสินทูร สีส้มครับ
#168
ใช้นะครับ ดอกบัว

เพียงแต่คุณอาจยังไม่เห็นตอนที่กำลังใช้ แต่ลองไปสังเกตเถอะครับ จะเห็นบัวอยู่ที่เทวรูปแน่นอน

อีกทั้งในการทำพิธีบูชาอย่างเป็นทางการ
ต้องมีบัวด้วยเสมอ

การใช้บัวบูชาพระจะใช้ในขั้นตอนแรกที่เรียกว่า ปญฺจางฺคเทวตา ปูชา
ดอกบัวจะใช้เป็นตัวแทนพระธรณี(ปฤถวี) จุลเจิมดอกบัวนั่นแล้วบูชาด้วย ข้าวสารย้อม(อักษัตและดอกไม้ )ตั้งไว้ในมณฑลพิธี

จากนั้นเมื่อสถาปนากลัศแล้ว จะต้องมีดอกบัววางบนยอดของกลัศ (ถามครู ครูบอกว่า เสมือนที่นั่งของเทวดาวรุณ)
และเวลาถวายอาสนะ ใน การบูชา 16 ขั้นตอน มักใช้ดอกบัว
แทนอาสนของเทวดา
(สวดว่า โอมฺ ... นมะ อาสนํ กมลปุษปํ สมรฺปยามิ บอกชัดๆครับว่าเอาดอกบัวถวาย)

อีกครั้งนึงที่มักถวายดอกบัว คือการถวายบูชา 108 พระนามของเทวดา โดยเฉพาะพระศิวะ ของที่นิยมถวายคือ ใบมะตูม ดอกบัว ดอกรัก(มณฺฑาร)ฯลฯ


ในหนังสือ คเณศฺทรฺศนฺ ก็บอกว่าสิ่งหนึ่งที่พระคเณศโปรด คือ "กมลผูล" หรือดอกบัว
ในหนังสือ สตาตนปูชาวิธี ก็บอกว่า พระแม่ลักษมีโปรดดอกบัว

ในบทสวด ลิงฺคาษฏกมฺ ก็มีวรรคหนึ่งเขียนว่า ปงฺกชหารสุโศภิตลิงฺคมฺ แปลว่าศิวลึงค์อันประดับดีแล้วด้วยมาลัยดอกบัว

ผมไปอินเดีย ไปไหว้อษฺฏวินายกทีไร เห็นเขาาเอาบัวถวายทุกที

เวลาไปช่วยงานพิธีพราหมณ์ที่เป็นทางการ ก็มีดอกบัวในการบูชาทุกครั้งไป

(อันที่เขียนข้างต้นเพื่อจะบอกว่า โดยหลักพิธีการแล้ว มีการใช้บัวแน่นอน)


แต่ผมว่า ในชีวิตประจำวัน ชาวบ้านอาจไม่ได้เอาบัวถวาย เนื่องด้วยความไม่สะดวก หรือดอกไม้อื่นราคาถูกและหาง่ายกว่า
อย่างที่วัดเทพมณเฑียร วันธรรมดาๆ จะมีคนเอาดอกไม้มาขายให้บูชาก้มักมีเพียงดอกดาวเรือง และกุหลาบ ใน 1 ถุง(10บาท)
ส่วนบัว เขาจะขายแยกเป็นมัด ซึ่งโดยมาก คนจะซื้อกลับไปบูชาที่บ้าน หรือเอาไปใช้ในพิธีซะมากกว่าครับ จึงไม่ค่อยเห็น แต่ก็มีบ้างที่เขาเอามาบูชา ต้องมาดึงก้านออกเอง พับกลีบเอง ฯลฯถึงจะเอาไปบูชาได้ ผิดกับดาวเรืองและกุหลาบที่ดึงก้าน(บางทีตัดมาให้เสร็จ)ก็ถวายได้เลย คนที่มาวัดเขาจึงซื้อแบบถุงๆไหว้พระ สะดวกกว่า

ผมเข้าใจว่าในอินเดีย ชาวบ้านเขาก็เก็บดอกไม้เท่าที่จะหาได้ตามริมรั้ว ป่าข้างบ้านเอามาบูชาพระ ถ้าไม่มีบึงไม่มีบัว ก็คงจะหามาบูชาลำบาก ได้ดอกอะไรก็บูชาไป เดี๋ยวนี้เราซะอีกอยู่ในเมือง ดอกไม้ดีๆหาไม่ยาก แต่พวกของป่าๆที่เป็นของเฉพาะ ซึ่งใช้ในการบุชาเป็นพิเศษในบางพิธีการ หรือในตำรากลับหาได้ยาก อย่างพวก หว้า มะขวิด ใบศมี บางที่ หญ้าแพรก หรือใบมะตูมยังหายากเลย
ส่วนตามเทวสถานในอินเดีย ชาวบ้านที่มาขายเครื่องบูชา ก็เอาของที่หาได้ในแถบนั้นมาขาย เป็นส่วนใหญ่  แต่อย่างผมไปวัดพระแม่ลักษมีที่มุมไบ ทุกร้านขายดอกบัวสำหรับถวายครับ เพราะเขาเชื่อว่าพระแม่ทรงโปรด


ดังนั้น ผมจึงคิดต่างไปว่า มันไม่ใช่เรื่องความนิยมหรือไม่นิยม แต่เป็นเรื่อง "สะดวก" หรือ "ไม่สะดวก"
"เป็นพิธีการ" หรือ "ไม่เป็นพิธีการ" มากกว่า
#169
ครับ

ผมก็เห็นว่าศาสนนาฮินดูมีทั้งสองส่วนตามที่กล่าวมาครับ

แต่คนส่วนใหญ่มักละเลยมิติของปรัชญาความรู้ความคิด (แม้ว่าผมจะเป้นนักวิชาการ โดยอาชีพ แต่ผมก็เป็น "ศาสนิกชน" จึงมีมิติที่ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ หรือพยายามทำความเข้าใจด้วยสมองเฉยๆเพียงอย่างเดียว แต่ผมก็ใช้ใจด้วยครับ อันนี้เรียนเพื่อความเข้าใจกันและกันครับ อิอิ)

ผมว่า ถ้าเราสามารถทำให้คนสามารถสนใจทั้งสองส่วนได้ จะเป็นการดีต่อผู้ศรัทธาเองที่จะสามารถยกระดับตนเองไปสู่ความเข้าใจขั้นลึกต่อ ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับพระเป้นเจ้าได้
และผมว่า การเข้าใจในส่วนของปรัชญาความคิด ช่วยเราได้มากจริงๆนะครับ

เหมือนที่ชาวฮินดูสุภาพสตรีท่านนึง คืออาจารย์ กมเลศ กุมารีซึ่งเป้นผอ.ฝ่ายวัฒนธรรมของฮินดูสมาช บอกว่า
ถ้าเราไม่พยายามทำความเข้าใจในระดับลึกหรือมุ่งเน้นไปยังสารัตถะภายใน  เราจะวนเวียนอยู่ในวังวนของพิธีกรรมต่างๆนาๆ
ดังที่เห็นกันอยู่ทั่วไป
อีกอย่าง

อย่างที่ผมเรียนครับว่า ผมเองก็เป็นศาสนิกชน เป็น "ภักตะ" คนนึง จุดยืนของผม จึงอาจต่างจากนักมายาศาสตร์ หรือผู้สนใจทางเทวศาสตร์ อยู่บ้าง
เพราะในที่สุด ผมก็ไม่อาจปฏิเสธจุดยืน หรือคำอธิบายทางศาสนาได้ และเป้าหมายของผมก็เป้นเป้าหมายในทางศาสนา
สำหรับผม  เทวะคือ ภาพปรากฏพระเจ้า หรือ อปรพรหมัน ซึ่งเป็นการแสดงออกของปรพรหมัน หรือความจริงสูงสุด
ทิพยอำนาจของพระองค์สำหรับผม อาจเป็น mystics ในเชิงจิตใจ หรือปัญญาญาณครับ แต่ทั้งนี้ ผมมิได้ปฏิเสธ ทิพยอำนาจอื่นของพระองค์นะครับ
เพียงแต่อาจสนใจคนละจุดกันเท่านั้นเอง

แต่แน่นอนว่าความรู้อันหลากหลายช่วยทำให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆอย่างถี่ถ้วน ซึ่งในที่สุดแล้วเราต้องเป้นผู้เลือกวิถีในท้ายที่สุด

ผมมีพี่คนนึงซึ่งเป็นผู้สนใจทางมายาศาสตร์ และเทวศาสตร์ โดยเฉพาะเทวศาสตร์เปรียบเทียบ พี่เค้าจึงบูชาทั้งเทพจีน อินเดีย ไทย กรีก อียิปต์ ฯลฯ
ซึ่งแน่นอนว่า เทพเจ้าบางองค์มีความสัมพัยธ์กันทั้งในมิติทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ในมิติ ของมายาศาสตร์ หรือ อำนาจและพลัง

แต่ผมเองไม่สามารถบูชาเช่นพี่เขาได้ ผมก็คงบูชาแต่เทพฮินดูตามที่คุ้นเคยอ่ะครับ คงมิอาจบูชาเมพฝั่งตะวันตก เพราะผมยังรู้สึกแปลกๆ ทำนองไม่คุ้นเคยกับเทพจากโซนตะวันตกอื่นๆเหล่านั้นครับ
และเทพจีน(บ้าง บางพระองค์ ในฐานะบรรพชน เพราะผมเป็นฮกเกี้ยนหล่าง หรือลูกหลานชาวจีนอ่ะครับ)


อันนี้ถือว่าแลกเปลี่ยนความเห้นกันนะครับ
#170
Quote from: giftzy_69 on February 17, 2010, 11:54:24
กราบขอบพระคุณ พี่ตุล ศรีหริทาสมากๆคะ  สาธุ อิอิ

แหมมิต้องกราบขอบพระคุณอะไรขนาดน้าน 555555 สาธุครับ
#171
เรื่อง คติแบบรวมเข้า ของศาสนาฮินดูนี่ นับว่าเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญอันหนึ่งครับ

จริงๆแล้วศาสนาโบราณอื่นๆ ก็มีลักษณะเช่นที่ว่านี้เหมือนกัน แต่ศาสนาฮินดู ออกจะแปลกไปอย่างหนึ่ง คือ
ประการแรกศาสนาฮินดู เป็นศาสนาโบราณ ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ตราบในปัจจุบัน ดังนั้นทำให้เกิดความซับซ้อนบวกสับสน ในทางเทวตำนาน พิธีกรรม และความเชื่อ ของเก่าบวกใหม่ ของใหม่ทำเก่า ของเก่าดูใหม่ ฯลฯ

ประการที่สองศาสนาฮินดู ไม่ได้ดำรงอยู่ในฐานะศาสนาโบราณ ที่ยังผูกพันกับสังคมเกษตร และวิถีแบบชนเผ่า แต่ได้ผ่านการปรับปรุง พัฒนาในเชิงความคิด รวมทั้งการปะทะสังสรรค์กับพุทธศาสนาและความเชื่ออื่นๆ จนในที่สุด มีลักษณะของความเป็นปรัชญาความคิดที่ลึกซึ่งสูงส่ง  และยังพยายาม ตีความ"ของเก่า"ให้มีความลึกซึ่งอีกด้วย

กรณี พระทศมหาวิทยาก็เช่นเดียวกัน ผมเข้าใจว่า เดิมคงเป็นอย่างที่อาจารย์ออส และคุณกิ๊ฟ พูดถึง คือการรวบรวมเอาพระแม่ต่างๆมาไว้ในหมวดเดียว เช่นเดียวกับกรณีของเทพเจ้าอื่นๆ เช่น พระคเณศ พระศิวะ ปางต่างๆ
แต่ทศมหาวิทยา ถูกตีความในแง่ปรัชญามากเป้นพิเศษ อาศัยพื้นฐานของ ลัทธิตันตระ ทำให้พระแม่เหล่านั้นมีความหมายมากขึ้น

ทั้งนี้ ตัวลัทธิตันตระเอง ก็มีพื้นฐานมาจากความคิดโบราณเช่นเดียวกัน

ผมเห้นด้วยอย่างยิ่งว่าหากเรา ศึกษาศาสนาจากจุดยืนต่างๆ ทั้ง โบราณคดี จิตวิทยา สังคมศาสนา มานุษยวิทยา ฯลฯ เราก็อาจเข้าใจความเชื่อมโยงกับศาสนาอื่นๆ และเข้าใจความคิดมวลรวมของมนุษยชาติได้

และเราก็จะเข้าใจที่มาของตนเองด้วย


แต่ทั้งนี้ อย่างไรก้ตามศาสนาฮินดู ไม่ได้ดำรงอยู่ในฐานะ "ศาสตร์หรือภูมิปัญญาโบราณ" เท่านั้น แต่ยังดำรงอยู่ในศาสนนาที่มีความเชื่อ หลักศรัทธา และปรัชญาที่ซับซ้อน จุดยืนต่อเทพเจ้า และความเชื่อในศาสนาฮินดูจึงมีต่างๆกัน
#172
Quote from: giftzy_69 on February 15, 2010, 21:04:23
พระกาลีปางนี้  แม่บอกว่ารับแต่หนม  ส่วนเลือด งดไว้ก่อน 55555  น่ารักจัง




   


รูปนี้ที่คุณกิ๊ฟเอามา คือรูป ท่านสวามีรามกฤษณะ ปรมหงส์ และภรรยาท่าน

ซึ่งตามประวัติของท่านเล่าว่า ท่านได้พำนักอยู่ ณ เทวาลัยทักษิเณศวร ในกัลกัตตา
ซึ่งเป็นวัดของพระแม่กาลี ตามความนิยมนับถือของชาวเบงคอลีทั่วๆไป
เล่ากันว่า วันหนึ่งท่านได้สวดอ้อนวอน จนเทวรูปพระแม่กาลีในวัดเสด็จลงมาจากแท่น มารับเอาเครื่องบูชาอาหารต่างๆ และให้ภรรยาท่านปรนนิบัติด้วยตนเอง

ท่านมรณภาพ ในปีพ.ศ. 2429 และเป็นครูของท่านสวามีวิเวกานันทะ นักบวชที่มีชื่อเสียงทั่วโลก
#173
คือเรื่องสันสกฤต นี่ผมมีความคิดเห็นอย่างนี้ครับว่า

เวลาปริวรรต ควรจะเป็นไปตามที่อาจารย์ท่านกำหนดไว้แล้ว ตามกฏของการปริวรรต

เช่น การใช้พยัญชนะ สัญลักษณ์ พินทุ วิราม ฯลฯ
เพื่อรักษาตัวคำไม่ให้ผิดเพี้ยน

ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาต่อไปคือการออกเสียง เพราะตามหลักการออกเสียง
มันจะไม่ตรงรูป

เช่น เทว เป็น เดเว๊อะ

ท่านว่า เรื่องการออกเสียงนี้ ก็เรียนรู้ไปจากชาวอินเดียโดยตรง  โดยคงรูปวิธีการเขียนตามเดิมไว้


หรือจะออกเสียงแบบไทยในกรณีที่ไม่ใช่มนตร์สำคัญหรือพวกไวทิกมนตร์

#174
ผมก็เห็นมาตั้งนานแล้วครับปัญหานี้

โดยเฉพาะในกลุ่ม กฤษณะจิตสำนึกนานาชาติ หรือฮะเรกฤษณะ

หนังสือต่างๆที่เค้าแปล เขียนแนวนั้นทุกเกือบทุกเล่ม

ของฮินดูสมาชก็มีน้อยกว่า  ผมเคยเข้าไปเรียนท่านอาจารย์บัณฑิตเรื่องปัญหานี้

ท่านก็เข้าใจ แต่ท่านบอกว่า บางที หนังสือเหล่านี้ คนไทยเชื้อสายอินเดียหลายท่านเป้นผู้แปล ซึ่งอาจไม่เข้าใจหลักสันสกฤต และการปริวรรต เข้าภาษาไทย
ก็เลยเอาตามเสียงที่ตัวเองออก เช่น เทวะ ที่เค้าออกเสียง เดเว่อะ เค้าก็เขียนเดเว่อะ ไปตามนั้น


อันนี้คนไทยที่รู้สันสกฤต คงต้องช่วยกันอ่ะครับ

เรื่องนี้ผมเองก็พูดมานานแล้ว
#175
เอ่ออ

จริงแล้วปางที่นอน โดยทั่วไปเขาเรียกว่า
ปาง "ไสยาสนคณปติ" แปลว่าพระคณเณศในอิริยาบถนอนอ่ะครับ
ไสยาสน ไสย (นอน) + อาสน (ท่า)

ดังนั้น คุณตริศังกุ ก็ไม่ได้ผิดอะไรมากมายครับ
จะนอน ตะแคง นอนหงาย นอนคว่ำ นอนท่าไหน โดยมากก้เรียกว่า ไสยาสนคณปติครับ


ส่วนชื่อปางเสวยสุขนั้น เป็นปางที่คิดขึ้นใหม่ และชื่อนี้ ท่านอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรท่านหนึ่ง คิดรูปแบบพระคเณศ ในท่า กึ่งนั่งกึ่งนอน หรือเอกเขนก ครับ และเรียกว่า "ปางเสวยสุข"

ดังนั้น ในวงการพระเครื่องเมืองไทนยเมื่อเจอพระคเณศ กึ่งนั่งกึ่งนอน หรือเอกเขนก ก็เรียกว่า ปางเสวยสุข ตามที่อาจารย์ท่านนั้นเรียกครับ
ซึ่งเป็นการคิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่คติเดิมครับ  ทั้งรูปแบบ และชื่อ
แต่ก็เรียกขานกันโดยทั่วไป จนเป็นที่รู้กันครับ
ดังนั้น จะเรียก ไสยาสน ก็ไม่ผิด
แต่คนทั่วๆไปมักเรียกว่า เสวยสุข ครับ ซึ่งกลายเป็นชื่อที่รู้กัน
เรียนมาเพื่อทราบครับ
#176
ขอบคุณน้องอักษรชนนีที่ นำข้อมูลเก่าๆมาลงให้ใหม่ครับ
#177
ปัญจตัตวะ เป็นนักบุญ ในไวษณวนิกาย ฝ่ายเคาฑิยะ
ถือกันว่า เป็นภาคแสดงของพระกฤษณะ บนโลก ที่สำแดงออกมาเป็น 5 บุคคล

จากซ้าย(ของเรา) อทไวตาจารย์(โดยปกติทำเป็นรูปชายแก่) ท่านนิตยานันทะ ท่านไชตันยะ มหาปรภู(ผู้นำปรัชญาฝ่าย อจินตยเภทาเภทะ ในนิกายเคาฑิยะ ถือว่าเป็นพระกฤษณะอวตาร)
ท่านคะธะธระ และท่านศรีวะสะ (โดยปกติทำเป็นรูปชายหนุ่ม ปลงผมแบบฮินดู)ครับ
#178
ที่วัดเทพมณเฑียร เข้าใจว่า จักวันที่ 12 ครับ โดยจะเริ่มพิธีประมาณ 18.00 น.
เริ่มจากการอารตี
จากนั้น ประมาณ 19.00 น. จะเริ่มการอภิเษกบูชาพระศิวะ ไปจนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืน โดยจะมีการภชันและอารตี เป็นเสร็จพิธีครับ
#179
ใครสนใจติดต่อ คุณเชน  (กรรมการและผู้ประสานงาน)ได้เรยครับ สอบถามเพิ่มเติม   081-8286262     089-1087249
#180
ตามรายละเอียดที่ได้แจ้งไว้ในบอร์ดโน้นครับ

เรื่องงานมหาศิวราตรีที่จะจัด ณ ลานคนเมือง กทม


ส่วนนี้คือรายละเอียดเรื่องเจ้าภาพและการบริจาค ครับ

ช่องทางการร่วมสนับสนุนโครงการพิธี “มหาศิวะราตรี”

งาน                                          จำนวนที่ต้องการ                     บริจาคหน่วยละ

ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน                  8                             1 ล้านบาท
ถวายการบวงสรวงโดยพราหมณ์ไทย            3                              250,000บาท
ถวายกลัศโดยพราหมณ์ฮินดู                    30                            30,000 บาท
ร่วมพิธีบูชาศิวะลึงค์                           200                            3,500บาท
ถวายการแสดงบวงสรวง                        6                              50,000บาท
อาหารถวายพราหมณ์ฮินดู                      9                              10,000 บาท
การบริหารจัดการสถานที่จัดงาน               3                               30,000บาท
บริจาคตามกำลังศรัทธา                     ไม่จำกัด                          ไม่จำกัด


หมายเหตุ      1. ผู้ที่ร่วมบริจาคในรายการที่ 1,2 จะได้เข้าเฝ้ารับประทานของที่ระลึกจากพระองค์เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
                2. ในการจัดงานนี้มิได้เป็นไปด้วยการหาผลกำไรแต่อย่างไร รายได้จากการจัดงานทุกบาทหลักจากหักค่าใช้จ่าย  จะนำขึ้นทูลเกล้าถวายในโครงการพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา
#181
จริงๆผู้ประสานงานนี้  เค้าบอกผมว่ายังต้องการเงินบริจาค และยังต้องการเจ้าภาพ ตลอดการประกอบพิธีอยู่นะครับ

โดยได้มีการกำหนดอัตราการบริจาคต่างๆเอาไว้  แต่ทั้งนี้ ผมเกรงว่า เอามาลงในในนี้จะไม่เหมาะตามกฏของบอร์ด ดังนั้นใครที่สนใจอยากรู้เรื่องการบริจาคผมจะเอาไปโพสในประชาสัมพันธ์แล้วกันครับ


และผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับส่วนของเงินๆทอง ผมเพียงแต่ช่วยในส่วนพิธีกรรมของพราหมณ์ฮินดูเท่านั้นครับ
#182
ในงานนี้

1. เปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้ที่มีจิตศรัทธา ร่วมเป็นเจ้าภาพในพิธีบวงสรวงของพราหมณ์ไทยในแต่ละวัน วันละ 1 รอบ
2. เปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้ที่มีจิตศรัทธา ได้ทำบุญและเข้าร่วมในพิธีบูชาพระมหาเทพ
    และพิธีสรงองค์ศิวะลึงค์ ที่จะจัดขึ้นไปพร้อมๆกันกับปรัมพิธีในเวทีกลาง
3. รายได้จากผู้ที่ประสงค์ที่จะให้พราหมณ์ฮินดูประกอบพิธีถวายกลัศถวายต่อองค์มหาเทพ
4. รายได้จากการทำบุญในส่วนของการออกร้านในกลุ่มของเอกลักษณ์และกลิ่นไอชมพูทวีป
5. รายได้จากกระทำบุญตามจุดต่างๆที่ได้กำหนดขึ้นในบริเวณงาน
#183
กรุงเทพมหานคร ฯ มูลนิธิพระพิฆเนศ และสมาคมฮินดูสมาช
ขอเรียนเชิญ ท่านร่วมเป็นเกียรติในงานมหาพิธี "ศิวะราตรี"
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 10.00น
ณ ลานคนเมือง หน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ขอเชิญเฝ้าทูลละอองพระบาท
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี  พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จเป็นประธาน
พระครูญาณสยมภูว์ (ขจร  นาคะเวทิน)
ประธานคณะกรรมการจัดงานมหาศิวะราตรี
การแต่งกาย  ข้าราชการ       - เครื่องแบบปกติขาว                              สอบถามเพิ่มเติม   081-8286262<o:p></o:p>
            ผู้มีเกียรติรับเชิญ  -ไทยนิยม หรือ สากลนิยม                                                          089-1087249
#184
สาธุครับ ผมคงต้องไปช่วยบัณฑิตพรหมานันทะครับงานนนี้คงต้องไปแน่ๆ
#185
กำหนดการพิธีมหาศิวะราตรี

วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2553
เวลา 08.09 .            เริ่มพิธีบวงสรวง โดย ท่านพระครูญาณสยมภูว์(ขจร นาคะเวทิน)พราหมณ์จากสำนักพระราชวัง
เวลา 09.30 น.       ผู้มีเกียรติลงทะเบียนและคณะกรรมการพร้อมรอรับเสด็จ
เวลา 11.00 .             พิธีเปิดมหาศิวะราตรีอย่างเป็นทางการ  โดย
                       พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ  
เวลา 13.00 .            พิธีกรรมล้างบาป (ชำระกายให้บริสุทธิ์)
เวลา 15.00 น.             พิธีอัญเชิญเทวดาลงมาสู่มณฑลพิธี
เวลา 18.00 .             พิธี อารตีบูชาไฟ

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553
เวลา 08.39 น.             เริ่มพิธีบวงสรวง โดย พราหมณ์จากสำนักพระราชวัง
เวลา 10.00-12.00 น.      พิธีอัญเชิญเทวดาทั่วท้องจักรวาล
เวลา 13.00-14.00 น.      เสวนาจากผู้รู้  หัวข้อเรื่องเทวะศรัทธา
เวลา 15.00-17.30 .      พิธี บูชาองค์พระศิวะ
เวลา 18.00-19.00 น.      การแสดงบนเวที บันเทิง
เวลา 21.00-24.00 น.      พิธีมหาศิวะราตรี โสดสรงองค์ศิวะลึงค์

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553
เวลา 08.39 .             พิธีบวงสรวง โดย พราหมณ์จากสำนักพระราชวัง
เวลา 10.00-12.00 น.      พิธีบูชาพระศิวะทั่ง 108 พระนาม
เวลา 13.00-14.00 น.      บันเทิง การแสดงบนเวที
เวลา 14.00-16.00 น.      พิธีบูชาไฟ
เวลา 16.00-18.00 น.      พิธีประสาทพรให้กับผู้ที่มาร่วมในพิธี
เวลา 18.00-21.30 น.      เฉลิมฉลอง การแสดงบนเวที  บันเทิง
#186
พอดีมีคนมาถามถึงมหาศิวราตรีในปีนี้ครับว่าที่ไหนยังไง  และวิธีถือพรตปฏิบัติตน


โดยปกติ ในมหาศิวราตรีจะมีการวรัต หรือการถือ พรต (ทั้งนี้การถือพรต ให้เป็นไปตามสภาพของร่างกายที่จะรับไหว และเงื่อนไขอื่นๆด้วย เช่นโรคประจำตัว อายุ กิจกรรม
เพราะเป้าหมายของการถือพรต เป็นการชำระจิตใจ เน้นเรื่องใจเป็นสำคัญครับ)

โดยปกติ ถ้าไม่เป็นเด็ก ผู้ชรา หรือมีโรคประจำตัว ในมหาศิวราตรีจะถือพรต
โดยการอดอาหารตั้งแต่อรุณของวันนั้น จนถึงอรุณของอีกวัน
คนที่ไม่สามารถ เพราะร่างกายไม่อำนวย อาจดื่มนมได้บ้าง แต่ผู้ที่เคร่งครัดและพร้อม ก็จะไม่รับประทานอาหารใดๆ เว้นแต่น้ำเปล่า
วันนั้นตื่นแต่เช้า อาบน้ำชำระกาย สวมรุทรากษะ เจิมผงภัสมะ ที่หน้าผาก และสวด มนตร์โอมฺ นมะศิวายะ ตลอดทั้งวันทั้งคืน

ในเวลาหัวค่ำพากันไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ของพระศิวะ ทำการบูชาตลอดราตรี


ผมเคยเรียนถามท่านบัณฑิตลลิตว่า ถ้าผมไม่ว่างมาวัดจะทำบูชาที่บ้านได้มั๊ย

ท่านบอกว่า ควรหาทางมา "ทรรศัน" หรือมานมัสการพระศิวลึงค์ให้ได้ซักนิดหน่อย แล้วค่อยกลับไปบ้านครับ

โดยปกติผมจะไปบูชาที่วัดเทพมณเฑียรโดยเอาศิวลึงค์ของตัวเองไปด้วย โดยพราหมณ์ท่านจะทำการสวด รุทรปรัสนา(หรือ รุทราษฺฏาธยายี) จากคัมภีร์ยชุรเวทครับ
ซึ่งเป็นมนตร์ขนาดยาวที่ศักดิ์สิทธิ์มาก
เด๋วไว้ผมจะมาบอกว่า คนที่สนใจจะไปทำบูชา ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง


แต่ปีนี้มีผู้ที่รู้จักแจ้งมาว่าจะมีการจัดบูชามหาศิวราตรีอย่างยิ่งใหญ่ที่ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกทม โดยจัดถึงสามวันสามคืนครับ
ตั้งแต่ 11 -13 โดยพระองค์โสมท่านจะเสด็จมาเป้นองค์ประนเปิดงานด้วยครับ

รายระเอียดตามนี้เรยครับ
#187
ตามที่คถณตริศังกุบอกว่า

"ถ้าลงท้ายสระ อี เปลี่ยนเปน ไอ

ของพระแม่ลักษมี
โอม คฺลิมฺ ลกษฺมฺไย นมะ

พระแม่สุรัสวดี
โอม ไอมฺ สรสฺวตฺไย นมะ หรือ โอม คฺลีมฺ สรสฺวตฺไย นมะ

ลกฺษฺมี บางทีเปลี่ยนได้2แบบ ลกฺษฺมฺไย หรือ ลกฺษฺมเย บางทีก็เป็น ลกฺษฺมีเย"

อันนี้ผมขอชี้แจงนะครับ

ผมเข้าใจว่า ไม่สามารถเป็น ลกฺษมีเย ได้
ด้วยเหตุผลว่า

ในหลักภาษา สันสกฤต

การผันคำนาม จะต้องเป็นไปตามกฏ ตามเพศ การันต์(สระและอักษรท้ายคำ) และพจน์ของนาม
เช่น คำว่า คเณศ (คำนามนี้เพศชาย อะการันต์(สระท้ายคำเป็นอะ))
เวลาเราจะ ใช้คำที่มีความหมายว่า  "แด่พระคเณศ"
คำว่า แด่ ในสันสกฤต เราใช้การผันวิภักติเอา

แด่ แก่ ต่อ ตรงกับวิภักติที่ 4  คำนามเพศชาย(ปุลลึงค์) เอกพจน์(พระคเณศองค์เดียว)
คือการเติม -าย ท้ายนามนั้น
คเณศก็จะกลายเป็น
คเณศาย  ---แด่พระคเณศ

ในทางเดียวกัน

ลกฺษฺมี คำนามเพศหญิง(สฺตรีลิงค์) เอกพจน์ อี การันต์ (ลงท้ายสระอี)
เราต้องการแปลว่า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระลักษมี

"แด่พระลักษมี" ใช้วิภักติที่ 4 (แด่แก่ต่อ) แต่เนื่องจากเป้นคำนามเพศหญิง ลงท้ายอี (เอกพจน์)ตามกฏ
จะต้องเป็น การตัด อี ท้ายคำนั้น และเติม -ไย

จึงกลายเป็น ลกฺษมฺไย และไม่มีการผันเป็น ลกฺษฺมีเย
ซึ่งลกษฺมีเย เป็นการผันนาม ตามกฏการผันคำนามเพศชาย อิการันต์ เช่น คณปติ จะกลายเป็น คณปตเยซึ่งผิดกฏการผันนามครับ


เทวดาผู้หญิงองค์อื่นๆ ถ้าเป็นคำนามอีการันต์
(หรือการันต์อื่นๆ เช่น อาการันต์ ฯลฯ)ก็ใช้กฏการผันเดียวกันนี้ เมื้อจะใช้เป็นวิภักติ์ที่ 4
ตย. สรสฺวตี--- สฺรสฺวตฺไย
เทวี---เทวฺไย
คํคา--คํคาไย
ศิวา--ศิวาไย

เป็นต้น

ดังนั้น ไม่มี ลกฺษฺมีเย
แต่เป็นลกฺษฺมฺไย ครับ

(เท่าที่ผมทราบและเรียนมาแบบนี้นะครับ   แต่เกิดเป้นข้อยกเว้นพิเศษตามหลักไวยากรณ์หรือไรงี้ ก็รบกวนชี้แจงแก้ไขด้วยครับ)


เด๋วนี้ ปัญหานี้เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยแล้วครับ แบบว่าตั้งมนตร์กันเองโดยไม่คำนึงถึงกฏทางภาษา
คณปติเย นะมะฮา อันนี้ผมเห็นบ่อยสุดครับ ถือว่าช่วยๆกันนะครับ


เรียนชี้แจงเพื่อความถูกต้องครับ
#188
ผมขอเสริมและลองเดาดูนะครับ
ฤษีองค์ที่เตี้ยๆ ที่อยู่ด้านขวา ผมเข้าใจว่า เป็น อคัสตยมุนี นะครับ(ตรงนี้คิดต่างจากท่านออสหน่อย ที่ท่านว่า เป็น วามน)
เพราะตามตำนานเล่าว่า พระอคัสตยมุนี เป็นฤษีตัวเตี้ย และรูปนี้เป็นรูปที่ทำที่ภาคใต้ของอินเดีย
ซึ่งชาวทมิฬถือว่าพระอคัสตยมุนี เป็นครูของพวกทมิฬที่นำพระเวทและธรรมข้ามเขาวินธัย ไปสอนชาวทักษิณทิศ
อีกประการหนึ่ง พระอคัสตยมุนี นับเนื่องด้วยพระศิวะ ในแง่ที่ว่า บางพวกก็ถือว่า เป็นพระศิวอวตารครับ

ส่วนองค์ที่มีท่อนล่างเป็นงู ผมก็มีมุมมองต่างออกไปบ้างนิดหน่อย
และคิดว่าไม่ใช่พระเกตุ (ผมว่า พระเกตุอยู่ด้านบนเช่นเดียวกับคุณออสบอก)
เหตุเพราะ

ประการแรก
ถ้าจำไม่ผิด เทวดาพระเกตุ ไม่ใช่ฤษี ในประติมานวิทยาของอินเดียมักทำเป็นรูปคนที่ไม่มีศีรษะ มีหางเป็นงู ถืออาวุธ(หัวคือพระราหู)
จึงไม่น่าจะทำเป็นฤษี น่าจะอยู่ในคณะเทวดามากกว่า(ซึ่งคุณออสได้บอกไว้แล้วว่าอยู่ในคณะเทวดาในชั้นเมฆที่สอง
และสาม)
อาจเป็นพระเศษนาคก็เป็นได้ เพราะรูปลักษณ์ และการจัดวางตำแหน่งที่อยู่ร่วมกับพระนนทิ ซึ่งสถานภาพแบบเดียวกัน คือบริวารของเทพผู้ใหญ่
แต่ผมไม่แน่ใจว่า พระเศษนาคเป็นฤษีด้วยรึป่าว

ผมจึงคิดต่างออกไปว่า อาจเป็นรูปพระมุนี ปตัญชลิ ผู้รจนาโยคสูตรก็ได้ พระมุนีปตัญชลินี้ ตามตำนานกล่าวกันว่า ท่านเป็นพระเศษนาคอวตาร ในรูปเคารพจึงมักทำในรูปของฤษีที่มีศีรษะเป็นนาคก็มี หรือทำเป็นรูปฤษีที่มีท่อนล่างเป็นนาคก็มี

และแม้ว่าจะเป็นเศษนาคอวตารก็ตาม แต่ในแง่ความเชื่อก็มีความสัมพันธ์กับพระศิวะ ในแง่ของโยคะ และการบำเพ็ญพรต

อันนี้ลองคิดต่างดูนะครับ

ส่วนพวกตัวเตี้ยๆล่างผมก็เข้าใจว่าเป็นพวก "คณะ" เช่นกันครับ

และเหตุผลที่นำเอาอวตารบางส่วนไปรวมกับพวกฤษี จะเห็นได้ว่า มีแต่อวตารแปลกๆเท่านั้น
(จะสังเกตว่าไม่ใช่ทศาวตาร หรืออวตารหลักทั้ง 10 เพราะอวตารเหล่านี้ ส่วนใหญ่เมื่อหมดภารกิจแล้ว ก็กลับไปรวมเข้ากับพระนารายณ์เหมือนเดิม เว้นแต่บางองค์ที่เชื่อว่ายังอยู่ เช่น พระปรศุราม เป็นต้น)
เช่น พระหัยครีวะ เพราะ พระหัยครีวะ เป็นอวตารพิเศษ ที่มีอยู่อย่างไม่ได้แพร่หลาย
นัยว่าเดิมเป็นเทพเจ้า ประเภท หัวหน้าของภูติหรือเจ้าที่ (ในบางตำนานว่าเป็นอสูรก็มี)และถูกยกสถานะขึ้นมา   ในบางท้องถิ่นก็ยังคงเคารพพระหัยครีวะในแบบเดิม คือเป็นแต่เจ้าประจำที่ แบบ เกษตรปาล (เช่นเดียวกับพระไภรวะ)ผมจึงเข้าใจว่า ได้นำไปรวมกับฤาษีต่างๆที่เป็นระดับ ภาคพื้นดิน
เพราะรูปที่นำมามีการแบ่งลำดับของเทวดาตามความเชื่ออย่างชัดเจนครับ

อ่อ รูปนี้เรียกว่า  คชสํหารมูรฺติ ( (คชสังหารมูรติ)
เข้าใจว่า เรื่องนี้ไม่มีใน ปุราณะฝ่ายสันสกฤต แต่เป็น ปุราณะของฝ่ายทมิฬเท่านั้น

ต่อเนื่องจากที่พระศิวเสด็จไปปราบพวกฤษีมิจฉาทิฐิที่ ป่าติลไล แล้วพวกฤษีใช้ช้างคลั่งมาทำร้าย พระศิวะก็ถลกหนังช้าง อย่างที่เห็นครับ
#189
ขอขอบพระคุณทุกท่านด้วยความซาบซึ้งใจจริงๆครับ ไม่ว่าจะเป็นท่านกาลปุตรา คุณโหราน้อย น้องคิวอักษรชนนี คุณลองภูมิ คุณกาลิทัส คุณเทวาเหนือเกล้าและคุณสิรวีย์ด้วยครับ

งานเหล่านี้ค่อนข้างช้า เพราะผมทำต่อเมื่อมีเวลาไตร่ตรองและสบายใจครับถึงจะทำ และตัวเองเป้นผู้รู้น้อย จึงค่อยๆทำไป ตรงไหนสงสัยก็ค้นคว้าไปด้วย งานจึงช้า แต่ผมก็พอจะทำอะไรให้พระท่านได้เท่านี้ ตามประสาครูจนๆพอจะทำได้

ถ้าคืบหน้ายังไง จะมาบอกแน่นอนครับ
ขอบคุณในกำลังใจอีกครั้งนะครับ ทั้งท่านที่เยนามและไม่ได้เอ่ยนาม ขอพระอวยพรครับ


คุณสิรวีย์ครับ แหม พอพูดถึงอาจารย์กรุณาแล้ว ผมละตื้นตันในอก
เพราะผมได้เคยเขียนจดหมายไปกราบท่านครั้งนึงแล้วท่านมีเมตตาตอบมา อีกอย่างอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ครูที่ผมเคารพที่สุดท่านนึงก็นับถืออาจารย์กรุณาสุดหัวใจ
สำหรับผมแล้วอาจารย์กรุณาเป็นเขาพระสุเมรุยิ่งใหญ่ไพศาล ผมแค่ธุลีดิน เปรียบกันไม่ได้เรย ท่านเป็นสุริยาทิตย์ผมเป็นหิ่งห้อนด้อยแสง
มิกล้าแทนท่านจริงๆ แต่ถือเอาท่านเป็นแรงดลใจ เป้นครูท่านหนึ่งของชีวิต
ผมมิกล้าแทนท่าน แต่จะเดินตามรอยทางที่ท่านเดินไปก่อน ไปสู่ที่ๆท่านมุ่งไปครับ

ส่วนการฝากตัวเป็นศิษย์ แหม ผมล่ะเขิลล์ มิกล้าจริงๆครับ แต่ก็ขอขอบคุณครับ
ขอรับความรู้สึกนั้นไว้ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และหากมีอะไรให้ผมช่วยได้ในทางวิชาความรู้ ผมก็จะช่วยด้วยความยินดีครับ

ดีใจครับที่ชอบคเณศวิทยา ทั้งๆที่หนังสือไม่ได้พิมพ์สวยงามและมีข้อผิดพลาดค่อนข้างมาก
#190
คุณสิรวีย์ครับ แหม ผมก็อยากจะรับอาราธนา แต่งานประจำวันมันก็มากมาย แต่เรื่องทำหนังสือเกี่ยวกับศาสนาฮินดูนี่ผมบ่ยั่ยครับ เพราะมีโครงการในใจแว้ว หลายอย่าง ครับ
1.ผมแปลบทสวดมนตร์ประจำวันและประจำสัปดาห์ของวัดเทพมณเฑียรเสร็จแล้ว กะว่า จะเพิ่มเรื่องการบูชาและภาวนา ซึ่งคงต้องหาทุนพิมพ์ต่อไป เพราะกะแจกครับ
2.ผมกำลังแปลบทสวดมนตร์อื่นๆที่สำคัญ ตอนนี้ที่เสร็จไปแล้ว คือ รามรักษาสโตตร, นวครหะ สโตตร, โตฏกศตกมฺ(บทสวดถึงท่านศังกราจารย์),คุรุปาทุกาสโตตร, และที่มาจ่อคิวอีก คือ คงคาสโตตร, วิษณุศตปาที, ฯลฯ อันนี้คือที่เป็นบทสวดสั้นๆ รวมๆกัน
3.กะแปล รามจริตมานัส ของท่านโคสวามีตุลสีทาส แต่จะเอาเฉพาะ สุนทรกาณฑ์ก่อน
4.แปล คณปตยาถวรศีรษะ หรือ คเณศอาถวรศีรษะ จากคัมภีร์พระเวท
5.แปล คัมภีร์อวฑูตคีตา ของท่านคุรุทัตตะ แต่อันนี้จะแปลทั้งคัมภีร์ ซึ่งเป้นคำสอนที่หมดจด ลึกซึ้งมาก
6.คำสอนของท่านรามนมหาฤษี ว่าจะแปลบางส่วน
7.ส่วนที่เป้นงานวิชาการ กะว่า จะเขียนตำรา เรื่องศาสนาฮินดู ปรัชญาอินเดีย และ ปรัชญาเวทานตะครับ

สงสัยโครงการหลังๆคงเป้นงานตลอดชีวิต แต่โครงการแรกๆ ก็ทำเรื่อยๆครับ

ก้าวหน้ายังไงผมจะมาบอกครับ
#191
รูปทั้งสี่ท่านนี้ ก็ตามที่คุณกาลิทัสบอกอ่ะครับ

แต่ผมขอเสริมนิดนึง

ทั้งสี่ท่าน เป็นนักบุญในไศวะนิกาย ฝ่ายสิทธานตะ ในราวศตวรรษที่ 7
หรือที่เรียกอีกอย่างว่า สิทธไศวะ (คือไศวะนิกายยังแบ่งย่อยๆ ออกเป็นอีกหลายฝ่าย เช่น กัศมีรีไศวะ สิทธไศวะ เป็นต้น)


ฝ่ายสิทธานตะนี้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ วัดพระศิวนาฏราช หรือ จิทัมพรัม ณ ตำบล ติลไล แคว้นทมิฬนาฑู

1. ตรีรุกานา สัมบันดรา   เขียนตามอักษรเดิม คือ ติรุชฺญาณ สัมพันธมูรติ สวามี หรือ สัมพันธร์ เป็นนักบุญเด็ก
2. ตรีรุนาวุ การาซา  คือ ติรุนาวุกฺการสุ สวามี ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า อัปปาร์สวามี
3. สุนดารามูรตี คือ สุนทรมูรติ สวามี หรือสุนทรมูรติร์
4. มานิกาวาสะกา  คือ มาณิกฺยวาจกร์ หรือ เขียนและออกเสียงแบบทมิฬอีกนามว่า วมาณิก วาสหร์


เรื่องราวของทั้งสี่ท่าน เป็นเรื่องเล่าที่มีความสนุกสนาน เป็นเรื่องความภักดีต่อพระศิวะ และทั้งสี่ท่านยังได้ประพันธ์คำสรรเสริญพระศิวะ อันเป็นที่นิยมสวดร้องกันในอินเดียภาคใต้ด้วย(ผมไม่แน่ใจ ว่าบทสวดนี้รวมๆแล้วเรียกว่าอะไร น่าจะเป็น ติรุวาจกมฺ) เรียกทั้งสี่ท่านง่ายๆว่า ศิวาจารฺย

เราสามารถ หาประวัติของท่านอ่านได้จาก หนังสือ เปริยาปุราณมฺ ซึ่งเป็นปุราณะของทมิฬ มีแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว
และบทประพันธ์ของทั้งสี่ท่าน มีตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ Hymns of Tamil Saivite Saints โดยแปลเป็นภาษอังกฤษแล้วครับ

ทั้งสองเล่ม ผมมีเป็นของส่วนตัว ใครสนใจจริงๆ แวะมายืมไปถ่ายเอกสารได้ที่ภาควิชาปรัชญา ที่ทับแก้วครับ

ที่จริง ประวัติของบางท่าน ท่านอาจารย์ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา เขียนไว้ ในหนังสือ "ภารตนิยาย" ของท่าน เข้าใจว่า เป็นประวัติของท่าน มาณิกยวาจกร์ นะครับ
ใครสนใจเรื่องเทวตำนานอินเดีย และวรรณคดี ไม่ควรพลาดเล่มนี้ด้วยประการทั้งปวง

หรือลองอ่านจากเวปของไศวนิกาย คือ www.shaivam .org ลองดูนะครับ ผมเลือนๆ ไม่ได้เข้านานแล้ว
#192
เท่าที่จำได้นะครับ

โดยมากเป็นนักบุญในขบวนการภักติในยุคกลางครับ

มี ท่าน สันตะไรทาส หรือสันตะรวิทาส
ท่านกพีรทาส
ท่านนรสี เมหฺตา
ท่านสุรทาส
ครับ
#193
เพิ่งสังเกตว่า ที่นำมาน่าจะผิดนิดนึงนะครับ

अजं निर्विकल्पं निराहारमेकं निरानन्दमानंदमद्वैतपूर्णम् ।
परं निर्गुणं निर्विशेषं निरीहं परब्रह्मरूपं गणेशं भजेम् ॥१॥

อ่านว่า
อชํ นิรฺวิกลฺปํ นิราหารเมกํ นิรานนฺทมานนฺทมไทฺวตปูรฺณมฺ
ปรํ นิรฺคุณํ นิรฺวิเศษํ นิรีหํ  ปรพฺรหฺมรูปํ คเณศํ ภเชมฺ



ตรง निराहारमेकं  นิราหารเมกํ
ในต้นฉบับที่ผม เคยแปล ซึ่งตีพิมพ์จาก สำนักพิมพ์รามกฤษณมิชชั่น
เขียนว่า นิราการเมกํ ซึ่ง ถอดสนธิได้ว่า นิร + อาการ +เอกมฺ
แปลความหมายได้ว่า (พระคเณศ) (เป็นผู้)หนึ่งเดียว ปราศจากรูปลักษณ์(อาการ)
ซึ่งน่าจะถูกต้องกว่าครับ

เจอแล้วครับ ฉบับที่เคยแปลไว้

อชํ นิรฺวิกลฺปํ นิราการเมกํ นิรานนฺทมานนฺทมไทฺวตปูรฺณมฺ
ปรํ นิรฺคุณํ นิรฺวิเศษํ นิรีหํ  ปรพฺรหฺมรูปํ คเณศํ ภเช

แปล

พระคเณศ  ปราศจากความเปลี่ยนแปลง ปราศจากรูปลักษณ์ เป็นเอก
เหนือกว่าอานันทะสุข บรมอานันทะสุข(ความสุขอันยิ่งใหญ่ เช่นความสุขแห่งความหลุดพ้น )
เป็นความบริบูรณ์แห่งอทวิภาวะ (ทวิภาวะ-ภาวะคู่ เช่น สุข-ทุกข์ ดี-ชั่ว ฯลฯ เป็นความบริบูรณ์แห่งอทวิภาวะ แปลว่า เหนือทวิภาวะโดยสมบูรณ์)
เป็นผู้สูงสุด(ปร) ผู้ปราศจากคุณะสาม (สัตวะ รชัส ตมัส)
ปราศจากความแตกต่างๆ ปราศจากความปราถนา เราทั้งหลายของไหว้พระคเณศ ผู้เป็นรูปแห่งพรหมันอันสูงสุด (ปรพรหมัน)
#194
ขอบคุณน้องอักษรชนนีครับ ที่ยังอุตส่าห์เก็บบทความเก่าๆของพี่ไว้

ขออนุโมทนาที่นำมาเผยแพร่อีกครั้งครับ


ส่วนที่คุณตรีศังกุ ถอดคำ

अजं निर्विकल्पं निराहारमेकं निरानन्दमानंदमद्वैतपूर्णम् ।
परं निर्गुणं निर्विशेषं निरीहं परब्रह्मरूपं गणेशं भजेम् ॥१॥

อ่านว่า
อชํ นิรฺวิกลฺปํ นิราหารเมกํ นิรานนฺทมานนฺทมไทฺวตปูรฺณมฺ
ปรํ นิรฺคุณํ นิรฺวิเศษํ นิรีหํ  ปรพฺรหฺมรูปํ คเณศํ ภเชมฺ

อันนี้สฺโตตฺร หนึ่งของพระคเณศ ผมเคยแปลความหมายไว้ในหนังสือวิมุกโตทัย

ซึ่งมีบางท่านเคยนำมาลงไว้ในบอร์ดเราแล้ว

ใครมีรบกวนนำมาลงไว้เป้นความรู้ หรือทำลิงค์ไปก็ได้ครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
#195
ด้านขวามือ ของพระแม่ เขียนว่า  "ศุภ" แปลว่า ความดีงาม ความเป็นมงคล
ด้านซ้ายมือเขียนว่า "ลาภ" ก็แปลว่า ลาภ ครับ
#196
โอ้ว์ กระทู้สร้างสรรค์อีกแล้ว

ธรรมดาเดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยโพสในเชิงความคิดเห็นเท่าไหร่ เน้นกระทู้ที่ถามความรู้ หรือแก้ความเข้าใจผิดมากกว่า แต่กระทู้นี้ต้องขอแจม

เพราะทุกคนในบอร์ดฮินดูมีตติ้งรู้จุดยืนผมดี ตั้งแต่สัยบอร์ดเก่าแล้วว่าผมชัดเจนแค่ไหน 

บทความของผม เรื่อง มติขององค์กรศาสนาพราหมณ์ฮินดูในประเทศไทยในเรื่องเจ้าทรง คงตอบได้ดี

แต่ไม่ทราบว่าย้ายบอร์ดแล้วยังอยู่มั๊ย

เอ้าใครมีรบกวนนำมาเสริมด้วย จะขอบพระคุณมากครับ


ยินดีครับที่มีผู้ต้องการปกป้องพระศาสนาสนาตนธรรมหรือศาสนาฮินดูกันมากๆ

#197
เดี๋ยวขอเวลาไปค้นก่อนนะครับ

แต่ตอนนี้เท่าที่ทราบและฟังมาจากครูอาจารย์
ท่านว่า วันสุริยคราส (คฺรหนฺ)
เทวสถานต่างๆ จะไม่เปิดให้คนสักการบูชาเทพเจ้า และจะไม่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ถ้าไปวัดเทพมณเฑียรวันที่มี คราส วัดจะปิดม่านเทวรูป แม้ในเวลาที่ปกติจะเปิดก็ตาม และไม่มีการสวดมนตร์ การอารตี

ส่วนพิธีของพวกพราหมณ์ ก็มีอีกส่วนหนึ่ง คือวันที่มีคราสจะมีการ สนาน หรืออาบน้ำศักดิ์สิทธิ์
ทำอุปกรรม และ ยัชโญปวีตธารณะ หรือการเปลี่ยนสายยัชโญปวีตครับ

และเข้าใจว่า ศาสนิกชนจะพากันไปชุมนุมยังตีรถะ หรือท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสนานด้วย อันนี้ต้องเช็คข้อมูลอีกทีครับ
#198
ผมตอบไปแล้วนะครับ คุณกลิทัส

เด๋วขอถ่ายรูปปกหนังสือก่อนแล้วจะมาแจ้งนะครับ
#199
หนังสือที่ผมแนะนำ มีขายที่ศูนย์หนังสือจุฬาครับ หรือร้านหนังสือใหญ่ๆ ก็มีครับ

ถ้ายังเป้นนักเรียนนักศึกษา ยืมหอสมุดโลด หอสมุดจุฬามีทุกเล่มที่ว่ามาอ่ะครับ

คุณ nai 3 อ่านเตรียมสอบ ลองใช้ของอาจารย์อดิศักดิ์ ก็ได้ ไม่ยากเกินไป ที่จริงของอาจารย์ฟื้นก็ไม่ยากครับ
แต่ถ้าจะเอาละเอียดหน่อย อาจารย์สุนทรครับ
#200
ขอแนะนำครับ

ถ้าเพิ่งเริ่มต้นอ่านหนังสือปรัชญาอินเดีย ฉบับที่อ่านง่ายที่สุด คงเป็น " ปรัชญาอินเดีย"ของ อ.อดิศักดิ์ ทองบุญ
พิมพ์โดยราชบัณฑิตฯ แต่ว่าข้อเสียของเล่มนี้คือสั้นไปหน่อย และข้อมูลบางอันยังคลาดเคลื่อนบ้าง
แต่ข้อดีของเล่มนี้คืออ่านง่าย

อีกเล่มที่มีระบบการแบ่งเนื้อหา แบบเดียวกัน แต่ยากอีกนิด คือ "ปรัชญา อินเดีย ประวัติและลัทธิ" เล่มนี้เป็นของ อ.สุนทร ณ รังสี อันนี้ของสำนักพิมพืจุฬา เล่มนี้มีข้อดีคือค่อนข้างละเอียด (ผมเอาไว้สอนนิสิต นศ.ปอตรีได้เรย) ข้อเสียคือมีข้อมูลที่ยังคลาดเคลื่อนอยู่บ้างต้องเช็คกับฉบับภาษอังกฤษ แต่ถือว่า เป้นเล่มในภาษาไทยที่โอเคที่สุดเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับปรัชญาอินเดีย

อีกเล่ม เป็นหนังสือแปลครับ คือ "สารัตถะปรัชญาอินเดีย" ซึ่งไม่แน่ใจว่าอาจารย์วิสิษฐ์ รึป่าวเป้นผู้แปล อันนี้พิมพ์โดย สกว. หายากซักหน่อย เล่มนี้มีข้อดี คือแปลจากฉบับภาษาอังกฤษของอาจารย์ เอ็ม หิริยัน ซึ่งเขียนโดยแก่น ดีมาก และถูกต้องสูง แต่ข้อเสียคื่ออ่านยากมาก ควรมีความรู้พื้นฐานทางปรัชญาและปรัชญาอินเดียบ้าง

ทั้งสามเล่ม เป้นหนังสือปรัชญาอินเดียที่ใช้กันส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัย จริงแล้วมีฉบับแปลของมหาจุฬาด้วย แต่ผมไม่แนะนำ เพราะแปลแล้วอ่านแทบไม่รู้เรื่อง ถ้าสนใจปรัชญาอินเดีย แบบ "ปรัชญา" ที่มีลักษณะเชิงวิชาการจริงๆ ก็แนะนำหนังสือเหล่านี้ครับ

แต่ถ้าสนใจปรัชญาอินเดีย ในแง่ที่เป็น ปรัชญาชีวิต( Philosophy as philosophy of life) คือไม่ใช่ ปรัชญาอย่างเป็นวิชาการ ลองอ่านงานนิพนธ์ และงานแปล แบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นภควัทคีตา อุปนิษัท งานกวีของท่านรพินทรนาถ ฐากูร หรืองานของท่านคานธี นำร่องไปก่อน แล้วลองหางานปรัชญาจริงๆมาอ่านดูครับ
(แนะนำหนังสือ เราจะเดินไปไหนกัน โดยอ.ดร.ประมวล  เพ็งจันทร์อีกเล่ม ซึ่งถ่ายทอดมุมมองแบบอินเดีย และประสบการณ์ชีวิตท่านที่ถูกหล่อหลอมด้วยปรัชญาอินเดียครับ น่าอ่านมาก)

อ่อ ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องภาษา ผมอยากแนะนำ หนังสือปรัชญาอินเดียมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก คือ  Indian Philosophy II vol. ของท่าน S .Radhakhishnan มีสองเล่มโตๆ ครับ เป็นหนังสือปรัชญาอินเดียที่ดีที่สุดชุดหนึ่ง หาได้ตามห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ จุฬามีแน่นอนครับ