Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Naga

#81
อย่างที่คุณ Plawan22  บอกครับ  คุณกษิติ  ท้าวธนรัฐ ไม่เป็นที่นิยมบูชาออกมาเป็นเอกเทศ เหมือนท้าวกุเวร  แม้ว่าจะเป็น 1 ใน 4 มหาจาตุราชิกาก็จริง แต่ไม่มีเทวปกรณ์ที่เด่นชัดนัก เนื่องจากตำนานนี้เป็นตำนานที่ค่อนข้างใหม่  จึงไม่มีผู้รู้วิชาเทวาภิเษก  ท้าวธนรัฐ  เป็นการเฉพาะ  รวมไปถึงท้าววิรูปักา์ษ์ และ ท้าววิรุฬหก ด้วย

แต่ถ้าคุณกษิติศรัทธาท้าวธนรัฐจริงๆ  ก็มีวิธีแนะนำให้ลองพิจารณาครับ...

1.  แม้จะไม่นิยมบูชาท้าวธนรัฐเป็นเอกเทศ  แต่สามารถบูชาร่วมกันสี่องค์ในฐานะ  จาตุมาหาราชิกา หรือ สี่เทพโลกบาล  ได้  เพราะยังพอหาเทวรูปที่เป็นชุดท้าวจตุมหาราชิกาทั้ง 4 องค์ได้อยู่ (โดยปกติแล้วไม่แยกบูชา มักจะบูชาเป็นชุด 4 องค์ )  แต่วิธีการบูชาท้าวมหาราชทั้งสี่  มักจะตั้งเทวรูปท้าวมหาราชทั้งสี่  ไว้ในห้องพระ  ในระดับต่ำกว่าพระ  เพราะท่านทั้งสี่มีตำแหน่งเป็นเทพผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาด้วย  ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นท้าวมหาราชทั้งสี่  ประจำอยู่ตามวัดฝ่ายมหายานเสมอๆ

2.  ท้าวธนรัฐเป็น  เทพประจำทิศตะวันออก  ปกครองคนธรรพ์เทวดา  ซึ่งคุณสมบัติเหมือนกับเทพองค์หนึ่ง (เพราะเป็นของเดิม)  นั่นคือ  ท้าวอัมรินทราธิราช  หรือ พระอินทร์  ซึ่งเทพองค์นี้สามารถบูชาเป็นเอกเทศได้  และยังพอมีสายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระอินทร์อยู่ 

     ....พระอินทร์เป็นเทพเก่าแก่  ในคติฮินดู  เคยเป็นเทพสูงสุดมาก่อน  แต่ต่อมาถูกลดฐานะลงมาเป็นเทพชั้นรอง ดูแลทิศตะวันออก และมีเทวปกณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก   แต่ในทางคติพุทธ  พระอินทร์ทรงเป็นเทพที่สำคัญองค์หนึ่ง  ทรงนับถือพระพุทธศาสนา  เป็นราชาแห่งสวรรค์ปกครองดูแลโลกมนุษย์  และเหล่าเทวดาบนสวรรค์ .... 

ถ้าจะบูชาพระอินทร์ น่าจะได้ผลดีกว่า การบูชาท้าวธนรัฐ แบบเอกเทศนะครับ  เพราะอย่างน้อยเราก็มีเทวาลัยพระอินทร์ที่งามที่สุด  อยู่ที่หน้าศูนย์การค้าอัมมรินทร์พลาซ่า  สี่แยกราชประสงค์ (ถัดจากพระพรหมเอราวัน)  ซึ่งท่านก็ทรงแผ่เทวานุภาพคุ้มครองกิจการและผู้มาสักการะท่านให้เป็นสุขจนปัจจุบัน..!!
#82
คุณเจ้าของกระทู้เป็นอย่างไรครับ  ตอนนี้ไ้ด้เทวรูปพระแม่มาบูชาหรือยัง ?  พระลักษมีท่านคงรอเวลาที่เหมาะสม ที่จะมอบเทวรูปองค์นี้ให้คุณอยู่นะครับ ^ - ^ 

ของพระองค์อำนวยพร  !!
#83
ขอร่วมเป็นอีกหนึ่งคำแนะนำให้ คุณเจ้าของกระทู้นะครับ.....

พระที่คุณเจ้าของกระทู้มีนั้นเป็นพระพุทธรูปของเถรวาท  หรือมหายานครับ  ? 

-  ถ้าเป็นพระพุทธรูปแบบมหายาน เช่น พระอามิตตาพุทธเจ้า  แบบนี้สามารถตั้งรวมกันได้ครับ ไม่มีปัญหาเพราะเป็นคติเดียวกัน แต่ก็ต้องให้ความสำคัญในเรื่องตำแหน่งสูงต่ำอยู่


- แต่ถ้าเป็นพระพุทธรูปแบบเถรวาท  เช่น  พระแก้วมรกต  หลวงพ่อโสธร  แบบนี้ ควรแยกพระโพธิสัตว์กวนอิมออกมาบูชาต่างหาก (สังเกตดีๆนะครับว่าผมใช้คำว่า  ควร  แปลว่า  ถ้าทำได้ก็จะดีมากครับ)  เพราะอะไร ?  เพราะว่า...

1.)  แม้จะเป็นศาสนาพุทธเหมือนกัน  เป็นคนละคติกัน  ดังนั้นรายละเอียดต่างๆของเถรวาท และมหายาน  ย่อมแตกต่างกัน
2. )  พิธี  และขั้นตอนที่ใช้ในการพุทธาภิเษก ของพระพุทธรูปเถรวาท  และ พระโพธิสัตว์กวนอิม  ย่อมแตกด่างกัน เป็นคนละสายกัน
3. )  คนจีนโบราณ  นิยมที่จะบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิมแยกเป็นเอกเทศมากกว่า บูชาร่วมกับพระพุทธรูป
4. )   ถ้าแยกส่วนหิ้งพระเป็นสัดส่วน  จะทำให้ดูเหมาะสมสวยงาม  สามารถตั้งอยู่ในระดับเดียวกันหมดได้  เพราะว่าเราแยกออกมาเป็นสัดส่วนแล้วนั่นเอง

....อย่างที่บอกไปแล้วนะครับว่า  ถ้าคุณเจ้าของกระทู้สามารถทำได้ก็  ควร  ทำนะครับด้วยเหตุผลที่ผมบอกไป  แต่ถ้าทำไม่ไม่ได้ด้วยข้อจำกัดต่างๆ  เช่น สถานที่ไม่อำนวย  ทิศทางไม่ดี  ก็ยังพออนุโลมให้ตั้งอยู่ร่วมกันได้  แต่ต้องคำนึงถึงข้อบังคับต่างๆให้ดี  เช่น  ตำแหน่งการตั้ง สูงต่ำ อย่างไรครับ !!
#84
ไปสืบค้นข้อมูลน่ารู้อีกนิดหน่อยเกี่ยวกับเทวาลัยพระสรัสวดี  ศูนย์ประชุมฯ  มาให้อ่านกันครับ.....

.......เทวาลัยพระสรัสวดี  สร้างพร้อมศูนย์ประชุมแห่งชาติ ฯ  เมื่อปี  พ.ศ. 2534  เทวาลัยตั้งอยู่ริมทางเข้าด้านหน้า  มีสระน้ำเป็นฉากหลัง  ถัดไปเป็นอุทยานเบญจกิตติ

สำหรับเทวลักษณะของเทวรูปพระสรัสวดี  ศูนย์ประชุมฯ นั้น อยู่ในท่าประทับยืนเอียงสะโพกเล็กน้อย  มี 4 พระกร  ทรงพิณแบบเทวดาไทย คัมภีร์  และสร้อยลูกปัด  ฉลองพระองค์แบบอย่างมาจากศิลปะอินเดียใต้  หรือทมิฬ  แต่ปรับให้มีความชดช้อยอย่างไทย   จึงดูอ่อนเบานุ่มนวล ไม่แสดงพลังชัดเจนอย่างศิลปะทมิฬ   

แม้จะลดความแข็งกร้าวของศิลปะทมิฬลงแล้ว  แต่พระพักตร์ และท่าทางกลับคล้ายเทวรูปในศิลปะจีนมาก ถ้าไม่พิจารณา  ฉลองพระองค์ว่ามีต้นแบบมาจากศิลปะทมิฬ หรือสัดส่วนของเทวรูปทีมีความชดช้อยแบบไทยแล้ว  ก็อาจเข้าใจว่า เอาแบบอย่างมาจากพระโพธิ์สัตวกวนอิม หรือเทวรูปเทพของมหายานองค์ใดองค์หนึ่งมาก็เป็นได้.....

(ที่มา: กิตติ วัฒนะมหาตม์.เทวาลัย.สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊ค.2550)
#85
รูปพระกาลีลักษมีข้างบนนั้น ผมไม่ได้ตัดต่อเองหรือลบหลู่ใดๆนะครับ เพียงแต่ภาพดังกล่าวเป็นเทพเจ้าที่คนในวงการเทพของฮินดู  พยายามที่จะสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อผลทางการตลาด  และโฆษณาว่าการได้บูชา  พระแม่กาลีลักษมี  เปรียบประหนึ่งการบูชาเทพเจ้า 2 องค์พร้อมกัน  นั้นคือ  พระลักษมี  และ  พระกาลี  จะได้รับพรในเรื่องของพลังอำนาจ  และโชคลาภเงินทอง

แต่ในทางเทววิทยาไม่ยอมรับรูปลักษณ์ดังกล่าว  เพราะความไม่สมเหตุสมผล  แต่เป็นการจับเทพเจ้ามามั่วรวมกันโดยไม่มีเหตุผลทางเทววิทยารองรับครับ....
#86
คุณเจ้าของกระทู้  หมายถึง  พระแม่องค์นี้หรือเปล่าครับ ?


                   รูป พระกาลีลักษมี
#87
ท้าวกุเวร  เป็นเจ้าแห่งยักษ์และภูติผี  เป็นเทพอสูรผู้มีทรัพย์มากจึงมีอีกชื่อว่า  ธนบดี  คนไทยเรียก  "ท้วเวสสุวรรณ"  เทวรูปของไทยมักทำเป็นรูปยักษ์ถือกระบอง แบบยักษ์วัดแจ้ง  บางครั้งก็พบทำในภาคที่เป็นเทวดาเหมือนกันแต่พบไม่มากนัก  บูชาเพื่อขอพรให้ขจัดอาถรรพ์ ป้องกันภูติผีปีศาจ  และบูชาเพื่อขอโชคลาภเงินทองด้วย



ท้าวกุเวร  หรือ ท้าวเวสสุวรรณ



ต่อมามีการ  ยกย่องท้าวกุเวร  เป็นเทพประจำทิศเหนือ  ปกครองยักษ์และภูติผีทั้งหมด  เป็น  1 ใน  4 เทพผู้พิทักษ์  หรือ  จาตุมหาราชิกา  ผู้พิทักษ์ทิศทั้งสี่ของโลกร่วมกับ  ท้าวธนรัฐ  ท้าววิรูปักษ์  และท้าววิรุฬหก  แต่มักได้รับการบูชาเป็นเอกเทศมากกว่าองค์อื่นๆ

มีตำนานกล่าวว่า  เมื่อพระพุทธเจ้าโปรด  ท้ากุเวร  หรือ ท้าวเวสสุวรรณ  ครั้งนั้นท่านเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  จึงถวายตัวเป็นผู้พิทักษ์พระศาสนา  และถวายมนต์ภาณยักษ์แก่พระพุทธเจ้า  เพื่อใช้ภาวนาเพื่อป้องกันภูติผีปีศาจ ที่จะมารบกวนเหล่าพระภิกษุ ผู้เป็นสาวกแห่งพระศาสดา และเป็นที่มาของการ  สวดภาณยักษ์   ในปัจจุบันด้วย

บางความเชื่อบอกว่าท้าวกุเวรเป็นเทพองค์เดียวกันกับ  ไฉ่ซิงเอี้ย  ของจีน  เพราะว่ามีคุณสมบัติเป็นเทพแห่งโชคลาภเหมือนกัน  ซึ่งถ้าศึกษาอย่างละเอียดแล้วจะพบว่า  ท้าวกุเวร  กับ  ไฉ่ซิงเอี้ย  เป็นเทพ  "คนละองค์กัน" 

การบูชา  :  ท้าวเวสสุวรรณเป็นเจ้าแห่งทรัพย์  และเป็นนายผีทั้งปวง  สำหรับเทวรูปโดยทั่วไปมักบูชาเพื่อขอโชคลาภ  และเพื่อป้องกันพลังอาถรรพ์ต่างๆ  รวมทั้งภูติผีปีศาจด้วย   มักตั้งเทวรูปท่านไว้ทางทิศเหนือ  หรือถ้าหน้าบ้านเราหันไปทางแหล่งอาถถรรพ์  เช่น  ตรงกับทางสามแพร่ง  หรือตรงกับบ้านร้าง วัดร้าง   ก็สามารถตั้งหันเทวรูปออกหน้าบ้านป้องกันกระแสอัปมงคลที่จะเข้ามาสู่บ้านได้

เครื่งสังเวย  :  บูชาด้วยดอกไม้  ธูป เทียน  ส่วนอาหาร ตำราโบราณแบ่งไว้ว่า  ถ้าเทวรูปเป็นลักษณะของยักษ์  สามารถถวายอาหารคาวได้  แต่ต้องปรุงสุกแล้วเท่านั้น กับผลไม้   แต่ถ้าเป็นลักษณะของเทวดา  ให้ถวายแค่ผลไม้เท่านั้น........

คาถา   :  อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ   มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ  ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา   
        ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ 

        (หรือแล้วแต่คาถาของแต่ละสำนักที่สร้างจะกำกับมาเป็นพิเศษ)
#88
ถูกต้องครับ....น้ำสะอาดกับนมสด  ถวายองค์ละ 1 แก้ว  นับจากจำนวนเทพ  ไม่ใช่นับจากจำนวนเทวรูป  เช่น  คุณเจ้าของกระทู้  มีเทวรูปพระคเณศ  3 องค์  เทวรูปพระลักษมี  2  องค์  พระสรัสวดี  1  องค์ ก็คือมีเทพทั้งหมด  3  พระองค์   ก็จัดถวายน้ำ 3  แก้ว นมสด 3 แก้ว  ก็พอครับ

ส่วนผลไม้ก็เช่นกัน  อยู่ที่ว่าคุณมีเทวรูปพระเป็นเจ้าองค์ไหนบ้าง  เช่น  มีพระคเณศ  พระลักษมี  พระสรัสวดี  ก็ประมาณง่ายๆ ว่าผลไม้ที่จัดถวายต้องเพียงพอสำหรับคน 3 คน  เป็นต้นครับ  !!
#89
การบูชาอย่าง่ายๆ เป็นประจำวันก็คือ  จุดประทีปและกำยานทุกวัน  เพราะควันกำยานมีอำนาจในการชำระพลังอัปมงคลบริเวณแท่นบุชาให้บริสุทธ์  และช่วยรักษาพลังที่แผ่ออกมาจากเทวรูปให้คงที่ครับ  และที่ขาดไม่ได้คือถ้วยใส่น้ำสะอาด  วางไว้บนแท่นบูชาเสมออย่าให้น้ำพร่อง  เพราะพลังบนแทนบูชาจะมีพลังของธาตุไฟค่อนข้างสูง  จึงต้องใช้น้ำช่วยให้แท่นบูชาเกิดความสมดุล  การสวดมนต์อาจจะสวดบทที่เป็นบทหลักสั้นๆก่อนออกจากบ้าน - และก่อนนอน  ถ้าหากมีเวลาก็สวดบทยาวถวาย

ส่วนการบูชาเป็นพิเศษ  ก็ให้เลือกวันที่สะดวกหนึ่งวันของสัปดาห์  ในการถวายเครื่องสังเวย  เช่น  อาจจะถวายเครื่องสังเวยท่านทุกวันศุกร์  ก็จุดกำยานบอกกล่าวท่านว่าเราสะดวกจะถายเครื่องสังเวยท่านทุกวันศุกร์ เราก็ต้องถวายท่านทุกวันศุกร์  เป็นต้น   แต่ถ้าวันไหนมีเหตุต้องเลื่อนวันไปก็จุดกำยานบอกกล่าวท่านขอเลื่อนวันถวายเครื่องสังเวย   แต่ไม่ควรทำบ่อย....

ส่วนรายละเอียดอื่นๆ  ก็แล้วแต่พิจารณาของคุณเจ้าของกระทู้ว่าจะเพิ่มเติมเรื่องใด  ตามที่เห็นเหมาะสมครับ  !! 
#90
จัดเรียงได้หลายรูปแบบอยู่ที่ว่าคุณเจ้าของกระทู้มีเทวรูปอะไรบ้าง

- ถ้ามีเทวรูปพระคเณศกับพระลักษมี  ขนาดเท่ากันหรือไล่เลี่ยกัน  นิยมตั้งคู่กัน  โดยพระลักษมีไว้ทางขวามือพระคเณศ (เพราะพระลักษมีมิใช่ศักติของพระคเณศ  จึงต้องตั้งทางขวาของพระคเณศ.....คติการเป็นศักติของเทพเป็น คติของฮินดู )  การตั้งคู่กันแบบนี้เรียกว่าการบูชาแบบ  ทวิภาคี

-  ถ้าเทวรูปทั้ง 2 มีขนาดไม่เท่ากัน  ให้เอาองค์ที่ใหญ่ที่สุดตั้งเป็นประธาน  แล้วตั้งองค์ที่เล็กกว่า  เยื้องมาด้านหน้าองค์ประธาน

-  ส่วนการจัดแบบ  ไตรภาคี  ถ้าคุณมีเทวรูปพระสรัสวดีด้วย  ก็ให้ตั้งพระคเณศตรงกลาง  พระลักษมีด้านขวาพระคเณศ  พระสรัสวดีข้างซ้ายพระคเณศ   การตั้งแบบนี้เทวรูปของคุณต้องมีขนาดเท่าๆ กัน  และควรเป็นเทวรูปที่ทำจากวัสดุที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันจะดีมาก



การตั้งแบบ  ทวิภาคี





การตั้งแบบ  ไตรภาคี
#91
อธิบายไม่ถูกอ่ะครับ  - - ' ....เอาเป็นว่า  คุณเจ้าของกระทู้  ลองถามเจ้าหน้าที่  หรือคุณ รปภ. ของศูนย์ประชุมดูก็ได้ครับ



รูป : บริเวณเทวาลัยพระสรัสวดี  ในศูนย์ประชุมฯ
#92
พระคงคาเป็นเทพแห่งสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ครับ  เทวลักษณะสำคัญ  จะปรากฎเป็นเทพนารีที่งดงาม  มี 2-4  พระกร  ถือหม้อน้ำ  และดอกบัว  ประทับบนจระเข้  หรืออาจจะมีจระเข้อยู้ใกล้ๆก็ได้  ( แต่ถ้าเป็นคติไทย  พระคงคาจะประทับบนหลังปลา )  ส่วนรายละเอียดอื่นๆ  ก็แล้วแต่จินตนาการของช่างที่ทำเทวรูปนั้น   ส่วนราคาก็ต้องแล้วแต่เนื้องานครับ

ส่วนเรื่องเทวรูปที่เทวสถานโบสถ์พราห์ม  คุณ SIRAWEE  เข้าใจถูกต้องครับ    เทวรูปเทพนารี  2 องค์ที่ขนาบยซ้าย-ขวา  เทวรูปพระนารายณ์  ในสถานพระนารายณ์นั้น  องค์นึงคือพระศรี (พระลักษมี)  และอีกองคหนึ่งคือ  พระมเหศวรี  ด้วยความเข้าใจผิดของช่างที่สับสนในชื่อของพระศรี (พรีพระลักษมี)   ทำให้เข้าใจว่าพระนารายณืทรงมี มเหสี  2  องค์  ( บางคนก็บอกว่าพระนารายณ์มีมเหสี  10 องค์  เพราะปรากฎชื่อพระมเหสีของพระนารายณ์ถึง  10  ชื่อ  ซึ่งทั้งหมดล่วนเป็นชื่อของพระศรีทั้งสิ้น ) 

^-^
#93
ถ้าเป็นคติโบราณ  พระอุมาจะประทับนั่งบนบัลลังก์  ส่วนพระทุรคาจะทรงประทับบนหลังเสือหรือสิงโต  ซึ่งตามหลักเทววิทยาพระอุมากับพระทุรคา  เป็นเทพคนละองกันครับ  ต่อมามีการนำพระทุรคามารวมเป็นภาคหนึ่งของพระอุมา  ทำให้รูปเคารพในสมัยต่อมมาของพระทุรคา  แทนด้วยเทพนารีที่งดงามและทรงอำนาจแบบพระอุมา  มีหลายพระกร  อาวุธครบมือ  และประทับบนหลังเสือหรือสิงโต

ผู้คนจึงนับถือพระทุรคาในฐานะ  ภาคหนึ่งของพระอุมาตลอดมา  และเข้าใจว่าเทพนารีที่งดงามและทรงอำนาจที่ประทับบนเสือหรือสิงโตนั้นก็คือพระอุมานั่นเอง  และต่อมามีผู้แบ่งไปอีกว่า  ถ้าองค์ไหนเป็นพระอุมาจะประทับบนหลังเสือ  องค์ไหนคือพระทุรคาจะประทับบนสิงโต

ทั้งพระอุมาและพระทุรคา  ทรงอุปถัมภ์และประทานพร เรื่องพลังอำนาจ  และชัยชนะ  เหมือนกัน  แต่จะต่างกันที่รายละเอียดครับ  !!
#94
เทวาลัยของพระสรัสวดีแห่งนี้  ตั้งอยู่ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตครับ  ทางศูนย์ประชุม ฯ สร้างถวาย  เพราะทรงเป็นเทพผู้อุปถัมภ์โดยตรงกับกิจการดังกล่าว   หากมีโอกาสก็แวะไปสักการะพระองค์ก็ได้นะครับ  เพียงแต่อาจต้องเตรียมของบูชาไปเอง  เพราะผมไม่แน่ใจว่ามีคนขายของสำหรับบูชาแถวนั้นหรือเปล่า ( แต่ผม คิดว่าไม่น่าจะมี )  .....