Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - กาลปุตรา

#41
ถ้าจำไม่ผิด เรื่องนี้ในสมัยพุทธกาล พระตถาคตเคยได้วินิจฉัยไว้ครั้งหนึ่งแล้ว

เนื่องด้วยในสมัยพุทธกาลได้มีเพชฌฆาตได้เคยนำความกลุ้มใจนี้มาทูลฏีกาถามพระตถาคต

เขานั้นเกิดความทุกข์ใจเมื่อฟังธรรมแล้ว หวนกลับไปคิดว่าตนนั้นเป็นเพชฌฆาตต้องบั่นคอคนไปมากมาย

เกรงว่าจะเป็นบาป เลยเข้าเฝ้าขอฏีกาถามพระพุทธองค์เกี่ยวกับเรื่องนี้

เมื่อพระตถาคตทราบความจึงตรัสถามเพชฌฆาต ให้เขาวินิจฉัยดังนี้

1. มีเจตนาที่ต้องการฆ่าหรือไม่ หรือทำเพราะเป็นหน้าที่
2. ผู้ถูกฆ่านั้นผิดกฏบ้านกฏเมืองจนถูกลงโทษให้ประหาร หรือท่านประหารเขาทั้งที่ทราบว่าเขาไม่ผิด

เพชฌฆาตก็ทูลกลับไปว่า ตนนั้นมิได้ประหารเพราะมีจิตอยากให้นักโทษตาย แต่ที่ต้องทำเช่นนั้นเพราะเป็นหน้าที่

ส่วนนักโทษนั้นตนก็ไม่ได้เป็นผู้ตัดสิน มิได้เป็นผู้ชี้ถูกชี้ผิดแต่ประการใด และเมื่อมีคำสั่งประหารมาตนก็ต้องทำตามกฏหมายบ้านเมือง

เมื่อตอบเสร็จพระตถาคตก็กล่าวว่า เมื่อไม่มีจิตคิดอาฆาตต้องสังหาร แต่ที่ต้องทำเพราะเป็นหน้าที่ ก็ถือว่าไม่มีเจตนาในการฆ่า

การก่อบาป สำคัญที่เจตนา เพราะเจตนานั้นเป็นต้นเหตุเป็นปัจจัยของการกระทำทั้งปวง

อีกอย่างเพชฌฆาตก็มิได้เป็นผู้ทำการตัดสินโทษ เรื่องว่าเขาจะผิดจริงหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพชฌฆาต

ผมจึงสรุปว่า ถ้าทำตามหน้าที่เช่นนั้น โดยไม่มีเจตนาอาฆาตฆ่า ถือว่าไม่ผิด

ไม่มีสักขณะหนึ่งใด ที่เรานั้นไม่ประกอบกรรม กรรมนั้นเกิดเพราะจิตมีเจตนา ถ้าเจตนาถูกต้องกรรมย่อมถูกต้อง

แต่ถ้าความเป็นไปนั้นเกิดผันแปร ก็ไม่ถือว่าบาปแค่เป็นด่างที่ติดอยู่ในใจของเราเท่านั้น รอพุทธิปัญญามาขจัดให้หมดไป
#42
ภาพที่คุณ tadatada ถามมานั้น ผมไม่สามารถระบุได้ว่าเป้นภาพชื่อว่าอะไรนะครับ

เพราะ น่าจะเป็นภาพที่เกิดขึ้นจากอินเดียใต้ ซึ่งถือว่าอินเดียใต้นั้นมีความหลากหลายมากในเรื่องการสร้างเทพเจ้าขึ้นใหม่ เพื่อรอรับความต้องการและจินตนาการของตน จนเกิดเป็นรุปเทพเจ้าใหม่ๆ เป็นจำนวนมากมายเกินคณานัป

มีครั้งหนึ่งผมเอาภาพพระอุมาขี่ไก่ไปถามพราหมณ์ พราหมณ์เห็นภาพครั้งแรกก็ตอบกลับมาว่าเป็นภาพของพระสกันทะ (ขันธกุมาร) ผมเลยบอกท่านไปว่านี่เป็นภาพของพระเทวีนะ ท่านก็บอกว่านี่ขี่ กุกกุฏ (คุคคุท - कुक्कुट ซึ่งคือ ไก่) นะ มีเทพองค์เดียวที่มีไก่เป็นพาหนะ คือ สกันทะ

เห็นไหมครับแม้ว่าเราเอาภาพเทพเจ้าแบบอินเดียใต้ไปถามพราหมณ์บางท่าน ท่านก็ยังไม่ทราบเลยว่าเป็นเทพเจ้าพระองค์ใด เพราะทางอินเดียใต้เองนั้นมีเทพเจ้าเกิดขึ้นใหม่ทุกเวลา จนไม่รู้องค์ไหนเป็นองค์ไหนกันแล้ว เขาเลยสรุปเอาแค่ องค์นี้เป็นภาคหนึ่งของศิวะศักติเท่านั้นเอง

ถ้าจะให้ตอบ ก็ต้องขอตอบแบบใช้การวิเคราะห์เอาแทนนะครับ

ภาพที่ 1 ดูจากภาพแล้ว ภาพหลักที่ต้องการสื่อนั้นเป็นบุรุษะเทวะ ซึ่งก็น่าจะเป็นพระศิวะเจ้า โดยอาจจะมีที่มาจากพระศิวะปัญจมุข ส่วนพระพักตร์ที่เหลืออีก 4 พักตร์น่าจะเป็นพระอุมา พระลักษมี พระคงคาและพระสรัสวตีนะครับ

ภาพที่ 2 ดูจากภาพแล้ว ภาพหลักที่ต้องการสื่อนั้นก็เป็นบุรุษเทวะเช่นกัน โดยขอวิเคราะห์จากเครื่องทรงและอาภรณ์ ซึ่งเน้นผ้านุ่งสีเหลือง อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของพระวิษณุ อีกทั้งที่ดิลกกลางพระนลาฏก็ยังเห็นว่าเป้นสัญลักษณ์ของพระวิษณุด้วย แต่พระพักตร์ที่เหลือผมไม่อาจจะระบุได้ว่าเป็นเทพองค์ใดนะครับ
#43
กลับมาแล้วครับ จากถนนราชดำรี ไม่ไหวครับเป็นผื่นไปทั้งตัว โดยเฉพาะที่หน้า สกปรกมาก ทั้งเหม็นทั้งคัน แถมแมลงวันเยอะมาก เลยต้องขอตัวกลับมาอาบน้ำก่อน เพราะผื่นขึ้นทั้งตัวเลย กลับมาอาบน้ำเสร็จยังไม่หายคันเลยครับ ยอมรับเลยเหมือนไปท่องนรกจริงๆ ทั้งร้อนทั้งสกปรก เชื่อแระพวกนั้นมันมาจากนรกสมชื่อ นปช. (นรกป่วนชาติ) จริงๆ

เอารูปขึ้น Facebook ให้ดูเรียบร้อยแล้วนะครับ แต่ไม่ได้ถ่ายมาเยอะนะครับ add ไปดูได้ที่ Amaresh Karaputra अमरेश कालपुत्त्रा

กลับมาเหนื่อยมาก ต้องทานขนมลัฑฑูไปกว่า 10 ลูก ยังไม่หายเหนื่อยเลย สงสัยน้ำหนักจะขึ้นแน่ ... อิอิ
#44
ขอเชิญชวนเพื่อนชาว Hindumeeting ไปร่วมกันบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ทำความสะอาดราชประสงค์ในวันนี้กันครับ ทางรัฐบาลขอความร่วมมือร่วมใจมา 11.00 น. เจอกันที่ราชประสงค์นะครับ ช่วยกันเก็บกวาดบ้านให้สะอาดกันนะครับ
#45
ต้องขออภัยที่ช่วงนี้แปลช้าหน่อยนะครับ เนื่องจากงานในช่วงนี้ของผมค่อนข้างเยอะสักหน่อยเลยไม่ค่อยมีเวลาแปลเท่าใดนัก

อดใจรอสักนิดนะครับ แล้วจะทะยอยแปลให้ครับ จะให้อร่อยต้องใจเย็นๆ ... อิอิ
#46
कर्मजं बुद्धियुक्ता हि फलं त्यक्त्वा मनीषिणः ।
जन्मबन्धविनिर्मुक्ताः पदं गच्छन्त्यनामयम् ॥२- ५१॥

            ด้วยการธำรงอยู่ในพุทธิปัญญา นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่นั้นได้ทำให้ตัวเองได้รับอิสรภาพอยู่เหนือผลแห่งกรรมทั้งปวง ซึ่งเท่ากับเขานั้นได้รับอิสระจากวัฏจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด และจะบรรลุถึงการลอยอยู่เหนือความทุกข์ทั้งมวลได้ (การกลับคืนสู่ภูมิของพระผู้เป็นเจ้า)

यदा ते मोहकलिलं बुद्धिर्व्यतितरिष्यति ।
तदा गन्तासि निर्वेदं श्रोतव्यस्य श्रुतस्य च ॥२- ५२॥

            เมื่อสติปัญญาของเธอนั้นได้ก้าวข้ามออกมาจากป่าอันรกชัดและมืดทึบแห่งโมหะแล้ว เธอเองก็จะสิ้นความสงสัยในสิ่งที่ได้สดับฟังมาแล้วทั้งหมด และจะสิ้นสงสัยในสิ่งที่เธอนั้นจะได้ฟังต่อไป


श्रुतिविप्रतिपन्ना ते यदा स्थास्यति निश्चला ।
समाधावचला बुद्धिस्तदा योगमवाप्स्यसि ॥२- ५३॥

            เมื่อปัญญาของเธอไม่ถูกรบกวนให้ฟั่นเฟือนจากสำนวนโวหารในคัมภีร์พระเวทที่เคยได้สดับมาแล้ว และเมื่อใดที่จิตใจของเธอนั้นเกิดความสงบตั้งมั่นอยู่ในสมาธิเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนที่แท้จริง เมื่อนั้นเธอย่อมได้บรรลุผลแห่งความรู้แจ้งในตนเอง

अर्जुन उवाच
स्थितप्रज्ञस्य का भाषा समाधिस्थस्य केशव ।
स्थितधीः किं प्रभाषेत किमासीत व्रजेत किम् ॥२- ५४॥
อรชุน ตรัสว่า
            ผู้มีปัญญาอันตั้งมั่นดีแล้วในสมาธินั้น เขาจะมีอาการเช่นไร? เขาจะพูดอย่างไร? เขาจะแสดงออกมาเช่นไร? เขาจะนั่ง เขาจะเดิน เขาจะกินอยู่แบบใดเล่า เกศวะ

श्रीभगवानुवाच
प्रजहाति यदा कामान्सर्वान्पार्थ मनोगतान् ।
आत्मन्येवात्मना तुष्टः स्थितप्रज्ञस्तदोच्यते ॥२- ५५॥

ศรีภควาน ตรัสว่า
            ดูก่อนเถิดปารถ! เมื่อบุคคลผู้ละสิ้นแล้วซึ่งความปรารถนานานัปการที่มีสถิตอยู่ในใจอันเกิดจากการคาดคะเนนั้นลงเสียได้ และเมื่อเขามีจิตที่บริสุทธิ์ขึ้น เขานั้นย่อมจะประสบแต่ความพึงพอใจในตนเองเท่านั้น กล่าวได้ว่าบุคคลผู้นี้แล เป็นผู้ตั้งมั่นสถิตอยู่ในพุทธิปัญญา



दुःखेष्वनुद्विग्नमनाः सुखेषु विगतस्पृहः ।
वीतरागभयक्रोधः स्थितधीर्मुनिरुच्यते ॥२- ५६॥

            ผู้มีจิตใจที่ไม่ถูกรบกวนให้เดือดร้อนท่ามกลางความทุกข์ หรือไม่มีความปิติทะเยอทะยานเมื่อได้รับความสุข และเป็นอิสระจาก ราคะ ภัยและโกรธา เขาผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ผู้มีจิตใจอันมั่นคงที่แท้จริง


यः सर्वत्रानभिस्नेहस्तत्तत्प्राप्य शुभाशुभम् ।
नाभिनन्दति न द्वेष्टि तस्य प्रज्ञा प्रतिष्ठिता ॥२- ५७॥

            ในโลกแห่งวัตถุ ผู้ซึ่งไม่เสน่หากับสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ชั่วที่ตนเองนั้นจะได้รับ อีกทั้งไม่ยินดีหรือไม่เสียใจ ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความแน่วแน่มั่นคงในความรู้อันสมบูรณ์

यदा संहरते चायं कूर्मोऽङ्गानीव सर्वशः ।
इन्द्रियाणीन्द्रियार्थेभ्यस्तस्य प्रज्ञा प्रतिष्ठिता ॥२- ५८॥

            ผู้ที่สามารถดึงประสาทสัมผัสของตนเองนั้นให้กลับมาได้จากอารมณ์ตกกระทบภายนอกนั้น ก็เปรียบเสมือนเต่าที่สามารถหดเก็บแขนขาทั้งหมดเข้ามาไว้ในกระดองของมัน เขาผู้นั่นย่อมเป็นผู้ที่มีปัญญาตั้งมั่นอันสมบูรณ์แล

विषया विनिवर्तन्ते निराहारस्य देहिनः ।
रसवर्जं रसोऽप्यस्य परं दृष्ट्वा निवर्तते ॥२- ५९॥

            ดวงวิญญาณที่สถิตอยู่ในร่างอาจถูกควบคุมจากความสุขทางประสาทสัมผัส แม้รสแห่งอารมณ์ตกกระทบภายนอกยังคงอยู่
            การควบคุมและหยุดการกระทำเช่นนี้ได้นั้น ก็มาจากการที่เขานั้นได้มาประสบพบกับมธุรสที่เป็นเลิศกว่า อันทำให้เขานั้นมีความมั่นคงเกิดขึ้นได้ในดวงจิต


यततो ह्यपि कौन्तेय पुरुषस्य विपश्चितः ।
इन्द्रियाणि प्रमाथीनि हरन्ति प्रसभं मनः ॥२- ६०॥

            กุนเตยะ! ประสาทสัมผัสนั้นมันช่างส่งผลกระทบอันรุนแรงและรวดเร็วนัก จนสามารถรบกวนและสามารถบังคับนำพาให้จิตใจนั้นเตลิดเปิดเปิงไปได้ง่าย แม้มนุษย์ผู้นั้นจะมีจิตอันรู้จักแยกแยะและกำลังพยายามควบคุมมันก็อาจถูกมันพาให้เคลื่อนออกไปได้


तानि सर्वाणि संयम्य युक्त आसीत मत्परः ।
वशे हि यस्येन्द्रियाणि तस्य प्रज्ञा प्रतिष्ठिता ॥२- ६१॥

            บุคคลผู้สามารถข่มประสาทสัมผัสของตนเองนั้นได้ โดยรักษามันให้อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสมบูรณ์และตั้งมั่นอยู่ในปัญญาแห่งตน เขาผู้นั่นย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เห็นเรา และเป็นผู้ที่มีปัญญาอันแน่วแน่มั่นคง

ध्यायतो विषयान्पुंसः सङ्गस्तेषूपजायते ।
सङ्गात्संजायते कामः कामात्क्रोधोऽभिजायते ॥२- ६२॥
            ในขณะที่จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์ของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตย่อมเกิดอารมณ์ยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เมื่อเกิดการยึดติดจิตก็เริ่มพัฒนาตัวเริ่มเกิดการปรุงแต่งจนก่อตัวเป็นกามราคะ เมื่อกามก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในจิต ความโกรธนั้นย่อมติดตามมาเป็นเงา

क्रोधाद्भवति संमोहः संमोहात्स्मृतिविभ्रमः ।
स्मृतिभ्रंशाद्बुद्धिनाशो बुद्धिनाशात्प्रणश्यति ॥२- ६३॥

            จากโกรธ โมหะก็จะถือกำเนิดขึ้น แล้วปรับเปลี่ยนเป็นความหลงอันจะทำให้เกิดความสับสนจนลืมซึ่งสติ เมื่อเกิดความสับสนลืมสติพุทธิแห่งปัญญาย่อมจะสูญเสียไป และเมื่อเสื่อมในพุทธิปัญญาไป เขาก็จะตกต่ำลงสู่ก้นเหวแห่งความพินาศอีกครั้ง


रागद्वेषवियुक्तैस्तु विषयानिन्द्रियैश्चरन् ।
आत्मवश्यैर्विधेयात्मा प्रसादमधिगच्छति ॥२- ६४॥

            ส่วนผู้ที่เป็นอิสระแล้วจากการยึดติดอันปราศจากรักและรังเกียจ เขาจะสามารถควบคุมประสาทสัมผัสของตัวเองได้ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เขาย่อมได้รับมาซึ่งความเป็นสันโดษ


प्रसादे सर्वदुःखानां हानिरस्योपजायते ।
प्रसन्नचेतसो ह्याशु बुद्धिः पर्यवतिष्ठते ॥२- ६५॥

            เมื่อมีความพึงพอใจในสิ่งที่ตนพึงมีพึงเป็นอยู่แล้ว (สันโดษ) ความทุกข์ทางวัตถุทั้งปวงย่อมสูญสิ้นไป ในห้วงที่จิตนั้นเกิดความสันโดษเช่นนี้ ในไม่ช้าพุทธิแห่งปัญญาของเขาย่อมปรากฏขึ้นและจะสถิตอยู่อย่างมั่นคง


नास्ति बुद्धिरयुक्तस्य न चायुक्तस्य भावना ।
न चाभावयतः शान्तिरशान्तस्य कुतः सुखम् ॥२- ६६॥

            ผู้ที่ไม่มีจิตอันตั้งมั่นในความเป็นจริงแห่งเรา ย่อมไม่มีทั้งปัญญาและจิตใจอันมั่นคง เมื่อขาดสองสิ่งนี้แล้ว เขาย่อมหาซึ่งความสงบไม่ได้ เมื่อปราศจากความสงบเช่นนี้แล้วความสุขจะมีแก่เขาได้อย่างไรเล่า


इन्द्रियाणां हि चरतां यन्मनोऽनु विधीयते ।
तदस्य हरति प्रज्ञां वायुर्नावमिवाम्भसि ॥२- ६७॥
            เพราะประสาทสัมผัสเพียงน้อยนิดที่เตลิดไปตามกระแสลมแห่งวาระจิต มันย่อมสามารถพัดพาเอาพุทธิปัญญาของเขาผู้นั้นให้ล่องลอยเตลิดตามไปด้วย เฉกเช่นดั่งเรือที่ล่องลอยอยู่ในกระแสน้ำแล้วถูกลมพัดพาให้เคลื่อนคล้อยไปตามกระแสนั่นเอง


तस्माद्यस्य महाबाहो निगृहीतानि सर्वशः ।
इन्द्रियाणीन्द्रियार्थेभ्यस्तस्य प्रज्ञा प्रतिष्ठिता ॥२- ६८॥

            ฉะนั้น มหาพาหุเอ๋ย! ผู้ซึ่งสามารถข่มประสาทสัมผัสจากอารมณ์รับรู้ทั้งภายในและภายนอกทั้งหลายได้ เขาผู้นั้นจึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีพุทธิปัญญามั่นคงและแน่นอน


या निशा सर्वभूतानां तस्यां जागर्ति संयमी ।
यस्यां जाग्रति भूतानि सा निशा पश्यतो मुनेः ॥२- ६९॥

            ราตรีของมวลชีวิตนั้นเป็นเวลาตื่นของผู้ควบคุมตนเองได้ และเวลาตื่นของมวลชีวิตก็จะเป็นราตรีของมุนี (นักปราชญ์) ผู้ประจักษ์แจ้งในการพิจารณาใคร่ครวญตัวเอง


आपूर्यमाणमचलप्रतिष्ठं समुद्रमापः प्रविशन्ति यद्वत् ।
तद्वत्कामा यं प्रविशन्ति सर्वे स शान्तिमाप्नोति न कामकामी ॥२- ७०॥

            ผู้ไม่หวั่นไหวต่อความใคร่ความปรารถนา อันหลั่งไหลอย่างไม่หยุดยั้งและเชี่ยวกราก ก็เปรียบเสมือนดั่งสายน้ำในมหานทีที่ได้มุ่งหน้าไหลลงสู่ห้วงมหาสมุทรอันเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำ แต่มหาสมุทรนั้นกลับยังคงสงบนิ่งไม่หวั่นไหวต่อกระแสน้ำอันเชี่ยวนั้น
            นั่นเอง ผู้ที่ไม่หวั่นไหวเช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นผู้ที่ควรค่าแก่การได้รับซึ่งศานติ (ความสงบ) ส่วนผู้ที่ยังคงหวั่นไหวหลงใคร่ปรารถนาเพื่อสิ่งที่สนองความต้องการเหล่านี้ เขาผู้นั้นย่อมไม่มีทางจะพบกับศานติอย่างแน่นอน



विहाय कामान्यः सर्वान् पुमांश्चरति निःस्पृहः ।
निर्ममो निरहंकारः स शान्तिमधिगच्छति ॥२- ७१॥

            บุคคลผู้สลัดทิ้งแล้วซึ่งความต้องการทางวัตถุเพื่อการตอบสนองทางประสาทสัมผัสลงเสียได้ เขาย่อมไม่มีความใคร่ปรารถนาในสิ่งใด เขาได้ละทิ้งแล้วซึ่งมมังการและเขาย่อมปราศจากซึ่งความอหังการ บุคคลเช่นนี้ย่อมสามารถที่จะได้รับความสงบอย่างแท้จริง

एषा ब्राह्मी स्थितिः पार्थ नैनां प्राप्य विमुह्यति ।
स्थित्वास्यामन्तकालेऽपि ब्रह्मनिर्वाणमृच्छति ॥२- ७२॥

            นี่คือวิถีแห่งชีวิต อันเป็นธรรมชาติทิพย์ในพรหม ผู้ที่บรรลุในศานติแล้วเขาย่อมไม่มามัวงมงายและสับสน หากบุคคลสถิตในศานติได้เช่นนี้ แม้ในช่วงภาวะเวลาแห่งความตาย บุคคลผู้นั้นย่อมจะบรรลุถึงนิรวาณอันเป็นอาณาจักรทิพย์แห่งพระผู้เป็นเจ้าได้

ॐ तत्सदिति श्रीमद्भगवद्गीतासूपनिषत्सु ब्रह्मविद्यायां योगशास्त्रे
โอม ตัตสทิติ ศรีมัทภควัทคีตาสูปนิษัตสุ พรหมวิทยายาม โยคศาสเตร
श्रीकृष्णार्जुनसंवादे सांख्ययोगो नाम द्वितीयोऽध्यायः ॥ २ ॥
ศรีกฤษณารชุนสัมวาเท สางขยโยโค นาม ทวิตีโย' ธยายะ [2]

อธิบายศัพท์อัธยายที่ 2

            01. ศรีภควาน หมายถึง ผู้มีบุคลิกภาพอันประเสริฐสุดแห่งพระผู้เป็นเจ้า, พระเจ้าผู้ทรงอำนาจอันดีงาม ในที่นี้หมายถึง พระกฤษณะ
            02. ปรันตปะ แปลว่า ผู้กำราบศัตรู, ผู้ย่ำยีศัตรู ในที่นี้หมายถึงอรชุน
            03. อริสูทนะ แปลว่า ผู้สังหารศัตรู, ผู้ทำลายข้าศึก, ผู้ทำลายซึ่งปัญหา, ผู้กำจัดความคับข้องใจ ในที่นี้หมายถึง พระกฤษณะ
            04. อินทรีย์ คือ ส่วนของร่างกายที่มีหน้าที่รับประสาทสัมผัส มี 2 ชนิดได้แก่อินทรีย์ฝ่ายรู้ กับ อินทรีย์ฝ่ายกระทำ

- อินทรีย์ฝ่ายรู้ (ชญาเนนทรีย์ หรือ พุทธีนทรีย์) มี 5 อย่างคือ หู, ตา, จมูก, ลิ้น และ ผิวกาย
- อินทรีย์ฝ่ายกระทำ (กรรเมนทรีย์) มี 5 อย่างคือ อวัยวะที่ใช้พูด, มือ, เท้า, อวัยวะขับถ่าย และ อวัยวะสืบพันธุ์
            05. วิษัย คือ อาการรับรู้ของประสาทสัมผัสที่ได้รับจากอินทรีย์ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

            06. มหาพาหุ แปลว่า นักรบผู้ยิ่งใหญ่, ผู้มีฝีมืออันเป็นเอก, ขุนศึกผู้เยี่ยมยอด ในที่นี้หมายถึง อรชุน
            07. สางขยะ หมายถึง หลักว่าด้วยการวิเคราะห์ศึกษาหรือหลักทฤษฏี
            08.ยคะ หมายถึง การปฏิบัติภาระหน้าที่โดยไม่หวังผลตอบแทนทางวัตถุ, หลักปฏิบัติ, ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับร่างกาย, การบำเพ็ญเพียร, กระแสสัมพันธ์, การรวม, สนธิ, การไหลร่วม
            09. กรรม หมายถึง การกระทำ, หน้าที่อันพึงต้องปฏิบัติ, กิจการงาน, สิ่งอันเกิดจากการกระทำ, การกระทำทุกอย่างของสิ่งมีชีวิต
            10. กุรุนันทนะ แปลว่า ผู้เป็นที่รักแห่งวงศ์กุรุ, ผู้ที่ยังความยินดีให้แก่ชาวกุรุ
            11. พุทธิ หมายถึง ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจอันถ่องแท้
            12. กาม หมายถึง การสนองตอบความสุขทางประสาทสัมผัส, ความใคร่, ความปรารถนา

            13. ประกฤติ หมายถึง มูลเดิม, รากเหง้า, ความเป็นไปตามธรรมชาติ, กฏเกณฑ์, ลักษณะ, ที่เกิด
            อันเป็นมายาเป็นอำนาจพิเศษในการสร้างรูปและนาม เป็นธรรมชาติอันบันดาลให้เกิดการสร้างสรรค์และมูลฐานของสรรพสิ่งในโลก เป็นสิ่งแรกและเป็นประธานของสกลจักรวาล เป็นต้นตอของสิ่งทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนจนไม่อาจรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยการอนุมานจากผลิตผลของมันอย่างเดียวประกฤตินั้นเป็นสิ่งเที่ยงแท้ประกฤติแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
            ประกฤติระดับล่างซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ 8 อย่าง อันได้แก่ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ, อากาศ, มนัส (ใจ หรือ ความคิดที่แสดงออกมาทางจิตสำนึก), พุทธิ และอหังการ
            ประกฤติระดับสูงซึ่งก็คือชีวาตมัน หรือ อาตมัน (จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แยกมาจากปรมาตมัน)
            ประกฤติเป็นสิ่งไร้รู้ แต่สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประกฤติจะมีความแปรเปลี่ยนไปไม่เที่ยง โดยประกฤติจะก่อให้เกิดคุณ 3 ชนิด (ไตรคุณ) อันปรากฏ คือ
            - สัตตวะ หรือ สัตวะ หมายถึง อารมณ์อันสงบ, ความจริงแท้, ความดีงาม, ความบริสุทธิ์, การสร้างสรรค์, ความเฉลียวฉลาด, การมีสัจจะ, ความซื่อตรง, ความกล้าหาญ, ความขยันหมั่นเพียร, การรุ้จักอดกลั้น, การข่มอารมณ์, ความหนักแน่นมั่นคง, ความแข็งแกร่ง, ความสุขุมเยือกเย็น, ความเมตตากรุณา, อุเบกขา, ความไม่อาฆาตมาดร้าย, ความผ่องใสเบิกบาน, ความเป็นธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่ง, ฯลฯ
            - รชะ หรือ รชัส หมายถึง อารมณ์อันถูกกระตุ้น, การเคลื่อนไหว, การรักษา, การกระวนกระวาย, ตัณหาภายในใจ, ความรักใคร่ผูกพัน, การไม่มั่นคงของจิต, ราคจริต, ความโลภ, ความเบียดเบียน, ความอิจฉาริษยา, ความกำหนัดยินดี, ความเกลียดชัง, การยกตนข่มท่าน, กามารมณ์, ความหวั่นไหวของจิต, ความฟุ้งซ่าน, การใช้เล่ห์เพทุบายเพื่อมุ่งเอาชนะ, การช่วยเหลือเกื้อกูลเฉพาะมิตร, การยึดติดในอำนาจ, การยึดติดในสิ่งที่ปรารถนา, ความตะกละตะกลาม, ธรรมชาติอันถูกปรุงแต่งให้เกินจริง, ฯลฯ
            - ตมะ หรือ ตมัส หมายถึง อารมณ์อันหดหู่, ความกลัว, ความเฉื่อยชา, ความถดถอย, การคงสภาพหยุดนิ่ง, ความมืดมน, ความโง่เขลา, ความหลงอวิชชา, ความรู้สึกอันสับสน, ความท้อแท้สิ้นหวัง, ความลุ่มหลงมัวเมา, ความเศร้า, ความอ่อนแอ, ความโหดเหี้ยมอำมหิต, ความหยิ่งยโส, ความลำเอียง, การง่วงหลับ, ความใจแคบ, ความไม่ละอายต่อบาป, ความหิวกระหาย, ความไม่เชื่อในหลักธรรม, ความประมาท, ความชรา, ความไม่รู้, ธรรมชาติอันถูกทำให้ต่ำ หรือ เลวลง, ฯลฯ
            14. ทวันทธรรม หมายถึง สภาพธรรมอันเป็นคู่กัน บ้างก็เรียกว่า "ทวิธรรม" เช่น สุขกับทุกข์, ดีกับเลว, มียศกับเสื่อมยศ, มีลาภกับเสื่อมลาภ และ ฯลฯ
            15. โมหะ หมายถึง ความหลงติดอยู่ในอวิชชา, ความโง่เขลา, ความหลงในตัวเอง, ความเห็นแก่ตัว
            16. ราคะ หมายถึง ความใคร่, การยึดติด, การยินดีในโลกวัตถุ, ความกำหนัด   
            17. โกรธ หมายถึง ความขุ่นมัวของจิต, เคือง, โมโห
            18. สันโดษ หมายถึง ความรู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนมีและที่ตนนั้นเป็นอยู่, การรู้จักความพอเพียงตามฐานะของตน
            19. มมังการ หมายถึง ความคิดไปเองว่าตนนั้นเป็นเจ้าของ, การสำคัญว่าเป็นของเรา
            20. อหังการ หมายถึง การรับรู้ถึงการมีอยู่ของปัจเจกบุคคล, ความคิดที่ยึดมั่นถือมั่นในตนเอง, ความทะนงในตน, การถือตัวเย่อหยิ่ง

            21. นิรวาณ หมายถึง บรมสุข, การอันตรธาน, การงดเว้น, การเลิก, การสละ, การอดกลั้น, การรวม, ความดับแล้วซึ่งกิเลสและกองทุกข์


[/SIZE]
#47
พูดแบบที่เราพูดกันธรรมดานี่แหละครับ ไม่ต้องไปใช้คาถาหรอก

ท่องผิดท่องถูก ท่องเพี้ยนสำเนียงกลายเป็นอีกความหมายไปก็ไม่รู้นะครับ

เพราะคาถาพวกนั้นถ้าแปลออกมาแล้วก็เป็นการพูดบอกธรรมดานั่นเอง

อีกทั้งยังมีการแปลผิดกันอยู่มากมายไม่รู้จะเอาอันไหนเป็นหลักดี

อย่าว่าแต่ในไทยเลยครับ ในอินเดียก้แปลผิดกันนักต่อนักแล้วเหมือนกันครับ
#48
ตันตระนี้หมายถึง รหัส หรือ ความลับ โดยเริ่มเกิดขึ้นก่อนยุคของศาสนาฮินดู อันเป็นนิกายหนึ่งที่มีรากฐานมาจากนิกายสรวาสติวาทะ (อาจาริยวาท) เป็นนิกายที่เกิดขึ้นมาก่อนจะเป็นมหายานและวัชรยาน โดยนิกายนี้มีจุดเด่นที่การใช้ทวิธรรมหรือธรรมคู่ และการฝึกจิตด้วยรหัสต่างๆ พูดง่ายๆ คือ แสดงออกในรูปปริศนาธรรมต่างๆ นั่นเอง โดยมีมุมมองคล้ายๆ ลัทธิเต๋าของจีนที่ว่า มีขาวย่อมมีดำ มีดีย่อมมีเลว มีเกิดย่อมมีดับ มีชายย่อมมีหญิง เป็นต้น

ต่อมาเมื่อต้องมาพัฒนาตัวเองเพื่อสู้กับศาสนาฮินดู ที่นำศาสนาพราหมณ์มาปรับปรุงใหม่โดยดึงเอาหลักปรัชญาของศาสนาพุทธเข้าไปผสมกับศาสนาพราหมณ์เดิมจนออกมาเป็นศาสนาฮินดู

นิกายสรวาสติวาทะจึงได้มีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและสามารถต่อกรกับศาสนาฮินดูได้ จึงมีการนำเรื่องพระพุทธเจ้าที่เชื่อว่ามีจำนวนอนันต์มาใช้เป็นเครื่องต่อสู้ เมื่อมีพระพุทธเจ้ามากมายดั่งเม็ดทรายในคงคามหานที ก็เริ่มมีคำถามขึ้นมาว่าพระพุทธเจ้านั้นต้องมีจุดกำเนิดสิ นั่นเองจึงเป็นการเริ่มต้นของพระอาทิพุทธเจ้าขึ้น แล้วแบ่งภาคเป็นรูปสัมโภคกายด้วยอำนาจญาณออกไปเป็นพุทธเจ้าอีกมากมายที่สถิตอยู่บนพุทธเกษตร อีกทั้งยังแบ่งภาคลงมาเป็นพระพุทธเจ้าในภาคนิรมาณกายที่ปรากฏบนโลกอีก

จากนั้นจึงเพิ่มกำลังพลให้ศาสนาพุทธเข้มแข็งสามารถต่อสู้กับศาสนาฮินดูได้มากขึ้น ด้วยการดึงเอาพระโพธิสัตว์ต่างๆ เข้ามารวมเป็นกองทัพใหม่ด้วย อันเป็นที่มาของมหายานและวัชรยานในปัจจุบัน

เมื่อนานเข้า และ เมื่อนิกายย่อยๆ ของนิกายสรวาสติวาทะได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือของอินเดีย และประเทศต่างๆ ก็รับเอาวัฒนธรรมความเชื่อของดินแดนนั้นๆ เข้ามาผสมผสานด้วย เฉกเช่นเดียวกับวิธีดูดกลืนศาสนาอื่นของศาสนาฮินดูนั่นเอง

เมื่อนิกายสรวาสติวาทะเคลื่อนเข้าสู่ทางตอนเหนือของอินเดีย ก็ได้แตกแขนงออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งทั้ง 3 ระดับนั้นก็นำวิชาตันตระนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน คือ

1. มันตรยาน อันจะเน้นในพิธีกรรม โดยจะใช้มนตร์และมุทรา (การแสดงปริศนาธรรมด้วยนิ้ว) มาใช้ในการถ่ายทอดธรรมด้วยรหัสต่างๆ ตามแบบตันตระ
2. วัชรยาน จะเน้นในสหัชญาณ จะเน้นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งภายในจิต โดยผ่านวิถีแห่งตันตระเป็นคำปริศนาที่ไม่ตายตัว
3. กาลจักร เป็นขั้นที่เน้นการประสานความคิดที่แตกแยกทางทรรศนะต่างๆ แล้วหาความเป็นกลางที่ลงตัว ยอมรับเอาปรัชญาธรรมต่างๆ เข้ามาเป็นของตนเอง จึงเห็นได้ว่ามีการนำเอาเทพเจ้าของฮินดู เอาวิชาโหราศาสตร์ เช้ามาร่วมด้วย อีกทั้งยังมีการนำเอาเทพเจ้าพื้นเมืองมาร่วมอีกเช่นกัน แล้วมีการสร้างเทพใหม่ๆ ขึ้นอีกมากมาย อาทิเช่นพวกเทพยิดัม ยับ-ยุม เป็นต้น

ดังนั้นภาพที่เราเห็นพระอาทิพุทธเจ้ากอดรัดอยู่กับศักติของพระองค์นั้น จึงไม่ได้แสดงรหัสหรือสื่อความหมายไปทางอนาจารอย่างที่เราคิดกันเลย นั่นเป็นภาพปริศนารหัสธรรมตามแนวของตันตระ ที่ว่ามีชายย่อมมีหญิง มีขาวย่อมมีดำ มีปรากฏย่อมมีไม่ปรากฏ

เมื่อจะสื่อให้เห็นถึงการกำเนิดของพระพุทธเจ้าในรูปแบบต่างๆ แล้ว จึงต้องนำภาพศักติมาอธิบายร่วมกับพระอาทิพุทธเจ้า เพื่อความเข้าใจได้ว่าเมื่อชายและหญิงมารวมกันย่อมก่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมานั่นเอง ถ้าผู้ใดไม่เข้าใจที่มาของตันตระแล้วย่อมจะมองว่าภาพนี้เป็นภาพลามกอนารไปก็ย่อมได้

อีกอย่างมีหลายท่านเข้าใจกันว่า วิชาตันตระนั้นมีที่มาจาก ลัทธิไศวะศักติหรือตันตระฮินดู ซึ่งเราจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าจะมีการร่วมเพศกันในเทวสถานถวายแด่เทพเจ้า

คนที่คิดว่าพุทธตันตระก็คงมีความคล้ายกันเช่นนั้น เมื่อดูจากภาพพระอาทิพุทธเจ้า นั่นเป็นการเข้าใจที่ผิด เพราะปรัชญาพุทธตันตระฉบับเดิมจริงๆ นั้นไม่ได้มีจุดมุ่งหมายไปในทางเช่นนั้นเลย ถ้ามองจากรูปลักษณ์ภายนอกเราอาจะมองว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ในทางปฏิบัติและจุดประสงค์ของวิชาและทางปรัชญานั้นจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง

พุทธตันตระนั้นตามประวัติแล้วเกิดก่อนลัทธิตันตระของฮินดูนานมาก โดยต้องเข้าใจกันก่อนว่า ระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูนั้นมีการแย่งชิงพื้นที่การนับถือจากชาวอินเดียกันเป็นอย่างมาก ต่างฝ่ายต่างก็ดึงเอาข้อดีของอีกฝ่ายกันไปใช้ บ้างก็ดึงไปทั้งหมด บ้างก็ดึงไปได้เพียงบางส่วนแบบขาดๆ เกินๆ

โดยฮินดูตันตระมีเป้าหมายที่ การเข้ารวมกับศักติแล้วจะเพียบพร้อมไปด้วยพลังอำนาจ เพราะการรวมกันระหว่างศิวะกับศักติ โลกจึงได้กำเนิดขึ้น อันการติดอยู่ในรูปลักษณ์นั่นเอง

ส่วนพุทธตันตระนั้น มีจุดมุ่งหมายต่างจากลัทธิตันตระของฮินดู โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความเป็นสูญตา อันเป็นภาวะที่ว่างเปล่าแต่ไม่ว่างเปล่า ไม่ได้เกิดจากการสร้างหรือจากการปรุงแต่งใดๆ เป็นสภาวะที่แท้จริงเป็นสัจธรรมของธรรมชาติ อันมีอยู่แล้วตั้งอยู่แล้วก่อนการสร้างและข้ามพ้นจากการสร้างทั้งปวงด้วย

เมื่อทราบดังนี้คงเข้าใจถึงพุทธตันตระมากขึ้นนะครับ และภาพที่ปรากฏก็ไม่ได้ลามกอนาจารอย่างที่เราคิดกัน ที่หลายท่านคิดกันไปเช่นนั้นก็เพราะเรานั้นไปรับเอาเรื่องหรือความเข้าแบบผิดๆ ของตันตระในแบบฮินดูมา


ซึ่งตอนหลังศาสนาฮินดูส่วนใหญ่เขาก็ได้ปฏิเสธแนวทางของนิกายนี้อย่างสิ้นเชิง และยังระบุว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด ในแก่นแท้และเป้าหมายสูงสุดของศาสนาฮินดูเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วย

ซึ่งในไทยเราก็มีการนำลัทธิตันตระในแบบที่ยังไม่แตกฉานในวิถีแห่งตันตระมาใช้เช่นกัน โดยจะไปเน้นกรรมวิธีทางไสยศาสตร์เป็นหลัก มากกว่านำมาแสวงหาอภิธรรม อภิปรัชญาทางพุทธศาสนา โดยมีให้เห็นว่าที่มีการนำมาใช้แบบนี้จะมีการกระทำพิธีกรรมเสริมดวง การใช้วัตถุภายนอกมาช่วยในการแก้กรรม ซึ่งต้องบอกเลยว่าผู้ที่นำตันตระมาใช้เช่นนี้มิได้มีความเข้าใจในระบบตันตระที่แท้จริงเลย แถมยังผิดวัตถุประสงค์ของศาสนาที่มุ่งเน้นการหลุดพ้นที่เกิดขึ้นจากพุทธิปัญญาด้วย
#49


การใช้พืชผัก ธัญญาหาร มาร้อยเป็นพวงมาลัยถวายนั้น น่าจะมีที่มาจากทางอินเดียใต้ที่บูชาพระแม่อัมมันปางหนึ่ง คือ ปางศากุมภรี (शाकुंभरी - ชา-คุม-บะ-รี) หรือ ศากัมพรี (शाकम्बरी - ชา-คัม-บะ-รี) บางที่ก็เรียกปางนี้ว่า ศตกษี (शतक्षी - ชะ-ทะ-คะ-ชี)

โดยถือว่าพระแม่ปางนี้เป็นปางที่ทรงขจัดภัยแล้ง โดยปางนี้จะมีพระเนตรมากมายตามพระวรกาย แล้วทรงหลั่งอัสสุชลลงมาเป็นหยาดฝนเพื่อขจัดภัยแล้งให้ ในปางนี้พระองค์จะทรงศาสตราวุธเป็นตรีศูลบ้าง ธนูบ้าง แต่ที่สำคัญคือจะทรงถือ ธัญพืช, ผัก, ผลไม้, ต้นไม้, สมุนไพร, ฯลฯ จำนวนมากมาย

ดังนั้นพระแม่อัมมันปางนี้จึงเป็นที่นิยมเคารพบูชากันมากในอินเดียเฉกเช่นพระแม่โพสพ หรือ พระศรีลักษมีปางธัญลักษมี บ้างก็ถือกันว่าเป็นดั่งพระภูมเทวี (พระแม่ธรณี) เมื่อเป็นดังนั้นจึงมีการนิยมนำเอาพืชผัก ธัญพืช มาร้อยเป็นพงมาลัยถวาย แล้วจากนั้นการร้อยพวงมาลัยด้วยพืชผักก็เริ่มเผยแพร่ไปทั่ว


#50
भगवद् गीता २
द्वितीयोऽध्यायः सांख्ययोग
ทวิตีโยอัธยายะ สางขยะโยค (หลักแห่งการวิเคราะห์จำแนก)

श्रीपरमात्मने नमः โอม ศรีปรมาตมเน นมะ
अथ द्वितीयोऽध्यायः อถ ทวิตีโย' ธยายะ
संजय उवाच
तं तथा कृपयाविष्टमश्रुपूर्णाकुलेक्षणम् ।
विषीदन्तमिदं वाक्यमुवाच मधुसूदनः ॥२- १॥
สัญชัย กราบทูลว่า
            เมื่อได้เห็นท้าวเธอผู้มีพระเนตรอันคลั่งคลอไปด้วยอัสสุชล ซึ่งเกิดจากหฤทัยอันเศร้าสลด ระคนกับทรงความเกิดความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นเป็นสุข แล้วองค์มธุสูทนะจึงได้ตรัสขึ้นกับองค์อรชุนดังนี้

श्रीभगवानुवाच
कुतस्त्वा कश्मलमिदं विषमे समुपस्थितम् ।
अनार्यजुष्टमस्वर्ग्यमकीर्तिकरमर्जुन ॥२- २॥

ศรีภควาน ตรัสท้วงว่า
            อะไรทำให้เธอดูอ่อนแอไปเช่นนี้เล่าอรชุนผู้เป็นที่รักแห่งเรา มลทินเช่นนี้เกิดขึ้นกับเธอได้อย่างไรในเวลาภาวะฉุกเฉินเฉกเช่นนี้ ความคิดเช่นนี้ไม่เหมาะสถิตอยู่กับเธอผู้รู้ซึ้งในคุณค่าแห่งชีวิต เพราะความคิดของเธอเช่นนี้นั้นมันจะไม่นำเธอไปสู่โลกอันสูงส่ง แต่มันกลับจะนำมาซึ่งความเสียชื่อเสียงแก่เธอด้วยซ้ำไป


क्लैब्यं मा स्म गमः पार्थ नैतत्त्वय्युपपद्यते ।
क्षुद्रं हृदयदौर्बल्यं त्यक्त्वोत्तिष्ठ परन्तप ॥२- ३॥

            โอ้ปารถเอ๋ย! เธอนั้นจงอย่ายอมจำนนให้กับการไร้ความสามารถทางความคิดที่น่าอับอายของเธอจนไม่เป็นตัวของตัวเองเฉกเช่นนี้อีกเลย เธอจงสลัดทิ้งซึ่งละอองธุลีแห่งความอ่อนแอภายในดวงจิตอันเล็กน้อยของเธอนี้ออกไปให้สิ้นเถิด แล้วจงลุกขึ้นมาอีกครั้งเถอะปรันตปะ
अर्जुन उवाच
कथं भीष्ममहं संख्ये द्रोणं च मधुसूदन ।
इषुभिः प्रति योत्स्यामि पूजार्हावरिसूदन ॥२- ४॥

อรชุน ตรัสตอบว่า
            โอ้มธุสูทนะ! ข้าพเจ้าจะทำสงครามโต้ตอบด้วยลูกศรกับองค์ภีษมะและโทรณาจารย์ ผู้สมควรแด่การเคารพนบนอบบูชา กระนั้นหรือ?...อริสูทนะ

गुरूनहत्वा हि महानुभावान् श्रेयो भोक्तुं भैक्ष्यमपीह लोके ।
हत्वार्थकामांस्तु गुरूनिहैव भुञ्जीय भोगान् रुधिरप्रदिग्धान् ॥२- ५॥

            แม้นว่าจะต้องอยู่ในโลกนี้ด้วยการขอทานเขากิน ก็ยังดีกว่าการที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยการเสพกินดวงวิญญาณของครูผู้มีพระคุณ ถึงแม้ว่าพวกท่านยังจะมีความพึงพอใจในทางโลกวัตถุ แต่พวกท่านนั้นก็ยังเป็นผู้ที่ข้าพเจ้าควรเคารพสักการะ หากข้าพเจ้าจะต้องสังหารครู ย่อมเท่ากับว่าความสุขของข้าพเจ้าที่จะได้รับนั้น มันจะต้องแปดเปื้อนระคนไปด้วยโลหิต

न चैतद्विद्मः कतरन्नो गरीयो यद्वा जयेम यदि वा नो जयेयुः ।
यानेव हत्वा न जिजीविषाम- स्तेऽवस्थिताः प्रमुखे धार्तराष्ट्राः ॥२- ६॥
            ข้าพเจ้าไม่รู้เลยว่าสิ่งไหนจะดีกว่ากัน ระหว่างการชนะพวกเขา กับการที่พวกเขาชนะเรา หากข้าพเจ้าจำต้องสังหารเหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์ ข้าพเจ้าก็ไม่ปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่เช่นกัน บัดนี้พวกเขาได้มายืนปรากฏต่อหน้าข้าพเจ้าแล้วในสมรภูมิแห่งนี้
कार्पण्यदोषोपहतस्वभावः पृच्छामि त्वां धर्मसम्मूढचेताः ।
यच्छ्रेयः स्यान्निश्चितं ब्रूहि तन्मे शिष्यस्तेऽहं शाधि मां त्वां प्रपन्नम् ॥२- ७॥

            ขณะนี้ข้าพเจ้ารู้สึกสับสนเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของข้าพเจ้ายิ่งนัก อีกทั้งยังสูญเสียความสงบภายในจิตใจด้วยความอ่อนแอเพียงเล็กน้อย ในภาวะเช่นนี้ข้าพเจ้าไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใคร ขอท่านจงได้โปรดชี้แนะแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ว่าอะไรคือสิ่งอันสมควรและดีที่สุดในภาวะเช่นนี้
            บัดนี้ข้าพเจ้าขอนอบน้อมด้วยกายและจิตวิญญาณที่ศิโรราบแด่ท่าน ขอท่านจงโปรดชี้แนะหนทางอันสว่างนี้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ.
न हि प्रपश्यामि ममापनुद्याद् यच्छोकमुच्छोषणमिन्द्रियाणाम् ।
अवाप्य भूमावसपत्नमृद्धं राज्यं सुराणामपि चाधिपत्यम् ॥२- ८॥
             ข้าพเจ้ามองหาไม่เห็นหนทางใดเลย ที่จะขจัดความทุกข์โศกอันทำให้ประสาทรับรู้ทั้งปวงของข้าพเจ้านั้นเหือดแห้งลงได้ แม้ข้าพเจ้าจะได้รับชัยชนะทั้งราชสมบัติและราชอาณาจักรอันไร้คู่แข่งในโลกนี้ พร้อมทั้งอำนาจความเป็นใหญ่สูงสุดประดุจเหล่าเทวดาบนสรวงสวรรค์ก็ตาม
संजय उवाच
एवमुक्त्वा हृषीकेशं गुडाकेशः परन्तपः ।
न योत्स्य इति गोविन्दमुक्त्वा तूष्णीं बभूव ह ॥२- ९॥

สัญชัย จึงทูลต่อไปว่า
            หลังจากที่ตรัสเช่นนั้นแล้ว องค์คุฑาเกศผู้เคยทำให้เหล่าศัตรูต้องหวาดกลัวก็ได้ทูลแด่องค์หฤษีเกศว่า "ข้าฯ แต่โควินทะ ข้าพเจ้าจะไม่ทำการรบอีกต่อแล้ว" และมีทรงพระอาการอาการนิ่งเงียบไป

तमुवाच हृषीकेशः प्रहसन्निव भारत ।
सेनयोरुभयोर्मध्ये विषीदन्तमिदं वचः ॥२- १०॥

            โอ้ผู้สืบวงศ์ภารตะ! ทันใดนั้นองค์หฤษีเกศก็ทรงแย้มพระโอษฐ์ แล้วตรัสแก่องค์อรชุนผู้มีดวงจิตอันเต็มเปี่ยมไปด้วยความเศร้าโศกในท่ามกลางระหว่างกองทัพของทั้งสองฝ่าย ด้วยมธุรสวาจาดังต่อไปนี้

श्रीभगवानुवाच
अशोच्यानन्वशोचस्त्वं प्रज्ञावादांश्च भाषसे ।
गतासूनगतासूंश्च नानुशोचन्ति पण्डिताः ॥२- ११॥

ศรีภควาน ตรัสสอนว่า
            ขณะที่เธอนั้นกล่าวออกมาด้วยวาจาที่ฟังดูหลักแหลมประดุจผู้มีการศึกษาสูง แต่เธอนั้นกลับมานั่งเศร้าโศกในสิ่งที่ไม่ควรค่าแก่การโศกเศร้า นั่นก็เพราะเธอไม่ได้เข้าใจความหมายอันลึกซึ้งในสิ่งที่เธอนั้นได้กล่าวออกมา ผู้มีปัญญาความรู้อันกระจ่างแล้วนั้นเขาย่อมจะไม่มานั่งเศร้าโศกกับสิ่งที่มีชีวิตอยู่ หรือ สิ่งที่ตายไปแล้ว
न त्वेवाहं जातु नासं न त्वं नेमे जनाधिपाः ।
न चैव न भविष्यामः सर्वे वयमतः परम् ॥२- १२॥

            ทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้น ไม่มีขณะใดเลยที่ตัวเรา ตัวเธอ หรือ พวกกษัตริย์เหล่านั้นจะไม่มีชีวิตอยู่ และเป็นที่แน่นอนว่าในอนาคตพวกเราทั้งปวงก็จะยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไป

देहिनोऽस्मिन्यथा देहे कौमारं यौवनं जरा ।
तथा देहान्तरप्राप्तिर्धीरस्तत्र न मुह्यति ॥२- १३॥
            ดังเช่นดวงวิญญาณซึ่งอาศัยอยู่ในร่างวัตถุ โดยเริ่มเดินทางผ่านร่างกายในวัยเด็ก แล้วค่อยๆ เคลื่อนมาสู่การเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็เคลื่อนต่อไปเข้าสู่วัยอันชราในร่างที่เหี่ยวย่น ฉันใดก็ฉันนั้น ดวงวิญญาณก็จะเคลื่อนออกจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งเมื่อร่างเก่านั้นทรุดโทรมมากและตายไป ผู้ที่มีสติปัญญาจะไม่มัวมาหลงสับสนต่อการเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรเช่นนี้

मात्रास्पर्शास्तु कौन्तेय शीतोष्णसुखदुःखदाः ।
आगमापायिनोऽनित्यास्तांस्तितिक्षस्व भारत ॥२- १४॥
            โอ้กุนเตยะ! การปรากฏและไม่ปรากฏทางประสาทสัมผัสของอินทรีย์และวิษัย อันไม่ถาวรยังให้เกิดความสุขและทุกข์ตามภาวะแห่งกาลเวลานั้นๆ เปรียบเสมือนการปรากฏและไม่ปรากฏของอากาศที่ร้อนและหนาว อันเกิดกับประสาทสัมผัส ซึ่งถ่ายเทไปมาไม่แน่นอน
            โอ้ภารตะ! เธอต้องเรียนรู้ต้องเข้าใจมัน และอดทนอดกลั้นต่อสิ่งอันตกกระทบเหล่านี้โดยไม่หวั่นไหว

यं हि न व्यथयन्त्येते पुरुषं पुरुषर्षभ ।
समदुःखसुखं धीरं सोऽमृतत्वाय कल्पते ॥२- १५॥
            โอ้ผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์! ผู้ไม่หวั่นไหว ไม่ยินดียินร้ายในความสุขแลความทุกข์ มีความมั่นคงสม่ำเสมอในทั้งสองสิ่งนี้ เขาผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีสิทธิ์ถึงซึ่งความหลุดพ้นในความเป็นอมตะอย่างแน่นอน
नासतो विद्यते भावो नाभावो विद्यते सतः ।
उभयोरपि दृष्टोऽन्तस्त्वनयोस्तत्त्वदर्शिभिः ॥२- १६॥

            ผู้พบแล้วซึ่งสัจธรรมเขาย่อมสรุปได้ว่า สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงอันถูกสมมติขึ้น (ร่างกาย) จะไม่จิรังยั่งยืน แต่สำหรับสิ่งอันเป็นอมตะ (จิตวิญญาณ) นั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่นักปราชญ์สรุปเช่นนี้ก็เพราะเขาได้ประจักษ์แล้วในธรรมชาติของทั้งสองสิ่งนี้อย่างถ่องแท้

अविनाशि तु तद्विद्धि येन सर्वमिदं ततम् ।
विनाशमव्ययस्यास्य न कश्चित्कर्तुमर्हति ॥२- १७॥

             เธอพึงทราบไว้ด้วยว่าสิ่งที่แผ่ไปทั่วร่างกายนั้นจะไม่มีความพินาศ จะไม่มีผู้ใดที่จะทำลายดวงวิญญาณอันไม่มีวันเสื่อมสลายนี้ลงได้

अन्तवन्त इमे देहा नित्यस्योक्ताः शरीरिणः ।
अनाशिनोऽप्रमेयस्य तस्माद्युध्यस्व भारत ॥२- १८॥

            วิญญาณซึ่งอาศัยอยู่ในร่างนั้นจะไม่มีวันถูกทำลายลง ประมาณไม่ได้และเป็นอมตะ ส่วนร่างที่วิญญาณอาศัยอยู่นั้น จะต้องสิ้นต้องเสื่อมสลายลงอย่างแน่นอน ฉะนั้นจงสู้เถอะผู้สืบวงศ์ภารตะ
य एनं वेत्ति हन्तारं यश्चैनं मन्यते हतम् ।
उभौ तौ न विजानीतो नायं हन्ति न हन्यते ॥२- १९॥
            ผู้ที่คิดว่าวิญญาณซึ่งอาศัยร่างนั้นเป็นผู้ฆ่า และคิดว่าวิญญาณซึ่งอาศัยร่างนั้นเป็นผู้ถูกฆ่า ผู้ที่มีทรรศนะความคิดทั้งสองอย่างนี้ถือว่าเป็นผู้ที่ไม่รู้จริง เพราะดวงวิญญาณนี้ไม่ได้เป็นทั้งผู้ฆ่า หรือ ผู้ถูกฆ่า

न जायते म्रियते वा कदाचि- न्नायं भूत्वा भविता वा न भूयः ।
अजो नित्यः शाश्वतोऽयं पुराणो न हन्यते हन्यमाने शरीरे ॥२- २०॥

            ดวงวิญญาณนั้นไม่เคยเกิดหรือตายไม่ว่าจะในเวลาใด ไม่เคยอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ดวงวิญญาณนั้นไม่เคยเกิด เป็นอมตะคงไปอยู่ชั่วนิรันดร และเป็นสิ่งอันเก่าแก่ที่สุด ฉะนั้นดวงวิญญาณจะไม่ถูกใครสังหาร เมื่อร่างกายอันเป็นวัตถุนั้นถูกฆ่า

वेदाविनाशिनं नित्यं य एनमजमव्ययम् ।
कथं स पुरुषः पार्थ कं घातयति हन्ति कम् ॥२- २१॥

            ปารถเอ๋ย ผู้ที่รับรู้แล้วว่า ดวงวิญญาณนั้นไม่มีวันถูกทำลายลงได้ มีความเป็นอมตะ ไม่มีการเกิด และไม่มีการเปลี่ยนแปลง เขาจะถูกสังหารหรือเป็นต้นเหตุแห่งการสังหารใครได้อย่างไรเล่า

वासांसि जीर्णानि यथा विहाय नवानि गृह्णाति नरोऽपराणि ।
तथा शरीराणि विहाय जीर्णान्यन्यानि संयाति नवानि देही ॥२- २२॥

            อุปมาเหมือนดั่งการที่คนเราที่ถอดหรือทิ้งเครื่องนุ่งห่มอันเก่าเสีย เพื่อไปสวมชุดใหม่ฉันใด ดวงวิญญาณก็ละทิ้งร่างกายอันเก่าและชำรุดนั้นไป แล้วเข้าไปอาศัยในร่างกายอันใหม่ฉันนั้น
नैनं छिन्दन्ति शस्त्राणि नैनं दहति पावकः ।
न चैनं क्लेदयन्त्यापो न शोषयति मारुतः ॥२- २३॥

            อันดวงวิญญาณนั้นจะไม่ถูกอาวุธใดๆ ตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ ได้  ไฟไม่สามารถแผดเผาให้พินาศลงได้ น้ำก็ไม่สามารถทำให้ที่จะทำให้ดวงวิญญาณนั้นเปียกละลายได้ หรือแม้กระทั่งลมก็ไม่สามารถพัดให้ระเหยแห้งลงได้เช่นกัน
अच्छेद्योऽयमदाह्योऽयमक्लेद्योऽशोष्य एव च ।
नित्यः सर्वगतः स्थाणुरचलोऽयं सनातनः ॥२- २४॥
            ปัจเจกวิญญาณนี้ย่อมไม่วันแตกสลาย ไม่ละลาย ไม่ถูกเผาไหม้ และไม่ถูกทำให้แห้งเหือด มีความเป็นอมตะ ปรากฏอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่หวั่นไหวเคลื่อนไป และจะเป็นเหมือนเดิมอยู่ตลอดตราบนิตย์นิรันดร์
अव्यक्तोऽयमचिन्त्योऽयमविकार्योऽयमुच्यते ।
तस्मादेवं विदित्वैनं नानुशोचितुमर्हसि ॥२- २५॥
             ผู้รู้แจ้งแล้วกล่าวไว้ว่า  ดวงวิญญาณนั้นไม่มีความปรากฏ มองไม่เห็น ไม่เปลี่ยนรูป ไม่อาจคิดนึกไปเองได้ ฉะนั้นเมื่อทราบเช่นนี้แล้ว เธอก็ไม่ควรที่จะมานั่งเศร้าโศกกับร่างวัตถุนี้อีกต่อไป

अथ चैनं नित्यजातं नित्यं वा मन्यसे मृतम् ।
तथापि त्वं महाबाहो नैनं शोचितुमर्हसि ॥२- २६॥

            อย่างไรก็ดี ถ้าหากเธอคิดว่าดวงวิญญาณซึ่งเป็นลักษณะอาการของการมีชีวิตนั้น จะต้องเกิดและต้องดับอยู่เสมอชั่วนิรันดร์ กระนั้นแล้วเธอก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องมานั่งโศกเศร้าอีกเช่นกัน มหาพาหุเอ๋ย
जातस्य हि ध्रुवो मृत्युर्ध्रुवं जन्म मृतस्य च ।
तस्मादपरिहार्येऽर्थे न त्वं शोचितुमर्हसि ॥२- २७॥
            เพราะเป็นที่แน่นอนว่าสรรพชีวิตที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นจะต้องตายสลายไป และหลังจากที่ตายไปแล้วก็จะวนกลับมาถือกำเนิดใหม่อีกครั้งเป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่อยไป ฉะนั้นเธอจึงไม่ควรมาเสียใจในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นนี้ แล้วจงปฏิบัติตามหน้าที่อันพึงควรของเธอเถิด

अव्यक्तादीनि भूतानि व्यक्तमध्यानि भारत ।
अव्यक्तनिधनान्येव तत्र का परिदेवना ॥२- २८॥

            อันสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น เป็นสิ่งอันไม่ปรากฏในเบื้องต้น ปรากฏเพียงแต่ในช่วงกลาง และจะไม่ปรากฏอีกครั้งเมื่อถูกทำลายลงในเบื้องปลาย ดังนั้นเธอจึงไม่จำเป็นที่จะมาคร่ำครวญเสียใจในเรื่องนี้อีก ภารต!

आश्चर्यवत्पश्यति कश्चिदेन- माश्चर्यवद्वदति तथैव चान्यः ।
आश्चर्यवच्चैनमन्यः शृणोति श्रुत्वाप्येनं वेद न चैव कश्चित् ॥२- २९॥

            บางคนอาจจะมองว่าวิญญาณนั้นเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ บางคนนั้นอธิบายว่าดวงวิญญาณเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งนัก และบางคนก็ได้ยินเกี่ยวกับดวงวิญญาณว่าเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ขณะที่อีกหลายคนแม้ครั้นเขานั้นจะได้ยินมาแล้วเกี่ยวกับเรื่องของดวงวิญญาณ พวกเขาเหล่านั้นก็ยังไม่มีใครสักคนที่สามารถเข้าใจมันได้เลย

देही नित्यमवध्योऽयं देहे सर्वस्य भारत ।
तस्मात्सर्वाणि भूतानि न त्वं शोचितुमर्हसि ॥२- ३०॥

            โอ้ผู้สืบวงศ์ภารตะเอ๋ย! อันดวงวิญญาณที่สถิตพำนักอยู่ ณ ในร่ายกายของคนเรานี้นั้นจะไม่มีวันถูกสังหารลงได้ ฉะนั้นเธอจึงมิควรมีดวงจิตอันเศร้าหมองกับชีวิตของผู้อื่นอีก

स्वधर्ममपि चावेक्ष्य न विकम्पितुमर्हसि ।
धर्म्याद्धि युद्धाच्छ्रेयोऽन्यत्क्षत्रियस्य न विद्यते ॥२- ३१॥

            คราวนี้เมื่อหันกลับมาพิจารณาหน้าที่ของเธอ ซึ่งดำรงอยู่ในฐานะกษัตริย์ เธอก็ทราบดีว่าไม่มีหน้าที่อื่นใดจะดีไปกว่าการได้ต่อสู้เพื่อปกป้องคุณธรรมความถูกต้อง ดังนั้นเธอจึงไม่ควรที่จะลังเลใจในหน้าที่ของเธอ
यदृच्छया चोपपन्नं स्वर्गद्वारमपावृतम् ।
सुखिनः क्षत्रियाः पार्थ लभन्ते युद्धमीदृशम् ॥२- ३२॥

            ปารถ! กษัตริย์ผู้มีความสุขก็คือ กษัตริย์ที่ได้กระทำการต่อสู้เมื่อโอกาสนั้นได้เอื้ออำนวยให้ โดยที่เขานั้นไม่ต้องไปเสาะแสวงหาเช่นนี้ ซึ่งนับว่า เปรียบเสมือนกับเป็นการเปิดประตูสู่สวรรค์ให้แก่ตัวเขาเอง
अथ चेत्त्वमिमं धर्म्यं संग्रामं न करिष्यसि ।
ततः स्वधर्मं कीर्तिं च हित्वा पापमवाप्स्यसि ॥२- ३३॥

            อย่างไรก็ดี หากว่าเธอนั้นจะไม่กระทำสงครามเพื่อพิทักษ์ความเป็นธรรมเช่นนี้แล้ว เธอก็จะต้องได้รับตราบาปติดตัวของเธอไปในฐานะของผู้ที่ไม่รับผิดชอบ ผู้ที่ละเลยต่อหน้าที่อย่างแน่นอน แล้วสิ่งนี้จะนำมาซึ่งการเสียชื่อเสียงเกียรติยศของเธอในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน ในฐานะที่เธอนั้นกำเนิดมาเป็นชายชาตินักรบ

अकीर्तिं चापि भूतानि कथयिष्यन्ति तेऽव्ययाम् ।
सम्भावितस्य चाकीर्तिर्मरणादतिरिच्यते ॥२- ३४॥

            ผู้คนต่างๆ จะประณามถึงเรื่องการเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศของเธอในครั้งนี้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด สำหรับบุคคลผู้เคยได้รับการยอมรับเคารพนับถือจากปวงมนุษย์นั้น การดำรงชีวิตอยู่อย่างไร้เกียรติศักดิ์ศรีเช่นนี้นั้น มันเลวร้ายและทรมานยิ่งกว่าความตายเสียอีก
भयाद्रणादुपरतं मंस्यन्ते त्वां महारथाः ।
येषां च त्वं बहुमतो भूत्वा यास्यसि लाघवम् ॥२- ३५॥

            เหล่าบรรดานักรบผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายที่เคยกล่าวสรรเสริญยกย่อง นับถือในชื่อเสียงเกียรติคุณความกล้าหาญของเธอ ที่เธอสั่งสมมา พวกเขาก็จะคิดว่าที่เธอนั้นหนีออกจากสนามรบไปก็เพราะว่าเธอนั้นรักตัวกลัวตาย พวกเขาเหล่านั้นจะมองว่าเธอนั้นเป็นผู้ที่ไร้ศักดิ์ศรี ไม่สมกับการเกิดเป็นผู้ชายชาตินักรบ

अवाच्यवादांश्च बहून्वदिष्यन्ति तवाहिताः ।
निन्दन्तस्तव सामर्थ्यं ततो दुःखतरं नु किम् ॥२- ३६॥

            ส่วนผู้ที่เป็นศัตรูของเธอ แน่นอนว่าพวกเขาต่างก็จะปรามาสดูถูกเธอนั้นด้วยวาจาอันเหยียดหยาม และพวกเขายังจะสบประมาทในความสามารถของเธออย่างแน่นอน แล้วมันจะมีอะไรเล่าที่จะทำให้เธอต้องเจ็บปวดรวดร้าวไปได้มากกว่านี้อีกเล่า
हतो वा प्राप्स्यसि स्वर्गं जित्वा वा भोक्ष्यसे महीम् ।
तस्मादुत्तिष्ठ कौन्तेय युद्धाय कृतनिश्चयः ॥२- ३७॥

            หากเธอถูกสังหารตายในท่ามกลางสนามรบ ประตูสวรรค์นั้นก็จะถูกเปิดออกเพื่อรอรับเธอ หรือในมุมกลับกันหากเธอนั้นได้รับชัยชนะในสงคราม เธอก็จะได้เสวยสุขและเธอก็สมหวังได้ครองอาณาจักรบนโลกแห่งนี้โดยสมบูรณ์ ฉะนั้นเธอจงลุกขึ้นมาเพื่อต่อสู้ด้วยความมั่นใจเถิด กุนเตยะ!

सुखदुःखे समे कृत्वा लाभालाभौ जयाजयौ ।
ततो युद्धाय युज्यस्व नैवं पापमवाप्स्यसि ॥२- ३८॥
            เธอจงปฏิบัติตามหน้าที่วิถีทางแห่งนักรบนั้นเถิด โดยเธอนั้นไม่ต้องมาคำนึงถึงความสุขหรือความทุกข์  ไม่ต้องคิดในเรื่องลาภหรือเสื่อมลาภ ไม่ต้องมาสนใจว่าจะชนะหรือพ่ายแพ้ ที่เธอนั้นจะได้รับจากการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ของเธออีกต่อไป ฉะนั้นจงเตรียมพร้อมเพื่อการรบในครั้งนี้เถิด เพราะถ้าหากเธอได้กระทำหน้าที่ของเธอเช่นนี้แล้ว เธอย่อมจะเป็นผู้ที่ปราศจากผลแห่งบาปทั้งปวง

एषा तेऽभिहिता सांख्ये बुद्धिर्योगे त्विमां शृणु ।
बुद्ध्या युक्तो यया पार्थ कर्मबन्धं प्रहास्यसि ॥२- ३९॥

            ถ้อยความที่เราได้อธิบายความรู้นี้แก่เธอนั้นเป็นไปในแง่ของสางขยะ คราวนี้เธอจงสดับฟังในสิ่งที่เราจะได้อธิบายแก่เธอต่อในแง่ของโยคะ
            โอ้ปารถ! เมื่อเธอประกอบหน้าที่ของเธอด้วยความรู้และความเข้าใจเฉกเช่นนี้แล้ว เธอก็จะปฏิบัติภาระหน้าที่ของเธอได้อย่างเป็นอิสระปราศจากบ่วงพันธนาการแห่งกรรมทั้งหลายทั้งปวง


नेहाभिक्रमनाशोऽस्ति प्रत्यवायो न विद्यते ।
स्वल्पमप्यस्य धर्मस्य त्रायते महतो भयात् ॥२- ४०॥
            ความพยายามเช่นนี้จะไม่ทำให้เธอนั้นสูญเสียประโยชน์ใดๆ เลยทั้งในเบื้องต้น หรือถูกลดประโยชน์ลงในเบื้องปลาย ความเจริญบนวิถีทางเช่นนี้แม้มันจะดูมีค่าเพียงน้อยนิด แต่มันก็พลังที่จะสามารถปกป้องเธอจากภัย (ความกลัว) ที่มีอันตรายมากที่สุดได้

व्यवसायात्मिका बुद्धिरेकेह कुरुनन्दन ।
बहुशाखा ह्यनन्ताश्च बुद्धयोऽव्यवसायिनाम् ॥२- ४१॥
            กุรุนันทนะ เอ๋ย! บุคคลผู้ก้าวเดินอยู่บนวิถีมรรคาแห่งพุทธิสายนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมมีเป้าหมายปลายทางที่แน่วแน่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่พุทธิของผู้ที่รวนเรไม่แน่วแน่มั่นคงนั้น เขาจะแตกแยกจุดมุ่งหมายของเขาออกเป็นหลากหลายสาขามากมายจนไม่จบสิ้น

यामिमां पुष्पितां वाचं प्रवदन्त्यविपश्चितः ।
वेदवादरताः पार्थ नान्यदस्तीति वादिनः ॥२- ४२॥
            บุคคลผู้ด้อยปัญญามักชอบอวดอ้างตน ชอบกล่าวถ้อยความอันเลิศหรูด้วยอักขระ อันเป็นสำนวนโวหารที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ที่แนะนำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่างๆ ที่พวกเขานั้นจะได้รับว่า ไม่มีอะไรที่จะสูงส่งไปกว่านี้อีกแล้ว

कामात्मानः स्वर्गपरा जन्मकर्मफलप्रदाम् ।
क्रियाविशेषबहुलां भोगैश्वर्यगतिं प्रति ॥२- ४३॥
            ในหัวใจเขานั้นเพียงต้องการแค่กาม แล้วยึดเอาสวรรค์นั้นตามทรรศนะของเขาว่าเป็นยอด เพื่อให้ตนนั้นได้รับผลบุญที่ทำไว้แล้ว เพื่อไปถือกำเนิดในตระกูลที่ดีและมีอำนาจวาสนา
            การประกอบพิธีกรรมอันหรูหราในรูปแบบต่างๆ ของพวกเขานั้นก็เช่นเดียวกัน มันเป็นเพียงแค่เพื่อการตอบสนองความสุขทางประสาทสัมผัสของพวกเขา เป็นไปเพื่อที่เขานั้นจะได้รับเครื่องอุปโภคบริโภค และความมั่นคงในอนาคตที่พวกเขาคาดหวังไว้เท่านั้น


भोगैश्वर्यप्रसक्तानां तयापहृतचेतसाम् ।
व्यवसायात्मिका बुद्धिः समाधौ न विधीयते ॥२- ४४॥
            ในหัวใจของพวกเขา ผู้ซึ่งยึดติดอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสและความมั่งคั่งในทางวัตถุ ผู้ที่สับสนในใจนั้นจะมักติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ความมั่นใจอันแน่วแน่ในการที่พวกเขาจะบำเพ็ญเพียรอุทิศตนเสียสละโดยแท้จริงนั้นย่อมไม่บังเกิดขึ้นกับพวกเขาอย่างแน่นอน


त्रैगुण्यविषया वेदा निस्त्रैगुण्यो भवार्जुन ।
निर्द्वन्द्वो नित्यसत्त्वस्थो निर्योगक्षेम आत्मवान् ॥२- ४५॥
            อันคัมภีร์พระเวทส่วนใหญ่มักจะกล่าวถึงเรื่องคุณทั้งสามระดับของประกฤติอันเป็นธรรมชาติวัตถุ (สัตตวะ รชะ ตมะ) อรชุนเธอจงอยู่เหนือคุณทั้งสามระดับนี้เถอะ จงเป็นอิสระจากทวันทวธรรมเถิด

            เธอจงตั้งมั่นในสัตตวะอยู่เป็นนิตย์ จงเป็นอิสระอยู่เหนือความวิตกกังวลในความปรารถนาและความปลอดภัยทั้งปวง แล้วจงเป็นผู้ตั้งมั่นในความเป็นตัวของตัวเองเถิด

यावानर्थ उदपाने सर्वतः संप्लुतोदके ।
तावान्सर्वेषु वेदेषु ब्राह्मणस्य विजानतः ॥२- ४६॥

          ประโยชน์ทั้งหลายที่ได้จากบ่อน้ำเล็กๆ นั่นก็เพราะที่บ่อน้ำนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำอันใสสะอาดที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้ในทันที
          ในทำนองเดียวกัน ประโยชน์ในคัมภีร์พระเวทก็สามารถให้การตอบสนองได้สำหรับพราหมณ์ผู้รู้แจ้งถึงจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของพรหมันอันสูงสุดเฉกเช่นเดียวกัน
कर्मण्येवाधिकारस्ते मा फलेषु कदाचन ।
मा कर्मफलहेतुर्भूर्मा ते सङ्गोऽस्त्वकर्मणि ॥२- ४७॥
            เธอมีสิทธิในการปฏิบัติหน้าที่ดังที่ได้ถูกกำหนดไว้ แต่เธอไม่มีสิทธิ์ในผลของการกระทำนั้น จงอย่าคิดว่าตัวเธอเองเป็นแหล่งกำเนิดของผลงานที่เธอนั้นได้กระทำลงไป และจงอย่ายึดติดกับการไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ของเธอ ที่เธอนั้นพึงต้องกระทำอีกเลย

योगस्थः कुरु कर्माणि सङ्गं त्यक्त्वा धनंजय ।
सिद्ध्यसिद्ध्योः समो भूत्वा समत्वं योग उच्यते ॥२- ४८॥

            ธนัญชัย! เธอจงปฏิบัติหน้าที่ของเธอด้วยความแน่วแน่ เธอจงสลัดทิ้งซึ่งการยึดติดในความสำเร็จหรือความล้มเหลวทั้งมวล ความสงบมั่นคงในอารมณ์ของเธอเช่นนี้แหละที่เรียกว่า "โยคะ"

दूरेण ह्यवरं कर्म बुद्धियोगाद्धनंजय ।
बुद्धौ शरणमन्विच्छ कृपणाः फलहेतवः ॥२- ४९॥

            ธนัญชัย! เธอจงละทิ้งการกระทำอันน่ารังเกียจไปให้ไกล โดยการปฏิบัตหน้าที่ด้วยความเข้าใจอันถ่องแท้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และด้วยจิตสำนึกเช่นนี้เธอจงแสวงหาที่พึ่งแห่งปัญญาเถิด (สัจธรรม, ความจริงแท้ หรือ การยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า)
            อันผู้ใดที่ปรารถนาจะหาความสุขจากผลงานที่ตนนั้นได้กระทำลงไปแล้วนั้น เขาผู้นั้นย่อมกลายเป็นคนโลภผู้น่าสงสารยิ่ง
[/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE]

बुद्धियुक्तो जहातीह उभे सुकृतदुष्कृते ।
तस्माद्योगाय युज्यस्व योगः कर्मसु कौशलम् ॥२- ५०॥
            บุคคลผู้ปฏิบัติตนด้วยปัญญาอันรู้แจ้งแล้วนั้น เขาย่อมจะหลุดพ้นจากผลแห่งกรรมทั้งดีและชั่วได้ ฉะนั้นเธอเองก็จงปฏิบัติภารกิจของเธอด้วยหลักแห่งโยคะนี้ ซึ่งเป็นเสมือนศาสตร์และศิลป์อันประเสริฐของการกระทำทั้งปวงเถิด

[/FONT][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/SIZE]
#51
भगवद् गीता १
ภควัท คีตา 1
प्रथमोऽध्यायः अर्जुनविषादयोग
ปรถโมอัธยายะ อรชุนวิษาทโยค (ความท้อถอยของอรชุน)

श्रीपरमात्मने नमः โอม ศรีปรมาตมเน นมะ
अथ श्रीमद्भगवद्गीता อถ ศรีมัทภควัทคีตา
प्रथमोऽध्यायः ปรถโม 'ธยายะ

धृतराष्ट्र उवाच
धर्मक्षेत्रे कुरुक्षेत्रे समवेता युयुत्सवः ।
मामकाः पाण्डवाश्चैव किमकुर्वत संजय  ॥१-१॥


ราชาธฤตราษฏร์ ตรัสถามว่า

            ณ สถานที่แห่งความชอบธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ (ธรรมเกษตร) ซึ่งมีนามว่าทุ่งกุรุเกษตร ต่างฝ่ายต่างมาชุมนุมกันด้วยกระหายใคร่ที่จะทำสงครามกัน ทั้งฝ่ายของเราและฝ่ายของพวกปาณฑวะนั้น กองทัพของทั้งสองฝ่ายกำลังดำเนินไปเช่นไรหรือสัญชัย

संजय उवाच
दृष्ट्वा तु पाण्डवानीकं व्यूढं दुर्योधनस्तदा ।
आचार्यमुपसंगम्य राजा वचनमब्रवीत्  ॥१-२॥


สัญชัย กราบทูลว่า

            เมื่อได้เห็นกองทัพของฝ่ายปาณฑวะ ซึ่งกำลังจัดขบวนแปรทัพเป็นทิวแถว ในเวลานั้นองค์ทุรโยธน์จึงเข้าพบกับโทรณาจารย์ แล้วตรัสดังต่อไปนี้

पश्यैतां पाण्डुपुत्राणामाचार्य महतीं चमूम् ।
व्यूढां द्रुपदपुत्रेण तव शिष्येण धीमता ॥१-३॥


        โปรดพิจารณาดูกองทัพอันยิ่งใหญ่ของพวกปาณฑุบุตรสิท่านอาจารย์ของข้า พวกมันช่างจัดกระบวนพยุหะได้อย่างเยี่ยมยอดด้วยฝีมือบุตรของทรุบท (ธฤษฏทยุมัน) ผู้เป็นศิษย์อันชาญฉลาดของท่าน

अत्र शूरा महेष्वासा भीमार्जुनसमा युधि ।
युयुधानो विराटश्च द्रुपदश्च महारथः ॥१-४॥

            ในที่นั้นมีนักรบผู้เก่งกาจ และนักแม่นธนูผู้เป็นเลิศ อันมีชั้นเชิงฝีมือในการรบทัดเทียมกับภีมะและอรชุนอยู่อย่างมากมาย อาทิเช่น ยุยุธาน วิราฏ ทุรบทผู้มหารถ


धृष्टकेतुश्चेकितानः काशिराजश्च वीर्यवान् ।
पुरुजित्कुन्तिभोजश्च शैब्यश्च नरपुङ्गवः ॥१-५॥

        ยิ่งไปกว่านั้นยังมีนักรบผู้ยิ่งใหญ่และทรงพลังอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย อาทิเช่น ธฤษฏเกตุ เจกิตาน กาศีราช ปุรุชิต กุนติโภช และไศพยะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจอมคนทั้งนั้น
युधामन्युश्च विक्रान्त उत्तमौजाश्च वीर्यवान् ।
सौभद्रो द्रौपदेयाश्च सर्व एव महारथाः  ॥१-६॥
            อีกทั้งยังจะมียุธามันยุผู้เยี่ยมยอด อุตตโมชาผู้ทรงพลังอำนาจ โอรสของสุภัทราและเหล่าโอรสของนางโทรปทีทั้งห้า แน่นอน! ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักรบชั้นยอดทั้งนั้น

अस्माकं तु विशिष्टा ये तान्निबोध द्विजोत्तम ।
नायका मम सैन्यस्य संज्ञार्थं तान्ब्रवीमि ते  ॥१-७॥

            โปรดทราบเถิดผู้เป็นเลิศในหมู่พราหมณ์ ว่า ฝ่ายของเรานั้นมีใครบ้างที่เป็นผู้คุมกองทัพอันเปี่ยมไปด้วยพลังอำนาจ ร่วมอยู่ในการนำทัพของข้าบ้าง

भवान्भीष्मश्च कर्णश्च कृपश्च समितिंजयः ।
अश्वत्थामा विकर्णश्च सौमदत्तिस्तथैव च  ॥१-८॥

        มีผู้เป็นเลิศอย่างองค์ภีษมะ กรรณะ กฤปะ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้มีชัยเสมอมาในทุกยุทธภูมิ อีกทั้งยังมีอัศวัตถามา วิกรรณและโอรสของโสมทัตต์ (ภูริศรวัส) ร่วมอยู่ในกองทัพของเราด้วยเช่นกัน

अन्ये च बहवः शूरा मदर्थे त्यक्तजीविताः ।
नानाशस्त्रप्रहरणाः सर्वे युद्धविशारदाः  ॥१-९॥
            อีกทั้งยังมีวีรบุรุษผู้กล้าหาญอีกมากมายเหลือคณานับที่พร้อมยอมสละชีพเพื่อข้า ทั้งหมดต่างก็เพรียบพร้อมไปด้วยศัสตราวุธนานาชนิด และก็ยังล้วนแต่เป็นผู้ช่ำชองศาสตร์แห่งการยุทธด้วยกันทั้งสิ้น

अपर्याप्तं तदस्माकं बलं भीष्माभिरक्षितम् ।
पर्याप्तं त्विदमेतेषां बलं भीमाभिरक्षितम्  ॥१-१०॥

            รี้พลพลของฝ่ายเรานั้นมีมหาศาลเกินกว่าจะนับได้ โดยมีพระอัยกา (ปู่) ภีษมะคอยบัญชาการพิทักษ์พวกเราเป็นอย่างดี แต่ทั้งหมดนี้ รี้พลของพวกมันที่มีภีมะคอยระวังพิทักษ์อยู่นั้นมีจำนวนเบาบางกว่าฝ่ายเรานัก

अयनेषु च सर्वेषु यथाभागमवस्थिताः ।
भीष्ममेवाभिरक्षन्तु भवन्तः सर्व एव हि  ॥१-११॥
        ท่านผู้คุมกองทัพอยู่ในจุดยุทธศาสตร์แนวรบทั้งหมด พวกท่านทั้งหลายก็ควรที่จะให้ความสนับสนุนกำลังรบแด่องค์ภีษมะอย่างเต็มกำลังศึกด้วยเฉกเช่นกัน

तस्य संजनयन्हर्षं कुरुवृद्धः पितामहः ।
सिंहनादं विनद्योच्चैः शङ्खं दध्मौ प्रतापवान्  ॥१-१२॥
            จากนั้นองค์ภีษมะผู้เป็นบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์กุรุ และมีศักดิ์เป็นพระอัยกาแห่งปวงนักรบ ได้ทรงบันลือสังข์ของพระองค์ด้วยพระสุรเสียงที่ดังประดุจสิงห์โตคำราม อันยังความปิติสุขให้แก่องค์ทุรโยธน์เป็นยิ่งนัก

ततः शङ्खाश्च भेर्यश्च पणवानकगोमुखाः ।
सहसैवाभ्यहन्यन्त स शब्दस्तुमुलोऽभवत्  ॥१-१३॥

            หลังจากนั้นเสียงสังข์ กลองเภรี บัณเฑาะว์ กลองศึก แตรเขาสัตว์ ก็ลั่นขับขานประสานเสียงขึ้นพร้อมกันในทันที จนทำให้เกิดเสียงประสานอึกทึกกึกก้องไปทั่วทั้งสมรภูมิ

ततः श्वेतैर्हयैर्युक्ते महति स्यन्दने स्थितौ ।
माधवः पाण्डवश्चैव दिव्यौ शङ्खौ प्रदध्मतुः  ॥१-१४॥

            หลังจากนั้นฝ่ายองค์มาธวะและอรชุน ผู้ประทับอยู่บนรถศึกอันยิ่งใหญ่เทียมด้วยอาชาสีขาวนวล ก็ทรงเริ่มบันลือสังข์ทิพย์ส่งเสียงดังสนั่นขานรับในทันที

पाञ्चजन्यं हृषीकेशो देवदत्तं धनञ्जयः ।
पौण्ड्रं दध्मौ महाशङ्खं भीमकर्मा वृकोदरः  ॥१-१५॥

            องค์หฤษีเกศทรงบันลือปาญจชันยะสังข์ องค์ธนัญชัยเป่าเทวทัตตะสังข์ องค์ภีมะผู้กินจุและมีพลังอันยิ่งใหญ่ก็เป่าโปณฑระมหาสังข์

अनन्तविजयं राजा कुन्तीपुत्रो युधिष्ठिरः ।
नकुलः सहदेवश्च सुघोषमणिपुष्पकौ  ॥१-१६॥
            ราชายุธิษฐิระโอรสโตแห่งพระนางกุนตี ทรงบันลืออนันตวิชัยสังข์ ส่วนองค์นกุลกับสหเทพก็เป่าสังข์สุโฆษและมณีบุษบกอย่างพร้อมเพรียงในเวลาเดียวกัน

काश्यश्च परमेष्वासः शिखण्डी च महारथः ।
धृष्टद्युम्नो विराटश्च सात्यकिश्चापराजितः  ॥१-१७॥

             ราชาแห่งแคว้นกาศีผู้เป็นเลิศในศิลปะการยิงธนูผู้ยิ่งใหญ่ ศิขัณฑีผู้มหารถ ธฤษฏทยุมัน วิราฏ สาตยกิผู้ไม่เคยปราชัยให้แก่ผู้ใดมาก่อน

द्रुपदो द्रौपदेयाश्च सर्वशः पृथिवीपते ।
सौभद्रश्च महाबाहुः शङ्खान्दध्मुः पृथक्पृथक्  ॥१-१८॥
            ราชาทรุบท เหล่าโอรสของนางโทราปทีทั้งห้าก็ดี ยอดนักรบผู้เก่งกาจโอรสของพระนางสุภัทราก็ดี โอ้ภูวเรศ! ทั้งหมดต่างก็ยกสังข์ของตนขึ้นเป่าตามลำดับ จนเกิดเสียงกึกก้องกังวานไปทั่วทั้งสมรภูมิ

स घोषो धार्तराष्ट्राणां हृदयानि व्यदारयत् ।
नभश्च पृथिवीं चैव तुमुलो व्यनुनादयन्  ॥१-१९॥
            เสียงอันดังสนั่นเลื่อนลั่นกึกก้องไปทั่วท้องนภากาศและพื้นปฐพีที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้ส่วนลึกในหัวใจของเหล่าโอรสแห่งราชาธฤตราษฏร์ ถึงกับต้องไหวระรัว

अथ व्यवस्थितान्दृष्ट्वा धार्तराष्ट्रान्कपिध्वजः ।
प्रवृत्ते शस्त्रसंपाते धनुरुद्यम्य पाण्डवः  ॥१-२०॥
हृषीकेशं तदा वाक्यमिदमाह महीपते ।
            องค์ปาณฑวะผู้ประทับอยู่บนราชรถซึ่งประดับด้วยกบี่ธวัช (ธงรูปหนุมาน) พร้อมด้วยคันธนูซึ่งกำลังจะหยิบขึ้นมาเพื่อถูกยิงออกไป ในขณะนั้นเอง ทรงมองไปที่เหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์ ซึ่งขับราชรถเคลื่อนเรียงรายกันเป็นทิวแถว แล้วหันไปตรัสกับองค์หฤษีเกศ ด้วยวาจาดังต่อไปนี้แล มหิบดี

अर्जुन उवाच
सेनयोरुभयोर्मध्ये रथं स्थापय मेऽच्युत  ॥१-२१॥
อรชุน ตรัสว่า
            โอ้อัจยุต! เธอจงโปรดเคลื่อนราชรถของข้าพเจ้าไปท่ามกลางกองทัพทั้งสองด้วยเทอญ.

यावदेतान्निरिक्षेऽहं योद्‌धुकामानवस्थितान् ।
कैर्मया सह योद्धव्यमस्मिन् रणसमुद्यमे  ॥१-२२॥

            เพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้มองเห็นผู้ปรารถนาจะสู้รบใน ณ ที่นี้ว่ามีใครกันบ้างที่ข้าพเจ้าจะต้องเข้าสัประยุทธ์ด้วยในมหาสงครามอันยิ่งใหญ่ซึ่งกำลังจะอุบัติขึ้นในเวลาอันใกล้นี้
योत्स्यमानानवेक्षेऽहं य एतेऽत्र समागताः ।
धार्तराष्ट्रस्य दुर्बुद्धेर्युद्धे प्रियचिकीर्षवः  ॥१-२३॥

            ให้ข้าพเจ้าจะได้เห็นอย่างถนัดว่าบุคคลผู้มาอยู่รวมกัน ณ ที่นี้ เพื่อการสู้รบโดยปรารถนาที่จะทำให้ โอรสของราชาธฤตราษฏร์ผู้มีจิตใจอันงอกงามไปด้วยเมล็ดพันธุ์แห่งความชั่วร้ายนั้นได้รับความพึงพอใจ

संजय उवाच
एवमुक्तो हृषीकेशो गुडाकेशेन भारत ।
सेनयोरुभयोर्मध्ये स्थापयित्वा रथोत्तमम्  ॥१-२४॥

สัญชัย ทูลต่อไป ว่า
            ข้าแต่ผู้สืบวงศ์ภารตะ เมื่อทรงได้ยินคำที่องค์คุฑาเกศตรัสเช่นนั้นแล้ว องค์หฤษีเกศจึงทรงเคลื่อนราชรถไปอยู่ ณ ท่ามกลางระหว่างกองทัพของทั้งสองฝ่ายด้วยลีลาอันงดงาม

भीष्मद्रोणप्रमुखतः सर्वेषां च महीक्षिताम् ।
उवाच पार्थ पश्यैतान्समवेतान्कुरूनिति  ॥१-२५॥

        เมื่อภาพขององค์ภีษมะ โทรณาจารย์ และเหล่ากษัตริย์ทั้งหลายปรากฏอยู่เบื้องหน้า แล้วจึงตรัสขึ้นว่า โอ้ปารถ! เธอจงดูเหล่าสมาชิกแห่งวงศ์กุรุที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ ที่นี้เถิด

तत्रापश्यत्स्थितान्पार्थः पितॄनथ पितामहान् ।
आचार्यान्मातुलान्भ्रातॄन्पुत्रान्पौत्रान्सखींस्तथा 
श्वशुरान्सुहृदश्चैव सेनयोरुभयोरपि ॥१-२६॥

            ณ ที่นั้นองค์ปารถทอดพระเนตรภายในกองทัพของทั้งสองฝ่าย ทรงเห็นผู้ที่เปรียบประดุจบิดา พระอัยกา อาจารย์ พระปิตุลา (ลุง) พระเชษฐา (พี่) พระอนุชา (น้อง) พระโอรสพระราชนัดดา (ลูกหลาน) พระสหาย รวมทั้งพระสัสสุระ (พ่อตา) และบรรดาผู้ปรารถนาดีอื่นๆ ปรากฏอยู่ในกองทัพของทั้งสองฝ่าย
तान्समीक्ष्य स कौन्तेयः सर्वान्बन्धूनवस्थितान् 
कृपया परयाविष्टो विषीदन्निदमब्रवीत् ॥१-२७॥
            เมื่อองค์กุนเตยะทรงเห็นเพื่อนพ้องและบรรดาญาติพี่น้องทั้งหมดที่มารวมกันเพื่อจะทำมหาสงครามในครั้งนี้แล้ว พระองค์ทรงรันทดสังเวชพระทัยด้วยความเมตตาสงสาร จึงตรัสด้วยความสลดทดท้อว่า

अर्जुन उवाच
दृष्ट्वेमं स्वजनं कृष्ण युयुत्सुं समुपस्थितम्  ॥१-२८॥

อรชุน ตรัสว่า
            โอ้กฤษณะ! เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นสหายและญาติๆ ทั้งหมดมาปรากฏอยู่ตรงหน้า โดยต่างก็กระหายจะสร้างชื่อเสียงเกียรติยศ อันจะได้มาจากการทำศึกในครั้งนี้


सीदन्ति मम गात्राणि मुखं च परिशुष्यति ।
वेपथुश्च शरीरे मे रोमहर्षश्च जायते  ॥१-२९॥

            ทำให้แขนขาของข้าพเจ้านั้นสั่นเกร็ง ริมฝีปากเริ่มแห้งผาก ทั่วทั้งร่างกายรู้สึกสั่นหวิว ขนลุกชูชัน ร้อนผ่าวอย่างบอกไม่ถูก

गाण्डीवं स्रंसते हस्तात्त्वक्चैव परिदह्यते ।
न च शक्नोम्यवस्थातुं भ्रमतीव च मे मनः  ॥१-३०॥

            ธนูคาณฑีวะก็ลื่นหลุดไปจากมือของข้าพเจ้า ผิวหนังก็ร้อนหนาวราวกับเป็นไข้ บัดนี้ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยืนอยู่ใน ณ ที่นี่ต่อไปได้อีก เพราะส่วนลึกในหัวใจของข้าพเจ้านั้นว้าวุ่นจนไม่มีสติไม่มีสมาธิที่จะคิดอะไรได้อีกต่อไปแล้ว

निमित्तानि च पश्यामि विपरीतानि केशव ।
न च श्रेयोऽनुपश्यामि हत्वा स्वजनमाहवे  ॥१-३१॥

            เกศวะ! ข้าพเจ้าได้เห็นลางร้ายอันวิปริตอับโชคได้ปรากฏขึ้นอยู่เบื้องหน้า แล้วข้าพเจ้าก็มองไม่เห็นประโยชน์อะไรเลย จากการที่ต้องสังหารบรรดาญาติมิตรของข้าพเจ้าในสมรภูมิแห่งนี้

न काङ्क्षे विजयं कृष्ण न च राज्यं सुखानि च ।
किं नो राज्येन गोविन्द किं भोगैर्जीवितेन वा  ॥१-३२॥

            กฤษณะผู้เป็นที่รัก ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาชัยชนะ ราชอาณาจักร หรือ ความสุขที่จะได้รับหลังจากการทำสงครามครั้งอีกแล้ว ราชสมบัติจะยังมีประโยชน์อันใดกับข้าพเจ้าอีกเล่าโควินทะ อันความสุขสำราญด้วยโภคทรัพย์และชีวิตของข้าพเจ้า ก็ไม่ต้องการอีกแล้ว
येषामर्थे काङ्क्षितं नो राज्यं भोगाः सुखानि च ।
त इमेऽवस्थिता युद्धे प्राणांस्त्यक्त्वा धनानि च  ॥१-३३॥

            แล้วข้าพเจ้าจะต้องการราชสมบัติ โภคทรัพย์และความสุขเหล่านั้นไปเพื่อใครอีกเล่า ในเมื่อพวกเขาเหล่านั้นได้มายืนเรียงรายรวมกันอยู่ในยุทธภูมิแห่งนี้แล้ว พวกเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะยอมสละชีวิตและทรัพย์สมบัติของพวกเขาแล้วในเวลานี้

आचार्याः पितरः पुत्रास्तथैव च पितामहाः ।
मातुलाः श्वशुराः पौत्राः श्यालाः संबन्धिनस्तथा  ॥१-३४॥

            เมื่ออาจารย์ พระบิดา โอรส ตลอดจนพระอัยกา พระปิตุลา พระสัสสุระ เชษฐาภรรดา นัดดา และเหล่าสังคญาติของเรา
एतान्न हन्तुमिच्छामि घ्नतोऽपि मधुसूदन ।
अपि त्रैलोक्यराज्यस्य हेतोः किं नु महीकृते  ॥१-३५॥

            พวกเขาเหล่านี้พร้อมที่จะสละทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วเหตุไฉนใยข้าพเจ้ายังจะต้องปรารถนาที่จะเข่นฆ่าพวกเขาเหล่านั้นอีกด้วยเล่า แม้พวกเขาอยากจะปลิดชีวิตของข้าพเจ้าในเวลานี้ก็ตามที
            มธุสูทนะ! ข้าพเจ้ามิได้มารบกับพวกเขาเหล่านี้เพื่อที่จะหวังการได้เสวยราชสมบัติไปทั้งสามโลก แล้วนับประสาอะไรกับโลกอีกนี้เล่า

निहत्य धार्तराष्ट्रान्नः का प्रीतिः स्याज्जनार्दन ।
पापमेवाश्रयेदस्मान्हत्वैतानाततायिनः  ॥१-३६॥

            โอ้ชนารทนะ ข้าพเจ้าจะได้รับความสุขอันใดเล่า จากการสังหารเหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์ กลับจะต้องเป็นว่าข้าพเจ้านั้นต้องสะสมบาปจากการกระทำในครั้งนี้เพิ่มขึ้น แม้ข้าพเจ้านั้นจะต้องสังหารผู้บุกรุกเอาชีวิตของข้าพเจ้าเหล่านี้ก็ตาม

तस्मान्नार्हा वयं हन्तुं धार्तराष्ट्रान्स्वबान्धवान् ।
स्वजनं हि कथं हत्वा सुखिनः स्याम माधव  ॥१-३७॥
            ฉะนั้นจึงเป็นการไม่สมควรเลยที่ข้าพเจ้าจะสังหารเหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์และผู้ที่ข้าพเจ้ารู้จัก เพราะว่าเมื่อข้าพเจ้าได้สังหารเขาเหล่านั้นแล้ว ภายในจิตใจของข้าพเจ้าจะพบกับความสุขได้เช่นไรอีกเล่า...มาธวะ

यद्यप्येते न पश्यन्ति लोभोपहतचेतसः ।
कुलक्षयकृतं दोषं मित्रद्रोहे च पातकम्  ॥१-३८॥

             ถึงแม้ว่าภายในหัวใจของบุคคลเหล่านี้จะถูกครอบงำไปด้วยความโลภ จนให้ดวงตามืดบอดไม่เห็นโทษในการทำลายครอบครัวของตนเอง หรือ การทะเลาะวิวาทมุ่งร้ายต่อเพื่อน
कथं न ज्ञेयमस्माभिः पापादस्मान्निवर्तितुम् ।
कुलक्षयकृतं दोषं प्रपश्यद्भिर्जनार्दन  ॥१-३९॥
            แล้วเหตุไฉนข้าพเจ้าผู้ซึ่งเล็งเห็นแล้วในโทษแห่งการทำลายครอบครัวอันเป็นบาป จะไม่พึงงดเว้นการก่อบาปเช่นที่เล็งเห็นนี้อีกเล่า ชนารทนะ

कुलक्षये प्रणश्यन्ति कुलधर्माः सनातनाः ।
धर्मे नष्टे कुलं कृत्स्नमधर्मोऽभिभवत्युत  ॥१-४०॥

            ด้วยการทำลายซึ่งวงศ์ตระกูล ประเพณีอันดีงามของครอบครัวที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาย่อมพลอยถูกทำลายตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อประเพณีอันดีงามถูกทำลายลงเช่นนี้ ก็จะนำมาซึ่งความเลวทรามและการเสื่อมในศาสนา ขึ้นในครอบครัวด้วยเช่นกัน

अधर्माभिभवात्कृष्ण प्रदुष्यन्ति कुलस्त्रियः ।
स्त्रीषु दुष्टासु वार्ष्णेय जायते वर्णसंकरः  ॥१-४१॥

            กฤษณะ! เมื่ออธรรมนั้นมีอำนาจเฟื่องฟูขึ้น สตรีที่ดีงามภายในครอบครัวก็จะถูกทำให้เสื่อมลง จากความเสื่อมลงของกุลสตรี โอ้วารษเณยะ มันย่อมนำมาซึ่งวรรณสังกร

संकरो नरकायैव कुलघ्नानां कुलस्य च ।
पतन्ति पितरो ह्येषां लुप्तपिण्डोदकक्रियाः  ॥१-४२॥

            แน่นอนทีเดียว ลูกหลานอันเป็นที่พึงประสงค์จะเป็นสาเหตุให้ครอบครัวนั้นเหมือนกับตกนรกทั้งครอบครัว รวมทั้งผู้ที่ทำลายประเพณีอันดีงามนี้ด้วย และบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วของครอบครัวที่วิบัติเช่นนี้ก็จะตกต่ำลง เพราะเกิดการหยุดชะงักในการทำบุญอุทิศอาหารและน้ำให้แด่พวกท่าน ตามไปด้วย

दोषैरेतैः कुलघ्नानां वर्णसंकरकारकैः ।
उत्साद्यन्ते जातिधर्माः कुलधर्माश्च शाश्वताः  ॥१-४३॥

            โดยเหตุจากการกระทำชั่วของผู้ที่ทำลายประเพณีอันดีงามของครอบครัว จึงทำให้เกิดวรรณสังกรขึ้น โครงสร้างในหน้าที่ทางสังคมเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของครอบครัวทั้งหลายทั้งปวงย่อมสูญสลายตามไป
उत्सन्नकुलधर्माणां मनुष्याणां जनार्दन ।
नरकेऽनियतं वासो भवतीत्यनुशुश्रुम  ॥१-४४॥

            โอ้ชนารทนะ ข้าพเจ้าได้ยินมาจากปรัมปราว่า ผู้ที่ทำลายประเพณีอันดีงามของครอบครัวที่สืบต่อกันมายาวนานให้เสื่อมลง เขาผู้นั้นต้องตกลงไปสู่ขุมนรกอย่างแน่นอน

अहो बत महत्पापं कर्तुं व्यवसिता वयम् ।
यद्राज्यसुखलोभेन हन्तुं स्वजनमुद्यताः  ॥१-४५॥

            อนิจจามันช่างน่าขบขันอะไรเช่นนี้ ที่ข้าพเจ้ากำลังจะประกอบบาปอันใหญ่หลวง ด้วยเพียงแรงผลักดันจากความละโมบในการจะแสวงหาความสุขทางโลกอันยิ่งใหญ่ที่จะพึงได้รับ ข้าพเจ้าจึงเกิดความคิดที่จะสังหารสังคญาติของข้าพเจ้าเอง

यदि मामप्रतीकारमशस्त्रं शस्त्रपाणयः ।
धार्तराष्ट्रा रणे हन्युस्तन्मे क्षेमतरं भवेत्  ॥१-४६॥

            หากจะเป็นความสุขเสียกว่าถ้าเหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์ผู้ถืออาวุธอยู่ในมือจะมาสังหารข้าพเจ้าผู้ปราศจากอาวุธในเวลานี้ ข้าพเจ้าจะไม่ขอตอบโต้ต่อสู้เลยในสงครามครั้งนี้

संजय उवाच
एवमुक्त्वार्जुनः संख्ये रथोपस्थ उपाविशत् ।
विसृज्य सशरं चापं शोकसंविग्नमानसः  ॥१-४७॥

สัญชัย ทูลเล่าต่อไปว่า
          หลังจากที่องค์อรชุนได้ตรัสในสมรภูมิดังนี้แล้ว องค์อรชุนก็ทรงวางคันธนูและลูกศรลงข้างๆ แล้วประทับลงบนพื้นราชรถ ด้วยดวงจิตอันท่วมท้นเปี่ยมไปด้วยความโศกเศร้าทุกข์ทรมาน

ॐ तत्सदिति श्रीमद्भगवद्गीतासूपनिषत्सु ब्रह्मविद्यायां योगशास्त्रे
โอม ตัตสทิติ ศรีมัทภควัทคีตาสูปนิษัตสุ พรหมวิทยายาม โยคศาสเตร
श्रीकृष्णार्जुनसंवादेऽर्जुनविषादयोगो नाम प्रथमोऽध्यायः ॥ १ ॥
ศรีกฤษณารชุนสัมวาเท'ชุนวิษาทโยโค นาม ปรถโม 'ธยายะ [ 1 ]

อธิบายศัพท์อัธยายที่ 1
          01. มหารถ หมายถึง นักรบบนรถศึกที่ยิ่งใหญ่ เป็นผู้รอบรู้ในเชิงยุทธศาสตร์ และนักรบที่สามารถต่อสู้กับทหารฝ่ายตรงข้ามได้ถึง 11,000 คน
          02. มาธวะ หมายถึง พระวิษณุผู้เป็นสวามีของพระลักษมีเทวีแห่งโชคลาภ ในที่นี้จะหมายถึงพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารที่ 8 ของพระวิษณุ
          03. หฤษีเกศ หมายถึง พระกฤษณะ โดยแปลว่า ผู้ควบคุมกำกับประสาทสัมผัส หรือ ผู้อยู่เหนืออินทรีย์   
          04. ธนัญชัย แปลว่า ผู้ชนะความร่ำรวย ในที่นี้หมายถึงอรชุน เพราะเมื่อครั้งราชายุธิษฐิระจัดพิธีราชสูยะ เพื่อประกาศพระองค์เป็นเจ้ามหาจักพรรดิแห่งนครอินทรปรัสถ์ อรชุนเป็นแม่ทัพที่ไปปราบหัวเมืองต่างๆ ให้ยอมสวามิภักดิ์ และได้เครื่องราชบรรณาการกลับมาถวายราชายุธิษฐิระมากที่สุด จึงได้ฉายานี้มา
          05. ปาณฑวะ แปลว่า โอรสของราชาปาณฑุ ซึ่งในที่นี้หมายถึง อรชุน
          06. มหีบดี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในที่นี้หมายถึงราชาธฤตราษฏร์ผู้ตาบอด ซึ่งกำลังฟังสัญชัยผู้เป็นสารถีเล่าเรื่องเหตุการณ์สงครามบนทุ่งกุรุเกษตรให้ฟังอยู่ในราชวังของนครหัสตินาปุระ
          07. อัจยุต แปลว่า ผู้ไม่มีความผิดพลาด ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระกฤษณะ
          08. คุฑาเกศ แปลว่า ผู้อยู่เหนือการหลับไหล, ผู้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา, ผู้ขจัดอวิชชา, ผู้ครองโลก ซึ่งหมายถึงอรชุน
   
          09. ปารถ แปลว่า
บุตรของนางปฤถา และชื่อปฤถานั้นก็คือพระนามเดิมของพระนางกุนตี ดังนั้นบุตรของนางปฤถาจึงหมายถึงอรชุน
          10. กุนเตยะ แปลว่า โอรสของพระนางกุนตี หมายถึง อรชุน
          11. เกศวะ แปลว่า ผู้สังหารอสูรเกศี หรือ ผู้อยู่เหนือมูลเหตุของโลก ซึ่งหมายถึง พระกฤษณะ
          12. โควินทะ แปลว่า ผู้ที่แพร่อยู่ในทุกสรรพสิ่งในจักรวาล หรือ ผู้ให้กำเนิดสกลจักรวาล หมายถึง พระกฤษณะ
          13. มธุสูทนะ แปลว่า ผู้สังหารอสูรมธุ, ผู้ขัดเกลาหรือทำลาย ความรู้ความเข้าใจในการศึกษาพระเวทที่ผิดจุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวท (มธุ = น้ำผึ้ง แต่รากศัพท์จะหมายถึง ความสุขทางจิตใจที่ได้รับจากการศึกษาพระเวท และ สูทนะ = สังหาร หรือ ทำลาย) ซึ่งหมายถึง พระกฤษณะ เพราะพระกฤษณะนั้นต่อจากนี้จะทรงมาเป็นผู้ทำลายความเข้าใจในพระเวทแบบผิดๆ ของอรชุนให้มลายไป เพื่อให้อรชุนเข้าใจจุดมุ่งหมายและวิถีทางอันเป็นแก่นแท้ของพระเวททั้งในด้านทฤษฏีและด้านปฏิบัติ
          14. ชนารทนะ แปลว่า ผู้สังหารอสูรชนะ, ผู้ค้ำจุนมวลชีวิต หมายถึง พระกฤษณะ

          15. วารษเณยะ แปลว่า ผู้สืบเชื้อสายจากวงศ์วฤษณี หมายถึง พระกฤษณะ
          16. วรรณะสังกร หมายถึง การเสื่อมวรรณะทางสังคมของชาวฮินดู, การที่ลูกหลานอันไม่ถึงประสงค์จะกำเนิดขึ้น, การให้กำเนิดบุตรที่เป็นจัณฑาล
          โดยสังคมของชาวฮินดูนั้นจะมีการแบ่งวรรณะตามชาติกำเนิด หรือ ตามหน้าที่ทางสังคมออกเป็น 4 วรรณะ ตามลำดับจากสูงไปหาต่ำ คือ วรรณะพรหมิน หรือ พรามหณ์ ซึ่งถือเป็นวรรณะที่สูงสุดมีหน้าที่ศึกษาพระเวทเพื่อมุ่งหลุดพ้นและเผยแพร่ศาสนา, วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองบริหารประเทศ และคอยให้ความคุ้มครองประชาชนของตน, วรรณะไวศยะ มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำการฝีมือ ค้าขายแรกเปลี่ยน และวรรณะศูทร มีหน้าที่เป็นพวกกรรมกรใช้แรงงาน คอยรับใช้วรรณะที่สูงกว่า เพื่อรักษาชาติพันธุ์ของชาวอารยันให้บริสุทธิ์ และการทำหน้าที่ทางสังคมให้คงอยู่
          โดยถ้าชายที่มีวรรณะสูงกว่าได้ภรรยาเป็นคนว
[/SIZ
#52
ศรีมัทภควัทคีตา
(श्रीमद्भगवद्गीता - Shrimad Bhagavad Gita)
หรือ

ภควัทคีตา
(भगवद् गीता - Bhagavad Gita)
ท่วงทำนองลีลาแห่งพระผู้เป็นเจ้า

กฤษณไทวปายนวยาส (कृष्ण द्वैपायन व्यास - Krishna Dvaipayana Vyasa)
หรือ มหาฤษีวยาส (व्यास - Vyasa) ผู้รจนา
กาลปุตรา (कालपुत्त्रा - Karaputra) แปล (ฉบับ Online ธรรมทาน)

***ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า หรือ หาผลประโยชน์ โดยเด็ดขาด***
        ศรีมัทภควัทคีตาหรือภควัทคีตานั้น เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญอันแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ บรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ - Bhisma Parva) อันเป็นบทสนทนาตอบโต้ปัญหาอภิธรรมระหว่าง อรชุน (Arjuna - अर्जुन) เจ้าชายองค์ที่ 3 ของตระกูลปาณฑวะ (ปาณฑพ) กับพระกฤษณะ (Krishna - कृष्ण)
        ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาการเริ่มต้นการทำสงครามแย่งชิงความชอบธรรมเหนือแผ่นดินหัสตินาปุระ ณ ทุ่งกุรุเกษตร เมื่อกองทัพฝ่ายปาณฑวะของอรชุนเคลื่อนพลมาประจันหน้ากับกองทัพฝ่ายโกรวะ (เการพ - कौरव - [HIGHLIGHT=#ffffff][HIGHLIGHT=#fac08f][HIGHLIGHT=#fbd5b5]Kaurava[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]) ขององค์ทุรโยธน์ซึ่งถือได้ว่าเป็นพี่น้องร่วมวงศ์ (จันทรวงศ์) เดียวกัน
        ณ เวลานั้นเองอรชุนเกิดความท้อใจไม่ทำสงคราม เนื่องจากต้องมาทำสงครามสังหารเหล่าคณาญาติของตน จึงไม่มีจิตใจที่จะทำการต่อสู้ในสงครามครั้งนี้จนถึงกระทั้งยอมวางอาวุธในมือลงและพร้อมยอมโดนฝ่ายเการพสังหารโดยจะไม่ยอมตอบโต้
        ความทดท้อใจในครั้งนี้ของอรชุนผู้ทนงตนว่ามีฝีมือเก่งกาจในการทำสงครามและมีภูมิปัญญาทางพระเวทดีเยี่ยม ต้องถึงกับหันไปขอคำปรึกษากับพระกฤษณะผู้มาทำหน้าที่เป็นสารถี เกี่ยวกับเรื่องทางโลกและทางธรรมที่ตนนั้นไม่สามารถแยกแยะออกจากกันได้ในเวลาที่ต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง
        พระกฤษณะจึงได้ไขปริศนาทำลายความเข้าใจผิดๆ ทางความรู้ในพระเวทของอรชุนให้สิ้นไป ถ้อยความการสนทนาตอบโต้ระหว่างพระกฤษณะกับอรชุนนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นยอดแห่งพระเวทและอุปนิษัทเลยก็ว่าได้ เพื่อให้เข้าในในแก่นแท้ของธรรมว่าเป็นเช่นไร
        การสนทนาตอบโต้ระหว่างอรชุนกับพระกฤษณะนี้ ก็เปรียบเหมือนจิตใจของมนุษย์เราซึ่งมีทั้งความดีความชั่วรวมอยู่ในร่างเดียวกัน บางครั้งคนเรานั้นจำต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เรานั้นก็มักจะตัดสินใจไม่ได้ระหว่างเส้นแบ่งดีและชั่ว เพราะต้องยอมรับว่าโลกเรานั้นเป็นทวิธรรม ไม่มีอะเลวเลวไปทุกเรื่องและไม่มีอะไรดีไปทุกเรื่อง ดีและเลวนั้นจะผสมอยู่ในร่างเดียวกัน จนทำให้เกิดความทุกข์ ดั่งมีคน 2 คนที่ถกเถียงอยู่ในร่างเดียวกัน เพียงแต่เราจะเลือกดีหรือชั่วนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุดได้อย่างไรเท่านั้นเอง
        จิตทั้ง 2 นั้นจะต่างยกเหตุยกผลมาโต้แย้งกันอยู่เสมอ ตรงนี้เองจึงทำให้เกิดทุกข์ เพราะ เรื่องใดที่แก้ได้ตัดสินใจได้ย่อมไม่เป็นทุกข์ เรื่องใดที่รู้แล้วยอมรับแล้วว่าแก้ไม่ได้จริงๆ ก็จะไม่ทุกข์ แต่ถ้าเรื่องใดนั้นยังอยู่ตรงที่จะแก้ได้หรือแก้ไม่ได้นั่นสิที่ทำให้เราเกิดความทุกข์
        เฉกเช่นดั่งอรชุนผู้คิดว่าตนนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉานในทางพระเวท หรือตัวของท่านทั้งหลายเองที่คิดว่าข้ารู้ ข้าเก่ง แต่พอเข้าสู่ช่วงเวลาที่คับขันจริงกลับนำความรู้ที่คิดว่าตนเข้าใจดีแล้วมาใช้ไม่ได้อย่างถูกต้อง นั่นเป็นเพราะจิตของเขาไม่รู้จริง ไม่มีพุทธิปัญญาไชชอนให้กระจ่าง
        พระกฤษณะจึงเปรียบได้ดั่งพุทธิปัญญา ที่มาทำลายความรู้ที่ผิดๆ ในพระเวทของอรชุนทิ้งเสีย แล้วสถาปนาความรู้ที่จริงแท้ อันเป็นหัวใจแก่นแท้ของพระเวทแก่อรชุนเสียใหม่ เมื่ออรชุนเกิดแสงสว่างดวงใหม่ที่บริสุทธิ์ในปัญญาแล้ว เขาจึงได้กลับมาหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้อีกครั้งด้วยปัญญาและกองทัพแห่งธรรม จนในที่สุดก็ได้ชัยชนะกลับมาอย่างสมบูรณ์ทั้งทางกายและใจ
        นี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อมหากาพย์มหาภารตะ ในสมัยเริ่มแรกที่มีชื่อเรื่องว่า "ชัย - जय" แล้วต่อมาจึงถูกเปลี่ยนชื่อมหากาพย์ไปเป็น "ภารตะ - भारत" แล้วมาเป็น "มหาภารตะ - महभारत" ตราบเท่าทุกวันนี้
        ดังนั้นบทสนทนานี้จึงเป็นดั่งตัวอย่างในการใช้เลือก ณ ช่วงเวลาที่เรานั้นต้องเลือกตัดสินใจอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งในการประกอบกรรมทำหน้าที่ของมนุษย์อย่างถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องหวังผลตอบแทนทางโลกวัตถุ เมื่อเราคิดตรองแล้วว่าสิ่งที่เรากระทำนั้นเราได้กระทำดีที่สุดแล้ว เราก็จะไม่ต้องมานั่งทุกข์กับผลที่เรานั้นจะได้รับจากการกระทำนั้นๆ
        ในทรรศนะของผมเอง ผมมักจะเรียก "คัมภีร์ภควัทคีตา" นี้ว่า "คัมภีร์แห่งลีลาการทำหน้าที่ของมนุษย์" 
คัมภีร์ภควัทคีตานี้เดิมผมไม่เคยรู้จักมาก่อน แล้วมาช่วง 20 กว่าปีที่แล้ว ในวันที่ผมท้อแท้ ผมได้เดินไปหาหนังสือธรรมะอ่านที่ร้านขายหนังสือประจำของผม
        ขณะนั้นเองได้มีคุณป้าเจ้าของร้านแพร่พิทยาเดินมาพูดคุยกับผมว่า "อายุยังน้อยสนใจธรรมะแล้วหรือ?" ผมเลยตอบไปว่า "ผมไม่รู้จะไปพึ่งอะไร ตอนนี้ทุกข์มากเลยอยากหาหนังสือธรรมะสักเล่มอ่าน"
        คุณป้าเจ้าของแพร่พิทยาท่านก็ได้กรุณาเดินไปหยิบหนังสือเก่าๆ เล่มหนึ่งมาให้ผม หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า "ศรีมัทภควัทคีตา เพลงแห่งชีวิต" แปลโดยท่านศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร แล้วคุณป้าก็กล่าวอีกว่า
        "เอาไปอ่านซะหนังสือเล่มนี้ป้าให้ มันจะช่วยเธอได้ อ่านจนกว่ามันจะเป็นเพลงนะ เมื่อเธอสามารถอ่านจนเป็นเพลงของเธอเองได้แล้วเธอจะเข้าใจมัน"
        มาวันนี้ผมไม่เคยสงสัยอีกเลย ทำไมเขาจึงเรียกคัมภีร์นี้ว่า "คีตา" อันหมายถึง บทเพลง หรือ ลำนำ เพราะแรกเริ่มเดิมทีอ่านอย่างไรมันก็เป็นคำๆ ตามตัวหนังสือ แต่พออ่านไปเรื่อยๆ หลายสิบรอบ ก็รู้สึกว่าทำไมจิตเราไม่อ่านตามตัวอักษรในกระดาษนั้นอีก มันเกิดเป็นเพลงใหม่ที่เป็นเพลงของเราไปเองโดยอัตโนมัติโดยไม่สะดุด
        ดังนั้นผมจึงอยากบอกผู้ที่สนใจอ่าน "ศรีมัทภควัทคีตา" ว่า คุณจงอ่านไป จนกว่าตัวหนังสือนั้นจะกลายเป็นเพลงเฉพาะตัวของคุณ แล้ววันนั้นคุณจะได้โลดเล่นเข้าร่วมทำสงครามมหาภารตะ ณ ทุ่งกุรุเกษตรในเวลานั้นอย่างสมบูรณ์ แล้วกลับออกมาในชีวิตจริงอย่างผู้มีชัย
        วันนี้ขอส่งต่อเนื้อเพลงแห่งพระศรีภควานของผม ให้ท่านผู้ที่สนใจได้ศึกษากัน เพื่อให้ท่านไปใส่ทำนองเพลงของท่านกันเอาเอง แล้วให้กลายบทเพลงของท่านเฉพาะตนในเวลาต่อไป ณ แต่บัดนี้
        ***ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตและคิดตามด้วยว่า พระนามของพระกฤษณะที่อรชุนกล่าวมาแต่ละขณะนั้น จะมักแตกต่างกัน นั่นเพราะผู้รจนานั้นพยายามสื่อแฝงลงไปให้ตีความ ยิ่งท่านตีความพระนามนั้นได้มากเท่าไร ท่านก็ยิ่งจะสามารถเข้าใจวลีนั้น มากเท่านั้น นี่เองจึงเป็นจุดที่พระคเณศต้องหยุดพักเขียนเพื่อตีความให้เข้าใจก่อนอยู่ตลอดเวลาที่ทรงเขียน***
(ที่ใดมีธรรม ที่นั่นย่อมมีชัย สัจจะมีหนึ่งเดียว แต่หนทางเข้าสู่นั้นมีหลากหลาย)
#53
รับทราบครับคุณอักษรชนนี

ผมเองก็ได้บอกทางบริษัทไปแล้วในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่เป็นผล เนื่องจากเป็นหน้าที่ของทางฝ่ายออกแบบปกและการจัดพิมพ์

ซึ่งผมเองก็มองเหมือนกันว่า เมื่อเอายันต์ออกมาแล้วจะทำให้หนังสือเก็บยาก เนื่องจากปกจะอ่อนเกินไป

ทีแรกที่ผมเสนอไปคือ

1. ไม่ให้คว้านปกและให้ทำเป็นปกแข็ง

2. ตัวยันต์นั้นให้แยกจากหนังสือไปเลย เพื่อจะได้เก็บรักษาง่าย

3. กระดาษที่ใช้พิมพ์ควรเป็นกระดาษปอนด์ แม้จะมีราคาขายที่แพงกว่า แต่คนอ่านสมัยนี้จะยอมรับมากกว่า เพิ่มราคาอีก 40 - 100 ก็ไม่มีใครว่า
(ไม่รู้ใครคิดเหมือนผมหรือไม่นะครับ ในฐานะคนรักหนังสือ จะมองว่าถ้าเป้นกระดาษพิมพ์ที่ดี และเป็นหนังสือที่ควรเก็บสะสมจะแพงขึ้นอีกนิดก็ไม่เกี่ยง)

4. ชือหนังสือ ที่แรกผมตั้งไปให้ในชื่อ "คัมภีร์ยันต์ศาสตร์ (ฮินดู)" แต่เนื่องจากฝ่ายขายกลับมีทรรศนะว่า ถ้าตั้งแบบนั้นจะทำให้ขายยาก เขาเลยเปลี่ยนมาเน้นการตลาดที่ตัวของยันต์แทน แล้วใช้ชื่อหนังสือว่า "ยันต์คุ้มดวงชะตา 108 มหาเทพ-เทวี" ทำให้จุดประสงค์ในการเขียนของผมซึ่งจะเน้นในเรื่องความรู้นั้น ถูกเปลี่ยนไปบ้างจากชื่อหนังสือ

อันนี้ก็ต้องเข้าใจ ต้องพบกันครึ่งทาง คนเขียนก็อยากให้งานดี คนขายก็อยากจะขายได้

สุดท้ายมีอะไรผิดพลาดไปในหนังสือก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ทางบริษัทให้เวลาผมเขียนแค่ 2 สัปดาห์เอง หลังจากที่ผมนำยันต์ที่ทำแจกในงานแห่ประจำปีวัดแขกสีลมไปให้เจ้าของบริษัทในช่วงก่อนวันปีใหม่ 53 แล้วเจ้าของบริษัทเลยขอให้ผมเขียนเรื่องยันต์นี้ในวันนั้นเลย (แบบว่างานเข้าชนิดไม่ได้ตั้งใจ) แต่ก็พยายามทำให้ดีที่สุดแล้วครับ

ขอขอบคุณทุกท่านนะครับที่ช่วยอุดหนุน แล้วจะนำเรื่องนี้ไปแจ้งให้ทางบริษัททราบเพื่อการปรับปรุง ขอบคุณครับ
#54
ตามความจริงแล้วเขาไม่ได้กำหนดครับว่าต้องซื้อรุทรักษ์มาบูชาแบบกี่มุขี (หน้า) เพียงแต่กล่าวว่าเมล็ดรุทรักษ์นั้นเป็นดั่งตัวแทนของพระศิวะ

การมากำหนดว่าคนนั้น คนนี้ ต้องใส่เมล็ดรุทรักษ์กี่มุขี หรือ พวกแบบพิเศษนั้น เป็นเรื่องปรุงแต่งทางมายาของเหล่ามนุษย์เท่านั้นเอง

และพวกนั้นมักมีราคาแพงอีกด้วย ซึ่งไม่จำเป็นเลยที่จะต้อขนขวายหาซื้อมา แต่ถ้าชอบสะสมของหายากก็สามารถซื้อมาได้

ฉะนั้นอย่างแรกควรทำความเข้าใจก่อนว่าเราจะบูชามาใส่เพื่ออะไร และกำลังทรัพย์ในการสะสมรุทรักษ์แบบพิเศษนั้นมีมากน้อยเพียงใด

ก็จะตัดสินใจได้เองนะครับ
#55
ต้องขอโทษด้วยที่หายไปนาน และไม่ได้มาตอบกระทู้ (ช่วงนี้ยุ่งนิดหน่อยครับ)

หนังสือออกวางตลาดแล้วครับ ที่ร้านแพร่พิทยา, B2S, ศูนย์ฯจุฬา, ร้านซีเอ็ดบุ๊ค และเซเว่น

วันนี้ผมไปสอบถามให้มา สำหรับผู้ที่อยู่ ตจว. ได้ความว่าหนังสือเล่มนี้ส่วนมากวางจำหน่ายใน กทม.

เพราะพิมพ์ครั้งแรกจำนวนแค่ 3,000 เล่ม ดังนั้นท่านที่อยู่ ตจว. จะหาซื้อยากหน่อยนะครับ ต้องขออภัยด้วย

เนื่องจากทางการตลาดของบริษัทเป็นผู้จัดการในเรื่องการจัดจำหน่ายและเลือกร้านลง ผมเข้าไปยุ่งไม่ได้


ราคาจะอยู่เล่มละ 159 บาท หน้าบกจะมียันต์ "ศรี ศักติ วิทูระ" ติดอยู่ข้างหน้าครับ

#56
ใช้นะครับดอกบัวบูชาเทพเจ้าอะ ถ้าอยากเห็นต้องตื่นแต่เช้ามืดสักหน่อย แล้วรีบไปตอนช่วงเปิดเทวาลัย จะได้เห็นการถวายดอกบัว

ผมเคยได้ดอกบัวนั้นกลับมาครั้งหนึ่งด้วย พราหมณ์ท่านจะทำพิธีถวายดอกบัวในช่วงเช้ามืด โดยดอกบัวนั้นเป็นดอกไม้ที่ใช้แทนสัญลักษณ์ของโลกเรา

โดยนำมาถวายที่เบื้องพระบาทของพระผู้เป็นเจ้า คงจะสื่อถึงการให้พระองค์เสด็จลงมาประทับยังโลกมนุษย์เพื่อประทานพรก็ได้มั้งครับ

ถ้ายังไงลองไปดูกันได้ โดยเฉพาะที่วัดแขกสีลม

อีกอย่างในการทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้าให้เสด็จลงมาในมณฑลพิธี โดยมีหม้อกลัศเป็นศูนย์กลางของเทพเจ้าทั้งมวลนั้น

ก็จะมีการถวายดอกบัวด้วยเช่นกัน อีกทั้งเวลาทำพิธีสนาน (สรงน้ำองค์เทพ) พิธีถวายปัญจามฤต ก็จะมีการรดน้ำสรงองค์ลงไปที่ดอกบัวด้วย

ดังนั้นดอกบัวถือว่าเป็นดอกไม้ที่ใช้ถวายองค์เทพเจ้าชนิดหนึ่ง แต่จัดเป็นดอกไม้ตระกูล หรือ ดอกไม้วรรณะสูงนะครับ
#57
ผมว่านะ ถ้าเป็นชื่อพระ ชื่อเทพ ชื่อตัวละคร ชื่อสถานที่ ในวรรณกรรมก็ควรแปลเป็น สันสกฤต - ไทย จะดีกว่า

เช่น วิชณุ ก็ควรเป็น วิษณุ, คุรุ ก็ควรเป็น ครู, บระฮมะชารี ก็ควรเป็น พรหมจารี เป็นต้น

แต่ถ้าเป็นบทสวด ก็ควรทำเป็นสำเนียงดั้งเดิมของเข้าของภาษาเขา (สันสกฤต - สำเนียงฮินดิ)

เช่น วิษณุ ก็ควรเป็น วิชณุ, กฤษณะ ก็ควรเป็น คริชณะ, พรหมา ก็ควรเป็น บระฮมา เป็นต้น

เห็นว่าไงครับ จะได้ไม่งงกัน
#58
น้องกิ๊ฟต๋า (ขอโทษที่หายไปนาน งานยุ่ง แถมต้องเก็บผักใน Facebook อีก)

คัมภีร์พระเวท (Veda) กับ คัมภีร์อเวสตะ (Avesta) นั้น เขาเป็นพี่น้องคลานตามกันมา มีกำเนิดในช่วงยุคอินโด-ยูโรเปียน

ดังจะเห็นเทพเจ้าในยุคพระเวทเริ่มต้น (โบราณ) นั้นจะมีชื่อคล้ายกับในคัมภีร์อเวสตะ เกือบทั้งหมด แต่จะออกเสียงเพี้ยนกันไปบ้าง

โดยจะกล่าวถึงเทพเจ้าอาทิ วรุณาสูร, อินทระ, อัคนิ ฯลฯ คล้ายๆ กัน ต่อมาชาวอารยันได้อพยพเข้าสู่ดินแดนลุ่มแม่น้ำสินธุ แล้วเข้าครอบครองนครฮารัปปา และ โมเฮนโจ-ทาโร (แถบปากีสถานในปัจจุบัน) เมื่ออารยันเริ่มเข้ามายึดดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ ก็เริ่มรับเอาลัทธิความเชื่อของนครทั้ง 2 เข้ามาผสมผสานเพิ่มเติม

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การนำศาสนามาใช้ในการควบคุมการเมืองในสมัยโบราณนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เมื่ออารยันเคลื่อนพลเข้ามาก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนศาสนาเดิมของตนกันบ้าง อันเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมของชมพูทวีปในยุคต้น

เมื่อนานไปชาวอารยันได้รุกคืบต่อเข้าสู่ดินแดนอินเดียตอนเหนือ ก็ได้กลืนกินเทพเจ้าดั้งเดิมของเขามาไว้อีก โดยในสมัยนั้นาวอารยันนั้นนับถือพระวรุณเป็นเทพเจ้าสูงสุด แต่เมื่อชาวอารยันต้องทำสงครามกับชาวพื้นเมืองของอินเดียโบราณ เทพเจ้าอีกองค์หนึ่งจึงเริ่มโดดเด่นขึ้น นั่นก็คือเทพเจ้าแห่งสายฟ้าและสงคราม นามว่า "อินทร์" ซึ่งเป็นเทพเจ้าเก่าในคัมภีร์พระเวทเบื้องต้น

นับแต่นั้นมาพระอินทร์จึงได้ถูกสถาปนาขึ้นเป็นเทพเจ้าสูงสุด เมื่อชาวอารยันได้เข้ายึดปักหลักในอินเดียตอนเหนือได้ เขาก็เริ่มรับเอาเทพเจ้าพื้นเมืองเข้ามารวมไว้อีก แล้วสถาปนาให้เป็นเทพเจ้าชั้นรอง เช่น รุทระ, สีดา, ปารวตี, อิฑา, คงคา, ยมุนา เป็นต้น นี่จึงเป็นบ่อเกิดวัฒนธรรมและศาสนาพราหมณ์ในยุคของอารยันในอินเดีย

ต่อมาเมื่อชาวอารยันเริ่มครอบครองอินเดียได้อย่างเป็นปึกแผ่น ความต้องการในพระอินทร์ก็ลดลง เมื่อชีวิตเป็นสุข ไม่ต้องเร่ร่อน ไม่ต้องทำสงคราม ชาวอารยันก็เริ่มมีเวลามองหาสัจธรรมมากขึ้น โดยเริ่มมองว่า คนเรานั้นมี 3 รูปแบบ มีเกิด มีทรงอยู่ มีตาย, มีตมะ มีรชะ มีสัตตวะ เหมือนเหรียญที่มี 3 ด้าน เขาก็เริ่มมองหาพระผู้เป็นเจ้าองค์ใหม่มาให้เหมาะกับความต้องการ

ดังนั้นจึงไปดึงเอาเทพเจ้าในพระเวทบางองค์มาเป็นเทวาธิษฐานแทนการเสื่อมสลาย เช่น รุทระ ซึ่งเดิมเป็นเทพเจ้าแห่งลมป่า ที่ดุร้ายเกรี้ยวกราดชอบการสังหารดุคนป่าเถื่อน แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นเทพเจ้าที่ใจดี ประทานพรตามที่มนุษย์ปรารถนาทุกประการ อีกทั้งยังเป้นเทพเจ้าแห่งสมุนไพรยารักษาโรคอีกด้วย อันเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของพระศิวะในเวลาต่อมา

มีการดึงเอาพระวิษณุ ซึ่งเดิมเป็นเทพเจ้าชั้นรอง และเป็น 1 ใน 12 เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เข้ามาเป็นเทวาธิษฐาน แทนการทรงอยู่ เพราะ วิษณุนั้นมีรากศัพท์มาจาก "การแผ่ขยาย" อันหมายถึงการเจริญเติบโต

แล้วดึงเอาปรมาตมันพรหมเดิม เข้ามาเป็นเทวาธิษฐาน แทนการเริ่มกำเนิด จากนั้นต่อมาจึงเกิดเป็น "ตรีมูรติ" ขึ้นในยุคฮินดู (ตรงนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากศาสนาพราหมณ์ถูกอิทธิพลของศาสนาพุทธ เข้าแย่งชิงพื้นที่ความเชื่อเดิม ตรงนี้จะไว้กล่าวที่หลัง)

หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการดูดกลืนเอาเทพเจ้าพื้นเมืองต่างเข้ามาเป็นภาคหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม ถ้าเป็นเทพเจ้าพื้นเมืองชาย ก็จะถูกจัดไว้เป็นภาคหนึ่งของมหาเทพทั้งสาม แต่ถ้าเป็นเทพเจ้าสตรีก็จะถูกจัดไว้เป็นภาคหนึ่งของเทวีศักติทั้งสาม

อาทิเช่น มารีอัมมันเป็นต้นก็จะถูกดูดกลืนมาเป็นภาคหนึ่งของพระอุมา ซึ่งจะเห็นได้บ่อยครั้งในวัฒนธรรมของอินเดีย โดยใช้คำกล่าวว่า "พระผู้เจ้านั้นมีหนึ่งเดียว แต่พระองค์นั้นแบ่งภาคออกเป็นมากมายตามหน้าที่" หรือ "สัจจะมีหนึ่งเดียว แต่หนทางเข้าสู่มีหลากหลาย"

นี่เองจึงเป็นที่มาตั้งแต่ต้น จนถึงปัจจุบันของวัฒนธรรมแห่งชมพูทวีป ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีบางสายพัฒนาไปถึงการรวมเอา พระยะโฮวาห์, พระเยซู, พระพุทธเจ้า, พระอัลเลาะห์, เหล่าจื้อ, มหาวีระ, คุรุนานัก เข้ามารวมเป็นภาคหนึ่งของพระเจ้าในศาสนาฮินดูด้วยก็มี จนเกิดเป็นนิกายใหม่ๆ ขึ้นมากมาย

อันศาสนาใดไม่มีนิกาย ศาสนานั้นได้ชื่อว่าจะเป็นศาสนาที่กำลังจะตาย ตรงนี้ต้องเข้าใจด้วยว่าทุกศาสนาต้องมีการพัฒนา ต้องมีนิกาย
#59
ที่คุณ tewadhol กล่าวมานั้นเป็นทักษาที่ไทยเรานำมาจากพม่ารามัญ หรือ ที่เรามักใช้กันเช่น บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาลกิณี

การเสวยอายุ ก็ตามเวปที่คุณ tewadhol นำมาโพส

แต่ถ้าเป็นแบบอินเดียนั้นจะเรียกว่า "ทศา (Dasas)" นับการเสวยอายุจากที่สถิตของพระจันทร์ในดวงชะตากำเนิด ว่าสถิตอยู่ในนวางศ์ของนพเคราะห์องค์ใด และนิยมใช้วิมโษตตรีทศามากที่สุด

การเสวยนั้นก็มีการซอยลงไปอีกมาก

1. มหาทศา (Maha Dasas)
2. อนุทศา หรือ อันตรทศา (Antar Dasas)
3. วิทศา หรือ ปรัตยันตรทศา (Pratyantra Dasas)
และยังมีการซอยลงไปลึกกว่านั้นอีก เช่น Sookshma-antardasas, Praana-antardasas, Deha-antardasas เป็นต้น แต่ส่วนมากนิยมใช้แค่ 2 - 3 ทศาที่กล่าวมาก็เพียงพอแล้วในการวิเคราะห์ดวงชะตา

และถ้าถามจากประสบการณ์ในเรื่องโหราศาสตร์แล้ว ผมเห็นว่าวิมโษตตรีทศาของทางโหราศาสตร์อินเดียนั้นใช้ได้ผลจริงกว่า ซึ่งสามารถเจาะลึกได้มากกว่าทักษารามัญ

ตรงนี้ดูได้จากดวงเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่งรัชกาลที่ ๑ ทรงมอบหน้าที่ให้พราหมณ์หลวงทั้งหมดช่วยกันหาฤกษ์การลงเสาหลักเมืองให้ และจากการวางดวงเมืองจะเห็นได้ว่าพราหมณ์หลวงนั้นได้วางดวงฤกษ์ให้ลัคนา กับ ชนมจันทร์ คานกำลังกันเพื่อให้เมืองไทยเราผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ได้ และเรื่องคำทำนาย 10 ยุคนั้นก็มาจากระบบวิมโษตตรีทศาด้วย

ส่วนทักษารามัญนั้น เรานำมาใช้กันที่หลังเพราะง่ายแก่การคำนวณ

ปล. เรื่องนี้ยาวครับ ขอเล่าไว้เพียงเท่านี้พอ เพราะ ต้องมีความรู้ทางโหราศาสตร์มาบ้างพอสมควร ถึงจะเข้าใจได้กระจ่าง
#60
ทรรศนะของผมนะ

1. ศาสนาที่แท้จริงคืออะไรค?
- คือ ความดี อันทำให้เรามีภาวะจิตที่เป็นสุข
2  ความเชื่อแบบการมองเห็นด้วยตัวเอง(Sense) กับหลักการทางศาสนา สามารถนำมาผนวกกันได้จิงหรือ?
- อันนี้ต้องถามกลับว่า คุณได้พิสูจน์หรือยัง เพราะสิ่งพวกนี้ตนเท่านั้นที่ตอบตนได้
3  พระเป็นเจ้าสามารถสื่อสารกับมนุษย์เป็นเรื่องเป็นราวได้จริงหรือ?
- พระเจ้าของคุณคืออะไร ถ้าทองว่าพระเจ้าทั้งมวลคือธรรมชาติ พระเจ้าก็สื่อสารกับคุณอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่จิตของคุณไม่ยอมรับฟังเท่านั้นเอง
4  การใช้อุปกรณ์บูชาข้ามศาสนา ลัทธิความเชื่อ เป็นสิ่งที่สมควรทำหรือ?
- จะใช้อะไรก็ได้ เรื่องนี้อยู่ที่เจตนาของผู้บูชา ไม่ได้อยู่ที่วัตถุภายนอก
#61
มูรติ (मूर्ति) แปลตามพจนานุกรมสันสกฤต แปลว่า วัสดุ, วัตถุ, ศรีระ, รูปร่าง, โครงร่างภายนอก, มโนภาพ, การรวมตัวกัน, แบบอย่าง, การทำให้มีตัวตน, เทพเจ้า, แม่พิมพ์

ฉะนั้นจึงสื่อถึงอะไรก็ได้ที่มีรูปร่าง แต่จะเน้นใช้สื่อถึงสิ่งอันปรากฏที่เรามักให้ความสำคัญ หรือเคารพนับถือ
#62
ตำนานเกย์


          ก่อนอื่นต้องขอออกตัว (ล้อฟรี) ก่อนนะครับว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องแต่งซึ่งผมเคยได้ยินได้ฟังมาจากรุ่นพี่คนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของบาร์ดังแถวย่านสีลม เธอเล่าให้ฟังเป็นเรื่องเป็นราวและสนุกมาก เลยเอามาเล่าให้น้องคนหนึ่งในบอร์ดนี้ฟังขำๆ น้องเขาเลยบอกให้เขียนเรื่องนี้ลงในบอร์ด เพื่อความสนุกสนานแก้เครียดกัน โดยเรื่องก็มีอยู่ว่า (เชิดดดดดดดดด....เปิดโรงละคร)
          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ สรวงสวรรค์ อันเป็นที่สถิตของเหล่าเทพเทวาแลเหล่านางอัปสรนับหลายล้านๆ ตน ซึ่งตามตำนานนั้นเราก็ทราบกันดีว่าเหล่านางอัปสรนั้นเป็นนางฟ้านางสวรรค์ที่สวยสดงดงามมาก
          แต่พวกเธอเหล่านั้นก็หามีใครใคร่เอาไปครอบครองทำภรรยาถาวร นั่นก็เพราะพวกเธอนั้นไม่ค่อยชอบอยู่กับใครคนเดียวเป็นเวลานานๆ นั่นเอง (คล้ายๆ กับชีวิตเกย์ที่บางครั้งก็เหมือนจะรักกันมาก แต่นานไปต้องไปแอบกินเล็กกินน้อยกันอยู่ประจำอันเป็นเหตุให้ต้องเลิกรากันไป)

          อีกอย่างเหล่าเทวดาเองก็ไม่ยอมรับเธอไว้เป็นภรรยาอีกเช่นกัน ซึ่งก็เหมือนกับชีวิตเกย์อีก ที่ผู้ชายแท้ๆ จะไม่รับเอาทำภรรยา ทำให้พวกเธอนั้นต้องโหยหาความรักมาทดแทนความเหงากันอยู่เป็นประจำ
          แล้วมาวันหนึ่งก็ได้มีดอกปาริชาติซึ่งเป็นดอกไม้สวรรค์สีทองตกลงมาจากสววค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังอัปสรโลก และดอกไม้วิเศษนี้อันผู้ใดที่ได้ครอบครองก็จะทำให้ผู้นั้นสามารถจินตนาการไปได้อย่างกว้างไกลเหมือนอยู่ในฝันตามที่ตนต้องการได้
          เมื่อดอกปาริชาติดอกนั้นร่วงลงมาเพียงดอกเดียว ทำให้เหล่านางอัปสรนับล้านๆ ตนต่างพากันกรูเข้าตบตีแย่งชิงดอกปาริชาตินั้นมาเพื่อครอบครองเป็นของตน จนกลายเป็นศึกนางอัปสรไป ทำให้สวรรค์นั้นเกิดเสียงดังความปั่นป่วนไปทั่ว
          ฝ่ายพระอินทร์เมื่อทรงได้ยินเสียงเอะอะโวยวายของเหล่านางอัปสรที่กำลังแย่งชิงดอกปาริชาติสีทองกันอยู่ราวกับสวรรค์นั้นกำลังจะถล่ม จึงทรงพิโรธในการกระทำของเหล่านางอัปสรเหล่านั้นยิ่งนัก จึงเสด็จมาปรากฏท่ามกลางเหล่านางอัปสรที่กำลังตบตีแย่งชิงดอกปาริชาติสีทองกัน
          เมื่อพระอินทร์จอมสรวงเสด็จมาปรากฏเหล่านางอัปสรต่างตกใจในการเสด็จมาปรากฏของพระองค์ แล้วด้วยความกริ้วเมื่อได้ทรงทราบสาเหตุและในพฤติกรรมของเหล่านางอัปสร พระอินทร์เลยสาปเหล่านางอัปสรไปว่า
          “พวกเจ้าเหล่านางอัปสรผู้อยู่ในฐานะนางฟ้านางสวรรค์ แต่ไม่ทำตัวให้สมกับเป็นนางฟ้านางสวรรค์ มาทำการตบตีแย่งชิง เพียงแค่ดอกปาริชาติดอกเดียวด้วยหมกมุ่นในตัณหาราคะอันจะได้จากดอกปาริชาติ ดีแหละเมื่อพวกเจ้ามากด้วยตัณหาราคะเช่นนี้ ก็จงลงไปเกิดในโลกมนุษย์ให้สมกับความผิดที่พวกเจ้าได้กระทำเถิด”
          เหล่านางอัปสรได้ฟังพระอินทร์สาปดังนั้น ต่างก็พากันตกใจจนกลัวจนหน้าซีดกันหมด แล้วพระอินทร์ก็ตรัสต่อไปว่า
          “แต่การที่พวกเจ้าจะลงไปเกิดยังโลกมนุษย์นั้นพวกเจ้าจะต้องไปเกิดในร่างของบุรุษเพศ เนื่องจากอย่างน้อยพวกเจ้านั้นก็มีศักดิ์เป็นถึงนางอัปสรสวรรค์เดิมจึงไม่ควรเกิดในร่างของสตรี แต่จิตใจของเจ้าก็ยังจะเป็นหญิงเช่นเคย คือ ยังรักในเหล่าบุรุษเหมือนเดิม เพื่อชดใช้กรรมที่พวกเจ้าได้กระทำไว้ในครั้งนี้”
          เหล่านางอัปสรต่างกลัวกันมาก ว่าจะต้องไปเกิดเป็นมนุษย์กี่ร้อยกี่พันชาติ จึงทูลถามพระอินทร์ว่าแล้วเมื่อไรพวกเธอจะพ้นคำสาปนี้ได้เล่า พระอินทร์จึงตรัสตอบไปว่า
          “ก็เมื่อพวกเจ้านั้นหันกลับรักมาปรองดองซึ่งกันและกันเองอย่างจริงใจ รู้จักเอื้อารีแก่กันและกันนั่นแหละ พวกเจ้าถึงจะสิ้นคำสาป แต่ถ้าพวกเจ้ายังหมกมุ่นในตัณหาราคะ ไม่คิดมีความรักอันบริสุทธิ์รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน พวกเจ้าก็จะต้องทนทุกข์เวียนว่ายตายเกิดเป็นมนุษย์ ที่เป็นชายก็ไม่ใช่หญิงก็ไม่เชิงเช่นนี้ตลอดไปชั่วกาลนาน จำไว้ให้ดี จะไม่มีใครรักพวกเจ้าจริงนอกจากพวกเจ้าเท่านั้นที่จะรักกันเอง จงเลิกตบตีแย่งชิง เลิกรังเกียจกันและกัน และเลิกมั่วในตัณหาราคะนั่นแหละพวกเจ้าถึงจะกลับมายังสวรรค์ได้อีกครั้ง”
          จากนั้นมาเหล่านางอัปสรที่ตบตีแย่งชิงดอกปาริชาติสีทองก็ทะยอยลงมาถือกำเนิดในโลกมนุษย์ตามความหนักเบาของกรรมที่ตนนั้นได้ก่อไว้ จึงบังเกิดมีมนุษย์ที่รักเพศเดียวกันขึ้นนับแต่นั้นมา
          ด้วยเหล่านางอัปสรที่ลงมาเกิดนั้นก็นำนิสัยเดิมติดลงมาด้วย คือ ยังติดรักสวยรักงาม ยังติดนิสัยการแย่งชิงดีชิงเด่นกัน และติดนิสัยการไม่รู้จักพอในกามารมณ์ลงมาด้วย
          อันทำให้เห็นว่าเหล่านางอัปสรที่ถูกสาปลงมาในโลกนั้นก็ไม่วายจะนำนิสัยเดิมของตนติดมาด้วย เช่น ยังรักสวยรักงาม ชอบนินทา ชอบประชันความสวยความงามของตนเองกับนางอัปสรตนอื่น และที่สำคัญยังติดนิสัยชอบปรนเปรอความสุข ชอบสนุกสนานเปลี่ยนคู่ไปเรื่อยๆ แม้เขาผู้นั้นจะรักพวกเธอมาเพียงใดก็ตาม
          เมื่อลงมาเกิดในโลกมนุษย์แล้วเหล่านางอัปสรนั้นต้องมารับวิบากกรรมต่างๆ นานา ถูกรังเกียจเดียดฉันท์จากชายจริงหญิงแท้เป็นอย่างมาก และส่วนมากก็ต้องมาทำหน้าที่เดิมของตนคล้ายๆ กับที่ทำบนสวรรค์ คือ จะมักทำหน้าที่สร้างความสุขความสำราญให้แก่มนุษย์ เช่น เป็นนักศิลปะ, นักฟ้อนรำ, นางโชว์ เป็นต้น

          อีกทั้งยังต้องมาปรนเปรอกามารมณ์ให้กับบุรุษเพศในโลกอีก โดยบุรุษนั้นก็ไม่ยินยอมรับนางไว้ครอบครองเหมือนดั่งที่เหล่าเทวดาไม่ยอมรับนางไว้เป็นภรรยาอีกด้วย เสร็จกิจก็จากไป ไม่งั้นก็จะโดนเหล่าบุรุษหลอกลวงเกาะกินไปหลายราย
          จนในที่สุดมีนางอัปสรหลายตนเมื่อเจอเรื่องราวชำใจเช่นนี้ ก็ระลึกถึงคำตรัสของพระอินทร์ได้ว่า ถ้าต้องการพ้นคำสาปก็ต้องหันมารักพวกเดียวกันก่อน เธอเหล่านั้นจึงเข้าใจได้ว่าเราควรจะหันมารักพวกเดียวกันดีกว่า ใครที่ไหนจะมาเข้าใจและรักพวกเราเท่าพวกเรานั้นรักกันเอง

          แต่ก็ยังมีนางอัปสรบางรายลืมกฏอีกข้อหนึ่งไปว่า แม้พวกเธอจะหันมารักพวกเดียวกันก็ตาม แต่พวกเธอต้องละเลิกมั่วในตัณหาราคะจึงจะได้กลับไปเกิดบนสวรรค์อีกครั้ง อันทำให้นางอัปสรหลายตนต้องเวียนว่ายตายเกิดด้วยลืมกฏข้อนี้กันไปอีกหลายราย และต้องทนรับกรรมกันอีกหลายชาติกว่าจะทำตามกฏที่พระอินทร์ตรัสไว้ได้ครบ
          แล้วนางอัปสรตนใดเล่าจะได้กลับไปเกิดบนสวรรค์สวรรค์อีกครั้ง ก็ลองเอาไปคิดดูกันเองนะครับ
#63
ทำไมไปอินเดียกัน ไม่เก็บเมล็ดรุทรักษามาปลูกที่บ้านเรากันบ้างเน๊าะ จะได้ไม่ต้องเสียดุล

ที่สิงคโปร์เขาก็มี แต่เป็นพันธุ์เมล็ดเล็ก แสดงว่าบ้านเราย่อมปลูกได้

ลองไปซื้อที่พาหุรัดดิครับ ร้านที่แนะนำคือร้านที่ติดกับร้านขายซีดีหนังแขกอ่ะ เจ้าของร้านธรรมะธรรโม น่าเชื่อถือที่สุด

เพราะ ผมเคยลองแกล้งถามเขาหลายรอบแระ บางเรื่องเขาจะไม่ตอบเพราะกลัวบาป ถือว่าพี่สาวคนนี้ใช้ได้เลย

เธอจะอ้วนอวบ ตาสวยๆ เจ้าของร้านอะครับ
#64
เทวรูปของ จิ้งจอกพันหน้า ที่เอาไปทำพิธีปลุกเสก


พอดีวันนั้นผมได้เอายันต์ "ศรี ศักติ วิทูร" ไปทำพิธีปลุกเสกพอดี แล้วเจอจิ้งจอกพันหน้าเอาองค์มา เลยให้นำองค์มาเข้าร่วมพิธีที่ผมจัดด้วย เลยมีรูปเอามาให้ดูกันครับ ว่าองค์ของน้องจิ้งจอกพันหน้าคือองค์ไหน จึงขออนุญาตลงให้ดูแทนเลยแล้วกันนะครับ
#66
ภาพที่สร้างนี้น่าจะเป็นภาพที่ถูกจิตนาการขึ้น โดยให้พระศิวะนาฏราชเป็นประธานของภาพ อันสื่อถึงตอนที่พระศิวะกับพระวิษณุ เสด็จลงไปปราบเหล่าฤษ๊ที่กระทำผิด แล้วมีฤษีตนหนึ่งแปลงร่างเป็นช้างตรงเข้าทำร้ายพระศิวะ และถูกพระศิวะถลกหนังสังหาร

1. เทพชั้นบนสุด (ตรงเมฆ) เห็นจะมีเทพเจ้าระดับสูง เช่น พระพรหม พระสรัสวดี พระวิษณุ พระลักษมี พระคเณศ พระสกันทกุมาร พระนารทมุมนี ส่วนอีกองค์ข้างๆ พระสรัสวดี ผมไม่แน่ใจว่าคือเทพองค์ไหน  แต่ดูจากอาภรณ์แล้วจะเป็นเทพผู้ชาย

2. เทพตรงเมฆชั้นที่ 2 (นับจากบน) ดูจากอาภรณ์หรือสีผ้าอันเป็นสีประจำพระองค์ เห็นจะมี สุริยเทพ (แดง), พุธเทพ (เขียว), จันทรเทพ (ขาวนวล)และ มังคละเทพ หรือ พระอังคาร (สีส้ม หรือ แดงดั่งถ่านไฟ)

3. เทพตรงเมฆชั้นที่ 3 ดูจากอาภรณ์หรือสีประจำพระองค์ เห็นจะมี พระเกตุ (มีเศียรนาคปรก บางที่ก็ให้ท่อนล่างเป็นงูหรือปลา สีประจำพระองค์นั้นกำหนดยาก บ้างก็ให้เป็นสีแดงตุ่นๆ หรือ สีม่วงอมแดง), พระศุกร์ (สีเศวต), พระพฤหัส (สีเหลือง),  พระศนิ หรือ พระเสาร์ (สีน้ำเงินดำ) และพระราหู (สีม่วง)

4. เป็นชั้นเทพฤษี จะเห็นได้ว่ามีภาคอวตารรวมอยู่ด้วย เช่น พราหมณ์เตี้ยวามน
4.1 มีเศียรเป็นวัว ตีได้ 2 องค์ คือ นนทิ กับ ทโยษะ ซึ่ง 2 องค์นี้ตามประวัติมีเศียรเป็นวัวตัวผู้ แต่เมื่อภาพประธานเป็นพระศิวะ ภาพนี้น่าจะเป็นนนทิมากกว่า
4.2 ที่มีเศียรเป็นนกแก้ว น่าจะเป็น กามเทพ เพราะนกแก้วนั้นเป็นตัวแทนของกามเทพ หรืออาจจะเป็นพญาครุฑก็ได้
4.3 ฤษีที่มีท่อนร่างเป็นงู น่าจะเป็น อนัตนาคราช หรือ เศษนาค
4.4 ฤษีที่มีเศียรเป็นม้า น่าจะเป็น อวตารหนึ่งของพระวิษณุ (ที่ปรากฏอยู่ในภควัตปุราณะ) นามว่า "หัยครัพ หรือ หัยครีว"

5. ล่างสุด ที่มี 9 ตน ไม่แน่ใจว่าจะสื่อถึงอสูร หรือ พระมนู นะครับ
#67
ภาพนี้ คือ ทโยษะ (Dyaus - द्यौष) เป็นเทพเจ้ารุ่นแรกๆ ของพระเวท อันพระนามนั้นจะหมายถึง "ท้องฟ้า หรือ สวรรค์" ทรงเป็นสวามีของพระแม่ ปฤถิวี หรือ พระธรณี

ในเริ่มต้นจะถือว่า 2 พระองค์นี้เป็นเทพเจ้าสูงสุด เหมือนในจีนที่กล่าวถึงมักรฟ้ากับหนี่วา เมื่อ 2 องค์มาปฏิสัมพันธ์กันจึงก่อให้เกิดเทพเจ้ายุคแรกๆ ของพระเวท อาทิ ไทตยะ แทตย์ พระวรุณ พระอินทร์ เป็นต้น โดยพระนามของพระองค์มักจะถูกกล่าวสรรเสริญในฤคเวทไม่ต่ำกว่า 500 ครั้ง

ตามการพรรณาถึงพระองค์ กล่าวว่าพระองค์ทรงมีเศียรเป็นวัวเพศผู้ หรือ วัวกระทิง มีพระวรกายเป้นดั่งมนุษย์ พระฉวีเป็นสีแดงดั่งพระอาทิย์แรกขึ้น ส่วนพระปฤถิวีก็จะมีเศียรเป็นแม่วัว หรือ ม้า พระวรกายเป็นมนุษย์ผู้หญิง

เมื่อฝรั่งเข้ามาศึกษาวรรณธรรมที่มาของพระเวท ก็เป็นสมัยของยุคศาสนาฮินดู พอเห็นรูปที่ขุดพบที่นครฮารัปปะ เห็นเทพเจ้าองค์หนึ่งมีเศียรเป็นเป็นสัตว์มีเขาประเภทวัวป่า หรือ กระบือ แล้วมีสัตว์ต่างๆ ล้อมรอบ เปรียบเหมือนพระองค์เป็นเทพเจ้าของสรรพสัตว์ทั้งปวง ก็เลยโยงไปถึงพระศิวะในปางปศุบดี

[/SIZE]

ซึ่งตรงนี้ไม่ถูกต้องนัก เพราะในยุคฮารัปปะนั้นพระศิวะนั้นยังไม่ปรากฏ เป็นเพียงแค่เทพเจ้าแห่งลมป่านามว่า "รุทระ" เท่านั้น โดยในฤคเวทกล่าวว่าพระรุทระนั้น ทรงมีรูปร่างเหมือนดั่งมนุษย์ นิสัยดุร้าย แต่บางครั้งก็มีพระเมตตาสูง อีกทั้งยังเป็นเทพเจ้าแห่งยาสมุนไพรอีกด้วย แล้วต่อมาในยุคศาสนาฮินดูเทพรุทระองค์นี้ก็ได้กลายมาเป็นพระศิวะ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เขาไปมองจากศาสนาฮินดูกลับไปหาศาสนาพระเวทโบราณ แล้วโยงเอาภาพที่ปราฏกของนครฮารัปปะมาโยงกับพระศิวะที่ต่อมาได้ชื่อว่าปศุบดี

มาถึงในยุคปัจจุบัน ทโยษะนั้นเรามักจะเรียกว่า "ทยุ" ซึ่งกลายไปเป็นเทพชั้นรองที่ไม่ค่อยมีความสำคัญไป
#68
อ้อ... อีกอย่าง อันนี้เป็นเคล็ดนะครับที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอินเดียสอนผมมาว่า ในการจะบูชาพระศิวะนั้นควรทำความสะอาดร่างกายให้หมดจดเสียก่อน และที่สำคัญคือให้นำน้ำมาล้างหัวนิ้วแม่โป้งมือข้างขวาด้วย เพราะนิ้วโป้งข้างขวานั้นจะสื่อถึงเป็นตัวแทนของพระศิวะ นั่นเอง
#69
ผมเช็คจากปฏิทินอินเดียให้แล้ว จะตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553

แต่ในเมืองไทยอาจจะมีการจัดงานในวันที่ 13 ก็ได้ เพราะเวลาในประเทศของเรากับที่อินเดียไม่ตรงกัน เขาใช้ตรวจวันจากการที่พระจันทร์เข้าสู่ราศีมังกรซึ่งเป็นเดือนมาฆะ และจะถึงวันจริงก็ต่อเมื่อพระจันทร์นั้นมาดับในราศีมังกรเรียกว่าอมาวสี

แต่บางที่ก็ยึดตามหลักปฏิทินสุริยคติไปเลย ว่าทางอินเดียจัดงานวันไหน ทางเราก็จัดงานตามไปวันนั้น

ดูได้จากปีที่แล้ว ที่ทางไทยเราจัดงานก่อนหน้า หรือ หลังปฏิทินอินเดียไปก่อนวัน หลังวันบ้าง

ลองสอบถามจากทางวัดจะดีกว่าว่าจัดงานวันไหนกันแน่
#70
ถูกแล้วครับ การที่องค์ไท้ส่วยองค์ใหม่จะลงมาทำหน้าที่คุ้มครองดวงชะตานั้น ท่านจะลงมาในวันชิวอิก หรือวันแรกของปีใหม่จีนนั่นเอง

ส่วนคนที่กลัวว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนคนจะเยอะมากแล้วทำพิธีลำบากนั้นก็ไม่ต้องกลัว เพราะพิธีสะเดาะเคราะห์ปัดชงไถ่ส่วยนั้นสามารถทำได้ทั้งปีขาลทองนี้ครับ เลือกไปทำวันไหนก็ได้ โดยเฉพาะในทุกวันพระจีน

และถ้าเป็นช่วงวันเเทศกาลช็งเม้งก็จะดีมาก เพราะคำว่า "เช็ง" หมายถึง สะอาดหมดจด กับคำว่า "เม้ง" จะหมายถึง สุกสว่าง ถ้าไปทำการปัดสะดาะเคราะห์กันในช่วงเทศกาลเช็งเม้งนั้น ชาวจีนบางท่านถือว่าจะเป็นการปัดไล่เคราะห์ร้ายออกจากร่างกายไปได้จนหมดเกลี้ยง อีกทั้งยังทำให้ดวงชะตานั้นกลับมาสุกสว่างขึ้นอีกครั้ง

อีกอย่างในช่วงเทศกาลเช็งเม้งนั้นชาวจีนถือว่าเป็นช่วงที่เทพเจ้างดการลงโทษ คือให้อภัยในสิ่งที่มนุษย์ได้ทำผิดที่ผิดทาง หรือทำผิดจารีตประเพณีด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาลอีกด้วย

ส่วนวันที่ห้ามไปปัดชงไถ่ส่วยนั้น ชาวจีนหลายท่านเชื่อกันว่าวันห่อบะจ่างและวันไหว้บะจ่างนั้นไม่ควรไปทำการปัดเคราะห์ เพราะถือว่าเป็นวันแน่ เหมือนการมัดขนมบะจ่างในสมัยโบราณที่มัดจนแน่นแล้วนำไปต้มในน้ำได้โดยที่น้ำแทบจะไม่ซึมเข้าไปเลย ดังนั้นจึงไม่ควรไปปัดเคราะห์ออกในวันนี้ ด้วยเชื่อว่าเคราะห์นั้นจะเกาะแน่ปัดเท่าไรก็ไม่ออก

ฉะนั้นไม่ต้องกังวลครับ ว่าจะต้องรีบไปแย่งกันทำพิธีในช่วง 15 วันแรกของเทศกาลตรุษจีนเท่านั้น ทำได้ทั้งปีครับ

อีกอย่างองค์ไถ่ส่วยนั้นความจริงในตำราโหราศาสตร์จีนนั้น ก็เอาต้นแบบมาจาก 60 รอบปีดาวพฤหัสของอินเดีย ดังนั้นเทียนที่ใช้ไหว้ควรเป็นสีเหลือง หรือ เทียนที่ใช้ไหว้พระจะดีกว่า เนื่องจากสีเหลืองสดนั้นเป็นสีของดาวพฤหัส ในแบบอินเดียนั่นเอง แต่การใช้เทียนสีแดงก็ถือว่าไม่ผิด

ส่วนท่านใดที่ไม่สามารถไปไหว้ปัดชงไถ่ส่วยตามวัดได้เนื่องจากไม่สะดวก หรือต้องเดินทางมาไกล ท่านก็สามารถตั้งโต๊ะบูชาองค์ไถ่ส่วยกลางแจ้งได้ และอย่างน้อยควรจะมีรูปองค์ไถ่ส่วยใหญ่ (องค์ประธาน) หรือองค์ไถ่ส่วยประจำปีนั้นๆ ไว้บนโต๊ะบูชาทำพิธีด้วยก็จะดีครับ

#71
เรื่องนี้คงตอบยากแล้วหละครับ เพราะในมหาภารตะไม่ได้เล่าต่อว่าเอกลัพย์นั้นดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไรหลังจากเหตุการณ์นั้น แต่ถ้าเป็นเรื่องจริงแล้วเขาคงล่าสัตว์ด้วยวิธีอื่นได้อีกหลายวิธีครับ ทั้งพุ่งหอก กับดัก ฯลฯ

ต้องรออ่านตอนต่อไปนะครับเรื่อง "เจาะเวลาหาเอกลัพย์" คล้ายๆ กับเรื่อง "เจาะเวลาหาฉินซี" อ่ะ ... อิอิอิ
#72
เรื่องของเอกลัพย์ตัดนิ้วเป็นคุรทักษิณานั้น จะขอเล่าต่อให้ดังนี้

การที่โทรณาจารย์ไม่สอนวิชาให้เอกลัพย์นั้นเพราะโทรณาจารย์ทราบดีว่า เอกลัพย์นั้นถ้าได้เรียนวิชาของตนไปแล้วย่อมมีความสามารถไม่แพ้อรชุนเลย ด้วยว่าโทรณาจารย์นั้นได้เคยลั่นวาจาสาบานไปแล้วเมื่ออรชุนได้ไปขอพรกับตนว่า ตนนั้นจะทำให้อรชุนนั้นเป็นนักแม่นธนูที่เก่งที่สุดในโลก

เมื่อได้ลั่นวาจาไปแล้วย่อมไม่ยอมเสียสัจจะ พอเอกลัพย์มาขอร่ำเรียนท่านก็เห็นใจแต่ได้ตอบปฏิเสธไป พร้อมบอกเหตุผลที่ตนนั้นไม่รับเป็นศิษย์ให้ฟัง และถ้ายังฝืนนับถือตนเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชายิงธนู อนาคตข้างหน้าเอกลัพย์ต้องยอมรับชะตากรรมของตนที่จะได้รับ เอกลัพย์ก็เข้าใจและนับถือในสัจจะที่มีต่ออรชุนของโทรณาจารย์

เอกลัพย์นั้นเมื่อกลับมา ด้วยความมีศรัทธาในโทรณาจารย์จึงได้ทำการปั้นรูปของโทรณาจารย์ขึ้นแล้วใช้แทนรูปจริงของโทรณาจารย์ นั่นย่อมเท่ากับเอกลัพย์เลือกที่จะเป็นลูกศิษย์ของโทรณาจารย์และยอมรับชะตากรรมที่จะมาเยือนในอนาคตแล้ว (โทรณาจารย์ได้เตือนแล้ว)

เอกลัพย์นั้นได้เรียนวิชายิงธนูกับโทรณาจารย์ผ่านทางทิพย์จนมีฝีมือเก่งกาจไม่แพ้อรชุน จนเป็นที่ร่ำลือกล่าวขานมากจนมาถึงหูอรชุนๆ ทราบดังนั้นก็ตรงไปต่อว่าอาจารย์ของตน ว่าทำไมท่านเคยให้สัญญากับตนแล้วว่าจะไม่สอนใครให้มีฝีมือเก่งกว่าหรือทัดเทียมตน โทรณาจารย์ก็เล่าความจริงทั้งหมดให้อรชุนฟังอรชุนก็เห็นใจ แต่ด้วยการเป็นพราหมณ์นั้นจะต้องรักษาไว้ซึ่งสัจจะ โทรณาจารย์จึงไปปรากฏต่อหน้าเอกลัพย์

แล้วกล่าวว่า เอกลัพย์เจ้าได้ร่ำเรียนธนูศาสตร์จากเราไปจนหมดสิ้นแล้ว แต่ด้วยเจ้าออกไปแสดงตนอวดต่อผู้อื่นว่าเจ้ามีฝีมือไม่แพ้อรชุน นี่เองคือชะตากรรมที่เราเคยบอกเจ้าไว้เมื่อครั้นเจ้ามาขอให้เราสอนวิชาให้ เราขอเรียกค่าคุรุทักษิณากับเจ้าด้วย นิ้วหัวแม่ข้างขวาของเจ้าเป็นการตอบแทนเจ้ายินยอมหรือไม่ เพราะถ้าอาจารย์ไม่ทำเช่นนี้อาจารย์ย่อมกลายเป็นผู้เสียสัจจะอันเป็นบาปมหันต์ของพราหมณ์

เอกลัพย์ไม่รอช้ารีบตัดนิ้วโป้งของตัวเองให้แด่โทรณาจารย์เป็นเครื่องคุรุทักษิณาในทันที โทรณาจารย์พอใจในศิษย์คนนี้มากถึงกับกล่าวให้พรแก่เอกลัพย์มากมาย แล้วจึงนำนิ้วหัวแม่มือของเอกลัพย์ไปมอบเป้นเครื่องยืนยันแก่อรชุน อรชุนเห็นเช่นนั้นก็ได้แต่สังเวชใจ และสรรเสริญการกระทำของเอกลัพย์

ตรงนี้บางส่วนไทยเราแปลมาไม่หมด คือเรื่อง
1. การที่พรามหณ์ต้องมาเสียสัจจะนั้น ถือว่าเป็นการสร้างความเสื่อมเสียแก่พราหมณ์ผู้นั้นมาก
2. อรชุนมาต่อว่าโทรณาจารย์ก็เพราะโทรณาจารย์ผิดสัญญาที่ให้ไว้แก่ตน อีกทั้งยังเห็นใจเอกลัพย์ด้วย
3. เอกลัพย์นั้นยินดีมอบนิ้วหัวแม่มือให้เป็นค่าคุรุทักษิณาแด่โทรณาจารย์อย่างเต็มใจ ด้วยทราบดีว่าถ้าตนไม่กระทำเช่นนั้นย่อมเท่ากับเป็นการฆ่าอาจารย์ของตนเองทั้งเป็นนั่นเอง
#73
พระลักษมี (大吉祥天) นั้นจัดเป็น 1 ใน 24 พระธรรมบาล (二十四諸天菩薩) ของพุทธศาสนานิกายมหายาน




โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่างศาสนาพุทธนิกายมหายานกับศาสนาฮินดู นั้นมีการดึงเอาเทพเจ้าและหลักธรรมของแต่ละฝ่ายมาประยุกต์ใช้กันทั้งสองฝ่าย ซึ่ง 24 ธรรมบาลของมหายานนั้นจะมีเทพเจ้าของศาสนาฮินดูอยู่หลายพระองค์เช่น พระอิศวร, พระสรัสวตี, พระพรหม, พระสกันทะ, พระปฤถวี และอีกหลายองค์ อันทำหน้าที่อภิบาลพระพุทธศาสนาและผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมครับ

#74
เอาใจช่วยครับคุณศรีหริทาส จะรออ่านนะครับ

การให้ทานด้วยความรู้ เป็นทานอันยิ่งใหญ่
#75
จริงๆ เรื่องนี้ชาวฮินดูเองเขาก็ไม่เห็นด้วยอย่างแรง ที่จะสังเวยบูชาด้วยชีวิตมนุษย์ และปัจจุบัน ณ ที่แห่งนั้นก็ได้เลิกบูชาด้วยวิธีนี้ไปแล้ว นี่เป็นภาพจากอดีตที่นำมาให้ดูถึงความเชื่อแบบผิดๆ และหวังว่าอนาคตการสังหารสัตว์จำนวนมากที่เนปาลก็จะหมดไปด้วย โดยเปลี่ยนจากการสังหารมาเป็นการปล่อยหรือช่วยชีวิตเขาจะดีกว่า
#76
เรื่องราวในอดีตเกี่ยวกับการบูชายัญด้วยชีวิตมนุษย์อันน่ากลัวความโหดเหี้ยม อำมหิตนั้น ไม่นานนี้ก็ยังมีปรากฏให้พบเห็นอยู่ ซึ่งเรียกได้ว่าน่ากลัวกว่าการสังหารหมู่สัตว์ในการบูชายัญแด่พระแม่กาดิไมเสียอีก

[/SIZE][/FONT]
เรื่องราวนี้เป็นเรื่องราวการบูชายัญแด่พระศิวะ ปางไภรวะของชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็คือ ชนเผ่าชาว "เคอร์มัน" ในประเทศอินเดีย หมู่บ้านแห่งนี้อยู่ห่างจากกัลตาตาไปทางทิศเหนือ 220 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างชายแดนประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในป่าทึบห่างไกลความเจริญ ชาวเคอร์มัน ยังดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวและพืชผัก โดยฝ่ายผู้ชายจะออกล่าสัตว์มาเป็นอาหาร

ประเพณีความเชื่อที่โหดร้ายแห่งนี้จะกระทำกัน หนึ่งครั้งต่อปี ซึ่งมีการจัดเป็นประจำทุกปี โดยพิธีบูชายัญนี้มีชื่อเรียกว่า "กาจัน" อันเป็นประเพณีที่ชนเผ่านี้จัดขึ้นเพื่อบูชาต่อพระไภรวะ (พระศิวะ) ผู้เป็นใหญ่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขอพรต่อองค์พระศิวะเทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ของเขา ให้มา ประทานพรให้พวกเขาได้รับความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องอาหาร การกินปลอดภัยจากศัตรูและสิ่งร้าย รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บด้วย โดยสิ่งที่จะนำมาเป็นเครื่องสักการะ บูชายัญต่อองค์เทพผู้ยิ่งใหญ่ของเขา เพื่อให้เทพเจ้าทรงพอพระทัย ก็คือการได้ถวายหัวของบุตรชายคนแรก

ดังนั้นชนเผ่าแห่งนี้จะเข้มงวดให้เรื่องของการแจ้งจำนวนสมาชิกของครอบครัว เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีภรรยาตั้งท้องเป็นบุตรคนแรกจะต้องแจ้งให้ทางหัวหน้า เผ่าทราบ เพราะจะได้นำมาเป็นเครื่องบูชายัญในพิธีกรรมดังกล่าว





ซึ่งหากในปีไหนมีเด็กชายคนแรกของครอบครัวเกิดเยอะ พวกเขาก็ยินดีปรีดาเป็นอย่างมากที่จะได้ทำการบูชายัญให้เป็นที่พอใจต่อองค์ พระศิวะ เนื่องจากมีจำนวนศีรษะของเด็กชายมาประกอบพิธีหลายหัวนั่งเอง

พิธีบูชายัญนี้จะถูกกำหนดขึ้นในคืนวันเพ็ญขึ้น
15
ค่ำ ในค่ำคืนแห่งเทศกาล ศิวาราตรี ทุกคนในหมู่บ้านจะออกมาชุมนุมกันโดยมีหัวหน้าเผ่าเป็นประธาน จากนั้นจะมีการ้องรำทำเพลงเพื่อสรรเสริญต่อเทพศิวะจบแล้ว หัวหน้าเผ่าจะสั่งให้คนที่เป็นพ่อของนำบุตรชายคนแรกของครอบครัวมาที่แท่น บูชาต่อเบื้องหน้ารูปสลักศิวเทพ

จากนั้นผู้เป็นพ่อจะใช้มีดซึ่งคมกริบ ฟันคอลูกชายของตนเองจนขาดออกจากกัน แล้วจึงนำหัวของบุตรชายไปใส่ ไว้ในที่แขวนแล้วนำหัวของลูกชายไปร่วมในพิธีเต้นรำต่อไป และเมื่อหลังเสร็จพิธี แล้วผู้เป็นพ่อต้องนำศีรษะของลูกชายกลับไปแขวนไว้ในบ้านของตน จนกว่าศีรษะนั้นจะผุสลายไปเอง ถ้ายังไม่ผุสลายก็ให้นำมาร่วมในพิธีบูชายัญของปีต่อๆ ไป
#77
คิดถึงถ้วยมันอ่ะ เลยเอามาพูดซะ

อีกอย่างในวันงาน มารู้ที่หลังว่าเด็กมันเอาเงินค่าไฟมาช่วยเจ้าถ้วยไปแค่ 200 บาท

ซึ่งถือว่าน้อยมากเกินไป วันนั้นเอาไปยัดให้ถ้วยก็ไม่ได้เช็ค มารู้ที่หลังว่าให้ไปแค่นั้น

เลยด่าไปให้แล้วว่าให้น้อยไป ยังอารมณืเสียไม่หายให้เราไปยัดให้แต่เค็มจ่ายมาได้แค่ 200 บาท

พวกที่โต๊ะว่ากันทุกคนว่า ให้ไปได้ไงแค่นั้น เพราะเขาบอกว่าจะให้ถ้วยอย่างต่ำก็ 500 ขึ้นอ่ะ

ฝากขอโทษถ้วยด้วยนะ พี่เพิ่งมารู้ไม่นานนี้เอง
#78
ปุจฉา - วิสัชนา

1. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู คิดอย่างไรกับเพศที่สาม โดยเฉพาะกะเทย

- ศาสนาฮินดูก็เหมือนศาสนาทั่วไป ที่มีหลายนิกาย บางนิกายก็บัญญัติกฏว่าการรักเพศเดียวกันเป็นบาป เพราะทำให้สิ้นสายพันธุ์ บ้างก็ว่าไม่เป็นบาปเพราะก็เป็นคนเหมือนกัน บ้างก็ว่าไม่บาปเพราะถูกลิขิตมาให้เป็นเช่นนั้น หาอ่านได้จากตำราโหราศาสตร์อินเดียที่มีการกล่าวไว้เรื่องการทำมุมของดวงดาวอันทำให้เจ้าชะตาอ่อนแอในเรื่องเพศจนไม่เป็นเพศของตัวเองหรือรักเพศเดียวกัน

ยกตัวอย่างในการแบ่งเพศของดาวเคราะห์ ที่จัดให้พระอาทิตย์ พระอังคาร พระพฤหัส เป็นเพศชาย, พระจันทร์ พระศุกร์ พระราหู เป็นเพศหญิง, พระพุธ พระเสาร์ พระเกตุ (เกตุสากลที่ตรงข้ามราหูตลอด) เป็นไร้เพศ และบางตำราก็กล่าวว่ามีพระราหูด้วย

ดาวเสาร์นั้นจะเป็นดาวไร้เพศที่ออกลักษณะผู้ชายมากกว่า ถ้าเป็นเกย์ก็จะเป็นพวกชอบรุก ถ้าเป็นทอมดี้ ก็จะเป็นทอม
ดาวพุธนั้นจะเป็นดาวไร้เพศที่ออกสักษณะผู้หญิงมากกว่า ถ้าเป็นเกย์ก็มักจะเป็นพวกชอบรับ ถ้าเป็นทอมดี้ ก็จะเป็นดี้
ส่วนราหูและเกตุ นั้นยังมีข้อแย้งกันในวงการโหรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการลงมติร่วมกันในสภาพโหรที่มีชื่อว่าเกราล่า เมืองนาดี ว่าจะจัดราหูเข้าร่วมดาวไร้เพศด้วยหรือไม่ เพราะจากการเก็บสถิติดวงชะตา จะเห็นว่าผู้เป็นรักร่วมเพศนั้นจะมีราหูหรือไม่ก็เกตุเข้าร่วมด้วยตลอด จนตอนหลังจากการประชุมสภาโหรเกราล่า จึงลงมติว่าให้จัดราหูเป้นดาวไร้เพศด้วย ในรูปแบบไบเซ็กส์ชวล คือ สามารถมีสัมพันธ์ทางเพศกับชายก็ได้หญิงก็ดี

โดยสรุปว่าให้ดูว่าลัคนาหรือเจ้าอธิปติลัคน์ (เจ้าเรือนลัคน์) ไปสัมพันธ์กับดาวไร้เพศหรือไม่ และถ้าเป็นชายโดยกำเนิดให้ดูพระจันทร์ว่าสัมพันธ์ด้วยไหม ถ้าเป็นหญิงโดยกำเนิดก็ให้ดูดาวอังคารสัมพันธ์ด้วยไหม

และถ้าสัมพันธ์ทั้งหมดก็อย่าเพิ่งฟันธงลงไปว่าเขาเป็นเกย์หรือทอมดี้ เพราะจะแบ่งกรณีได้อีกมาก เช่น เป็นเกย์เป็นทอมดี้เลย, เขาจะอ่อนแอในสมรรถนะทางเพศ, มีบุคลิกภาพคล้ายเพศตรงข้ามแต่ไม่เป็นยังชอบเพศตรงข้ามเหมือนเดิม ส่วนการวิเคราะห์ดาวอื่นร่วมด้วยนั้นผมไม่ขอเล่าเพราะเป็นศาสตร์ชั้นสูงและเข้าใจยากสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานทางโหราศาสตร์ที่แน่นพอ

สรุปตามทัศนคติของผม การเบี่ยงเบนทางเพศถือว่าไม่ผิด เพราะถูกกำหนดลงมาแล้วตั้งแต่คุณถือกำเนิด อีกทั้งธรรมชาติไม่ได้สร้างเหรียญให้มีแค่ 2 หน้า หรือ ทวิธรรม แต่ความจริงแล้วเหรียญนั้นมีสามหน้า คือ ด้านขอบที่เป็นตรงกลางระหว่างด้านหัวกับด้านก้อยด้วย เรียกว่า ตรีธรรม


2. เคยได้ยินว่าเทวสถานบางแห่งมีกะเทยเป็นนางระบำและมีกะเทยบูชาโดยเฉพาะ มีจริงไหม ที่ไหน และทำไมเป็นเช่นนั้นคะ

- จริงครับ และบางแห่งจะให้เกียรติคนที่เป็นเกย์มาก โดยเฉพาะในเวลาที่เด็กเกิดใหม่ เขาจะนำเด็กที่เพิ่งกำเนิดมาให้กะเทยพวกนี้ให้พรและเจิมให้ เพราะเชื่อว่าจะได้พลังทั้งศิวะศักติโดยสมบูรณ์


3. คนอินเดียโดยทั่วไป มีทัศนคติอย่างไรต่อคนกลุ่มนี้

- อย่างที่บอกไปในข้อ 1 คือ ต่างก็มีทัศนคติต่างกันตามความเชื่อ ซึ่งเรื่องนี้เราบังคับเขาไม่ได้ บางนิกายก็ให้ความยอมรับเกย์สูง บางนิกายก็ปิดกั้นอย่างมาก แต่เท่าที่รู้มาการปิดกั้นไม่ยอมรับนั้นมีน้อยกว่า เหมือนในสังคมบ้านเราหล่ะครับ

4. เหมือนจะเคยทราบว่ามีเทวรูปพระเทวีองค์หนึ่ง ประทับบนไก่ ได้รับการบูชาจากกะเทยมาก ใช่หรือไม่และถ้าใช่ ท่านคือใครและเพราะอะไร


- พระเทวีองค์นั้น คือ ปางพหุจระ หรือ บะฮุชะระ (बहुचर - BAHUCHARA) หรือที่เจ๊ถ้วย (นางโชว์) ชอบเรียกว่าพระแม่อุมาตากี ปางนี้ถือเป็นปางหนึ่งของพระแม่อุมา โดยถ้าจำไม่ผิดตำนานกล่าวว่าพระแม่ได้ลงมาเกิดเป็นสตรีนางหนึ่งร่วมเดินทางไปกับกองคาราวาน แล้วกองคาราวานนั้นก็ถูกโจรผู้หนึ่งดักปล้น โจรนั้นแค่ปล้นไม่พอยังจะทำการฉุดพระแม่ไปเป็นภรรยาด้วย พระแม่เลยสาปให้โจรผู้นั้นกลายเป็นเพศหญิงไป โจรผู้นั้นก็ตกใจเมื่อกลายร่างเป็นผู้หญิง

เมื่อโดนสาปให้กลายร่างเป็นสตรีเช่นนั้นก็สำนึกผิดในบาปที่ตนนั้นได้กระทำ จึงเฝ้าสวดมนต์อ้อนวอนขอให้พระแม่ประทานอภัยให้เพราะตนนั้นได้สำนึกในบาปที่ก่อแล้วและต่อไปจะไม่เป็นโจรอีก พระแม่จึงพอพระทัยแล้วเสด็จมาปรากฏต่อหน้าโจรผู้นั้น แล้วถอนคำสาปให้จนโจรผู้นั้นกลับร่างมาเป็นชายอีกครั้ง

แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าเมื่อใดที่โจรผู้นั้นจะมาทำการสักการะพระองค์ โจรผู้นั้นต้องแต่ตัวเป็นสตรีมาทำการสักการะและฟ้อนรำให้พระแม่ดูทุกครั้งเพราะพระองค์ทรงโปรดปรานอีกทั้งเพื่อให้โจรผู้นี้ระลึกในบาปที่ตนก่อไว้เสมอ โจรนั้นก็รับปากว่าจะกระทำตาม นี่จึงเป็นตำนานของเหล่ากะเทยที่มาทำหน้าที่ฟ้อนรำถวายพระแม่นับแต่นั้นมา แล้วจึงนิยมเรียกปางนี้ว่าเป็นพระแม่ของกะเทยโดยแท้จริง

5. อันนี้ส่วนตัวนะคะ เมื่องานแห่พระแม่ที่สีลมครั้งล่าสุด ดิฉันเข้าไปช่วยชักรถทรงพระกฤษณะแล้วกำลังจะยื่นมือไปแตะรถ เจ้าหน้าทีร้องห้ามบอก  ห้ามผู้หญิงจับ เอ่อ...ดิฉันควรจับไหมคะ เพราะดิฉันก็เป็นผู้ชาย (ที่นุ่งห่มอาภรณ์สตรี) แต่วันนั้นไม่ได้จับเพราะเห็นว่าเราสวมอาภรณ์สตรีอยู่ (ข้อนี้ค่อนข้างปัญญาอ่อน)

- การห้ามสตรีไปแตะต้องรถทรง หรือ เทวรูปนั้นเป็นกฏที่เขาวางไว้นานแล้ว โดยชาวฮินดูจะทราบดีว่ามีเหตุผลอะไร แต่ที่เราเห็นในภาพยนต์หรือในความเป็นจริงว่ามีสตรีไปสัมผัสองค์ด้วย นั่นก็เพราะเธอผู้นั้นทราบดีว่าทำไมเขาจึงห้าม

ที่ห้ามก็เพราะชาวฮินดูถือว่าในบางขณะสตรีนั้นมีประจำเดือน การที่สตรีมีประจำเดือนนั้นเขาถือว่าเป็นช่วงที่มีมลทิน ถ้าไปถูกต้องหรือสัมผัสเทวรูปจะทำให้เทวรูปนั้นเกิดมลทินตามไปด้วย บางแห่งถึงขนาดติดป้ายไว้เลยว่าถ้าสตรีคนใดมีประจำเดือนห้ามเข้ามาในมณฑลพิธีโดยเด็ดขาด

ดั่งตัวอย่างในเรื่องมหาภารตยุทธ ที่นางโทราปทีมีประจำเดือน แต่ถูกทุหศาสันลากไปท่ามกลางสภา ซึ่งนางได้กล่าวตอบไปว่าจะอย่างไรก็ตามแม่สวามีของนางจะเสียนางเป็นเครื่องเดิมพันการพนัน ก็ไม่สามารถลากเธออกไปที่สภาได้เพราะเธอกำลังมีประจำเดือน ถ้าเมื่อใดเธอไปปรากฏที่กลางสภากรุงหัสตินาปุระแล้วความฉิบหายจะเกิดขึ้นแก่วงศ์เการพในทันที เพราะเท่ากับนำมลทินนั้นเขาสู่หัวใจสำคัญของเมืองคือสภาเมืองนั่นเอง แล้วเรื่องก็เป็นไปตามนั้นคือ ลูกๆ ของท้าวธฤตราษฎร์แห่งตระกูลเการพในตอนทำสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้นต่างล้มตายกันเกือบหมดทั้ง 100 คน แล้วตระกูลเปารพก็กลับเข้ามาครองครองอาณาจักรแทน ด้วยเพราะลางร้ายได้เกิดขึ้นตั้งแต่ทุหศาสันลากนางโทราปทีออกไปกลางสภาแล้ว

6. ในเทวตำนานมีเรื่องของกะเทยบ้างไหมคะ นอกจากท้าวอิลา

- มีอีกมากครับ ทั้งเรื่องพระเสาร์โดนเมียสาป, เรื่องของศิขัณฑินในมหาภารตะ, เรื่องอรชุนแต่งหญิง, พรหมฤษีนารทโดนสาปให้กลายเป็นสตรี และตำนานท้องถิ่นอีกมากมาย
เกย์ หรือ รักร่วมเพศ ทางภาษาฮินดีอย่างเป็นทางการเรียกว่า "สมะไลมกิคะ (समलैंगिक)" และเรียกผู้ที่เป็นเกย์ว่า "สมะลิงกคามินฺ (समलिङ्गकामिन्)" หรือ เรียกว่า ฮิจะรฺา (हिजड़ा) อันเป็นคำที่ให้เกียรติกะเทยชั้นสูง ประมาณพวกขันทีในวังหรือพวกกะเทยที่ทำหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้า แล้วยังมีศัพท์เรียกอีกเยอะที่ออกเสียงตามภาษาเปอร์เซียเช่น (अंग्रेज़ी: Gay; फ्रांसीसी: Gay) และ (अंग्रेज़ी: Lesbian; फ्रांसीसी: Lesbiennes)"
#79
อิฑาผู้อาภัพ จนพบรักกับพระพุธ

กาลครั้งหนึ่งในสมัยที่พระมนูไววัสวัต (वैवस्वत मनु) ผู้เป็นโอสรแห่งสุริยเทพวิวัสวาน (विवस्वान) และเป็นปฐมกษัตริย์องค์แรกของโลกในกัลป์นี้ มาวันหนึ่งพระองค์ทรงดำริกับเหล่าปุโรหิตและองคมนตรีขึ้นว่า



“เรานั้นปกครองโลกมานานมากแล้ว จนบัดนี้ก็ยังหามีโอรสสืบทอดราชบัลลังก์สักที อันพระเชษฐาของเราทั้งพระยมและพระศนิ (พระเสาร์) ทั้งสองพระองค์นั้นก็มีโอรสกันหมดแล้ว เหลือเพียงแต่เราเท่านั้นที่ยังไม่มี เรื่องนี้นั้นเป็นความทุกข์ของเราโดยแท้”


ฝ่ายเทพฤษีอคัสตยะ (अगस्त्य) ผู้เป็นราชครูปุโรหิตได้ฟังมหาราชาตรัสเช่นนั้นจึงเกิดความเมตตาสงสาร แล้วตกลงอนุเคราะห์ที่จะทำพิธีมหายัชญบูชาเพื่อขอบุตรให้กับพระมนูไววัสวัต โดยในพิธีนี้ฤษีอคัสตยะได้ทำการเชิญพระวรุณผู้เป็นชนกกับพระมิตรา (मित्रा) ผู้เป็นปิตุลา มาเป็นประธานร่วมกันทั้ง 2 องค์
พิธีขอบุตรของฤษีอคัสตยะได้ดำเนินไปเป็นเวลาหนึ่งเดือน โดยที่ฤษีอคัสตยะนั้นทำการประกอบพิธีโดยไม่ได้พักผ่อนนอนหลับเลยตลอด 1 เดือนจันทรคติที่ผ่านมา เมื่อครั้นพิธีใกล้จะสำเร็จครบกำหนดพระจันทร์จะเคลื่อนโคจรมาเสวยองศาราศีเดิมที่เริ่มกระทำพิธี


ในค่ำคืนก่อนถึงฤกษ์เสร็จสิ้นพิธีนั้นด้วยความเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลียทำให้ฤษีอคัสตยะเผลอหลับไปชั่วขณะหนึ่งในช่วงที่กำลังร่ายมนต์ ทำให้พิธีนั้นเกิดความบกพร่อง เมื่อพระจันทร์โคจรเข้าสู่องศาฤกษ์เดิมในวันเริ่มพิธี ก็ปรากฏว่ามีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเดินออกมาจากกองอัคคี พระมนูจึงรับเด็กผู้หญิงคนนั้นไว้เป็นราชธิดา แล้วพระราชทานนามว่า “อิฑา” ซึ่งแปลว่า แม่โคหรือสวรรค์


แม้พระมนูไววัสวัตจะได้ราชธิดามาเป็นทายาทแล้วก็ตาม พระองค์นั้นก็ยังไม่เป็นที่พอพระทัยเนื่องจากพระองค์มีพระประสงค์ที่จะได้พระโอรสไว้สืบสกุลมากกว่า จึงได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากับเทพฤษีวสิษฐ์ (वसिष्ठ) ผู้เป็นโอรสของพระมิตราให้ช่วยเหลือ


ฤษีวสิษฐ์ตอบตกลง โดยจะทำพิธีมหายัชญขึ้นอีกครั้งหนึ่งเพื่อเปลี่ยนเพศของนางอิฑาให้กลายมาเป็นบุรุษ พิธีนี้มีชื่อว่า “ปุงศวนะ หรือ ปุงคะศยะ เตวเนนะ” (พิธีทำการเปลี่ยนเพศทารกนี้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์โหราศาสตร์ ชื่อ คัมภีร์มุหูรตะ)


พิธีได้ดำเนินไปครบ 1 รอบนักษัตรที่พระจันทร์โคจรไปโดยสมบูรณ์ไม่มีข้อบกพร่อง ทำให้ทารกหญิงอิฑาเปลี่ยนจากเพศหญิงมาเป็นเพศชายได้ โดยฤษีวสิษฐ์ได้มอบนามให้ใหม่ว่า “สุทยุมัน” หรือ “อิลา”


เจ้าชายสุทยุมันได้เติบโตเป็นหนุ่มรูปงามราวกับสุริยเทพ มีนิสัยชื่นชอบกีฬาล่าสัตว์เป็นอย่างยิ่ง จนมาวันหนึ่งเจ้าชายได้พาบริวารออกไปล่าสัตว์บริเวณริมเขาไกรลาส แล้วติดตามกวางตัวหนึ่งซึ่งหนีเตลิดเข้าไปยังสวนขวัญของพระอุมาเทวี โดยไม่ทราบว่า ณ สวนขวัญแห่งนี้พระอุมาได้สาปไว้ เพื่อไม่ให้ใครเข้ามารบกวนในยามทรงสำราญ


เรื่องนี้มีที่มาจากครั้นหนึ่งพระศิวะและพระอุมาเทวีกำลังทรงสำราญอยู่ในสวนขวัญ ได้มีฤษีนามว่า “สุนกะ” ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระศิวะโดยไม่แจ้งล่วงหน้า แล้วมาพบพระศิวะกับพระอุมาเทวีกำลังทรงสำราญกันอยู่ ทำเอาพระอุมาเทวีเกิดความอายและกริ้ว เลยออกคำสาปไปว่า “นับแต่นี้ไปบุรุษใดบังอาจล่วงเข้ามาในสวนขวัญ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผู้นั้นจะกลายร่างเป็นสตรีในทันที”


เจ้าชายสุทยุมันไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน จึงล่วงเข้าไปในดินแดนต้องห้ามนี้ ทันใดนั้นร่างกายของเจ้าชายสุทยุมันและเหล่าบริวารก็เปลี่ยนไปกลายร่างเป็นสตรีในทันที

เจ้าชายตกใจและเสียใจมากกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมากที่ต้องกลายมาเป็นสตรี จึงไม่กล้าเสด็จกลับเมืองแล้วซมซานเตลิดไปในป่าลึกเข้าไปอีก จนมาถึงทะเลสาบแห่งหนึ่งบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมีทิวทัศน์งดงามร่มเย็นยิ่ง ด้วยความเหน็ดเหนื่อยนางอิฑาและบริวารจึงลงไปชำระร่างกายเพื่อคลายความเน็ดเหนื่อยกันในทะเลสาบแห่งนั้น


ภายใต้ทะเลสาบมรกตแห่งนี้เอง เป็นที่ตั้งของวังพระพุธ ผู้เป็นโอรสของจันทรเทพกับนางตาราใช้บำเพ็ญตบะ ในขณะที่พระพุธกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ก็ต้องตกใจออกจากตบะในทันที ที่ได้ยินเสียงการเล่นน้ำของนางอิฑาและบริวาร


เมื่อพระพุธลืมตามองขึ้นไปดู ก็เห็นนางอิฑาอยู่ท่ามกลางเหล่าบริวาร ก็เกิดหลงรักประดุจถูกศรของกามเทพปักเข้ากลางหัวใจในทันที พระพุธไม่รอช้าพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำตรงเข้าอุ้มนางอิฑาไว้ในอ้อมกอดแล้วดำลงกลับไปยังวิมานในทันที


นางอิฑาก็ตกมาเป็นชายาของพระพุธนับจากวันนั้น แล้วอยู่ร่วมครองสุขกับพระพุธด้วยความรักซึ่งกันและกันอย่างสุดหัวใจ จนเวลาล่วงเลยไปเป็นปี นางอิฑาก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้นจนครรภ์นั้นแก่ใกล้คลอดเต็มที ซึ่งตามประเพณีโบราณนั้นสตรีนั้นต้องกลับคืนไปยังบ้านของบิดาตนเพื่อทำการคลอดบุตร
ด้วยต้องกระทำตามประเพณีพระพุธจำต้องต้องส่งนางอิฑากลับไปยังบ้านเรือนของผู้เป็นบิดา ทำให้ทั้ง 2 ต่างอาลัยรักกันยิ่งนักเมื่อจำต้องจากกัน พระพุธได้เนรมิตบุกษกขึ้นมาลำหนึ่งแล้วบรรจงอุ้มนางอิฑาเมียรักขึ้นประทับบนบุษบก แล้วกล่าวด้วยความอาลัยอาวรณ์ว่า

“โอ้อิฑายอดรักของข้า การที่เราต้องจากกันในคราวนี้ เราทั้งสองคงจะไม่ได้พบกันอีก พี่นั้นไม่อยากจากเจ้าไปเช่นนี้เลย แต่นี่เป็นเพราะพระพรหมท่านได้ลิขิตไว้แล้วจำพี่ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโอรสของเราได้ถือกำเนิดมาดูโลกแล้วของให้เจ้าตั้งชื่อลูกของเราว่า ปุรูรวัส โดยโอรสของเรานั้นในอนาคตจะได้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจันทรวงศ์ ด้วยตัวพี่ผู้เป็นบิดานั้นสืบเชื้อสายมาจากพระจันทรเทพ ราชวงศ์ของเราจะปกครองแผ่นดินตลอดลุ่มแม่น้ำยมุนาตลอดไปจนถึงฟากฝั่งแม่น้ำสินธุ”


“แล้วต่อไปในภายภาคหน้าน้องก็จะได้กลับร่างกลายคืนเป็นบุรุษอีกครั้ง แล้วจะได้มีมเหสีคู่บัลลังก์ โดยจะมีราชาโอรสนามว่า อิกษวากุ โอรสของน้องผู้นี้จะเป็นปฐมกษัตริย์แห่งสุริยวงศ์ ตามวงศ์ของน้องผู้เป็นบิดา อันมีเชื้อสายมาจากองค์สุริยเทพ โอรสของน้องผู้นี้จะปกครองอาณาจักรอโยธยาทางลุ่มแม่น้ำสรยุและอจิรวดี”


“แล้วอีกเรื่องที่พี่จะกล่าวโดยให้น้องจำไว้ให้ดีว่า ผู้ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยให้น้องกลับคืนเป็นบุรุษได้อีกครั้งนั้นก็คือ ฤษีนารทผู้เป็นพรหมบุตรนั่นเอง”


พระพุธตรัสจบก็เนรมิตให้บุษบกนั้นลอยขึ้น ทั้งสองต่างอาลัยอาวรณ์รักกันยิ่งนัก ต่างกรรแสงร่ำไห้ปานใจจะขาดที่ต้องจากกันตลอดไปนับจากวันนี้ แล้วบุษบกก็ลอยสูงขึ้นมุ่งตรงพานางอิฑากลับไปคืนสู้บ้านเมืองเกิดในทันที


เมื่อนางอิฑากลับมาถึงบ้านถึงเมือง ก็ทรงเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้พระมนูไววัสวัตฟังตั้งแต่ต้นจนจบ พระมนูได้สดับฟังก็เศร้าพระทัยยิ่งนัก แล้วต่อมานางอิฑาก็ได้คลอดโอรสและตั้งชื่อตามที่พระพุธผู้เป็นบิดาได้กำหนดไว้คือ “ปุรูรวัส”


ในเวลาต่อมาพรหมฤษีนารทได้แวะเดินทางมาเยี่ยมเยือนพระมนูไววัสวัต แล้วทราบเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดก็เกิดความสงสาร จึงเรียกนางอิฑาเข้ามาแล้วแนะนำว่า


“อิฑา การที่เจ้าต้องมาประสบเคราะห์กรรมครั้งนี้ก็เพราะเจ้านั้นล่วงละเมิดเข้าไปในสวนขวัญของพระแม่ปารวตี ซึ่งพระมาตาเทวีได้สาปไว้ เคราะห์กรรมครั้งนี้จะบรรเทาลงได้ก็ต่อเมื่อเจ้านั้นได้ทำการสวดมนต์บูชาถวายแด่พระมเหศวรีปารวตีเท่านั้น โดยมนต์นี้มีชื่อว่านวากษรเจ้าจงจำไว้ให้ขึ้นใจ” แล้วพระนารทมุนีก็สอนมนต์นั้นให้แก่นางอิฑาในทันที


นางอิฑาไม่รอช้ารีบตรงไปยังเทวาลัยของพระแม่ปารวตีในทันที แล้วทำพิธีบูชาสวดมนต์อ้อนวอนพระมเหศวรีในทันที พระเทวีได้สดับฟังมนต์นี้ก็เกิดพอพระทัย และเกิดความสงสารขึ้น จึงทูลขอให้พระศิวะเจ้าช่วยเสด็จไปประทานพรเพื่อลดคำสาปให้แก่นาง ทันใดนั้นเองพระศิวะก็เสด็จมาปรากฏต่อหน้าของนางอิฑา โดยทรงตรัสว่า


“อิฑา อันพระปารวตีมเหสีของเรานั้นทูลขอให้เรานั้นมาประทานพรช่วยเหลือเธอ เรานั้นเห็นแก่นางจะลดคำสาปให้เจ้าตามที่เจ้าประสงค์ นับแต่นี้ไปเจ้าจะมีร่างเป็นสตรีหนึ่งเดือนและเป็นบุรุษหนึ่งเดือนสลับกันไป เรานั้นช่วยเจ้าได้เพียงเท่านี้” แล้วพระศิวะก็อันตรธานหายไป


นางอิฑาก็มีชีวิตเป็นหญิงหนึ่งเดือนเป็นชายหนึ่งเดือนนับจากนั้นมา โดยเมื่อเป็นชายในร่างสุทยุมันก็จะทรงออกมาว่าราชการตามปกติ แต่เมื่อกลับร่างเป็นหญิงในร่างอิฑาก็จะเก็บตัวอยู่ในวังแล้วให้พระโอรสปุรูรวัสออกว่าราชการแทน

กาลผ่านไปสุทยุมันก็ได้อภิเษกมเหสีองค์หนึ่ง แล้วได้ให้กำเนิดพระโอรสนามว่า “อิกษวากุ” เมื่อควรแก่เวลาเมื่อเจ้าชายปุรูรวัสกับเจ้าชายอิกษวากุเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ราชาสุทยุมันก็ได้ทำการแบ่งราชสมบัติมอบให้แก่เจ้าชายทั้งสองพระองค์ปกครองตามที่พระพุธได้ตรัสไว้ในกาลก่อน แล้วออกบวชเป็นฤษีสละชีวิตทางโลกในเวลาต่อมา

ฝ่ายพระนารทมุนีเมื่อทราบว่าราชาสัทยุมันได้สละราชสมบัติออกบวชอยู่ในป่า จึงได้แวะมาเยียมเยือน เมื่อทราบว่าสัทยุมันนั้นต้องมีร่างเป็นหญิงชายสลับกันไปทุกเดือนเช่นนั้น จึงแนะนำให้สัทยุมันทำการบูชาพระวิษณุเจ้า โดยกล่าวว่า

“สัทยุมันเอ๋ย การที่เจ้าจะกลับร่างเป็นชายได้โดยสมบูรณ์นั้น เห็นจะมีแต่พระวิษณุเจ้าเพียงผู้เดียวที่สามารถช่วยเจ้าได้ เจ้าจงหมั่นบำเพ็ญเพียรภาวนามุ่งตรงภักดีแด่พระหฤษีเกศเจ้าเถิด พระองค์นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้เป็นใหญ่ในการกำจัดซึ่งเคราะห์กรรมของเหล่าสาวกของพระองค์ โดยไม่เคยทรงทอดทิ้ง จนได้รับพระนามว่า พระเวงกาเฏศวร อันหมายถึง พระผู้เป็นเจ้าผู้กำจัดบาปทั้งปวงนั่นเองจงกระทำตามที่เราแนะนำอีกครั้งเถิด”


แล้วพรหมมุนีนารทก็จากไป ราชาสัทยุมันนั้นไม่รอช้าได้ทำการบำเพ็ญตบะภักดีอย่างยิ่งยวดถวายแด่พระวิษณุเจ้าอยู่หลายปี จนพระวิษณุเจ้าทรงพอพระทัยยิ่ง จึงเสด็จมาปรากฏพระองค์แล้วตรัสถามว่า

“สัทยุมัน เรานั้นพอใจในความภักดีของเธอที่มีต่อเราเป็นอย่างยิ่ง เธอนั้นปรารถนาในสิ่งใดฤๅ จงบอกแก่เรามาเถิดผู้เป็นสาวกแห่งเรา”

“ข้าแด่พระผู้เป็นเจ้าผู้ปลดเปลื้องบาปทั้งปวงให้แก่เหล่าสาวก นับว่าเป็นพระเมตตาของพระองค์ยิ่งนักที่ไม่ทรงทอดทิ้งสาวกผุ้ต้อยต่ำเช่นหม่อมฉัน ซึ่งเป็นเพียงฝุ่นธุลีใต้เบื้องพระบาทของพระองค์ ข้าพระองค์ปรารถนาเพียงว่า ขอให้ข้าพระองค์ได้มีโอกาสกลับร่างเป็นบุรุษเพศตลอดไปและให้ข้าพระองค์บรรลุซึ่งโมกษะธรรมเข้าร่วมกับพระปรมาตมันแห่งพระองค์ด้วยเถิด ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสิ่งใดอีกแล้วในชีวิตนี้”


พระผู้เป็นเจ้าผู้ปลดเปลื้องบาปให้แก่เหล่าสาวกผู้ภักดี จึงแย้มพระสรวลแล้วตรัสว่า “จงสมดั่งปรารถนาที่เจ้าต้องการเถิด” แล้วเอื้อมพระหัตถ์อันอ่อนโยนวางลงไปที่ศีรษะของสัทยุมันเพื่อเป็นการแสดงพระเมตตา และประทานพร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับยังมหาวิษณุโลก

นับแต่นั้นมาสัทยุมันก็ได้กลายร่างเป็นบุรุษเพศตลอดไป และเมื่อถึงกาลอายุขัยเขาก็ได้บรรลุซึ่งโมกษะเข้าสู่โลกทิพย์ เรื่องราวอันพิศดารและความรักของอิฑาก็จบลงเพียงเท่านี้


แต่เรื่องนี้ก็แฝงไว้ซึ่งวิชาโหราศาสตร์อยู่ตอนหนึ่งคือ ในเรื่องเพศของดาวพุธ ซึ่งในโหราศาสตร์ภารตะกล่าวว่าพระพุธนั้นมีเพศเป็นกะเทย (นปุงสกลิงค์) ก็คงจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย เพราะพระพุธนั้นมีชายาเป็นผู้ชายนั่นเอง อีกทั้งในเรื่องนี้ยังกล่าวถึงการเปลี่ยนเพศทารกที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์โหราศาสตร์มุหูรตะของชาวภารตะอีกด้วย


อีกทั้งยังเป็นการบอกให้รู้ถึงตำนานที่มาที่ไปของราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 2 ราชวงศ์ของอินเดียโบราณ คือ สุริยวงศ์ของพระรามและจันทรวงศ์ของพระกฤษณะ ว่ามีต้นกำเนิดมาจากที่ใด


ซึ่งสายสุริยวงศ์นั้นถือกำเนิดเผ่าพันธุ์มาจากสุริยเทพ – พระมนูไววัสวัต – สัทยุมัน (อิฑา) – อิกษวากุ (ปฐมกษัตริย์สายสุริยวงศ์) ส่วนสายจันทรวงศ์ก็ถือกำเนิดเผ่าพันธุ์มาจาก จันทรเทพกับนางตารา – พระพุธกับนางอิฑา – ปุรูรวัส (ปฐมกษัตริย์สายจันทรวงศ์) โดยนับจากสายตระกูลของผู้เป็นบิดาเป็นหลัก

ส่วนเรื่องอื่นเดี๋ยวผมจะทยอยมาเล่าให้ฟังกันอีกนะครับ ถือว่าห้องนี้เป็นห้องแห่งนิทานตำนานเทพและห้องแห่งวรรณกรรมอินเดียไปก็แล้วกันนะครับ สวัสดี
#80
ขออนุญาตเปิดกระทู้เล่านิทานกันหน่อยนะครับ แต่นิทานที่ผมจะเล่านี้จะเล่าแบบอาร์ทตัวพ่อนะ คือ เล่าตามใจฉันอะ วันนี้อยากเล่าเรื่องอะไรก็เล่า ห้ามบังคับ และไม่เรียงตามเหตุกาลนะครับ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า  ถ้าเรียงตามเหตุกาลของนิทานอินเดียแล้วจะยากมาก เพราะสับสนปนกันเละ

เอาหล่ะครับขอออกแขกก่อนเลยแล้วกัน จะได้เปิดม่านการแสดงนับจากบัดนี้เป็นต้นไป อ้าว...เชิด

อันเลวังกา ฮ่าฮา ฮ้าฮา ฮ่าฮา อ้าวเร่เข้ามา  มาดูลิเก  เฮเฮเฮเฮ้  เห่เฮ เห่เฮ  เห่เฮ  เห เฮ...ร้องไม่เป็นล่ะ พอดีก่า

อ้าวเปิดม่านเรื่องแรกกันเลยดีกว่า ไปเลยดีกว่าพ่อแม่พี่น้องคร๊าบบบบบบบบบบบบ