Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - กาลปุตรา

#1
เอารูปถ่ายที่ซุ้มมาฝากกันครับ สำหรับพี่ๆ น้องๆ ชาว Hindumeeting





#2
ขอเชิญชวนเพื่อนชาว Hindumeeting ไปร่วมกันบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ทำความสะอาดราชประสงค์ในวันนี้กันครับ ทางรัฐบาลขอความร่วมมือร่วมใจมา 11.00 น. เจอกันที่ราชประสงค์นะครับ ช่วยกันเก็บกวาดบ้านให้สะอาดกันนะครับ
#3
ศรีมัทภควัทคีตา
(श्रीमद्भगवद्गीता - Shrimad Bhagavad Gita)
หรือ

ภควัทคีตา
(भगवद् गीता - Bhagavad Gita)
ท่วงทำนองลีลาแห่งพระผู้เป็นเจ้า

กฤษณไทวปายนวยาส (कृष्ण द्वैपायन व्यास - Krishna Dvaipayana Vyasa)
หรือ มหาฤษีวยาส (व्यास - Vyasa) ผู้รจนา
กาลปุตรา (कालपुत्त्रा - Karaputra) แปล (ฉบับ Online ธรรมทาน)

***ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า หรือ หาผลประโยชน์ โดยเด็ดขาด***
        ศรีมัทภควัทคีตาหรือภควัทคีตานั้น เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญอันแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ บรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ - Bhisma Parva) อันเป็นบทสนทนาตอบโต้ปัญหาอภิธรรมระหว่าง อรชุน (Arjuna - अर्जुन) เจ้าชายองค์ที่ 3 ของตระกูลปาณฑวะ (ปาณฑพ) กับพระกฤษณะ (Krishna - कृष्ण)
        ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาการเริ่มต้นการทำสงครามแย่งชิงความชอบธรรมเหนือแผ่นดินหัสตินาปุระ ณ ทุ่งกุรุเกษตร เมื่อกองทัพฝ่ายปาณฑวะของอรชุนเคลื่อนพลมาประจันหน้ากับกองทัพฝ่ายโกรวะ (เการพ - कौरव - [HIGHLIGHT=#ffffff][HIGHLIGHT=#fac08f][HIGHLIGHT=#fbd5b5]Kaurava[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]) ขององค์ทุรโยธน์ซึ่งถือได้ว่าเป็นพี่น้องร่วมวงศ์ (จันทรวงศ์) เดียวกัน
        ณ เวลานั้นเองอรชุนเกิดความท้อใจไม่ทำสงคราม เนื่องจากต้องมาทำสงครามสังหารเหล่าคณาญาติของตน จึงไม่มีจิตใจที่จะทำการต่อสู้ในสงครามครั้งนี้จนถึงกระทั้งยอมวางอาวุธในมือลงและพร้อมยอมโดนฝ่ายเการพสังหารโดยจะไม่ยอมตอบโต้
        ความทดท้อใจในครั้งนี้ของอรชุนผู้ทนงตนว่ามีฝีมือเก่งกาจในการทำสงครามและมีภูมิปัญญาทางพระเวทดีเยี่ยม ต้องถึงกับหันไปขอคำปรึกษากับพระกฤษณะผู้มาทำหน้าที่เป็นสารถี เกี่ยวกับเรื่องทางโลกและทางธรรมที่ตนนั้นไม่สามารถแยกแยะออกจากกันได้ในเวลาที่ต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง
        พระกฤษณะจึงได้ไขปริศนาทำลายความเข้าใจผิดๆ ทางความรู้ในพระเวทของอรชุนให้สิ้นไป ถ้อยความการสนทนาตอบโต้ระหว่างพระกฤษณะกับอรชุนนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นยอดแห่งพระเวทและอุปนิษัทเลยก็ว่าได้ เพื่อให้เข้าในในแก่นแท้ของธรรมว่าเป็นเช่นไร
        การสนทนาตอบโต้ระหว่างอรชุนกับพระกฤษณะนี้ ก็เปรียบเหมือนจิตใจของมนุษย์เราซึ่งมีทั้งความดีความชั่วรวมอยู่ในร่างเดียวกัน บางครั้งคนเรานั้นจำต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เรานั้นก็มักจะตัดสินใจไม่ได้ระหว่างเส้นแบ่งดีและชั่ว เพราะต้องยอมรับว่าโลกเรานั้นเป็นทวิธรรม ไม่มีอะเลวเลวไปทุกเรื่องและไม่มีอะไรดีไปทุกเรื่อง ดีและเลวนั้นจะผสมอยู่ในร่างเดียวกัน จนทำให้เกิดความทุกข์ ดั่งมีคน 2 คนที่ถกเถียงอยู่ในร่างเดียวกัน เพียงแต่เราจะเลือกดีหรือชั่วนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุดได้อย่างไรเท่านั้นเอง
        จิตทั้ง 2 นั้นจะต่างยกเหตุยกผลมาโต้แย้งกันอยู่เสมอ ตรงนี้เองจึงทำให้เกิดทุกข์ เพราะ เรื่องใดที่แก้ได้ตัดสินใจได้ย่อมไม่เป็นทุกข์ เรื่องใดที่รู้แล้วยอมรับแล้วว่าแก้ไม่ได้จริงๆ ก็จะไม่ทุกข์ แต่ถ้าเรื่องใดนั้นยังอยู่ตรงที่จะแก้ได้หรือแก้ไม่ได้นั่นสิที่ทำให้เราเกิดความทุกข์
        เฉกเช่นดั่งอรชุนผู้คิดว่าตนนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉานในทางพระเวท หรือตัวของท่านทั้งหลายเองที่คิดว่าข้ารู้ ข้าเก่ง แต่พอเข้าสู่ช่วงเวลาที่คับขันจริงกลับนำความรู้ที่คิดว่าตนเข้าใจดีแล้วมาใช้ไม่ได้อย่างถูกต้อง นั่นเป็นเพราะจิตของเขาไม่รู้จริง ไม่มีพุทธิปัญญาไชชอนให้กระจ่าง
        พระกฤษณะจึงเปรียบได้ดั่งพุทธิปัญญา ที่มาทำลายความรู้ที่ผิดๆ ในพระเวทของอรชุนทิ้งเสีย แล้วสถาปนาความรู้ที่จริงแท้ อันเป็นหัวใจแก่นแท้ของพระเวทแก่อรชุนเสียใหม่ เมื่ออรชุนเกิดแสงสว่างดวงใหม่ที่บริสุทธิ์ในปัญญาแล้ว เขาจึงได้กลับมาหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้อีกครั้งด้วยปัญญาและกองทัพแห่งธรรม จนในที่สุดก็ได้ชัยชนะกลับมาอย่างสมบูรณ์ทั้งทางกายและใจ
        นี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อมหากาพย์มหาภารตะ ในสมัยเริ่มแรกที่มีชื่อเรื่องว่า "ชัย - जय" แล้วต่อมาจึงถูกเปลี่ยนชื่อมหากาพย์ไปเป็น "ภารตะ - भारत" แล้วมาเป็น "มหาภารตะ - महभारत" ตราบเท่าทุกวันนี้
        ดังนั้นบทสนทนานี้จึงเป็นดั่งตัวอย่างในการใช้เลือก ณ ช่วงเวลาที่เรานั้นต้องเลือกตัดสินใจอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งในการประกอบกรรมทำหน้าที่ของมนุษย์อย่างถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องหวังผลตอบแทนทางโลกวัตถุ เมื่อเราคิดตรองแล้วว่าสิ่งที่เรากระทำนั้นเราได้กระทำดีที่สุดแล้ว เราก็จะไม่ต้องมานั่งทุกข์กับผลที่เรานั้นจะได้รับจากการกระทำนั้นๆ
        ในทรรศนะของผมเอง ผมมักจะเรียก "คัมภีร์ภควัทคีตา" นี้ว่า "คัมภีร์แห่งลีลาการทำหน้าที่ของมนุษย์" 
คัมภีร์ภควัทคีตานี้เดิมผมไม่เคยรู้จักมาก่อน แล้วมาช่วง 20 กว่าปีที่แล้ว ในวันที่ผมท้อแท้ ผมได้เดินไปหาหนังสือธรรมะอ่านที่ร้านขายหนังสือประจำของผม
        ขณะนั้นเองได้มีคุณป้าเจ้าของร้านแพร่พิทยาเดินมาพูดคุยกับผมว่า "อายุยังน้อยสนใจธรรมะแล้วหรือ?" ผมเลยตอบไปว่า "ผมไม่รู้จะไปพึ่งอะไร ตอนนี้ทุกข์มากเลยอยากหาหนังสือธรรมะสักเล่มอ่าน"
        คุณป้าเจ้าของแพร่พิทยาท่านก็ได้กรุณาเดินไปหยิบหนังสือเก่าๆ เล่มหนึ่งมาให้ผม หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า "ศรีมัทภควัทคีตา เพลงแห่งชีวิต" แปลโดยท่านศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร แล้วคุณป้าก็กล่าวอีกว่า
        "เอาไปอ่านซะหนังสือเล่มนี้ป้าให้ มันจะช่วยเธอได้ อ่านจนกว่ามันจะเป็นเพลงนะ เมื่อเธอสามารถอ่านจนเป็นเพลงของเธอเองได้แล้วเธอจะเข้าใจมัน"
        มาวันนี้ผมไม่เคยสงสัยอีกเลย ทำไมเขาจึงเรียกคัมภีร์นี้ว่า "คีตา" อันหมายถึง บทเพลง หรือ ลำนำ เพราะแรกเริ่มเดิมทีอ่านอย่างไรมันก็เป็นคำๆ ตามตัวหนังสือ แต่พออ่านไปเรื่อยๆ หลายสิบรอบ ก็รู้สึกว่าทำไมจิตเราไม่อ่านตามตัวอักษรในกระดาษนั้นอีก มันเกิดเป็นเพลงใหม่ที่เป็นเพลงของเราไปเองโดยอัตโนมัติโดยไม่สะดุด
        ดังนั้นผมจึงอยากบอกผู้ที่สนใจอ่าน "ศรีมัทภควัทคีตา" ว่า คุณจงอ่านไป จนกว่าตัวหนังสือนั้นจะกลายเป็นเพลงเฉพาะตัวของคุณ แล้ววันนั้นคุณจะได้โลดเล่นเข้าร่วมทำสงครามมหาภารตะ ณ ทุ่งกุรุเกษตรในเวลานั้นอย่างสมบูรณ์ แล้วกลับออกมาในชีวิตจริงอย่างผู้มีชัย
        วันนี้ขอส่งต่อเนื้อเพลงแห่งพระศรีภควานของผม ให้ท่านผู้ที่สนใจได้ศึกษากัน เพื่อให้ท่านไปใส่ทำนองเพลงของท่านกันเอาเอง แล้วให้กลายบทเพลงของท่านเฉพาะตนในเวลาต่อไป ณ แต่บัดนี้
        ***ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตและคิดตามด้วยว่า พระนามของพระกฤษณะที่อรชุนกล่าวมาแต่ละขณะนั้น จะมักแตกต่างกัน นั่นเพราะผู้รจนานั้นพยายามสื่อแฝงลงไปให้ตีความ ยิ่งท่านตีความพระนามนั้นได้มากเท่าไร ท่านก็ยิ่งจะสามารถเข้าใจวลีนั้น มากเท่านั้น นี่เองจึงเป็นจุดที่พระคเณศต้องหยุดพักเขียนเพื่อตีความให้เข้าใจก่อนอยู่ตลอดเวลาที่ทรงเขียน***
(ที่ใดมีธรรม ที่นั่นย่อมมีชัย สัจจะมีหนึ่งเดียว แต่หนทางเข้าสู่นั้นมีหลากหลาย)
#4
ขออนุญาตเปิดกระทู้เล่านิทานกันหน่อยนะครับ แต่นิทานที่ผมจะเล่านี้จะเล่าแบบอาร์ทตัวพ่อนะ คือ เล่าตามใจฉันอะ วันนี้อยากเล่าเรื่องอะไรก็เล่า ห้ามบังคับ และไม่เรียงตามเหตุกาลนะครับ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า  ถ้าเรียงตามเหตุกาลของนิทานอินเดียแล้วจะยากมาก เพราะสับสนปนกันเละ

เอาหล่ะครับขอออกแขกก่อนเลยแล้วกัน จะได้เปิดม่านการแสดงนับจากบัดนี้เป็นต้นไป อ้าว...เชิด

อันเลวังกา ฮ่าฮา ฮ้าฮา ฮ่าฮา อ้าวเร่เข้ามา  มาดูลิเก  เฮเฮเฮเฮ้  เห่เฮ เห่เฮ  เห่เฮ  เห เฮ...ร้องไม่เป็นล่ะ พอดีก่า

อ้าวเปิดม่านเรื่องแรกกันเลยดีกว่า ไปเลยดีกว่าพ่อแม่พี่น้องคร๊าบบบบบบบบบบบบ
#5
เนื่องจากคุรุนั้นต้องการถ่ายทอดสัจธรรมแห่งความรู้ที่ถูกต้องในพระเวทโดยสมบูรณ์ ดังนั้นเราควรต้องรูกันก่อนว่าผู้ใดเป็นคุรุ และ ผู้ใดเป็นคุรุที่ลวงโลก ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจเป็นอย่างมากในปัจจุบันที่ปรากฏคุรุปลอมกันเกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งมักจะกระทำดังนี้

- เก็บเงินค่าบทมนต์
- ผิดคำสัญญาที่ให้ไว้กับจรรยาบรรณแห่งความเป็นคุรุ
- อนุญาตให้สาวกไม่ต้องปฏิบัติสมถะและความเพียรที่พระเวทได้กำหนดไว้ เช่น หลีกเลี่ยงการพนัน, เสพยาเสพติด, การมีเพสสัมพันธ์แบบผิดๆ และ ฯลฯ
- สอนโยคะให้บริหารร่างกายแบบยิมนาสติกเท่านั้น โดยไม่มีการสอนในแบบราชโยค คือ การเชื่อมจิตของผู้ฝึกให้สัมพันธ์กับพระผู้เป้นเจ้า
- สอนว่าจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติตนในทุกสิ่ง เพื่อให้มีความเป็นดีอยู่ดีในโลกวัตถุ
- ปฏิเสธคัมภีร์พระเวท โดยชอบประกาศว่า ข้าคือพระผู้เป็นเจ้า, ข้าเป็นดั่งองค์อวตาร, ท่านคือพระผู้เป็นเจ้า,  ท่านเป็นดั่งองค์อวตาร, ข้าคือร่างทรงแห่งพระผู้เป็นเจ้า, ข้าคือเทพเจ้า เป็นต้น

จึงจำเป็น เป็นอย่างมากที่ต้องทำความเข้าใจกับลักษณะอาการของคุรุที่เชื่อถือได้ก่อน ว่าท่านคือพระอาจารย์ทิพย์ ผู้ที่ได้รับความรู้อันบริสุทธิ์ สามารถถ่ายทอดให้เราได้ โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทางโลกวัตถุ

ดังนั้นคุรุที่แท้จริงจะมีบุคลิกภาพดังนี้

- เป็นผู้กล่าวแต่คำสัตย์
- ไม่ยึดติดอยู่ในความหลง แห่งโลกวัตถุ
- ไม่มีแนวโน้มหลอกลวง หรือ ต้มตุ๋นผู้อื่น ให้ศรัทธาตน
- ต้องปฏิบัติตัว ให้เป็นเยี่ยงอย่างที่ดีแก่ศิษย์
- ต้องควบคุมประสาทสัมผัสของตนได้
- เป็นเพื่อนกับทุกชีวิต ไม่รังเกลียดผู้ใด แม้ศิษย์ผู้นั้นจะเป็นบุตรของศัตรูก็ตาม
- สนใจที่จะช่วยเหลือมวลชน โดยไม่หวังผลตอบแทน
- ไม่ควรสอนให้ตน หรือ ศิษย์นั้นตีตนเสมอด้วยพระผู้เป็นเจ้า
- ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต โดยไม่บังควรแก่เหตุ
- ไม่เสพสิ่งของมึนเมา และยาเสพติด
- ไม่มีความเห็นแก่ตนเป็นที่ตั้ง
- คำสอนของคุรุ ต้องสอดคล้องกับคำสอนในพระเวท และของสาธุ (สาดุ : พระอาจารย์ในสายปรัมปรา)
- ต้องมุ่งสอนให้สาวกเล็งเห็นถึงเป้าหมายของพระเวท คือ การเข้าสู่ปรมาตมันร่วมอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าเป็นที่ตั้ง มิใช่เน้นแต่เรื่องพิธีกรรม และไสยศาสตร์มนตรา

อ้างอิงจากเรื่องของ "ความเป็นคุรุ" จากท่าน เอ.ซี. บัคธิเวดันธะ สวะมิ พระบุพาดะ และของท่านกฤษณะ มูรติ
#6
เรื่องคราสนั้นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ว่าในคัมภีร์พระเวทและปุราณะ ซึ่งเป็นที่รวบรวมภูมิปัญญาทางด้านเทววิทยา ดาราศาสตร์ โชยติษาสตร์ (โหราศาสตร์) และเรรื่องราวตำนานต่างๆ ได้แบ่งตำราคราสไว้เป็น 2 แบบคือ มหาปุราณะ กับ อุปปุราณะ มีประเภทละ 18 คัมภีร์ รวมทั้งสิ้น 36 คัมภีร์ โดยกล่าถึงศัพท์แห่งคราสไว้ดังนี้

1. ตรัส (คระสุ) หมายถึง การถือเอา, การจับกุม, การกลืนกิน
2. ครหะ หมายถึง ดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยจักรวาล ซึ่งก็รวมพระอาทิตย์ไว้ด้วย
3. ครหณะ หมายถึง การพันธนาการ, การกักขัง, การจับกุม, ความยินยอมจากการใช้กำลัง
4. คราสะ หมายถึง การเข้าครอบครองสิทธิ์โดยเขาไม่ยินยอม, การทำให้มืดมัว, การบดบังแสง, การเป็นฝ่ายตรงข้า
5. ครัสตะ หมายถึง การกลืนกิน, การครอบงำโดยปิศาจ (ในที่นี้หมายถึง อสุรินทร์ราหู)
6. ปราคะ หมายถึง ฝุ่นละออง, ทาสแห่งอารมณ์, การถูกบดบัง
7. อุปราคา หมายถึง ความทนทุกข์ทรมาน, ความเศร้าหมอง, มารยาทอันไม่พึงประสงค์, การทำให้มืดมัว, การเสื่อมเกียติ

ลางร้ายแห่งคราส (อามะนายะอุตปาตะ) โดยจะนำเรื่องมาดังนี้
อนาวฤษฏี จะทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล อันนำมาซึ่งความแห้งแล้ง
อติวฤษฏี จะทำให้ฝนฟ้าตกมากจนเกินไป อันนำมาซึ่งอุทกภัยและดินถล่ม
ทุรภิกษะ จะทำให้เกิดกลียุค ข้าวยากหมากแพง และภัยที่มาจากผู้บริหาร
กีฏะภยะ จะนำมาซึ่งภัยจากพวกหนอน แมลง เข้าทำลายพืชผล
สหมรณา จะนำมาซึ่งการตายหมู่ของผู้คน เช่น เกิดสงคราม, โรคระบาด, แผ่นดินไหวรุนแรง และ ฯลฯ

ครัสตพินทุ (จุดศูนย์กลางคราส)
คราสนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ สุริยคราส กับ จันทรคราส ฉะนั้นในวันที่เกิดคราสเราจำต้องรู้เสียก่อนว่าพระอาทิตย์ หรือ พระจันทร์นั้นสถิตอยุ่ในราศีใด กี่องศา กี่ลิปดา โดยจุดที่เกิดคราสอย่างเต็มที่ตรงนั้นเรียกว่า “ครัสตพินทุ”
ถ้าจุดครัสตพินทุนั้นไปต้องกับดาวใดในดวงชะตากำเนิดโดยห่างจากดาวดวงนั้นๆ ไม่เกิน 1 องศา ย่อมแสดงว่าคราสที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นย่อมมีอิทธิพลต่อดวงชะตาอย่างเต็มที่
ถ้าจุดครัสตพินทุนั้นอยู่ห่างจากดาวในดวงชะตากำเนิดนั้นๆ มากกว่า 1 องศา แต่น้อยกว่า 3 องศา 20 ลิปดา คราสที่เกิดขึ้นนั้นย่อมมีอิทธิพลต่อดวงชะตาเพียงครึ่งเดียว
ถ้าจุดครัสตพินทุนั้นอยู่ห่างจากดาวในดวงชะตากำเนิดนั้นๆ มากกว่า 3 องศา 20 ลิปดา แต่น้อยกว่า 5 องศา คราสที่เกิดขึ้นนั้นย่อมมีอิทธิพลต่อดวงชะตาเพียงหนึ่งในสี่ส่วน
ถ้าจุดครัสตพินทุนั้นอยู่ห่างจากดาวในดวงชะตากำเนิดนั้นๆ มากกว่า 5 องศาขึ้นไป คราสที่เกิดขึ้นนั้นย่อมไม่มีอิทธิพลต่อดวงชะตาเลย ยกเว้นจะมีกรณีอื่นๆ มาเพิ่มความรุนแรง


ปริคัณฑานตะ (คราสที่เกิดในฤกษ์สนธิ หรือ นวางค์ขาด)
ใน 1 จักรราศีเราแบ่งออกเป็น 108 นวางค์ โดยทั้ง 108 นวางนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงละ 36 นวางค์ ซึ่งฤกษ์สนธิ หรือ นวางค์ขาดนั้นก็คือ นวางค์ลูกสุดท้ายของราศีกรกฏ, ราศีพิจิก และ ราศีมีน โดยถ้าเกิดคราสในจุดนี้ในคัมภีร์โบราณจะเรียกว่า “ปริคัณฑานตะนวางศ์” <o:p></o:p>
ปริคัณฑานตะนั้น แปลว่า ข้อพับ, บานพับ, ข้องอศอก ดังนั้นถาเกิดคราสในนวางค์สุดท้ายของ 3 ราศีที่กล่าวมา คราสนั้นย่อมให้ผลที่รุนแรงและอันตราย


ซึ่งทั้งหมดนี้คือความหมาย และ ผลของคราสโดยย่อ (ซึ่งถ้าผมนำมาแสดงหมด คงจะหลายหน้ามาก)  และขอเข้าเรื่องเลยดีกว่า สำหรับคราสที่จะเกิดในช่วงเดือนมกราคม 2553 ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 คราสดังนี้
1. จันทรคราส ในช่วงรอยต่อของวันที่ 31 ธ.ค. 52 กับ วันที่ 1 ม.ค. 2553 (สากลถือว่าเป็นวันที่ 1 มกราคมแล้ว) โดยจะเกิดจันทรคราสบางส่วน สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย ตั้งแต่เวลาประมาณ 01.51 น. ถึงเวลา 02.54 น. จุดศูนย์กลางของคราสจะอยู่ในช่วงเวลา 02.23 น.


การเกิดคราสในวันปีใหม่นี้ จุดศูนย์กลางของคราสและพระจันทร์จะสถิตในราศีเมถุน 16 องศา 21 ลิปดา เสวยอารทราเทวีฤกษ์ อันเป็นฤกษ์ของราหู ซึ่งตามตำราโหราศาสตร์อินเดียถือว่าเป็นฤกษ์แห่งมงคลทางโลกียวิสัย

จันทรคราสในวันนี้ พระจันทร์จะถูกดาวเกตุ (ซึ่งอยู่ตรงข้ามราหูเสมอ) จับไม่ใช่ราหูจับ จุดเกิดคราศจะอยู่ในส่วนที่ 5 ของท้องฟ้ายามราตรี (แบ่งท้องฟ้าในเวลากลางคืนออกเป็น 7 ส่วน) คำทำนายคือ พ่อค้านักธุรกิจ พวกที่เสพสุขอยู่บนกองเงินกองทอง พวกอนุภรรยา พวกที่ประกอบอาชีพบำรุงบำเรอกาม ของมึนเมาจะมีภัย เหล่าขุนนางผู้ใหญ่จะต้องประสบปัญหามากมายให้แก้ไข ตลอดจนสัตว์จตุบาทจะนำโรคภัยมาให้มนุษย์

จันทร์คราสนี้เกิดในราศีเมถุน ท่านทำนายว่า พวกสตรีชั้นสูง ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โต พวกศิลปิน จะประสบเรื่องไม่ดี

ส่วนเรื่องที่ว่า ในวันเกิดคราสนั้นตามตำราพระเวทและโชยติษะ นั้นกำหนดให้ทำอะไรบ้าง ก็จะมีดังนี้ ในค่ำคืนของรอยต่อปีเก่ากับปีใหม่นี้ เนื่องจากพระจันทร์ถูกเกตุจับ จึงถือว่าเหมาสำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนา หรือ ไสยศาสตร์ที่เกี่ยวกับเมตตามหานิยม เช่น ทำพิธีสวดมนต์ไหว้พระ การเสริมดวง การเสริมเสน่ห์ การทำพิธีขอเงินพระจันทร์ การแกะกะลาตาเดียวเป็นรูปพระเกตุ เป็นต้น ท่านว่าขลังนัก ถ้าทำในขณะคราสเริ่มกลืนกิน หรือ ในขณะที่คราสเข้าสู่จุดศูนย์กลาง

2. สุริยคราส ในช่วงบ่ายของวันที่ 15 มกราคม 2553 มองเห็นได้ที่กรุงเทพฯ ในเวลา 14.06 น. โดยเป็นการคราสเพียงบางส่วนของพระอาทิตย์ และเป็นคราสที่จับโดยราหู พระอาทิตย์จะไม่เสียกำลังมาก เนื่องจากจุดศูย์กลางของคราสจะสถิตในราศีมกร 1 องศา 1 ลิปดา พระอาทิตย์เสวยอุตตราษาฒโจโรฤกษ์ อันเป็นฤกษ์ของพระอาทิตย์เอง ทำให้พระอาทิตย์นั้นเข้มแข็งขึ้น เมื่อเกิดใหม่ย่อมเป็นพระอาทิตย์วัยเด็กที่สดใสและมีฤทธิ์มาก

การเกิดสุริยคราสในวันนี้ จะเกิดในส่วนที่ 6 ของท้องฟ้ายามกลางวัน ท่านให้ทำนายว่า สตรีและสัตว์เพศเมียจะได้รับความเดือดร้อน พวกชนชั้นต่ำ พวกอริศัตรูทำลายชาติ จะมีภัย ประสบกับความวิบัติ

สุริยคราสครั้งนี้จะเกิดขึ้นในราศีมกร ท่านทำนายว่า สัตว์น้ำจะหายาก พวกชนชั้นต่ำจะได้รับความเดือดร้อน พวกที่นิยมใช้เวทมนตร์คาถาในทางที่ผิด พวกร่างทรง จะได้รับผลแห่งภัย พวกที่ชอบใช้กำลังและอาวุธในการต่อสู้จะประสบความวิบัติ

ส่วนเรื่องที่ว่าในวันเกิดสุริยคราสในวันที่ 15 มกราคม 2553 นี้จะเหมาะทำอะไรนั้น ก็ต้องขอบอกว่า ควรสวดมนต์บูชาสุริยเทพ ในบทสุริยนมัสการเพื่อต้อนรับพระอาทิตย์ที่กำลังเกิดใหม่โดยจะมีฤทธิ์มากหลังเกิดใหม่จากการจับกินของราหู อีกทั้งเหมาะสำหรับการทำพิธีปลุกเสกของขลังที่เกี่ยวกับคงกระพันชาตรี และพวกอิทธิฤทธิ์ ในแบบไสยขาวนะครับ เพราะถ้าเป็นไสยดำจะใช้ไม่ได้ในการเกิดคราสครั้งนี้ เพราะ คำทำนายกล่าวว่าพวกใช้ไสยดำจะถูกทำลาย ในวันนี้ควรสวดมนต์ไหว้พระเสริมดวงชะตาในด้านพละกำลังและสุขภาพ เหมาะสำหรับการแกะสลักกะลาตาเดียวเป็นรูปพระราหู อีกทั้งการสักยันต์คงกระพันชาตรีมาก

ส่วนเรื่องว่าคราสนั้นจะให้กำลังมากแค่ไหน อันนี้ต้องรอดูวันเกิดคราสนะครับ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือการทำนายได้ คือ ให้ดูว่าคราสนั้นสามารถมองเห็นได้หรือไม่ มีเมฆมาบดบังหรือไม่ ถ้าเป็นคราสร้ายแล้วมีเมฆมาบดบัง ท้องฟ้าไม่แจ่มใส คราสนั้นก็จะถูกลดฤทธิ์ร้ายลงในสถานที่ที่เราดูด้วย เพราะถูกกรองความเข้มข้นลงจากเมฆให้อ่อนโดยลง

ส่วนเรื่องเทวสถานต่างๆ จะปิดม่านซุ้มพระผู้เป็นเจ้า และ ไม่ประกอบพิธีกรรม นั้นเนื่องจากท่านไม่แน่ใจในผลของคราสว่าจะออกมาดีหรือร้าย เนื่องจากตำรากำหนดคำทำนายไว้ก็จริง แต่ก็มีอีกข้อที่ถูกกำหนดไว้คือ ให้ดูในขณะเกิดคราสด้วย ว่ามีลางร้าย ลางดีใดมาปรากฏเพิ่มอีกหรือไม่ ฉะนั้นพราหมณ์ท่านจึงไม่นิยมเสี่ยงให้พลังร้ายของครหะเข้าสู่หรือสัมผัสองค์เทพเจ้าได้ เหมือนอย่างเช่นพระเสาร์ทรงทำให้พระศิวะต้องไปทุกข์ทนในป่าช้าอยู่หลายปีนั่นเอง
#7
ก่อนอื่นต้องขอนมัสการเจ้าของบ้าน คุณสฺวสฺติ คุณกาลิทัส และ คุณอักษรชนนี ก่อนนะครับ

และขอนมัสการ สมาชิกในบอรืดทุกท่านด้วยครับ

มีอะไรให้ช่วยทำก็บอกได้นะครับ
#8
กำเนิด และ ที่มาของ เหล่าอสูร ไทตยะ ทานพ ยักษ์ รากษส

          ถ้าพูดถึงอสูรและรากษส คนไทยหลายคนคงไม่ค่อยรู้จักกันว่าไอ้ 2 ตัวนี้น่าตาเป็นยังไง แต่ถ้าพูดว่ายักษ์คนไทยจะรู้ทันที่ว่าเป็นพวกที่มีร่างกายใหญ่โตเขี้ยวโง้งยืนเฝ้าวัดวาอาราม แต่รากษส กับ อสูรนั้นก็ปรากฏให้เห็นกันในวรรณกรรมไทยอยู่บ่อยๆ แต่คนไทยก็รวมเรียกว่ายักษ์โดยไม่รู้ว่าความจริง บางครั้งก็นำมาเขียนปนกันมัวไปหมดโดยไม่แยกสายพันธุ์ ซึ่งความจริงแล้วอสูร ยักษ์ รากษสนั้นเป็นคนละสายพันธุ์กัน
          ขอเริ่มที่อสูร (असुर - ASURA) ก่อนก็แล้วกัน อสูรนั้นถือว่าเป็นผู้ครอบครองสวรรค์เป็นพวกแรก โดยอสูรนั้นถือกำเนิดมาจากพระกัศยปประชาบดี โดยแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ มีแม่คนละคนกัน
1. พวกไทตยะ หรือ แทตย์ (दैत्‍य - DAITYA)
          เป็นอสูรที่สืบเชื้อสายมาจากพระกัศยปกับนางทิติ ไทตยะนั้นเป็นอสูรที่มีร่างกายใหญ่โตเหมือนกับพวกยักษ์ไตตันของชาวกรีกโบราณ หน้าตาก็เหมือนพวกเทวดานั่นแหละครับ แถมมีฤทธิ์มีเดชไม่แพ้พวกเทวดาด้วย
          ไทตยะที่ปรากฏในวรรณกรรมอินเดีย ก็คือ หิรัณยักษะ ตอนพระนารายณ์อวตารเป็นหมูป่า, หิรัณยกศิปุ ตอนพระนารายณ์อวตารเป็นนรสิงห์, ท้าวพลี ตอนพระนารายณ์อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ยวามน, ไวโรจิ หรือ พาณะ โอรสของท้าวพลี เป็นอสูรมีพันแขนในรามายณะ และ ชลันธร ราชาอสูรเผ่าเทติยะ ผู้เคยแย่งชิงสวรรค์จากพระอินทร์กลับมาครอบครองได้
2. พวกทานวะ หรือ ทานพ (दानव
- DANAVA)
          เป็นอสูรที่สืบเชื้อสายมาจากพระกัศยปกับนางทนุ มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มไทตยะอย่างแยกกันไม่ออก คือ มีลักษณะนิสัยคล้ายกันจนแยกไม่ออก กลุ่มนี้มักเข้าร่วมกับอสูรไทตยะทำสงครามกับพวกเทพมาโดยตลอด แบบว่าคนละแม่แต่พ่อเดียวกันคลอดคลานตามกันมาติดๆ

          ทานพที่ปรากฏในวรรณกรรมอินเดีย ก็คือ วฤตาสูร ซึ่งถูกพระอินทร์สังหารด้วยวัชระ, มัยทานพ ผู้เป็นสถาปนิกผู้ก่อสร้างกรุงอินทรปรัสถ์ ในมหาภารตยุทธ และราหูนั่นเอง
          ในสมัยพระเวทและในคัมภีร์ฤคเวทนั้นถือว่าอสูรนั้นเป็นเทพชั้นสูงจำพวกหนึ่ง โดยคำว่าอสูรนั้นมาจากรากศัพท์ว่า “อสุ” ซึ่งแปลว่า “ลมหายใจ” ได้มาเพราะอะไร ก็ได้มาเพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องหายใจชนิดแรกอันปรากฏขึ้นในโลกนั่นเอง
          ในยุคพระเวทพระอินทร์ พระวรุณ พระอัคนี พระมารุต พระมิตรา และพวกพ้อง ก็ถูกจัดไว้ในพวกอสูรด้วยเช่นกัน แต่เกิดจากคนละแม่ คือ เกิดจากนางอทิติ ซึ่งถือว่าเกิดมาหลังพวกไทตยะกับพวกทานพ จึงไม่ค่อยลงรอยกับ 2 กลุ่มแรก แล้วต่อมาก็มาแยกมาแบ่งขั่วกันอย่างเด็ดขาดในยุคหลัง เป็นฝ่ายเทพกับฝ่ายมาร กันอย่างเห็นได้ชัด
          โดยกลุ่มของพระอินทร์ที่มีฐานะเป็นน้อง และ พวกพ้อง อาทิ พระมารุต พระอัคนี พระโสม พระวิษณุ (สมันพระเวทเก่ายังเป็นเทพชั้นรอง ถือเป็น 1 ใน 12 สุริยเทพ) ได้จับพวกไทตยะกับพวกทานพที่มีฐานะเป็นพี่โยนลงจากสวรรค์แล้วเข้ายึดทำเนียบสวรรค์เป็นที่ทำการของ 5 แกนนำและเหล่าพันธมิตรแทน พวกเหล่าอสูรที่เป็นเจ้าของทำเนียบเก่าตราบเท่าทุกวันนี้
          ฝ่ายอสูรเมื่อถูกโยนลงจากสวรรค์ก็ใช่ว่าจะไม่มีกำลังอีก มีบางครั้งก็รวบรวมแกนนำจัดทัพเข้าบุกทวงทำเนียบสวรรค์ จนเกิดเทวาสุรสงครามให้พบเห็นได้บ่อยครั้งในวรรณกรรมของชาวภารตะ
          คราวนี้มาดูกลุ่มของยักษ์กับรากษสกันบ้าง ว่ามีกำเนิดเป็นมาอย่างไร มีหน้าตาเป็นเช่นไร กลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่จัดว่าส่วนใหญ่มักจะชอบเป็นศัตรูกับเทวดา โดยเข้าร่วมเป็นพวกต่อต้านเทวดากับฝ่ายของอสูรเสมอ นี่เองจึงเป็นเหตุให้เราแยกไม่ค่อยออกระหว่างอสูรและกลุ่มหลังนี้
          ยักษ์และรากษสนั้นถือกำเนิดมาจากสายของพรหมฤษีปุลสัตยะ โดยฤษีปุลสัตยะนั้นมีบุตรชายตนหนึ่งนามว่า “เทพฤษีวิศราวัส หรือ เปาลัสตยะ (ในรามเกียรติ์)” อันเกิดจากนางอิฑาวิฑาผู้เป็นธิดาของฤษีตฤณวินทุ
          เมื่อเทพฤษีวิศราวัสเติบโตเป็นหนุ่มก็ได้แต่งงานกับนางวรรณีผู้เป็นธิดาของพรหมฤษีภรัทวาช แล้วต่อมาก็ให้กำเนิดลูกตนหนึ่ง ตอนแรกคลอดออกมาก็ได้แต่ร้องว่า “หิว” จึงตั้งชื่อให้ว่า “ยักษะ (यक्ष - YAKSHA)”
          ซึ่งในรากศัพท์จะหมายถึงหิวโหยนั่นเอง ยักษ์ตนนี้จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ไวศรวัณ หรือ เวสสุวัณ หรือ กุเวร หรือ กุเปรัน นั่นเอง คราวนี้คงรู้แล้วใช่ไหมครับว่ายักษ์ตนนี้คือใคร และยังมีน้องๆ ตามมาอีกมากมาย
          ต่อมาพวกยักษ์ก็ได้รับมอบหน้าที่จากพระพรหมให้ไปคอยคุ้มครองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ป่าเขาและทรัพย์ที่มีอยู่ในโลกโดยมีท้าวกุเวรของเราเป็นราชาผู้ปกครองสายพันธุ์นี้ ซึ่งก็มีแตกวงศ์วานออกไปอีกมากมายมีทั้งดีและร้าย พวกดีก็จะไปเข้ากับเหล่าเทวดา ส่วนพวกร้ายก็จะไปเข้ากับพวกอสูรเจ้าของทำเนียบเก่า
          คราวนี้มาถึงกลุ่มรากษส (राक्षस - RAKSHASA) กันบ้าง กลุ่มนี้ก็มีบิดาคนเดียวกับกลุ่มยักษ์ แต่มีแม่คนละคนกัน โดยกลุ่มนี้มีแม่สืบเชื้อสายมาจากเผ่าอสูรนามว่า
“ไกกาสี” หรือ ที่คนไทยรู้จักกันในนามว่า “นางรัชฏา” ในรามเกียรติ์นั่นเอง ด้วยความที่เหล่าอสูรถูกเหล่าพันธมิตรเทวดาตามเช็ดตามล้างอยู่บ่อยทำให้เสียเครดิตไป เกือบสิ้นสายพันธุ์
          ท้าวสุมาลีจอมอสูรจึงอยากที่จะให้มีลูกหลานที่เป็นนอมินี มาสืบทายาทอสูรสายพันธุ์ใหม่เพื่อมาทวงอำนาจทวงบัลลังก์แทนตน จึงได้ส่งลูกสาวของตนไปเป็นเมียน้อยของเทพฤษีวิศราวัส

          โดยให้นางไกกาสีไปขอให้เทพฤษีวิศราวัสมีบุตรกับตนด้วยนางต้องทำตามที่บิดาสั่ง แต่เวลาที่นางไปขอร้องแล้วได้รับการยอมรับนั้นเป็นฤกษ์ยามที่อัปมงคล (ตามตำนานว่าเป็นฤกษ์ที่พระจันทร์เคลื่อนเข้าสถิตอยู่ในเพชณฆาฏฤกษ์)
          เทพฤษีวิศราวัสกล่าวทำนายว่าลูกของนางที่จะเกิดมานั้นจะเกิมมาเป็นพวกมารชั่วร้าย นางตกใจจึงขอร้องเทพฤษีว่า ถ้าจะต้องเป็นเช่นนั้นก็ขอให้นางมีบุตรที่เป็นคนดีไว้สักคน เทพฤษีจึงให้พรแก่นาง
ลูกของนางที่คลอดออกมาคนแรกนั่นก็คือ ทศกัณฐ์ หรือ ราวณะ ที่แปลว่า
“ร้องโหยหวน” นั่นเอง แล้วราวณะมันร้องว่าอะไร มันก็ร้องว่ากระหายนั่นเอง แล้วเกิดน้องชายชื่อกุมภกรรณกับน้องสาวชื่อศุรปนขา และพิเภกตามมาอีก ซึ่งพิเภพนั้นก็คือลูกคนที่ได้รับพรของผู้เป็นบิดาว่าจะเติบโตมาเป็นคนมีศีลมีธรรมนั่นเอง
          ต่อมาพระหรหมจึงทรงจัดหาที่บนโลกให้อยู่เหมือนดั่งพวกยักษ์ โดยพิจารณาว่าเมื่อแรกเกิดนั้นพวกนี้ร้องว่า
“กระหาย” เลยให้ไปคอยคุ้มครองปกป้องแหล่งน้ำต่างบนโลก ทั้งบนเกาะ ป่าชายน้ำ ห้วยหนองคลองบึงต่างๆ และป่าชื้นนั่นเอง ทศกัณฐ์เลยไปใช้ชีวิตใกล้น้ำอยู่บนเกาะลงกานั่นเอง
          โดยพวกนี้ชอบกินเนื้อสดๆ ซากศพ และมีนิสัยแปลกๆ อยู่อย่าง คือ ชอบรบกวนพวกพราหมณ์ที่กำลังประกอบพิธี เนื่องด้วยพวกนี้ไม่ชอบฟังเสียงสวด
          แล้วคำว่า “รากษส” นั้นมาจากไหน ก็ได้มาจากการที่พระพรหมทรงมอบหน้าที่ให้คอยรักษาปกป้องแหล่งน้ำและป่าชื้นนั่นเอง
          เพราะคำว่า “รากษส (ราก - สด)” นั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า “รักษะ” ซึ่งก็คือการรักษาปกป้องนั่นเอง บางตัวที่อาศัยอยู่ในน้ำเราก็จะเรียกกันว่า พวกผีเสื้อน้ำก็มี
          สรุปโดยรวมพวกอสูร ไทตยะ แทตย์ ยักษ์ รากษส นั้นมีที่มาที่ต่างกัน มีนิสัยทั้งดีและเลว คละเคล้ากันจนบางครั้งแทบแยกกันไม่ออกว่าพวกไหนเป็นเผ่าไหนกันแน่ แถมยังแปลงเป็นนู้นเป็นนี่ได้อีกมากมาย คนไทยเราเลยเรียกรวมพวกนี้ว่า
“ยักษ์” คำเดียวจบ
          ที่ผมเอามาเล่านี่ไม่ได้นำมาเล่าเพราะอยากให้ท่านผู้อ่านแยกว่าตัวไหนมาจากสายพันธุ์ไหนเป็นนอมินีใคร เพราะแยกยากมากโดยเฉพาะพวกรุ่นหลังๆ ผสมข้ามพันธุ์กันเยอะเป็นพันธุ์ทางหาพันธุ์แท้ไม่เจอกันแล้ว ที่นำมาเล่าก็เพราะอยากให้ท่านผู้อ่านรู้ที่มาที่ไปแห่งสายพันธุ์ที่แท้ว่าพวก ไทตยะ แทตย์ ยักษ์ รากษส นั้นมีที่มาอย่างไร

ที่มาจาก : นิตยสารโหรามหาเวทย์ ฉบับเดือน พ.ย. 2551 คอลัมน์ เทพปกรณัม โดยงานเขียนของผม “กาลปุตรา”


#9
ปัญจามฤตบูชา

(PANCHAMRITA PUJA – पञ्चामृत पूजा)

          ปัญจามฤต หรือ ที่ในภาษาสันสกฤตออกเสียงว่า “พัยฺชาริทะ” เป็นการผสมกันของคำ 2 คำ คือ คำว่า “ปัญจ (पञ्च)” ที่หมายถึง ห้า กับคำว่า “อมฤต (अमृत)” ที่หมายถึง น้ำอมฤต, น้ำหวานที่ได้จากธรรมชาติ, น้ำทิพย์, อาหารของเทวดา

ดังนั้น “ปัญจามฤต” จึงหมายถึง น้ำทิพย์อมฤต 5 ชนิดที่ใช้ถวายองค์เทพเจ้าเพื่อให้เกิดพลังที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือ มีชีวิตใหม่ และเพื่อถวายเป็นอาหารของเทพเจ้า อันได้แก่
1. ทูธะ (ดูดฺะ - दूध) หมายถึง น้ำนมสด
2. ทหี (ดะฮี - दही) หมายถึง โยเกิร์ต หรือ นมข้น

3. ฆฤตะ (กฺริทะ - घृत) หรือ ฆี (กี - घी) หมายถึง เนยใส
4. มธุ (มะดุ - मधु) หมายถึง น้ำผึ้ง, น้ำหวานจากต้นไม้, น้ำโสม
5. ศรรกรา (ชระคะรา - शर्करा) หมายถึง น้ำตาลกรวด (โอทึ้ง)

ปัญโจปจารบูชา (PANCHOPACHARA PUJA – पञ्चोपचार पूजा)

ปัญโจปจาร หรือ ที่ในภาษาสันสกฤตออกเสียงว่า “พัยฺโชพะชาระ” เป็นการผสมกันของคำ 2 คำ คือ คำว่า
“ปัญจ (
पञ्च)” ที่หมายถึง ห้า กับคำว่า “อุปจาร (उपचार)” ที่หมายถึง การดูแล, การรับรอง, การให้ความเคารพนับถือ
[/FONT]
ดังนั้น “ปัญโจปจาร” จึงหมายถึง เครื่องบูชารับรอง หรือ อัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าด้วยสิ่งของห้าอย่าง อันได้แก่
1. คันธะ (กันดฺะ – गन्ध) หมายถึง สิ่งที่มีกลิ่นหอม อันได้แก่ ผงเจิม, ผงจันทน์, ผงขมิ้น, แป้งหอม, น้ำหอมต่างๆ
2. ปุษปะ (พุชพะ – पुष्प) หมายถึง ดอกไม้, พวงมาลัย จนถึงใบไม้มงคลของชาวฮินดู เช่น ใบพลิว (มะตูม), ใบตุลสี (กะเพรา), ใบนีม (สะเดา), กลัศ (บายศรีแขก) เป็นต้น
3. ธูปะ (ดูพะ – धूप) หมายถึง การเผาหรือสุมให้เกิดควัน อันได้แก่ กำยานและธูปหอม
4. ทีปะ (ดีปะ – दीप) หมายถึง การส่องแสง อันได้แก่ เทียน, ตะเกียง หรือ ไฟจากการบูร
5. ไนเวทยะ (ไนเวดยะ – नैवेद्य) หมายถึง เครื่องบวงสรวงสังเวยเทพเจ้า อันได้แก่ อาหาร (ห้ามใช้อาหารคาว) เช่น ผลไม้, หัวเผือก, หัวมัน, ข้าว, เมล็ดธัญพืช, ขนมหวาน

#10

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 จะเป็นวันแรก หรือ ปีใหม่ของชาวจีน ซึ่งในทุกๆ ปีจะมีเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา หรือ องค์ไท้ส่วยเอี๊ย พลัดเปลี่ยนกันลงมาทำหน้าที่คุ้มครองดวงชะตาสลับสับเปลี่ยนกันในแต่ละปีธาตุ รวม 60 องค์ (5 ธาตุ x 12 นักษัตร)

โดยในปีนี้เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ยที่จะลงมาทำหน้าที่คุ้มครองดวงชะตาในปี "แกอิ๊ง ()" (อิ๊ง หมายถึง ปีนักษัตรขาล และ แก หมายถึง ธาตุทอง) ก็คือ องค์ไท้ส่วยที่มีพระนามว่า
"鄔桓大將軍" อูฮ้วยไต่เจียงกุง (ภาษาแต้จิ๋ว) หรือ อูหวนต้าเจียงจวิน (ภาษาจีนกลาง)
ท่านมีนามย่อว่า "อูอี้" เป็นชาวเมืองซินช่าง เกิดในสมัยราชวงศ์หยวน ด้วยในชีวิตทำคุณงามความดีไว้มาก เมื่อเสียชีวิตลงจึงได้รับพระราชทานยศจากองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ให้ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในเทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา ประจำในปีขาลทอง (พ.ศ. 2493, 2553, 2613)

ในแต่ละปีจะเห็นได้ว่าคนไทยเรานั้นมักจะให้ความสนใจกับการชงปีไท้ส่วยกันมาก แต่หลายท่านก็ยังไม่ทราบว่า แท้จริงแล้วปีเกิดของแต่ละท่านไม่ได้ชงกับปีไท้ส่วยเสมอไป แต่กลับถูกเหมารวมเรียกว่าชงไปหมด ซึ่งตามความจริงจะแยกออกเป็น 5 ลักษณะ และ ในปีขาลทองดวงชะตาของแต่ละท่านจะได้รับผลดังนี้

1. ท่านที่เกิดในปีขาล จะตกเกณฑ์ "คัก" โดยเฉพาะที่ที่เกิดในปีขาล พ.ศ. 2529
อันจะทำให้ในปีนี้จะเกิดแต่เรื่องปวดหัว มีทุกข์ลาภ มีความสุขความทุกคละเค้ากันไป ชีวิตจะมีแต่เรื่องการต่อสู้แย่งชิงไม่ว่างเว้น

2. ท่านที่เกิดปีมะเส็ง จะตกเกณฑ์ "เฮ้ง" โดยเฉพาะท่านที่เกิดในปีมะเส็ง พ.ศ. 2520
อันจะทำให้เกิดเรื่องเกี่ยวกับคดีความ มีอุปสรรคขวากหนามมากมาย ถูกทำร้าย เห็นผิดเป็นชอบ เกิดการเข้าใจผิดอยู่เสมอ

3. ท่านที่เกิดปีวอก จะตกเกณฑ์ "ชง" โดยเฉพาะท่านที่เกิดในปีวอก พ.ศ. 2487, 2511 และ 2547
ถือว่าเป็นปี "ฆาต" จะเกิดมรสุมเข้ามาในชีวิต ทั้งในหน้าที่การงาน การเงิน สุขภาพ ความรัก ความสงบสุขในชีวิต ความสูญเสียและภัยพิบัติต่างๆ นานา

4. ท่านที่เกิดปีกุน จะตกเกณฑ์ "ผั่ว" โดยเฉพาะท่านที่เกิดในปีกุน พ.ศ. 2502 กับ 2538
อันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตบ่อย ในปีนี้จะรู้สึกเหงาเดียวดายเป็นพิเศษ ชีวิตคู่ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

5. ท่านที่เกิดปีมะเส็ง จะตกเกณฑ์ "ไห่" โดยเฉพาะท่านที่เกิดในปีมะเส็ง พ.ศ. 2520
อันจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่ออยู่เป็นประจำ อีกทั้งจะเกิดการทะเลาะวิวาทในหมู่ญาติพี่น้อง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผลของแต่ละแบบไม่เหมือนกัน แต่คนไทยเรามักไม่เข้าใจเลยเหมารวมเรียกทั้งหมดว่า "ชง" ที่แปลว่า "ปะทะ" เพียงคำเดียวไปเสียหมด

วิธีสะเดาะเคราะห์กับไท้ส่วยประจำปีนั้น สามารถกระทำได้ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 2553 เป็นต้นไป ห้ามกระทำก่อนถึงวันตรุษจีนนะครับ เพราะถ้าไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ก่อนวันตรุษจีนย่อมเท่ากับไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์กับไท้ส่วยองค์เก่า เนื่องจากไท้ส่วยอูฮ้วยไต่เจียงกุง จะเสด็จลงมารับหน้าที่คุ้มครองดวงชะตา หรือ เข้ารับตำแหน่งของท่านในวันชิวอิก หรือ ตรุษจีนเป็นต้นไปเท่านั้น

ซึ่งเห็นมีหลายท่านไม่ทราบกัน รีบไปแก้กันก่อนตรุษจีนด้วยกลัวว่าถ้าไปทำในช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้วคนจะเยอะแน่นมาก เลยรีบไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์กันก่อนอันถือว่าผิด แต่ที่ถูกควรเริ่มไปทำตั้งแต่วันตรุษจีนแล้วเป็นต้นไปจะถูกต้องกว่า หรือ ถ้ากลัวคนเยอะก็ให้ไปทำหลังวันตรุษจีนก็ย่อมได้ของเพียงให้อยู่ในปีขาลทองก็ใช้ได้

ของที่ใช้สะเคาะเคราะห์ไท้ส่วยประจำปีก็ไม่มีอะไรมาก อย่าไปใช้ให้สิ้นเปลืองนักตามที่หนังสือบางเล่มลงไว้เพื่อขายของ เพราะ ตามตำราโบราณนั้นกำหนดไว้ไม่กี่อย่างเอง โดยสามารถทำได้ทั้งเดินทางไปทำตามวัดที่มีองค์ไท้ส่วยสถิตอยู่ หรือ จะตั้งโต๊ะกลางแจ้งหน้าบ้านของท่านก็กระทำได้ ของที่ใช้จะมีดังนี้

1. เทียนเหลือง 1 คู่ (เพราะถือว่าไท้ส่วยนั้นความจริงก็คือดาวพฤหัส ซึ่งมีสีเหลืองเป็นสีประจำพระองค์) หรือ เทียนแดงก็ได้ เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่าสีแดงเป็นสีมงคล


2. ธูป 3 ดอก


3. เทียบเชิญ หรือ กระดาษแดง 1 ใบ เขียนอัญเชิญองค์ไท้ส่วย "อูฮ้วยไต่เจียงกุง" ลงไปเหมือนกับการที่เราเขียนการ์ดเชิญทั่วไป จากนั้นก็เขียนชื่อ นามสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด เวลาเกิดของเจ้าชะตาลงไป แล้วเขียนสิ่งที่ต้องการให้องค์ไท้ส่วยช่วยเหลือ และ สิ่งที่ต้องการขอพรลงไปในนั้น


4. หงิงเตี๋ย 12 แผ่น (แต่ถ้าปีใดมีเดือน 5 จีนสองหน ก็เพิ่มเข้าไปอีก 1 แผ่น)

ลักฮะจี๊แบบรวม
ลักฮะจี๊แบบแยก

5. ลักฮะจี้ (วลีอวยพร 6 ประการ) 1 ผับ จะเป็นแบบรวมหรือแบบแยกก็ได้ มีขายที่ตลาดเยาวราช แต่ขอแนะนำให้เอาอย่างรวมทั้ง 6 วลีไว้ในแผ่นเดียวเพื่อความประหยัด


ที่เหลือท่านจะนำอะไรมาเป็นเครื่องบรรณาการเพิ่มเติมอีกก็ได้ แต้ห้ามให้ตกเลข 7 หรือ 7 ชนิด เพราะ ชาวจีนถือว่าเลข 7 ไม่เป็นมงคลนะครับ ของที่นำมาบรรณาการเพิ่มก็อาจจะได้แก่ ผลไม้, ขนม, เจฉ่าย, ค้อซี, เทียงเถ่จี๊, กิมหงอ่งเต้า, ตั่วกิม, กิมฮก และ ฯลฯ แล้วแต่กำลังเงิน

เมื่อทำพิธีไหว้ทำพิธีไหว้องค์ไท้ส่วยประจำปีเพื่อสะเดาะเคราะห์เสร็จ ก็ให้ลาเอา หงิ่งเตี๋ยทั้ง 12 แผ่นกับลักฮะจี๊ มาปัดไล่รังควานตั้งแต่หัวจรดเท้า 12 ครั้งตามจำนวนเดือนในปีนั้น ถ้าปีใดมีเดือน 5 จีน 2 หน ก็ให้เพิ่มการปัดไล่เสนียดจัญไรนั้นเพิ่มไปอีก 1 ครั้ง ส่วนลักฮะจี๊จะเป็นการปัดเพื่อให้มงคลทั้ง 6 ประการเข้าอยู่ในตัวเรา ทำเช่นนี้ก็จะเป็นอันเสร็จพิธีสะเดาะเคราะห์ไท้ส่วยประจำปีอย่างสมบูรณ์

ปล. ตามหนังสือที่ขายกันตามท้องตลาด มักจะให้จัดข้าวของใช้ไหว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีความจำเป็นเท่าใดนัก เพราะนั้นเขาทำเพื่อการค้าขายได้มากเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น ฉะนั้นขอให้ใช้เท่าที่จำเป็นก็พอแล้ว