Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - อินทุศีตาลา

#41
หลังจากห่างไปนาน ขออนุญาตมาต่อให้จบนะคะ

สุนทรียภาพในเทวรูปสุโขทัย

ความน่าสนใจของเทวรูปสุโขทัยก็คือนัยที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความงามของการออกแบบ ความปราณีตในการตกแต่งและความสามารถในการปั้นหล่อ
สุนทรียภาพของเทวรูปเหล่านี้มีความแตกต่างจากช่วงก่อนหน้า และหลังจากนี้อย่างชัดเจนกล่าวคือ
1.เทวรูปสุโขทัยเน้นเส้นนอกที่อ่อนหวาน โค้ง ช่วยให้ดูสุขุมนุ่มนวล และให้ความสำคัญกับเส้นในแนวดิ่งที่ช่วยให้เทวรูปดูสงบ สง่างาม ต่างกับเทวรูปในอิทธิพลอื่นๆที่เน้นการเคลื่อนไหว ความนิ่งสงบของพระเทวรูปนี้เป็นลักษณะเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปในสมัยเดียวกันด้วย

2.เครื่องทรงของพระเทวรูปมีความคล้ายคลึงกันทุกองค์ ทั้งเทพและเทวี คือ สวมเทริด ด้านหลังขมวดพระเกศาเป็นมวย ที่เรียกว่า 'มวยหางหงส์'  ที่น่าสนใจคือพระนารายณ์ยังคงคติการสวมพระมาลาทรงกระบอกไว้อยู่ ไม่ทรงฉลองพระองค์ แต่มีกรองศอ พาหุรัด ทองพระกร รัดพระองค์และกุณฑล ทรงนุ่งผ้ายาว แหวกชายด้านหน้าเป็นครีบคล้ายหางปลา ดึงชายพกผ้าด้านหน้าตรงใต้พระนาภีออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลม (ซึ่งไม่มีในศิลปะเขมรทว่าคล้ายกับการนุ่งผ้าตามศิลปะลังกา)

3.พระพักตรของเทวรูป รียาว แบบเดียวกับพระพุทธรูป พระเนตรหลุบต่ำ พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย
4.ปัจจุบันยังคงพอมองเห็นร่องรอยของการปิดทองในส่วนเครื่องประดับของพระเทวรูปด้วย
5.เทวรูปพระอิศวรบางองค์แสดงมุทราที่เกี่ยวข้องหรือสามารถเชื่อมโยงกับพระพุทธรูปได้


พระอิศวร


พระนารายณ์ทรงเทริดทรงกระบอก


#42
คืนนี้ไว้เท่านี้ก่อนค่ะ และน่าจะอีกสองสามวันถึงจะมาต่อ
หวังว่าจะมีใครเข้ามาในนี้บ้างนะคะ เหงาค่ะ

ขอพระเป็นเจ้าทรงอำนวยพร
#43
นอกจากนี้ จากหลักฐานในปัจจุบัน เราพบพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมากกว่า 15 องค์ ส่วนใหญ่ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นอกจากนั้นก็มีที่เทวสถานสำหรับพระนคร กรุงเทพมหานคร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง และอยู่ในความครอบครองของนายเจมส์ เอช. ดับเบิ้ลยู. ทอมป์สัน ซึ่งปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน กรุงเทพมหานคร มีทั้งพระอิศวร, พระนารายณ์, พระหริหระ, พระพรหมและพระศักติ ในขนาดแตกต่างกันตั้งแต่สูงเกือบสามเมตรจนถึงสูงประมาณ 1 ฟุต
นั่นหมายความว่า เทวรูปเหล่านี้สร้างขึ้นต่างวาระกัน เพราะคงไม่มีใครสร้างพระหริหระพร้อมกันสององค์โดยมีรูปลักษณ์แตกต่างกัน หรือสร้างเทวรูปพระอิศวรหลายขนาดพร้อมกันเพื่อประดิษฐานในที่เดียว เทวรูปทั้งหมดนี้ (และที่เรายังค้นไม่พบ) คงไม่ได้สร้างขึ้นโดยพระเจ้าลิไทเพียงพระองค์เดียว และคงไม่ได้ประดิษฐานอยู่ ณ เทวาลัยมหาเกษตรเพียงที่เดียว แต่แสดงให้เห็นถึงความภักดีต่อพระเป็นเจ้าของคนสุโขทัยที่กว้างขวางและสืบทอดมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

ของประวัติศาสตร์สุโขทัย



#44
เทวรูปสุโขทัย: ประจักษ์พยานของอิทธิพลฮินดูในอาณาจักรสุโขทัย
ข้อความจากศิลาจารึกหลักที่ 4 วัดป่ามะม่วงเล่าถึงการที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ช่างหล่อเทวรูปพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ขึ้นเพื่อทรงสักการะ สะท้อนให้เห็นถึงพระราชศรัทธาของพระมหากษัตริย์แห่งสุโขทัยที่มีต่อศาสนาพราหมณ์ฮินดู และสันนิษฐานกันว่าเทวรูปที่ทรงพระกรุณาฯให้หล่อขึ้นคราวนั้น คือหนึ่งในหมู่เทวรูปศิลปะสุโขทัยที่เก็ฐรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ขนาดใหญ่ที่สุด
เทวรูปทั้งสององค์นี้มีขนาดสูงใหญ่เกือบ 3 เมตร และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์อันบริบูรณ์พร้อม ประกอบด้วยประติมานวิทยาตามแบบโบราณ สร้างจากสำริดและยังสามารถเห็นร่องรอยของการปิดทองในส่วนต่างๆได้อย่างชัดเจน
หากศาสนาพราหมณ์ ฮินดูไม่ทรงอิทธิพลแล้ว กษัตริย์ผู้ได้พระราชสมัญญาว่า 'ธรรมราชา' ผู้ฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งสละราชสมบัติเสด็จออกผนวชคงไม่ทรงทุ่มเทกำลังพระราชทรัพย์เพื่อสร้างเทวรูปที่ใหญ่โตและงดงามมากมายถึงเพียงนี้ ซ้ำยังทรงพระกรุณาให้สร้างเทวสถาน 'เทวาลัยมหาเกษตร หรือ เกษตรพิมาน' ไว้ใกล้เคียงกับอารามวัดป่ามะม่วงที่ประทับจำพรรษาในคราวทรงพระผนวช ยิ่งตอกย้ำให้เห้นถึงความสำคัญของศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยมีเทวรูปอันงดงามนี้เป็นประจักษ์พยานที่สำคัญ




เทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์เทียบกับตัวดิฉันเอง

#45
นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานสำคัญ สร้างจากศิลาแลง เป็นปรางค์สามหลังเรียงต่อกันตามแนวตะวันออกตะวันตก หันหน้าไปทางทิศใต้ ด้านหน้าปรางค์มีฐานอาคาร วัดนี้มีชื่อในปัจจุบันว่า 'วัดศรีสวาย' สมเด็จฯ กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ทรงเห็นว่าอาจจะเป็นเทวสถานเก่าที่แปลงเป้ฯวัดในพระพุทธศาสนาเมื่อภายหลัง แต่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเห็นต่างไปว่า
"สันนิฐานเห็นได้ว่า ปรางค์ปราสาทใหญ่ทั้งสามข้างหลังโบสถ์นั้นต้องเป็นสถานของพระศิวะ วิษณุและคเณษตามแบบ โบสถ์นั้นเปนโบสถ์พราหมณ์ที่กระทำพิธีบูชา ที่มุขโถงหน้านั้นเปนที่คนผู้มากระทำพลีกรรมได้นั่งพัก ออลตาคือสถานเล็กที่สามสถานนั้น ก็คงเปนเทวอะไรเตี้ยๆ สามตัวมีเทวนันที คือโคอุสุภราชเปนต้น "
นักวิชาการในชั้นหลังหลายท่านให้ความเห็นว่าชื่อ 'สรีสวาย' อาจเพี้ยนมาจาก ศรี ศิวายะ ก็เป็นได้
นี่คือหนึ่งประจักษ์พยานสำคัญที่พอจะเห็ฯเค้าเงื่อนได้ว่าแม้ศาสนาพุทธจะมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อผู้คนในอาณาจักรสุโขทัย ท่วาศาสนาพราหมณ์ก็มีบทบาทสำคัญอยู่ด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นคงไม่มีเทวสถานขนาดใหญ่และงดงามเช่นนี้ตั้งอยู่ในกำแพงเมือง ใจกลางอาณาจักร
และหากผู้ใดเข้าไปเยี่ยมเยียนวัดศรีสวายในปัจจุบันก็ยังพอพบเห็นร่องรอยของศาสนาพราหมณ์ ฮินดูได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นฐานโยนีโทรณะที่วางอยู่ในวัด หรือภาพจิตรกรรมอันเลือนรางรูปเทวดาที่งดงามทรงคุณค่า



วัดศรีสวาย
#46
อิทธิพลศาสนาฮินดูในอาณาจักรสุโขทัย
หลังจากศาสนาพุทธนิกายมหายานเริ่มเป็นที่ยอมรับกันมากในดินแดนแถบนี้เมื่อประมาณ 100 ปีก่อนศตวรรษที่ 19 จะเริ่มต้นขึ้น ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูซึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อนก็ดูเหมือนจะค่อยๆลดบทบาทลง จนเมื่อมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นนั้น ศาสนาพุทธได้เป็นศาสนาเอกที่มีบทบาทมากที่สุดในพื้นที่แถบนี้ไปเสียแล้ว
แต่ใช่ว่าศาสนาฮินดูจะห่างหายไปจากชีวิตจิตใจของผู้คน

ในพื้นที่เมืองสุโขทัยเอง ปรากฏร่องรอยของศาสนสถานในศาสนาฮินดูอยู่หลายแห่ง ทั้งศาลตาผาแดง ซึ่งเป็นปรางค์ศิลาแลง ภายในประดิษฐานรูปเคารพ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งปรักพังจนไม่สามารถรู้ได้แล้วว่าเป็นรูปเคารพอย่างใด แต่สันนิษฐานกันว่าคงจะเป็นเทวรูปหรือรูปเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง


ศาลตาผาแดง
#47
หลังจากสนุกสนานกับการนำเอาบทความที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสมัยยังเรียนอยู่มาลงในบอร์ด HM เมื่อสองสามวันที่แล้ว
แต่ก็ยังไม่หนำใจ แม้ว่าเวลาว่างในช่วงนี้จะสะดุดลงไปบ้างเพราะภารกิจจร แต่ดิฉันก็ไม่หวั่นค่ะ ทั้งหมดนี้ก็ด้วยปรารถนาจะให้บอร์ดของเรากลับมาคึกคักด้วยเรื่องราวที่(ดูเหมือนว่าจะเป็น) วิชาการ
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลในศิลปกรรมอันงดงามภายใต้หลักประติมานวิทยา ซึ่งก่อให้เกิดเป็นเทวรูปหลากหลายแบบ ที่นอกจากจะดูงดงามแล้ว ยังซ่อนนัยอันน่าสนใจไว้มากมายด้วย
ก็เมื่อพูดถึงเทวรูปแล้ว อดไม่ได้ที่จะขอกล่าวถึงเทวรูปศิลปะสุโขทัยซึ่งรู้สึกศรัทธาและชื่นชอบมากเป็นพิเศษ นอกจากเรื่องของสุนทรียศาสตร์และศิลปกรรมแล้ว โดยส่วนตัวรู้สึกว่าเป็น 'คนบ้านเดียวกัน' ที่เผอิญต้องมาอยู่ 'เมืองกรุง' เช่นเดียวกันกับท่าน
นึกๆดู แม้ว่าดิฉันจะไม่ใช่คนมี่ความรู้อะไรนักหนา และไม่ใช่นักเลงหนังสือ แต่ก็ชอบรื้อชอบค้นจนพอจะทราบว่า นอกจากหนังสือเรื่อง 'เทวรูปสมัยสุโขทัย' ผลงานนิพนธ์ของศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลแล้ว ยังไม่เคยเห็นหนังสือเล่มใดที่พูดถึงเทวรูปเหล่านี้อย่างจริงจังเลย นอกจากจับผ่านๆ ก็หนังสือของท่านอาจารย์เล่มดังกล่าวนี้ พูดถึงแต่วิชาการด้านโบราณคดี อันอนุมานเอาจากลวดลายที่ปรากฏอยู่บนเทวรูปเสียเป็นส่วนใหญ่ มิได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์เลย ดิฉันจึงขออนุญาตใช้พื้นที่บอร์ดนี้บังอาจเล่าและรวบรวมข้อคิดเห็นของดิฉันเองเกี่ยวกับเทวรูปศิลปะสุโขทัยเหล่านี้
ความมีโดยละเอียดดังนี้
#48
ขอบพระคุณสำหรับรูปสวยๆที่ฝีมือฉกาจฉกรรจ์เชียวค่ะ

ขออนุญาตเพิ่มเติมนิดหนึ่งนะคะ ขอประทานโทษล่วงหน้าถ้าเสียมารยาท คือนกที่ยืนทำหน้าดุอยู่หน้าพระทวารพระที่นั่งพุทไธสวรรย์นี้คือนกทัณฑิมาค่ะ
ของวังหน้านี้ทำจากปูนปั้น ฝีมือช่งเมืองเพชร นกแบบนี้มีอยู่ที่หน้าเศวตกุฎษคารในวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วย แต่ทำด้วยสำริดค่ะ ข้อสังเกตคือทัณฑิมาจะถือตะบองอยู่เสมอ ให้สมหน้าที่พิทักษ์ป่าหิมพานต์ค่ะ

จะรอชมผลงานสวยๆจากคุณ enter 21 อีกนะคะ
#49
ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีค่ะ

ภาพแต่ละภาพนอกจากถ่ายมางามแล้ว คุณอักษรยังกรุณาเอามาปรับให้เราเห้ฯลายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอบพระคุณจริงๆค่ะ

เทวดานพเคราะห์สำรับนี้น่าสนใจมากค่ะ นอกจากความงดงามแล้ว ยังแสดงอารมณืได้อย่างมีชีวิตชีวา ทั้งในส่วนของสัตวฺพาหนะและองค์เทวดาเอง

ที่สำคัญคือทุกองค์สามารถถอดออกได้เป็ฯ 3 - 5 ชิ้น สุดยอดจริงๆค่ะ

ด้วยขนาดและกลไกเช่นนี้ดิฉันคิดว่าคงมีไว้สำหรับเจ้านายท่านทรงสักการะมากกว่าจะมีไว้สำหรับประดิษฐานบนวิมานระทาในพิธีสำคัญหรือไม่คะ อย่างไร ใครคิดเห็นประการใดบ้างคะ
#51
ที่แสดงมาทั้งหมดนี้เป็ฯความคิดของเด็กมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 เมื่อหลายปีมาแล้วนะคะ ย่อมมีส่วนผิดพลาดอยู่มาก และที่มั่นใจได้เลยก็คืออ่านไม่ค่อยีปเรื่องเท่าไร
ความมุ่งหมายสำคัญที่สุดของดิฉันไม่ได้อยู่ที่การให้ความรู้นะคะ เพราะถ้าหมายใจอย่างนั้น คงต้องผิดหวังเพราะทุกท่านก็น่าจะรู้ๆกันอยู่แล้ว แต่จุดมุ่งหมายสำคัญของดิฉันคือการกระตุ้นให้ทุกท่านหันมาร่วมใจกันสร้างความสัมพันธ์อันดีและส่งเสริมบรรยกากาศแห่งการเรียนรู้ให้กลับมาสู่ 'บ้าน' ที่รักของเรามากกว่า

นอกจากนี้หากมีคุณประโยชน์ใดเกิดขึ้นจากบทความเหล่านี้ ดิฉันขอน้อมถวายเป็นเทวพลีแด่พระกฤษณะ เนื่องในโอกาสที่ดิฉันกำลังจะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนสถานะครั้งสำคัญในชีวิต ขอได้โปรดอำนวยสุขให้กับดิฉันและผู้เป็นที่รักด้วย

และขอมอบบทความนี้เป็นมิตรพลีแด่ท่านทั้งหลายที่ได้สละเวลาอ่านแต่ต้นมาจนบัดนี้

อินทุศีตาลา



'ในเรื่องของอรรถ กาม ธรรมและโมกษะแล้ว สิ่งใดที่มีในมหาภารตสิ่งนั้นย่อมมีในโลก แต่หากสิ่งใดไม่มีในที่นี้แล้ว ย่อมไม่มีในโลกเช่นกัน'
#52
ดังนี้เราจึงได้รู้เห็นเรื่องราวในรามายณะมากกว่ามหาภารตยุทธ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่ามหากาพย์อันยิ่งใหญ่นี้ไม่มีอิทธิพลต่อผู้คนแถบนี้

#53
เราจึงเห็นการแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ให้เป็นผู้ประเสริฐ โดยใช้พระรามเป็นสื่อ ยกตัวอย่างการถวายพระนาม "รามาธิบดี" แด่พระมหากษัตริย์ ทั้งในสยามและในกัมพูชา ทั้งนี้เพื่อยกย่องว่าทรงเป็นกษัตริย์และพระเจ้าผู้ประเสริฐ ดังนั้นเรื่องราวของรามายณะจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าในรูปแบบต่างๆ อาทิ จิตรกรรม, ประติมากรรม, วรรณกรรม, ศิลปะการแสดง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

แต่เรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตยุทธแม้กระทั่งเรื่องราวของพระกฤษณะกลายเป็นเรื่องย่อยที่ชี้ให้เห็นถึงฤทธานุภาพอันอเนกอนันต์ของพระเจ้าเท่านั้น ไม่ได้อยู่ในฐานะ 'ของหลวง' อีกต่อไป

พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน'ลิลิตนารายณ์สิบปาง' ยิ่งย้ำชัดถึงทัศนคติของคนไทยและอาจหมายถึงคนทั่วทั้งอุษาคเนย์ที่มีต่อพระกฤษณะว่า ทรงมีทั้งข้อดีและข้อเสีย สะท้อนความเป็นมนุษย์มากกว่าพระราม ซึ่งกลายเป็นเทพเจ้าในอุดมคติไปแล้ว



ฉากการรบในรามายณะ ภาพสลักที่ระเบียงนครวัด



พระกฤษณะทรงนำเสื้อผ้าของนางโคปีไปซ่อนขณะพวกนางเล่นน้ำอยู่
#54
วิเคราะห์สาเหตุที่อิทธิพลต่อผู้คนของมหาภารตยุทธในดินแดนอุษาคเนย์เบาบางกว่ารามายณะ

ต้องยอมรับว่าแม้ศาสนาพราหมณ์จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม เฉพาะอย่างยิ่งในเขตประเทศไทย, กัมพูชา, พม่า, ลาวและอินโดนีเซียนับตั้งแต่อดีต ทว่าน้อยกว่าอิทธิพลของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาหลักที่ผู้คนยอมรับนับถือจนใช้พุทธธรรมเป็นกรอบให้แก่ทัศนคติของตน

หากพิจารณาเฉพาะในหมู่ของชนชั้นปกครองแล้ว จะเห็นว่าระบอบเทวราชามักมีแนวคิดเรื่องพุทธราชาควบคู่ไปด้วยเสมอ โดยเน้นให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในศีลธรรมจรรยา เป็นผู้แทนของความดีที่ไม่มีรอยด่างพร้อย เรื่องราวในมหากาพย์รามายณะสะท้อนภาพการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่วชัดเจน โดยมีพระรามและทศกัณฐ์เป็นเครื่องหมาย การจะแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ให้เป็นพระเจ้าผู้ประเสริฐอย่างพระราม ซึ่งไม่ทรงมีข้อด่างพร้อยเลยจึงง่ายกว่าเมื่อเทียบกับพระกฤษณะซึ่งหลายครั้งทรงมีวีรกรรมที่ค่อนข้างจะคึกคะนอง โดยเฉพาะช่วงต้นแห่งพระชนม์ชีพ นอกจากนี้ตอนจบของมหากาพย์รามายณะ ยังงดงามยิ่งกว่าตอนจบของมหภารตที่พูดถึงการล่มสลายของพระราชวงศ์ยาทพและการสิ้นสูญนครทวารกาอันเป็นจุดเริ่มต้นของกลียุค



พระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ศิลปะเขมรก่อนเมืองพระนคร
#55
หลักฐานสำคัญอีกชั้นหนึ่งที่ยืนยันว่าชาวกรุงเทพรู้จักมหากาพย์มหาภารตยุทธอย่างดีก็คือ คำฉํนท์นิพนธ์เรื่อง 'กฤษณาสอนน้องคำฉํนท์' ซึ่งสันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินทร์แต่งขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราช มีเค้าโครงเนื้อหามาจากชีวิตของนางเทราปตี หรือนางกฤษณาในที่นี้

อย่างไรก็ตามผู้ที่ทรงเข้าพระทัยแตกฉานในหมากาพย์มหาภารตยุทธ น่าจะเริ่มต้นที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะทรงพระราชนิพนธ์บทละครหลายเรื่องที่มีเค้าเป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหาภารตยุทธ อาทิ ศกุนตลา, สาวิตรี เป็นต้น ทำให้ชื่อของมหาภารตยุทธเริ่มเป็นที่คุ้นเคยอย่างกว้างขวางอีกครั้งในหมู่นักปราชญ์ของไทยและแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน




ศกุนตลาฝีมือครูเหม เวชกร


#56
หลักฐานทีทำให้เราเชื่อได้ว่าลัทธิความเชื่อแบบพราหมณ์อินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อแนวคิดของคนกรุงเทพฯ ก็คือสมุดภาพ 'ตำราเทวรูปและเทวดานพเคราะห์' ซึ่งมีถึง 5 เล่มสมุดไทย ที่สันนิษฐานว่าผู้ที่โปรดให้สร้างขึ้นก็คือเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในราวๆรัชกาลที่ 4 โยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ภาพต้นแบบในการเขียนภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส, วัดสุทัศน์เทพวราราม และอีกหลายๆ แห่ง
ตำราภาพเหล่านี้ปรากฏภาพเทพเจ้าพระองค์ต่างๆในปางต่างๆกันไป ตั้งแต่พระมหาเทพทั้งสามและอวตารในรูปแบบต่างๆ เรื่อยไปจนถึงพระศักติและเทพชั้นรอง อาทิ พระอุมาเทวี, พระลักษมีเทวี, พระขันธกุมาร, พระพิฆเณศวร เป็นต้น และบางภาพแม้ชื่อที่จารไว้ข้างภาพจะเพี้ยนไปบ้าง แต่เราก็ยังสามารถเทียบเคียงภาพเทพเจ้าต่างๆนั้นกับภาพเทพเจ้าตามคติอินเดีย อาทิ ภาพพระปรเมศวรปราบมุลาคะนีในสมุดไทยดำเลขที่ 32กับพระศิวะนาฎราช, ภาพพระอิศวรสร้างพระหิมพานในร่มไม้สกรมในสมุดไทยดำเลขที่ 70 กับพระทักษิณามูรติ และที่สำคัญคือพระนารายณ์ทรงขลุ่ยปราบอสูรเวรำภากับภาพพระพลเทพถือไทยในพระสมุทรูปพระไสยสาตร เลขที่ 33 กับพระกฤษณะและพระพลราม ซึ่งทำให้เราทราบว่าอย่างน้อยผู้คนในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 4 ก็คุ้นเคยกับรูปพระกฤษณะในฐานะอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ รวมไปถึงยังรู้จักพระพลราม ในชื่อ พระพลเทพ อีกด้วย




ปล.ดิฉันจะพยายามทำลายความขี้เกียจของตัวเอง เอารูปภาพที่อ้างถึงเหล่านี้มาห้ชมกันในเร็ววันค่ะ
#57
มหาภารตยุทธในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
ระยะเวลา 15 ปีในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หมดไปกับการกอบกู้บ้านเมืองทั้งในแง่ของการเมืองการปกครองและศิลปวัฒนธรรมกระแสหลัก ดังนั้นเรื่องราวของมหากาพย์มหาภารตยุทธจึงไม่มีหลงเหลือให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนนัก
ล่วงมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเด่นชัด บ้านเมืองเป็นปรกติสุขจนกระทั่งเริ่มมีการค้าขายและติดต่อสื่อสารกับนานาอารยประเทศอีกครั้ง นอกจากการรื้อฟื้นตำรับตำราและขนบธรรมเนียมโบราณอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตต่างก็ได้ใช้ความเข้าใจเดิมที่ตนมีอยู่สร้างสรรค์ผลงานมากมายขึ้นมาประดับพระนคร หนึ่งในนั้นคือเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องด้วยมหาภารตยุทธ
ในปี พ.ศ.2373 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏว่ามีพราหมณ์เทศท่านหนึ่งเดินทางเข้ามายังพระนคร มีนามว่าพราหมณ์อัจจุตะนันนำมาแต่ชมพูทวีป และได้ให้การถึงความเป็นไปในเมืองพาราณสีบ้านเกิด แม้เนื้อความจะเป็นที่ถกเกถียงถึงข้อเท็จจริงทั้งในส่วนของผู้ให้การและคำแปล แต่เรื่องนี้ก็เป็นพยานว่ากรุงเทพมหานครมีการติดต่อสื่อสารกับพราหมณ์เทศมาตั้งแต่เริ่มแรก และพราหมณ์เหล่านี้ย่อมนำมาซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามลัทธิของตนเข้ามาเผยแพร่ด้วย




เทวสถานสำหรับพระนคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดฯให้สร้างขึ้น

#58
ขอบพระคุณคุณพี่ศรีมหามารตี, คุณอักษรชนนีและคุณ tomino ค่ะ ที่กรุณาแวะเวียนมาให้กำลังใจ ดิฉันหวังว่ากำลังเล้กๆของดิฉันจะมีส่วนแสดงให้โลกได้รู้ว่าบอร์ดนี้ยังเต็มไปด้วยไมตรี และยังเปี่ยมไปด้วยความรู้ เช่นเคย

ขออนุญาตต่อนะคะ

#59
เชื่อว่ากระทู้นี้คงร้างเช่นเดียวกับกระทู้อื่นๆที่ดิฉันเคยตั้งมา แต่อย่างไรก็ตามดิฉันจะพยายามตั้งกระทู้ทำนองนี้ขึ้นให้มาก เพื่อยืนยันว่าสมาชิกบอร์ดนี้ยังคงสนใจใฝ่หาและแบ่งปันความรู้กันอยู่ แม้จะมีดิฉันเพียงคนเดียวก็ตาม

และหวังว่ากระทู้นี้คงจะทำให้หลายๆท่านที่เข้ามาดูได้ทราบว่า HM หาได้เต็มไปด้วยคนที่เข้ามาเพื่อกิจร้ายต่างๆไม่ ที่สำคัญที่สุดคือจะได้กระตุ้นเตือนให้บรรยากาศแห่งความรักและการเรียนรู้ซึ่งห่างหายไปนานแล้วกลับมาอีกครั้ง

คราวหน้าจะมาต่อเรื่องดังนี้ค่ะ
มหาภารตยุทธในความรับรู้ของผู้คนยุคธนบุรีและรัตนโกสินทร์
วิเคราะห์เหตุ 'ทำไมพระกฤษณะในสมัยรัตนโกสินทร์จึงไม่ได้รับการยอมรับเทียบเท่าพระราม'


#60
หลักฐานทีสำคัญอีกข้อหนึ่งซึ่งยืนยันว่าคนอยุธยาคุ้นเคยกับมหาภารตยุทธกันอย่างดีก็คือ วรรณคดีเรื่อง อนิรุทธ์คำฉันท์ ซึ่งฝีปราชญ์แต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาและเป็ฯต้นเค้าของวรรณดีเรื่อง อุณรุท ซึ่งแต่งขั้นในสมัยหลัง

เนื้อเรื่องของวรรรกรรมเหล่สนี้กล่าวถึงพระเจ้าอนิรุทธ์ หรืออุณรุท ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระกฤษณะ (ซึ่งในวรรณคดีไทยทั้งสองเรื่องเรียกว่า พระจักรกฤษณ์)

จึงอนุมานได้ว่าแม้มหาภารตยุทธจะไม่ได้ทรงอิทธิพลล้นหลามแก่วัฒนธรรมสุโขทัยและอยุธยา แต่ก็หาได้ห่างหายไปจากการรับรู้ของผู้คนไม่
#61
 

พระพุทธรุปสำริด ที่ฐานมีจารึกพระนาม'พระเจ้ายุทธิษฐิระ'



ศิลาจารึกหลักที่ 2
#62
มหาภารตยุทธในสมัยสุโขทัยอยุธยา
ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันว่ามหาภารตยุทธหรือแม้กระทั่งรารมายณะเองยังเป็นที่รู้จักในสมัยสุโขทัยหรือไม่ เพราะหลักฐานทางโบราณคดีที่หลงเหลืออยู่ในเวลานี้ยังไม่มีชิ้นใดระบุได้ว่าอิทธิพลของมหากาพย์ทั้งสองแพร่หลายมาถึง  ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าพระนาม 'รามคำแหง' ของกษัตริย์สุโขทัยนั้นหมายถึงพระรามจันทราวตาร ในมหากาพย์รามายณะ แต่นักวิชาการด้านศาสนวิทยา, คติชนวิทยาและภาษาศาสตร์หลายท่าน อาทิ ศ.ประเสริฐ ณ นคร ลงความเห็นว่า พระนาม 'ราม' นั้น หาได้หมายถึงพระรามในคติฮินดูไม่ แต่หมายถึง 'พระราม' อันเป็นนามของอนาคตพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งที่คัมภีร์อนาคตวงศ์ ระบุว่าจะเสด็จอุบัติขึ้นในอนาคตโลก คัมภีร์นี้คงแพร่หลายอย่างยิ่งแล้วในเวลานั้นเพราะในกาลต่อมาเป็นหนึ่งใน 'หนังสืออ้างอิง' ที่ พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1 ทรงใช้ในการแต่งไตรภูมิพระร่วงเมื่อปี 1888
นอกจากเทวรูปหมู่หนึ่งที่กษัตริย์ผู้ทรงธรรมพระองค์นั้นทรงสร้างขึ้นและประดิษฐานไว้ ณ เทวาลัยมหาเกษตรพิมานในเมืองสุโขทัยแล้ว ดูเหมือนว่าเรื่องราวของพระเป็นเจ้าในสมัยสุโขทัยจะมีเหลือมาถึงเราน้อยเต็มที
แต่กุญแจดอกสำคัญของอิทธิพลมหาภารตยุทธในอาณาจักรสุโขทัย กลับเด่นชัดขึ้นเมื่อปลายสมัย เมื่อปรากฏพระนามของขัตยราชพระองค์หนึ่งในราชวงศ์พระร่วงว่า 'พระเจ้ายุทธิษเฐียรหรือยุทธิษฐิระ'
          เจ้าชายพระองค์นี้เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาบรมปาล ปัจฉิมกษัตริย์แห่งอาณาจัรสุโขทัยซึ่งขณะนั้นมีราชธานีอยู่ที่เมืองสองแคว และเป็นพระสหายของ 'พระราเมศวร'ขัติยชาติที่ทรงมีเชื่อสายทั้งพระราชวงศ์พระร่วงทางฝ่ายพระมารดาและราชวงศ์ผู้ครองอยุธยาจากฝ่ายพระราชบิดา
          เจ้าชายทั้งสองตกลงกันว่าถ้าพระราเมศวรได้รับการสถาปนาให้ปกครองแผ่นดินอยุธยาซึ่งเวลานั้นมีอำนาจเหนือสุโขทัยแล้ว จะต้องสถาปนาเจ้าชายยุทธิษเฐียรเป็นกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยด้วย แต่การณ์หาได้เป็นไปดังนั้นไม่
          เพราะเมื่อพระราเมศวรทรงครองกรุงศรีอยุธยาในพระนาม 'สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ' แล้ว ต้องปรับปรุงรูปแบบการปกครองเสียใหม่ ลดอำนาจเจ้าท้องถิ่นลง เจ้าชายยุทธิษเฐียรจึงเป็นได้แค่ 'เจ้าเมืองสองแคว' มิใช่กษัตริย์ นั่นทำให้พระองค์เปลี่ยนพระทัยไปเข้าข้างศัตรูของอยุธยา คืออาณาจักรล้านนา และได้รับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าติโลกราชให้ขึ้นไปครองเมืองพะเยา
     ยังปรากฏพระพุทธรูปสำริดเนื้อสุกใสองค์หนึ่ง ซึ่งจารึกที่ฐานกล่าวว่า
ศักราช 1389 เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ วันอาทิตย์ อุตรภัทรนักษัตร โสริยาม พระราชาผู้เป็นใหญ่ ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายุทธิษฐิรราม" เป็นพระราชาผู้ครองเมืองอภินว ทรงประสูติในวงศ์ของนักรบผู้กล้าหาญเป็นเยี่ยม ทรงประกอบด้วยธรรม แตกฉานพระไตรปิฎก ได้สร้างพระพุทธรูปทององค์นี้ มีนำหนักประมาณ14 พัน เพื่อดำรง (พระศาสนา) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
<o:p> </o:p>
อันพระนามยุทธิษเฐียรหรือยุทธิษฐิระนี้ ย่อมทราบกันดีว่าคือพระนามของหนึ่งในภราดาปาณฑพ  โอรสของนางกุนตีที่เกิดจากพระธรรมเทพ 
นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อที่น่าสนใจอีกชื่อหนึ่ง ในศิลาจารึกหลักที่สอง ซึ่งพบที่อุโมงค์วัดศรีชุมในเมืองสุโขทัย เป็นจารึกที่บอกเล่าเรื่องราวของพระเถระสำคัญรูหนึ่งของสุโขทัยคือ 'สมเด็จพระมหาเถรศรีสัทธาราชจุฬามุนี ศรีรัตนลงกาทีป มหาสามีเป็นเจ้า' ซึ่งทรงมีพระชาติกำเนิดเป้ฯเชื้อพระวงศ์เก่าแก่ของสุโขทัย ก่อนจะเสด็จออกผนวชและจาริกไปยังเมืองต่างจนถึงเมืองลังกาและทรงได้รับการยอมรับนับถือเป็นอย่างยิ่งในเมืองนั้น
ตอนหนึ่งของจารึกกล่าวว่าเสด็จไปถึงยัง 'นครพระกฤษณ์' ซึ่งมีพระเจดีย์โบราณใหญ่โต และทรงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นั้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคือเมืองนครปฐม
ชื่อนครพระกฤษณ์นั้น น่าสนใจมาก ด้วยเป็นที่ทราบกันว่านครปฐมนั้นคือศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดี ที่มีนามคล้าย 'ทวารกา' นครของพระกฤษณะ และอาจเป็นต้นเหตุทำให้พระมหาเถรฯทรงเรียกเมืองนี้ว่า 'นครพระกฤษณ์
#63
มหาภารตยุทธก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
นับตั้งแต่อดีตกาล ผู้คนในเอเชียตะวันออกรู้จักและคุ้นเคยกับมหากาพย์มหาภารตยุทธเป็นอย่างดี อย่างน้อยก็ในเหล่านักบวชและชนชั้นปกครองซึ่งมีศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเป็นเครื่องพยุงสถานะ หลักฐานที่เห็นได้ชัดก็คือภาพสลักในเทวสถานหลายแห่งเล่าเรื่องราวมหาภารตยุทธ ที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดก็คือระเบียงคดของปราสาทนครวัด
ในพื้นที่ที่จะกลายมาเป็นประเทศไทย เรายังได้พบเทวสถานสำคัญซึ่งมีการสลักเสลาภาพเล่าเรื่องมหาภารตยุทธ เช่น ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง, เป็นต้น
นอกจากภาพสลักแล้ว เรายังพบโบราณวัตถจำพวกเทวรูปหลายชิ้น ที่เกี่ยวพันหรืออาจเกี่ยวพันกับมหาภารตยุทธ อาทิ เทวรูปหินทราย เป็นบุคคลสวมหมวกทรงกระบอก ยกแขนข้างหนึ่งขึ้น ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าคือรูปพระกฤษณะกำลังยกภูเขาโควรรธนะ เป็นต้น

พระกฤษณะปราบช้างกุวัลยปิถะที่ปราสาทพิมาย

พระกฤษณะปราบกาลิยะนาค

สันนิษฐานว่าพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ที่เมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์


#64
บทความนี้ปรับปรุงมาจากตอนที่ทำรายงานส่งอาจารย์สมัยเรียนประวัติศาสตร์เอเชียใต้เมื่อ ปี2 หรือ ปี3 ค่ะ พอดีไปค้นเจอเอามาแก้ๆเสียหน่อย ตรงไหนผิดพลาดขอเชิญทุกท่านต่อเติมค่ะ

มหากาพย์มหาภารตยุทธกับการรับรู้ของสังคมไทย

มหากาพย์มหาภารตยุทธ ถือเป็นวรรณกรรมโบราณที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและแนวคิดของคนในภารตประเทศเป็นอย่างยิ่งนับเนื่องจากอดีตมาจนกระทั่งปัจจุบัน ดังที่ยะวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า "แม้ว่ารามายณะจะเป็นมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ และเป็นที่รักของประชาชนโดยทั่วไป แต่อันที่จริงแล้ว ต้องนับว่ามหากาพย์มหาภารตะต่างหากที่เป็นวรรณกรรมสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งของโลก มหากาพย์มหาภารตะมีความยาวมหึมา เป็นสารานุกรมหรือที่รวมของเรื่องเรื่องราวปรัมปรา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความรู้อันเกี่ยวกับสถาบันทางสังคมและการเมืองของอินเดียในสมัยโบราณ
      
มหากาพย์ที่มีความยาวถึง 100,000 โศลก หรือประมาณเจ็ดเท่าของมหากาพย์อีเลียตและโอดิสซี ที่ชาวตะวันตกถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นต้นธารแห่งอารยธรรมของพวกเขานี้ แต่งขึ้นโดยฤาษีกฤษณะ ไทวปานยะหรือนามที่เราทั้งหลายรู้จักกันดีว่า เวท วยาส นักวิชาการหลายสาขาลงความเห็นว่า มหากาพย์เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อราว 1,400 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล (ประมาณ 3,000 กว่าปีมาแล้ว) และคงจะได้รับการต่อเติมเสริมแต่งเรื่องมาจนกระทั่งประมาณ พ.ศ.743 จึงมีเรื่องราวอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ และแบ่งออกเป็นสองฉบับใหญ่ คือ ฉบับที่แพร่หลายทางอินเดียในตอนเหนือ และฉบับที่แพร่หลายในอินเดียทางตอนใต้

จะอย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับวัฒนธรรมอื่นๆของอินเดียที่ส่งอิทธิพลให้กับดินแดนต่างๆทั่วโลก มหาภารตยุทธก็ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วเช่นกัน และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างยิ่ง คำถามที่น่าสนใจก็คือในเมื่อมหากาพย์เรื่องนี้มีความยิ่งใหญ่เกรียงไกรและเป็นที่ยอมรับนับถือเท่าๆกับหรือมากกว่ามหากาพย์รามายณะ แต่ทำไมมหาภารตะจึงหายไปหลงเหลือแต่รามายณะ....ในเวลานี้

#65
สงกรานต์นี้ว่างจากภารกิจทั้งหลายค่ะ กอปรกับอายุได้ล่วงเลยวัยที่จะออกไปเล่นสาดน้ำข้างนอกแล้ว แต่เมื่ออยู่เฉยๆก็เบื่อ เลยนึกได้ว่ามีอะไรอยากแบ่งปันกับท่านทั้งหลายในบอร์ดเพื่อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ขึ้นอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน

อนุสนธิที่ครั้งหนึ่งดิฉันเคยเสียมารยาทปะทะคารมกับอดีตสมาชิกบอร์ดท่านหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องความเข้าใจของคนไทยที่มีต่อพระกฤษณะ และตั้งใจไว้ตั้งแต่นั้นว่าจะหาโอกาสชวนทุกท่านคุยเรื่องนี้ต่อ แต่จนแล้วจนรอดก็หามีโอกาสและเวลาไม่ จึงว่างเว้นไปเสียนาน ดังนี้ ในโอกาสขึ้นปีใหม่ของไทย (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวแก่พระกฤษณะเลย แต่ว่าดิฉันว่างพอดี)จึงขอเชิญเพื่อนสมาชิกบอร์ดทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับประเด็นนี้กันค่ะ

#66
ขอบพระคุณอาจารย์หริทาสค่ะ
#67
ขออนุญาตเพิ่มเติมว่า พระหัตถ์ทั้งสองคงเคยมีของวางอยู่นะคะ จะเห็ฯว่าพระหัตถ์ขวาบนทำนิ้วพระหัตถ์มีช่องสำหรับเสียบของซึ่งอาจจะเป็นดอกไม้หรือจักรแบบในจิตรกรรมก็ได้ ส่วนพระหัตถ์ที่แบอยู่ วางสังข์ได้เหมาะเชียวค่ะ

ถ้าจะผิดคต้องโทษคนที่เขียนป้ายหน้าถ้ำนะคะ คนเลยเอาส่าหรีมาห่มซะเต็มยศเชียว อันนี้ก็ไม่รู้จะไปเริ่มต้นโทษที่ใครค่ะ เพราะขึ้นชื่อว่าเทพฮินดูสำหรับคนทั่วไปถ้าไม่ใช่พระศิวะ พระคเณศ พระนารายณ์ ก็พระอุมานี่ล่ะค่ะ ที่รู้จักกันดีที่สุด แทนที่เราจะไล่ให้เขาไปที่อื่น ตะเพิดเขาไป เราทุกคนในบอร์ดนี้ล่ะค่ะที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องแก่สังคม

ขอเรียกร้องบรรยากาศแห่งการเรียนรู้กลับคืนมาสู่บอร์ดค่ะ

ปล.ยาวไปขออภัยท่านเจ้าของกระทู้ด้วยนะคะ
#68
สวัสดีคุณมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวค่ะ ขอบพระคุณสำหรับรูปถ่ายค่ะ ขออนุญาตเสนอความเห็นด้วยนะคะ

รูปนี้ตามเทวปกรณ์แล้ว ไม่ใช่พระอุมาอย่างที่คุณสงสัยและเป็นพระกฤษณะอย่างที่คุณ tomino ยืนยันค่ะ

สำหรับเทวรูปองค์นี้ ดิฉํนเมื่อมีโอกาสไปไหว้พระปฐมเจดีย์ก็มักเลยแวะเข้าไกราบท่านเสมอ ดูจะเป้ฯฝีมือช่างท้องถิ่นค่ะ แต่จะว่าเขา 'มั่ว' ก็ไม่ได้
หากจะพูดตามจริงแล้วนับว่าเขา 'เก่ง' ทีเดียวค่ะที่สร้างพระองค์นี้ขึ้นมา

ดิฉันคิดว่าช่างที่ทำพยายามจำลองแบบเทวรูปพระกฤษณะที่คนยุครัตนโกสินทร์รู้จักกันดี ดังปรากฎในสมุดไทยชื่อ 'ตำราเทวรูปและพระไสยศาสตร์' ซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราวรัชกาลที่ 4 อิงแบบตำราเก่า โดยการควบคุมของเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ และใช้เป็นต้นแบบจิตรกรรมในวัดสำคัญหลายแห่ง

รูปนี้เรียกตามตำราว่า 'พระนารายณ์ทรงขลู่ย'



ซึ่งจะว่าช่างเขียนท่านมั่วก็หาได้ไม่เพราะตรงกับพระหริกฤษณะหรือพระวิษณุกฤษณะ ตามตำราอินเดียอยู่มากเหมือนกัน


จะแปลกไปบ้างก็ตรงลายละเอียดและว้าย - ขวา ซึ่งเป้ฯปรกติของช่างพื้นบ้านอยู่แล้วค่ะ หากลักษณะโดยรวมน่าจะไม่พ้นพระกฤษณะค่ะ

#69
ขอบพระคุณข่าวสารดีดีจากคุณอักษรชนนีค่ะ

เราไม่ควรพลาดกิจกรรมมงคลและโอกาสพิเศษวุดในชีวิตครั้งนี้ด้วยประการทั้งปวงนะคะ อินทุศีตาลา ขออนุญาตชวนคุยถึงเรื่องนี้ตามความรู้นิดๆหน่อยๆที่มีอยู่ค่ะ

1.พระพุทธรูปหยก
พระพุทธรูปองค์นี้ไม่เคยนำออกมาจัดแสดงให้ใครได้ชื่นชมเลยนะคะ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้เคยเป็นสมบัติของในกรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ทำโดยห้างอัญมณีที่รับใช้ราชวงศ์ต่างๆมากมายหลายประเทศ รวมถึงพระราชวงศ์จักรีด้วยค่ะ ชื่อห้างนี้อ่านตามสำเนียงฝรั่งเศสว่า ฟาแบกเช่

ที่พระที่นั่งวิมานเมฆมีพระหยกคล้ายอย่างนี้อยู่องค์หนึ่ง ทำจากห้างเดียวกัน แต่ฐานและพระรัศมีหุ้มทองลงยาสลับสี เป็นสมบัติของพระราชบิดาในหลวงรัชกาลปัจจุบัน โดยทรงได้รับพระราชทานจากในกรมพิษณุโลก ซึ่งท่านเป้ฯผู้ได้รับมอบหมายจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ให้ออกไปเสาะหาหยกมาสร้างพระหยกถวายพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น ผลคือทรงหาได้หยกเนื้อดีขนาดใหญ่มากจากรัสเซียเมืองแห่งหยก แล้วให้ช่างฟาร์แบคเช่ทำพระส่งมาถวาย รัชกาลที่ 6 ถวายพระนามว่าพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วน้อย เชื่อกันว่าพระหยกสององค์ที่เหลือคงทำมาในคราวเดียวกันโดยในกรมพิษณุโลกนำมาพระราชทานพระอนุชาทั้ง 2 พระองค์ที่ทรงสนิท

2.เทวดาพระเคราะห์

สังเกตให้ดีจะเห็นว่าเทวดาพระเคราะห์ ไม่ได้สร้างให้มีรุปลักษณือย่างที่เราๆเข้าใจกัน ทั้งตามลัทธิไทยเองหรือลัทธิอินเดียนะคะ ยกตัวอย่างพระพฤหัสบดีก็ไม่ได้เป็นฤาษีแบบไทย หรือมีสี่กรอย่างอินเดีย ช่างท่านออกแบบให้เทวดามีรูปร่างอย่างเดียวกัน หน้าตา ท่าทาง เครื่องแต่งกายเหมือนกันเกือบทุกองค์ ยกเว้นส่วนกุณฑลที่พระราหูและพระเกตุจะสวมกุณฑลรูปห่วง ส่วนองค์อื่นๆจะเหมือนกันสวมกุณฑลรูปลิ่ม พระพักตร์นั้นบางองค์มีเค้างามดีอยู่ บางองค์ก็แปลกไปบ้าง น่าสนใจมาก

พระนพเคราะห์เหล่านี้ สร้างตามตำราของเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ท่านคือโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่ทรงมีพระกรณียกิจเกี่ยวกับประติมาณวิทยาของพระเป็นเจ้ามากมาย อาทิ ตำราเทวรูปและพระไสยศาสตร์หลายฉบับ, ภาพเขียนรูปพระเป้ฯเจ้าที่ประตู-หน้าต่างวัดสำคัญๆหลายแห่ง มีเรื่องเล่าว่าท่านออกแบบแม่พิมพ์พระสมเด็จรุ่นหนึ่งถวายแด่สมเด็จโตด้วย อันนี้ไม่ทราบเท็จจริงอย่างไร เจ้าฟ้าพระองค์นี้เป้ฯต้นราชสกุล อิศรศักดิ์ ซึ่งยังมีทายาทถวายงานสำคัญอยู่ในพระบรมมหาราชวังค่ะ

อื่นใดของเชิญทุกท่านเพิ่มเติมค่ะ




#70
เห็นด้วยกับคุณเจ้าของกระทู้ค่ะ

กิจบางอย่างมีไว้สำหรับผู้เป็นพราหมณ์เท่านั้นค่ะ เพราะพราหมณ์คือผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้เรียนพระเวทจนเจนจบ มนตราและขั้นตอนต่างๆในการประกอบยัชญพิธีมีความละเอียดซับซ้อน ไม่สมควรที่เราจะไปพยายามทำอย่างผิดๆหรือสะเปะสะปะ

การเป็นพราหมณ์นั้น ก็ไม่ใช่ว่าใครบวชแล้วจะเป็นได้ด้วยนะคะ (หลายคนเข้าใจกันว่าอย่างนั้น) ความข้อนี้คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้คำว่า 'วรรณะ'
ดังที่มีคำอยู่คำหนึ่งซึ่งใช้เรียกพราหมณ์ คือคำว่า 'ทวิชาติ' ซึ่งหมายถึง ผู้เกิดสองหน มีนัยว่า การเกิดครั้งแรกคือเกิดจากท้องแม่ ถือเป็ฯพราหมณืโดยกำเนิด ยังไม่มีสิทธิ์เรียนพระเวท (ขนาดเกิดในตระกูลพราหมณ์ยังเรียนไม่ได้เลยนะคะ) ต่อเมื่อเกิดครั้งที่สอง คือ การรับการบวชจากอาจารย์แล้ว จึงจะถือว่าเป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์ ร่ำเรียนไตรเพทและประกอบพิธีต่างๆได้

ข้อนี้ถือกันทั้งนั้น ไม่ว่าพราหมณ์ไทยหรือพราหมณ์เทศค่ะ
#71
ใกล้สงกรานต์ชื่นบานอีกแล้วนะคะ อินทุศีตาลา (มาช้าไปสักนิด) ขอเชิญทุกท่านร่วมพิธีบูชาสำคัญในช่วงนี้ดังนี้ค่ะ

เทวสถานเทพมณเฑียร จัดพิธีบูชาเนื่องในเทศกาลนวราตรี (ครึ่งแรกของปี) ณ เทวสถานเทพมณเฑียร
ตั้งแต่วันที่ 4 - 11 เมษายน 2554
เวลา 07.00 - 10.00 น. พิธีบูชาพระทุรคาเทวีและศักตื

วันที่ 12 เมษายน 2554 เวลา 07.00 - 10.00 น. พิธีโหมกูณฑ์ ณ ดาดฟ้าเทวสถานเทพมณเฑียร

ขอเชิญรว่มงานค่ะ

#72
สวัสดีคุณ tatum ค่ะ

แปลกใจมากนะคะที่ยังไม่เห็นมีใครเข้ามาแสดงความคิดเห็นในกระทู้ที่มีประโยชน์และจะสามารถต่อยอดออกไปได้อย่างสร้างสรรค์เช่นกระทู้นี้ ดังนั้นจึงขออนุญาตตอบเป็นคนแรกแม้ว่าความคิดเห็นอาจจะไม่มีประโยชนือะไรเพราะดิฉันสมองน้อยก็ตาม

อ่านเนื้อหาแล้วนึกถึงตัวเองสมัยเรียนมหาวิทยาลัยเมื่อมีโอกาสช่วยเพื่อนทำนาฏนิพนธ์ค่ะ เธอทำเรื่องประเพณ๊เล่น 'นางกวัก' ของชาวไทยพวนเมืองหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย จึงทราบดีว่าการทำงานลักษณะนี้ยาก สุดยอดอย่างไร ขอเป็นกำลังใจให้คุณ tatum นะคะ และขอแสดงความคิดเห้ฯดังนี้ค่ะ

ในความคิดของดิฉันดอกไม้ที่ทัดศรีษะในฐานะเครื่องประดับของเราแล้ว อาจจะไม่ควรนำไปถวายพระหรือเปล่าคะ เพราะดอกไม้นั้นได้ใช้ประดับประดาเราไปเสียแล้ว เข้าใจว่าคุณ tatum ได้ความคิดนี้มาจากการเปลื้องเครื่องประดับหรือผ้าห่มจากกายไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ในลักษณะนั้นน่าจะเป็นเพราะเครื่องประดับและผ้านั้นเป็นของมีค่าควรแก่การ หมายเอาว่าเราได้เปลื้องทรัพย์อันมีค่าประเสริฐถวายเป็นเทวบูชา แต่ดอกไม้อาจจะเป็นอีกกรณีหนึ่ง

อนุสนธิว่าด้วยเรื่องดอกบัวประดับผมนั้น ไม่แน่ใจว่าคุณ tatum ต้องการความถูกต้องตามประวัติศาสตร์หรือเปล่าค่ะ เพราะเท่าที่ทราบการประดับผมด้วยดอกบัวอาจมีน้อยหรือไม่มีเลยในพื้นที่ประเทศไทยหรืออาจจะรวมไปถึงในชมพูทวีปด้วยค่ะ

ถ้าเปลี่ยนเครื่องทัดศรีเป็นของมีค่าหรือถือดอกบัวมาบูชาเลยน่าจะมีข้อโต้แย้งน้อยกว่า แต่เข้าใจว่าคุณ tatum คงวางนาฏลักษณ์เอาไว้แล้ว

หวังใจว่าจะมีผู้รู้ท่านอื่นมาให้ความกระจ่างค่ะ และไม่ทราบว่าความเห้ฯของดิฉันจะมีประโยชนือันใดหรือไม่ แต่ย้ำว่าเป็นกำลังใจให้ค่ะ


#73
ในที่สุดอินทุศีตาลาก็ได้เทวรูปพระนาฏราชมาเป็นมงคลชีวิตแล้วค่ะ
โครงการต่อไปคือการสลักโศลกเพราะๆเกี่ยวกับพระนาฏราชไว้ที่ฐาน

ดังนี้จึงอยากจะรบกวนท่านผู้รู้ในโศลกทั้งหลายค่ะว่า ควรใช้โศลกไหนดีที่ไพเราะ ความหมายดี และไม่ยาวจนเกินไปนัก

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

#74
ขอบพระคุณคุณพี่ศรีมหามารตีมากเลยค่ะ

ตราบใดที่บอร์ดนี้ยังมีคุณพี่อยู่ สาระน่ารู้ย่อมมากมายจริงๆค่ะ
#75
สาธุค่ะ

ขอพระเป้นเจ้าอำนวยพรแด่อาจารย์หริทาสค่ะ

#76
ขอบพระคุณสำหรับความรู้ค่ะ แง่ว มีพระศิวลึงก์สององค์เหมือนกันค่ะ สงสัยต้องอัญเชิญกลับบ้านนอกองค์หนึ่งด่วน
#78
นึกถึงตัวเองตอนหัวหูเลอะสีนานา แล้วนั่งรถเมล์กลับบ้านแล้วจั๊กกะจี้จังค่ะ
#79
ทั้งนี้ สงสัยมานานแล้วค่ะ ขออาราธนาอาจารย์หริทาส อธิบายเรื่องของ วาสตุเทวตา ด้วยค่ะ ว่าคือใคร ทำหน้าที่ใด มีรูปลักษณ์เป้ฯอย่างไร

เข้าใจว่าเวลาไปทำพิธีที่วัด พราหมณ์ท่านก็บูชาเทวดานี้ด้วยทุกครั้งใช่ไหมคะ

ทั้งนี้ชื่อของมณฑลต่างๆถูกบ้าง ผิดบ้าง (ผิดมากกว่าถูก55555) ข้างบนนี้ ไพเราะมากค่ะ หนูจำ (แต่ไม่ได้จด น่าเคาะกระโหลกตัวเองจริงๆ)มาจากคำอธบายของบัณฑิตในวัดเทพมณเฑียรซึ่งกรุณาให้ข้อมูลอย่างไม่เบื่อหน่ายเลย เลยอยากถามอาจารย์หริทาส ดังนี้ค่ะ

1.มณฑลเหล่านี้เมื่อมียัชญพิธีต้องทำทุกอัน ทุกครั้ง ใช่ไหมคะ
2.แล้วแต่ละงานจะมีมณฑลเหมือนแบบนี้หรือจะต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานคะ
3.พราหมณ์เท่านั้นที่สร้างมณฑลได้ใช่หรือไม่คะ (แค่อยากรู้เฉยๆนะคะ ไม่ได้อาจหาญจะทำแต่อย่างใด 5555555)
4.มณฑล กลัศ และมูรติ มีความสำคัญต่อการบูชาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และอะไรสำคัญกว่ากัน อย่างไรคะ

ขอประทานโทษที่หนูถามเยอะนะคะ แต่คิดว่าคงเป็นความรู้ของหนูและทุกท่านที่ผ่านมา อันจะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อความเข้าใจอันดีและถูกต้องเกี่ยวกับพิธีกรรมในศาสนาฮินดูค่ะ

กราบขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
#80
ขอบพระคุณอาจารยฺหริทาสค่ะ
หนูยินดีมากค่ะที่อาจารย์กรุณาเข้ามาแก้ไขและเพิ่มเติมให้ค่ะ เพราะเรื่องเหล่านี้ 'ใหม่'มากสำหรับหนู ขออนุญาตถือโอกาสนี้เก็ฐความรู้จากอาจารย์นะคะ

และรออาจารย์มาเพิ่มเติมด้วยใจจดจ่อค่ะ