Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - phorn456

#1
   ปริเฉทที่  ๑๑   
                    เสด็จโกศลชนบท
๑.  โกศลชนบท  ตั้งอยู่ในมัธยมชนบท ภาคเหนือแห่งชมพูทวีป
      มีกรุงสาวัตถีเป็นพระนครหลวง  มีอาณาเขตดังนี้
          (๑)  ด้านเหนือ  จด  กุรุชนบท  หรือ  แดนเขาหิมพานต์.
          (๒)  ด้านตะวันออก  หรือ  ตะวันออกเฉียงใต้  จด  วัชชี-
                ชนบท.
          (๓)  ด้านใต้   จด  อังคชนบท  กับ  มคธชนบท.
          (๔)  ไม่แน่ว่าด้านไหน  จด  ภัคคชนบท.
      อาณาเขตตามที่กล่าวนี้  เป็นเพียงอนุมานตามระยะทางที่
      เสด็จพุทธจาริกเป็นต้นเท่านั้น.
๒.  ในกรุงสาวัตถีมีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ  สุทัตตะ  เกี่ยวข้องกับราชคหก-
      เศรษฐี   โดยที่ได้ภคินีมาเป็นภรรยา  วันหนึ่งได้ไปธุระที่บ้านของ
      ราชคหกเศรษฐี  เห็นราชคหกเศรษฐีจัดเตรียมอาหารมากมาย
      เพื่อถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันรุ่งขึ้น  ก็เกิด
      ความเลื่อมใส  รุ่งขึ้นก่อนรับประทานอาหารได้รับไปเฝ้าพระ
      ศาสดา  ณ  สีตวัน  ได้ฟังอนุปุพพีกถา  และจตุราริยสัจ  ได้
      ธรรมจักษุ  คือบรรลุโสดาปัตติผล   ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระ
      รัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต  ตั้งแต่นั้นมาก็ได้บริจาคทรัพย์
      มหาศาลให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาตลอดถึงคนยากจน
      อนาถาทั่วไป  จึงได้เนมิตตกนามใหม่ว่า  "อนาถปิณฑิกเศรษฐี."
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 38
                       ปัจฉิมโพธิกาล   
๑.  พระพุทธองค์เสด็จไปสั่งสอนเวไนยชน  ในคามนิคมชนบทโดย
      ทั่ว ๆ  ไป  ตลอดเวลา  ๔๕  ปี นับจากที่ตรัสรู้มา  ปีสุดท้ายได้
      จำพรรษาที่  เวฬุวคาม  เมื่อเวสาลี  ทรงพระประชวรหนักใกล้
      มรณชนม์พินาศ  ทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสนขันติ  ทรงขับพยาธิ
      ด้วยความเพียรอิทธิบาทภาวนา.
๒.  ได้ทรงแก้วความห่วงใยและความหวังของพระอานนท์  ๕  ข้อคือ :-
          (๑)  ธรรมเราได้แสดงแล้ว  ไม่ทำให้มีภายในภายนอก
                กำมืออาจารย์  คือความซ่อนเร้นในธรรมทั้งหลาย  ไม่
                มีแก่พระตถาคตเจ้า  ข้อลี้ลับที่จะต้องปิดไว้  เพื่อแสดง
                แก่สาวกบางเหล่า  หรือในอวสานกาลที่สุด  ไม่มีเลย.
          (๒)  ตถาคตไม่มีความห่วงใยที่จะรักษาภิกษุสงฆ์  หรือว่า
                ให้ภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พึ่ง.
          (๓)  บัดนี้เราแก่เฒ่าล่วงเข้า  ๘๐  ปีแล้ว  กายชำรุดประดุจ
                เกวียนชำรุดที่ซ่อมด้วยไม้ไผ่ใช้การไม่ไหวแล้ว.
          (๔)  เดี๋ยวนี้กายแห่งตถาคต  ย่อมมีความผาสุกสบายอยู่ได้
                ด้วยอนิมิตเจโตสมาธิ  ความตั้งเสมอแห่งจิตไม่มีนิมิต.
          (๕)  ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาที่พึ่ง  คือมีธรรมเป็นที่
                พึ่ง  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง   แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน  ๔
                และปกิรณกเทศนา.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 39
๓.  อยู่มาถึงวันมาฆบูชา  คือ  วัน  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๓  ปีที่  ๔๕  นั้น
      เอง  พระองค์  ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์  เมืองเวสาลี 
      คือ  กำหนดวันว่า  "ต่อจากนี้ไป  ๓  เดือน  เราจักปรินิพพาน."
๔.  อิทธิบายทั้ง ๔  คือ  ฉันทะ   วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  ผู้ใดเจริญ
      ทำให้มาก  ผู้นั้นหวังดำรงอยู่ตลอด  กัปหรือยิ่งกว่า  ก็พึงตั้งอยู่ได้
      สมหวัง.
๕.  สถานที่ทรงทำนิมิตโอภาส  เพื่อให้พระอานนท์อาราธนาพระ
      ตถาคตให้ดำรงอยู่ตลอดกัปนับได้  ๑๖  ตำบล  คือ :-      
          (๑)  ภูเขาคิชฌกูฏ.
          (๒)  โคตมกนิโครธ.
          (๓)  เหวที่ทิ้งโจร.
          (๔)  ถ้ำสัตตบัณณคูหาข้างภูเขาเวภารบรรพต.
          (๕)  กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิบรรพต.
          (๖)  เงื้อมสัปปิโสณฑิกา  ณ  สีตวัน.
          (๗)  ตโปทาราม.
          (๘)  เวฬุวัน.
          (๙)  ชีวกัมพวัน.
          (๑๐)  มัททกุจฉิมิคทายวัน  (ทั้ง ๑๐  นี้อยู่เมืองราชคฤห์).
          (๑๑)  อุเทนเจดีย์.
          (๑๒)  โคตมกเจดีย์.
          (๑๓)  สัตตัมพเจดีย์.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 40
          (๑๔)  พหุปุตตเจดีย์.   
          (๑๕)  สารันททเจดีย์.   
          (๑๖)  ปาวาลเจดีย์.  (ทั้ง  ๖  ตำบลตอนหลังนี้อยู่เมืองเวสาลี).
๖.  ต่อจากนั้นพระองค์เสด็จไป  กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน  ทรงแสดง
      อภิญญาเทสิตธรรม  (โพธิปักขิยธรรม)  สังเวคกถา  และ
      อัปปมาทธรรม.  ครั้งนั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตทอดพระเนตร
      เมืองเวสาลีเป็น นาคาวโลก  มองอย่างช้างเหลียวหลังครั้งสุดท้าย
      แล้วไปบ้าน  ภัณฑุคาม  แสดง  อริยธรรม  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา
      วิมุตติ,  ต่อจากนั้นไปบ้าน  หัตถีคาม  อัมพคาม  ชัมพุคาม
      โภคนคร  ประทับที่  อานันทเจดีย์  แสดง  ธรรมีกถา  และ
      พาหุลลกถา  สุตตันติกมหาปเทส  ๔  ต่อจากนั้นเสด็จถึง
      เมืองปาวา  ประทับอยู่ที่  อันพวัน  ของ  นายจุนทะ.
๗.  พอถึงวัน  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖  ปีนั้น  เอง  เวลาเช้าพระองค์เสด็จ
      ไปเสวยเนื้อสุกรอ่อน  (สุกรมทฺทว,  ชาวลังกาเรียก  "สูกรมุดัว"
      เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง)  ที่บ้านนายจุนทะ  บุตรของช่างทำทอง  เสร็จ
      แล้วก็อาพาธลงพระโลหิตในระหว่างทาง  ที่กำลังเสด็จไปเมือง
      กุสินารา  แวะประทับร่มไม้  รับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำใน
      แม่น้ำน้อยมาเสวยระงับความกระหายแล้ว  ได้รับผ้าสิงคิวรรณ
      ๑  คู่  จากปุกกุสะ  (ศิษย์อาฬารดาบส)  นุ่งห่มแล้วมีรัศมีผุดผ่อง
      รัศมีของพระพุทธเจ้าผุดผ่อง  ๒  กาล  คือ :-
          (๑)  วันที่ตรัสรู้.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 41
          (๒)  วันที่ปรินิพพาน.   
๘.  ต่อจากนั้นได้เสด็จถึง  แม่น้ำกกุธานที  เสด็จลงสรงแล้วขึ้น  เสด็จ
      ไปประทับสีหไสยาที่  อัมพวัน  (สวนมะม่วง)  แล้วตรัสว่า  ใคร ๆ
      อย่าทำความเดือดร้อนให้แก่นายจุนทะเลย  เพราะบิณฑบาตที่มี
      อานิสงส์มากนั้น  มี  ๒  ครั้ง  คือ :-
          (๑)  บิณฑบาตที่ฉันแล้วได้ตรัสรู้  (ได้แก่บิณฑบาตที่รับจาก
                นางสุชาดา).
          (๒)  บิณฑบาตที่ฉันแล้วปรินิพพาน  (ได้แก่ที่รับฉันในบ้าน
                นายจุนทะ).
๙.  พร้อมกับพระสงฆ์ได้เสด็จข้าม  แม่น้ำหิรัญญวดี  ไปถึงสวนชื่อ
      สาลวัน  ในเขตเมืองกุสินารา  ทรงสำเร็จสีหไสยาตะแคงขวา
      หันพระเศียรไปทิศเหนือ  หันพระพักตร์ไปทิศตะวันตก  เหนือ
      พระแท่นปรินิพพานไสยา  ระหว่างต้นไม้สาละทั้งคู่.
๑๐.  การสำเร็จสีหไสยา  เหนือแท่นปรินิพพานไสยา  ระหว่างไม้สาละทั้งคู่
      ที่เมืองกุสินารา  เป็นการไสยาครั้งสุดท้ายเรียก "อนุฏฐานไสยา"
      (นอนไม่ลุกขึ้น)  มีเหตุการณ์ต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้ :-
๑๑.  ต้นสาละทั้งคู่เผล็ดดอกมิใช่ฤดูกาลตั้งแต่โคนถึงยอด  ดอกไม้ทิพย์
      ก็หล่นลงที่สรีระของพระพุทธเจ้าเพื่อบูชา  พระพุทธเจ้าตรัสว่า
      "ดูก่อนอานนท์  เราไม่สรรเสริญการบูชาด้วยอามิสเห็นปานนี้
      ว่าเป็นการดี  ถ้าบริษัท  ๔  มาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม  เรา
      สรรเสริญว่าเป็นการดีอย่างยิ่ง  ชื่อว่าบูชาเราด้วยบูชาอันยิ่ง."

      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 42
๑๒.  ทรงแสดงความเป็นไปแห่งเทวดา  สมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรง   
      ขับ  พระอุปวาณะ  ผู้ยืนถวายงานพัดที่เฉพาะพระพักตร์ให้หลีก
      ไปเสีย  พระอานนท์สงสัยจึงทูลถาม  พระองค์ตรัสบอกว่า  "เทวดา
      ประชุมกันเต็มที่  ๑๒  โยชน์รอบเมืองกุสินารา เพื่อเห็นพระตถาคต
      แต่พระอุปวาณะยืนบังเสีย  เราจึงขับไป"  พระอานนท์ทูลถามว่า
      "เทวดารู้สึกอย่างไร ?"  พระองค์ตรัสตอบว่า  "เทวดาบางพวกที่
      ยังเป็นปุถุชนก็ร้องไห้กลิ้งเกลือกไปมา  บางพวกที่เป็นอริยชน
      มีความอดกลั้นโดยธรรมสังเวชว่า  "สังขารไม่เที่ยง  ไม่ได้ตาม
      ปรารถนา."
๑๓.  ทรงแสดงสังเวชนียสถาน  ๔  ตำบล  คือ :-
          (๑)  สถานที่พระตถาคต  ประสูติ.
          (๒)  สถานที่พระตถาคต   ตรัสรู้.
          (๓)  สถานที่พระตถาคต  แสดงธรรมจักร.
          (๔)  สถานที่พระตถาคต  ปรินิพพาน.
      ว่าเป็นที่ควรดูควรเห็น  ควรให้เกิดความสังเวช  ของกุลบุตรผู้มี
      ศรัทธา.
๑๔.  อาการที่ภิกษุพึงปฏิบัติในสตรีภาพ  พระองค์ทรงแสดงว่า :-
          (๑)  อย่าดูอย่าเห็น  เป็นการดี.
          (๒)  ถ้าจำเป็นต้องงดต้องเห็น  อย่าพูด  เป็นการดี.
          (๓)  ถ้าจำเป็นต้องพูด  ควรพูดคำเป็นธรรม.
๑๕.  ทรงแสดงวิธีปฏิบัติในพุทธสรีระ  ว่า  พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับ

      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 43
      สรีระของพระเจ้าจักรพรรดิราช  คือ  ห่อด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วย
      สำลี  สลับกันโดยอุบายนี้  ๕๐๐  คู่  แล้วเชิญลงในรางเหล็กเต็ม 
      ด้วยน้ำมันมีฝาเหล็กครอบ  ทำจิตการธารด้วยไม้หอม  ถวาย
      พระเพลิงเสร็จแล้ว  เก็บสารีริกธาตุบรรจุไว้ในเจดีย์ที่ถนนใหญ่ ๔
      แพร่ง.
๑๖.  ทรงแสดงถูปารหบุคคล  ๔  จำพวก  (บุคคลที่ควรทำเจดีย์ไว้
      บูชา)  คือ :-
          (๑)  พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า
          (๒)  พระปัจเจกพุทธเจ้า.
          (๓)  พระสาวกอรหันต์.
          (๔)  พระเจ้าจักรพรรดิราช.
๑๗.  ทรงประทานโอวาทแก่พระอานนท์  ในครั้งนั้นพระอานนท์ไป
      ยืนเกาะไม้มีสัณฐานคล้ายศีรษะวานร  ร้องไห้อยู่ในวิหาร  พระ
      องค์ตรัสเรียกมาให้พระโอวาทว่า  "สังขารไม่เที่ยง  ต้องสูญสลาย
      ไปเป็นธรรมดา" และทรงพยากรณ์ว่า  "อานนท์มีบุญได้ทำไว้
      แล้วด้วยในไตรทวาร  จักได้เป็นพระอรหันต์โดยฉับพลัน."
๑๘.  ตรัสสรรเสริญพระอานนท์  ว่า  เป็นยอดอุปัฏฐาน  ฉลาดรู้จักกาล
      รู้จักบริษัท  ว่ากาลใดบริษัทไหนควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า  ฯ ล ฯ
      ถ้าแสดงธรรม  บริษัทฟังไม่อิ่มไม่เบื่อเลย.
๑๙.  ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา   พระอานนท์กราบทูลให้พระพุทธเจ้า
      เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองใหญ่ ๆ  คือ  ๑.  เมืองจำปา  ๒.  ราชคฤห์

      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 44
      ๓.  สาวัตถี  ๔.  สาเกต  ๕.  โกสัมพี  ๖.  พาราณสี  พระองค์ห้าม   
      เสียแล้วตรัสว่า  "เมืองกุสินารานี้  ในอดีตเคยเป็นนครใหญ่มาก
      ชื่อ  "กุสาวดี"   มีพระเจ้า  มหาสุทัศน์จักรพรรดิราช  ปกครอง
      มีพลเมืองมาก  อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร  กึกก้องกังวาน
      ด้วยเสียงทั้ง ๑๐  คือ :-
          ๑.  เสียงช้าง  ๒.  เสียงม้า  ๓.  เสียงรถ  ๔.  เสียงเภรี  ๕. เสียง
      ตะโพน  ๖.  เสียงพิณ  ๗.  เสียงขับร้อง  ๘.  เสียงกังสดาล
      ๙.  เสียงสังข์ ๑๐.  เสียงคนเรียกกินข้าว  ไม่สงบทั้งกลางวันกลางคืน.
๒๐.  ตรัสให้แจ้งข่าวปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์  ว่าจักปรินิพพานใน
      ยามใกล้รุ่งแห่งคืนวันนี้  เพื่อมิให้มัลลกษัตริย์กินแหนงแคลงใจ
      ในภายหลัง  พระอานนท์รับพุทธฎีกาแล้ว  เข้าไปบอกแก่
      มัลลกษัตริย์ในกลางที่ประชุม  ณ  ศาลาว่าราชการ  กษัตริย์เหล่า
      นั้นพร้อมด้วยโอรส,  ลูกสะใภ้,  ปชาบดี  ก็โศกเศร้ารำพันต่าง ๆ
      ประการ  แล้วเสด็จไปสาลวัน.  พระอานนท์จัดให้เข้าเฝ้าตาม
      ลำดับพระวงศ์  เสร็จในปฐมยาม.
๒๑.  ทรงโปรดสุภัททปริพาชก  สมัยนั้น  สุภัททปริพาชก  ทราบว่า
      พระพุทธเจ้าจักปรินิพพานในคืนนี้  จึงรีบไปเพื่อจะทูลถามข้อ
      สงสัยบางอย่าง  ชั้นแรกถูกพระอานนท์ห้ามไว้  ภายหลังได้รับ
      พุทธานุญาต  จึงเข้าไปทูลถามว่า  "ครูทั้ง ๖  คือ  ๑.  ปูรณกัสสปะ
      ๒.  มักขลิโคศาล  ๓.  อชิตเกสกัมพล  ๔.  ปกุทธกัจจายนะ
      ๕.  สัญชัยเวลักฏฐบุตร ๖.  นิครนถนาฎบุตร  ได้ตรัสรู้จริงหรือ ?"
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 45
          พระองค์ตรัสห้ามเสียแล้ว  ทรงแสดงธรรมแก่เขาว่า  "มรรค
      ๘  ไม่มีในธรรมวินัยใด  พระสมณะ  ๔  เหล่า  ไม่มีในธรรมวินัย
      นั้น  มรรค  ๘  มีในธรรมวินัยของตถาคตเท่นั้น  สมณะ  ๔  ย่อม 
      มีด้วย."
          สุภัททะฟังธรรมนี้แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกแล้ว  ขออุปสม-
      บท.  พระองค์ตรัสว่า  "คนนอกพุทธศาสนาต้องอยู่ปริวาส  ๔
      เดือนจึงบวชได้."  สุภัททะว่า  "ให้อยู่สัก  ๔  ปีก็อา."  พระองค์ตรัส
      ให้พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชา.
๒๒. สุภัททะเป็นสักขีสาวก  พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชาให้
      เป็นสามเณร  แล้วนำเข้าถวายพระพุทธเจ้า  พระองค์ให้สุภัททะ
      อุปสมบทเป็นภิกษุ  และบอกกัมมัฏฐานให้ไม่ช้านัก  เธอก็ได้
      สำเร็จอรหันต์ทันตาเห็น  เป็น  สักขีสาวก  ของพระศาสดา  (สาวก
      องค์หลังสุดของพระพุทธเจ้า).
๒๓.  ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์  ว่า  "ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  อันใด
      ที่เราแสดงบัญญัติไว้แล้ว  ธรรมและวินัยนั้นแล  จักเป็นศาสดา
      ของท่านทั้งหลาย  โดยกาลที่ล่วงไปแห่งเรา."
๒๔.  ตรัสให้ภิกษุเรียกกันโดยคารวะโวหาร  ๒  อย่าง คือ :-
          (๑)  ผู้แก่เรียกผู้อ่อน  ใช้คำว่า  อาวุโส  หรือ  ออกชื่อโคตร
                ก็ได้.
          (๒)  ผู้อ่อนเรียกผู้แก่  ใช้คำว่า  ภนฺเต  หรือ  อายสฺมา  ก็ได้.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 46
๒๕.  ชั่วโมงสุดท้าย  ตรัสไว้  ๔  ข้อ  คือ :-   
          (๑)  ดูก่อนอานนท์  ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็ก
                น้อยเสียบ้าง  เมื่อเราล่วงไปแล้วก็จงถอนเถิด.
          (๒)  ดูก่อนอานนท์  เมื่อเราล่วงไปแล้วสงฆ์พึงทำ  พรหม-
                ทัณฑ์  แก่  ฉันนภิกษุ  เถิด  คือ  หากฉันนะเจรจาคำใด
                ก็พึงเจรจาคำนั้น  แต่ไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนแก่
                เขา.
          (๓)  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ถ้าพวกเธอสงสัยในพระรัตนตรัย
                หรือในมรรคปฏิปทา  ก็จงถามเถิด  ดังนี้  ๓  ครั้ง  แต่
                พระสงฆ์นิ่งเงียบ พระอานนท์กราบทูลว่า  "น่าอัศจรรย์"
                พระองค์ตรัสรับรองว่า  "ภิกษุ  ๕๐๐  รูปที่ประชุมนั้น
                เป็นอริยบุคคล  สิ้นความสงสัยแล้ว."
          (๔)  ตรัสปัจฉิมโอวาทว่า  อปฺปมาเทน  สมฺปาเทถ  ท่าน
                ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น
                ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.
๒๖.  ปรินิพพาน  เมื่อพระองค์ตรัสปัจฉิมโอวาทแล้ว  มิได้ตรัสอะไร
      ต่อไปอีกเลย  ทรงทำปรินิพพานกรรมด้วยอนุบุพพวิหาร  ๙
      ประการ  ดังนี้ :-
          เข้าฌานที่ ๑  ออกจากฌานที่ ๑  เข้าฌานที่ ๒  โดยนัยนี้  จนเลย
      ฌานที่ ๘  เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ  (ในตอนนี้พระอานนท์
      ถาม  พระอนุรุทธ  ว่า  "พระองค์ปรินิพพานแล้วหรือ ?"  พระอนุรุทธ
      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 47
      ตอบว่า  "ยังก่อน  กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ). 
      ออกจากสัญญาเวทยิต ฯ  เข้าฌานที่ ๘  โดยนัยนี้ลงมาถึงฌานที่ ๑
      ออกจากฌานที่  ๑  เข้าฌานที่  ๒  โดยนัยนี้จนถึงฌานที่ ๔
      ออกจากฌานที่ ๔  แล้ว  ทรงปรินิพพาน.
      พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  ณ  เวลาใกล้รุ่งวันอังคาร  ขึ้น
      ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖  ที่ป่าไม้สาละ (สาสวโนทยาน)  เมืองกุสินารา.
๒๗.  ในขณะนั้นเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินหวั่นไหวกึกก้อง  มีเทพยดา
      และมนุษย์กล่าวสังเวคคาถาดังต่อไปนี้ :-
          (๑)  ท้าวสหัมบดีพรหม  กล่าวว่า  "บรรดาสัตว์ทั้งปวงใน
      โลก  ล้วนจะต้องทิ้งร่างไว้ถมปฐพี  แม้องค์พระชินสีห์มีพระคุณ
      ยิ่งใหญ่  ก็ปรินิพพานแล้ว  น่าสลดนัก !
          (๒)  ท้าวโกสีย์เทวราช  กล่าวว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
      หนอ ! เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา  ความสงบแห่งสังขารเป็น
          (๓)  พระอนุรุทธ  กล่าวว่า  "พระพุทธเจ้ามีจิตมีได้หวั่นไหว
      สะทกสะท้านต่อมรณธรรม  ปรินิพพานเป็นอารมณ์  ประหนึ่ง
      ประทีปอันไพโรจน์ดับไป  ฉะนั้น !
          (๔)  พระอานนท์  กล่าวว่า  "เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน-
      ขันธ์  เกิดเหตุมหัศจรรย์  มีโลกชาติชูชันเป็นอาทิ  ปรากฏมีแก่
      เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย !

แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 48
                         อปรกาล   
                      ๑.  ถวายพระเพลิง
๑.  ครั้นพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  แต่ยังไม่สว่างวัน  พระอนุรุทธ
      กับพระอานนท์  แสดงธรรมไปจนสว่าง  พอสว่างแล้ว  พระอนุรุทธ
      บัญชาพระอานนท์ให้ไปบอกแก่  มัลลกษัตริย์.
๒.  มัลลกษัตริย์ ให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศทั่วเมือง  นำเครื่อง
      สักการบูชา  เครื่องดนตรี  ผ้าอย่างดี  ๕๐๐  พับ  เสด็จไปสู่สาลวัน
      พร้อมกันบุชาพุทธสรีระมโหฬารสิ้นกาล ๖  วัน  ครั้นวันที่ ๗
      ปรึกษากันว่า  จะเชิญพระสรีระไปทางทิศใต้แห่งพระนครแล้ว
      ถวายพระเพลิงนอกเมือง.
๓.  อมัลลปาโมกข์  ๘  องค์  ทรงกำลัง พร้อมกันเข้าเชิญพระสรีระ
      มิสามารถที่จะให้เขยื้อนจากที่ได้.
๔.  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายถามพระอนุรุทธว่า  เพราะเหตุใด ?  พระ
      อนุรุทธ  จึงบอกไปตามเทวดาประสงค์ว่า  "ให้เชิญประสรีระไป
      ทางทิศเหนือพระนคร  แล้วข้าทรงอุดรทวาร  ผ่านไปท่ามกลาง
      เมือง  เยื้องไปออกทางประตุบูรพทิศ  แล้วถวายพระเพลิง
      ณ  มกุฎพันธนเจดีย์  ที่ด้านตะวันออกแห่งพระนคร  (ดูแผนผัง
      ดังต่อไปนี้) :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 49
                          เหนือ   
                    กุ       สิ
      สาสวโนทยาน                มกุฏพันธนเจดีย์    ออก
                       นา      รา
๕.  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ทราบดังนั้น   จึงผ่อนผันตามความประสงค์
      ของเทวดา  เชิญพระสรีระไปยังมกุฏพันธนเจดีย์  พันด้วยผ้าใหม่
      ซับด้วยสำลี  ตามวิธีที่ตรัสไว้แก่พระอานนท์  เตรียมจะถวาย
      พระเพลิง.
๖.  ครั้งนั้นมัลลปาโมกข์  ๔  องค์  สรงนำดำเกล้านุ่งห่มผ้าใหม่นำไฟ
      เข้าจุดทั้ง ๔  ทิศ  ไม่ติดเลย  พระอนุรุทธจึงเฉลยให้ทราบว่า
      "เทพยดาให้รอ  พอ  พระมหากัสสปะ  ถวายบังคมพระพุทธบาท
      ด้วยเศียรเกล้าก่อน"  มัลลกษัตริย์จึงผัดผ่อนตามเทวาธิบาย.
๗.  สมัยนั้น  พระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐  รูป  เดินทางจาก
      ปาวานคร  พักอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง  เห็น  อาชีวกถือดอกมณฑารพ
      เดินมา  จึงถามข่าวพระศาสดา   เขาบอกว่าพระองค์ปรินิพพาน
      ๗  วัน  แล้ว.
๘.  ลำดับนั้น  ภิกษุที่ยังไม่สิ้นราคะ   ก็ร้องให้กล้องเกลือกไปมา  ท่านที่
      สิ้นราคะ  ก็อดกลั้นด้วยธรรมสังเวช   มีภิกษุบวชภายแก่รูปหนึ่งชื่อ
      สุภัททะ  ห้ามว่า  "หยุดเถิด  "หยุดเถิด  ท่านอย่าร่ำไรไปเลย  พระสมณะ

      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 50
      นั้นพ้น  (ปรินิพพาน)  แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ  ไม่ต้อง 
      เกรงบัญชาใคร"  พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น  คิดจะทำนิคคห-
      กรรม  (ทำโทษ)  แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน   จึงพาบริวารสัญจร
      ต่อไป.
๙.  ครั้นมาถึงมกุฏพันธนเจดีย์  จึงห่มผ้าเฉวียงบ่า  ประณมหัตถ์
      นมัสการ   เดินเวียนจิตกาธาร  ๓  รอบ  แล้วเปิดเพียงเบื้อง
      พระบาท  ถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้าของตน  ภิกษุ
      ๕๐๐  รูป  ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน.
๑๐.  พอพระมหากัสสปะกับบริวารนมัสการแล้ว  เพลิงทิพย์เกิดขึ้นเอง
      ไหม้พระสรีระ  เหลืออยู่  ๕  อย่าง  คือ  ๑.  พระอัฐิ  ๒.  พระ
      เกสา  ๓.  พระโลมา  ๔.  พระนขา  ๕.  พระทันตา  กับ  ผู้คู่หนึ่ง
      สำหรับห่อพระธาตุนั้น  (ข้อนี้แหละเป็นมูลเหตุให้ชาวพุทธทำ
      วิสาขอัฏฐมีบูชา  ประจำปี  ซึ่งเรียกกันว่า  วันถวายพระเพลิง)
๑๑.  มัลลกษัตริย์นำน้ำหอมมาดับจิตกาธาร  (ดับไฟที่เชิงตะกอน)
      แล้วเชิญพระสารีริกธาตุเข้าไปประดิษฐานไว้ใน สัณฐาคารศาลา
      ในนครกุสินารา  พิทักษ์รักษาอย่างมั่นคง  ด้วยประสงค์จะมิให้
      ใครแย่งชิงไป  และได้ทำสักการบูชามโหฬาร   สิ้นกาล   ๗  วัน.
                      ๒.  แจกพระสารีริกธาตุ
๑.  พระมหากษัตริย์  และพราหมณ์  ทั้ง ๗  พระนคร  คือ  :-
      (๑)  พระเจ้าอชาตศัตรู  เมือง      ราชคฤห์.
      (๒)  กษัตริย์ลิจฉวี          "      เวสาลี.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 51
      (๓)  กษัตริย์ศากยะ      เมือง       กบิลพัสดุ์.   
      (๔)  ถูลีกษัตริย์             "       อัลลกัปปะ.
      (๕)  โกสิกษัตริย์       "       รามคาม.
      (๖)  มหาพราหมณ์       "       เวฏฐทีปกะ.
      (๗)  มัลลกษัตริย์       "       ปาวา.
      ได้ทรงทราบว่า  พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองกุสินารา  จึงส่งทูต
      มาของแบ่งพระสารีริกธาตุ.
๒.  มัลลกษัตริย์  ไม่ยอมแบ่งให้ด้วยเหตุ  ๒  ประการ  คือ :-
          (๑)  ทรงเห็นว่า  ถ้าเราแบ่งให้ไปโดยเร็วทุกหมู่ที่มาขอ  คง
      จะไม่พอแน่  ยากที่จะเสร็จสงบลงได้  และยากที่จะผ่อนผันให้
      ถูกต้องตามอัธยาศัยของเจ้านครทุกองค์ได้  (เพราะส่งไปโดย
      ราชสาสน์).
          ๒)  ทรงคิดว่า  พระพุทธเจ้าทรงอุตส่าห์มาปรินิพพานใน
      คามเขตของเรา  ก็เพื่อประทานพระสารีริกธาตุแก่เรา.
          จึงไม่ยอมแบ่งให้แก่นครใด ๆ  และได้ตรัสแก่ทูตานุทูตทั้ง ๗
      นครว่า  "พระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานในอาณาเขต
      ของเรา  เราจักไม่ให้ส่วนพระสารีริกธาตุ."
          ส่วนทูตานุทูต  ก็ไม่ยอม  จวนจะเกิดมหาสงครามอยู่แล้ว.
๓.  โทณพราหมณ์ผู้ห้ามทัพ  ผู้มีปัญญาผ่อนผันให้ต้องตามคดีโลก
      คดีธรรม  เมื่อเห็นเช่นนั้นจึงคิดถึงความไม่เหมาะสม  ๓  ประการ
      คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 52
          (๑)  มัลลกษัตริย์ครองนครน้อยนี้   ควรสมานไมตรีกับนคร
      อื่น ๆ  ไม่ควรรบกัน. 
          (๒)  การรบนั้นขัดต่อคำสอนของพระศาสดา เพราะพระองค์
          ทรงสอนให้เว้นเบียดเบียนกัน.
          (๓)  พระสารีริกธาตุนั้น  ควรแบ่งไปยังนครต่าง ๆ  เพื่อ
      สักการบูชาของชนทั่วไป.
          จึงกล่าว  สุนทรพจน์  ต่อไปว่า  :-
          ขอคณานิกรเจ้าผู้เจริญ  เชิญฟังวาจาข้าพระองค์ในบัดนี้
      พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นขันติวาที  การรบกันเพราะเหตุ
      แห่งพระสารีริกธาตุของพระองค์นั้นไม่งามเลย.
          ข้าแต่กษัตริย์เจ้าผู้เจริญ   ทั้งเจ้านครเดิม  และต่างราชธานี
      จงชื่นชมสามัคคีกัน  แล้วแบ่งปันพระสารีริกธาตุ  ออกเป็น  ๘  ส่วน
      ให้เสมอกันทุกพระนครเถิด.
          ของพระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ   จงแพร่หลายทั่วทุกทิศ
      สถิตสถาพรเพื่อนิกรสัตว์สิ้นกาลนาน  เถิด.
      กษัตริย์และพราหมณ์ได้สดับมธุรภาษิต  ก็เห็นชอบในสามัคคี
      ธรรม.
๔.  กษัตริย์และพราหมณ์  มอบธุระให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งส่วน
      พระบรมธาตุ  โทณพราหมณ์จึงเอา  ตุมพะ  (ทะนานทอง)  ตวง
      ได้  ๘  ส่วนเท่า ๆ  กัน  แล้วถวายแก่เจ้านครทั้ง ๘  แล้วขอตุมพะนั้น
      ไปบรรจุไว้ในเจดีย์มีชื่อว่า  "ตุมพสถูป"  หรือ  "ตุมพเจดีย์"

แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 53
๕.  โมริกษัตริย์  เมืองปีปผลิวัน  ทราบข่าวปรินิพพานทีหลัง  จึง 
      ส่งทูตมาขอพระบรมธาตุ  เมื่อไม่ได้จึงเชิญ  พระอังคาร  (เถ้าถ่าน
ในเชิงตะกอน)  ไปบรรจุไว้ในเจดีย์  มีชื่อว่า  "อังคารเจดีย์."
             ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์
๑.  สัมมาสัมพุทธเจดีย์เกิดขึ้นครั้งแรก  ๑๐  ตำบล  คือ :-
      พระธาตุเจดีย์  ๘  ตำบล  (คือใน  ๘  นครที่กล่าวแล้ว).
      พระตุมพเจดีย์  ๑   "   (ที่โทณพราหมณ์ทำไว้).
      พระอังคารเจดีย์  ๑  "   (ในเมืองปิปผลิวัน).
      รวม  ๑๐  ตำบล.
๒.  เจดีย์ที่สร้างไว้  เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ๔
      ประเภท  คือ  :-
      (๑)  ธาตุเจดีย์  คือ  เจดีย์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ.
      (๒)  บริโภคเจดีย์  คือ  พระตุมพเจดีย์  พระอังคารเจดีย์
      สังเวชนียสถาน  ๔  ตำบล   เจดีย์ที่บรรจุบริขารที่พระองค์ทรง
      บริโภคแล้ว  เช่น  บาตร,  จีวร, เตียง,  ตั่ง  กุฏิ,  วิหาร,  และ
      บริขารอื่น ๆ.
      (๓)  ธรรมเจดีย์    คือ  เจดีย์ที่จารึกพระพุทธวจนะลงใน
      ใบลาน,  แผ่นทอง,  แผ่นศิลา  เป็นต้นแล้ว  บรรจุไว้ในเจดีย์.
      (๔)  อุทเทสิกเจดีย์  คือ  พระพุทธรูป.
               ๓.  ความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย
๑.  ในวันที่แจกพระบรมสารีริกธาตุนั้น  มีพระสงฆ์ประชุมกันเป็น
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 54
      มหาสันนิบาต  พระมหากัสสปะเป็นประธานในสงฆ์  หวังจะให้ 
      เกิดอุตสาหะในการสังคายนาพระธรรมวินัย จึงนำเอาคำจ้วงจาบ 
      พระธรรมวินัย  ของสุภัททวุฑฒบรรพชิตมากล่าว  แก่ภิกษุ
      ทั้งหลายแล้วชักชวนว่า  "อย่ากระนั้นเลย  เราทั้งหลายจงร้อยกรอง
      พระธรรมวินัยเถิด  มิฉะนั้น  วาทะที่มิใช่ธรรมวินัยจักรุ่งเรือง
      พระธรรมวินัยก็จักเสื่อมถอย  คนชั่วจักลบล้างธรรมวินัย  คนชั่ว
      จักเจริญ  คนดีจักเสื่อมถอยน้อยกำลัง  พระศาสนาก็จักตั้งอยู่
      ไม่ได้."
๒.  ครั้นพระมหากัสสปะกล่าวจบ  พระสงฆ์ในที่ประชุมนั้นเห็นชอบ
      จึงตกลงทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก  และ
      ต่อจากนั้นพระสงฆ์รุ่งหลัง ๆ   ก็ได้ช่วยกันทำการสังคายนาเป็น
      ครั้งคราว  ตามเหตุการณ์รณนั้น ๆ  รวม  ๕  ครั้ง.
๓.  ภายหลังจากนั้น  นักปราชญ์ได้แต่งคัมภีร์อรรถกถา  ฎีกา   อนุฎีกา
      กับทั้งศัพท์ศาสตร์  เป็นอุปการะแก่นักศึกษา  กุลบุตรได้บวช
      เรียนปฏิบัติสืบต่อกันมา  พระธรรมวินัยอันเป็นตัวแทนพระศาสดา
      จึงได้ดำรงเจริญแพร่หลายไป  ณ  พุทธศาสนิกมณฑล  ด้วยประการ
      ฉะนี้แล.
๔.  แผนผังการสังคายนา  ๕  ครั้ง ดังต่อไปนี้ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 55
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 56
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 57
                      พุทธประวัติเนติ  ๑๕   
      เหตุการณ์ในพุทธประวัติ  แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงมี
พระลักษณะ  หรือพระนิสัยที่ควรยึดถือไว้เป็นเยี่ยงอย่างเป็นอันมาก  แต่
ในที่นี้จะนำมาให้เห็นเพียง  ๑๕  ข้อ  ดังต่อไปนี้ :-
      ๑.  ทรงมีพระเมตตากรุณา  เช่น  เมื่อทรงพิจารณาถึงธรรมที่
พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่าเป็นคุณอันลึกซึ้งมาก  ยากที่บุคคลผู้ยินดีในกามคุณ
จะตรัสรู้ตามได้  ทรงท้อพระทัยเพื่อจะตรัสสั่งสอน  แต่อาศัยพระกรุณาใน
หมู่สัตว์  จึงทรงพิจารณาเห็นว่าบุคคลนี้มี ๔  เหล่า  เปรียบเหมือนดอกบัว
๔  เหล่า  ผู้สามารถรู้ตามได้ถึง  ๓  เหล่า  จึงได้เสด็จเที่ยวสั่งสอนด้วยความ
เมตตากรุณาในหมู่ชนนั้น ๆ  (๑/๔๔-๔๕)  (พุทธ-สังเขป  ๑๗)
      แม้ในตอนใกล้จะปรินิพพาน ทรงพระกรุณาโปรดให้สุภัททะ-
ปริพาชกเข้าเฝ้าถามปัญหา  ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจ  และให้อุปสมบท
เป็นองค์สุดท้าย  (๓/๓๗)  (พุทธ-สังเขป  ๔๔)
      ๒.  ทรงตั้งใจจริง  ขยันหมั่นเพียนจริง  เช่นในคราวพระราชบิดา
ทรงทำวปมงคลแรกนาขวัญ,  พระสิตธัตถกุมารพระองค์เดียวประทับที่
ภายในม่าน  โคนต้นหว้า  เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน  ยังปฐมฌานให้
เกิดขึ้นได้  นี้จัดเป็นสัมมาสมาธิตั้งใจจริง  (๑/๑๙-๒๐)
      อนึ่ง  ในสมัยเป็นนักเรียกในสำนักครูวิศวามิตร  ทรงเรียนด้วย
ความขะมักเขม้นจนจบสิ้นความรุ้ของครูในเวลาอันรวดเร็ว  ได้แสดงความ
รู้ให้ปรากฏในหมู่พระญาติยิ่งกว่าพระกุมารอื่น (๑/๑๙)  (พุทธ-
สังเขป ๑๐)
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 58
      ภายหลังเสด็จออกทรงผนวชแล้ว  ทรงบำเพ็ญเพียรทำฌานใน   
สำนักท่านอาฬารดาบสและท่านอุทกดาบส  ได้เท่าเทียมกับดาบสทั้งสอง
ในเวลาอันสั้น  ครั้นเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้  จึงเสด็จออกไปทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยา  ปรารภความเพียรไม่ท้องถอยไม่ย่อหย่อน  (๑/๓๕ - ๓๖ - ๓๗)
(พุทธ - สังเขป  ๑๓ - ๑๔ )
      ตอนที่ทำความเพียรอย่างสูง  คือ  ในวันที่ตรัสรู้ประทับนั่งที่โพธิ-
บัลลังก์   ทรงตั้งพระหฤทัยว่า  ยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด
จักไม่เสด็จลุกขึ้นเพียงนั้น  แม้เลือดเนื้อจะแห้งไป  คงเหลือแต่หนังหุ้ม
เอ็นและกระดูกก็ตาม  (๑/๔๔)  (พุทธ - สังเขป ๑๔)  ทั้ง ๓  ตอนนี้
แสดงถึงความตั้งใจจริงและพากเพียรจริง.
      ๓.  ทรงมีความกล้าหาญ  เช่นทรงมีพระหฤทัยกล้าต่
#2
   
          (๑)  ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินมคธ.
          (๒)    "    พระอรหันต์  ผู้ตรัสรู้ชอบเองมายังแคว้น
                    ของข้าพเจ้า.
          (๓)    "      ข้าพเจ้าได้นั่งใกล้พระอรหันต์.
          (๔)    "      พระอรหันต์แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า.
          (๕)    "      ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์.
      ความปรารถนาทั้ง ๕ ข้อนี้  สำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ได้ดวงตาเห็น
ธรรม.
๓.  พระเจ้าพิมพิสาร   แสดงพระองค์เป็นอุบาสก  ทูลเชิญพระศาสดา
      และสงฆ์สาวกไปเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น  แล้วถวายพระ
      ราชอุทยาน  เวฬุวัน  (สวนไผ่)  ให้เป็นอาราม  (วัด)  ที่  ๑  ใน
      พระพุทธศาสนา.
๔.  มาณพสกุลพราหมณ์  ๒  สหาย  คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 25
          (๑)  อุปติสสะ  เพราะเป็นบุตรนางสารี  จึงเรียกกันว่า
                สารีบุตร. 
          (๒)  โกลิตะ   เพราะเป็นบุตรนางโมคคัลลี  จึงเรียก
                กันว่า  โมคคัลลานะ.
      พร้อมด้วยบริวาร  ๒๕๐  บวชในสำนักสัญชัยปริพาชก ไม่ได้ธรรม
      พิเศษ  ภายหลังสารีบุตรเลื่อมใสในพระอัสสชิ  และได้ฟังธรรม
      จากพระอัสสชิ  พอเป็นเลาความว่า
          ธรรมใดเถิดแต่เหตุ  พระศาสดาทรงแสดง
          เหตุแห่งธรรมนั้น  และความดับแห่งธรรมนั้น
          พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้.
      ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม  แล้วสารีบุตรแสดงธรรมนั้น  แก่โมคคัลลานะ      
      โมคคัลลานะ  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม  ปริพาชก  ๒  สหาย  ก็ได้พา
      บริวารมาอุปสมบทในพุทธศาสนา.
๕.  พระโมคคัลลานะ  อุปสมบทแล้ว ๗  วัน  ไปทำความเพียรที่บ้าน
      กัลลวาลมุตตคามแขวงมคธ  นั่งโงกง่วงอยู่  พระศาสดาทรงสอน
      อุบายแก้ง่วง  ๘  อย่าง  คือ :-
          (๑)  ควรนึกถึงเรื่องที่จำ ๆ  มาให้มาก.
          (๒)  ควรตรึกตรองถึงธรรมตามที่ได้ศึกษามา.
          (๓)  ควรสาธยายธรรม.
          (๔)  ควรยอนช่องหู.
          (๕)  ควรลุกขึ้นยืน  เอาน้ำลูบหน้าตาเหลียวดูทิศดวงดาว.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 26
          (๖)  ควรทำความสำคัญในแสงสว่าง.   
          (๗) ควรจงกรมสำรวมอินทรีย์.
          (๘)  ควรนอนตะแคงขวา มีสติสัมปชัญญะตั้งใจว่า  จะ
                ลุกขึ้น.
      และทรงสอนต่อไปว่า  ควรสำเหนียกว่า  เราจักไม่ชูงวง  (ถือตัว)
      เข้าไปสู่สกุล  ๑  ไม่พูดคำเป็นเหตุเถียงกัน ๑  เพราะจะเป็นเหตุ
      ให้ห่างจากสมาธิ  ทรงตำหนิการคลุกคลีด้วยหมู่ชน  ทรงสรรเสริญ
      ความคลุกคลีด้วยเสนาสนะอันสงัด.  แล้วตรัสตัณหักขยธรรม.
      พระโมคคัลลานะก็สำเร็จพระอรหัตผล.
๖.  พระสารีบุตร  อุปสมบทแล้ว  ๑๕  วัน  มีโอกาสถวายอยู่งานพัด
      เบื้องพระปฤษฎางค์  (หลัง)  แห่งพระศาสดา  ซึ่งกำลังทรงแสดง
      ธรรมชื่อเวทนาปริคคหสูตร   แก่ทีฆนขะปริพาชก  อัคคิเวสสน-
      โคตร  ที่ถ้ำสุกรขาตา  เขาคิชฌากูฏแขวงเมื่อราชคฤห์  พลางดำริว่า
      "พระศาสดาตรัสสอนให้ละการถือมั่นธรรมเหล่านั้น  (ทิฏฐิ-
      การ - เวทนา)  ด้วยปัญญาอันยิ่ง"  ก็สำเร็จพระอรหัตผล   ส่วน
      ทีฆนขะปริพาชก  ได้ดวงตาเห็นธรรม.
๗.  พระสารีบุตรได้เป็นอัครสาวกฝ่ายขวา  เลิศทางปัญญา  ส่วนพระ      
      โมคคัลลานะได้เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย  เลิศทางมีฤทธิ์.
๘.  พระศาสดา   ได้ทรงเลือกเอามคธชนบทเป็นที่ประดิษฐานพระ
      พุทธศาสนาเป็นปฐม  ก็สำเร็จสมพระประสงค์อย่างรวดเร็ว  เพราะ
      เป็นเมืองที่มั่งคั่งและมีศาสดาเจ้าลัทธิมาก  มีศิษยานุศิษย์มาก  ชน
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 27
      เหล่านั้นได้ความเชื่อความเลื่อมใส  ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยมาก
      ขึ้นโดยลำดับ.   
            ถอดใจความแห่งอภินิหารในเวลาประสูติ
      ๑.  ครั้งเข้าสู่พระครรภ์ปรากฏแก่พระมารดาในสุบิน  (ความฝัน)
ดุจพระยาช้างเผือก  แสดงถึงการอุบัติขึ้นแห่งบุคคลสำคัญคือพระมหา
บุรุษของโลก  ให้เกิดความยินดีทั่วหน้า.
      ๒.  เสด็จอยู่ในพระครรภ์  ไม่แปดเปื้อนมลทิน  ทรงนั่งขัดสมาธิ
เสด็จออกขณะพระมารดาประทับยืน  แสดงถึงการดำรงฆราวาส  ไม่หลง
เพลิดเพลินในกามคุณ  ได้ทรงทำกิจที่ควรทำ,  มีพระเกียรติปรากฏ
เสด็จออกบรรพชาด้วยปรารถนาอันดี.
      ๓.  พอประสูติแล้วมีเทวบุตรมารับ  ท่อน้ำร้อน - เย็น  ตกจาก
อากาศสนานพระกาย  ได้แก่อาฬารอาบสอุทกดาบส  หรือนักบวชอื่นรับ
ไว้ในสำนัก,  ทุกรกิริยาดุจท่อน้ำร้อน,  วิริยะทางจิตดุจท่อน้ำเย็น ชำระ
พระสันดานให้สิ้นสงสัย
      ๔.  พอประสูติแล้วทรงดำเนิน  ๗  ก้าว  ได้แก่ทรงแผ่พระศาสนา
ได้  ๗  ชนบท คือ  ๑.  กาสีกับโกศล  ๒. มคธกับอังคะ  ๓.  สักกะ
๔.  วัชชี   ๕.  มัลละ   ๖.  วังสะ  ๗.  กุรุ.
      ๕.  การเปล่งอาสภิวาจา  คือคำประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก
นั้น  ได้แก่ตรัสพระธรรมเทศนาที่คนฟังอาจหยั่งรู้ว่า  พระองค์เป็นยอด
ปราชญ์ศาสดาเอกในโลก.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 28
                      มัชฌิมโพธิกาล   
                         ปริเฉทที่  ๙
              ทรงบำเพ็ญพุทธกิจในมคธชนบท
๑.  คราวหนึ่ง  พระศาสดาประทับใต้ร่มไม้ไทร   ชื่อพหุปุตตนิโครธ
      ในระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทาต่อกัน  ทรงรับ  ปีปผลิ
      มาณพ  กัสสปโคตร  ผู้ถือเพศบรรพชิตบวชอุทิศพระอรหันต์ใน
      โลก  ให้เข้าเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา   ด้วยประทานโอวาท  ๓
      ข้อ  คือ :-
          (๑)  กัสสปะ  เธอพึงศึกษาว่า  เราจักเข้าไปตั้งความละอาย
      และความเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า  ทั้งที่เป็นผู้ใหม่  ทั้งที่เป็น
      ปานกลางอย่างแรงกล้า.
          (๒)  เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งประกอบด้วยกุศล
      เราจักเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น  พิจารณาเนื้อความ.
          (๓)  เราจักไม่ละ  กายคตาสติ  สติที่ไปในกาย  คือพิจารณา
      กายเป็นอารมณ์.
๒.  พระมหากัสสปะ  (ปิปผลิ)  ได้เป็นภิกษุด้วยพระโอวาท  ๓  ข้อนี้  จัด
      เข้าในพวกเอหิภิกขุอุปสมบท  นับจากอุปสมบทมาได้  ๘  วัน
      ได้สำเร็จพระอรหัต  ภายหลังได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า  เลิศ
      ทางฝ่ายทรงธุดงค์คุณ  และได้เป็นประธานสงฆ์ในคราวปฐม
      สังคายนา.
๓.  พระศาสดาประทับอยู่  ณ  เวฬุวนาราม  ถึงวันเพ็ญเดือน  ๓  ได้มีการ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 29
      ประชุมใหญ่ที่เรียกว่า  จาตุรงคสันนิบาต  แปลว่า  การประชุม   
      มีองค์  ๔  คือ :-
          (๑)  พระที่มาประชุมเป็นพระอรหันต์  ๑,๒๕๐  องค์.
          (๒)  พระเหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุ.
          (๓)  พระเหล่านั้นมากันเองโดยมิได้นัดหมายกัน.
          (๔)  พระศาสดาทรงประทาน  พระโอวาทปาติโมกข์  ในที่
      ประชุมนั้น  ใจความแห่งพระโอวาทปาติโมกข์นั้นมี  ๓  อย่าง  คือ :-
                ก.  การไม่ทำบาปทั้งปวง.
                ข.  การทำกุศลให้ถึงพร้อม.
                ค.  การทำจิตให้ผ่องใส.
      ทั้ง ๓  อย่างนี้  จัดเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา,  (จาตุรงคสัน-
      นิบาต   นี้แหละ  เป็นมูลเหตุให้พุทธสาสนิกชนทำมาฆบูชา
      ประจำปี)
๔.  ทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ในเสนาสนะได้  ๕  ชนิด  คือ  :-
          (๑)  วิหาร      ได้แก่กุฏิมีหลังคา  มีปีก ๒  ข้าง  อย่างปกติ
          (๒)  อัฆฒโยค   "    กุฏิที่มุงซีกเดียว  (เพิง)
          (๓)  ปราสาท        "    กุฏิหลายชั้น
          (๔)  หัมมิยะ        "    กุฏิหลังคาตัด
          (๕)  คูหา             "    ถ้ำแห่งภูเขา.
๕.  ราชคหกเศรษฐี  ได้สร้างวิหาร  (กุฏิ)  ๖๐  หลัง  อุทิศถวายสงฆ์
      พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาว่า  การสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมา   
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 30
แต่จตุรทิศมีประโยชน์  คือ :-   
      ๑.  วิหารนั้นย่อมกำจัดเย็นร้อน  สัตว์ร้าย  และลมแดดเสียได้.
      ๒.   "    เหมาะแก่การอยู่สำราญ  เพื่อบำเพ็ญสมถวิปัสสนา.
      ๓.  ภิกษุผู้คงแก่เรียนอยู่อาศัยในวิหารอันมีเครื่องใช้บริบูรณ์
          ย่อมจะแสดงธรรมเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์  แก่ผู้ถวาย
          วิหารเป็นต้นนั้น   ที่เขารู้ธรรมแล้วจักสิ้นอาสวะเย็นใจ.
๖.  บุรพบิดร  ๓  ชั้นคือ  บิดา  ปู่  ทวด  เป็นผู้อันจะพึงเซ่นด้วยก้อน
      ข้าวเรียก  สปิณฑะ  แปลว่า  ผู้ร่วมก้อนข้าว.  บุรพบิดรพ้นจาด
      ทวดขึ้นไปก็ดี  ญาติผู้มิได้สืบสายโดยทรงก็ดี  เป็นผู้อันจะพึงได้รับ
      น้ำกรวด  เรียก  สมาโนทก  แปลว่า  ผู้ร่วมน้ำ.
๗.  ทรงอนุญาตให้ทำ  ปุพพเปตพลี  คือทำบุญอุทิศให้เปตชนคือผู้ตาย
      โดยเป็นกิจอันผู้ครองเรือนจะพึงทำประการหนึ่ง  (เช่นที่เราเรียก
      กันว่าทำบุญ  ๗  วัน  ๕๐  วัน  ๑๐๐  วัน  หรือครบรอบปีจากวันตาย
      ทำบุญวันสารท - ตรุษ - สงกรานต์)  โดยอนุโลมธรรมเนียมเซ่นหรือ
      ทักษิณานุปทานอุทิศบุรพบิดรของพราหมณ์  ที่เรียกว่า  ศราทธะ
      แต่ขยายให้กว้างกว่าของพราหมณ์  คืออุทิศให้ทั้งแก่  สปิณฑะ
      ทั้งแก่สมาโนทก  และไทยทานก็ให้บริจาคในสงฆ์  แทนที่จะเอาไป
      วางไว้สัตว์เช่นกาเป็นต้นกิน.
๘.  คำว่าเปตชนหมายความได้  ๒  นัย  คือ :-
          (๑)  หมายเอาคนตายแล้วทั่วไปได้ในคำว่า  เปโต  กาลกโต-
          (๒)  หมาเอาบุรพบิดร  ได้ในคำว่า  ปุพพเปตพลี.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 31
๙.  เปตชนผู้ไปเกิดในกำเนิดอื่นทั้งสุคติและทุคติ  ย่อมเป็นอยู่ด้วย 
         อาหารในคติที่เขาเกิด  ไม่ได้รับผลทานที่ทายกอุทิศให้.  ต่อไป
         เกิดใน  ปีตติวิสยะ  แดนแห่งเปตร  อทิสสมานกาย* จึงจะได้รับ.
๑๐.  เปตชนจะได้รับผลทานก็ต้องพร้อมด้วยองค์  ๓  คือ :-
          (๑)  ทายกบริจาคทานแล้วอุทิศถึง.
          (๒)  ปฏิคาหกผู้รับทานเป็นทักขิเณยยะ  ผู้ควรรับทาน.
          (๓)  เปตชนนั้นได้อนุโมทนา.
๑๑.  ทักษิณาอุทิศเฉพาะบุรพบิดรเรียกว่า  ปุพพเปตพลี,  ทักษิณาอุทิศ
      คนตายทั่วไปเรียกว่า   ทักษิณานุปทาน  แปลว่า  การตามเพิ่ม      
      ให้ทักษิณาบ้าง  เรียกว่า  มตกทาน  แปลว่า  ทานอุทิศผู้ตายบ้าง.
๑๒.  ผลของปุพพเปตพลี  หรือทักษิณานุปทาน  หรือมตกทานนั้นมีมาก
      โดยใจความมี ๔  คือ :-
          (๑)  ประโยชน์สุขสำเร็จแก่เปตชนโดยฐานะอันควรสิ้นกาล
                นาน.
          (๒)  ทายก  (ผู้ให้   ผู้ทำ)  ได้แสดงญาติธรรม.
          (๓)   "            "          ได้บูชายกย่องเปตชนอย่างโอฬาร.
          (๔)   "            "          ได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุ.
      เป็นอันว่าได้บุญไม่น้อยเลย.
๑๓.  การทำปุพพเปตพลีเป็นต้น  ย่อมบำรุงความรักใครนับถือในบุรพ-
      บิดรของตน  ให้เจริญกุศลส่วนกตัญญูกตเวทิตา  เป็นทางมาแห่ง
      ความเจริญรุ่งเรืองของสกุลวงศ์.

*  มีกายอันคนธรรมตามองไม่เห็น.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 32
๑๔.  ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในกิจกรรมนั้น  ๆ  มีอุปสมบทกรรม   
      เป็นต้น  คือ  ได้โปรดตั้งพระสารีบุตรให้เป็นอุปัชฌาย์  รับ  ราธ-
      พราหมณ์  เข้าบวชเป็นภิกษุ  ด้วย  วิธีญัตติจตุตถกรรมอุป-
      สัมปทาเป็นครั้งแรก  ในพระพุทธศาสนา.
๑๕.  ทรงแสดงวิธีไหว้ทิศทั้ง ๖  โดยใจความว่า  ผู้จะไหว้ทิศต้องเว้น
      กิจเหล่านี้  คือ :-
          (๑)  เว้นกรรมเศร้าหมอง ๔  อย่าง  (ดูนวโกวาทหน้า  ๖๗).
          (๒)  เว้นอคติ  ๔  อย่าง                (          "       ๓๖).
          (๓)  เว้นอบายมุข  ๔  อย่าง  หรือ  ๖  อย่าง  (      "  ๖๗-๘๒).
      แล้วจึงไหว้ทิศทั้ง ๖  คือ :-
          (๑)  ปุรัตถิมทิศ  ๆ  เบื้องหน้า  คือ มารดาบิดา  (   "   ๗๖).
          (๒)  ทักษิณทิศ  ๆ  เบื้องหน้า  คือ  อุปัชฌาย์อาจารย์.
          (๓)  ปัจฉิมทิศ   ๆ  เบื้องหลัง   คือ  ภรรยา.
          (๔)  อุตตรทิศ    ๆ  เบื้องซ้าย   คือ   มิตร.
          (๕)  เหฏฐิมทิศ  ๆ  เบื้องล่าง คือ  บ่าว  และลูกจ้าง.
          (๖)  อุปริมทิศ    ๆ  เบื้องบน   คือ  สมณพราหมณ์.
๑๖.  ทรงอนุญาตให้ชาวพุทธทำ  เทวตาพลี  คือ  ทำบุญอุทิศให้เทวดาโดย
      เปลี่ยนวิธีทำให้สำเร็จประโยชน์ดีกว่าวิธีของพราหมณ์   คือพวก
      พราหมณ์ใช้วิธีตั้งเครื่องสังเวยให้เหมาะแก่เทวดานั้น ๆ  เช่น :-
          (๑)  เทวดาใจดี  ก็สังเวยด้วยข้าว  ขนม  นม  เนย  และผลไม้.
          (๒)  เทวดาใจร้าย  ก็สังเวยด้วยเนื้อ  เลือด  ตลอดถึงชีวิตของ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 33
      คนหรือสัตว์.   
      การสังเวยเทวดาใจดี  ก็เพื่อให้เกิดความเอ็นดูให้ช่วยคอยพิทักษ์
      รักษา.
      การสังเวยเทวดาใจร้าย  ก็เพื่อมิให้คิดร้ายหรือทำร้ายให้เดือดร้อน.
                และเมื่อจะสังเวย  ก็เอาเครื่องสังเวยไปวางในที่นั้น ๆ
                ตามที่เทวดานั้น ๆ  สถิตอยู่  เช่น :-
          (๑)  สังเวยพระธรณี  วางที่พื้นดินหรือต้นไม้ที่กลายมาเป็น
                สังเวยรุกขเทวดา.
          (๒)  สังเวยพระคงคา  วางในน้ำ  กลายมาเป็นพิธีลอยกบาล
                หรือ  เสียกบาล.
          (๓)  สังเวยพระเพลิง  วางในกองไฟ  เรียกว่า  บูชาเพลิง.
          (๔)    "   พระอินทร์  วางบนศาลเพียงตา.
          (๕)   "    พระยม   วางในป่าช้า.
          (๖)   สังเวยเทวดาอื่น  ก็ทำไปแล้วแต่ความเหมาะสม.
๑๗.  พระศาสดาเสด็จถึงบาน  ปาฏลิคาม  ทรงรับนิมนต์เสวย
      ภัตตาหารใน  เมืองใหม่  (เมืองปาฏลิบุตร)  อัน  สุนิธพราหมณ์
      และ วัสสการพราหมณ์  กำลังสร้าง  แล้วทรงแสดงวิธีทำเทวดาพลี
      โดยใจความว่า :-
          (๑)  ผู้ฉลาดอยู่ในสถานที่ใด ๆ  ควรนิมนต์พรหมจารีผู้มีศีล
                สำรวมดีให้ฉันในที่นั้น ๆ.
          (๒)  เมื่อให้ท่านฉันแล้ว   พึงอุทิศส่วนกุศลให้แก่เทวดา
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 34
          ผู้สิงสถิตอยู่ที่นั้น.   
      และพระองค์ทรงแสดงผลของเทวดาพลีไว้ว่า :-
          (๑)  เทวดาทั้งหลายอันเขาบูชาแล้ว  ย่อมบูชาตอบ.
          (๒)    "          "          นับถือแล้ว   ย่อมนับถือตอบ.
          (๓)  จำเดิมแต่นั้นไป  เทวดานั้น  ก็ย่อมอนุเคราะห์ผู้บูชา
                นับถือนั้นด้วยจิตเมตตา  ดุจมารดากับบุตร  ฉะนั้น.
          (๔)  ผู้ที่เทวดาอนุเคราะห์คือรักษานั้น  ย่อมประสบแต่
                ความเจริญเสมอ.
๑๗. ประตูที่พระศาสดาเสด็จออกจากเมืองปาฏลีบุตรชื่อ  โคตมหทวาร
      ท่าแม่น้ำคงคาที่เสด็จข้ามชื่อ  โคตมติตถะ.
๑๙.  พระศาสดาตรัสชมเมืองปาฏลิบุตรว่า  สร้างดีได้จังหวะมีระเบียบ
      เรียบร้อย  ทรงพยากรณ์ว่าจักเป็นยอดนคร  เป็นที่ประชุมสินค้า
      แต่จักมีอันตราย  ๓ ประการ  คือ :-
          (๑)  เพลิงไหม้.
          (๒)  น้ำท่วม.
          (๓)  แตกกันเอง.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 35
                       ปริเฉทที่  ๑๐   
                      เสด็จสักกชนบท
๑.  สักกชนบท  แบ่งเป็น  ๔  นคร  คือ :-
      (๑)  นครกบิลพัสดุ์  เป็นที่อยู่ของ  (กปิลวตฺถวา  สกฺกา)  พวก
          ศากยะผู้อยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์.
      (๒)  นครวิธัญญา  เป็นที่อยู่ของ  (เวธญฺ?า  สกฺกา)  พวกศากยะ
          ผู้อยู่ในเมือง  วิธัญญา.
      (๓)  นครโคธาฬี  เป็นที่อยู่ของ  (โคธาฬิยา  สกฺกา)  พวกศากยะ
          ผู้อยู่ในเมือง  โคธาฬี.
      (๔)  นครโกฬิยะ  เป็นที่อยู่ของ  (รามคามกา  สกฺกา)  พวกศากยะ
          ผู้อยู่ในเมือง  รามคาม.
      นครโกฬิยะ  นี้  บางแห่งก็เรียกว่า  เมืองรามคาม.
๒.  พระศาสดาเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์โปรดพระพุทธบิดา  มีเรื่อง
      เล่าว่า  พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่า  พระสิทธัตถะได้เป็น
      พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว  ได้สั่งสอนธรรมแก่ประชาชน
      โดยลำดับมา  บัดนี้  ประทับอยู่  ณ  กรุงราชคฤห์  จึงตรัสสั่งให้
      อำมาตย์หลายคนไปนิมนต์  แต่พวกอำมาตย์ที่ทรงใช้ไปนั้น  ไป
      แล้วก็เงียบหายไม่ได้เชิญเสด็จพระศาสดามาตามที่ทรงรับสั่ง
      เพราะมัวไปฟังธรรมเพลินจนบรรลุอรหัต  ครั้งสุดท้ายได้ใช้ให้
      กาฬุทายิอำมาตย์  ไปนิมนต์  กาฬุทายิอำมาตย์พร้อมด้วยบริวาร
      ก็ไปฟังธรรมจนบรรลุอรหัตแล้วบวชเป็นเอหิภิกขุ  คอยอยู่จน
      สิ้นฤดูหนาว  ย่างเข้าฤดูฝน  ก็ได้ทูลเชิญพระศาสดา  พระศาสดา
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 36
      พร้อมด้วยหมู่สงฆ์ได้เสด็จจากกรุงราชคฤห์  เดินทางได้วันละ ๑   
      โยชน์  ร่วม ๒  เดือนจึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์   ประทับที่  นิโครธาราม
      ได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานเหล่าศากยะ  ผู้สูงอายุ  ซึ่งมี
      มานะไม่ยอมอภิวาทน์  พระเจ้าสุทโธทนะได้ถวายอภิวาทน์ก่อน
      ศากยะนอกนั้นก็ได้ทำตามหมด.
๓.  เหล่าศากยวงศ์  มาประชุมกันรับเสด็จพระศาสดา  เป็นมหาสัน-
      นิบาต  เรียกว่า  ญาติสมาคม  ต่างก็มีความชื่นบาน   บังเกิด
      อภินิหาร  ฝนโบกพรพรรษ  ตกตงมา  พระศาสดาทรงแสดง
      เวสสันดรชาดก  โปรด.
๔.  ในวันรุ่งขึ้นพระศาสดาเสด็จเที่ยวภิกขาจาร  ชาวบ้านพากันแตก
      ตื่น  เพราะเห็นกษัตริย์เที่ยวขอทาน  พระเจ้าสุทโธทนะไปเชิญให้
      เสด็จกลับ  พระศาสดาตรัสบอกว่า การเที่ยวบิณฑบาตนี้เป็น
      กิจวัตรของสมณะ  และได้ทรงแสดงพระคาถา  มีความว่า
          ไม่พึงประมาทในบิณฑบาต  พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
          ผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นสุข  ทั้งในโลกนี้ทิ้งในโลกหน้า.
      พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับพระคาถานี้แล้ว  ได้บรรลุโสดาปัตติ-
      ผล เป็นพระอริยเจ้า.
#3
                      พุทธประวัติสังเขป   

                      ข้อความเบื้องต้น
      การศึกษาพุทธประวัติ  คือการเรียนรู้ความเป็นไปของพระพุทธ-
เจ้า  ย่อมเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์มาก  สำหรับพุทธศาสนิกชน
เพราะพระพุทธประวัติเป็นเรื่องที่แสดงพระพุทธจรรยาของพระพุทธเจ้า
ให้ปรากฏ  ทั้งเป็นส่วนอัตตสมบัติและสัตตูปการสัมปทา  เป็นสิ่งสำคัญ
ของผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  เท่ากับพงศาวดารย่อมเป็นสิ่ง
สำคัญของชาติคน  ที่จะให้รู้ได้ว่าชาติใดได้เป็นมาแล้วอย่างไร  เพราะ
พระองค์ทรงเป็นเยี่ยงอย่างอันดี   ทั้งอุบายวิธีและระเบียบดำเนินการ
ในส่วนที่ทรงทำแก่พระองค์เองและแก่ผู้อื่น  ผู้ที่ได้ศึกษาก็จะได้เห็น
ตัวอย่างที่ดี เป็นเหตุให้ทำชีวิตของตนให้เป็นประโยชน์  ปรับปรุงความ
ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามคลองธรรม  เป็นเครื่องนำมาซึ่งชั้นต่ำ ๆ
กลาง  ๆ  ไปก่อน  กล่าวคือเรียนรู้แล้วให้รู้จักหยิบยกน้อมนำเอามาใช้
ในกิจการทางโลก  จะเป็นส่วนพระวิริยะหรือพระขันติก็ตาม  ก็คงจะได้
ประโยชนมาก  ยิ่งได้ศึกษาให้ละเอียดก็จะยิ่งรู้สึกซาบซึ้งในพระพุทธคุณ
มากขึ้น  ศรัทธา  ปสาทะ  ความเชื่อความเลื่อมใสก็เจริญมากขึ้น  เท่ากับ
ระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ได้ทำประโยชน์ไว้แก่วงศ์ตระกูล  และประเทศชาติ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 2
ของตน ๆ  แล้วจะเห็นได้ว่าท่านเหล่านั้นมีบุญมีคุณแก่ตนอย่างไร  แล้ว 
จะได้มีแก่ใจบำเพ็ญความดีเจริญรอยตาม.
      รวมความแล้วการเรียนรู้พุทธประวัติ  ย่อมได้คติ  ๓  ทาง  คือ :-
      ๑.  ทางตำนาน  ให้สำเร็จผลคือทราบเรื่องของพระพุทธเจ้าว่า
          เป็นมาอย่างไร.
      ๒.  ทางอภินิหาร   ให้สำเร็จผลคือได้เห็นวิธีการเผยแผ่พระ
          พุทธศาสนา   ที่พระองค์ทรงกระทำสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์
          และผู้ที่หนักในทางอภินิหาร   ก็จะได้ศรัทธาปสาทะในพระ
          พุทธานุภาพยิ่งขึ้น.
      ๓.  ทางธรรม  ให้สำเร็จผลคือ  ได้หยั่งทราบข้อปฏิบัติและเหตุ
          ผลที่เป็นจริงโดยละเอียดแล้วปฏิบัติถูกต้อง.
      ฉะนั้น  พุทธศาสนิกชน  นักเรียน  นักศึกษา  ควรกำหนดจดจำไว้
โดยสังเขป  ดังต่อไปนี้ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 3
                            ปุริมกาล   
                           ปริเฉทที่  ๑
                      ชมพูทวีปและประชาชน
      ๑.  ดินแดนที่เรียกว่า  ชมพูทวีป  ได้แก่ประเทศอินเดีย  (สมัยก่อน)
         อยู่ทางทิศพายัพของประเทศไทย.
      ๒.  ชมพูทวีปมีชน  ๒  ชาติ  อาศัยอยู่ต่างวาระกัน  คือ :-
             (๑)  ชาติมิลักขะ  อาศัยอยู่ก่อน.
          (๒)  ชาติอริยกะ   ยกพวกข้ามภูเขาหิมาลัยมารุกไล่เจ้าของถิ่น
                เดิม  แล้วอาศัยอยู่ทีหลัง.
      ๓.  ชมพูทวีปแบ่งออกเป็น  ๒  ส่วนใหญ่ ๆ  คือ :-
          (๑)  มัชฌิมชนบท  หรือมัธยมประเทศ  (ส่วนกลาง)  เป็น
               ที่อยู่ของพวกอริยกะ.
          (๒)  ปัจจันตชนบท  หรือปัจจันตประเทศ  (ส่วนปลายแดน)
                เป็นที่อยู่ของพวกมิลักขะ.
      ๔.  อาณาเขตของมัชฌิมชนบทนั้น มีปรากฏในพระบาลีจัมมขันธกะ
          ในมหาวรรคแห่งพระวินัย  ดังนี้  :-
          (๑)  ทิศบูรพา     จด  มหาศาลนคร  (ปัจจุบันคือเมืองเบงคอล).
          (๒)   "  อาคเนย์   "    แม่น้ำสัลลวตี.
          (๓)   "  ทักษิณ          "    เสตกัณณิกนิคม  (ปัจจุบันคือแคว้นเดกกัน).
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 4
          (๔)  ทิศปัศจิม  จด  ถูนคาม  (ปัจจุบันคือเมืองบอมเบย์).
          (๕)   "   อุดร      "   ภูเขาอุสีรธชะ (ปัจจุบันคือประเทศเนปาล).
      ๕.  มัชฌิมชนบทนั้น  เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์  เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ
          เป็นศูนย์กลางการปกครอง  และเป็นที่ประชุมนักปราชญ์คณาจารย์ 
          เจ้าลัทธิต่าง  ๆ
      ๖.  ชมพูทวีปตามในอุโบสถสูตร   ติกนิบาตอังคุตตรนิกาย  แบ่งเป็น
         ๑๖  แคว้นใหญ่  คือ  :-
                อังคะ  มคธะ  กาสี  โกสละ  วัชชี  มัลละ  เจตี  วังสะ  กุรุ
                ปัญจาละ  มัจฉะ  สุรเสนะ   อัสสกะ  อวันตี  คันธาระ  กัมโพชะ.
และระบุไว้ในสูตรอื่นอีก  ๔  แคว้น  คือ :-
                สักกะ  โกลิยะ ภัคคะ  วิเทหะ  อังคุตตราปะ.
      ๗.  การปกครองของแคว้นเหล่านี้ต่าง ๆ  กัน  คือ :-
          (๑)  มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชบ้าง.
          (๒)  มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นเพียงราชาบ้าง.      
          (๓)  มีผู้ปกครองเป็นเพียงอธิบดีบ้าง.
          (๔)  ใช้อำนาจโดยสิทธิขาดบ้าง.
          (๕)  ใช้อำนาจโดยสามัคคีธรรมบ้าง.
          (๖)  บางคราวเป็นรัฐอิสระ
          (๗)  บางคราวเป็นรัฐเสียอิสระ.
      ๘.  ประชาชนในชมพูทวีปแบ่งออกเป็น ๔  วรรณะ  (พวก)  คือ :-
          (๑)  กษัตริย์  จำพวกเจ้ามีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 5
          (๒)  พราหมณ์   จำพวกเล่าเรียนมีหน้าที่ฝึกสอนและทำพิธี.
          (๓)  แพศย์        จำพวกพลเรือนมีหน้าที่ประกอบอาชีพ  เช่นทำ
                            นา  ค้าขาย.      
          (๔)  ศูทร            จำพวกคนงานมีหน้าที่รับจ้าง.
      ๙.  ชนทั้ง  ๔  จำพวกเหล่านี้  พวกที่  ๑-๒  จัดเป็นชั้นสูง  ที่  ๓  เป็น 
          ชั้นสามัญ  ที่  ๔  เป็นชั้นต่ำ  พวกสูงถือตัวจัด  ไม่ยอมร่วมกิน
          ร่วมนอนกับพวกต่ำ  หากบังเกิดมีร่วมกัน  ลูกที่ออกมาจัดเป็นอีก
          จำพวกหนึ่งเรียกว่า  จัณฑาล  ถือว่าเลวมาก.
      ๑๐.  การศึกษาของคนในสมัยนั้นก็เป็นไปตามวรรณะนั้น  ๆ  คือ  มีหน้าที่
          อย่างไร  ก็ศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่นั้น.
      ๑๑.  คนในสมัยนั้นสนใจวิชาธรรมมาก   จึงมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน
         ต่าง ๆ  เช่น :-

          (๑)  เกี่ยวกับเรื่องสังสารวัฏ  ๒  พวกใหญ่ ๆ             ๑.  เห็นว่าตายแล้วเกิด.
                                                          ๒.  เห็นว่าตายแล้วสูญ.
          (๒)  เกี่ยวกับเรื่องสุขทุกข์  ๒  พวกใหญ่  ๆ          ๑.  สุขทุกข์เกิดจากเหตุ-
                                                          ๒.  สุขทุกข์ไม่เกิดจากเหตุ.
      ๑๒.  คนในสมัยนั้นทั้ง  ๔  วรรณะ   ก่อนแต่พระพุทธเจ้าอุบัติก็ได้ถือ
          ศาสนาพราหมณ์  ถือว่าโลกธาตุทั้งปวงมีเทวดาสร้าง   จึงพากัน
          เช่นสรวงด้วยการบูชายัญและประพฤติตบะทรมานร่างกายต่าง ๆ.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 6
                        ปริเฉทที่  ๒   
             สักกชนบท  และศากยวงศ์  โกลิยวงศ์
      ๑.  ตำนานสักกชนบทมีเรื่องย่อว่า  พระเจ้าโอกากราชในพระ-
นครหนึ่งมีพระราชบุตร  ๔ ราชบุตรี  ๕  พระองค์  ครั้นพระมเหสีทิวงคต
แล้ว  ได้พระมเหสีใหม่ได้มีพระโอรสอีก  ๑  พระองค์  พระราชทาน
ราชสมบัติให้แก่พระโอรสองค์เล็กนั้น  โปรดให้พระราชบุตร  และ
พระราชบุตรีทั้ง ๙  ไปสร้างพระนครใหม่ในดงไม้สักกะ  จึงได้ชื่อว่า
สักกชนบท  และดงไม้สักกะนั้นเป็นที่อยู่ของพวกกบิลดาบส  จึงได้
ตั้งชื่อนครใหม่นั้นว่า  กบิลพัสดุ์.
      ๒.  พระราชบุตร  พระราชบุตรี  ๘  พระองค์  สมสู่กันเอง
ในนครกบิลพัสดุ์  จัดเป็นต้นวงศ์ศากยะ.
      ๓.  พระเชฏฐภคินีได้เป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงเทวทหะ  จัด
เป็นต้นวงศ์โกลิยะ.
      ๔.  ศากยวงศ์  กับ  โกลิยวงศ์  สืบเชื้อสายลงมาโดยลำดับ  เท่าที่
ปรากฏอยู่  มีดังนี้ :-
          ศากยวงศ์                        โกลิยวงศ์
       พระเจ้าชยเสนะ                  ไม่ปรากฏพระนาม
มีพระราชบุตร  และพระราชบุตรี      พระเจ้าในโกลิยวงศ์   ไม่ปรากฏ
รวม  ๒  พระองค์  คือ :-                พระนาม  มีพระราชบุตร  และ
      (๑)  พระเจ้าสีหหนุ                พระราชบุตรี  ๒  พระองค์  คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 7
      (๒)  พระนางเจ้ายโสธรา                (๑)  พระเจ้าอัญชนะ
                                        (๒)  พระนางเจ้ากัญจนา

พระเจ้าสีหหนุกับพระนางเจ้ากัญ-      พระเจ้าอัญชนะ  กับ  พระนางเจ้า   
จนามีพระราชบุตรและพระราช-      ยโสธรา  มีพระราชบุตรและพระ
บุตรี  รวม  ๗  พระองค์  คือ :-          ราชบุตรี  รวม  ๔  พระองค์  คือ :-
      (๑)  พระเจ้าสุทโธทนะ                (๑)  พระเจ้าสุปปพุทธะ
      (๒)  เจ้าชายสุกโกทนะ                (๒)  เจ้าชายฑัณฑปาณิ
      (๓)     "       อมิโตทนะ          (๓)  พระนางเจ้ามายาเทวี
      (๔)     "    โธโตทนะ                (๔)  พระนางเจ้าปชาบดี
      (๕)     "    ฆนิโตทนะ                (โคตมี)
      (๖)  เจ้าหญิงปมิตา
      (๗)  พระนางเจ้าอมิตา

๑.  พระเจ้าสุทโธทนะ  มีพระราช-      พระเจ้าสุปปพุทธะ  กับ  พระนาง
บุตร และพระราชบุตรี ๓ พระองค์      เจ้าอมิตา  มีพระราชบุตร  และ
ประสูติแต่พระนางเจ้ามายาเทวี ๑      พระราชบุตรี  ๒  พระองค์  คือ:-
พระองค์  คือ:-                              (๑)  พระเทวทัต
      (๑)  พระสิทธัตถกุมาร                (๒)  พระนางพิมพา  หรือ
และประสูติแต่พระนางเจ้าปชาบดี                ยโสธรา
อีก  ๒  พระองค์  คือ :-
      (๑)  พระนันทะ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 8
      (๒)  พระนางรูปนันทา 
๒.  สุกโกทนะ  กับนางกีสาโคตมี
    มีพระโอรส  ๑  พระองค์  คือ
    (๑)  พระอานนท์
๓.  อมิโตทนะมีพระราชบุตร  และ
    พระราชบุตรี  ๓  พระองค์  คือ
    (๑)  พระเจ้ามหานามะ
    (๒)  พระอนุรุทธะ
    (๓)  พระนางโรหิณี

๑.  พระสิทธัตถะกับพระนางพิมพา
    มีพระโอรส  ๑  พระองค์  คือ
    พระราหุล
๒.  พระเจ้ามหานามะ  กับนางทาสี
    มีพระธิดา  ๑  พระองค์  คือ
    พระนางวาสภขัตติยา

    พระนางวาสภขัตติยาได้เป็น
    พระอัครมเหสี  ของพระเจ้า
    ปเสนทิโกศลได้พระโอรส  ชื่อ
       "พระเจ้าวิฑูฑภะ"
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 9
                            ปริเฉทที่  ๓   
                         พระศาสดาประสูติ
      ๑.  พระพุทธเจ้าของเราเป็นชนชาวชมพูทวีป หรือ  ชาวเนปาล  เชื้อ
          ชาติอริยกะ แปลว่า  ชาติที่เจริญ  คือเจริญด้วยความรู้ขนบ
          ธรรมเนียม  ศีลธรรมและฤทธิ์อำนาจ.
      ๒.  พระองค์  เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ  และ  พระนาง-
          เจ้ามายาเทวี.
      ๓.  พระองค์มีพระเจ้าสีหหนุเป็นพระเจ้าปู่  มีพระนางเจ้ากัญจนาเป็น
          พระเจ้าย่า  มีพระเจ้าอัญชนะเป็นพระเจ้าตา  มีพระนางเจ้ายโสธรา
          เป็นพระเจ้ายาย.
      ๔.  พระองค์  ไม่มีพี่น้องร่วมท้องมารดากันเลย  แต่มีน้องต่างมารดา
          กัน  ๒  พระองค์  คือ  พระนันทกุมาร  ๑  พระรูปนันทากุมารี ๑
          ซึ่งประสูติแต่พระนางเจ้าปชาบดีโคตมี.
      ๕.  พระศาสดา  ได้เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา  เมื่อเวลาใกล้
          รุ่ง  วันพฤหัสบดี  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๘  ปีระกา  บังเกิดแผ่นดิน
          ไหว  (เหตุแผ่นดินหวั่นไหว  ๘  ประการ  คือ (๑)  ลมกำเริบ
          (๒)  ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล  (๓)  พระโพธิสัตว์จุติลงสู่พระครรภ์
          มารดา  (๔)  พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์  (๕)  พระโพธิ-
          สัตว์ตรัสรู้  (๖)  พระพุทธเจ้ายังธรรมจักรให้เป็นไป  (๗)  พระ
          พุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร  (๘)  พระพุทธเจ้าปรินิพพาน).
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 10
      ๖.  พระองค์  ประสูติจากพระครรภ์มารดา  เมื่อเวลาสายใกล้เที่ยง 
          วันศุกร์  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๖  ปีจอ  ก่อนแต่  พ.ศ.  ไป  ๘๐  ปี.
      ๗.  พระองค์ประสูติที่  ใต้ร่มไม้สาละในลุมพินีวัน  ซึ่งตั้งอยู่ริมเขต
          เมืองกลิบพัสดุ์  และริมเขตเมืองเทวทหะต่อกัน  (ตำบลรุมมินเด
          แขวงเปชวาร์  ประเทศเนปาล).
      ๘.  พอประสูติแล้ว  พระมารดาและพระญาติพากลับมประทับอยู่ใน
          พระราชวัง  เมืองกบิลพัสดุ์  ตามพระดำรัสพระราชบิดา.
      ๙.  มี  อสิตดาบส  (กาฬเทวิลดาบส)   เข้ามาเยี่ยมถึงในพระราชวัง
          เห็นลักษณะแห่งพระราชกุมาร  จึงทำนายว่ามีคติเป็น  ๒  คือ :-
          (๑)  ถ้าไม่บวชจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีอำนาจมาก.
          (๒)  ถ้าบวชจะได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้สอนดีที่ ๑  ในโลก  (ศาสดาเอก)
      ๑๐.  ประสูติแล้ว  ๕  วัน  พราหมณ์  ๑๐๘  คน  มารับประทานอาหาร
          กันแล้ว  จึงขนานพระนามให้แก่พระกุมารว่า  สิทธัตถะ  แปลว่า
         ผู้มีความต้องการสำเร็จ.
      ๑๑.  ประสูติแล้วต่อมา  ๗  วัน  พระมารดาสิ้นพระชนม์  ได้รับการ
          ชุบเลี้ยงจากพระนางเจ้าปชาบดีต่อมา.
      ๑๒.  เจริญวัยขึ้นราว  ๗  ขวบ  พระบิดาให้คนขุดสระปลูกบัวไว้  ๓  สระ
          สำหรับให้พระกุมารทรงเล่นสำราญ  และทรงนำพระกุมารไปให้
          ศึกษาศิลปวิทยา  ในสำนักครูชื่อ  วิศวามิตร  พระกุมารเรียนได้
         จบความรู้ของครูโดยไม่ช้าเหมอนเด็กอื่น ๆ.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 11
      ๑๓.  พระชนมายุ  ๑๖  ปี  พระบิดาให้คนสร้างปราสาทขึ้น  ๓  หลัง  แล้ว
               ให้พระสิทธัตถะราชโอราสอภิเษก (แต่งงาน)  กับพระนางพิมพา
          ให้อยู่ในปราสาททั้ง  ๓  หลังนั้น  ตามฤดูหนาว  ฤดูร้อน  ฤดูฝน
          เป็นลำดับ   
      ๑๔.  พระชนมายุ  ๒๙  ปี  ได้พระโอรส  ๑  พระองค์  ทรงพระนามว่า
          ราหุล   แปลว่า  บ่วง  หรือห่วง.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 12
                        ปริเฉทที่  ๔   
                     เสด็จออกบรรพชา
๑.  พระองค์เสด็จออกทรงผนวชในปีที่มีพระชนมายุ  ๒๙  ปีนั้นเอง.
๒.  มูลเหตุที่พระองค์ออกผนวช  ในอรรถกถามหาปทานสูตร  กล่าวว่า
    ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต  ๔  คือ   คนแก่  คนเจ็บ    คนตาย
    และสมณะ  อันเทวดาแสร้งนิมิตไว้ในระหว่างทาง.  และใน
    ปาสราสิสูตรมัชฌิมนิกายแสดงว่า  ทรงปรารภความแก่  เจ็บ  ตาย
    อันครอบงำทุกคน  ไม่ล่วงพ้นไปได้  แล้วจึงทรงดำริว่า  เราควร
    แสวงหาเครื่องแก้ความแก่  เป็นต้น  แต่ถ้าอยู่ในพระราชวัง  โดย
    ไม่บวช  ก็คงมีแต่เรื่องเศร้าหมองมัวเมา  จึงตกลงพระทัยออกผนวช.
๓.  พระองค์หนีออกผนวชตอนกลางคืน  ทรงม้าชื่อ  กัณฐกะ  ออกไป
    มีนายฉันนะตามเสด็จไปด้วย   เพื่อนำม้ากลับ  นี้กล่าวตามพระอรรถ-
    กถาจารย์.  ส่วนพระมัชฌมภาณกาจารย์กล่าวว่า  เสด็จออกซึ่งหน้า
    อีกนัยหนึ่งว่า  เสด็จออกสรงน้ำในชลาลัยศักดิ์สิทธิ์แล้วไม่เสด็จกลับ.
๔.  พระองค์ทรงผนวชที่ฝั่ง  แม่น้ำอโนมา   ป่าอนุปิยอัมพวัน  แขวง
    มัลลชนบท.
๕.  ผ้ากาสายะและบาตร   พระอรรถกถาจารย์ว่า  ฆฏิการพรหม   นำมา
    ถวาย.  สมเด็จ ฯ  ทรงสันนิษฐานว่า  น่าจะทรงได้ในสำนักบรรพชิต
    ผู้ได้สมาบัติ----หรือได้มาด้วยการตระเตรียม.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 13
                           ประเฉทที่  ๕   
                              ตรัสรู้
๑.  ทรงบรรพชาแล้วประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน  ๗  วันแล้ว  เสด็จผ่าน
    กรุงราชคฤห์  พระเจ้าพิมพิสาร  พระเจ้าแผ่นดินมคธ  ครั้งยัง
    เป็นพระราชกุมาร   ตรัสชวนให้อยู่จะพระราชทานอิสริยยศยกย่อง
    พระองค์ไม่ทรงรับ  และแสดงว่า  มุ่งจะแสวงหาพระสัมมาสัม-
    โพธิญาณ.
๒.  พระเจ้าพิมพิสารขอปฏิญญาว่า  ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาโปรด.
๓.  ได้ไปศึกษาอยู่ในสำนักอาจารย์ทั้ง  ๒  คือ :-
          (๑)  อาฬารดาบส  กาลามโคตร  (ได้สมาบัติ ๗).
          (๒)  อุทกดาบส  ราวบุตร  (ได้สมาบัติ  ๘).
      เรียนจบความรู้ของอาจารย์ได้สมาบัติ  ๘  คือ :-
          (ก)  รูปฌาน  ๔  มี      ปฐมฌาน
                              ทุติยฌาน
                              ตติยฌาน
                              จตุตถฌาน
          (ข)  อรูปฌาน ๔ มี      อากาสานัญจายนะ
                              วิญญาณัญจายตนะ
                              อากิญจัญญาตนะ
                              เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 14
๔.  เสด็จออกจากสำนักอาจารย์  ไปทำความเพียร  เพื่อจะได้ตรัสรู้อยู่ที่ 
    ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ด้วยทุกรกิริยา ๓  อย่าง  คือ :-
          (๑)  กดฟันกับฟัน  กดลิ้นกับเพดาน.
          (๒)  กลั้นลมหายใจ.
          (๓)  อดอาหาร.
    จนพระรูปผอมมาก  ก็ยังไม่ได้ตรัสรู้เลย.
๕.  อุปมา  ๓  ข้อ  ปรากฏแก่พระองค์ว่า :-
          (๑)  ผู้มีกายและจิตยังไม่ออกจากกาม  ตรัสรู้ไม่ได้  เปรียบ
                 เหมือนไม้สดแช่น้ำ  สีไม่ติดไฟ.
          (๒)  ผู้มีกายออกแล้ว  แต่จิตยังไม่ออกจากกาม  ตรัสรู้ไม่ได้
                เหมือนไม้สดตั้งบนบก  สีไม่ติดไฟ.
          (๓)  ผู้มีกายและจิตออกจากกามแล้ว  ควรตรัสรู้ได้  เหมือน
                 ไม้แห้งตั้งบนบก  อาจสีให้เกิดไฟได้.
๖.  นับจากวันผนวชมาได้  ๖  ปี  พระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาส  ของ
    นางสุชาดา  รับหญ้าของ  นายโสตถิยะ  ลาดต่างบัลลังก์ที่โคนโพธิ์
    ประทับนั่งตั้งพระทัยอธิษฐานว่า    ยังไม่บรรลุโพธิญาณเพียงใด
    จักไม่ลุกขึ้นเพียงนั้น  เนื้อเลือดแห่งไปเหลือหนังหุ้มกระดูกก็ตาม.
๗.  ขณะนั้นมารคือกิเลสเกิดขึ้นในพระทัย  พระองค์ทรงผจญมารด้วย
    พระบารมี  ๑๐  ทัศ  คือ  ๑.  ทาน  ๒.  ศีล  ๓.  เนกขัมมะ  ๔.  ปัญญา
    ๕.  วิริยะ  ๖.  ขันติ  ๗.  สัจจะ   ๘.  อธิษฐาน  ๙.  เมตตา  ๑๐.  อุเบกขา
    ชนะแล้ว  บรรลุญาณ  ๓  คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 15
          (๑)  บุพเพนิวาสานุสติญาณ.   
          (๒)  ทิพพจักขุญาณ.      
          (๓)  อาสวักขยญาณ.
      ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  เมื่อวันพุธ  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖
      ก่อนแต่  พ. ศ.  ๔๕  ปี  ที่ต้นไม้โพธิ  (อัสสัตถพฤกษ์)  ฝั่งแม่น้ำ
      เนรัญชรา.
๘.  คำว่า  ตรัสรู้  นั้นคือรู้ของจริง ๔  อย่าง  คือ :-
          (๑)  รู้ทุกข์  คือ  ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ.
          (๒)  รู้เหตุเกิดทุกข์  คือ  ความอยาก.
          (๓)  รู้ความดับทุกข์  คือ  หมดความอยาก.
          (๔)  รู้มรรค  คือ  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
๙.  ชื่อเดิมของพระองค์ว่า  สิทธัตถะ  แต่พอตรัสรู้ของจริงทั้ง ๔  นี้
    แล้ว   จึงได้พระนามว่า  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แปลว่า  ผู้ตรัสรู้
    ดีถูกต้องด้วยตนเอง.
๑๐.  ครูวิศวามิตรก็ดี    อาฬารดาบส  และอุทกดาบสก็ดี   ไม่ได้สอน
         ของจริงทั้ง  ๔  อย่างนี้เลย  ของจริงนี้  พระองค์ตรัสรู้เอาเอง
      เพราะฉะนั้น  จึงได้พระนามว่า  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 16
                      ปฐมโพธิกาล   
                      ปริเฉทที่  ๖
                ปฐมเทศนา  และ ปฐมสาวก
๑.  ครั้นตรัสรู้แล้ว  ได้ประทับในที่   ๗  แห่ง ๆ  ละ  ๗  วัน  คือ :-
      (๑)  ที่  ต้นโพธิ  (อัสสัตถพฤกษ์)  เป็นสถานที่ตรัสรู้นั้นเอง
เสวยวิมุตติสุข  พิจารณาปฏิจจสมุปบาท,  เปล่งอุทาน  ๓  ข้อใน
๓  ยามแห่งราตรี.
      (๒)  ที่  ต้นไทร  (อชปาลนิโครธ)  อยู่ทิศตะวันออกของ
ต้นโพธิ  เสวยวิมุตติสุข,  มีพราหมณ์  หุหุกชาติ   มาทูลถามถึง
พราหมณ์  และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์.
      (๓)  ที่  ต้นจิก  (มุจจลินท์)  อยู่ทิศอาคเนย์ของต้นโพธิ
เสวยวิมุตติสุข,  เปล่งอุทานว่า  ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรม
ได้สดับแล้วเป็นต้น,   มีฝนตกพรำ,   มีพระยานาคชื่อมุจจลินท์
เข้ามาวงด้วยขนด  ๗  รอบ  แผ่พันพานปกพระองค์.
      (๔)  ที่  ต้นเกต  (ราชายตนะ)  อยู่ทิศทักษิณของต้นโพธิ
ได้มีนายพาณิช  คือ  ตปุสสะ  ๑  ภัลลิกะ  ๑  ถวายข้าวสัตตุก้อน
สัตตุผง  แก่พระพุทธองค์  เป็นปฐมบิณฑบาตหลังจากตรัสรู้แล้ว
แสดงตนเป็นอุบาสก  ถึงพระพุทธ  กับพระธรรม  ก่อนใคร  ๆ  ใน
โลก  (เทฺววาจิกอุปาสก).
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 17
           (๕)  ที่อนิมมิสเจดีย์  อยู่ทางทิศอีสานของต้นโพธิ  เสด็จ
      ยืนจ้องดูต้นมหาโพธิ  ไม่กระพริบพระเนตร.   
          (๖)  ที่รัตนจงกรม  อยู่ระหว่างต้นโพธิ  กับ อนิมมิสเจดีย์
      เสด็จจงกรมในที่ซึ่งนิรมิตขึ้น.
          (๗)  ที่เรือนแก้ว  อยู่ทางทิศปัจฉิมพายัพของต้นโพธิ
      ทรงพิจารณาอภิธัมมปิฎกในเรือนแก้ว  ซึ่งเทวดานิรมิตขึ้น.
๒.  บาลีมหาวรรคว่ามีเพียง  ๔  แห่ง  อรรถกถาสามนต์  เติมอีก  ๓  แห่ง
    เรียงลำดับดังนี้  ๑.  โพธิ   ๒.  อนิมมิส   ๓.  จงกรม   ๔.  เรือนแก้ว
    ๕.  ไทร   ๖.  จิก   ๗.  เกต.
๓.  เสด็จจากไม้เกตลับไปร่มไม้ไทรอีก   ทรงพิจารณาเห็นว่า
    ธรรมนี้ลึกซึ้ง  ยากที่ผู้ยินดีในกามคุณจะรู้ตามได้  แต่ผู้มีกิเลสน้อย
    อาจรู้ได้  เพราะความทั้งหลาย  เปรียบด้วยดอกบัว ๔  เหล่า  คือ :-
          (๑)  ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าอาจรู้ธรรมได้ฉับพลัน   เปรียบ
                เหมือนดอกบัวจักบานวันนี้.
          (๒)  ผู้มีอินทรีย์ปานกลาง   เปรียบเหมือนดอกบัวจักบาน
                วันพรุ่งนี้.
          (๓)  ผู้มีอินทรีย์อ่อน   เปรียบเหมือนดอกบัวจักบานในวัน
                ต่อไป.
          (๔)  คนอาภัพ  กิเลสหนาแน่นไม่อาจรู้ธรรมเลย   เปรียบ
                เหมือนดอกบัวที่เป็นเหยื่อของปลาและเต่า.      
          จึงทรงตั้งพระหฤทัยเพื่อแสดงธรรม  และตั้งปณิธานเพื่อดำรง
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 18
      พระชนม์อยู่จนพระศาสนาแพร่หลายถาวร.   
๔.  ขึ้น  ๑๔  ค่ำ  เดือน  ๘  เสด็จไปพาราณสี  เจออุปกาชีวก  ระหว่าง
      แม่น้ำคยากับพระมหาโพธิ์ต่อกัน  อุปกาชีวกทูลถามถึงศาสดา  พระ
      องค์ตรัสตอบว่า  พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้เอง  ไม่มีใครเป็นครูสอน.
      อุปกาชีวกไม่เชื่อสั่นศีรษะแล้วหลีกไป  พระองค์เสด็จไปป่าอิสิปตน-
      มฤคทายวัน.
๕.  วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๘  ปีที่ตรัสรู้นั้นเอง   ได้ทรงแสดงธรรม
      ชื่อว่า  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  โปรดปัญจวัคคีย์  คือ  ฤษี  ๕  ตน
      คือ  โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ  มหานามะ  อัสสชิ  ที่ป่าอิสิปตน-
      มฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี.
๖.  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  อันนับเป็นปฐมเทศนา  มีใจความเป็น
      ๕  ตอน  คือ  :-
          (๑)  ทรงชี้ทางผิด  (สุดโต่ง)  ๒  อย่าง  อันได้แก่ความ
                หมกมุ่นในกาม  และการทรมานตนให้ลำบาก  ว่า
                เป็นทางไม่ควรเสพ  แล้วทรงชี้ทางถูก  (มัชฌิมา
                ปฏิปทา   คืออริยมรรคมีองค์  ๘ )  ว่าเป็นทางแห่ง
                พระนิพพาน.
          (๒)  ทรงชี้ความจริงแท้  (อริยสัจ)  ๔  อย่าง  คือ  ทุกข์
                สมุทัย  นิโรธ  มรรค.
          (๓)  ทรงยืนยันว่าเป็นพระพุทธะ    เพราะทรงรู้จักตัว
                ความจริง  หน้าที่เกี่ยวกับความจริง  และได้ทรงทำ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 19
          กิจที่เกี่ยวกับความจริงเสร็จแล้ว.   
      (๔)  ทรงแสดงความพ้นวิเศษ  สุดชาติสิ้นภพ  อันเป็น
          ผลของการรู้เห็นความจริงแท้นั้น.
      (๕)  ผลของการแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  พระ-
          โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดมีความเกิด
          เป็นธรรมดา   สิ่งนั้นทั้งหมด  มีความดับเป็น
          ธรรมดา  (เป็นพระโสดาบัน).  แล้วขอบวชได้เป็น
          พระเอหิภิกขุสงฆ์  สาวกโสดาบัน  องค์แรกในโลก
          (ข้อนี้แหละเป็นมูลเหตุให้  พุทธศาสนิกชนทำ
          อาสฬหบูชาประจำปี).
๗.  อยู่มาถึงวันแรม  ๕  ค่ำ  เดือน  ๙  (เดือน  ๘  ของไทย)  ปีนั้น
      พระพุทธเจ้าแสดงธรรมชื่อ  อนัตตลักขณสูตร  มีใจความเป็น
      ๕  ตอน  คือ :-
          (๑)  ทรงแสดงว่าเบญจขันธ์มิใช่ตัวตน  เป็นไปเพื่อความ
                เจ็บป่วย  บังคับไม่ได้.
          (๒)  ทรงตั้งปัญหาให้พระปัญจวัคคีย์ตอบเป็นข้อ ๆ  จนได้
                ความแน่นอนว่า  เบญจขันธ์ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์   มี
                ความแปรปรวนเป็นธรรมดา  ไม่ควรลงความเห็นว่า
                เบญจขันธ์เป็นของเรา  เราเป็นเบญจขันธ์  เบญจขันธ์
                เป็นตัวตนของเรา.
          (๓)  ทรงเน้นเป็นการเตือนให้เบญจวัคคีย์ลงความเห็น
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 20
                ด้วยปัญญาชอบตามเป็นจริงว่า  เบญจขันธ์ทั้งหมด   
                คือที่เป็นอดีต   อนาคต  ปัจจุบัน  ภายใน  ภายนอก
                หยาบ  ละเอียด  เลว  ประณีต  ไกลหรือใกล้ก็ตาม
                ไม่ใช่ของเรา  เราไม่เป็นเบญจขันธ์ ๆ  ไม่เป็นตัว
                ตนของเรา.
          (๔)       ทรงสรูปผลของการปฏิบัติว่า  พระอริยสาวกเมื่อ
                ลงความเห็นอย่างนี้แล้ว  ย่อมเบื่อหน่ายในเบญจ-
                ขันธ์  เมื่อเบื่อหน่าย  ย่อมคลายกำหนัด  เพราะคลาย
                กำหนัด  จิตจึงหลุดพ้นจากความถือมั่น  สิ้นชาติ  จบ
                พรหมจรรย์  เสร็จกิจ.
          (๕)  ผลของการแสดงอนัตตลักขณสูตร พระปัญจวัคคีย์
                สำเร็จพระอรหัต.
๘.  ครั้งนั้นพระอรหันต์ในโลก  ๖  องค์  คือพระพุทธเจ้า  ๑  พระสาวก  ๕.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 21
                         ปริเฉทที่  ๗   
               ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
๑.  พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมชื่อ  อนุปุพพีกถา  ๕  ข้อ  คือ:- 
          (๑)  ทาน   คือการเอื้อเฟื้อ  เผื่อแผ่.
          (๒)  ศีล  คือรักษากายวาจาให้เรียบร้อย.
          (๓)  สวรรค์  คือกามคุณที่บุคคลใคร่  ซึ่งจะได้ด้วยทานศีล.
          (๔)  โทษของกามคุณ  คือกามคุณนั้นไม่เที่ยงประกอบด้วย
                ความคับแต้น.
          (๕)  คุณของการบวช  คือเว้นจากกามคุณได้แล้วไม่มีความ
      คับแค้น.  และแสดงอริยสัจ  ๔  (สามุกกังสิกา  ธัมมเทสนา  พระธรรม-
      เทศนาที่พระองค์ยกขึ้นแสดงเอง)  โปรดลูกชายเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ
      ยส  ยสได้เป็นโสดาบัน  ภายหลังได้ฟังอนุปุพพีกถา  ๕  ข้อ  และอริย-
      สัจนั้นซ้ำอีก  จึงได้เป็นพระอรหันต์แล้วของบวช.
๒.  บิดาพระยส  เป็นอุบาสก  มารดาและภรรยาเก่า  ของพระยศ
      เป็นอุบาสิกา  ถึงรัตนตรัยคนแรกในโลก  (เตวาจิกอุบาสก - อุบา-
      สิกา)  และได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นโสดาบัน  เพราะได้ฟังอนุ-
      ปุพพีกถา  และอริยสัจเหมือนกัน  แล้วเลี้ยงพระกระยาหารอัน
      ประณีต  แด่พระศาสดาและพระยส  ก่อนกว่าใคร ๆ ในโลก.
๓.  พระองค์ได้ทรงแสดงอนุปุพพีกถานั้น  โปรดสหายของพระยส ๔
      คนคือ  วิมล,  สุพาหุ,  ปุณณชิ,  และควัมปติ  และสหายอื่นอีก  ๕๐
      คน  จนได้เป็นโสดาบันแล้วทั้งหมดบวชเป็นภิกษุ  และได้เป็น
      พระอรหันต์.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 22
๔.  รวมพระอรหันต์ในคราวนั้น  ๖๑  องค์  ทั้งพระพุทธเจ้า  พระพุทธ-   
      เจ้าทรงส่งไปแสดงธรรมสอนประชาชนทุกทิศ.
๕.  พระศาสดาเสด็จจากพาราณสี  จะไปตำบลอุรุเวลา  แวะพักที่
      ไร่ฝ้าย,  ภัททวัคคีย์ ๓๐  คนเข้ามาทูลถามหาหญิง  พระองค์ย้อน
      ถามว่า  ท่านจะแสวงหาหญิง  หรือว่าหาตนดีกว่า  ตอบว่า
      หาตนดีกว่า  พระองค์จึงให้พวกสหายนั้นนั่นลง  แล้วแสดง
      อนุปุพพีกถาและอริยสัจ  ภัททวัคคีย์  ได้ดวงตาเห็นธรรม*  ขอบวช
      พระองค์ประทานอุปสมบทแล้ว  ส่งไปประกาศพระศาสนา.
๖.  พระองค์เสด็จไปถึงตำบลอุรุเวลา  ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  แสดง
      ธรรมทรมานชฎิล  (ฤาษี)  ๓  ตนพี่น้อง คือ  :-
          (๑)  อุรุเวลากัสสป  มีบริวาร  ๕๐๐  ตน.
          (๒)  นทีกัสสป     มีบริวาร  ๓๐๐  ตน.
          (๓)  คยากัสสป    มีบริวาร  ๒๐๐  ตน.
      เขาได้บวชเป็นภิกษุทั้งหมดพร้อมกับบริวาร  ภายหลังได้ฟังธรรม
      ชื่อ    อาทิตตปริยายสูตร   ที่ตำบลคยาสีสะ  ใกล้แม่น้ำคยา.
๗.  อาทิตตปริยายสูตรมีใจความเป็น  ๓  ตอน  คือ :-
          (๑)  ทรงแสดงว่า  สิ่งทั้งปวง  คือ  อายตนะภายใน
                อายตนะภายนอก  วิญญาณ  ผัสสะ  เวทนา  เป็นของ
                ร้อน   ร้อนเพราะไฟ  คือราคะ   โทสะ  โมหะ
                ร้อนเพราะ  เกิด  แก่  ตาย  โศก  คร่ำครวญ  เจ็บกาย
                เสียใจ  คับใจ.

*  ในปฐมสมโพธิ์ว่า  ได้แก่  มรรคผลเบื้องต่ำทั้ง ๓
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 23
          (๒)  ทรงสรูปผลของการปฏิบัติว่า  พระอริยสาวก  เมื่อ   
                ลงความเห็นอย่างนี้  ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวงนั้น
                เมื่อเบื่อหน่าย   ย่อมคลายกำหนัด  เพราะคลาย
                กำหนัด  จิตจึงหลุดพ้นจากความถือมั่น  สิ้นชาติ  จบ
                พรหมจรรย์  เสร็จกิจ.
          (๓)  ผลของการแสดงอาทิตตปริยายสูตร  ภิกษุชฎิลพันรูป
                สำเร็จพระอรหัต.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 24
                         ปริเฉทที่  ๘   
         เสด็จไปกรุงราชคฤห์แคว้นมคะ  และได้อัครสาวก
๑.  พระองค์เสด็จไปกรุงราชคฤห์  ประทับ ณ  ลัฏฐิวัน  (สวนตาลหนุ่ม)
      ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ  ๔  โปรดพระเจ้าแผ่นดินมคธ
      พระนามว่า  พิมพิสาร   ท้าวเธอพร้อมด้วยบริวาร  ๑๑  ส่วนได้ดวงตา
      เห็นธรรม  อีก ๑  ส่วนตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์.
๒.  ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสารครั้งยังเป็นพระราชกุมาร  ๕  ข้อ
      คือ :-
          (๑)  ขอให้ข้าพเจ้
#4
  ประวัติแห่งพระโมคคัลลานะ
      พระโมคคัลลานะนั้น  เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านผู้หนึ่ง  ผู้โมค-
คัลลานโคตรและนางโมคคัลลี  ชื่อนี้น่าจะเรียกตาสกุล  เกิดในตำบล
บ้านไม่ห่างแต่กรุงราชคฤห์  มีระยะทางพอไปมาถึงกันกับบ้านสกุลแห่ง
พระสารีบุตร  ท่านชื่อ โกลิตะมาก่อน  อีกอย่างหนึ่ง  เขาเรียกตาม
โคตรว่า  โมคคัลลานะ   เมื่อท่านมาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว
เขาเรียกท่านว่า  โมคคัลลานะ  ชื่อเดียว.   จำเดิมแต่ยังเยาว์จนเจริญวัยแล้ว
ได้เป็นมิตรผู้ชอบพอกันกับพระสารีบุตร  มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน  มีสกุล
เสมอกัน  ได้ศึกษาศิลปศาสตร์ด้วยกันมา  ได้ออกบวชเป็นปริพาชกด้วย
กัน  ได้เข้าอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ด้วยกัน  ดังกล่าวแล้วในประวัติ
แห่งพระสารีบุตร.   ในอธิการนี้  จักกล่าวประวัติเฉพาะองค์พระโมค-
คัลลานะเป็นแผนกออกไป.
      จำเดิมแต่ท่านได้อุปสมบทแล้วในพระธรรมวินัยนี้ได้ ๗ วัน  ไป
ทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม  แขวงมคธ  อ่อนใจนั่งโงกง่วง
อยู่   พระศาสดาเสด็จไปที่นั้น  ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความโงกง่วง
สั่งสอนท่านว่า๑  โมคคัลลานะ  เมื่อท่านมีสัญญาอย่างไร  ความง่วงนั้น
ย่อมครอบงำได้  ท่านควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก  ข้อนี้จักเป็นเหตุ
ให้ท่านละความง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นควรตรึกตรองพิจารณา
ถึงธรรม  อันตนได้ฟังแล้วและได้เรียนแล้วอย่างไร  ด้วยน้ำใจของตน

ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้,   ถ้ายังละไม่ได้  ท่านควร
สาธยายธรรมอันตนได้ฟังและได้เรียนแล้วอย่างไร  โดยพิสดาร  ข้อนี้จัก
เป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรยอน
ช่องหูทั้ง ๒ ข้าง  และลูบตัวด้วยฝ่ามือ  ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความ
ง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรลุกขึ้นยืน  แล้วลูบนัยน์ตา
ด้วยน้ำ  เหลียวดูทิศทั้งหลาย  แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์  ข้อนี้จักเป็นเหตุ
ให้ท่านละความง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรทำในใจถึง
อาโลกสัญญา  คือความสำคัญในแสงสว่าง  ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้
ในจิต  ให้เหมือนกันทั้งกลางวันกลางคืน  มีใจเปิดเผยฉะนี้  ไม่มีอะไร
หุ้มห่อ  ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด  ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วง
นั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรอธิษฐานจงกรม  กำหนดหมาย
เดินกลับไปกลับมา  สำรวมอินทรีย์  มีจิตไม่คิดไปภายนอก  ข้อนี้
จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควร
สำเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงข้างเบื้องขวา  ซ้อนเท้าเหลื่อม  มี
สติสัมปชัญญะ  ทำความหมายในอันจะลุกขึ้นไว้ในใจ  พอท่านตื่นแล้ว
รีบลุกขึ้น  ด้วยความตั้งใจว่า  เราจะไม่ประกอบสุขในการนอน  เราจัก
ไม่ประกอบสุขในการเอนข้าง (เอนหลัง) เราจักไม่ประกอบสุขในการ
เคลิ้มหลับ  โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้แล.   อนึ่ง
โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจักไม่ชูงวง (คือถือ
ตัว) เข้าไปสู่สกุล  ดังนี้.   เพราะว่า  ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่สกุล  ถ้า
กิจการในสกุลนั้นมีอยู่  อันเป็นเหตุที่มนุษย์เขาจักไม่นึกถึงภิกษุผู้มาแล้ว
ภิกษุก็คงคิดว่า  เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกร้าวจากสกุลนี้  เดี๋ยวนี้ดู
มนุษย์พวกนี้มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา  เพราะไม่ได้อะไร  เธอก็จัก
มีความเก้อ  ครั้นเก้อ  ก็จักเกิดความฟุ้งซ่าน   ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว
ก็จักเกิดความไม่สำรวม  ครั้นไม่สำรวมแล้ว  จิตก็จักห่างจากสมาธิ.  อนึ่ง
ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกัน  ถือ
ผิดต่อกันดังนี้  เพราะว่า  เมื่อคำอันเป็นเหตุเถียงกัน  ถือผิดต่อกันมีขึ้น
ก็จำจักต้องหวังความพูดมาก  เมื่อความพูดมากมีขึ้น  ก็จักเกิดความคิดฟุ้ง
ซ่าน  ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว  ก็จักเกิดความไม่สำรวม  ครั้นไม่สำรวมแล้ว
จิตก็จักห่างจากสมาธิ.  อนึ่ง  โมคคัลลานะ  เราสรรเสริญความคลุกคลี
ด้วยประการทั้งปวงหามิได้  แต่มิใช่ไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประ-
การทั้งปวงเลย  คือ  เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชนทั้ง  ทั้งคฤหัสถ์
ทั้งบรรพชิต  ก็แต่ว่า  เสนาสนะที่นอนที่นั่งอันใดเงียบเสียงอื้ออึง
ปราศจากลมแต่คนเดินเข้าออก  ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการ
ที่สงัด  ควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย  เราสรรเสริญความ
คลุกคลีเสนาสนะเห็นปานนั้น.   เมื่อพระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้ว
พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า  โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร  ภิกษุ
ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา  มีความสำเร็จล่วงส่วน  เกษมจาก
โยคธรรมล่วงส่วน  เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน  มีที่สุดล่วงส่วน
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.   พระศาสดาตรัสตอบว่า
โมคคัลลานะ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าบรรดาธรรมทั้งปวงไม่ควร
ยึดมั่น  ครั้นได้สดับดังนี้แล้ว  เธอทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญา
อันยิ่ง   ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญาอันยิ่งดังนั้นแล้ว  ย่อม
กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง   ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว  เธอได้
เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง   พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องหน่าย
พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องดับ   พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็น
เครื่องสละคืน  ในเวทนาทั้งหลายนั้น   เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น  ย่อม
ไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก  เมื่อไม่ยึดมั่น  ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น  เมื่อ
ไม่สะดุ้งหวาดหวั่น  ย่อมดับกิเลสให้สงบจำเพาะตน  และทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นที่ต้องทำอย่างนี้อีกมิได้มี โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล  ภิกษุ
ชื่อว่า  น้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา  มีความสำเร็จล่วงส่วน  เกษม
จากโยคธรรมล่วงส่วน  เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน  มีที่สุดล่วงส่วน
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย   พระโมคคัลลานะปฏิบัติ
ตามพระพุทธโอวาทที่พระศาสดาทรงสั่งสอน  ก็ได้สำเร็จพระอรหัตใน
วันนั้น.
      พระศาสดา  ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะเป็นคู่กับพระสารีบุตร
ในอันอุปการะภิกษุผู้เข้ามาอุปสมบทใหม่ในพระธรรมวินัย ดังกล่าวแล้ว
ในหนหลัง.  อีกประการหนึ่ง  ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะว่าเป็นเยี่ยม
แห่งภิกษุสาวกผู้มีฤทธิ์นี้.   ฤทธิ์นี้ หมายเอาคุณสมบัติเป็นเครื่องสำเร็จ
แห่งความปรารถนา  สำเร็จด้วยความอธิษฐาน  คือตั้งมั่นแห่งจิต  ผลที่
สำเร็จด้วยอำนาจฤทธิ์นั้น  ท่านแสดงล้วนแต่พ้นวิสัยของมนุษย์  ดังมี
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 42
แจ้งอยู่ในอิทธิวิธี  อันนับเป็นอภิญญาอย่างหนึ่ง  ด้วยหมายจะแสดง
บุคคลาธิฏฐาน  เปรียบธัมมาธิฏฐาน  หรือด้วยจะให้เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น
จริง  ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวถึงในอธิการนี้  เพราะไม่เกี่ยวข้องด้วยฤทธิ์อันมี
เฉพาะในองค์พระโมคคัลลานะ.  แต่ความเข้าใจฤทธิ์โดยอาการอย่างนั้น
เป็นเหตุให้พระคันถรจนาจารย์พรรณนาถึงความวิเศษแห่งพระโมค-
คัลลานะว่า  สามารถจาริกเที่ยวไปในสวรรค์  ถามเทวบุตรบ้าง  เทวธิดา
บ้าง  ถึงความได้สมบัติในที่นั้นด้วยกรรมอะไร  ได้รับบอกแล้วกลับลง
มาเล่าในมนุษยโลก.  อีกทางหนึ่งเที่ยวจาริกไปในเปตโลกหรือในนิรยา-
บาย  พบสัตว์ได้เสวยทุกข์มีประการต่าง ๆ  ถามถึงกรรมที่ได้ทำในหน
หลัง  ได้ความแล้ว  นำมาเล่าในมนุษยโลก.   อีกประการหนึ่ง  พระ
ศาสดาจะโปรดเวไนยนิกรแต่เป็นผู้ดุร้าย  จะต้องทรมานให้สิ้นพยศก่อน
ตรัสใช้พระโมคคัลลานะให้เป็นผู้ทรมาน.  ผู้อ่านผู้ฟังเชื่อตามท้องเรื่อง
จะพึงเห็นพระโมคคัลลานะ  เป็นสาวกสำคัญในพระพุทธศาสนาองค์
หนึ่ง.  ผู้ไม่เชื่อจะไม่พึงเห็นพระโมคคัลลานะเป็นสาวกสำคัญเลย.   ถ้า
จะแปลคำพรรณนานั้นว่าเป็นบุคคลาธิฏฐาน  เปรียบธัมมาธิษฐาน  จะ
พึงได้ความว่า  พระโมคคัลลานะ  สามารถจะชี้แจงสั่งสอนบริษัทให้เห็น
บาปบุญคุณโทษโดยประจักษ์ชัดแก่ใจ  ดุจว่าได้ไปเห็นมาต่อตาแล้วนำ
มาบอกเล่า  การทรมานเวไนยผู้มีทิฏฐิมานะให้ละพยศ  จัดว่าเป็น
อสาธารณคุณ  ไม่มีแก่พระสาวกทั่วไปก็ได้.  การที่พระศาสดาทรงยกย่อง
พระโมคคัลลานะว่า  เป็นเอตทัคคะในฝ่ายสาวกผู้มีฤทธิ์นั้น  ประมวล
เข้ากับการที่ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่า  เป็นเอตทัคคะในฝ่ายภิกษุผู้มี
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 43
ปัญญาจะพึงให้ได้สันนิษฐานว่า  พระโมคคัลลานะ  เป็นกำลังใหญ่ของ
พระศาสดาในอันยังการที่ทรงพระพุทธดำริไว้ให้สำเร็จ  พระศาสดาได้
สาวกผู้มีปัญญา  เป็นผู้ช่วยดำริการ  และได้สาวกผู้สามารถยังภารธุระที่
ดำริแล้วนั้นให้สำเร็จ  จักสมพระมนัสสักปานไร.   แม้โดยนัยนี้  พระ
โมคคัลลานะ  จึงได้รับยกย่องว่าเป็นพระอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรเป็น
ฝ่ายซ้าย  โดยหมายความว่า  เป็นคณาจารย์สอนพระศาสนาในฝ่ายอุดร
ทิศดังกล่าวแล้ว  หรือโดยหมายความว่าเป็นที่ ๒ รองแต่พระสารีบุตร
ลงมา.
      พระธรรมเทศนาของพระโมคคัลลานะอยู่ข้างหายาก  ที่เป็นโอวาท
ให้แก่ภิกษุสงฆ์  มีแต่อนุมานสูตร๑  ว่าธรรมอันทำตนให้เป็นผู้ว่ายาก
หรือว่าง่าย  พระธรรมสังคาหกาจารย์  สังคีติไว้ในมัชฌิมนิกาย.
      พระโมคคัลลานะนั้น  เห็นจะเข้าใจในการนวกรรมด้วย  พระ
ศาสดาจึงได้โปรดให้เป็นนวกัมมาธิฏฐายี  คือ  ผู้ดูนวกรรมแห่งบุรพา-
ราม  ที่กรุงสาวัตถี  อันนางวิสาขาสร้าง.
      แม้พระโมคคัลลานะ  ก็ปรินิพพานก่อนพระศาสดา.  มีเรื่องเล่าว่า
ถูกผู้ร้ายฆ่า  ดังต่อไปนี้:   ในคราวที่พระเถรเจ้าอยู่ ณ ตำบลกาฬสิลา
แขวงมคธ  พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า  พระโมคคัลลานะเป็นกำลังใหญ่
ของพระศาสดา  สามารถนำข่าวในสวรรค์และนรกมาแจ้งแก่มนุษย์
ชักนำให้เลื่อมใส  ถ้ากำจัดพระโมคคัลลานะเสียได้แล้ว  ลัทธิฝ่ายตนจัก
รุ่งเรืองขึ้น  จึงจ้างผู้ร้ายให้ลอบฆ่าพระโมคคัลลานะเสีย.   แต่ในคราว

รจนาอรรถกถา  ชะรอยจะเห็นว่าพระสาวกเช่นพระโมคคัลลานะ  ถึง
มรณะเพราะถูกฆ่า  หาสมควรไม่  ในท้องเรื่องจึงแก้ว่าใน ๒ คราวแรก
พระโมคคัลลานะหนีไปเสีย  ผู้ร้ายทำอันตรายไม่ได้  ในคราวที่ ๓ ท่าน
พิจารณาเห็นกรรมตามทัน  จึงไม่หนี  ผู้ร้ายทุบตีจนแหลก  สำคัญว่า
ถึงมรณะแล้ว นำสรีระไปซ่อนไว้ในสุมทุมแห่งหนึ่งแล้วหนีไป.   ท่าน
ยังไม่ถึงมรณะ  เยียวยาอัตภาพด้วยกำลังฌานไปเฝ้าพระศาสดาทูลลา
แล้ว  จึงกลับมาปรินิพพาน ณ ที่เดิม  ในสาวกนิพพานปริวัตร  กล่าวว่า
พระโมคคัลลานะอยู่มาจนถึงพรรษาที่ ๔๕  แต่ตรัสรู้ล่วงแล้ว  ปรินิพ-
พานในวันดับแห่งกัตติกมาส  ภายหลังพระสารีบุตรปักษ์หนึ่ง  พระ
ศาสดาได้เสด็จไปทำฌาปนกิจแล้ว  รับสั่งให้เก็บอัฐิธาตุมาก่อพระเจดีย์
บรรจุไว้  ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูแห่งเวฬุวนาราม.   ระยะทางเสด็จพุทธ-
จาริกแต่บ้านเวฬุคาม  อันกล่าวในปกรณ์นี้ไม่สมด้วยบาลีมหาปรินิพ-
พานสูตร  น่าเห็นว่าปรินิพพานก่อนแต่นั้นแล้ว  ถ้าพระเถรเจ้าอยู่มาถึง
ปัจฉิมโพธิกาล  บาลีมหาปรินิพพานสูตร  น่าจักได้กล่าวถึงท่านบ้าง.
#5
                  ๔.  ประวัติแห่งพระสารีบุตร
      พระสารีบุตรนั้น  เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านผู้หนึ่ง  ชื่อวังคันตะ
และนางสารี  เกิดในตำบลบ้านชื่อนาลกะ  หรือ  นาลันทะ  ไม่ห่างแต่
กรุงราชคฤห์  ท่านชื่อ  อุปติสสะมาก่อน  อีกอย่างหนึ่ง  เขาเรียกชื่อ
ตามความที่เป็นบุตรของนางสารีว่า  สารีบุตร   เมื่อท่านมาอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว  เขาเรียกท่านว่า  พระสารีบุตร  ชื่อเดียว.  การ
เรียกชื่อตามมารดานี้  เป็นธรรมเนียมใช้อยู่ในครั้งนั้นบ้างกระมัง ?
นอกจากพระสารีบุตรยังมีอีก  คือพระปุณณมันตานีบุตร  ที่หมายความ
ว่า  บุตรของนางมันตานี  ใช้สร้อยพระนามแห่งพระเจ้าอชาตศัตรูว่า
เวเทหีบุตร  หมายความว่า  พระโอรสแห่งพระนางเวเทหี   แต่ที่เรียก
ตามโคตรก็มี  เช่น  โมคคัลลานะ  กัสสปะ  กัจจานะ  เป็นอาทิ   แต่เขา
มักเรียกสั้นว่า  สารีบุตร  ที่แลความไปอีกอย่างหนึ่งว่า  บุตรคนเล่น
หมากรุก.   สารีอาจเป็นชื่อโคตรของท่าน  มารดาของท่านชื่อสารี
ตามสกุลก็ได้  แต่ไม่พบอรรถาธิบายเลย  ยังถือเอาเป็นประมาณมิได้.
      พระคันถรจนาจารย์พรรณนาว่า  อุปติสสมาณพนั้น  เป็นบุตร
แห่งสกุลผู้บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติและบริวาร  ได้เป็นผู้เรียนรู้ศิลป-
ศาสตร์  ได้เป็นมิตรชอบพอกันกับโกลิตมาณพ  โมคคัลลานโคตร  ผู้
รุ่นราวคราวเดียวกัน  เป็นบุตรแห่งสกุลผู้มั่งคั่งเหมือนกันมาแต่ยังเยาว์.
สองสหายนั้น  ได้เคยไปเที่ยวดูการเล่นในกรุงราชคฤห์ด้วยกันเนือง ๆ

เมื่อดูอยู่นั้น  ย่อมร่าเริงในที่ควรร่าเริง  สลดใจในที่ควรสลดใจ  ให้
รางวัลในที่ควรให้.   วันหนึ่ง  สองสหายนั้น  ชวนกันไปดูการเล่น
เหมือนอย่างแต่ก่อน  แต่ไม่ร่าเริงเหมือนในวันก่อน ๆ.   โกลิตะถาม
อุปติสสะว่า  ดูท่านไม่สนุกเหมือนในวันอื่น  วันนี้ดูเศร้าใจ  ท่านเป็น
อย่างไรหรือ ?  โกลิตะ  อะไรที่ควรดูในการเล่นนี้มีหรือ ?  คนเหล่านี้
ทั้งหมดยังไม่ทันถึง ๑๐๐ ปี  ก็จักไม่มีเหลือ  จักล่วงไปหมด  ดูการเล่น
ไม่มีประโยชน์อะไร  ควรขวนขวายหาธรรมเครื่องพ้นดีกว่า  ข้านั่งคิด
อยู่อย่างนี้  ส่วนเจ้าเล่า  เป็นอย่างไร ?  อุปติสสะ  ข้าก็คิดเหมือน
อย่างนั้น.  สองสหายนั้น  มีความเห็นร่วมกันอย่างนั้นแล้ว  พาบริวาร
ไปขอบวชอยู่ในสำนักสัญชัยปริพาชก  เรียนลัทธิของสัญชัยได้ทั้งหมด
แล้ว  อาจารย์ให้เป็นผู้ช่วยสั่งสอนหมู่ศิษย์ต่อไป  สองสหายนั้น  ยังไม่
พอใจในลัทธิของครูนั้น  จึงนัดหมายกันว่า  ใครได้โมกขธรรม  จงบอก
แก่กัน.
      ครั้นพระศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว  ทรงแสดงธรรมสั่งสอนประชุมชน
ประกาศพระพุทธศาสนา  เสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์  ประทับอยู่ ณ
เวฬุวัน.   วันหนึ่ง  พระอัสสชิ  ผู้นับเข้าในพระปัญจวัคคีย์  อันพระ
ศาสดาทรงส่งให้จาริกไปประกาศพุทธศาสนากลับมาเฝ้า  เข้าไปบิณฑ-
บาตในกรุงราชคฤห์  อุปติสสปริพาชก  เดินมาแต่สำนักของปริพาชก
ได้เห็นท่านมีอาการน่าเลื่อมใส  จะก้าวไปถอยกลับแลเหลียว  คู้แขน
เหยียดแขนเรียบร้อยทุกอิริยาบถ  ทอดจักษุแต่พอประมาณ  มีอาการแปลก
จากบรรพชิตในครั้งนั้น  อยากจะทราบว่าใครเป็นศาสดาของท่าน

แต่ยังไม่อาจถาม  ด้วยเห็นว่าเป็นกาลไม่ควร  ท่านยังเที่ยวไปบิณฑบาต
อยู่  จึงติดตามไปข้างหลัง ๆ   ครั้นเห็นท่านกลับจากบิณฑบาตแล้ว  จึง
เข้าไปใกล้  พูดปราศรัยแล้ว  ถามว่า   ผู้มีอายุ  อินทรีย์ของท่าน
หมดจดผ่องใส  ท่านบวชจำเพาะใคร ?  ใครเป็นพระศาสดาผู้สอนของท่าน ?
ท่านชอบใจธรรมของใคร ?   ผู้มีอายุ  เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะ
ผู้เป็นโอรสศากยราชออกจากศากยสกุล   ท่านนั้นแล  เป็นศาสดา
ของเรา  เราชอบใจธรรมของท่านนั้นแล.   พระศาสดาของท่านสั่งสอน
อย่างไร ?   ผู้มีอายุ  รูปเป็นผู้ใหม่  บวชยังไม่นาน  เพิ่งมายังพระธรรม
วินัยนี้  ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านโดยกว้างขวาง  รูปจักกล่าวความ
แก่ท่านแต่โดยย่อพอรู้ความ.  ผู้มีอายุ  ช่างเถิด  ท่านจะกล่าวน้อยก็ตาม
มากก็ตาม  กล่าวแต่ความเถิด  รูปต้องการด้วยความ  ท่านจะกล่าวคำ
ให้มากเพื่อประโยชน์อะไร.  พระอัสสชิก็แสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชก
พอเป็นเลาความว่า  " พระศาสดาทรงแสดงความเกิดแห่งธรรมทั้งหลาย
เพราะเป็นไปแห่งเหตุ  และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น  เพราะดับแห่ง
เหตุ  พระศาสดาตรัสอย่างนี้.๑"
      อุปติสสปริพาชกได้ฟัง  ก็ทราบว่า  ในพระพุทธศาสนาแสดงว่า
ธรรมทั้งปวง  เกิดเพราะเหตุ  และจะสงบระงับไป  เพราะเหตุดับก่อน
พระศาสดาทรงสั่งสอน  ให้ปฏิบัติเพื่อสงบระงับเหตุแห่งธรรม  เป็น
เครื่องก่อให้เกิดทุกข์  ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งหมด  ต้องมีความดับเป็นธรรมดา  แล้ว

ถามพระเถระว่า  พระศาสดาของเราเสด็จอยู่ที่ไหน ?  ผู้มีอายุ  เสด็จ
อยู่ที่เวฬุวัน.   ถ้าอย่างนั้น  พระผู้เป็นเจ้าไปก่อนเถิด  รูปจักกลับไป
บอกสหาย  จักพากันไปเฝ้าพระศาสดา.   ครั้นพระเถระไปแล้ว  ก็กลับ
มาสำนักของปริพาชก  บอกข่าวที่ได้ไปพบพระอัสสชิให้โกลิตปริพาชก
ทราบแล้ว  แสดงธรรมนั้นให้ฟัง.   โกลิตปริพาชกก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
เหมือนอุปติสสะแล้ว  ชวนกันไปเฝ้าพระศาสดา  จึงไปลาสัญชัยผู้
อาจารย์เดิม  สัญชัยห้ามไว้  อ้อนวอนอยู่เป็นหลายครั้ง  ก็ไม่ฟัง
พาบริวารไปเวฬุวัน  เฝ้าพระศาสดา  ทูลขออุปสมบท  พระองค์ทรง
อนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยกันทั้งสิ้น.   ในภิกษุเหล่านั้นภิกษุผู้เป็นบริวาร
ได้สำเร็จพระอรหัตก่อนในไม่ช้า  ฝ่ายพระโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗
วัน  จึงได้สำเร็จพระอรหัต  มีเรื่องดังจะเล่าในประวัติของท่าน.   ฝ่าย
พระสารีบุตร  ต่ออุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน  จึงได้สำเร็จพระอรหัต.
      มีเรื่องเล่าถึงความสำเร็จพระอรหัตแห่งพระสารีบุตรว่า  วันนั้น
พระศาสดาเสด็จอยู่ในถ้ำสุกรขาตา  เขาคิชฌกูฏ  แขวงกรุงราชคฤห์
ปริพาชกผู้หนึ่ง  ชื่อทีฆนขะ  อัคคิเวสสนโคตร  เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
กล่าวปราศรัยแล้ว  ยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง  ทูลแสดงทิฏฐิของตนว่า
พระโคตมะ  ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า  สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจหมด.   พระศาสดาตรัสตอบว่า๑  อัคคิเวสสนะ  ถ้า
อย่างนั้น  ความเห็นอย่างนั้น  ก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน  ท่านก็ต้องไม่ชอบ
ความเห็นอย่างนั้น  ตรัสตอบอย่างนี้แล้ว  ทรงแสดงสมณพราหมณ์

มีทิฏฐิ ๓ จำพวกว่า อัคคิเวสสนะ  สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง  มีทิฏฐิว่า
สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา  เราชอบใจหมด   พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่า  สิ่งทั้งปวง
ไม่ควรแก่เรา  เราไม่ชอบใจหมด   พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่า  บางสิ่งควรแก่
เรา  เราชอบใจ  บางสิ่งไม่ควรแก่เรา  เราไม่ชอบใจ  ทิฏฐิของ
สมณพราหมณ์พวกต้น  ใกล้ข้างหน้าความกำหนัดรักใคร่ยินดีในสิ่งนั้น ๆ
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่ ๒  ใกล้ข้างความเกลียดชังสิ่งนั้น ๆ
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่ ๓   ใกล้ข้างความกำหนัดรักใคร่ในของ
บางสิ่ง   ใกล้ข้างความเกลียดชังในของบางสิ่ง  ผู้รู้พิจารณาเห็นว่า  ถ้าเรา
จักถือมั่นทิฏฐินั้นอย่างหนึ่งอย่างใด  กล่าวว่า  สิ่งนี้แลจริง  สิ่งอื่นเปล่า
หาจริงไม่  ก็จะต้องถือผิดจากคน ๒ พวกที่มีทิฏฐิไม่เหมือนกับตน  ครั้น
ความถือผิดกันมีขึ้น  ความวิวาทเถียงกันก็มีขึ้น   ครั้นความวิวาทมีขึ้น
ความพิฆาตหมายมั่นก็มีขึ้น   ครั้นความพิฆาตมีขึ้น  ความเบียดเบียนก็มี
ขึ้น  ผู้รู้เห็นอย่างนี้แล้ว  ย่อมละทิฏฐินั้นเสียด้วย  ไม่ทำทิฏฐิอื่นให้เกิด
ขึ้นด้วย  ความละทิฏฐิ ๓ อย่างนี้  ย่อมมีด้วยอุบายอย่างนั้น.  ครั้นแสดง
โทษแห่งความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ๓ อย่างนั้นแล้ว  ทรงแสดงอุบายเครื่อง
ไม่ถือมั่นต่อไปว่า  อัคคิเวสสนะ  กาย  คือ  รูป  ประชุมมหาภูตทั้ง ๔
(ดิน น้ำ ลม ไฟ)  มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด  เจริญขึ้นเพราะข้าวสุก
และขนมสดนี้  ต้องอบรมกันกลิ่นเหม็นและขัดสีมลทินเป็นนิตย์  มี
ความแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา  ควรพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  อดทนได้ยาก  เป็นโรค  เป็นดังหัวฝี  เป็นดัง
ลูกศร  โดยความยากลำบากชำรุดทรุดโทรม  เป็นของว่างเปล่าไม่ใช่ตน
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 29
เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้  ย่อมละความพอใจรักใคร่กระวนกระวายในกาม
เสียได้  อนึ่ง  เวทนาเป็น ๓ อย่าง คือ  สุข  ทุกข์  อุเบกขา  คือ  ไม่ใช่
ทุกข์ไม่ใช่สุข   ในสมัยใดเสวยสุข  ในสมัยนั้น  ไม่ได้เสวยทุกข์  และ
อุเบกขา   ในสมัยใด  เสวยทุกข์  ในสมัยนั้น  ไม่ได้เสวยสุข  และ
อุเบกขา.   สุข ทุกข์ อุเบกขา ทั้ง ๓ อย่างนี้ ไม่เที่ยง ปัจจัยประชุม
แต่งขึ้น  อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้วมีความสิ้นไป  เสื่อมไป  คลายไป
ดับไปเป็นธรรมดา  อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว  เมื่อเห็นอย่างนี้ย่อมเบื่อหน่าย
ทั้งในสุข ทุกข์ อุเบกขา  เมื่อเบื่อหน่าย  ก็ปราศจากกำหนัด  เพราะ
ปราศจากกำหนัด  จิตก็พ้นจากความถือมั่น   เมื่อจิตพ้นแล้ว  ก็เกิด
ญาณรู้ว่าพ้นแล้ว  อริยสาวกนั้นรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่
จบแล้ว  กิจที่จำจะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว  กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี   ภิกษุผู้พ้นแล้วอย่างนี้  ไม่วิวาทโต้เถียงกับผู้ใด  ด้วยทิฏฐิของ
ตน  โวหารใด  เขาพูดกันอยู่ในโลก  ก็พูดตามโวหารนั้น  แต่ไม่ถือ
มั่นด้วยทิฏฐิ.   สมัยนั้น  พระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด  เบื้องพระ-
ปฤษฎางค์แห่งพระศาสดา  ได้ฟังธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนขปริพาชก
จึงดำริว่า   พระศาสดาตรัสสอนให้ละการถือมั่นธรรมเหล่านั้น  ด้วย
ปัญญาอันรู้ยิ่ง  เมื่อท่านพิจารณาอย่างนั้น  จิตก็พ้นจากอาสวะ  ไม่ถือ
มั่นด้วยอุปทาน.  ส่วนทีฆนขปริพาชกนั้น  เป็นแต่ได้ดวงตาเห็นธรรม
สิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนา  ทูลสรรเสริญพระธรรม-
เทศนาและแสดงตนเป็นอุบาสก.
      พระอรรถกถาจารย์  แก้การที่พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหัตช้า
ไปกว่าเพื่อนว่า  เพราะมีปัญญามาก  ต้องใช้บริกรรมใหญ่  เปรียบด้วย
การเสด็จไปข้างไหน ๆ  แห่งพระราชา  ต้องตระเตรียมราชพาหนะและ
ราชบริวาร  จำเป็นจึงช้ากว่าการไปของคนสามัญ.
      พระสารีบุตรนั้น  แม้เป็นสาวกในปูนไม่แรกทีเดียว  แต่เป็นผู้มี
ปัญญาเฉลียวฉลาด  ได้เป็นกำลังใหญ่ของพระศาสดา  ในการสอน
พระศาสนา  พระองค์ทรงยกย่องว่า  เป็นเอตทัคคะในทางปัญญา  เป็น
ผู้สามารถจะแสดงพระธรรมจักร  และพระจตุราริยสัจ  ให้กว้างขวาง
พิสดารแม้นกับพระองค์ได้   ถ้ามีภิกษุมาทูลลาจะเที่ยวจาริกไปในทางไกล
มักตรัสให้ไปลาพระสารีบุตรก่อน  เพื่อท่านจะได้สั่งสอนเธอทั้งหลาย.
เช่นครั้งหนึ่ง  พระศาสดาเสด็จอยู่เมืองเทวทหะ   ภิกษุเป็นอันมากเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา  ทูลลาจะไปปัจฉาภูมิชนบท  พระองค์ตรัสถามว่า  ท่าน
ทั้งหลายบอกสารีบุตรแล้วหรือ ?  ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า  ยังไม่ได้บอก
จึงตรัสสั่งให้ไปลาพระสารีบุตร  แล้วทรงยกย่องว่า  พระสารีบุตรเป็น
ผู้มีปัญญา  อนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิต.   ภิกษุเหล่านั้นก็ไปลาตามรับสั่ง.
ท่านถามว่า  ผู้มีอายุ  คนมีปัญญาผู้ถามปัญหากะภิกษุ  ผู้ไปต่างประเทศ
มีอยู่   เมื่อเขาลองถามว่า  ครูของท่านสั่งสอนอย่างไร ?  ท่านทั้งหลาย
ได้เคยฟังเคยเรียนแล้วหรือ  จะพยากรณ์อย่างไร  จึงจะเป็นอันไม่กล่าว
ให้ผิดคำสอนของพระศาสดา  อันไม่เป็นการใส่ความ  และพยากรณ์
ตามสมควรแก่ทางธรรม  ไม่ให้เขาติเตียนได้.   ภิกษุเหล่านั้นขอให้ท่าน
สั่งสอน.   ท่านกล่าวว่า  ถ้าเขาถามอย่างนั้นท่านพึงพยากรณ์ว่า  ครูของ
เราสอนให้ละความกำหนัดรักใคร่เสีย   ถ้าเขาถามอีกว่า  ละความ
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 31
กำหนัดรักใคร่ในสิ่งอะไร ?  พึงพยากรณ์ตอบว่า  ในรูป  เวทนา  สัญญา
สังขาร  วิญญาณ  ถ้าเขาถามอีกว่า  ครูของท่านเห็นโทษอะไร  และ
เห็นอานิสงส์อะไรจึงสั่งสอนอย่างนั้น ?  พึงพยากรณ์ตอบว่า  เมื่อบุคคล
ยังมีความกำหนัดรักใคร่ในสิ่งเหล่านั้นแล้ว   ครั้นสิ่งเหล่านั้นแปรปรวน
เป็นอย่างอื่นไป  ก็เกิดทุกข์มีโศกและร่ำไรเป็นต้น  เมื่อละความกำหนัด
รักใคร่ในสิ่งเหล่านั้นได้แล้ว   ถ้าสิ่งเหล่านั้นวิบัติแปรปรวนไป  ทุกข์
เหล่านั้นก็ไม่เกิด   ครูของเราเห็นโทษและอานิสงส์อย่างนี้   อนึ่ง  ถ้า
บุคคลเข้าถึงอกุศลธรรม  จะได้อยู่เป็นสุข  ไม่ต้องคับแค้น  ไม่ต้อง
เดือดร้อน  และบุคคลผู้เข้าถึงกุศลธรรมจะต้องอยู่เป็นทุกข์  คับแค้น
เดือดร้อน  พระศาสดาคงไม่ทรงสั่งสอนให้ละอกุศลธรรม  เจริญกุศล-
ธรรม  เพราะเหตุบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมต้องอยู่เป็นทุกข์  คับแค้น
เดือดร้อน  บุคคลเข้าถึงกุศลธรรมอยู่เป็นสุข  ไม่คับแค้น  ไม่เดือดร้อน
พระศาสดาจึงทรงสั่งสอนให้ละอกุศลธรรม  เจริญกุศลธรรม  ภิกษุ
เหล่านั้นรับภาษิตของท่านแล้วลาไป.
      ตรัสยกย่องพระสารีบุตรเป็นคู่กับพระโมคคัลลานะก็มี  ดังตรัส
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ภิกษุทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายคบกับสารีบุตรและ
โมคคัลลานะเถิด  เธอเป็นผู้มีปัญญา  อนุเคราะห์สพรหมจารีเพื่อน
บรรพชิตทั้งหลาย  สารีบุตร  เปรียบเหมือนมารดาผู้ให้เกิด  โมคคัลลานะ
เปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วนั้น  สารีบุตร  ย่อมแนะนำ
ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล  โมคคัลลานะย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้อง
บนที่สูงกว่านั้น.
      เพราะทรงยกย่องไว้อย่างนี้กระมัง  จึงมีคำกล่าวยกย่องพระสารี-
บุตรและโมคคัลลานะคู่นี้ว่า  เป็นพระอัครสาวก  แปลว่า  พระสาวกเลิศ.
ถ้าหมายเอาคุณสมบัติในพระองค์ของท่าน  ก็ฟังได้  เช่นเดียวกับใน
พวกบุตรในสกุล  บุตรผู้ใดหลักแหลมและสามารถ  บุตรผู้นั้นย่อมเชิดชู
สกุล.   แต่พระอรรถกถาจารย์พรรณนาถึงความเป็นพระอัครสาวกนี้ว่า
พระศาสดา  ทรงตั้งอย่างตั้งสมณศักดิ์  พระสารีบุตรเป็นฝ่ายขวา  พระ-
โมคคัลลานะเป็นฝ่ายซ้าย  ในเวลาเข้าประชุมสงฆ์  นั่งทางพระปรัสขวา
ซ้าย.   น่าเห็นว่าเอาอย่างมาจากพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งข้าราชการ  เพราะ
ในสมัยที่รจนาอรรถกถานั้น  ยังมีพระราชาทรงราชย์อยู่ในลังกาทวีป.
ถ้าการตั้งแต่งมีมูลอยู่บ้างไซร้  น่าสันนิษฐานว่าทรงมอบภารธุระให้เป็น
คณาจารย์ใหญ่  แยกคณะออกไปสอนพระศาสนา  พระสารีบุตรเป็นหัว
คณะในฝ่ายทักษิณ  พระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้าคณะในฝ่ายอุดร.   เช่นนี้
สมคำว่า  พระอัครสาวก ๒ พระองค์นั้น  เป็นผู้มีบริษัทบริวาร  และ
สมคำว่า  เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวาคือทักษิณ  และพระอัครสาวกฝ่าย
ซ้ายคืออุดร  นอกจากนี้  ยังไม่พบร่องรอยที่กล่าวถึงเรื่องนี้เลย.
      มีคำเรียกยกย่องพระสารีบุตรอีกอย่างหนึ่งว่า  พระธรรมเสนาบดี
นี้เป็นคำเลียนมาจากคำเรียกแม่ทัพ   ดังจะกลับความให้ตรงกันข้าม
กองทัพอันทำยุทธ์ยกไปถึงไหน  ย่อมแผ่อนัตถะถึงนั่น.   กองพระสงฆ์
ผู้ประกาศพระศาสนา  ได้ชื่อว่า  ธรรมเสนา  กองทัพฝ่ายธรรมหรือ
ประกาศธรรม  จาริกไปถึงไหน  ย่อมแผ่หิตสุขถึงนั่น.  พระศาสดาเป็น
จอมธรรมเสนา  เรียกว่าพระธรรมราชา.   พระสารีบุตรเป็นกำลังใหญ่
ของพระศาสดา  ในภารธุระนี้  ได้สมญาว่า  พระธรรมเสนาบดี  นายทัพ
ฝ่ายธรรม.
      พระสารีบุตร  มีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาอย่างไร
พึงเห็นในเรื่องสาธกต่อไปนี้.   มีภิกษุรูปหนึ่ง  ชื่อยมกะ  มีความเห็น
เป็นทิฏฐิว่า  พระขีณาสพตายแล้วดับสูญ.   ภิกษุทั้งหลายค้านเธอว่า
เห็นอย่างนั้นผิด  เธอไม่เชื่อ  ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจเปลื้องเธอจากความ
เห็นนั้นได้  จึงเชิญพระสารีบุตรไปช่วยว่า.   ท่านถามเธอว่า  ยมกะ
ท่านสำคัญความนั้นอย่างไร ?  ท่านสำคัญ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร
วิญญาณ ๕ ขันธ์นี้ว่าพระขีณาสพ  หรือ ?
      ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
      สา.   ท่านเห็นว่าพระขีณาสพในขันธ์ ๕ นั้นหรือ ?
      ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
      สา.   ท่านเห็นว่าพระขีณาสพอื่นจากขันธ์ ๕ นั้นหรือ ?
      ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
      สา.   ท่านเห็นพระขีณาสพว่าเป็นขันธ์ ๕ หรือ ?
      ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
      สา.   ท่านเห็นพระขีณาสพไม่มีขันธ์ ๕ หรือ ?
      ย.    ไม่ใช่อย่างนั้น.
      สา.   ยมกะ  ท่านหาพระขีณาสพในขันธ์ ๕ นั้นไม่ได้โดยจริง
อย่างนี้  ควรหรือจะพูดยืนยันอย่างนั้นว่า  พระขีณาสพตายแล้วดับสูญ
ดังนี้.
      ย.    แต่ก่อนข้าพเจ้าไม่รู้  จึงได้มีความเห็นผิดเช่นนั้น   บัดนี้
ข้าพเจ้าได้ฟังท่านว่า  จึงละความเห็นผิดนั้นได้  และได้บรรลุธรรม
พิเศษด้วย.
      สา.   ยมกะ  ถ้าเขาถามท่านว่า  พระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร ?
ท่านจะแก้อย่างไร ?
      ย.    ถ้าเขาถามข้าพเจ้าอย่างนี้  ข้าพเจ้าจะแก้ว่า  รูป  เวทนา
สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ที่ไม่เที่ยงดับไปแล้ว.
      สา.   ดีละ ๆ ยมกะ  เราจะอุปมาให้ท่านฟัง  เพื่อจะให้ความข้อ
นั้นชัดขึ้น  เหมือนหนึ่งคฤหบดีเป็นคนมั่งมี  รักษาตัวแข็งแรง  ผู้ใด
ผู้หนึ่งคิดจะฆ่าคฤหบดีนั้น  จึงนึกว่า  เขาเป็นคนมั่งมี  และรักษาตัว
แข็งแรง  จะฆ่าโดยพลการเห็นจะไม่ได้ง่าย  จำจะต้องลอบฆ่าโดยอุบาย
ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว  จึงเข้าไปเป็นคนรับใช้ของคฤหบดีนั้น  หมั่นคอย
รับใช้  จนคุ้นเคยกันแล้ว   ครั้นเห็นคฤหบดีนั้นเผลอ  ก็ฆ่าเสียด้วย
ศัสตราที่คม.   ยมกะ  ท่านจะเห็นอย่างไร  คฤหบดีนั้น  เวลาผู้ฆ่านั้น
เขามาขออยู่รับใช้สอยก็ดี  เวลาให้ใช้สอยอยู่ก็ดี  เวลาฆ่าตัวก็ดี  ไม่รู้
ว่าผู้นี้เป็นคนฆ่าเรา  อย่างนี้  มิใช่หรือ ?
      ย.    อย่างนี้แล  ท่านผู้มีอายุ.
      สา.   ปุถุชนผู้ไม่ได้ฟังแล้วก็ฉันนั้น  เขาเห็นรูป  เวทนา  สัญญา
สังขาร  วิญญาณ  ว่าเป็นตนบ้าง  เห็นตนว่ามีรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร
วิญญาณบ้าง  เห็นรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ในตนบ้าง
เห็นตนในรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณบ้าง  ไม่รู้จักขันธ์ ๕
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 35
นั้น  อันไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่ใช่ตน  ปัจจัยตกแต่งดุจเป็นผู้ฆ่า  ตาม
เป็นจริงอย่างไร  ย่อมถือมั่นขันธ์ ๕ นั้นว่าตัวของเรา  ขันธ์ ๕ ที่เขา
ถือมั่นนั้น  ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์และทุกข์สิ้นกาลนาน
ส่วนอริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว  ไม่พิจารณาเห็นเช่นนั้นรู้ชัดตามเป็นจริงแล้ว
อย่างไร  ท่านไม่ถือมั่นในขันธ์ ๕ ว่าตัวของเรา  ขันธ์ ๕ที่ท่านไม่ถือ
มั่นนั้น  ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขสิ้นกาลนาน.   ธรรมบรรยาย
อื่นอีกของพระสารีบุตร  พระธรรมสังคาหกาจารย์  สังคีติไว้ในพระสุต-
ตันตปิฎก  ที่เป็นสูตรยาว ๆ ก็มี  เช่นสังคีติสูตร๑  แล  ทสุตตรสูตร๒
แสดงธรรมเป็นหมวด ๆ  ตั้งแต่ ๑ ขึ้นไปถึง ๑๐   ในทีฆนิกายที่เป็น
สูตรปานกลางก็มี  เช่น  สัมมาทิฏฐิสูตร๓  แสดงอาการแห่งสัมมาทิฏฐิ
ละอย่าง ๆ และอนังคณสูตร๔  แสดงกิเลสอันยวนใจ  ที่เรียกว่า  อังคณะ
และความต่างแห่งบุคคลผู้มีอังคณะ  และ  หาอังคณะมิได้ในมัชฌิมนิกาย
ธรรมบรรยายประเภทนี้  ยังมีอีกหลายสูตร.  ยังมีปกรณ์ที่ว่าเป็นภาษิต
ของพระสารีบุตรอยู่อีก คือ ปฏิสัมภิทามรรค  กล่าวถึงญาณต่างประเภท
ยกพระพุทธภาษิตเสีย  ภาษิตของพระสารีบุตรมีมากกว่าของพระสาวก
อื่น.
      พระสารีบุตรนั้น  ปรากฏโดยความเป็นผู้กตัญญู.   ท่านได้ฟัง
ธรรมอันพระอัสสชิแสดง  ได้ธรรมจักษุแล้ว  มาอุปสมบทในพระพุทธ-
ศาสนา  ดังกล่าวแล้วในหนหลัง  ตั้งแต่นั้นมา  ท่านนับถือพระอัสสชิ
เป็นอาจารย์.  มีเรื่องเล่าว่า  พระอัสสชิอยู่ทิศใด  เมื่อท่านจะนอน

นมัสการไปทางทิศนั้นก่อน  และนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น.   ภิกษุ
ผู้ไม่รู้เรื่องย่อมสำคัญว่า  ท่านนอบน้อมทิศตามลัทธิของพวกมิจฉา-
ทิฏฐิ.   ความทราบถึงพระศาสดา  ตรัสแก้ว่า  ท่านมิได้นอบน้อม
ทิศ,  ท่านนมัสการการพระอัสสชิผู้เป็นอาจารย์  แล้วประทานพระพุทธา-
นุศาสนีว่า  พุทธมามกะ  รู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธะแสดงแล้ว
จากท่านผู้ใด  ควรนมัสการท่านผู้นั้นโดยเคารพ  เหมือนพราหมณ์บูชา
ยัญอันเนื่องด้วยเพลิง.   อีกเรื่องหนึ่งว่า  มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง  ชื่อราธะ
ปรารถนาจะอุปสมบท   แต่เพราะเป็นผู้ชราเกินไป  ภิกษุทั้งหลายไม่รับ
อุปสมบทให้.  ราธะเสียใจ  เพราะไม่ได้สมปรารถนา  มีร่างกายซูบซีด
ผิวพรรณไม่สดใส.  พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นผิดไปกว่าปกติ  ตรัส
ถามทราบความแล้ว  ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า  มีใครระลึกถึงอุปการะ
ของราธะได้บ้าง ?   พระสารีบุตรกราบทูลว่า  ท่านระลึกได้อยู่  ครั้งหนึ่ง
ท่านเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์   ราธะได้ถวายภิกษาแก่ท่านทัพพี
หนึ่ง.   พระศาสดาทรงสรรเสริญว่า  ท่านเป็นผู้กตัญญูดีนัก  อุปการะ
เพียงเท่านี้ก็ยังจำได้  จึงตรัสให้ท่านรับบรรพชาอุปสมบทราธพราหมณ์.
      พระสารีบุตรนั้น  ปรินิพพานก่อนพระศาสดา  สันนิษฐานว่า
ในมัชฌิมโพธิกาล  คือปูนกลางแห่งตรัสรู้  เพราะในปัจฉิมโพธิกาล  คือ
ปูนหลังแห่งตรัสรู้  บาลีมิได้กล่าวถึงเลย.   แต่ในสาวกนิพพานปริวัตร
แห่งปฐมสมโพธิ ๓๐ ปริเฉท  กล่าวว่า  พระสารีบุตรอยู่มาถึงปัจฉิม-
โพธิกาล  พรรษาที่ ๔๕ ล่วงไปแล้ว   แต่ในมหาปรินิพพานสูตรมิได้
กล่าวถึงเลย.   ในปกรณ์ต้น  เล่าถึงเรื่องปรินิพพานแห่งพระสารีบุตรว่า
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 37
ท่านพิจารณาเห็นว่าอายุสังขารจวนสิ้นแล้ว  ปรารถนาจะไปโปรดมารดา
เป็นครั้งที่สุด แล้วปรินิพพานในห้องที่ท่านเกิด อธิบายว่า นางสารีมารดา
ท่าน  เป็นผู้ไม่ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  โทมนัสเพราะท่าน
และน้อง ๆ  พากันออกบวชเสีย   ท่านพยายามชักจูงมาในพระพุทธ-
ศาสนาหลายครั้งแล้ว  ยังมิสำเร็จ  จึงดำริจะไปโปรดเป็นครั้งสุดท้าย
ท่านทูลลาพระศาสดาไปกับพระจุนทะผู้น้องกับบริวาร  ไปถึงบ้านเดิม
แล้ว  เกิดโรคปักขันทิกาพาธขึ้นในคืนนั้น  ในเวลากำลังอาพาธอยู่นั้น
ได้เทศนาโปรดมารดาสำเร็จ  นางได้บรรลุพระโสดาปัตติผล  พอเวลา
ปัจจุสมัย  สุดวันเพ็ญแห่งกัตติกมาส  พระเถรเจ้าปรินิพพาน.  รุ่งขึ้นพระ
จุนทะได้ทำฌาปนกิจสรีระพระเถรเจ้าเสร็จ  เก็บอัฐิธาตุนำไปถวาย
พระศาสดา  ในเวลาประทับอยู่ ณ พระเชตวัน  กรุงสาวัตถี  โปรดให้
ก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของพระเถรเจ้าไว้ ณ ที่นั้น.
      การที่จะกล่าวถึงพระสารีบุตรไปปรินิพพานที่บ้านเดิมนั้น  แผกจาก
อาการของพระสาวกในครั้งนั้น.  ถ้าเป็นเดินทางไป  เข้าพักอาศัยที่บ้าน
เกิดโรคปัจจุบันขึ้นแล้วปรินิพพาน  มีทางอยู่.   มีเรื่องเล่าถึงภิกษุเดิน
ทางเข้าอาศัยบ้านก็มี.   โดยที่สุด  พระศาสดาเอง  เสด็จพักในโรงช่าง
หม้อก็มี.  ถ้าท่านรู้ตัวและตั้งใจจะปรินิพพานที่นั่น  เพื่อโปรดมารดา
ดังกล่าวในปกรณ์  อย่างนี้เป็นเช่นภิกษุอาพาธ  ปรารถนาจะไปรักษาตัว
ที่บ้าน   ครั้นไปแล้ว  ถึงมรณะที่นั่น.  ยุกติเป็นอย่างไร  นักตำนาน
จงสันนิษฐานเอาเองเถิด.
#6
                        อนุพุทธประวัติ
               ๑.  ประวัติแห่งพระอัญญาโกณฑัญญะ
      ดังได้สดับมา  พระอัญญาโกณฑัญญะนั้น  ได้เกิดในสกุล
พราหมณ์มหาศาล  ในบ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ  ไม่ห่างจากกบิล-
วัตถุนคร  มีชื่อว่า  โกณฑัญญะ  เจริญวัยขึ้น  ได้เรียนจบไตรเพท
และรู้ลักษณะมนตร์  คือตำราทายลักษณะ  ในคราวที่สมเด็จพระบรม-
ศาสดาประสูติใหม่  พระเจ้าสุทโธทนะตรัสให้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน
มาเลี้ยงโภชนาหาร   ในการทำพิธีทำนายลักษณะตามราชประเพณี
แล้วเลือกพราหมณ์ ๘ คน  จากพวกนั้นเป็นผู้ตรวจและทำนายลักษณะ.
ครั้งนั้น  โกณฑัญญพราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม  ได้รับเชิญไปในงานเลี้ยง
ด้วย  ทั้งได้รับเลือกเข้าในพวกพราหมณ์ ๘ คน  ผู้ตรวจและทำนายพระ
ลักษณะ  เป็นผู้อ่อนอายุกว่าเพื่อน.   พราหมณ์ ๘ คนนั้น  ตรวจลักษณะ
แล้ว ๗ คน  ทำนายคติแห่งพระมหาบุรุษเป็น ๒ ทางว่า  ถ้าทรงดำรง
ฆราวาส  จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ถ้าเสด็จออกผนวช  จักเป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า   ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์เห็นแน่แก่ใจแล้ว  จึง
ทำนายเฉพาะทางเดียวว่า  จักเสด็จออกผนวช  แล้วได้ตรัสรู้เป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแน่.  ตั้งแต่นั้นมา  ได้ตั้งใจว่า  เมื่อถึงคราวเป็น
อย่างนั้นขึ้นและตนยังมีชีวิตอยู่  จักออกบวชตามเสด็จ.

      ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกผนวชแล้ว   กำลังทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยาอยู่  โกณฑัญญพราหมณ์ทราบข่าวแล้ว  ชวนพราหมณ์
ผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้ตรวจทำนายลักษณะในครั้งนั้น  และทำ
กาลกิริยาแล้ว  ได้ ๔ คน คือ ภัททิยะ ๑  วัปปะ ๑  มหานามะ ๑
อัสสชิ ๑ เป็น ๕ คนด้วยกัน  ออกบวชเป็นบรรพชิตจำพวกภิกษุ
ติดตามพระมหาบุรุษไปอยู่ที่ใกล้  เฝ้าอุปัฏฐากอยู่ด้วยหวังว่า  ท่าน
ตรัสรู้แล้ว  จักทรงเทศนาโปรด.   ภิกษุ ๕ รูปสำรับนี้  เรียกว่า
ปัญจวัคคีย์  แปลว่าเนื่องในพวก ๕   เฝ้าอุปัฏฐากพระมหาบุรุษอยู่
ตลอดเวลาทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาคณนาว่า ๖ ปี.   ครั้นพระมหาบุรุษ
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเต็มที่แล้ว  ทรงลงสันนิษฐานว่ามิใช่ทางพระ
โพธิญาณ  ทรงใคร่จะเปลี่ยนตั้งปธานในจิต  จึงทรงเลิกทุกรกิริยา
นั้นเสีย  กลับเสวยพระกระยาหารแค่นทวีขึ้น  เพื่อบำรุงพระกายให้
มีพระกำลังคืนมา  พวกปัญจวัคคีย์สำคัญว่าทรงท้อแท้ต่อการบำเพ็ญ
พรตอันเข้มงวด  หันมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว  สิ้นเลื่อมใส
สิ้นหวังแล้ว  เกิดเบื่อหน่ายขึ้น  ร่วมใจกันละพระมหาบุรุษเสีย  ไป
อยู่ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงนครพาราณสี.
      พระคันถรจนาจารย์แก้ข้อความนี้ว่า   ธรรมดานิยมให้ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์มาพบ  และอุปัฏฐากพระมหาบุรุษในเวลากำลังทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยา  เพื่อจะได้เป็นผู้รู้เห็น   เมื่อถึงคราวทรงแสดงพระธรรม-
เทศนาคัดค้านอัตตกิลมถานุโยค  จะได้เป็นพยานว่า  พระองค์ได้เคย
ทรงทำมาแล้ว  หาสำเร็จประโยชน์จริงไม่   ครั้นถึงคราวต้องการด้วย

วิเวก  บันดาลให้สิ้นภักดี  พากันหลีกไปเสีย.
      ฝ่ายพระมหาบุรุษ  ทรงบำรุงพระกายมีพระกำลังขึ้นแล้ว  ทรง
ตั้งปธานในทางจิต  ทรงบรรลุฌาน ๔  วิชชา ๓  ตรัสรู้อริยสัจ ๔
ทรงวิมุตติจากสรรพกิเลสาสวะบริสุทธิ์ล่วงส่วน   ทรงเสวยวิมุตติสุข
พอควรแก่กาลแล้ว  อันกำลังพระมหากรุณาเตือนพระหฤทัย  ใคร่จะ
ทรงเผื่อแผ่สุขนั้นแก่ผู้อื่น  ทรงเลือกเวหาไนยผู้มีปัญญาสามารถพอจะ
รู้ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพเห็นปานนั้น   ในชั้นต้น  ทรงพระปรารภถึง
อาฬารดาบส  กาลามโคตร  และอุทกดาบส  รามบุตร   อันพระองค์
เคยไปสำนักอยู่เพื่อศึกษาลัทธิของท่าน   แต่เผอิญสิ้นชีวิตเสียก่อนแล้ว
ทั้ง ๒ องค์   ในลำดับนั้น  ทรงพระปรารภถึงภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้เคย
อุปัฏฐากพระองค์มา  ทรงสันนิษฐานว่าจักทรงแสดงประถมเทศนาแก่
เธอ   ครั้นทรงพระพุทธดำริอย่างนี้แล้ว  เสด็จพระพุทธดำเนินจาก
บริเวณพระมหาโพธิ  ไปสู่อิสิปตนมฤคทายวัน.
      ฝ่ายพวกภิกษุปัญจวัคคีย์  ได้เห็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จมาแต่ไกล  เข้าใจว่าเสด็จตามมาด้วยปรารถนาจะหาผู้อุปัฏฐาก
เนื่องจากความเป็นผู้มักมากนั้น  นัดหมายกันว่า  จักไม่ลุกขึ้นรับ
จักไม่รับบาตรจีวร  จักไม่ไหว้  แต่จักตั้งอาสนะไว้  ถ้าพระองค์
ปรารถนา  จะได้ประทับ.   ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปใกล้  อันความ
เคารพที่เคยมา  บันดาลให้ลืมการนัดหมายกันไว้นั้นเสีย  พร้อมกัน
ลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังเคยมา   แต่ยังทำกิริยากระด้าง
กระเดื่อง  พูดกับพระองค์ด้วยถ้อยคำตีเสมอ  พูดออกพระนาม  และ

ใช้คำว่า  อาวุโส.   พระองค์ตรัสบอกว่า  ได้ทรงบรรลุอมฤตธรรมแล้ว 
จักทรงแสดงให้ฟัง  ตั้งใจปฏิบัติตามแล้ว  ไม่ช้าก็บรรลุธรรมนั้น
บ้าง.   เธอทั้งหลายกล่าวค้านว่า  แม้ด้วยการประพฤติทุกรกิริยา
อย่างเข้มงวด  พระองค์ยังไม่อาจบรรลุอมฤตธรรม   ครั้นคลายความ
เพียรเสียแล้ว  กลับประพฤติเพื่อความมักมาก  ไฉนจะบรรลุธรรมนั้น
ได้เล่า.   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือน  พวกภิกษุปัญจวัคคีย์
พูดคัดค้าน  โต้ตอบกันอย่างนั้นถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง.   พระองค์ตรัสเตือน
ให้เธอทั้งหลายตามระลึกในหนหลังว่า  ท่านทั้งหลายจำได้หรือ  วาจา
เช่นนี้  เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้ ?  พวกภิกษุปัญจวัคคีย์
นึกขึ้นได้ว่า  พระวาจาเช่นนี้ไม่เคยได้ตรัสเลย  จึงมีความสำคัญใน
อันจะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม.   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้
ตรัสพระธรรมเทศนาเป็นประถม  ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่
พวกปัญจวัคคีย์   ในเบื้องต้น  ทรงยกส่วนสุด ๒ อย่าง  คือ  กาม-
สุขัลลิกานุโยค  คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกามอันเป็น
ส่วนสุดข้างหย่อน ๑  อัตตกิลมถานุโยค  คือ การประกอบความ
เหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า  อันเป็นส่วนสุดข้างตึง ๑  ขึ้นแสดงว่า  อัน
บรรพชิตไม่พึงเสพ  ในลำดับนั้น  ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา  คือปฏิบัติ
เป็นสายกลาง  ไม่ข้องแวะด้วยส่วนสุดทั้ง ๒ นั้น  อันมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ ๑  สัมมาสังกัปปะ  ความดำริชอบ ๑
สัมมาวาจา  เจรจาชอบ ๑  สัมมากัมมันตะ  ทำการงานชอบ ๑  สัมมา-
อาชีวะ  เลี้ยงชีวิตชอบ ๑  สัมมาวายามะ  เพียรชอบ ๑  สัมมาสติ
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 5
ระลึกชอบ ๑  สัมมาสมาธิ  ตั้งใจชอบ ๑.   ในลำดับนั้น  ทรงแสดง
อริยสัจ ๔ คือ  ทุกข์ ๑  สมุทัย  เหตุยังทุกข์ให้เกิด ๑  ทุกข-
นิโรธ  ความดับทุกข์ ๑  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ปฏิบัติถึงความ
ดับทุกข์ ๑  ทุกข์  ทรงยกสภาวทุกข์และเจตสิกทุกข์ขึ้นแสดง  ทุกข-
สมุทัย  ทรงยกตัณหามีประเภท ๓ คือ  กามตัณหา  ภวตัณหา
วิภวตัณหา  ขึ้นแสดง  ทุกขนิโรธ  ทรงยกความดับสิ้นเชิงแห่ง
ตัณหานั้นขึ้นแสดง  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ทรงยกอริยมรรคมี
องค์ ๘  คือ  มัชฌิมาปฏิปทานั้นขึ้นแสดง.   ในลำดับนั้น  ทรงแสดง
พระญาณของพระองค์อันเป็นไปในอริยสัจ ๔ นั้น  อย่างละ ๓ ๆ คือ
สัจจญาณ  ได้แก่รู้อริยสัจ ๔  นั้น ๑  กิจจญาณ  ได้แก่รู้กิจ  อันจะ
พึงทำเฉพาะอริยสัจนั้น ๆ ๑  กตญาณ  ได้แก่รู้ว่ากิจอย่างนั้น ๆ
ได้ทำเสร็จแล้ว ๑  พระญาณทัสสนะ  มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ใน
อริยสัจ ๔ เหล่านี้  ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด  ยังทรงปฏิญญาพระองค์
ว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณไม่ได้เพียงนั้น  ต่อบริสุทธิ์แล้ว
จึงทรงอาจปฏิญญาพระองค์อย่างนั้น   ในที่สุด  ทรงแสดงผลแห่ง
การตรัสรู้อริยสัจ ๔ นั้น  เกิดพระญาณเป็นเครื่องเห็นว่าวิมุตติ
คือความพ้นจากกิเลสอาสวะของพระองค์ไม่กลับกำเริบ  ความเกิดครั้งนี้
เป็นครั้งที่สุด  ต่อนี้ไม่มีความเกิดอีก.
      พระธรรมเทศนานี้  พระคันถรจนาจารย์เรียกว่า  พระธรรม-
จักกัปปวัตนสูตร๑  โดยอธิบายว่า  ประกาศศพระสัมมาสัมโพธิญาณ-


เทียบด้วยจักรรัตนะ  ประกาศความเป็นจักรพรรดิราช.
      เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  กำลังตรัสพระธรรมเทศนาอยู่
ธรรมจักษุคือดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรมปราศจากธุลีมลทิน  ได้เกิด
ขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล  มีความดับเป็นธรรมดา.   ท่านผู้ได้ธรรมจักษุ  พระ
อรรถกถาจารย์กล่าวว่าเป็นพระโสดาบัน  โดยนัยนี้  ธรรมจักษุได้แก่
พระโสดาปัตติมรรค.   ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุโลกุตตรธรรมเป็น
ประถมสาวก  เป็นพยานความตรัสรู้ของพระศาสดา  เป็นอันว่า  ทรง
ยังความเป็นสัมมาสัมพุทธให้สำเร็จบริบูรณ์   ด้วยเทศนาโปรดให้
ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วยอย่างหนึ่ง.   สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า
ท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว  ทรงเปล่งพระอุทานว่า   อญฺาสิ
วต  โภ  โกณฺฑญฺโญ  อญฺญาสิ  วต  โภ  โกณฺฑญฺโญ  แปลว่า
โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ  เพราะอาศัยพระอุทานว่า  อญฺญาสิ
ที่แปลว่า  ได้รู้แล้ว  คำว่า  อญฺญาโกณฺฑญฺโญ  จึงได้เป็นนามของ
ท่านตั้งแต่กาลนั้นมา.
      ท่านอัญญาโกณฑัญญะ  ได้เห็นธรรมแล้ว  ได้ความเชื่อใน
พระศาสดามั่นคงไม่คลอนแคลน  ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรม-
วินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์ทรงรับด้วยพระวาจา
ว่า  มาเถิดภิกษุ  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  จงประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.   พระวาจานั้นย่อมให้สำเร็จอุปสมบท
ของท่าน.   ด้วยว่าในครั้งนั้น  ยังมิได้ทรงพระอนุญาตวิธีอุปสมบท

อย่างอื่น  ทรงพระอนุญาตแก่ผู้ใด  ด้วยพระวาจาเช่นนั้น  ผู้นั้นย่อม
เป็นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.   อุปสมบทอย่างนี้  เรียกว่า  เอหิภิกขุ-
อุปสัมปทา  ผู้ได้รับพระพุทธานุญาตเป็นภิกษุด้วยพระวาจาเช่นนี้
เรียกว่า  เอหิภิกขุ.   ทรงรับท่านอัญญาโกณฑัญญะเป็นภิกษุในพระ
พุทธศาสนาด้วยพระวาจาเช่นนั้นเป็นครั้งแรก.  จำเดิมแต่กาลนั้นมา
ทรงสั่งสอนท่านทั้ง ๔ ที่เหลือนั้น  ด้วยพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดตาม
สมควรแก่อัธยาศัย.   ท่านวัปปะและท่านภัททิยะได้ธรรมจักษุแล้ว
ทูลขออุปสมบท  พระศาสดาทรงรับเป็นภิกษุ  ด้วยพระวาจาเช่นเดียว
กัน.   ครั้งนั้น  พระสาวกทั้ง ๓ เที่ยวบิณฑบาต  นำอาหารมาเลี้ยงกัน
ทั้ง ๖ องค์.   ภายหลังท่านมหานามะและท่านอัสสชิได้ธรรมจักษุแล้ว
ทูลขออุปสมบท  ทรงรับโดยนัยนั้น.
      ครั้นภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นธรรม  และได้อุปสมบทเป็นสาวก
ทั่วกันแล้ว   สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา  เป็นทาง
อบรมวิปัสสนา  เพื่อวิมุตติอันเป็นผลที่สุดแห่งพรหมจรรย์อีกวาระหนึ่ง
ทรงแสดงปัญจขันธ์  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ
ว่าเป็นอนัตตา  มิใช่ตน  หากปัญจขันธ์นี้จักเป็นอัตตาเป็นตนแล้วไซร้
ปัญจขันธ์นี้  ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ  และจะพึงได้ในปัญจขันธ์นี้ว่า
ขอจงเป็นอย่างนี้เถิด  อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย  เพราะเหตุปัญจขันธ์
เป็นอนัตตา  จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ  และย่อมไม่ได้ตามปรารถนาอย่าง
นั้น  ในลำดับนั้น  ตรัสถามนำให้ตริเห็นแล้ว  ปฏิญญาว่า  ปัญจขันธ์
นั้นไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  โดยเนื่องเหตุกันมาเป็นลำดับ

แล้วทรงแนะนำให้ละความถือมั่นในปัญจขันธ์  ทั้งที่เป็นอดีต  อนาคต
ปัจจุบัน  ทั้งที่เป็นภายใน  ทั้งที่เป็นภายนอก  ทั้งที่หยาบ  ทั้งที่ละเอียด
ทั้งที่เลว  ทั้งที่ดี  ทั้งที่อยู่ห่าง  ทั้งที่อยู่ใกล้  ว่านั่นมิใช่ของเรา  นั่นมิใช่
เรา  นั่นมิใช่ตัวของเรา   ในที่สุดทรงแสดงอานิสงส์ว่า  อริยสาวก
ผู้ได้ฟังแล้ว  ย่อมเบื่อหน่ายในปัญจขันธ์  ย่อมปราศจากความกำหนัด
รักใคร่  จิตย่อมพ้นจากความถือมั่น  มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว  รู้ชัดว่า
ความเกิดสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว  กิจที่ควรทำได้
ทำเสร็จแล้ว  ไม่ต้องทำกิจอย่างอื่นอีก  เพื่อบรรลุผลอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์.
      พระธรรมเทศนานี้  แสดงลักษณะเครื่องกำหนดปัญจขันธ์ว่าเป็น
อนัตตา  พระคันถรจนาจารย์จึงเรียกว่า  อนัตตลักขณสูตร.๑
      เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดา  ตรัสพระธรรมเทศนาอยู่  จิตของ
ภิกษุปัญจวัคคีย์  ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสพระธรรมเทศนานั้น
พ้นแล้วจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.   ท่านทั้ง ๕ ได้เป็นพระ
อรหันตขีณาสพ  ประพฤติจบพรหมจรรย์  ในพระธรรมวินัยนี้  เป็น
สังฆรัตนะจำพวกแรก  เป็นที่เต็มแห่งพระไตรรัตน์  ประกาศสัมมา
สัมพุทธภาพแห่งพระศาสดาให้ปรากฏ.   ครั้งนั้น  มีพระอรหันต์ทั้ง
สมเด็จพระสุคตด้วยเพียง ๖ พระองค์.
#7
ส่วน ๗ ตำนาาน จะไม่ใช้บทขัด จ๊ะ แต่จะสวดโดยย่อดังนี้ ค่ะ




                     ชุมนุมเทวดา
               (ถ้าจะสวดเจ็ดตำนานใช้)
          สะรัชชัง  สะเสนัง  สะพันธุง  นะรินทัง
          ปะริตตานุภาโว  สะทา  รักขะตูติ
          ผะริตวานะ  เมตตัง  สะเมตตา  ภะทันตา
          อะวิกขิตตะจิตตา  ปะริตตัง  ภะณันตุ
สัคเค  กาเม  จะ รูเป   คิริสิขะระตะเฏ  จันตะลิกเข   วิมาเน  ทีเป
รัฏเฐ  จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน  เคหะวัตถุมหิ  เขตเต  ภุมมา
จายันตุ  เทวา  ชะละถะละวิสะเม  ยักขะคันธัพพะนาคา  ติฏฐันตา
สันติเก ยัง มุนิวะระจะนัง  สาธะโว  เม สุณันตุ  ฯ  ธัมมัสสะวะนะ-
กาโล  อะยัมภะทันตา  ธัมมัสสะวะนะกะโล  อะยัมภะทันตา
          ธัมมัสสะวะนะกาโล  อะยัมภะทันตา ฯ
                (ถ้าจะสวดสิบสองตำนานใช้)
      สะมันตา  จักกะวาเฬสุ       อัตราคัจฉันตุ  เทวะตา
      สัทธัมมัง  มุนิราชัสสะ         สุณันตุ  สัคคะโมกขะทังฯ
สัคเค  กาเม  จะ รูเป  คิริสิขะระตะเฏ  จันตะลิกเข  วิมาเน  ฯลฯ
                (เหมือนเจ็ดตำนานไปจนจบ)
      นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
      นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
      นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 52
                พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                ธัมมัง  สะระณัง คัจฉามิ
                สังฆัง สะระณัง  คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ  พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ  ธัมมัง สะระณิง  คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
      (ถ้าสวดให้คนไข้ฟัง  หรือสวดให้งานทำบุญสะเดาะเคราะห์  ต่อชะตา
อายุ  สวดดังนี้)
          พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
          ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
          สังฆัง  ชีวิตัง  ยาวะ   นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   สังฆัง   ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  สังฆัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ

มนต์พิธี - หน้าที่ 53
             นะมะการะสิทธิคาถา
              (ใช้แทน  สัมพุทเธ)
          โย  จักขุมา  โมหะมะลาปะกัฏโฐ
      สามัง  วะ พุทโธ  สุคะโต  วิมุตโต
      มารัสสะ  ปาสา  วินิโมจะยันโต
      ปาเปสิ  เขมัง  ชะนะตัง  วิเนยยัง ฯ
      พุทธัง  วะรันตัง สิระสา  นะมามิ
      โลกัสสะ  นาถัญจะ  วินายะกัญจะ
      ตันเตชะสา  เต  ชะยะสิทธิ  โหตุ
      สัพพันตะรายา  จะ  วินาสะเมนตุ ฯ
          ธัมโม  ธะโช  โย วิยะ  ตัสสะ  สัตถุ
      ทัสเสสิ  โลกัสสะ  วิสุทธิมัคคัง
      นิยยานิโก  ธัมมะธะรัสสะ  ธารี
      สาตาวะโห  สันติกะโร สุจิณโณ ฯ
      ธัมมัง  วะรันตัง  สิระสา  นะมานิ
      โมหัปปะทาลัง  อุปะสันตะทาหัง
      ตันเตชะสา เต  ชะยะสิทธิ  โหตุ
      สัพพันตะรายา จะ  วินาสะเมนตุ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 54
                สัทธัมมะเสนา สุคะตานุโค  โย
          โลกัสสะ  ปาปูปะกิเลสะเชตา
          สันโต  สะยัง  สันตินิโยชะโก  จะ
          สวากขาตะธัมมัง  วิทิตัง  กะโรติ ฯ
          สังฆัง  วะรันตัง สิระสา  นะมามิ
          พุทธานุพุทธัง  สะมะสีละทิฏฐิง
          ตันเตชะสา  เต  ชะยะสิทธิ  โหตุ
          สัพพันตะรายา  จะ  วินาสะเมนตุ ฯ

      สัมพุทเธ  อัฏฐะวีสัญจะ            ทวาทะสัญจะ  สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะสะหัสสานิ                  นะมามิ  สิระสา  อะหัง
เตสัง  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ               อาทะเรนะ   นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ                    หันตวา  สัพเพ  อุปัททะเว
อะเนกา  อันตะรายาปิ                   วินัสสันตุ  อะเสสะโต ฯ
      สัมพุทเธ  ปัญจะปัญญาสัญจะ      จะตุวีสะติสะหัสสะเก
ทะสะสะตะสะหัสสานิ                  นะมามิ  สิระสา  อะหัง
เตสัง  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ                อาทะเรนะ  นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ                      หันตวา  สัพเพ  อุปัททะเว
อะเนกา  อันตะรายาปิ                    วินัสสันตุ  อะเสสะโต ฯ
      สัมพุทเธ  นะวุตตะระสะเต           อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
วีสะติสะตะสะหัสสานิ                    นะมามิ  สิระสา อะหัง

มนต์พิธี - หน้าที่ 55
      เตสัง  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ         อาทะเรนะ  นะมามิหัง
      นะมะการานุภาเวนะ               หันตวา  สัพเพ  อุปัททะเว
      อะเนกา  อันตะรายาปิ             วินัสสันตุ  อะเสสะโต ฯ
    (ถ้าไม่สวด  สัมพุทเธ จะสวด  นะมะการะสิทธิคาถา  แทนก็ได้)

                     นะโมการะอัฏฐะกะ
      นะโม  อะระหะโต   สัมมา-           สัมพุทธัสสะ  มะเหสิโน
      นะโม  อุตตะมะธัมมัสสะ            สวากขาตัสเสวะ  เตนิธะ
      นะโม  มะหาสังฆัสสาปิ              วิสุทธะสีละทิฏฐิโน
      นะโม  โอมาตายารัทธัสสะ            ระตะนัตตยัสสะ สาธุกัง
      นะโม  โอมะกาตีตัสสะ               ตัสสะ  วัตถุตตยัสสะปิ
      นะโมการัปปะภาเวนะ               วิคัจฉันตุ  อุปัททะวา
      นะโมการานุภาเวนะ                   สุวัตถิ  โหตุ  สัพพะทา
      นะโมการรัสสะ  เตเชนะ               วิธิมหิ  โหมิ  เตชะวา ฯ
            

      พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ             มังคะลานิ   อะจินตะยุง
      อากังขะมานา  โสตถานัง            พรูหิ  มังคะละมุตตะมัง ฯ
          อะเสวะนา จะ  พาลานัง          ปัณฑิตานัญจะ  เสวะนา
      ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ                ปุพเพ  จะ กะตะปุญญะตา
      อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ               เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      พาหุสัจจัญจะ  สิปปัญจะ             วินะโย  จะ สุสิกขิโต
      สุภาสิตา  จะ ยา  วาจา                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      มาตาปิตุอุปัฏฐานัง                  ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห
      อะนากลา จะ  กัมมันตา               เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      ทานัญจะ  ธัมมะจะริยา  จะ             ญาตะกานัญจะ  สังคะโห
      อะนะวัชชานิ กัมมานิ                  เอตัมมังตะละมุตตะมัง ฯ
      อาระตี  วิระตี  ปาปา                   มัชชะปานา  จะ สัญญะโม
      อัปปะมาโท  จะ  ธัมเมสุ                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      คาระโว จะ  นิวาโต  จะ               สันตุฏฐี  จะ กะตัญญุตา
      กาเลนะ  ธัมมัสสะวะนัง                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      ขันตี  จะ โสวะจัสสะตา               สะมะณานัญจะ  ทัสสะนัง
      กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา               เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 58
      ตะโป  จะ พรัหมะจะริยัญจะ        อะริยะสัจจานะ  ทัสสะนัง
      นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ            เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      ผุฏฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ             จิตตัง  ยัสสะ  นะ กัมปะติ
      อะโสกัง  วิระชัง  เขมัง             เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      เอตาทิสานิ  กัตวานะ                สัพพัตถะมะปะราชิตา
      สัพพัตถะ  โสตถิง  คัจฉันติ          ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมันติ ฯ

               

                      ระตะนะสุตตัง
                ยานีธะ  ภูตานิ  สะมาคะตานิ
          ภุมมานิ  วา ยานิวะ  อันตะลิกเข
          สัพเพ  วะ ภูตา  สุมะนา  ภะวันตุ
          อะโถปิ  สักกัจะ  สุณันตุ  ภาสิตัง
          ตัสมา  หิ ภูตา  นิสาเมถะ  สัพเพ
          เมตตัง  กะโรถะ  มานุสิยา  ปะชายะ
          ทิวา  จะ รัตโต  จะ หะรันติ  เย  พะลิง
          ตัสมา  หิ เน  รักขะถะ  อัปปะมัตตา ฯ
                ยังกิญจิ  วิตตัง  อิธะ  วา หุรัง  วา
          สัคเคสุ  วา ยัง  ระตะนัง ปะณีตัง
          นะ  โน  สะมัง  อัตถิ  ตะถาคะเตนะ
          อิทัมปิ  พุทเธ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ขะยัง  วิราคัง  อะมะตัง  ปะณีตัง
          ยะทัชฌะคา  สักยะมุนี  สะมาหิโต

มนต์พิธี - หน้าที่ 60
          นะ  เตนะ  ธัมเมนะ  สะมัตถิ  กิญจิ
          อิทัมปิ  ธัมเม  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ยัมพุทธะเสฏโฐ  ปะริวัณณะยี สุจิง
          สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
          สะมาธินา  เตนะ  สะโม  นะ วิชชะติ
          อิทัมปิ  ธัมเม  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                เย  ปุคคะลา  อัฏฐะ  สะตัง  ปะสัฏฐา
          จัตตาริ  เอตานิ  ยุคานิ  โหนติ
          เต  ทักขิเณยยา  สุคะตัสสะ  สาวะกา
          เอเตสุ  ทินนานิ  มะหัปผะลานิ
          อิทัมปิ  สังเฆ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                เย สุปปะยุตตา  มะนะสา ทัฬเหนะ
          นิกกามิโน  โคตะมะสาสะนัมหิ
          เต  ปัตติปัตตา  อะมะตัง  วิคัยหะ
          ลัทธา  มุธา  นิพพุติง  ภุญชะมานา
          อิทัมปิ  สังเฆ  ระตะนัง   ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
             
                ขีณัง  ปุราณัง  นะวัง  นัตถิ  สัมภะวัง
          วิรัตตะจิตตายะติเก  ภะวัสมิง
          เต  ขีณะพีชา  อะวิรุฬหิฉันทา
          นิพพันติ  ธีรา  ยะถายัมปะทีโป
          อิทัปมิ  สังเฆ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ยานีธะ ภูตานิ  สะมาคะตานิ
          ภุมมานิ  วา ยานิวะ  อันตะลิกเข
          ตะถาคะตัง  เทวะมะนุสสะปูชิตัง
          พุทธัง  นะมัสสามะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 63
                ยานีธะ  ภูตานิ  สะมาคะตานิ
          ภุมมานิ  วา ยานิวะ อันตะลิกเข
          ตะถาคะตัง  เทวะมะนุสสะปูชิตัง
          ธัมมัง  นะมัสสามะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ยานีธะ  ภูตานิ  สะมาคะตานิ
          ภุมมานิ  วา  ยานิวะ  อันตะลิกเข
          ตะถาคะตัง  เทวะมะนุสสะปูชิตัง
          สังฆัง  นะมัสสามะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ



                  กะระณียะเมตตะสุตตัง
      กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ         ยันตัง  สันตัง  ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก  อุชู  จะ  สุหุชู  จะ               สุวะโจ  จัสสะ  มุทุ  อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ  สุภะโร จะ             อัปปะกิจโจ จะ  สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย  จะ  นิปะโก  จะ            อัปปะคัพโภ กุเลสุ  อะนะนุคิทโธ
นะ จะ  ขุททัง  สะมาจะเร  กิญจิ         เยนะ  วิญญู  ปะเร  อุปะวะเทยยุง
สุขิโน  วา เขมิโน  โหตุ                  สัพเพ  สัตตา  ภะวันตุ  สุขิตัตตา

มนต์พิธี - หน้าที่ 64
เย เกจิ  ปาณะภูตัตถิ               ตะสา  วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา  เย  มะหันตา วา           มัชฌิยา  รัสสะกา  อะณุกะถูลา
ทิฏฐา  วา เย  จะ อะทิฏฐา          เย  จะ ทูเร  วะสันติ  อะวิทูเร
ภูตา  วา สัมภะเวสี วา              สัพเพ  สัตตา  ภะวันตุ  สุขิตัตตา
นะ  ปะโร  ปะรัง นิกุพเพถะ         นาติมัญเญถะ  กัตถะจิ  นัง  กิญจิ
พยาโรสะนา  ปะฏีฆะสัญญา        นาญญะมัญญัสสะ  ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา  ยะถา  นิยัง  ปุตตัง           อายุสา  เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ  สัพพะภุเตสุ               มานะสัมภาวะเย  อะปะริมาณัง
      เมตตัญจะ  สัพพะโลกัสมิง     มานะสัมภาวะเย  อะปะริมาณัง
อุทธัง  อะโธ  จะ ติริยัญจะ          อะสัมพาธัง อะเวรัง  อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง  นิสินโน  วา            สะยาโน  วา  ยาวะตัสสะ  วิคะตะมิทโธ
เอตัง  สะติง  อะธิฏเฐยยะ           พรัหมะเมตัง  วิหารัง  อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ  อะนุปะคัมมะ  สีละวา    ทัสสะเนนะ  สัมปันโน
กาเมสุ  วิเนยยะ  เคธัง               นะ หิ  ชาตุ  คัพภะเสยยัง  ปุนะเรตีติ ฯ

   

มนต์พิธี - หน้าที่ 65
                     ขันธะปะริตตะคาถา
      วิรูปักเขหิ  เม เมตตัง               เมตตัง  เอราปะเถหิ เม
      ฉัพยาปุตเตหิ  เม  เมตตัง            เมตตัง  กัณหาโคตะมะเกหิ  จะ
      อะปาทะเกหิ  เม  เมตตัง            เมตตัง  ทิปาทะเกหิ  เม
      จะตุปปะเทหิ  เม  เมตตัง             เมตตัง   พะหุปปะเทหิ เม
      มา มัง  อะปาทะโก  หิงสิ             มา มัง  หิงสิ  ทิปาทะโก
      มา มัง  จะตุปปะโก  หิงสิ            มา  มัง  หิงสิ  พะหุปปะโก
      สัพเพ  สัตตา  สัพเพ  ปาณา         สัพเพ ภูตา  จะ เกวะลา
      สัพเพ  ภัทรานิ  ปัสสันตุ             มา กิญจิ  ปาปะมาคะมา
อัปปะมาโณ  พุทโธ  อัปปะมาโณ   ธัมโม  อัปปะมาโณ  สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ  สิริงสะปานิ  อะหิ  วิจฉิกา  สะตะปะที  อุณณานาภี
สะระพู  มูสิกา  กะตา  เม รักขา  กะตา  เม ปะริตตา  ปะฏิกกะมันตุ
ภูตานิ  โสหัง  นะโม  ภะคะวะโต  นะโม  สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ
               
               


    
                        โมระปะริตตัง
                อุเทตะยัญจักขุมา  เอกะราชา
                หะริสสะวัณโณ    ปะฐะวิปปะภาโส
          ตัง  ตัง  นะมัสสามิ  หะริสสะวัณณัง  ปะฐะวิปปะภาสัง
                ตะยัชชะ  คุตตา  วิหะเรมุ  ทิวะสัง
                เย พราหมะณา  เวทะคุ  สัพพะธัมเม
                เต  เม นะโม  เต จะ  มัง  ปาละยันตุ
                นะมัตถุ  พุทธานัง  นะมัตถุ  โพธิยา
                นะโม วิมุตตานัง  นะโม วิมุตติยา
          อิมัง โส ปะริตตัง  กัตวา  โมโร จะระติ  เอสะนา ฯ
                อะเปตะยัญจักขุมา  เอกะราชา
                หะริสสะวัณโณ  ปะฐะวิปปะภาโส
          ตัง ตัง  นะมัสสามิ  หะริสสะวัณณัง  ปะฐะวิปปะภาสัง

มนต์พิธี - หน้าที่ 67
                ตะยัชชะ คุตตา  วิหะเรมุ  รัตติง
                เย  พราหมะณา  เวทะคุ  สัพพะธัมเม
                เต เม  นะโม  เต จะ  มัง  ปาละยันตุ
                นะมัตถุ  พุทธานัง  นะมัตถุ  โพธิยา
                นะโม  วิมุตตานัง  นะโม  วิมุตติยา
          อิมัง โส ปะริตตัง  กัตวา  โมโร  วาสะมะกัปปะยีติ ฯ

            
                      วัฏฏะกะปะริตตัง
      อิตถิ  โลเก  สีละคุโณ              สัจจัง  โสเจยยะนุททะยา
      เตนะ  สัจเจนะ  กาหามิ             สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง
      อาวัชชิตวา ธัมมะพะลัง            สะริตวา ปุพพะเก  ชิเน
      สัจจะพะละมะวัสสายะ             สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
      สันติ  ปักขา อะปัตตะนา           สันติ  ปาทา  อะวัญจะนา
      มาตา  ปิตา จะ  นิกขันตา          ชาตะเวทะ  ปะฏิกกะมะ
      สะหะ  สัจเจ  กะเต  มัยหัง         มะหาปัชชะลิโต  สิขี
      วัชเชสิ  โสฬะสะ  กะรีสานิ          อุทะกัง  ปัตวา  ยะถา  สิขี
      สัจเจนะ  เม สะโม  นัตถิ             เอสา  เม สัจจะปาระมีติ ฯ


                
      อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ-
สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ  มะมัง  หิ โว  ภิกขะเว
อะนุสสะระตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง วา  โลมะหังโส
วา โส  ปะหิยยิสสะติ โน เจ  มัง อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ
ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ 

มนต์พิธี - หน้าที่ 70
      สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ  ธัมมัง  หิ
โว  ภิกขะเว อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา
โลมะหังโส  วา โส  ปะหิยยิสสะติ  โน เจ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ
อะถะ  สังฆัง  อะนุสสะเรยยาถะ
      สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน
ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง
โลกัสสาติ
    
                      อาฏานาฏิยะปะริตตัง
      วิปัสสิสสะ  นะมัตถุ                จักขุมันตัสสะ  สิรีมะโต
      สิขิสสะปิ  นะมัตถุ                 สัพพะภูตานุกัมปิโน
      เวสสะภุสสะ  นะมัตถุ              นหาตะกัสสะ  ตะปัสสิโน
      นะมัตถุ  กะกุสันธัสสะ             มาระเสนัปปะมัททิโน
      โกนาคะมะนัสสะ  นามัตถุ         วิปปะมุตตัสสะ  สัพพะธิ
      อังคีระสัสสะ  นะมัตถุ              สักยะปุตตัสสะ  สิรีมะโต
      โย  อิมัง  ธัมมะมะเทเสสิ            สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
      เย จาปิ  นิพพุตา  โลเก             ยะถาภูตัง  วิปัสสิสุง
      เต ชะนา  อะปิสุณา                มะหันตา  วีตะสาระทา

มนต์พิธี - หน้าที่ 72
      หิตัง  เทวะมะนสสานัง             ยัง  นะมัสสันติ  โคตะมัง
      วิชชาจะระณะสัมปันนัง             มะหันตัง  วีตะสาระทัง ฯ
      (วิชชาจะระณะสัมปันนัง           พุทธัง  วันทามะ  โคตะมันติ)
          นะโม  เม สัพพะพุทธานัง      อุปปันนานัง  มะเหสินัง
      ตัณหังกะโร  มะหาวีโร             เมธังกะโร  มะหายะโส
      สะระณังกะโร  โลกะหิโต            ทีปังกะโร  ชุตินธะโร
      โกณฑัญโญ  ชะนะปาโมกโข        มังคะโล  ปุริสาสะโภ
      สุมะโน  สุมะโน  ธีโร                เรวะโต  ระติวัฑฒะโน
      โสภิโต  คุณะสัมปันโน             อะโนมะทัสสี  ชะนุตตะโม
      ปะทุโม  โลกะปัชโชโต              นาระโท วะระสาระถี
      ปะทุมุตตะโร  สัตตะสาโร          สุเมโธ  อัปปะฏิปุคคะโล
      สุชาโต  สัพพะโลกัคโค             ปิยะทัสสี  นะราสะโภ
      อัตถะทัสสี  การุณิโก               ธัมมะทัสสี  ตะโมนุโท
      สิทธัตโถ  อะสะโม  โลเก            ติสโส  จะ วะทะตัง  วะโร
      ปุสโส  จะ วะระโท  พุทโธ           วิปัสสี  จะ อะนูปะโม
      สิขี  สัพพะหิโต  สัตถา              เวสสะภู  สุขะทายะโก
      กะกุสันโธ  สัตถะวาโห              โกนาคะมะโน  ระณัญชะโห
      กัสสะโป  สิริสัมปันโน               โคตะโม  สักยะปุงคะโว ฯ
         
          นัตถิ  เม สะระณัง  อัญญัง       พุทโธ  เม สะระณัง  วะรัง
      เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง
      นัตถิ เม  สะระณัง อัญญัง             ธัมโม เม  สะระณัง วะรัง
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                โหตุ  เต ชะยะมังคะลัง
      นัตถิ  เม สะระณัง  อัญญัง            สังโฆ  เม  สะระณัง  วะรัง
      เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ               โหตุ  เต ชะยะมังคะลัง ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 75
          ยังกิญจิ  ระตะนัง  โลเก             วิชชะติ  วิวิธัง  ปุถุ
      ระตะนัง  พุทธะสะมัง  นัตถิ             ตัสมา  โสตถี  ภะวันตุ  เต
      ยังกิญจิ  ระตะนัง  โลเก                  วิชชะติ  วิวิธัง  ปุถุ
      ระตะนัง  ธัมมะสะมัง  นัตถิ             ตัสมา  โสตถี  ภะวันตุ เต
      ยังกิญจิ  ระตะนัง  โลเก                 วิชชะติ  วิวิธัง  ปุถุ
      ระตะนัง  สังฆะสะมัง  นัตถิ             ตัสมา  โสตถี  ภะวันตุ เต ฯ
          สักกัตวา    พุทธะระตะนัง          โอสะถัง  อุตตะมัง  วะรัง
      หิตัง  เทวะมะนุสสานัง                  พุทธะเตะเชนะ  โสตถินา
      นัสสันตุปัททะวา  สัพเพ               ทุกขา  วูปะสะเมนตุ เต
      สักกัตวา  ธัมมะระตะนัง                โอสะถัง  อุตตะนัง  วะรัง
      ปะริฬาหูปะสะมะนัง                   ธัมมะเตเชนะ  โสตถินา
      นัสสันตุปัททะวา  สัพเพ               ภะยา  วูปะสะเมนตุ  เต
      สักกัตวา สังฆะระตะตัง                 โอสะถัง  อุตตะมัง  วะรัง
      อาหุเนยยัง  ปาหุเนยยัง                  สังฆะเตเชนะ  โสตถินา
      นัสสันตุปัททะวา  สัพเพ                โรคา  วูปะสะเมนตุ  เต ฯ
         

มนต์พิธี - หน้าที่ 76
            
                     อังคุลิมาละปะริตตัง
      ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ  เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ  เต
โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ
      ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ
สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ  เต
โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ
      ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ
สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ  เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ เต
โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ

               

                         โพชฌังคะปะริตตัง
          โพชฌังโค  สะติสังขาโต         ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา
      วิริยัมปีติปัสสัทธิ-                     โพชฌังคา  จะ  ตะถาปะเร
      สะมาธุเปกขะโพชฌังคา               สัตเตเต  สัพพะทัสสินา
      มุนินา  สัมมะทักขาตา                ภาวิตา  พะหุลีกะตา
      สังวัตตันติ  อะภิญญายะ               นิพพานายะ  จะ  โพธิยา
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                โสตถิ  เต โหตุ  สัพพะทา ฯ
          เอกัสมิง  สะมะเย  นาโถ          โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง
      คิลาเน  ทุกขิเต  ทิสเว                 โพชฌังเค  สัตตะ  เทสะยิ
      เต  จะ  ตัง  อะภินันทิตา                โรคา  มุจจิงสุ  ตังขะเณ
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                โสตถิ  เต โหตุ  สัพพะทา ฯ
          เอกะทา  ธัมมะราชาปิ             เคลัญเญนาภิปีฬิโต
      จุนทัตเถเรนะ  ตัญเญวะ               ภะณาเปตวานะ  สาทะรัง
      สัมโมทิตวา  จะ  อาพาธา              ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                โสตถิ เต  โหตุ  สัพพะทา ฯ
          ปะหีนา  เต จะ  อาพาธา          ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง
      มัคคาหะตะกิเลสา  วะ                 ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                 โสตถิ เต  โหตุ  สัพพะทา ฯ



                  อะภะยะปะริตตัง
                ยันทุนนิมิตตัง    อะวะมังคะลัญจะ
          โย  จามะนาโป   สะกุณัสสะ  สัทโธ
          ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
          พุทธานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
                ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
          โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
          ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
          ธัมมานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
                ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
          โย จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
          ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง  อะกันตัง
          สังฆานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 79
                     เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
          ทุกขัปปัตตา  จะ นิททุกขา        ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
      โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา                โหนตุ  สัพเพปิ  ปาณิโน
      เอตตาวะตา  จะ อัมเหหิ               สัมภะตัง  ปุญญะสัมปะทัง
      สัพเพ  เทวานุโมทันตุ                   สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
      ทานัง  ทะทันตุ  สัทธายะ               สีลัง  รักขันตุ  สัพพะทา
      ภาวะนาภิระตา  โหนตุ                  คัจฉันตุ  เทวะตาคะตา ฯ
          สัพเพ  พุทธา  พะลัปปัตตา        ปัจเจกานัญจะ  ยัง พะลัง
      อะระหันตานัญจะ  เตเชนะ            รักขัง  พันธามิ  สัพพะโส ฯ
      
                         
                   มงคลจักรวาฬใหญ่
          สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิ-
การัสสะ  สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ  ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ อะสีตยา-
นุพยัญชะนานุภาเวนะ  อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ ฉัพพัณณะ-
รังสิยานุภาเวนะ  เกตุมาลานุภาเวนะ  ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ  ทะสะอุปะ-
ปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาเวนะ  สีละสะมาธิ-
ปัญญานุภาเวนะ  พุทธานุภาเวนะ  ธัมมานุภาเวนะ  สังฆานุภาเวนะ  เตชา-
นุภาเวนะ  อิทธานุภาเวนะ  พะลานุภาเวนะ  เญยยะธัมมานุภาเวนะ  จะตุ-
ราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ  นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ
อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ  อัฏฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ  ฉะฬะภิญญา-

มนต์พิธี - หน้าที่ 85
นุภาเวนะ  จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ    ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ
สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ  เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ
สัพพะปะริตตานุภาเวนะ  ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ  ตุยหัง  สัพ-
พะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา  วินัสสันตุ  สัพพะ-
อันตะรายาปิ  วินัสสันตุ  สัพพะสังกัปปา  ตุยหัง  สะมิชฌินตุ  ทีฆายุตา
ตุยหัง  โหตุ  สะตะวัสสะชีเวนะ  สะมังคิโก  โหตุ  สัพพะทา ฯ  อากาสะ -
ปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา  อารักขะกา  เทวะตา  สะทา
ตุมเห  อะนุรักขันตุ ฯ
          ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง          รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
      สัพพะพุทธานุภาเวนะ                สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต
      ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
      สัพพะธัมมานุภาเวนะ                 สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต
      ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
      สัพพะสังฆานุภาเวนะ                สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ
          นักขัตตะยักขะภูตานัง            ปาปัคคะหะนิวาระณา
      ปะริตตัสสานุภาเวนะ                 หันตวา เตสัง  อุปัททะเว
      นักขัตตะยักขะภูตานัง                ปาปัคคะหะนิวาระณา
      ปะริตตัสสานุภาเวนะ                 หันตวา  เตสัง  อุปัททะเว
      นักขัตตะยักขะภูตานัง                ปาปัคคะหะนิวาระณา
      ปะริตตัสสานุภาเวนะ                 หันตวา  เตสัง  อุปัททะเว ฯ
      อิติปิ โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ-
สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา
เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ ฯ
      สวากขาโต A
ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ฯ
                พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
          ค รีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
          ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
          โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง
          ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
                นาฬาคิริง  คะชะวะรัง  อะติมัตตะภูตัง
          ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ  สุทารุณันตัง
          เมตตัมพุเสกะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
          ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
          อิทธีภิสังขะตะมะโน  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                กัตวานะ  กิฏฐะมุทะรัง  อิวะ คัพภินียา
          จิญจายะ  ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ

มนต์พิธี - หน้าที่ 130
          สันเตนะ  โสมะวิธินา ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                สัจจัง  วิหายะ  มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
          วาทาภิโรปิตะมะนัง  อะติอันธะภูตัง
          ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                นันโทปะนันทะภุชะคัง  วิพุธัง  มะหิทธิง
          ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต
          อิทธูปะเทสะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
          พรัหมัง  วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
          ญาณาคะเทนะ  วิธินา  ชิตะวา มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                เอตาปิ  พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
          โย วาจะโน  ทินะทิเน  สะระเต  มะตันที
          หิตวานะเนกะวิวิธานิ  จุปัททะวานิ
          โมกขัง สุขัง  อะธิคะเมยยะ  นะโร  สะปัญโญ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 131
          มะหาการุณิโก  นาโถ                หิตายะ  สัพพะปาณินัง
      ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา                 ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                   โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง ฯ
          ชะยันโต  โพธิยา มูเล                สักยานัง  นันทิวัฑฒะโน
      เอวัง  ตวัง  วิชะโย โหหิ                  ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล
      อะปะราชิตะปัลลังเก                     สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร
      อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง               อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ ฯ
      สุนักขัตตัง สุมังคะลัง                    สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง
      สุขะโณ  สุมุหุตโต  จะ                   สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
      ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง                  วาจากัมมัง  ปะทักขิณัง
      ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง                  ปะณิธี เต  ปะทักขิณา
      ปะทักขิณานิ  กัตวานะ                   ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณ ฯ
#8
    มะหัปปะภา  มะหะเตชา             มะหาปัญญา  มะหัพพะลา
      มะหาการุณิกา ธีรา                  สัพเพสานัง  สุขาวะหา
      ทีปา นาถา  ปะติฏฐา  จะ            ตาณา  เลณา  จะ ปาณินัง
      คะตี  พันธู  มะหัสสาสา            สะระณา  จะ หิเตสิโน
      สะเทวะกัสสะ  โลกัสสะ             สัพเพ  เอเต  ปะรายะนา
      เตสาหัง  สิระสา  ปาเท              วันทามิ  ปุริสุตตะเม
      วะจะสา  มะนะสา เจวะ             วันทาเมเต  ตะถาคะเต
      สะยะเน  อาสะเน  ฐาเน              คะมะเน  จาปิ  สัพพะทา
      สะทา สุเขนะ  รักขันตุ               พุทธา  สันติกะรา  ตุวัง
      เตหิ  ตวัง  รักขิโต  สันโต            มุตโต  สัพพะภะเยนะ  จะ
      สัพพะโรคะวินิมุตโต                สัพพะสันตาปะวัชชิโต
      สัพพะเวระมะติกกันโต               นิพพุโต  จะ  ตุวัง  ภะวะ ฯ
          เตสัง  สัจเจนะ สีเลนะ           ขันติเมตตาพะเลนะ  จะ
      เตปิ  ตุมเห  อะนุรักขันตุ             อาโรคเยนะ  สุเขนะ จะ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 74
          ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค        สันติ  ภูตา  มะหิทธิกา
      เตปิ  ตุมเห  อะนุรักขันตุ           อาโรคเยนะ  สุเขนะ จะ
      ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค              สันติ  เทวา มะหิทธิกา
      เตปิ  ตุมเห  อะนุรักขันตุ            อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
      ปัจฉิมัสมิง  ทิสาภาเค              สันติ นาคา  มะหิทธิกา
      เตปิ  ตุมเห  อะนุรักขันตุ            อาโรคเยนะ  สุเขนะ จะ
      อุตตะรัสมิง  ทิสาภาเค             สันติ  ยักขา  มะหิทธิกา
      เตปิ  ตุมเห  อะนุรักขันตุ             อาโรคเยนะ  สุเขนะ  จะ
      ปุริมะทิสัง  ธะตะรัฏโฐ             ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
      ปัจฉิเมนะ  วิรูปักโข                กุเวโร  อุตตะรัง  ทิสัง
      จัตตาโร  เต มะหาราชา             โลกะปาละ  ยะสัสสิโน
      เตปิ  ตุมเห  อะนุรักขันตุ             อาโรคเยนะ สุเขนะ  จะ
      อากาสัฏฐา  จะ ภุมมัฏฐา            เทวา นาคา  มะหิทธิกา
      เตปิ  ตุมเห อะนุรักขันตุ             อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
          นัตถิ  เม สะระณัง  อัญญัง       พุทโธ  เม สะระณัง  วะรัง
      เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง
      นัตถิ เม  สะระณัง อัญญัง             ธัมโม เม  สะระณัง วะรัง
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                โหตุ  เต ชะยะมังคะลัง
      นัตถิ  เม สะระณัง  อัญญัง            สังโฆ  เม  สะระณัง  วะรัง
      เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ               โหตุ  เต ชะยะมังคะลัง ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 75
          ยังกิญจิ  ระตะนัง  โลเก             วิชชะติ  วิวิธัง  ปุถุ
      ระตะนัง  พุทธะสะมัง  นัตถิ             ตัสมา  โสตถี  ภะวันตุ  เต
      ยังกิญจิ  ระตะนัง  โลเก                  วิชชะติ  วิวิธัง  ปุถุ
      ระตะนัง  ธัมมะสะมัง  นัตถิ             ตัสมา  โสตถี  ภะวันตุ เต
      ยังกิญจิ  ระตะนัง  โลเก                 วิชชะติ  วิวิธัง  ปุถุ
      ระตะนัง  สังฆะสะมัง  นัตถิ             ตัสมา  โสตถี  ภะวันตุ เต ฯ
          สักกัตวา    พุทธะระตะนัง          โอสะถัง  อุตตะมัง  วะรัง
      หิตัง  เทวะมะนุสสานัง                  พุทธะเตะเชนะ  โสตถินา
      นัสสันตุปัททะวา  สัพเพ               ทุกขา  วูปะสะเมนตุ เต
      สักกัตวา  ธัมมะระตะนัง                โอสะถัง  อุตตะนัง  วะรัง
      ปะริฬาหูปะสะมะนัง                   ธัมมะเตเชนะ  โสตถินา
      นัสสันตุปัททะวา  สัพเพ               ภะยา  วูปะสะเมนตุ  เต
      สักกัตวา สังฆะระตะตัง                 โอสะถัง  อุตตะมัง  วะรัง
      อาหุเนยยัง  ปาหุเนยยัง                  สังฆะเตเชนะ  โสตถินา
      นัสสันตุปัททะวา  สัพเพ                โรคา  วูปะสะเมนตุ  เต ฯ
          สัพพีติโย  วิวัชชันตุ                สัพพะโรโค  วินัสสะตุ
      มา เต  ภะวัตวันตะราโย                 สุขี  ทีฆายุโก  ภะวะ
      อะภิวาทะนะสีลิสสะ                     นิจจัง  วุฑฒาปะจายิโน
      จัตตาโร  ธัมมา  วัฑฒันติ               อายุ  วัณโณ  สุขัง พะลัง ฯ   

มนต์พิธี - หน้าที่ 76
                 บทขัดอังคุลิมาละปะริตตัง
      ปะริตตัง  ยัมภะณันตัสสะ           นิสินนัฏฐานะโธวะนัง
      อุทะกัมปิ  วินาเสติ                  สัพพะเมวะ  ปะริสสะยัง
      โสตถินา  คัพภะวุฏฐานัง            ยัญจะ  สาเธติ  ตังขะเณ
      เถรัสสังคุลิมาลัสสะ                 โลกะนาเถนะ  ภาสิตัง
      กัปปัฏฐายิ  มะหาเตชัง              ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ

                     อังคุลิมาละปะริตตัง
      ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ  เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ  เต
โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ
      ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ
สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ  เต
โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ
      ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ
สัญจิจจะ  ปาณัง  ชีวิตา  โวโรเปตา ฯ  เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ เต
โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ

                   บทขัดโพชฌังคะปะริตตัง
      สังสาเร  สังสะรันตานัง            สัพพะทุกขะวินาสะเน
      สัตตะ  ธัมเม  จะ โพชฌังเค        มาระเสนัปปะมัททิโน
      พุชฌิตวา  เยปิเม  สัตตา           ติภะวามุตตะกุตตะมา
      อะชาติง  อะชะราพยาธิง           อะมะตัง  นิพภะยัง คะตา

มนต์พิธี - หน้าที่ 77
      เอวะมาทิคุณเปตัง            อะเนกะคุณะสังคะหัง
      โอสะถัญจะ  อิมัง  มันตัง      โพชฌังคันตัมภะณามะ เห ฯ

                         โพชฌังคะปะริตตัง
          โพชฌังโค  สะติสังขาโต         ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา
      วิริยัมปีติปัสสัทธิ-                     โพชฌังคา  จะ  ตะถาปะเร
      สะมาธุเปกขะโพชฌังคา               สัตเตเต  สัพพะทัสสินา
      มุนินา  สัมมะทักขาตา                ภาวิตา  พะหุลีกะตา
      สังวัตตันติ  อะภิญญายะ               นิพพานายะ  จะ  โพธิยา
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                โสตถิ  เต โหตุ  สัพพะทา ฯ
          เอกัสมิง  สะมะเย  นาโถ          โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง
      คิลาเน  ทุกขิเต  ทิสเว                 โพชฌังเค  สัตตะ  เทสะยิ
      เต  จะ  ตัง  อะภินันทิตา                โรคา  มุจจิงสุ  ตังขะเณ
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                โสตถิ  เต โหตุ  สัพพะทา ฯ
          เอกะทา  ธัมมะราชาปิ             เคลัญเญนาภิปีฬิโต
      จุนทัตเถเรนะ  ตัญเญวะ               ภะณาเปตวานะ  สาทะรัง
      สัมโมทิตวา  จะ  อาพาธา              ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                โสตถิ เต  โหตุ  สัพพะทา ฯ
          ปะหีนา  เต จะ  อาพาธา          ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง
      มัคคาหะตะกิเลสา  วะ                 ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                 โสตถิ เต  โหตุ  สัพพะทา ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 78
               บทขัดอะภะยะปะริตตัง
      ปุญญะลาภัง  มะหาเตชัง      วัณณะกิตติมะหายะสัง
      สัพพะสัตตะหิตัง  ชาตัง        ตัง  สุณันตุ  อะเสสะโต
      อัตตัปปะระหิตัง  ชาตัง         ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ

                  อะภะยะปะริตตัง
                ยันทุนนิมิตตัง    อะวะมังคะลัญจะ
          โย  จามะนาโป   สะกุณัสสะ  สัทโธ
          ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
          พุทธานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
                ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
          โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
          ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง
          ธัมมานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ
                ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
          โย จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
          ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง  อะกันตัง
          สังฆานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 79
                     เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
          ทุกขัปปัตตา  จะ นิททุกขา        ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
      โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา                โหนตุ  สัพเพปิ  ปาณิโน
      เอตตาวะตา  จะ อัมเหหิ               สัมภะตัง  ปุญญะสัมปะทัง
      สัพเพ  เทวานุโมทันตุ                   สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
      ทานัง  ทะทันตุ  สัทธายะ               สีลัง  รักขันตุ  สัพพะทา
      ภาวะนาภิระตา  โหนตุ                  คัจฉันตุ  เทวะตาคะตา ฯ
          สัพเพ  พุทธา  พะลัปปัตตา        ปัจเจกานัญจะ  ยัง พะลัง
      อะระหันตานัญจะ  เตเชนะ            รักขัง  พันธามิ  สัพพะโส ฯ
      
                             บทขัดชะยะปะริตตัง
      ชะยัง  เทวะมะนุสสานัง                 ชะโย  โหตุ  ปะราชิโต
      มาระเสนา  อะภิกกันตา                  สะมันตา  ทวาทะสะโยชะนา
      ขันติเมตตาอะธิฏฐานา                   วิทธังเสตวานะ  จักขุมา
      ภะวาภะเว  สังสะรันโต                   ทิพพะจักขัง  วิโสธะยิ
      ปะริยาปันนาทิโสตถานัง                หิตายะ  จะ สุขายะ  จะ
      พุทธะกิจจัง  วิโสเธตวา                   ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 80
                      ชะยะปะริตตัง
      มะหาการุณิโก  นาโถ             หิตายะ   สัพพะปาณินัง
      ปุเรตวา  ปาระมี  สัพพา          ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ          โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง ฯ
          ชะยันโต  โพธิยา  มูเล      สักยานัง  นันทิวัฑฒะโน
      เอวัง  ตวัง  วิชะโย  โหหิ          ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล
      อะปะราชิตะปัลลังเก            สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร
      อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง        อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ ฯ
      สุนักขัตตัง สุมังคะลัง             สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง
      สุกขะโณ  สุมุหุตโต  จะ          สุยิฏฐัง  พรัหมะจาริสุ
      ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง         วาจากัมมัง  ปะทักขิณัง
      ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง         ปะณิธี  เต  ปะทักขิณา
      ปะทักขิณานิ กัตวานะ             ละภันตัตเถ   ปะทักขิเณ ฯ
          โส  อัตถะลัทโธ สุขิโต       วิรุฬโห  พุทธะสาสะเน
      อะโรโค  สุขิโต  โหหิ             สะหะ  สัพเพหิ  ญาติภิ
      สา  อัตถะลัทธา  สุขิตา           วิรุฬหา  พุทธะสาสะเน
      อะโรคา  สุขิตา  โหหิ             สะหะ  สัพเพหิ  ญาติภิ
      เต  อัตถะลัทธา  สุขิตา            วิรุฬหา  พุทธะสาสะเน
      อะโรคา  สุขิตา โหถะ            สิหะ สัพเพหิ  ญาติภิ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 81
            ระตะนัตตะยัปปะภาวาภิยาจะนะคาถา
      อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ         อุตตะมัง  ธัมมะมัชฌะคา
      มะหาสังฆัง  ปะโพเธสิ             อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง
      พุทโธ ธัมโม  สังโฆ จาติ           นานาโหนตัมปิ  วัตถุโต
      อัญญะมัญญาวิโยคา วะ            เอกีภูตัมปะนัตถะโต
      พุทโธ  ธัมมัสสะ  โพเธตา         ธัมโม  สังเฆนะ  ธาริโต
      สังโฆ จะ  สาวะโก พุทธัสสะ      อิจเจกาพัทธะเมวิทัง
      วิสุทธัง  อุตตะมัง  เสฏฐัง         โลกัสมิง ระตะนัตตะยัง
      สังวัตตะติ  ปะสันนานัง           อัตตะโน  สุทธิกามินัง
      สัมมา  ปะฏิปัชชันตานัง          ปะระมายะ  วิสุทธิยา ฯ
      วิสุทธิ  สัพพักเลเสหิ               โหติ  ทุกเขหิ  นิพพุติ
      นิพพานัง  ปะระมัง  สุญญัง       นิพพานัง  ปะระมัง  สุขัง
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ             สุวัตถิ  โหตุ  สัพพะทา ฯ
      ระตะนัตตะยานุภาเวนะ           ระตะนัตตะยะเตชะสา
      อุปัททะวันตะรายา จะ            อุปะสัคคา จะ สัพพะโส
      มา  ภะทาจิ  สัมผุสิงสุ             รัฏฐัง  สยามานะเมวิทัง
      อาโรคิยะสุขัญเจวะ                ตะโต  ทีฆายุตาปิ  จะ
      ตัพพัตถูนัญจะ  สัมปัตโย          สุขัง  สัพพัตถะ  โสตถิ จะ
      ภะวันตุ สัมปะวัตตันตุ             สยามานัง  รัฏฐะปาลินัง
      เต จะ รัฏฐัญจะ  รักขันตุ            สยามะรัฏฐิกะเทวะตา
      สยามานัง  รัฏฐะปาลีหิ            ธัมมามิเสหิ  ปูชิตา
      สิทธะมัตถุ  สิทธะมัตถุ            สิทธะมัตถุ  อิทัง  ผะลัง
      เอตัสมิง  ระตะนัตตะยัสมิง          สัมปะสาทะนะเจตะโส ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 82
             ระตะนัตตะยัปปะภาวะสิทธิคาถา
      อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ            โลกานัง  อะนุกัมปะโก
      เวเนยยานัง  ปะโพเธตา            สันติมัคคานุสาสะโก ฯ
      สวากขาโต  อุตตะโม  ธัมโม        โลกานัง  ตะมะทาละโก
      นิยยานิโก  จะ ทุกขัสมา            ธัมมะจารีนุปาละโก ฯ
      สุปะฏิปันโน  มะหาสังโฆ         โลกานัง  ปุญญะมากะโร
      สีละทิฏฐีหิ สังสุทโธ               สันติมัคคะนิโยชะโก ฯ
      อิจเจตัง  ระตะนัง  เสฏฐัง         โลเก  สะระณะมุตตะมัง
      ปะนิกขะกานะ  ธีรานัง             ญาณะสัญจาระณักขะมัง ฯ
      ยัสสะ  โลกัง  ปะภาเสติ             อาตะโปวะ  ตะโมนุโท
      ทัยยะเทโส  อิมคัมมะ              เขมะมัคคัปปะโชตะนัง
      สันติสุเข  ปะติฏฐาติ               อิสสะโร  สาตะตัง  ฐิโต ฯ
      อัคคะเมตัง  ติระตะนัง             คะรุง  กุตวานะ  รักขิตัง
      ธะชัง  กัตวา ปะเทสัสสะ           ทัยยะเทสนะ  อุทธะตัง ฯ
      นีติปัญญัตติการายะ                สะทิฏฐิยา  ปะกุพพะเน
      ธัมมะนุญญัง  วะ รัฏฐัสสะ          รัฏฐานัง  สิทธิทายะกัง ฯ
      เอวัง สาสะนะกิจเจสุ                สังฆัง  กัตวานะธิสสะรัง
      ปะสิชณะนันติทัง พุทธะ-          สาสะนัสสะ  ปะสาสะนัง
      เอวัง  ปะสาสะนุปาเยนะ            ถิรัง  ติฏฐะติ  สาสะนัง ฯ
      ระตะนัตตะยานุภาเวนะ            ระตะนัตตะยะเตชะสา
      ทัยยะชาติ  วิโรเจตุ                สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
      อิทธิง  ปัปโปตุ  เวปุลสัง            วิรุฬหิง  จุตตะริง สะทา ณ
      จิรัง  ติฏฐะตุ  โลกัสมิง             สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง

 

มนต์พิธี - หน้าที่ 83
      ทัสเสนตัง  ภัพพะสัตตานัง          อัญชะสัง  วะ วิสุทธิยา ฯ
      จิรัญชีวะตุ  ทีฆายุ                  ทัยยานัง  ธัมมะขัตติโย
      วัณณะวา  พะละสัมปันโน            นิรามะโย  จะ นิพภะโย ฯ
      รัฏฐัสสะ  ธัมมะนุญญัญจะ           จิรัง  ติฏฐะตุ  โสตถินา ฯ
      ระตะนัตตะยัปปะภาเวนะ            วุฑฒิยาสา  สะมิชฌะตุ
      ทัยยานัง  รัฏฐะปาลีนัง              สัพพะสิทธิ  สะทา ถิรัง ฯ
      ชะยะมัตถุ  จะ ทัยยานัง             วุฑฒิ  สันติ  นิรันตะรัง
      ปะวัฑฒะตัง จะ  ภิยโยโส             ธะนุฏฐาเนนะ  สัมปะทาติ ฯ

                        สุขาภิยาจะนะคาถา
      ยัง  ยัง  เทวะมะนุสสานัง              มังคะลัตถายะ  ภาสิตัง
      ตัสสะ  ตัสสานุภาเวนะ                โหตุ  ราชะกุเล  สุขัง
      เย เย อารักขะกา  เทวา                 ตัตถะ  ตัตถาธิวาสิโน
      อิมินา  ธัมมะทาเนนะ                  สัพเพ  อัมเหหิ  ปูชิตา
      สะทา  ภัทรานิ  ปัสสันตุ                สุขิตา โหนตุ  นิพภะยา
      อัปปะมัตตา  จะ อัมเหสุ               สัพเพ  รักขันตุ โน  สะทา
      ยัญจะ  โน ภาสะมาเนหิ                กุสะลัง  ปะสุตัง  พะหุง
      ตันโน  เทวานุโมทันตุ                  จิรัง ติฏฐันตุ  สาตะตัง
      เย วา  ชะลาพุชัณฑะชา               สังเสทะโชะปาติกา
      อะเวรา  โหนตุ  สัพเพ  เต              อะนีฆา  นิรุปัททะวา

มนต์พิธี - หน้าที่ 84
       ปัสสันตุ  อะนะวัชชานิ          มา จะ สาวัชชะมาคะมา
      จิรัง  ติฏฐะตุ  โลกัสมิง         สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง
      ทัสเสนตัง  โสตะวันตูนัง        มัคคัง  สัตตะวิสุทธิยา
      ยาวะ  พุทโธติ  นามัมปิ          โลกะเชฏฐัสสะ  สัตถุโน
      สัมมาเทสิตะธัมมัสสะ          ปะวัตตะติ  มะเหสิโน
      ปะสันนา  โหนตุ  สัพเพปิ      ปาณิโน พุทธะสาสะเน
      สัมมา  ธารัง  ปะเวจฉันโต      กาเล  เทโว  ปะวัสสะตุ
      วุฑฒิภาวายะ  สัตตานัง         สะมิทธัง  เนตุ  เมทะนิง
      มาตา  ปิตา  จะ อัตระชัง        นิจจัง  รักขันติ  ปุตตะกัง
      เอวัง  ธัมเมนะ ราชาโน          ปะชัง รักขันตุ  สัพพะทา ฯ

                   มงคลจักรวาฬใหญ่
          สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิ-
การัสสะ  สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ  ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ อะสีตยา-
นุพยัญชะนานุภาเวนะ  อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ ฉัพพัณณะ-
รังสิยานุภาเวนะ  เกตุมาลานุภาเวนะ  ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ  ทะสะอุปะ-
ปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาเวนะ  สีละสะมาธิ-
ปัญญานุภาเวนะ  พุทธานุภาเวนะ  ธัมมานุภาเวนะ  สังฆานุภาเวนะ  เตชา-
นุภาเวนะ  อิทธานุภาเวนะ  พะลานุภาเวนะ  เญยยะธัมมานุภาเวนะ  จะตุ-
ราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ  นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ
อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ  อัฏฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ  ฉะฬะภิญญา-

มนต์พิธี - หน้าที่ 85
นุภาเวนะ  จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ    ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ
สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ  เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ
สัพพะปะริตตานุภาเวนะ  ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ  ตุยหัง  สัพ-
พะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา  วินัสสันตุ  สัพพะ-
อันตะรายาปิ  วินัสสันตุ  สัพพะสังกัปปา  ตุยหัง  สะมิชฌินตุ  ทีฆายุตา
ตุยหัง  โหตุ  สะตะวัสสะชีเวนะ  สะมังคิโก  โหตุ  สัพพะทา ฯ  อากาสะ -
ปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา  อารักขะกา  เทวะตา  สะทา
ตุมเห  อะนุรักขันตุ ฯ
          ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง          รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
      สัพพะพุทธานุภาเวนะ                สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต
      ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
      สัพพะธัมมานุภาเวนะ                 สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต
      ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง                รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
      สัพพะสังฆานุภาเวนะ                สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เต ฯ
          นักขัตตะยักขะภูตานัง            ปาปัคคะหะนิวาระณา
      ปะริตตัสสานุภาเวนะ                 หันตวา เตสัง  อุปัททะเว
      นักขัตตะยักขะภูตานัง                ปาปัคคะหะนิวาระณา
      ปะริตตัสสานุภาเวนะ                 หันตวา  เตสัง  อุปัททะเว
      นักขัตตะยักขะภูตานัง                ปาปัคคะหะนิวาระณา
      ปะริตตัสสานุภาเวนะ                 หันตวา  เตสัง  อุปัททะเว ฯ
      อิติปิ โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ-
สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา
เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ ฯ
      สวากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ฯ
      สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฏิปันโน
ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ ปุริสะ-
มนต์พิธี - หน้าที่ 129
ยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง
ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ฯ
                พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
          ค รีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
          ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
          โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง
          ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
                นาฬาคิริง  คะชะวะรัง  อะติมัตตะภูตัง
          ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ  สุทารุณันตัง
          เมตตัมพุเสกะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
          ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
          อิทธีภิสังขะตะมะโน  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                กัตวานะ  กิฏฐะมุทะรัง  อิวะ คัพภินียา
          จิญจายะ  ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ

มนต์พิธี - หน้าที่ 130
          สันเตนะ  โสมะวิธินา ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                สัจจัง  วิหายะ  มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
          วาทาภิโรปิตะมะนัง  อะติอันธะภูตัง
          ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                นันโทปะนันทะภุชะคัง  วิพุธัง  มะหิทธิง
          ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต
          อิทธูปะเทสะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
          พรัหมัง  วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
          ญาณาคะเทนะ  วิธินา  ชิตะวา มุนินโท
          ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ ฯ
                เอตาปิ  พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
          โย วาจะโน  ทินะทิเน  สะระเต  มะตันที
          หิตวานะเนกะวิวิธานิ  จุปัททะวานิ
          โมกขัง สุขัง  อะธิคะเมยยะ  นะโร  สะปัญโญ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 131
          มะหาการุณิโก  นาโถ                หิตายะ  สัพพะปาณินัง
      ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา                 ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง
      เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                   โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง ฯ
          ชะยันโต  โพธิยา มูเล                สักยานัง  นันทิวัฑฒะโน
      เอวัง  ตวัง  วิชะโย โหหิ                  ชะยัสสุ  ชะยะมังคะเล
      อะปะราชิตะปัลลังเก                     สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร
      อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง               อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ ฯ
      สุนักขัตตัง สุมังคะลัง                    สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง
      สุขะโณ  สุมุหุตโต  จะ                   สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
      ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง                  วาจากัมมัง  ปะทักขิณัง
      ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง                  ปะณิธี เต  ปะทักขิณา
      ปะทักขิณานิ  กัตวานะ                   ละภันตัตเถ  ปะทักขิเณ ฯ
#9
สวดมนต์ ๑๒ ตำนาน มีดังนี้ค่ะ


                     ชุมนุมเทวดา
               (ถ้าจะสวดเจ็ดตำนานใช้)
          สะรัชชัง  สะเสนัง  สะพันธุง  นะรินทัง
          ปะริตตานุภาโว  สะทา  รักขะตูติ
          ผะริตวานะ  เมตตัง  สะเมตตา  ภะทันตา
          อะวิกขิตตะจิตตา  ปะริตตัง  ภะณันตุ
สัคเค  กาเม  จะ รูเป   คิริสิขะระตะเฏ  จันตะลิกเข   วิมาเน  ทีเป
รัฏเฐ  จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน  เคหะวัตถุมหิ  เขตเต  ภุมมา
จายันตุ  เทวา  ชะละถะละวิสะเม  ยักขะคันธัพพะนาคา  ติฏฐันตา
สันติเก ยัง มุนิวะระจะนัง  สาธะโว  เม สุณันตุ  ฯ  ธัมมัสสะวะนะ-
กาโล  อะยัมภะทันตา  ธัมมัสสะวะนะกะโล  อะยัมภะทันตา
          ธัมมัสสะวะนะกาโล  อะยัมภะทันตา ฯ
                (ถ้าจะสวดสิบสองตำนานใช้)
      สะมันตา  จักกะวาเฬสุ       อัตราคัจฉันตุ  เทวะตา
      สัทธัมมัง  มุนิราชัสสะ         สุณันตุ  สัคคะโมกขะทังฯ
สัคเค  กาเม  จะ รูเป  คิริสิขะระตะเฏ  จันตะลิกเข  วิมาเน  ฯลฯ
                (เหมือนเจ็ดตำนานไปจนจบ)
      นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
      นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
      นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 52
                พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                ธัมมัง  สะระณัง คัจฉามิ
                สังฆัง สะระณัง  คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ  พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง คัจฉามิ
          ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ  ธัมมัง สะระณิง  คัจฉามิ
          ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
      (ถ้าสวดให้คนไข้ฟัง  หรือสวดให้งานทำบุญสะเดาะเคราะห์  ต่อชะตา
อายุ  สวดดังนี้)
          พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
          ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
          สังฆัง  ชีวิตัง  ยาวะ   นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ   สังฆัง   ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  สังฆัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ

มนต์พิธี - หน้าที่ 53
             นะมะการะสิทธิคาถา
              (ใช้แทน  สัมพุทเธ)
          โย  จักขุมา  โมหะมะลาปะกัฏโฐ
      สามัง  วะ พุทโธ  สุคะโต  วิมุตโต
      มารัสสะ  ปาสา  วินิโมจะยันโต
      ปาเปสิ  เขมัง  ชะนะตัง  วิเนยยัง ฯ
      พุทธัง  วะรันตัง สิระสา  นะมามิ
      โลกัสสะ  นาถัญจะ  วินายะกัญจะ
      ตันเตชะสา  เต  ชะยะสิทธิ  โหตุ
      สัพพันตะรายา  จะ  วินาสะเมนตุ ฯ
          ธัมโม  ธะโช  โย วิยะ  ตัสสะ  สัตถุ
      ทัสเสสิ  โลกัสสะ  วิสุทธิมัคคัง
      นิยยานิโก  ธัมมะธะรัสสะ  ธารี
      สาตาวะโห  สันติกะโร สุจิณโณ ฯ
      ธัมมัง  วะรันตัง  สิระสา  นะมานิ
      โมหัปปะทาลัง  อุปะสันตะทาหัง
      ตันเตชะสา เต  ชะยะสิทธิ  โหตุ
      สัพพันตะรายา จะ  วินาสะเมนตุ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 54
                สัทธัมมะเสนา สุคะตานุโค  โย
          โลกัสสะ  ปาปูปะกิเลสะเชตา
          สันโต  สะยัง  สันตินิโยชะโก  จะ
          สวากขาตะธัมมัง  วิทิตัง  กะโรติ ฯ
          สังฆัง  วะรันตัง สิระสา  นะมามิ
          พุทธานุพุทธัง  สะมะสีละทิฏฐิง
          ตันเตชะสา  เต  ชะยะสิทธิ  โหตุ
          สัพพันตะรายา  จะ  วินาสะเมนตุ ฯ

      สัมพุทเธ  อัฏฐะวีสัญจะ            ทวาทะสัญจะ  สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะสะหัสสานิ                  นะมามิ  สิระสา  อะหัง
เตสัง  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ               อาทะเรนะ   นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ                    หันตวา  สัพเพ  อุปัททะเว
อะเนกา  อันตะรายาปิ                   วินัสสันตุ  อะเสสะโต ฯ
      สัมพุทเธ  ปัญจะปัญญาสัญจะ      จะตุวีสะติสะหัสสะเก
ทะสะสะตะสะหัสสานิ                  นะมามิ  สิระสา  อะหัง
เตสัง  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ                อาทะเรนะ  นะมามิหัง
นะมะการานุภาเวนะ                      หันตวา  สัพเพ  อุปัททะเว
อะเนกา  อันตะรายาปิ                    วินัสสันตุ  อะเสสะโต ฯ
      สัมพุทเธ  นะวุตตะระสะเต           อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
วีสะติสะตะสะหัสสานิ                    นะมามิ  สิระสา อะหัง

มนต์พิธี - หน้าที่ 55
      เตสัง  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ         อาทะเรนะ  นะมามิหัง
      นะมะการานุภาเวนะ               หันตวา  สัพเพ  อุปัททะเว
      อะเนกา  อันตะรายาปิ             วินัสสันตุ  อะเสสะโต ฯ
    (ถ้าไม่สวด  สัมพุทเธ จะสวด  นะมะการะสิทธิคาถา  แทนก็ได้)

                     นะโมการะอัฏฐะกะ
      นะโม  อะระหะโต   สัมมา-           สัมพุทธัสสะ  มะเหสิโน
      นะโม  อุตตะมะธัมมัสสะ            สวากขาตัสเสวะ  เตนิธะ
      นะโม  มะหาสังฆัสสาปิ              วิสุทธะสีละทิฏฐิโน
      นะโม  โอมาตายารัทธัสสะ            ระตะนัตตยัสสะ สาธุกัง
      นะโม  โอมะกาตีตัสสะ               ตัสสะ  วัตถุตตยัสสะปิ
      นะโมการัปปะภาเวนะ               วิคัจฉันตุ  อุปัททะวา
      นะโมการานุภาเวนะ                   สุวัตถิ  โหตุ  สัพพะทา
      นะโมการรัสสะ  เตเชนะ               วิธิมหิ  โหมิ  เตชะวา ฯ
               
                   บทขัดมังคะละสุตตัง
เย สันตา  สันตะจิตตา  ติสะระณะสะระณา  เอตถะ  โลกันตะเร วา
ภุมมาภุมมา จะ  เทวา  คุณะคะณะคะหะณัพยาวะฏา  สัพพะกาลัง
เอเต  อายันตุ  เทวา  วะระกะนะกะมะเย  เมรุราเช   วะสันโต
สันโต  สันโต  สะเหตุง  มุนิวะระวะจะนัง  โสตุมัคคัง  สะมัคคัง ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 56
      สัพเพสุ จักกะวาเฬสุ               ยักขา  เทวา จะ  พรัหมุโน
      ยัง  อัมเหหิ  กะตัง  ปุญญัง          สัพพะสัมปัตติสาธะกัง
      สัพเพ  ตัง  อะนุโมทิตวา             สะมัคคา  สาสะเน  ระตา
      ปะมาทะระหิตา  โหนตุ             อารักขาสุ  วิเสสะโต
      สาสะนัสสะ  จะ โลกัสสะ             วุฑฒี  ภะวะตุ  สัพพะทา
      สาสะนัมปิ  จะ โลกัญจะ            เทวา  รักขันตุ  สัพพะทา
      สัทธิง โหนตุ  สุขี  สัพเพ             ปะริวาเรหิ  อัตตะโน
      อะนีฆา  สุมะนา  โหนตุ             สะหะ สัพเพหิ  ญาติภิ ฯ
          ยัญจะ  ทวาทะสะ  วัสสานิ      จินตะยิงสุ  สะเทวะกา
      จิรัสสัง จินตะยันตาปิ                เนวะ  ชานิงสุ  มังคะลัง
      จักกะวาฬะสะหัสเสสุ                ทะสะสุ  เยนะ  ตัตตะกัง
      กาลัง  โกลาหะลัง  ชาตัง             ยาวะ  พรัหมะนิเวสะนา
      ยัง  โลกะนาโถ  เทเสสิ                สัพพะปาปะวินาสะนัง
      ยัง  สุตวา  สัพพะทุกเขหิ             มุจจันตาสังขิยา  นะรา
      เอวะมาทิคุณูเปตัง                  มังคะลันตัมภะณานะ  เห ฯ

                           มังคะละสุตตัง
      เอวัมเม  สุตัง ฯ เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  สาวัตถิยัง  วิหะระติ
เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเมฯ อะถะโข  อัญญะตะรา  เทวะตา
อะภิกกันตายะ  รัตติยา  อะภิกกันตะวัณณา  เกวะละกัปปัง  เชตะวะนัง
โอภาเสตวา  เยนะ ภะคะวา  เตนุปะสังกะมิ  อุปะสังกะมิตวา  ภะคะวันตัง

มนต์พิธี - หน้าที่ 57
อะภิวาเทตวา  เอกะมันตัง  อัฏฐาสิ ฯ  เอกะมันตัง  ฐิตา  โข สา เทวะตา
ภะคะวันตัง  คาถายะ  อัชฌะภาสิ
      พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ             มังคะลานิ   อะจินตะยุง
      อากังขะมานา  โสตถานัง            พรูหิ  มังคะละมุตตะมัง ฯ
          อะเสวะนา จะ  พาลานัง          ปัณฑิตานัญจะ  เสวะนา
      ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ                ปุพเพ  จะ กะตะปุญญะตา
      อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ               เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      พาหุสัจจัญจะ  สิปปัญจะ             วินะโย  จะ สุสิกขิโต
      สุภาสิตา  จะ ยา  วาจา                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      มาตาปิตุอุปัฏฐานัง                  ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห
      อะนากลา จะ  กัมมันตา               เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      ทานัญจะ  ธัมมะจะริยา  จะ             ญาตะกานัญจะ  สังคะโห
      อะนะวัชชานิ กัมมานิ                  เอตัมมังตะละมุตตะมัง ฯ
      อาระตี  วิระตี  ปาปา                   มัชชะปานา  จะ สัญญะโม
      อัปปะมาโท  จะ  ธัมเมสุ                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      คาระโว จะ  นิวาโต  จะ               สันตุฏฐี  จะ กะตัญญุตา
      กาเลนะ  ธัมมัสสะวะนัง                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      ขันตี  จะ โสวะจัสสะตา               สะมะณานัญจะ  ทัสสะนัง
      กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา               เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 58
      ตะโป  จะ พรัหมะจะริยัญจะ        อะริยะสัจจานะ  ทัสสะนัง
      นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ            เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      ผุฏฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ             จิตตัง  ยัสสะ  นะ กัมปะติ
      อะโสกัง  วิระชัง  เขมัง             เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
      เอตาทิสานิ  กัตวานะ                สัพพัตถะมะปะราชิตา
      สัพพัตถะ  โสตถิง  คัจฉันติ          ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมันติ ฯ

                  บทขัดระตะนะสุตตัง
          ราชะโต วา โจระโต  วา  มะนุสสะโต  วา อะมะนุสสะโต  วา
อัคคิโต วา อุทะกะโต  วา ปิสาจะโต  วา ขาณุกะโต  วา กัณฏะกะโต  วา
นักขัตตะโต  วา ชะนะปะทะโรคะโต  วา อะสัทธัมมะโต  วา อะสันทิฏฐิโต
วา  อะสัปปุริสะโต  วา จัณฑะหัตถิอัสสะมิคะโคณะกุกกุระอะหิวิจฉิกะ-
มะนิสัปปะทีปอัจฉะตะรัจฉะสุกะระมะหิสะ  ยักขะรักขะสาทีหิ  นานา
ภะยะโต  วา นานาโรคะโต วา  นานาอุปัททะวะโต  วา  อารักขัง
คัณหันตุ ฯ
          ปะณิธานะโต  ปัฏฐายะ  ตะถาคะตัสสะ  ทะสะ  ปาระมิโย ทะสะ
อุปะปาระมิโย  ทะสะ  ปะระมัตถะปาระมิโย  ปัญจะ  มะหาปะริจจาเค
ติสโส  จะริยา  ปัจฉิมัพภะเว  คัพภาวักกันติง  ชาติง  อะภินิกขะมะนัง
ปะธานะจะริยัง  โพธิปัลลังเก  มาระวิชะยัง  สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง
นะวะ  โลกุตตะระธัมเมติ  สัพเพปิเม  พุทธะคุเณ  อาวัชชิตวา  เวสาลิยา
ตีสุ  ปาการันตะเรสุ  ติยามะรัตติง  ปะริตตัง  กะโรนโต  อายัสมา  อานัน-
ทัตเถโร  วิยะ  การุญญะจิตตัง  อุปัฏฐะเปตวา ฯ</B

มนต์พิธี - หน้าที่ 59
      โกฏิสะตะสะหัสเสสุ               จักกะวาเฬสุ  เทวะตา
      ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ            ยัญจะ  เวสาลิยัมปุเร
      โรคามะนุสสะทุพภิกขะ-            สัมภูตันติวิธัมภะยัง
      ขิปปะมันตะระธาเปสิ              ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ

                      ระตะนะสุตตัง
                ยานีธะ  ภูตานิ  สะมาคะตานิ
          ภุมมานิ  วา ยานิวะ  อันตะลิกเข
          สัพเพ  วะ ภูตา  สุมะนา  ภะวันตุ
          อะโถปิ  สักกัจะ  สุณันตุ  ภาสิตัง
          ตัสมา  หิ ภูตา  นิสาเมถะ  สัพเพ
          เมตตัง  กะโรถะ  มานุสิยา  ปะชายะ
          ทิวา  จะ รัตโต  จะ หะรันติ  เย  พะลิง
          ตัสมา  หิ เน  รักขะถะ  อัปปะมัตตา ฯ
                ยังกิญจิ  วิตตัง  อิธะ  วา หุรัง  วา
          สัคเคสุ  วา ยัง  ระตะนัง ปะณีตัง
          นะ  โน  สะมัง  อัตถิ  ตะถาคะเตนะ
          อิทัมปิ  พุทเธ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ขะยัง  วิราคัง  อะมะตัง  ปะณีตัง
          ยะทัชฌะคา  สักยะมุนี  สะมาหิโต

มนต์พิธี - หน้าที่ 60
          นะ  เตนะ  ธัมเมนะ  สะมัตถิ  กิญจิ
          อิทัมปิ  ธัมเม  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ยัมพุทธะเสฏโฐ  ปะริวัณณะยี สุจิง
          สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
          สะมาธินา  เตนะ  สะโม  นะ วิชชะติ
          อิทัมปิ  ธัมเม  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                เย  ปุคคะลา  อัฏฐะ  สะตัง  ปะสัฏฐา
          จัตตาริ  เอตานิ  ยุคานิ  โหนติ
          เต  ทักขิเณยยา  สุคะตัสสะ  สาวะกา
          เอเตสุ  ทินนานิ  มะหัปผะลานิ
          อิทัมปิ  สังเฆ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                เย สุปปะยุตตา  มะนะสา ทัฬเหนะ
          นิกกามิโน  โคตะมะสาสะนัมหิ
          เต  ปัตติปัตตา  อะมะตัง  วิคัยหะ
          ลัทธา  มุธา  นิพพุติง  ภุญชะมานา
          อิทัมปิ  สังเฆ  ระตะนัง   ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ยะถินทะขีโล  ปะฐะวิง  สิโต  สิยา
          จะตุพภิ  วาเตภิ  อะสัมปะกัมปิโย

มนต์พิธี - หน้าที่ 61
          ตะถูปะมัง  สัปปุริสัง  วะทามิ
          โย  อะริยะสัจจานิ  อะเวจจะ  ปัสสะติ
          อิทัมปิ  สังเฆ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                เย  อะริยะสัจจานิ  วิภาวะยันติ
          คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
          กิญจาปิ เต  โหนติ  ภุสัปปะมัตตา
          นะ  เต  ภะวัง  อัฏฐะมะมาทิยันติ
          อิทัมปิ  สังเฆ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                สะหาวัสสะ  ทัสสะนะสัมปะทายะ
          ตะยัสสุ  ธัมมา  ชะหิตา  ภะวันติ
          สักกายะทิฏฐิ  วิจิกิจฉิตัญจะ
          สีลัพพะตัง  วาปิ  ยะทัตถิ  กิญจิ
          จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
          ฉะ  จาภิฐานานิ  อะภัพโพ  กาตุง
          อิทัมปิ  สังเฆ  ระตะนัง ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                กิญจาปิ  โส กัมมัง กะโรติ  ปาปะตัง
          กาเยนะ  วาจายุทะ  เจตะสา วา
          อะภัพโพ  โส ตัสสะ  ปะฏิจฉะทายะ
          อะภัพพะตา  ทิฏฐะปะทัสสะ  วุตตา

มนต์พิธี - หน้าที่ 62
          อิทัมปิ  สังเฆ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ โหตุ ฯ
                วะนัปปะคุมเพ  ยะถา  ผุสสิตัคเค
          คิมหานะมาเส  ปะฐะมัสมิง  คิมเห
          ตะถูปะมัง  ธัมมะวะรัง  อะเทสะยิ
          นิพพานะคามิง  ปะระมัง  หิตายะ      
          อิทัมปิ  พุทเธ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                วะโร  วะรัญญู  วะระโท  วะราหะโร
          อะนุตตะโร  ธัมมะวะรัง  อะเทสะยิ
          อิทัมปิ  พุทเธ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ขีณัง  ปุราณัง  นะวัง  นัตถิ  สัมภะวัง
          วิรัตตะจิตตายะติเก  ภะวัสมิง
          เต  ขีณะพีชา  อะวิรุฬหิฉันทา
          นิพพันติ  ธีรา  ยะถายัมปะทีโป
          อิทัปมิ  สังเฆ  ระตะนัง  ปะณีตัง
          เอเตนะ  สัจเจนะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ยานีธะ ภูตานิ  สะมาคะตานิ
          ภุมมานิ  วา ยานิวะ  อันตะลิกเข
          ตะถาคะตัง  เทวะมะนุสสะปูชิตัง
          พุทธัง  นะมัสสามะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 63
                ยานีธะ  ภูตานิ  สะมาคะตานิ
          ภุมมานิ  วา ยานิวะ อันตะลิกเข
          ตะถาคะตัง  เทวะมะนุสสะปูชิตัง
          ธัมมัง  นะมัสสามะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ
                ยานีธะ  ภูตานิ  สะมาคะตานิ
          ภุมมานิ  วา  ยานิวะ  อันตะลิกเข
          ตะถาคะตัง  เทวะมะนุสสะปูชิตัง
          สังฆัง  นะมัสสามะ  สุวัตถิ  โหตุ ฯ

                บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
ยัสสานุภาวะโต  ยักขา           เนวะ  ทัสเสนติ  ภิงสะนัง
ยัมหิ  เจวานุยุญชันโต           รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต  จะ           ปาปัง  กิญจิ  นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง               ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

                  กะระณียะเมตตะสุตตัง
      กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ         ยันตัง  สันตัง  ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก  อุชู  จะ  สุหุชู  จะ               สุวะโจ  จัสสะ  มุทุ  อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ  สุภะโร จะ             อัปปะกิจโจ จะ  สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย  จะ  นิปะโก  จะ            อัปปะคัพโภ กุเลสุ  อะนะนุคิทโธ
นะ จะ  ขุททัง  สะมาจะเร  กิญจิ         เยนะ  วิญญู  ปะเร  อุปะวะเทยยุง
สุขิโน  วา เขมิโน  โหตุ                  สัพเพ  สัตตา  ภะวันตุ  สุขิตัตตา

มนต์พิธี - หน้าที่ 64
เย เกจิ  ปาณะภูตัตถิ               ตะสา  วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา  เย  มะหันตา วา           มัชฌิยา  รัสสะกา  อะณุกะถูลา
ทิฏฐา  วา เย  จะ อะทิฏฐา          เย  จะ ทูเร  วะสันติ  อะวิทูเร
ภูตา  วา สัมภะเวสี วา              สัพเพ  สัตตา  ภะวันตุ  สุขิตัตตา
นะ  ปะโร  ปะรัง นิกุพเพถะ         นาติมัญเญถะ  กัตถะจิ  นัง  กิญจิ
พยาโรสะนา  ปะฏีฆะสัญญา        นาญญะมัญญัสสะ  ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา  ยะถา  นิยัง  ปุตตัง           อายุสา  เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ  สัพพะภุเตสุ               มานะสัมภาวะเย  อะปะริมาณัง
      เมตตัญจะ  สัพพะโลกัสมิง     มานะสัมภาวะเย  อะปะริมาณัง
อุทธัง  อะโธ  จะ ติริยัญจะ          อะสัมพาธัง อะเวรัง  อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง  นิสินโน  วา            สะยาโน  วา  ยาวะตัสสะ  วิคะตะมิทโธ
เอตัง  สะติง  อะธิฏเฐยยะ           พรัหมะเมตัง  วิหารัง  อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ  อะนุปะคัมมะ  สีละวา    ทัสสะเนนะ  สัมปันโน
กาเมสุ  วิเนยยะ  เคธัง               นะ หิ  ชาตุ  คัพภะเสยยัง  ปุนะเรตีติ ฯ

                  บทขัดขันธะปะริตตะคาถา
      สัพพาสีวิสะชาตีนัง               ทิพพะมันตาคะทัง  วิยะ
      ยันนาเสติ  วิสัง  โฆรัง            เสสัญจาปิ  ปะริสสะยัง
      อาณักเขตตัมหิ  สัพพัตถะ          สัพพะทา  สัพพะปาณินัง
      สัพพะโสปิ  นิวาเรติ               ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 65
                     ขันธะปะริตตะคาถา
      วิรูปักเขหิ  เม เมตตัง               เมตตัง  เอราปะเถหิ เม
      ฉัพยาปุตเตหิ  เม  เมตตัง            เมตตัง  กัณหาโคตะมะเกหิ  จะ
      อะปาทะเกหิ  เม  เมตตัง            เมตตัง  ทิปาทะเกหิ  เม
      จะตุปปะเทหิ  เม  เมตตัง             เมตตัง   พะหุปปะเทหิ เม
      มา มัง  อะปาทะโก  หิงสิ             มา มัง  หิงสิ  ทิปาทะโก
      มา มัง  จะตุปปะโก  หิงสิ            มา  มัง  หิงสิ  พะหุปปะโก
      สัพเพ  สัตตา  สัพเพ  ปาณา         สัพเพ ภูตา  จะ เกวะลา
      สัพเพ  ภัทรานิ  ปัสสันตุ             มา กิญจิ  ปาปะมาคะมา
อัปปะมาโณ  พุทโธ  อัปปะมาโณ   ธัมโม  อัปปะมาโณ  สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ  สิริงสะปานิ  อะหิ  วิจฉิกา  สะตะปะที  อุณณานาภี
สะระพู  มูสิกา  กะตา  เม รักขา  กะตา  เม ปะริตตา  ปะฏิกกะมันตุ
ภูตานิ  โสหัง  นะโม  ภะคะวะโต  นะโม  สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ
               
                      ฉัททันตะปะริตตัง
                วะธิสสะเมนันติ   ปะรามะสันโต
                กาสาวะมัททักขิ  ธะชัง  อิสีนัง
                ทุกเขนะ  ผุฏฐัสสุทะปาทิ  สัญญา
                อะระหัทธะโช  สัพภิ  อะวัชฌะรูโป
                สัลเลนะ  วิทโธ  พยะถิโตปิ สันโต
                กาสาวะวัตถัมหิ  มะนัง  นะ ทุสสะยิ

มนต์พิธี - หน้าที่ 66
                สะเจ  อิมัง  นาคะวะเรนะ  สัจจัง
                มา มัง  วะเน  พาละมิคา  อะคัญฉุนติ ฯ
               
                    บทขัดโมระปะริตตัง
      ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร             นิพพัตตัง  โมระโยนิยัง
      เยนะ  สังวิหิตารักขัง             มะหาสัตตัง  วะเนจะรา
      จิรัสสัง  วายะมันตาปิ            เนวะ  สักขิงสุ  คัณหิตุง
      พรัหมะมันตันติ  อักขาตัง         ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

                        โมระปะริตตัง
                อุเทตะยัญจักขุมา  เอกะราชา
                หะริสสะวัณโณ    ปะฐะวิปปะภาโส
          ตัง  ตัง  นะมัสสามิ  หะริสสะวัณณัง  ปะฐะวิปปะภาสัง
                ตะยัชชะ  คุตตา  วิหะเรมุ  ทิวะสัง
                เย พราหมะณา  เวทะคุ  สัพพะธัมเม
                เต  เม นะโม  เต จะ  มัง  ปาละยันตุ
                นะมัตถุ  พุทธานัง  นะมัตถุ  โพธิยา
                นะโม วิมุตตานัง  นะโม วิมุตติยา
          อิมัง โส ปะริตตัง  กัตวา  โมโร จะระติ  เอสะนา ฯ
                อะเปตะยัญจักขุมา  เอกะราชา
                หะริสสะวัณโณ  ปะฐะวิปปะภาโส
          ตัง ตัง  นะมัสสามิ  หะริสสะวัณณัง  ปะฐะวิปปะภาสัง

มนต์พิธี - หน้าที่ 67
                ตะยัชชะ คุตตา  วิหะเรมุ  รัตติง
                เย  พราหมะณา  เวทะคุ  สัพพะธัมเม
                เต เม  นะโม  เต จะ  มัง  ปาละยันตุ
                นะมัตถุ  พุทธานัง  นะมัตถุ  โพธิยา
                นะโม  วิมุตตานัง  นะโม  วิมุตติยา
          อิมัง โส ปะริตตัง  กัตวา  โมโร  วาสะมะกัปปะยีติ ฯ

                   บทขัดวัฏฏะกะปะริตตัง
      ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร            นิพพัตตัง  วัฏฏะชาติยัง
      ยัสสะ เตเชนะ  ทาวัคคิ         มะหาสัตตัง  วิวัชชะยิ
      เถรัสสะ  สารีปุตตัสสะ         โลกะนาเถนะ  ภาสิตัง
      กัปปัฏฐายิ  มะหาเตชัง         ปะริตตันตัมภะณานะ  เห ฯ

                      วัฏฏะกะปะริตตัง
      อิตถิ  โลเก  สีละคุโณ              สัจจัง  โสเจยยะนุททะยา
      เตนะ  สัจเจนะ  กาหามิ             สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง
      อาวัชชิตวา ธัมมะพะลัง            สะริตวา ปุพพะเก  ชิเน
      สัจจะพะละมะวัสสายะ             สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
      สันติ  ปักขา อะปัตตะนา           สันติ  ปาทา  อะวัญจะนา
      มาตา  ปิตา จะ  นิกขันตา          ชาตะเวทะ  ปะฏิกกะมะ
      สะหะ  สัจเจ  กะเต  มัยหัง         มะหาปัชชะลิโต  สิขี
      วัชเชสิ  โสฬะสะ  กะรีสานิ          อุทะกัง  ปัตวา  ยะถา  สิขี
      สัจเจนะ  เม สะโม  นัตถิ             เอสา  เม สัจจะปาระมีติ ฯ

มนต์พิธี - หน้าที่ 68
             บทขัดธะชัคคะปะริตตัง  ธะชัคคะสุตตัง
      ยัสสานุสสะระเณนาปิ          อันตะลิกเขปิ  ปาณิโน
      ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ           ภูมิยัง  วิยะ  สัพพะทา
      สัพพูปัททะวะชาลัมหา          ยักขะโจราทิสัมภะวา
      คะณะนา  นะ จะ  มุตตานัง      ปะริตันตัมภะณามะ  เห  ฯ

                  ธะชัคคะปะริตตัง  ธะชัคคะสุตตัง
      เอวัมเม  สุตัง ฯ  เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  สาวัตถิยัง  วิหะระติ
เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ  ตัตระ  โข ภะคะวา ภิกขู
อามันเตสิ  ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ  เต ภิกขู  ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง ฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ
      ภูตะปุพพัง  ภิกขะเว  เทวาสุระสังคาโม  สะมุปัพยุฬโห  อะโหสิ ฯ
อะถะโข  ภิกขะเว  สักโก  เทวานะมินโท  เทเว  ตาวะติงเส อามันเตสิ
สะเจ  มาริสา  เทวานัง  สังคามะคะตานัง อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา
ฉัมภิตัตตัง  วา โลมะหังโส  วา มะเมวะ  ตัสมิง  สะมะเย  ธะชัคคัง
อุลโลเกยยาถะ  มะมัง  หิ โว  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ
ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน
เจ เม ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
      อะถะ  ปะชาปะติสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
ปะชาปะติสสะ  หิ  โว เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง
ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง  วา โลมะหังโส  วา  โส
ปะหิยยิสสะติ  โน เจ  ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง
อุลโลเกยยาถะ
      อะถะ  วะรุณัสสะ  เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ 

มนต์พิธี - หน้าที่ 69
วะรุณัสสะ  หิ โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ
ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยัสสะติ  โน เจ
วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
      อะถะ  อีสานัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวสสะติ
ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะตีติ ฯ
      ตัง  โข  ปะนะ  ภิกขะเว  สักกัสสะ วา  เทวานะมินทัสสะ
ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ปะชาปะติสสะ  วา เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง
อุลโลกะยะตัง  วะรุณัสสะ วา  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง
อีสานัสสะ  วา เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ
ภะยัง  วา ฉันภิตัตตัง วา  โลมะหังโส  วา โส  ปะหิยเยถาปิ  โนปิ
ปะหิยเยถะ  ตัง กิสสะ เหตุ  สักโก  หิ ภิกขะเว  เทวานะมินโท  อะวีตะ-
ราโค  อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห  ภิรุ  ฉัมภี  อุตราสี  ปะลายีติ ฯ
      อะหัญจะ  โข ภิกขะเว เอวัง  วะทามิ  สะเจ ตุมหากัง  ภิกขะเว
อะรัญญะคะตานัง วา  รุกขะมูละคะตานัง  วา สุญญาคาระคะตานัง  วา
อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา โลมะหังโส  วา มะเมวะ
ตัสมิง  สะมะเย  อะนุสสะเรยยาถะ
      อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ-
สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ  มะมัง  หิ โว  ภิกขะเว
อะนุสสะระตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง วา  โลมะหังโส
วา โส  ปะหิยยิสสะติ โน เจ  มัง อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ
ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ 

มนต์พิธี - หน้าที่ 70
      สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ  ธัมมัง  หิ
โว  ภิกขะเว อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา
โลมะหังโส  วา โส  ปะหิยยิสสะติ  โน เจ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ
อะถะ  สังฆัง  อะนุสสะเรยยาถะ
      สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน
ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง
โลกัสสาติ
      สังฆัง หิ โว  ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง
วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  ตัง  กิสสะ
เหตุ  ตะถาคะโต  หิ ภิกขะเว  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วีตะราโค
วีตะโทโส  วีตะโมโห  อะภิรุ  อัจฉัมภี อะนุตราสี  อะปะลายีติ ฯ  อิทะมะ-
โวจะ  ภะคะวา อิทัง  วัตวานะ  สุคะโต  อะถาปะรัง  เอตะทะโวจะ  สัตถา
      อะรัญเญ  รุกขะมูเล  วา            สุญญาคาเร  วะ  ภิกขะโว
      อะนุสสะเรถะ  สัมพุทธัง          ภะยัง ตุมหากะ  โน สิยา
      โน เจ  พุทธัง  สะเรยยาถะ          โลกะเชฏฐัง  นะราสะภัง
      อะถะ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ         นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
      โน เจ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ         นิยยานิกัง  สุเทสิตัง

มนต์พิธี - หน้าที่ 71
      อะถะ  สังฆัง  สะเรยยาถะ       ปุญญักเขตตัง  อะนุตตะรัง
      เอวัมพุทธัง สะรันตานัง         ธัมมัง  สังฆัญจะ  ภิกขะโว
      ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง วา          โลมะหังโส  นะ เหสสะตีติ ฯ

                  บทขัดอาฏานาฏิยะปะริตตัง
      อัปปะสันเนหิ  นาถัสสะ         สาสะเน  สาธุสัมมะเต
      อะมะนุสเสหิ  จัณเฑหิ            สะทา  กิพพิสะการิภิ
      ปะริสานัญจะตัสสันนะ-         มะหิงสายะ  จะ คุตติยา
      ยันเทเสสิ  มะหาวีโร             ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ

                      อาฏานาฏิยะปะริตตัง
      วิปัสสิสสะ  นะมัตถุ                จักขุมันตัสสะ  สิรีมะโต
      สิขิสสะปิ  นะมัตถุ                 สัพพะภูตานุกัมปิโน
      เวสสะภุสสะ  นะมัตถุ              นหาตะกัสสะ  ตะปัสสิโน
      นะมัตถุ  กะกุสันธัสสะ             มาระเสนัปปะมัททิโน
      โกนาคะมะนัสสะ  นามัตถุ         วิปปะมุตตัสสะ  สัพพะธิ
      อังคีระสัสสะ  นะมัตถุ              สักยะปุตตัสสะ  สิรีมะโต
      โย  อิมัง  ธัมมะมะเทเสสิ            สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
      เย จาปิ  นิพพุตา  โลเก             ยะถาภูตัง  วิปัสสิสุง
      เต ชะนา  อะปิสุณา                มะหันตา  วีตะสาระทา

มนต์พิธี - หน้าที่ 72
      หิตัง  เทวะมะนสสานัง             ยัง  นะมัสสันติ  โคตะมัง
      วิชชาจะระณะสัมปันนัง             มะหันตัง  วีตะสาระทัง ฯ
      (วิชชาจะระณะสัมปันนัง           พุทธัง  วันทามะ  โคตะมันติ)
          นะโม  เม สัพพะพุทธานัง      อุปปันนานัง  มะเหสินัง
      ตัณหังกะโร  มะหาวีโร             เมธังกะโร  มะหายะโส
      สะระณังกะโร  โลกะหิโต            ทีปังกะโร  ชุตินธะโร
      โกณฑัญโญ  ชะนะปาโมกโข        มังคะโล  ปุริสาสะโภ
      สุมะโน  สุมะโน  ธีโร                เรวะโต  ระติวัฑฒะโน
      โสภิโต  คุณะสัมปันโน             อะโนมะทัสสี  ชะนุตตะโม
      ปะทุโม  โลกะปัชโชโต              นาระโท วะระสาระถี
      ปะทุมุตตะโร  สัตตะสาโร          สุเมโธ  อัปปะฏิปุคคะโล
      สุชาโต  สัพพะโลกัคโค             ปิยะทัสสี  นะราสะโภ
      อัตถะทัสสี  การุณิโก               ธัมมะทัสสี  ตะโมนุโท
      สิทธัตโถ  อะสะโม  โลเก            ติสโส  จะ วะทะตัง  วะโร
      ปุสโส  จะ วะระโท  พุทโธ           วิปัสสี  จะ อะนูปะโม
      สิขี  สัพพะหิโต  สัตถา              เวสสะภู  สุขะทายะโก
      กะกุสันโธ  สัตถะวาโห              โกนาคะมะโน  ระณัญชะโห
      กัสสะโป  สิริสัมปันโน               โคตะโม  สักยะปุงคะโว ฯ
          เอเต  จัญเญ  จะ  สัมพุทธา      อะเนกสะตะโกฏะโย
      สัพเพ  พุทธา  อะสะมะสะมา         สัพเพ พุทธา  มะหิทธิกา
      สัพเพ  ทะสะพะลูเปตา              เวสารัชเชหุปาคะตา
      สัพเพ เต  ปะฏิชานันติ              อาสะภัณฐานะมุตตะมัง

มนต์พิธี - หน้าที่ 73
      สีหะนาทัง  นะทันเต  เต            ปะริสาสุ  วิสาระทา
      พรัหมะจักกัง  ปะวัตเตนติ         โลเก  อัปปะฏิวัตติยัง
      อุเปตา  พุทธะธัมเมหิ               อัฏฐาระสะหิ  นายะกา
      ทวัตติงสะลักขะณูเปตา-            สีตยานุพยัญชนะนาธะรา
      พยามัปปะภายะ  สุปปะภา          สัพเพ  เต มุนิกุญชะรา
      พุทธา  สัพพัญญุโน  เอเต           สัพเพ  ขีณาสะวา  ช
#10
ขอเรียนตอบตามความรู้ที่พอจะมีตามนี้้ดังค่ะ

ตอบคำถามคุณ ให้สั่นดังนี้ว่า "ไม่จำเป็นค่ะ" 

แต่ถ้าคุณจะใช้ ในการที่จะ โดยมีเวลามากพอ และมีความศรํทธามาก คุณก็สามารถที่จะใช้บทขัดใด้ค่ะ

ตอบด้วยเหตุผล  : เพราะในบทขัดนั้นเป็นการนำเรื่อง ของเรื่องหา แห่งบทนั้นๆ เหมือนหนังสือ ที่ดี ต้องมี คำนำ และ สารบรรของเนื้อหาภายในเรื่อง

ให้ทราบ

ตอบด้วยความศรัทธา(ความเชื่อ) : ตามคติโบราณ โดยเฉพาะ ทางด้าน พิธีกรรม และทางหลักโหราฯ ในสมัยอดีตที่ผ่านมา จะใช้บทขัดและสวด

๑๒ ตำนาน โดย พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้สวด ส่วน พราหมณ์ ผู้ทำพิธี จะทำการกล่าว อันเชิญ เทวดานพพระเคราะห์ ทั้ง ๙ พระองค์ มารักษา และคุ้มครอง

เจ้าภาพเจ้าของงาน งานที่ใช้ส่วนมาก คือ งานแซยิด งานสืบชาตา ฯล เป็นต้น  เป็นการเสริมดวงขาตา และ เป็นการสะเดาะเคราะห์ ด้วย

ในบทขัด ๑๒ ตำนานนั้น

ทางพระภิกษุ ที่รู้ทางโหราฯ ท่านใช้ บทขัดใน ๑๒ ตำนาน นั้น มาเป็นบทสวด ตามกำลังวัน คือ สวดเท่ากำลังวัน ของแต่ละวัน เช่น วันอังคารมีกำลัง

๘ ก็จะสวด ๘ จบ พระภิกษุที่มีความรู้ทางโหราฯ ในอดีตกาล ท่านกำหนด ให้สวด บทขัดนี้ ค่ะ สวดเพื่อเสริมดวงวันเกิดให้แก่ตัวเอง หรือ ให้สวด บทนี้

ตอนดาวอังคารเสวยอายุ หรือ แทรกอายุ

           บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง

ยัสสานุภาวะโต  ยักขา           เนวะ  ทัสเสนติ  ภิงสะนัง

ยัมหิ  เจวานุยุญชันโต           รัตตินทิวะมะตันทิโต

สุขัง สุปะติ สุตโต  จะ           ปาปัง  กิญจิ  นะ ปัสสะติ

เอวะมาทิคุณูเปตัง               ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ



การสวดพระปริตร นั้น แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ ค่ะ

๑) แบบ ๑๒ ตำนาน ( คือที่คุณ กล่าวมา คือ ๑๒ บท)       ๒) แบบ๗ ตำนาน  ( คือ ๗ บท)
#11
โลกเรามีอะไรที่แปลก ในความคิด ความเห็น
#12
อ่านจากตำรามาว่า " ผู้ใดได้สร้างซึ้งสิ่งที่บุคคลทั้งหลาย กราบไว้บูชา บุคคลผู้นั้นบุคคลผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลายในหล้า จะได้ไปเกิดในตระกลูสุง เป็นผู้ที่คนทั้งหลายยำเกรง ไม่ว่าภูติผีปีศาจ เทวดาย่อมสรรเสริญ  " จะพรรณาให้อ่านทั้งหมด เห็นที่คืนนี้คงจะไม่ได้นอน เอาสั้นๆเท่านี้นะค่ะ คนสวย ๆ เหมือนพี่เลย 5555 (จะชมเค้าแถมชมตัวเองไปในตัวด้วย)
#13

!!เก่าไปใหม่มา!! ในทุกสังคมในโลกใบนี้ มีวิวัฒนาการ ทั้งทางที่ดีและไม่ดี การที่จะให้ทุกคนเป็นไปดังเราตั้งใจนั้นคงยาก มีเรื่องมากมายที่เราเองยังไม่ถูกใจตัวเองตั้งมากมายหลายเรื่อง TM นี้ก็เช่นกัน พี่ๆเเพื่อนๆทุกท่าน ก็หวังให้สังคมของเรานั้นดี และถูกต้อง Love TM ก็อย่างทิ้ง Tm หายตัวไปบางได้แต่อย่างทิ้งกัน
#14

"อยากทราบว่าจะให้แนะนำเรื่องอะไรค่ะ "
#18

นำรูปมาฝาก(มือใหม่หัดใช้Photoshop)






































#30

นอกจากการทอดผ้าป่าแล้ว ที่ทางวัดนี้มีการทอดกฐินเมื่อไหร่พอทราบไหมค่ะ

#31

เกร็ดประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)



ชาติภูมิ
พระโพธิญาณเถร นามเดิม ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ต. ธาตุ อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี บิดาชื่อ นายมา มารดาชื่อ นางพิม ช่วงโชติมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คน
ปฐมศึกษา
สมัยนั้นการศึกษายังไม่เจริญทั่วถึงหลวงพ่อจึงได้เข้าศึกษา ที่ ร.ร. บ้านก่อ ต. ธาตุ อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี เรียนจบ ชั้น ป. ๑ จึงได้ออกจากโรงเรียน เนื่องจากหลวงพ่อมีความสนใจ ทางศาสนา ตั้งใจจะบวชเป็นสามเณร จึงได้ขออนุญาตจากบิดามารดา เมื่อท่านเห็นดีด้วยท่านจึงนำไปฝากไว้ที่วัด
ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์
ในขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุ ๑๓ ปี เมื่อโยมบิดาได้นำไปฝากกับท่านเจ้าอาวาส และได้รับการฝึกหัดอบรมให้รู้ระเบียบการ บรรพชาดีแล้ว จึงอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาษี(พวง) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ท่องทำวัตรสวดมนต์ เรียนหนังสือพื้นเมือง(ตัวธรรม) และได้ศึกษานักธรรมชั้นตรี อยู่ปฏิบัติครูบาอาจารย์เป็นเวลา ๓ พรรษา เนื่องจากมีความจำเป็นบางอย่างจึงได้ลาสิกขาออกไปทำงานช่วยบิดามารดาตามความสามารถของตน ตั้งอยู่ในโอวาทของบิดามารดามีความเคารพบูชาในพระคุณของท่าน พยายามประพฤติตนเป็นลูกที่ดีของท่านเสมอมา
ครั้นอยู่ต่อมาอีกหลายปี ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ที่ไหนความสนใจในการอุปสมบทเพื่อศึกษาธรรม ดูเหมือนคอยเตือนให้มีความสำนึกอยู่เสมอ คิดอยากจะบวชเป็นพระ ได้ปรึกษากับบิดามารดา เมื่อตกลงกันดีแล้ว บิดาจึงนำไปฝากที่วัดบ้านก่อใน(ปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์เพราะร้างมานาน แล้ว)และได้อุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดก่อในต.ธาตุอ.วารินชำราบจ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ เวลา ๑๓.๕๕ น. โดยมี
ท่านพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านพระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว พรรษาที่ ๑-๒ จำพรรษาอยู่ที่วัดก่อนอก ได้ศึกษาปริยัติธรรม และสอบนักธรรมชั้นตรีได้
ออกศึกษาต่างถิ่น
เมื่อสอบนักธรรมตรีได้แล้วเนื่องจากครูบาอาจารย์หายาก ที่มีอยู่ก็ไม่ค่อยชำนาญในการสอน จึงตั้งใจจะไปแสวงหาความรู้ต่างถิ่น เพราะยังจำภาษิตโบราณสอนไว้ว่า
ออกจากบ้าน ฮู้ห่มทางเที่ยว เรียนวิชา ห่อนสิมีความฮู้
ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ จึงได้ย้ายจากวัดก่อนอกไปศึกษาปริยัติธรรมที่วัดสวนสวรรค์ อ. พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี และอยู่ ที่นี่ ๑ พรรษา และได้พิจารณาเห็นว่า เรามาอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาก็ดี พอสมควรแต่ยังไม่เป็นที่พอใจนัก ได้ทราบข่าวว่า ทางสำนัก ต่างอำเภอมีการสอนดีอยู่หลายแห่งซึ่งมีมากทั้งคุณภาพและ ปริมาณ จึงชวนเพื่อนลาท่านเจ้าอาวาสแจ้งความประสงค์ให้ท่าน ทราบ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เดินทางจาก อ. พิบูลมังสาหาร มุ่งสู่สำนักเรียนวัดหนองหลัก ต. เหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ. อุบลราชธานี ได้พักอาศัยอยู่กับท่านพระครูอรรคธรรมวิจารณ์ ได้ถามจากเพื่อนบรรพชิตก็ทราบว่า ท่านสอนดีมีครูสอนหลายรูปมีพระภิกษุ สามเณรมากรูปด้วยกันสระยะที่ไปอยู่เป็นฤดูแล้ง อาหารการฉัน รู้สึกจะอด เพื่อนที่ไปด้วยกันไม่ชอบจึงพูดรบเร้า อยากจะพาไปอยู่สำนักอื่น หลวงพ่อพูดว่า ทั้งๆที่เราก็ชอบอัธยาศัยของครูอาจารย์ที่วัดหนองหลักแต่ไม่อยากจะขัดใจเพื่อน จึงตกลงกันว่า ถ้าไปอยู่แล้วเกิดไม่พอใจหรือไม่ถูกใจแล้วจะกลับมาอยู่ที่หนองหลัก อีก จึงได้เดินทางไปอยู่กับท่านมหาแจ้ง วัดเค็งใหญ่ ต. เค็งใหญ่ อ. อำนาจเจริญ จ. อุบลราชธานี ได้อยู่จำพรรษาศึกษานักธรรมชั้นโทและบาลีไวยากรณ์ แต่ตามความรู้สึกเท่าที่สังเกตเห็นว่าท่านมิได้ทำการสอนเต็มที่ ดูเหมือนจะถอยหลังไปด้วยซ้ำ ตั้งใจไว้ว่าเมื่อสอบนักธรรมเสร็จ ได้เวลาสมควรก็จะลาท่านมหาแจ้งกลับไปอยู่ที่วัดหนองหลักเมื่อสอบแล้ว และผลการสอบตอนปลายปีปรากฏว่าสอบนักธรรมชั้นโทได้
ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จึงย้ายจากวัดเค็งใหญ่ มาอยู่กับหลวงพ่อ พระครูอรรคธรรมวิจารณ์วัดหนองหลัก ต. เหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ. อุบลราชธานี ตั้งใจศึกษาทั้งนักธรรมชั้นเอกและเรียนบาลีไวยากรณ์ซ้ำอีกทั้งพอใจในการสอนการเรียนในสำนักนี้มาก
งดสอบเพื่อผู้บังเกิดเกล้า
ทั้งๆที่ปีนี้ (๒๔๘๖) เป็นปีที่หลวงพ่อเองเกิดความภูมิใจ สนใจในการศึกษา มุ่งหน้าบากบั่นขยันเรียนอย่างเต็มที่ และได้ตั้งความหวังไว้ว่า เมื่อผลการสอบตอนปลายปีออกมาจะพาให้ได้รับความดีใจ
หลังจากออกพรรษา ปวารณาและกาลกฐินผ่านไป...ก็ได้รับข่าวจากทางบ้านว่าโยมบิดาป่วยหนัก หลวงพ่อก็เกิดความ ลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่าเพราะมาคิดได้ว่า โยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น เรามีชีวิตและเป็นอยู่ มาได้ก็เพราะท่าน สมควรที่เราจะแสดงความกตัญญูให้ปรากฏ เสียการศึกษายังมีเวลาเรียกกลับมาได้ แต่สิ้นบุญพ่อเราจะขอได้จากที่ไหน...ความกตัญญูมีพลังมารั้งจิตใจให้คิดกลับไปเยี่ยม โยมพ่อเพื่อพยาบาลรักษาท่าน...ทั้งๆที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้ เข้ามาทุกที แต่ยอมเสียสละถ้าหากโยมพ่อยังไม่หายป่วย และ นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสไว้ว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
ด้วยความสำนึกดังกล่าว จึงได้เดินทางกลับบ้าน เมื่อถึงแล้วก็ได้เข้าเยี่ยมดูอาการป่วย ทั้งๆที่ได้ช่วยกันพยาบาลรักษาจนสุดความสามารถ อาการของโยมพ่อก็มีแต่ทรงกับทรุด คิดๆดูก็เหมือนตอไม้ที่ตายแล้ว แม้ใครจะให้น้ำให้ปุ๋ยถูกต้องตามหลัก วิชาการเกษตรสักเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้มันแตกหน่อเจริญ งอกงามขึ้นมาได้
คำสั่งของพ่อ
ตามปกตินั้นนับตั้งแต่หลวงพ่อได้อุปสมบทมา เมื่อมีโอกาส เข้าไปเยี่ยมโยมบิดามารดา หลังจากได้พูดคุยเรื่องอื่นมาพอสมควรแล้ว โยมพ่อมักจะวกเข้าหาเรื่องความเป็นอยู่ในเพศสมณะ ท่านมักจะปรารภด้วยความเป็นห่วงแกมขอร้องว่า อย่าลาสิกขานะ อยู่เป็นพระไปอย่างนี้แหละดี สึกออกมามันยุ่งยาก ลำบาก หาความสบายไม่ได้ ท่านได้ยินแล้วก็นิ่งมิได้ตอบ แต่ครั้งนี้ ซึ่งโยมพ่อกำลังป่วย ท่านก็ได้พูดเช่นนั้นอีกพร้อมกับมองหน้าคล้ายจะรอฟังคำตอบอยู่ ท่านจึงบอกโยมพ่อไปว่า ไม่สึกไม่เสิกหรอกจะสึกไปทำไมกัน รู้สึกว่าเป็นคำตอบที่ทำให้โยมพ่อพอใจ หลวงพ่อมาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา ๑๓ วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม
ในระยะที่ได้เฝ้าดูอาการป่วยของโยมพ่ออยู่นั้น เมื่อโยมพ่อได้ทราบว่าอีก ๔-๕ วันจะถึงวันสอบนักธรรม ท่านจึงบอกว่าถึงเวลาสอบแล้วจะไปสอบก็ไปเสีย จะเสียการเรียน...แต่หลวงพ่อได้พิจารณาดูอาการป่วยของท่านแล้วตั้งใจว่าจะไม่ไป จะอยู่ให้ โยมพ่ออุ่นใจก่อนที่ท่านจะจากไป...อีกอย่างหนึ่งจะทำให้คนเขาตำหนิได้ว่า เป็นคนเห็นแก่ตัว ผู้บังเกิดเกล้ากำลังป่วยหนักยังทอดทิ้งไปได้ เลยจะกลายเป็นลูกอกตัญญูเท่านั้น
หลวงพ่อเล่าว่า ในระหว่างเฝ้าดูอาการป่วยของโยมพ่อ จนกระทั่งท่านถึงแก่กรรม ทำให้ได้พิจารณาถึงธาตุกรรมฐาน พิจารณาดูอาการที่เกิดดับของสังขารทั้งมวล และเกิดความสังเวชใจว่าอันชีวิตย่อมสิ้นลงแค่นี้หรือ? จะยากดีมีจนก็พากันดิ้นรนไปหาความตาย อันเป็นจุดหมายปลายทาง อันความแก่ ความเจ็บ ความตายนั้น เป็นสมบัติสากลที่ทุกคนจะต้องได้รับ จะยอมรับหรือไม่ก็ไม่เห็นใครหนีพ้นสักราย...
ปี พ.ศ.๒๔๘๗ เมื่อจัดการกับการฌาปนกิจโยมบิดาเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อก็เดินทางกลับสำนักวัดหนองหลัก เพื่อ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนต่อไป แต่บางวันบางโอกาส ทำให้ท่านนึกถึงภาพของโยมพ่อที่นอนป่วย ร่างซูบผอมอ่อนเพลีย นึกถึงคำสั่งของโยมพ่อ และนึกถึงภาพที่ท่านมรณะไปต่อหน้า ยิ่งทำให้เกิดความลดใจสังเวชใจ ความรู้สึกเหล่านี้มันปรากฏเป็นระยะๆ
ในระหว่างพรรษานี้ ขณะที่กำลังแปลหนังสือธรรมบทจบไปหลายเล่ม ได้ทราบพุทธประวัติสาวกประวัติจากหนังสือเล่มนั้นแล้วมาพิจารณาดู การที่เราเรียนอยู่นี้ครูก็พาแปลแต่สิ่งที่เรารู้ เราเห็นมาแล้ว เช่น เรื่องต้นไม้ ภูเขา ผู้หญิง ผู้ชาย และสัตว์ต่างๆ สัตว์มีปีกบ้าง ไม่มีปีกบ้าง สัตว์ มีเท้าบ้าง ซึ่งล้วนแต่เรา ได้พบเห็นมาแล้วเป็นส่วนมาก จิตใจก็รู้สึกเกิดความเบื่อหน่าย จึงคิดว่ามิใช่ทางพ้นทุกข์ พระพุทธองค์คงจะไม่มีพุทธประสงค์ให้บวชมาเพื่อเรียนอย่างเดียว และเราก็ได้เรียนมาบ้างแล้ว จึงอยากจะศึกษาทางปฏิบัติดูบ้าง เพื่อจะได้ทราบว่ามีความแตกต่างกันเพียงใด แต่ยังมองไม่เห็นครูบาอาจารย์ผู้พอจะเป็นที่พึ่งได้ จึงตัดสินใจจะกลับบ้าน
พ.ศ.๒๔๘๘ ในระหว่างฤดูแล้ง จึงได้ปรึกษากับ พระถวัลย์(สา) ญาณจารี เข้ากราบลาหลวงพ่อพระครูอรรคธรรมวิจารณ์ เดินทางกลับมาพักอยู่วัดก่อนอกตามเดิม และในพรรษานั้นก็ได้เป็นครูช่วยสอนนักธรรมให้ท่านอาจารย์ที่วัด จึงได้เห็นภิกษุสามเณรที่เรียนโดยไม่ค่อยเคารพในการเรียน ไม่เอาใจใส่ เรียนพอเป็นพิธี บางรูปนอนน้ำลายไหล จึงทำให้เกิดความสังเวชใจมากขึ้นตั้งใจว่าออกพรรษาแล้วเราจะต้องแสวงหาครูบาอาจารย์ ด้านวิปัสนาให้ได้ เมื่อส่งนักเรียนเข้าสอบและหลวงพ่อก็เข้าสอบนักธรรมเอกด้วย (ผลการสอบปรากฏว่าสอบนักธรรมเอกได้)
ออกปฏิบัติธรรม
หลังจากสอบนักธรรมเสร็จแล้วสระยะนั้นได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น วัดปิหล่อ อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ เป็นผู้สอนทางวิปัสนาธุระ จึงได้มุ่งหน้าได้สู่วัดของท่านทันที และได้ฝากตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติทดลองดูได้ ๑๐ วันมีความรู้สึกว่ายังไม่ใช่ทางตรงแท้ ยังไม่เป็นที่พอใจในวิธีนั้น จึงกราบลาท่านกลับมาพักอยู่วัดนอกอีก
พ.ศ.๒๔๘๙ (พรรษาที่๘) ในระหว่างต้นปี ได้ชวน พระถวัลย์ออกเดินธุดงค์มุ่งไปสู่จังหวัดสระบุรีเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง ได้พักอยู่ตามป่าตามเขาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไปถึงเขตหมู่บ้านยางคู่ ต.ยางคู่จ.สระบุรีได้พักอยู่ที่นั่นนานพอสมควรพิจารณาเห็นว่าสถานที่ยังไม่เหมาะสมเท่าใดนัก ทั้งครูบาอาจารย์ก็ยังไม่ดี จึงเดินทางเข้าสู่เขตจังหวัดลพบุรีมุ่งสู่เขาวงกฏ อันเป็นสำนักของหลวงพ่อเภา แต่ก็น่าเสียดายที่หลวงพ่อเภาท่านมรณภาพเสียแล้ว เหลือแต่อาจารย์วรรณ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเภาอยู่ดูแล สั่งสอนแทนท่านเท่านั้น แต่ก็ยังดีที่ได้อาศัยศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาท่านวางไว้ และได้อ่านคติพจน์ที่หลวงพ่อเขียนไว้ตามปากถ้ำและตามที่อยู่อาศัยเพื่อเตือนใจ ทั้งได้มีโอกาส ศึกษาพระวินัยจนเป็นที่เข้าใจยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้มีการสังวรระวัง ไม่กล้าฝ่าฝืนแม้แต่สิกขาบทเล็กๆน้อยๆ การศึกษาวินัยนั้นศึกษาจากหนังสือบ้าง และได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์ผู้ชำนาญทั้งปริยัติและปฏิบัติบ้าง ซึ่งท่านมาจากประเทศกัมพูชา ท่านว่าเข้ามาสอบทานพระไตรปิฎกไทย ท่านเล่าให้ฟังว่า ที่แปลไว้ในหนังสือนวโกวาทนั้น บางตอนยังผิดพลาด ท่านอาจารย์รูปนั้นเก่งทางวินัยมาก จำหนังสือบุพสิกขาได้แม่นยำเหมือนกับเราจำปฏิสังขาโยฯ ท่านบอกว่าเมื่อเสร็จภารกิจในประเทศไทยแล้วท่านจะเดินทางไปประเทศพม่า เพื่อศึกษาต่อไป ท่านเป็นพระธุดงค์ชอบอยู่ตามป่า น่าสรรเสริญน้ำใจท่านอยู่อย่างหนึ่งคือ
วันหนึ่งหลวงพ่อ ได้ศึกษาวินัยกับท่านอาจารย์รูปนั้นหลายข้อมีอยู่ข้อหนึ่งซึ่งท่านบอกคลาดเคลื่อนไป ตามปกติหลวงพ่อ เมื่อได้ศึกษาวินัยและทำกิจวัตรแล้ว ครั้นถึงกลางคืนท่านจะขึ้นไปพักเดินจงกรม นั่งสมาธิอยู่บนหลังเขา วันนั้นประมาณ ๔ ทุ่มกว่าๆ ขณะที่กำลังเดินจงกรมอยู่ได้ยินเสียงกิ่งไม้ใบไม้แห้งดังกรอบแกรบ ใกล้เข้ามาทุกทีท่านเข้าใจว่าคงจะเป็นงูหรือสัตว์ อย่างอื่นออกหากิน แต่พอเสียงนั้นดังใกล้ๆเข้ามา ท่านจึงมองเห็นอาจารย์เขมรรูปนั้น หลวงพ่อจึงถามว่า ท่านอาจารย์มีธุระอะไรจึงได้มาดึกๆดื่นๆ ท่านจึงตอบว่า ผมบอกวินัยท่านผิดข้อหนึ่ง หลวงพ่อ จึงเรียนว่า ไม่ควรลำบากถึงเพียงนี้เลย ไฟส่องทางก็ไม่มี เอาไว้พรุ่งนี้จึงบอกผมใหม่ก็ได้ ท่านตอบว่า ไม่ได้ๆ เมื่อผมบอกผิด ถ้าผมตายในคืนนี้ท่านจำไปสอนคนอื่นผิดๆอีกก็จะเป็นบาปเป็นกรรมเปล่าๆ เมื่อท่านบอกเรียบร้อยแล้วก็กลับลงไป ดูเถิดน้ำใจของท่านอาจารย์รูปนั้นช่างประเสริฐและมองเห็นประโยชน์จริงๆ แม้จะมีความผิดพลาดเล็กน้อยในการบอกสอนก็มิได้ประมาท ไม่รอให้ข้ามวันข้ามคืน รีบแก้ไขทันทีทันใด จึงเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เราทั้งหลาย และน่าสรรเสริญน้ำใจของท่านโดยแท้
พูดถึงการปฏิบัติที่เขาวงกฏในขณะนั้นรู้สึกว่ายังไม่แยบคาย เท่าใดนัก หลวงพ่อจึงคิดจะหาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญยิ่งกว่านี้เพื่อปฏิบัติและค้นคว้าต่อไป ท่านจึงนึกถึงตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรอยู่ที่วัดก่อนอกเคยได้เห็นพระกรรมฐานมีลูกปัดแขวนคอสำหรับ ใช้ภาวนากันลืมท่านอยากจะได้มาภาวนาทดลองดูบ้างนึกหาอะไรไม่ได้จึงมองไปเห็นลูกตะแบก(ลูกเปือยภูเขา) กลมๆ อยู่ บนต้นครั้นจะไปเด็ดเอามาเองก็กลัวจะเป็นอาบัติวันหนึ่งมีพวกลิงพากันมาหักกิ่งไม้และรูดลูกตะแบกเหล่านั้นมาคิดว่า เขาร้อยเป็นพวงคล้องคอ แต่เราไม่มีอะไรจะร้อยจึงถือเอาว่าเวลา ภาวนาจบบทหนึ่งจึงค่อยๆ ปล่อยลูกตะแบกลงกระป๋องทีละลูกจนครบร้อยแปดลูก ทำอยู่อย่างนั้นสามคืนจึงเกิดความรู้สึกว่า ทำอย่างนี้ไม่ใช่ทางเพราะไม่ต่างอะไรกับเจ๊กนับลูกหมากขาย ในตลาด จึงได้หยุดนับลูกตะแบกเสีย
เหตุการณ์แปลกๆ ในพรรษาที่ ๘ นี้ ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาวงกฏ วันหนึ่งขณะที่ขึ้นไปอยู่บนหลังเขา หลังจากเดินจงกรมและนั่งสมาธิแล้ว ก็จะพักผ่อนตามปกติ ก่อนจำวัตรจะต้องสวดมนต์ไหว้พระ แต่วันนั้นเชื่อความบริสุทธิ์ของตนเอง จึงไม่ได้สวดอะไร ขณะที่กำลังเคลิ้มจะหลับ ปรากฏว่าเหมือน มีอะไรมารัดลำคอแน่นเข้าๆแทบหายใจไม่ออก ได้แต่นึกภาวนาพุทโธๆเรื่อยไป เป็นอยู่นานพอสมควรอาการรัดคอนั้นจึงค่อยๆ คลายออก พอลืมตาได้แต่ตัวยังกระดิกไม่ได้ จึงภาวนาต่อไป จนพอกระดิกตัวได้แต่ยังลุกไม่ได้ เอามือลูบตามลำตัวนึกว่ามิใช่ตัวของเรา ภาวนาจนลุกนั่งได้แล้ว พอนั่งได้จึงเกิดความรู้สึกว่า เรื่องการถือมงคลตื่นข่าวแบบสีลัพพตปรามา ไม่ใช่ ทางที่ถูกที่ควรการปฏิบัติธรรมต้องเริ่มต้นจากมีศีล บริสุทธิ์เป็นเหตุให้พิจารณาลงสู่ว่า...สัตว์ ทั้งหลายมีกรรม เป็นของๆ ตนแน่ชัดลงไปโดยมิต้องสงสัยนับตั้งแต่นั้นมา หลวงพ่อชามีความระวังสำรวมด้วยดี มิให้มีความบกพร่องเกิดขึ้น แม้กระทั่งสิ่งของที่ได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ตามวินัย และปัจจัย(เงินทอง) ท่านก็ละหมด และปฏิญาณว่าจะไม่ยอมรับตั้งแต่วันนั้นมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ในระหว่างพรรษานั้นได้รับข่าวว่า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นผู้มีคุณธรรมสูง ทั้งชำนาญด้านวิปัสนาธุระมีประชาชนเคารพเลื่อมใมาก ท่านมีสำนักอยู่ที่วัดป่าหนองผือนาใน อ.พรรณานิคมจ.กลนครโดยมีโยมอินทร์มรรคทายก เขาวงกฏเล่าให้ฟังและแนะนำให้ไปหา เพราะโยมอินทร์เคยปฏิบัติรับใช้ท่านอาจารย์มั่นมาแล้ว
พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นพรรษาที่ ๙ จำพรรษาอยู่ที่วัดเขาวงกฏ เมื่อออกพรรษาแล้วจึงมาพิจารณาดูว่า เราเอาลูกเขามาตกระกำลำบาก ข้ามภู ข้ามเขามา พ่อแม่เขาจะว่าเราได้ (หมายถึง พระมหาถวัลย์ ญาณจารี ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระสามัญ) และเห็นเขาสนใจท่องหนังสือ ควรจะส่งเขาเข้าเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ จึงได้ตกลงแยกทางกัน ให้พระถวัลย์เข้าไปเรียนปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ ส่วนหลวงพ่อชาจะเดินทางไปหาท่านพระอาจารย์มั่น และมีพระมาด้วยกัน ๔ รูป เป็นพระชาวภาคกลาง ๒ รูป พากันเดินทางย้อนกลับมาที่จังหวัดอุบลฯ พักอยู่ที่วัดก่อนอกชั่วคราว จึงพากันเดินธุดงค์กรำแดดไปเรื่อยๆ จุดหมายปลายทางคือ สำนักท่านพระอาจารย์มั่น ออกเดินทางไปได้พอถึงคืนที่ ๑๐ จึงถึงพระธาตุพนม นมัสการพระธาตุพนมและพักอยู่ที่นั่นหนึ่งคืน แล้วออกเดินทางไปอำเภอนาแกไปแวะนมัสการท่านอาจารย์สอนที่ ภูค้อ เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติ แต่เมื่อสังเกตพิจารณาดูแล้วยังไม่เป็นที่พอใจนักได้พักอยู่ที่ภูค้อสองคืนจึงเดินทางต่อไปแยกกันเดินทาง เป็น ๒ พวกตรงนั้น หลวงพ่อชามีความตั้งใจว่า ก่อนจะไปถึง ท่านพระอาจารย์มั่นควรจะแวะสนทนาธรรมและศึกษาข้อปฏิบัติจาก พระอาจารย์ต่างๆไปก่อนเพื่อจะได้เปรียบเทียบเทียบเคียงกันดู
ดังนั้นเมื่อได้ทราบว่ามีพระอาจารย์ด้านวิปัสนาอยู่ทางทิศใดจึงไปนมัสการอยู่เสมอ การกลับจากภูค้อนี้คณะที่ไปด้วยกันได้รับความลำบากเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีสามเณร ๑ รูป กับอุบาสก ๒ คน เห็นว่าตนเองคงจะไปไม่ไหวจึงลากลับบ้านก่อน ยังมีเหลือแต่หลวงพ่อกับพระอีก ๒ รูป เดินทางต่อไปโดยไม่ยอมเลิกล้มความตั้งใจเดิมแม้จะลำบากสักปานใดก็ต้องอดทนหลายวันต่อมา จึงเดินทางถึงสำนักของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สำนัก หนองผือนาในอ.พรรณานิคมจ.กลนคร วันแรกพอ ย่างเข้าสู่สำนักสมองดูลานวัดสะอาดสะอ้าน เห็นกิริยามารยาทของเพื่อนบรรพชิต ก็เป็นที่น่าเลื่อมใสและเกิดความพอใจมากกว่า ที่ใดๆที่เคยผ่านมา พอถึงตอนเย็นจึงได้เข้าไปกราบนมัสการพร้อมศิษย์ของท่านและฟังธรรมร่วมกัน ท่านพระอาจารย์ได้ ซักถามเรื่องราวต่างๆ เช่น เกี่ยวกับอายุ พรรษา และสำนักที่เคยปฏิบัติมาแล้ว หลวงพ่อชาได้กราบเรียนว่ามาจากสำนักอาจารย์เภา วัดเขาวงกฏ จ. ลพบุรี พร้อมกับเอาจดหมายที่โยมอินทร์ฝากมาถวาย ท่านพระอาจารย์มั่นได้พูดว่า ดี...ท่านอาจารย์เภาก็เป็นพระแท้องค์หนึ่งในประเทศไทย ต่อจากนั้น ท่านก็เทศน์ให้ฟังโดยปรารภ ถึงเรื่องนิกายว่า ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง ซึ่งเป็นเรื่องที่หลวงพ่อสงสัยมาก่อนนั้นแล้ว ต่อไปท่านก็เทศน์ เรื่องสีลนิเทส สมาธินิเทส ปัญญานิเทส ให้ฟังจนเป็นที่พอใจและหายสงสัย และท่านได้อธิบายเรื่อง พละ ๕อิทธิบาท ๔ ให้ฟัง ซึ่งขณะนั้น ศิษย์ทุกคนฟังด้วยความสนใจมีอาการอันสงบเสงี่ยม ทั้งๆที่หลวงพ่อและเพื่อนเดินทางมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยตลอดวัน พอได้มาฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว รู้สึกว่าความเมื่อยล้าได้หายไป จิตใจลงสู่สมาธิธรรมด้วยความสงบมีความรู้สึกว่าตัวลอยอยู่บนอานะ นั่งฟังอยู่จนกระทั่งเที่ยงจึงเลิกประชุม
ในคืนที่ ๒ ได้เข้านมัสการฟังเทศน์อีก ท่านพระอาจารย์มั่นได้แสดงปกิณกะธรรมต่างๆ จนจิตเราหายความสงสัยมีความรู้สึกซึ่งเป็นการยากที่จะบอกคนอื่นให้เข้าใจได้
ในวันที่ ๓ เนื่องจากความจำเป็นบางอย่าง จึงได้กราบลาท่านพระอาจารย์มั่นเดินทางลงมาทางอำเภอนาแก และได้แยกทาง กับพระบุญมี(พระมหาบุญมี) คงเหลือแต่พระเลื่อมพอได้เป็นเพื่อนเดินทาง ไม่ว่าหลวงพ่อจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่ ณ ที่ใดๆก็ตาม ปรากฏว่าท่านพระอาจารย์มั่นคอยติดตามตักเตือนอยู่ตลอดเวลา พอเดินทางมาถึงวัดโปร่งครองซึ่งเป็นสำนักของพระอาจารย์คำดี เห็นพระท่านไปอยู่ป่าช้าเกิดความสนใจมาก เพราะมาคิดว่าเมื่อเป็นนักปฏิบัติจะต้องแสวงหาความสงบ เช่น ป่าช้า ซึ่งเราไม่เคยอยู่มาก่อนเลย ถ้าไม่อยู่คงไม่รู้ว่ามีความ เหมาะสมเพียงใดเมื่อคนอื่นเขาอยู่ได้เราก็ต้องอยู่ได้จึงตัดสินใจ จะไปอยู่ป่าช้า และชวนเอาพ่อขาวแก้วไปเป็นเพื่อนด้วย
ปรากฏการณ์แปลกครั้งที่ ๒ ชีวิตครั้งแรกที่เข้าอยู่ป่าช้าดูเหมือนเป็นเหตุบังเอิญในวันนั้นมีเด็กตายในหมู่บ้านเขา จึงเอาฝังไว้โยมเลยเอาไม้ไผ่ที่หามเด็กมานั้นสับเป็นฟากยกร้าน เล็กๆ พอนั่งได้ใกล้ๆกับหลุมฝังศพ หลวงพ่อชาเล่าว่า ทั้งๆที่ตัวเองก็รู้สึกกลัวเหมือนกัน แต่ไล่ให้พ่อขาวแก้วไปปักกลดห่างกันประมาณ ๑ เส้น เพราะถ้าอยู่ใกล้กันมันจะถือเอาเป็นที่พึ่ง คืนแรก ขณะที่เดินจงกรมเกิดความกลัว เกิดความคิดว่า หยุดเถอะพอแล้ว เข้าไปในกลดเถอะ ทั้งๆที่ยังไม่ดึกเท่าใด แต่ก็เกิดความคิด ขึ้นใหม่ว่า ไม่หยุด เดินต่อไป เรามาแสวงหาของจริง ไม่ได้ มาเล่น ...ความคิดชวนหยุดเข้ากลดเพราะกลัว กับความคิด หักห้ามว่าไม่หยุด เดินต่อไป ยังไม่ดึกมันเกิดแย้งกันอยู่เรื่อยๆ ต้องฝืนความรู้สึก อดทน อดกลั้นข่มใจไว้อย่างนั้น...และในคืนแรกนี้ขณะเดินจงกรมอยู่จิตเริ่มสงบพอเดินไปถึงหลุมฝังศพปรากฏว่า เรามองลงไปในหลุมเห็นองค์กำเนิดของเด็กผู้ชายชัดเจน ทั้งๆที่เราไม่ทราบว่าเขาเอาเด็กผู้ชายหรือผู้หญิงมาฝังไว้ พอถึงตอนเช้าจึงได้ถามโยมว่าเอาเด็กผู้ชายหรือผู้หญิงไปฝัง เขาตอบว่าเด็กผู้ชาย คืนแรกผ่านไป ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรมากนัก ความกลัวก็มีไม่มาก
วันที่ ๒ ก็มีคนตายอีก คราวนี้เป็นผู้ใหญ่ เขาพามาเผาห่างจากที่ปักกลดประมาณ ๑๐ วาส คืนนี้แหละเป็นคืนสำคัญ หลังจากเดินจงกรมได้เวลาพอสมควร จึงเข้านั่งสมาธิภายในกลด ได้ยินเสียงดังกุกกักทางกองฟอน เรานึกว่าหมามาแย่งกินซากศพสักครู่หนึ่งเสียงดังแรงขึ้นและ ใกล้เข้ามาท่านคิดว่าหรือจะเป็นควายของชาวบ้านเชือกผูกขาดมาหากินใบไม้ในป่า จิตใจเริ่มกลัวเพราะเสียงนั้นใกล้เข้ามาทุกที...หลวงพ่อได้ตั้งใจแน่วแน่ว่าไม่ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น แม้ตัวจะตายก็ไม่ยอมลืมตาขึ้นมาดู และจะไม่ยอมออกจากกลด ถ้าจะมีอะไรมาทำลายก็ขอให้ตายภายในกลดนี้ พอเสียงนั้นใกล้เข้ามาๆก็ปรากฏเป็นเสียงคนเดิน เดินเข้ามาข้างๆกลดแล้วเดินอ้อมไปทางพ่อขาวแก้ว กะประมาณพอไปถึงได้ยินเสียงดังอึกอักๆ แล้วเสียงคนเดินนั้นก็เดินตรงแน่วมาที่หลวงพ่อชาอีก ใกล้เข้ามาๆมาหยุดอยู่ข้างหน้าประมาณ ๑ เมตร
ตอนนี้แหละความกลัวทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกดูเหมือน จะมารวมกันอยู่ที่นั่นหมด ลืมนึกถึงบทสวดมนต์ที่จะป้องกัน ลืมหมดทุกสิ่งทุกอย่าง กลัวมากถึงขนาดนั่งอยู่ข้างๆบาตรก็นึกเอาบาตรเป็นเพื่อน แต่ความกลัวไม่ลดลงเลย ปรากฏว่าเขายัง ยืนอยู่ข้างหน้าเรา ดีหน่อยที่เขาไม่เปิดกลดเข้ามา ในชีวิตตั้งแต่เกิดมาไม่เคยมีความกลัวมากและนานเท่าครั้งนี้ เมื่อความกลัว มันมีมากแล้วมันก็มีที่สุดของความกลัว เลยเกิดปัญหาถามตัวเอง ว่า กลัวอะไร? คำตอบก็มีขึ้นว่า กลัวตาย ความตายมัน อยู่ที่ไหน? อยู่ที่ตัวเราเอง เมื่อรู้ว่าอยู่ที่ตัวเรา จะหนีพ้นมัน ไปได้ไหม? ไม่พ้น เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด คนเดียวหรือหลายคน ในที่มืดหรือที่แจ้ง ก็ตายได้ทั้งนั้น หนีไม่พ้นเลย จะกลัวหรือไม่กลัวก็ไม่มีทางพ้น เมื่อรู้อย่างนี้ความกลัวไม่รู้ว่าหายไปไหน เลยหยุดกลัว ดูเหมือนคล้ายกับเราออกจากที่มืดที่สุดมาพบแสงสว่างนั้นแหละ เมื่อความกลัวหายไปผู้ที่เข้ามายืนอยู่หน้ากลดก็หายไปด้วย เมื่อความกลัวกับสิ่งที่กลัวหายไปได้สักครู่หนึ่งเกิดลมและฝนตกลงมาอย่างหนัก ผ้าจีวรเปียกหมด แม้จะนั่งอยู่ภายในกลดก็เหมือนนั่งอยู่กลางแจ้ง เลยเกิดความสงสารตัวเองว่า ตัวเรานี้เหมือนลูกไม่มีพ่อแม่ไม่มีที่อยู่อาศัยเวลาฝนตก หนักเพื่อนมนุษย์เขานอนอยู่ในบ้านอย่างสบาย แต่เราซิมานั่งตากฝนอยู่อย่างนี้ ผ้าผ่อนเปียกหมด คนอื่นๆเขาคงไม่รู้หรอกว่า เรากำลังตกอยู่ในภาพเช่นนี้ ความว้าเหว่เกิดขึ้นนานพอสมควร เมื่อนึกได้ก็ห้ามไว้ด้วยปัญญา พิจารณาอาการอย่างนั้นก็สงบลง พอดีได้เวลารุ่งอรุณ จึงลุกจากที่นั่งสมาธิ ในระยะที่เกิดความกลัวนั้นรู้สึกปวดปัสสาวะ แต่พอกลัวถึงขีดสุดอาการปวดปัสสาวะก็หายไป และเมื่อลุกจากที่จึงรู้สึกปวดปัสสาวะ และเวลาไปปัสสาวะมีเลือดออกมาเป็นแท่งๆก่อนแล้วจึงมีน้ำ ปัสสาวะออกมาทำให้รู้สึกตกใจนิดหนึ่งคิดว่าข้างในคงแตกหรือขาด จึงมีเลือดออกอย่างนี้แต่ก็นึกได้ว่าจะทำอย่างไรได้ในเมื่อเรามิได้ทำ มันเป็นของมันเองถ้าถึงคราวตายก็ให้มันตายไปเสียนึกสอนตัวเอง ได้อย่างนี้ก็สบายใจ ความกลัวตายหายไปตั้งแต่นั้นมา พอได้เวลาบิณฑบาตพ่อขาวแก้วก็มาถามว่าหลวงพ่อ...หลวงพ่อ...เมื่อคืนนี้มีอะไรเห็นอะไรไปหาบ้าง ?มันเดินมาจากทางอาจารย์อยู่นั่นแหละมันแสดงอาการที่น่ากลัวใส่ผม ผมต้องชักมีดออกมาขู่มันมันจึงเดินกลับไป หลวงพ่อชาจึงตอบว่า จะมีอะไรเล่า...หยุดพูดดีกว่า พ่อขาวแก้วก็เลยหยุดถาม หลวงพ่อคิดว่าถ้าขืนพูดไป ถ้าพ่อขาวแก้ว เกิดกลัวขึ้นมาเดี๋ยวก็อยู่ไม่ได้เท่านั้น
เมื่ออยู่ป่าช้าใกล้วัดท่านอาจารย์คำดีได้ ๗ วัน ก็มีอาการเป็นไข้ เลยพักรักษาตัวอยู่กับอาจารย์คำดีประมาณ ๑๐ วัน จึง ย้ายลงมาทางบ้านต้อง พักอยู่ที่ป่าละเมาะบ้านต้องได้เวลานาน พอสมควร จึงได้เดินทางกลับไปหาท่านอาจารย์กินรีพักอยู่ ที่นั่นหลายวัน จึงได้กราบลาท่านอาจารย์กินรี ที่วัดป่าหนองฮี อ. ปลาปาก จ. นครพนม แล้วจึงเดินทางต่อไป...

อัฏฐบริขารหมดอายุ
ในพรรษาที่ ๙ นี้ ได้มาจำพรรษาอยู่กับท่านอาจารย์กินรีมาขอพึ่งบารมีปฏิบัติธรรมกับท่าน และได้รับความสงเคราะห์จากท่านอาจารย์เป็นอย่างดี ท่านอาจารย์เห็นไตรจีวรเก่าขาด จะใช้ ต่อไปไม่ได้ ท่านจึงได้กรุณาตัดผ้าฝ้ายพื้นเมืองให้จนครบไตรจีวร หลวงพ่อชาคิดว่า ผ้านี้จะมีเนื้อหยาบหรือละเอียดไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ใช้ได้ทนทานก็เป็นพอ ในพรรษานี้หลวงพ่อได้มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติอย่างมากไม่มีความย่อท้อแต่ประการใด
คืนวันหนึ่ง หลังจากหลวงพ่อทำความเพียรแล้วคิดจะ พักผ่อนบนกุฏิเล็กๆ พอเอนกายลง ศีรษะถึงหมอนด้วยการกำหนด ติ พอเคลิ้มไปเกิดนิมิตขึ้นว่า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้มาอยู่ใกล้ๆ นำลูกแก้วลูกหนึ่งมายื่นให้แล้วพูดว่า ชา...เราจะให้ลูกแก้วลูกนี้แก่ท่านมันมีรัศมีสว่างไสวมาก หลวงพ่อยื่นมือขวาไปรับลูกแก้วลูกนั้น รวบกับมือท่านพระอาจารย์มั่นแล้วลุกขึ้นนั่ง พอรู้สึกตัวก็เห็นตัวเองยังกำมือและอยู่ในท่านั่งตามปกติมีอาการคิดค้นธรรมะเพื่อความรู้เกี่ยวกับ
การปฏิบัติมีติปลื้มใจตลอดพรรษา
รบกับกิเลส
ในพรรษาที่อยู่กับอาจารย์กินรีนั้น ขณะที่มีความเพียรปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ในวาระหนึ่งได้เกิดการต่อสู้กับราคะธรรมอย่างแรง ไม่ว่าจะเดินจงกรมนั่งสมาธิหรืออยู่ในอิริยาบถใด ก็ตาม ปรากฏว่ามีโยนีของผู้หญิงชนิดต่างๆ ลอยปรากฏเต็มไปหมด เกิดราคะขึ้นจนทำความเพียรเกือบไม่ได้ ต้องทนต่อสู้กับความ รู้สึกและนิมิตเหล่านั้นอย่างลำบากยากเย็นจริงๆมีความรุนแรงพอๆกับความกลัวที่เกิดขึ้นในคราวที่
ไปอยู่ป่าช้านั่นแหละ เดิน จงกรมไม่ได้เพราะองค์กำเนิดถูกผ้าเข้าก็จะเกิดการไหวตัว ต้องให้ทำที่เดินจงกรมในป่าทึบและเดินได้เฉพาะในที่มืดๆ เวลาเดินต้องถลกบงขึ้นพันเอวไว้จึงจะเดินจงกรมต่อไปได้ การต่อสู้กับกิเลสเป็นไปอย่างทรหดอดทน ได้ทำความเพียรต่อสู้กันอยู่นานเป็นเวลา ๑๐ วัน ความรู้สึกและนิมิตเหล่านั้นจึงจะสงบลงและหายไป
เมื่อถึงหน้าแล้ง (ปี๒๔๙๐) หลวงพ่อจึงกราบลาท่านอาจารย์กินรี เพื่อแสวงหาวิเวกต่อไป ก่อนจากท่านอาจารย์กินรีได้ให้โอวาทว่า ท่านชา... อะไรๆก็พอสมควรแล้ว แต่ให้ท่านระวังการเทศน์นะ ต่อจากนั้นก็ได้เดินทางไปเรื่อยๆ แสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป จนเดินธุดงค์ไปถึงบ้านโคกยาว จังหวัดนครพนม ไปพักอยู่ในวัดร้างแห่งหนึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๑๐ เส้น ในระยะนี้จิตสงบและเบาใจ อาการมุ่งจะเทศน์ก็เริ่มปรากฏขึ้นมา
เหตุการณ์แปลกครั้งที่ ๓ เมื่อได้ปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดร้างแห่งนั้น วันหนึ่งเขามีงานในหมู่บ้านมีมหรสพ เปิดเครื่องขยายเสียงดังอื้ออึงมาก ขณะนั้นหลวงพ่อกำลังเดินจงกรมอยู่ เป็นเวลาประมาณ ๔ทุ่มเดินได้นานพอสมควรจึงนั่งสมาธิบนกุฏิ ชั่วคราว ขณะที่นั่งอยู่นั้นจิตใจเข้าสู่ความสงบ จนมีความรู้สึกว่า เสียงเป็นเสียง จิตเป็นจิต ไม่ปะปนกัน ไม่มีความกังวลอะไรทั้งสิ้น อาการเหล่านี้ปรากฏเป็นเวลานาน ถ้าจะอยู่ตลอดคืนก็ได้จนจิตเกิดความรู้สึกว่า
#32

เกร็ดประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ



ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
   หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญาณ หรือ ยาน รามศิริ เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 วันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ณ บ้านนาโป่งบ้างก็ว่า บ้านหนองบอน ตำบลหนองใน (ปัจจุบันเป็น ตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย
   ท่านเกิดในตระกูลช่างตีเหล็ก เป็นบุตรคนที่ 2 (คนสุดท้อง) ของ นายใส หรือ สาย กับ นางแก้ว รามศิริ มีพี่สาวร่วมท้องเดียวกัน 1 คน เมื่อหลวงปู่อายุประมาณ 5 ขวบ พอจำความได้บ้างว่า ก่อนที่มารดาจะเสียชีวิต ได้เรียกไปสั่งเสียว่า "ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏก็ตาม แม่ก็ไม่ยินดี และแม่จะยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่จนตายในผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีเมียนะลูกนะ"
   หลังจากนั้นมารดาได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงอยู่ในความดูแลของตากับยายขุนแก้ว อนึ่ง ยายของหลวงปู่ได้ฝันว่า เห็นหลานชายไปนั่งไปนอนอยู่ในดงขมิ้นจนเนื้อตัวเหลืองอร่ามน่าชม จึงได้มาร้องขอให้บวชเช่นเดียวกัน ท่านจึงรับปาก แล้วบวชพร้อมกับหลานยายอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และมีศักดิ์เป็นน้า ยายได้นำหลานทั้ง 2 คน ไปถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ที่ วัดโพธิ์ชัย (มหานิกาย) ในหมู่บ้านนาโป่ง เพื่อฝึกหัดขานนาค ทำการบรรพชาเป็นสามเณรต่อไป ด้วยคำพูดของแม่ในครั้งนั้น เป็นเหมือนพรสวรรค์คอยเตือนสติอยู่ตลอดเวลา มันเป็นคำสั่งที่ก้องอยู่ในความทรงจำมิรู้เลือน จนในที่สุดท่านก็ได้บวชตามความประสงค์ของมารดาและใช้ชีวิตอยู่ในผ้าเหลืองจนตลอดอายุขัย


ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
   หลวงปู่ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2439 มีอายุได้ 9 ปี ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์อ้วน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เป็นพระพี่เลี้ยง เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แหวน อยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัยนั่นเอง พอเข้าพรรษาได้ประมาณ 2 เดือน สามเณรผู้มีศักดิ์เป็นน้าที่บวชพร้อมกันเกิดอาพาธหนักถึงแก่มรณภาพไป ทำให้ท่านสะเทือนใจมาก
   เนื่องจาก วัดโพธิ์ชัย ไม่มีการศึกษาเล่าเรียน เพราะขาดครูสอน ท่านจึงอยู่ตามสบาย คือ สวดมนต์ไหว้พระบ้าง เล่นบ้างตามประสาเด็ก ต่อมาได้ถูกส่งไปเรียนมูลกัจจายน์ ที่ วัดสร้างก่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดอุบลราชธานีมีสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง มีครูอาจารย์สอนกันเป็นหลักเป็นฐานหลายแห่ง เช่น สำนักเรียนบ้านไผ่ใหญ่ บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก บ้านสร้างก่อทั่วอีสาน 15 จังหวัด (ในสมัยนั้น) ใครต้องการศึกษาหาความรู้ ต้องมุ่งหน้าไปเรียนมูลกัจจายน์ ตามสำนักดังกล่าว ผู้เรียนจบหลักสูตรได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ เพราะเป็นหลักสูตรที่เรียนยาก มีผู้เรียนจบกันน้อยมาก ภายหลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงมาปรับปรุงเปลียนแปลงหลักสูตรใหม่ดังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การเรียนมูลกัจจายน์ถูกลืมเลือน
   ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนที่สำนักนี้หลายปี จนอายุครบบวชพระ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายที่ วัดสร้างก่อนอก อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2451 ในระยะที่เรียนหนังสืออยู่นั้น ท่านเกิดความว้าวุ่นใจเพราะ ท่านอาจารย์อ้อน อาจารย์เอี่ยม ครูผู้สอนหนังสือเกิดอาพาธด้วยโรคนอนไม่หลับ ท่านจึงแนะนำให้ลาสิกขาบทเผื่อโรคอาจจะหายได้ หายแล้วหากยังอาลัยในสมณเพศ เมื่อได้โอกาสก็ให้กลับมาบวชใหม่อีก ท่านอาจารย์ทำตาม ปรากฏว่าโรคหายดี แต่ต่อมาพระผู้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ คือ อาจารย์ชม อาจาาย์ชาลี และท่านอื่น ๆ ลาสิกขาไปมีครอบครัวกันหมดสำนักเรียนจึงต้องหยุดชงักลง
   ในที่สุด ท่านจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้นสึกออกไปล้วนเพราะอำนาจของกามทั้งสิ้นจึงระลึกนึกถึงคำเตือนของแม่และยาย และเกิดความคิดขึ้นมาว่าการออกปฏิบัติเป็นทางเดียวเท่านั้นที่ จะทำให้บวชอยู่ได้ตลอดชีวิต เหมือนกับครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ ได้ออกไปปฏิบัติอยู่กันตามป่าเขาไม่อาลัยอาวรณ์อยู่กับหมู่คณะจึงได้ตัดสินใจไปหาอาจารย์ที่เมืองสกลนคร
   ท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐาน ขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์แด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หลังจากตั้งจิตอธิษฐานแล้ว ท่านมีความรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ อยู่มา 2-3 วัน โยมอุปัฏฐาก ได้มาบอกว่า พระอาจารย์จวง วัดธาตุเทิง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปกราบ ญาคูมั่น พึ่งกลับมา ท่านจึงได้ไปนมัสการพระอาจารย์จวง เพื่อขอทราบที่อยู่ของ หลวงปู่มั่น ด้วยรู้สึกศรัทธาในกิตติศัพท์ความเก่งกล้าสามารถของหลวงปู่มั่นยิ่งนักจากนั้น ท่านก็ได้ออกธุดงค์มุ่งสู่สำนักของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยผ่านม่วงสามสิบ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร เลิงนกทา มุกดาหาร คำชะอี นาแก สกลนคร พรรณานิคม สว่างแดนดิน หนองหาน อุดรธานี บ้านผือ ซึ่งนับเป็นการเดินทางไกลและยาวนานเป็นครั้งแรกจนได้เข้าพบหลวงปู่มั่น ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ


   คำแรกที่หลวงปู่มั่นสั่งสอนก็คือ "ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมา ให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกยินดีมากเพราะได้บรรลุสิ่งที่ตั้งใจหลังจากอยู่กับหลวงปู่มั่นได้ 4 วัน พี่เขยและน้าเขยก็มาตามให้กลับไปเยี่ยมโยมพ่อที่ไม่ได้พบกันมานาน 10 ปี จึงเข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่นและได้รับคำเตือนว่า "ไปแล้วให้รีบกลับมาอย่าอยู่นานประเดี๋ยวจะเสียท่าเขา ถูกเขามัดไว้แล้วจะดิ้นไม่หลุด"
   ท่านได้กลับไปเยี่ยมบ้านในปี พ.ศ.2461 เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนในแถบบ้านเกิดมาก หลั่งไหลกันมากราบอย่างไม่ขาดสายจนทำให้พักผ่อนไม่พอ และล้มป่วยลงต้องพักรักษาตัวอยู่หนึ่งเดือนเต็ม
   ด้วยจิตที่ระลึกถึงคำสั่งของพระอาจารย์ว่า "อย่าอยู่นานให้รีบกลับมาภาวนา" กับคำสั่งเสียของแม่ว่า "แม่ยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ แล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง" ทำให้ท่านตัดสินใจรีบเดินทางกลับไปอยู่รับการอบรมภาวนาต่อ แล้วจึงได้แยกไปหาที่วิเวกบำเพ็ญสมาธิภาวนาตาม ความเหมาะสมกับจิตของตนเมื่อถึงวันอุโบสถจึงได้ถือโอกาสเข้านมัสการถามปัญหาข้อข้องใจใน การปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นจนเป็นที่เข้าใจแล้ว จึงกลับสู่ที่ปฏิบัติของตนดังเดิม โดยยึดมั่นในคำเตือนของหลวงปู่มั่นว่า "ให้ตั้งใจภาวนา อย่าได้ประมาท ให้มีสติอยู่ทุกเมื่อ จงอย่าเห็นแก่การพักผ่อนหลับนอนให้มาก "

     ในระยะแรกออกปฏิบัตินั้น ท่านไม่ได้ร่วมทำสังฆกรรมฟังการสวดปาติโมกข์ เพราะยังไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุต พระมหานิกายที่ได้รับการอบรมจากท่านหลวงปู่มั่นครั้งนั้นมีหลายรูป เมื่ออยู่ไปนาน ๆ ได้เห็นความไม่สะดวกในการประกอบสังฆกรรมดังกล่าว จึงไปกราบขออนุญาตให้ญัตติเป็นธรรมยุต ซึ่งบางรูปก็ได้รับอนุญาต บางรูปก็ไม่ได้รับอนุญาต โดยหลวงปู่มั่นให้เหตุผลว่า "ถ้าพากันมาญัตติเป็็นพระธรรมยุตเสียหมดแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครมาแนะนำในการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละ คือ ทางดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน"
   ประมาณ พ .ศ.2464 ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อพำนักและศึกษาธรรม กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ซึ่งหลวงปู่มั่นยกย่องอยู่เสมอว่าเชี่ยวชาญทั้งทางการเทศน์และการปฏิบัติธรรม หลังจากที่ท่านได้รับฟังธรรมและเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย พม่า และเชียงตุง จากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ แล้ว ก็ได้จาริกไปพม่า อินเดีย โดยผ่านทาง แม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก ข้ามแม่น้ำเมย ขึ้นฝั่งพม่าต่อไปยังขลุกขลิกมะละแหม่ง ข้ามฟากไปถึงเมาะตะมะ ขึ้นไปพักที่ดอยศรีกุตระ กลับมามะละแหม่ง แล้วโดยสารเรือไปเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แล้วต่อรถไฟไปเมืองพาราณสี เที่ยวนมัสการปูชนียสถานต่าง ๆ แล้วจึงกลับโดยเส้นทางเดิม ถึงฝั่งไทยที่อำเภอแม่สอด เดินเที่ยวอำเภอสามเงา
   ปีต่อมา เดือนตุลาคม ท่านได้จาริกธุดงค์ไปเชียงตุง และ เชียงรุ้ง ในเขตพม่า โดยออกเดินทางไปด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านหมู่บ้านชาวเขา พักตามป่าเขา จาริกผ่านเชียงตุง แล้วต่อไปทางเหนือ อันเป็นถิ่นชาวเขา เช่น จีนฮ่อ ซึ่งอยู่ตามเมืองแสนทวี ฝีฝ่า หนองแส บางเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พอฝนตกชุกจวนเข้าพรรษาก็กลับเข้าเขตไทย นับได้ว่าท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่งในและนอกประเทศส่วนใหญ่จะพำนักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลฯ อุดรฯ และตั้งใจจะไปให้ถึงสิบสองปันนา สิบสองจุไท แต่ทหารฝรั่ังเศสห้ามเอาไว้ จึงไปถึง วัดใต้หลวงพระบาง แล้วก็กลับพร้อมกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ทางภาคเหนือ ท่านได้มุ่งเดินทางไป ค่ำไหนนอนนั่น จากอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลยออกไป อำเภอด่านซ้าย ผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอนครไทย อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัดไปอำเภอนาน้อย แพร่ หมู่บ้านชาวเย้า อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย ลำปาง แล้วต่อไปยังเชียงใหม่ เที่ยวดูภูมิประเทศโดยรอบเขาดอยสุเทพ
   ท่านได้รับความเมตตาจาก ท่านเจ้าคุณพระอุปาลีคุณูปมาจารย์ ด้วยดีตลอดมา ประมาณปี พ.ศ.2470 ท่านเจ้าคุณเห็นว่า หลวงปู่แหวน เป็นผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติมีวิริยะอุตสาหะปรารภความเพียรสม่ำเสมอไม่ท้อถอย มีข้อวัตรปฏิบัติดี มีอัธยาศัยไมตรีไม่ขึ้นลง คุ้นเคยกันมานาน เห็นสมควรจะได้ญัตติเสีย หลวงปู่แหวนจึงตัดสินใจเป็นพระธรรมยุต ที่พัทธสีมา วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ มี พระนพีสิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมา หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ซึ่งเคยเป็นสหธรรมิกร่วมธุดงค์กัน ก็ได้ญัตติเป็นธรรายุตเหมือนกัน
   ในระหว่างที่จาริกแสวงหาวิเวกอยู่ทางภาคเหนือนั้น ท่านได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย และได้แยกย้ายกันจำพรรษาตามป่าเขา ท่านเคยได้แยกเดินทางทุ่งบวกข้าว จนถึงป่าเมี่ยงขุนปั๋ง พอออกพรรษา หลวงปู่มั่น พระอาจารย์พร สุมโน ได้มาสมทบที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ขณะนั้น พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิร ิมาร่วมสมทบอีก
   เมื่อทุกท่านได้รับโอวาทจากหลวงปู่มั่นแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันไป หลวงปู่แหวนพร้อมหลวงปู่ขาว พระอาจารย์พร ไปที่ดอนมะโน หรือ ดอยน้ำมัว ส่วนหลวงปู่มั่นอยู่ที่กุฏิชั่วคราวที่ชาวบ้านสร้างถวายที่ป่าเมี่ยบขุนปั๋งนั่นเอง ภายหลังหลวงปู่มั่น เดินทางกลับอีสานแล้ว หลวงปู่แหวนยังคงจาริกแสวงวิเวกบำเพ็ญธรรมอยู่ป่าเมี่ยงแม่สาย หลวงปู่เล่าว่า อากาศทางภาคเหนือถูกแก่ธาตุขันธ์ดี ฉันอาหารได้มาก ไม่มีอาการอึดอัด ง่วงซึม เวลาภาวนาจิตก็รวมลงสู่ฐานสมาธิได้เร็ว นับว่าเป็นสัปปายะ
     ประมาณปี พ.ศ. 2474 ขณะที่หลวงปู่แหวนปฏิบัติธรรมอยู่ที่เชียงใหม่ ได้ทราบข่าวว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ประสบอุบัติเหตุขณะขึ้นธรรมาสน์เพื่อแสดงธรรมถึงขาหักจึงเดินทางจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ และแวะกราบเรียนให้หลวงปู่มั่นทราบที่อุตรดิตถ์ แล้วเดินทางโดยรถไฟถึงโกรกพระ นครสวรรค์ ลงเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงวัดคุ้งสำเภา พักค้างคืนหนึ่ง แล้วลงเรือล่องมาถึงกรุงเทพฯ เฝ้าพยาบาลท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นานหนึ่งเดือน จึงกราบลาไปจำพรรษาที่เชียงใหม่
   ปี พ.ศ.2498 ท่านจำพรรษาที่ วัดบ้านปง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดอาพาธแผลที่ขาอักเสบทรมานมาก ท่านจำพรรษาอยู่รูปเดียว ชาวบ้านไม่เอาใจใส่ ได้ท่านพระอาจารย์หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พาหมอมาจี้ มาทำการผ่าตัดโดยไม่ต้องฉีดยาชา ใช้มีดผ่าตัดเพียงเล่มเดียว ท่านมีความอดทนให้กระทำจนสำเร็จและหายได้ในที่สุด
   อีกหลายปีต่อมา พระอาจารย์หนูเห็นว่า หลวงปู่แก่มากแล้ว ไม่มีผู้อุปัฏฐาก จึงได้ชักชวนญาติโยมไปนิมนต์ให้ท่านมาจำพรรษาที่ วัดดอยแม่ปั๋ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ในฐานะพระผู้เฒ่าทำหน้าที่ปฏิบัติธรรมอย่างเดียวไม่ต้องเกี่ยงข้องกับภาระหน้าที่อื่นใด และท่านก็ได้ตั้งสัจจะว่า จะไม่รับนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ไม่ลงเรือ แม้ที่สุดจะเกิดอาพาธหนักเพียงใด ก็จะไม่ยอมเข้านอนโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ได้ นับตั้งแต่ท่านขึ้นไปภาคเหนือแล้ว ท่านก็ไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นอีกเลย ท่านเคยอยู่บนดอยสูงกับชาวเขาเกือบทุกเผ่า อยู่ในป่าเขาภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ส่วนภาคเหนือตอนล่าง เช่น แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ท่านเคยจาริกไปครั้งคราว จึงนับได้ว่า วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นสถานที่ซึ่ง หลวงปู่อยู่จำพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 จวบจนมรณภาพ
   หลวงปู่แหวน มีโรคประจำตัวคือ เป็นแผลเรื้อรังที่ก้นกบยาวประมาณ 1 ซม. มีอาการคัน ถ้าอักเสบก็จะเจ็บปวดมาก และอีกโรคหนึ่งคือ เป็นต้อกระจกนัยน์ตาด้านซ้าย เป็นต้อหินนัยน์ตาด้านขวา หมอได้เข้าไปรักษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2518 ซึ่งรักษาแล้วสุขภาพก็ยังแข็งแรงตามวัย แต่ต่อมาปี 2519 ร่างกายเริ่มซูบผอม อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย ขาทั้ง 2 เป็นตะคริวบ่อย ต่อมา 2520 สุขภาพทรุด ค่อนข้างซูบเหนื่อยอ่อน เวียนศีรษะถึงกับเซล้มลง และประสบอุบัติเหตุขณะครองผ้าจีวรในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นวันที่ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมา ส่งผลให้เจ็บบั้นเอวและกระดูดสันหลัง ลุกไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ รักษาอยู่เดือนหนึ่ง ก็หายเป็นปกติ แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้ว จึงมีอาการอาพาธมาโดยตลอด คณะแพทย์ก็คอยให้การรักษาด้วยดีเช่นกัน จนกระทั่งใน วันอังคารที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ. 2528 เวลา 21.53 น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึง หลวงปู่ท่านได้ละร่างอันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ 98 ปี
ธรรมโอวาท
   หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง เช่นเรื่อง ของเก่าปกปิดความจริง ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็วางเอง คูบาญาปู่มั่น ท่านว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า" ของเก่านี่แหละมันบังของจริงอยู่นี่ มันจึงไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นของเก่า มันก็ไม่ต้องไปคุย มีแต่ของเก่าทั้งนั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ของเก่า เวลามาปฏิบัติภาวนา ก็พิจารณาอันนี้แหละ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริง ให้มันรู้แจ้งออกมาจากภายใน มันจึงไปนิพพานได้ นิพพานมันหมักอยู่ในของสกปรกนี่ มันจึงไม่เห็น พลิกของสกปรกออกดูให้เห็นแจ้ง นักปราชญ์ท่านไม่ละความเพียร เอาอยู่อย่างนั้นแหละ เอาจนรู้จริงรู้แจ้ง ทีนี้มันไม่มาเล่นกับก้อนสกปรกนี้อีก พิจารณาไป พิจารณาเอาให้นิพพานใสอยู่ในภายในนี่ ให้มันอ้อ นี่เอง ถ้ามันไม่อ้อหนา เอาให้มันถึงอ้อ จึงใช้ได้
   
http://www.upchill.com/image.php?id=ba15aeaee73a50d09e7d2d6eeb075180ครั้นถึงอ้อแล้วสติก็ดี ถ้ามันยังไม่ถึงแล้ว เต็มที่สังขารตัวนี้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในของสกปรกเหล่านี้แหละ ครั้นรู้แจ้งเข้า รู้แจ้งเข้า มันก็เป็นผู้รู้พระนิพพานเท่านั้น จำหลักให้แม่น ๆ มันไม่ไปที่ไหนหละ พระนิพพาน ครั้นเห็นนิพพานได้แล้ว มันจึงเบื่อโลก เวลาทำก็เอาอยู่นี่แหละ ใครจะว่าไปที่ไหนก็ตามเขา ละอันนี่แหละทำความเบื่อหน่ายกับอันนี้แหละ ทั้งก้อนนี่แหละ นักปฏิบัติต้องพิจารณาอยู่นี่แหละ ชี้เข้าไปที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง หากพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ก็ถอนได้ กามกิเลสนี้แหละ เป็นบ่อเกิดแห่งการฆ่ากันตาย ชิงดีชิงเด่น กิเลสตัวเดียว ทำให้มีการต่อสู้แย่งชิงกัน ทั้งความรักความชัง จะเกิดขึ้นในจิตใจก็เพราะกาม นักปฏิบัติต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน ก็ของเก่าปรุงแต่งขึ้นเป็นความพอใจไม่พอใจ มันเกิดมันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน ถ้ารู้เท่า ทันมัน ก็ดับไป ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน

#33
ขอบคุณค่ะกับความคิดเห็นที่มีมามอบให้แก่กัน ดิฉันเองเกิดมาเท่าจำความได้คุณพ่อและคุณแม่ ได้พาเข้าวัดทำบุญรักษาศีล  ตั้งแต่ตัวน้อยๆ และได้มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการครูบาอาจารย์ตามวัดป่าสายพระอาจารย์มั่นอยู่เนื่องนิจ จิตใจจึงมีความผูกพัน กับพระพุทธศาสนา อยากบอกว่า การที่เราได้อยู่กับธรรมชาติที่เป็นป่าเป็นเขา ช่างเป็นความสงบ เยือกเย็น จริงๆเสียดายที่เกิดเป็นหญิง ถ้าเกิดเป็นชาย คงได้บวชแน่
#34

เกร็ดประวัติพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล


(คัดจากหนังสือฐานยตฺเถรวตฺถุ)
   ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอเขื่องใน) จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ ท่านเป็นพระคณาจารย์ใหญ่ของพระกรรมฐานทั้งหมด
   ท่านอุปสมบทที่วัดใต้ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ และได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ภายหลังมาอยู่วัดเลียบ และเปิดสำนักปฏิบัติธรรมขึ้น ณ วัดเลียบ ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
   ท่านได้มรณภาพในอิริยาบถขณะกราบครั้งที่ ๓ ในอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอ วรรณไวทยากรณ์ นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ ตรงกับ วันจันทร์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง เชิญศพมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทำพิธีเผาในเดือนเมษายน ๒๔๘๖ สิริอายุ ๘๒ ปี ๓ เดือน ๑ วัน
   นิสัยท่านอาจารย์เสาร์ นิสัยชอบก่อสร้าง ชอบปลูกพริกหมากไม้ ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหารทำจิตดุจแผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนพูดน้อย ยกจิตขึ้นสู่องค์เมตตาสุกใสรุ่งเรือง เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ทำความเพียรเป็นกลางไม่ยิ่งหย่อน พิจารณาถึงขั้นภูมิละเอียดมาก ท่านบอกให้เราภาวนาเปลี่ยนอารมณ์แก้อาพาธได้
   อยู่ข้างนอกวุ่นวาย เข้าไปหาท่านจิตสงบดี เป็นอัศจรรย์ปาฏิหาริย์หลายอย่าง จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ ท่านแดดัง (พระครูทา โชติปาโล) เป็นอุปัชฌายะ เดินจงกรมภาวนาเสมอไม่ละกาล น้ำใจดี ไม่เคยโกรธขึ้นให้พระเณรอุบาสกอุบาสิกา มักจะวางสังฆทานอุทิศในสงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนาฯแก่สานุศิษย์ได้ อำนาจวางจริตเฉยๆ เรื่อยๆ ชอบดูตำราเรื่องพระพุทธเจ้า รูปร่างใหญ่ สันทัด เป็นมหานิกาย ๑๐ พรรษา จึงมาญัตติเป็นธรรมยุตฯ รักเด็ก เป็นคนภูมิใหญ่กว้างขวาง ยินดีทั้งปริยัติปฏิบัติ ลักษณะเป็นคนโบราณพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิ้น ไม่เห่อตามลาภยศสรรเสริญ อาหารชอบเห็ด ผลไม้ต่างๆ ชอบน้ำผึ้ง
ฉันเห็ดเบื่อ
   หลวงปู่เสาร์นี่ เห็ดมันเกิดขึ้นตามวัด บอกเณรไปเก็บ เณรเก็บเห็นอันนี่ไปหมกไฟให้กิน เณรก็ไปเก็บได้ประมาณเต็มถ้วยก๋วยเตี๋ยวหนึ่ง เอามาห่อหมกเสร็จแล้วก็ไปถวายหลวงปู่ หลวงปู่ก็ฉันจดหมด ทีนี้ไอ้เราพวกเณรนี่ก็ทำห่อหมก เณร ๕-๖ องค์ตักแจกกันคนละช้อนๆ ๆ ฉันอาหารยังไม่ทันอิ่มเลย สลบเหมือดทั้ง ๖ องค์ ทีนี่ อุ๊ย! เณรเป็นอะไรๆ ถามมันดูซิว่ามันเป็นอะไร เณรก็กินเห็ดเบื่อ รู้ว่าเห็ดเบื่อทำไมถึงไปกินล่ะ ท่านอาจารย์พากิน ข้าไม่ได้กินเห็ดเบื่อ ถ้าข้ากินเห็ดเบื่อข้าก็เมาตายสิ หลวงปู่เสาร์ฉันเป็นชามนั่งยิ้มเฉย แต่เณรฉันคนละช้อนฉันข้าวยังไม่อิ่มเลยสลบเหมือดไปเลย อันนี้จิตของเรานี่มันปรุงแต่งได้ จะให้มันแพ้หรือมันชนะมันก็ทำได้
หลวงปู่เสาร์แก้สัญญาวิปลาสให้หลวงปู่มั่น แก้สัญญาวิปลาสจนสำเร็จเป็นอัศจรรย์
   ท่านอาจารย์เสาร์ มีเมตตาแก่สัตว์เป็นมหากรุณาอย่างยิ่ง วางเป็นกลาง เยือกเย็นที่สุด เมตตาของท่านสดใส เห็นปาฏิหาริย์ของท่านสมัยขุนบำรุงบริจาคที่ดิน และไม้ทำสำนักแม่ขาวสาริกา วัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
   แก้สัญญาวิปลาสท่านอาจารย์มั่นกับท่านเจ้าคุณหนูวัดสระปทุมในสมัยนั้น จนสำเร็จเป็นอัศจรรย์ เรียกว่าเป็นพ่อพระกรรมฐานภาคอีสาน นี้ท่านอาจารย์เสาร์เล่าให้ฟัง สมัยที่เรา (หลวงปู่หลุย) อยู่กับท่านเดินธุดงค์ไปด้วย ท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจก กับปรารถนาเป็นสาวกสำเร็จอรหันต์ในศาสนาสมณโคดมพุทธเจ้าของเรา ท่านอาจารย์มั่นเคารพท่านอาจารย์เสาร์มากที่สุด เพราะเป็นเณรของท่านมาแต่ก่อน ท่านมักเรียกท่านอาจารย์มั่นเป็นสรรพนามว่า "เจ้าๆ ข้อยๆ"
(คัดมาจากหนังสือประวัติหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร)
นั่งสมาธิตัวลอยขึ้น... ลืมตาขึ้นดูตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง
   ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นไปอย่างเรียบๆ และเยือกเย็นน่าเลื่อมใสมาก ที่มีแปลกอยู่บ้างก็เวลาท่านเข้าที่นั่งสมาธิตัวของท่านชอบลอยขึ้นเสมอ บางครั้งตัวท่านลอยขึ้นไปจนผิดสังเกต เวลาท่านนั่งสมาธิอยู่ ท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะนั้นว่า "ตัวเราถ้าจะลอยขึ้นจากพื้นแน่ๆ" เลยลืมตาขึ้นดูตัวเอง ขณะนั้นจิตท่านถอนออกจากสมาธิพอดี เพราะพะวักพะวงกับเรื่องตัวลอย ท่านเลยตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน ความจริงตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นจริงๆ สูงประมาณ ๑ เมตร ขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิตท่านถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติพอยับยั้งไว้บ้าง จึงทำให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง เช่นเดียวกับสิ่งต่างๆ ตกลงจากที่สูง ในคราวต่อไปเวลาท่านนั่งสมาธิ พอรู้สึกว่าตัวท่านลอยขึ้นจากพื้น ท่านพยายามทำสติให้อยู่ในองค์ของสมาธิแล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้นดูตัวเอง ก็ประจักษ์ว่าตัวท่านลอยขึ้นจริงๆ แต่ไม่ได้ตกลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านมิได้ปราศจากสติ และคอยประคองใจให้อยู่ในองค์สมาธิ ท่านจึงรู้เรื่องของท่านได้ดี ท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนอยู่มาก แม้จะเห็นด้วยตาแล้วท่านยังไม่แน่ใจ ต้องเอาวัตถุชิ้นเล็กๆ ขึ้นไปเหน็บไว้บนหญ้าหลังกุฏิ แล้วกลับมาทำสมาธิอีก พอจิตสงบ และตัวเริ่มลอยขึ้นไปอีก ท่านพยายามประคองจิตให้มั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่ท่านนำขึ้นไปเหน็บไว้ แล้วค่อยๆ เอื้อมมือจับด้วยความมีสติ แล้วนำวัตถุนั้นลงมาโดยทางสมาธิภาวนา คือพอหยิบได้วัตถุนั้นแล้วก็ค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อยๆ ลงมาถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับให้จิตถอนจากสมาธิจริงๆ เมื่อได้ทดลองจนเป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงเชื่อตัวเองว่า ตัวท่านลอยขึ้นได้จริงในเวลาเข้าสมาธิในบางครั้ง แต่มิได้ลอยขึ้นเสมอไป นี้เป็นจริตนิสัยแห่งจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ รู้สึกผิดกับนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่มากในปฏิปทาทางใจ
   จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นไปอย่างเรียบๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่างๆ และความรู้แปลกๆ เหมือนจิตท่านพระอาจารย์มั่น
(คัดมาจากหนังคือ ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต)
หลวงปู่เสาร์เคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
เวลาเร่งความเพียรใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม
   ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญพอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกและเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้ อีกประการหนึ่ง ที่ท่านกลับความปรารถนาได้สำเร็จตามใจนั้น คงอยู่ในขั้นพอแก้ไขได้ ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิแท้
หลวงปู่เสาร์เป็นคนพูดน้อย
เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ
   เวลาท่านพระอาจารย์มั่นออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานทางภาคอีสาน ตามจังหวัดต่างๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลกๆ ต่างๆ กวนใจเหมือนท่านอาจารย์มั่น เวลาจำเป็นต้องเทศน์ท่านก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์ซึ่งพอจับใจความได้ว่า "ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่าที่ได้มีวาสนามาเกิดเป็นมนุษย์" และ "เราเกิดเป็นมนุษย์มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ" แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิโดยไม่สนใจกับใครต่อไปอีก ปกตินิสัยของท่านเป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒-๓ ประโยค เวลานั่งก็ทนทานนั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง เดินก็ทำนองเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทางของท่านมีความสง่าผ่าเผยน่าเคารพเลื่อมใสมาก มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเย็นใจไปหลายวัน ประชาชน และพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านอาจารย์มั่น .
หลวงปู่เสาร์สอนทำอะไรให้เป็นเวลา
ให้ทำวัตร นอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓
   ท่านอาจารย์หลวงปู่เสาร์นี้ท่านเป็นสาวกแบบชนิดที่ว่าเป็นพระประเสริฐ ท่านสอนธรรมนี้ท่านไม่พูดมาก ท่านชี้บอกว่าให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ แต่การปฏิบัติของท่านนี้ ท่านเอาการปฏิบัติแทนการสอนด้วยปาก ผู้ที่ไปอยู่ในสำนักท่าน ก่อนอื่นท่านจะสอนให้ทำวัตร นอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ นี้ข้อแรกต้องทำให้ได้ก่อน บ้างทีก็ลองเรียนถามท่าน หลวงปู่ทำไมสอนอย่างนี้ การนอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ฉันเป็นเวลา อาบน้ำเข้าห้องน้ำเป็นเวลา มันเป็นอุบายสร้างพลังจิต แล้วทำให้เรามีความจริงใจ ทีนี้นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ได้ทำอย่างนี้ แม้แต่นักสะกดจิต เขาก็ยังยึดหลักอันนี้ มันมีอยู่คำหนึ่งที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ไม่เคยลืมหลักปฏิบัติที่เวลาไปปฏิบัติท่าน ท่านจะพูดขึ้นลอยๆ ว่า "เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มันมีแต่ความคิด" ก็ถามว่า "จิตมันฟุ้งซ่านหรือไงอาจารย์" "ถ้าให้มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า" กว่าจะเข้าใจความหมายของท่านก็ใช้เวลาหลายปี ท่านหมายความว่า เวลาปฏิบัติถ้าจิตมันหยุดนิ่งก็ปล่อยให้มันหยุดนิ่งไป อย่าไปรบกวนมัน ถ้าเวลามันจะคิดก็ให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้งตัวตี .
ปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

ท่านสนใจเรื่องการปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โดยถ่ายเดียว
   หลวงปู่เสาร์ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ออกเดินธุดงคกรรมฐาน ปักกลดอยู่ในป่า ในดง ในถ้ำ ในเขา องค์แรกของอีสานคือหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล นัยว่าท่านออกบวชในพระศาสนา ท่านสนใจเรื่องการปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โดยถ่ายเดียว ซึ่งสหธรรมิกคู่หูของท่านก็คือ พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นคนเกิดในเมืองอุบลฯ ท่านออกเดินธุดงค์ร่วมกัน หลวงปู่เสาร์ตามปกติท่านเป็นพระที่เทศน์ไม่เป็น แต่ปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดูเป็นตัวอย่าง
เดินจงกรมแข่งหลวงปู่เสาร์
   สมัยที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) เป็นเณรอยู่ใกล้ๆ ท่าน ถ้าวันไหนเราคิดว่าจะเดินจงกรมแข่งกับท่านอาจารย์ใหญ่ วันนั้นท่านจะเดินจงกรมไม่หยุด จนกว่าเราหยุดนั่นแหละท่านจึงจะหยุด ท่านจะไม่ยอมให้เราชนะท่าน เวลาท่านสอน สอนสมาธิ ถ้ามีใครถามว่า ส่วนใหญ่คนอีสานก็ถามแบบภาษาอีสาน "อยากปฏิบัติสมาธิเฮ็ดจั๋งได๋ญ่าท่าน" "พุทโธสิ" "ภาวนาพุทโธแล้วมันจะได้อีหยังขึ้นมา" "อย่าถาม" "พุทโธแปลว่าจั๋งได๋" "ถามไปหาสิแตกอีหยัง ยั้งว่าให้ภาวนา พุทโธ ข้าเจ้าให้พูดแค่นี้" แล้วก็ไม่มีคำอธิบาย ถ้าหากว่าใครเชื่อตามคำแนะนำของท่าน ไปตั้งใจภาวนาพุทโธ จริงๆ ไม่เฉพาะแต่เวลาเราจะมานั่งอย่างเดียว ยืน เดิน นั่น นอน รับประทาน ดื่ม ทำ ใจนึกพุทโธไว้ให้ตลอดเวลา ไม่ต้องเลือกว่าเวลานี้จะภาวนาพุทโธ เวลานี้เราจะไม่ภาวนาพุทโธ ท่านสอนให้ภาวนาทุกลมหายใจ
ทำไมหลวงปู่เสาร์สอนภาวนาพุทโธ
เพราะพุทโธเป็นกริยาของใจ
   หลวงพ่อ (พุธ ฐานิโย) เลยเคยแอบถามท่านว่าทำไมจึงต้องภาวนา พุทโธ ท่านก็อธิบายให้ฟังว่าที่ให้ภาวนาพุทโธนั้น เพราะพุทโธ เป็นกิริยาของใจ ถ้าเราเขียนเป็นตัวหนังสือเราจะเขียน พ – พาน – สระ – อุ – ท – ทหาร สะกด โอ ตัว ธ – ธง อ่านว่า พุทโธ อันนี้เป็นเพียงแต่คำพูด เป็นชื่อของคุณธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตภาวนาพุทโธแล้วมันสงบวูบลงไปนิ่งสว่างรู้ตื่นเบิกบาน พอหลังจากคำว่า พุทโธ มันก็หายไปแล้ว ทำไมมันจึงหายไป เพราะจิตมันถึงพุทโธแล้ว จิตกลายเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะ เกิดขึ้นในจิตของท่านผู้ภาวนา พอหลังจากนั้นจิตของเราจะหยุดนึกคำว่าพุทโธ แล้วก็ไปนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ ยังแถมมีปีติ มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก อันนี้มันเป็นพุทธะ พุทโธ โดยธรรมชาติเกิดขึ้นที่จิตแล้ว พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิตมันใกล้กับความจริง แล้วทำไมเราจึงมาพร่ำบ่น พุทโธๆ ๆ ในขณะที่จิตเราไม่เป็นเช่นนั้น ที่เราต้องมาบ่นว่า พุทโธนั่นก็เพราะว่า เราต้องการจะพบพุทโธ ในขณะที่พุทโธยังไม่เกิดขึ้นกับจิตนี้ เราก็ต้องท่อง พุทโธๆ ๆ ๆ เหมือนกับว่าเราต้องการจะพบเพื่อนคนใดคนหนึ่ง เมื่อเรามองไม่เห็นเขาหรือเขายังไม่มาหาเรา เราก็เรียกชื่อเขา ทีนี้เมื่อเขามาพบเราแล้ว เราได้พูดจาสนทนากันแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเรียกชื่อเขาอีก ถ้าขืนเรียกซ้ำๆ เขาจะหาว่าเราร่ำไร ประเดี๋ยวเขาด่าเอา
   ทีนี้ในทำนองเดียวกันในเมื่อเรียก พุทโธๆ ๆ เข้ามาในจิตของเรา เมื่อจิตของเราได้เกิดเป็นพุทโธเอง คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราก็หยุดเรียกเอง ทีนี้ถ้าหากว่าเรามีความรู้สึกอันหนึ่งแทรกขึ้นมา เอ้า ควรจะนึกถึงพุทโธอีก พอเรานึกขึ้นมาอย่างนี้สมาธิของเราจะถอนทันที แล้วกิริยาที่จิตมันรู้ ตื่น เบิกบานจะหายไป เพราะสมาธิถอน
   ทีนี้ตามแนวทางของครูบาอาจารย์ที่ท่านแนะนำพร่ำสอน ท่านจึงให้คำแนะนำว่า เมื่อเราภาวนาพุทโธไปจิตสงบวูบลงนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านก็ให้ประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติอย่างนั้น ถ้าเราสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป จิตของเราจะค่อยสงบ ละเอียดๆ ๆ ลงไป ในช่วงเหตุการณ์ต่างๆ มันจะเกิดขึ้น ถ้าจิตส่งกระแสออกนอกเกิดมโนภาพ ถ้าวิ่งเข้ามาข้างในจะเห็นอวัยวะภายในร่างกายทั่วหมด ตับ ไต ไส้ พุง เห็นหมด แล้วเราจะรู้สึกว่ากายของเรานี่เหมือนกับแก้วโปร่ง ดวงจิตที่สงบ สว่างเหมือนกับดวงไฟที่เราจุดไว้ในพลบครอบ แล้วสามารถเปล่งรัศมีสว่างออกมารอบๆ จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป จนกระทั่งว่ากายหายไปแล้วจึงจะเหลือแต่จิตสว่างไสวอยู่ดวงเดียวร่างกายตัวตนหายหมด ถ้าหากจิตดวงนี้มีสมรรถภาพพอที่จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรได้ จิตจะย้อนกายลงมาเบื้องล่าง เห็นร่างกายตัวเองนอนตายเหยียดยาวอยู่ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป TOP.
หลักปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ให้ไว้
อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้าง ตามโคนต้นไม้บ้าง
   พระบูรพาจารย์ของเรา เราถือว่าพระอาจารย์เสาร์ กตนฺสีโล เป็นพระอาจารย์องค์แรก และเป็นผู้นำหมู่คณะลูกศิษย์ลูกหา ออกเดินธุดงคกรรมฐาน ชอบพักพิงอยู่ตามป่าตามที่วิเวก อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้างตามโคนต้นไม้บ้าง และท่านอาจารย์มั่นก็เป็นอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์ หลวงพ่อสิงห์ ขนฺตยาคโม ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์สิงห์เปรียบเสมือนหนึ่งว่าเป็นเสนาธิการใหญ่ของกองทัพธรรม ได้นำหมู่คณะออกเดินธุดงค์ไปตามราวป่าตามเขา อยู่อัพโภกาส อยู่ตามโคนต้นไม้ อาศัยอยู่ตามถ้ำ พักพิงอาศัยอยู่ในราวป่าห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร การธุดงค์ของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์จะไม่นิยมที่จะไปปักกลดอยู่ตามละแวกบ้าน ตามสนามหญ้า หรือตามบริเวณโรงเรียน หรือใกล้ๆ กับถนนหนทางในที่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมชน ท่านจะออกแสงหาวิเวกในราวป่าห่างไกลกันจริงๆ
   บางทีไปอยู่ในป่าเขาที่ไกล ตื่นเช้าเดินจากที่พักลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว กลับไปถึงที่พักเป็นเวลา ๑๑.๐๐ น. หรือ ๕ โมงก็มี อันนี้คือหลักการปฏิบัติของพระธุดงคกรรมฐานในสายพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งบางทีอาจจะผิดแผกจากพระธุดงค์ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งไปปักกลดอยู่ตามสนามหญ้า หรือตามสถานีรถไฟ ตามบริเวณโรงเรียนหรือศาลเจ้าต่างๆ พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ ไม่นิยมทำเช่นนั้น ไปธุดงค์ก็ต้องไปป่ากันจริงๆ ที่ใดซึ่งมีอันตรายท่านก็ยิ่งไปเพื่อเป็นการทดสอบความสามารถของตัวเอง และเป็นการฝึกฝนลูกศิษย์ลูกหาให้มีความกล้าหาญเผชิญต่อภัยของชีวิต ตะล่อมจิตให้ยึดมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่วแน่
   เมื่อไปในสถานที่ที่คิดว่ามีอันตราย ไปอยู่ในที่ห่างไกลพี่น้อง เพื่อนฝูงหสธรรมิกก็ไปอยู่บริเวณที่ห่างๆ กัน ในเมื่อจิตใจเกิดความหวาดกลัวภัยขึ้นมา จิตใจก็วิ่งเข้าสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะอย่างเหนียวแน่น เพราะในขณะนั้นไม่มีใครอีกแล้วที่จะเป็นเพื่อนตาย ดังนั้น ท่านจึงมีอุบายให้ไปฝึกฝนอบรมตัวเอง ฝึกฝนอบรมบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ผู้ติดตาม ในสถานที่วิเวกห่างไกลเต็มไปด้วยภัยอันตราย เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหามีความกล้าหาญชาญชัย ในการที่จะเสียสละเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อบูชาพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง การฝึกฝนอบรมหรือการอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์ดังกล่าวนั้น ท่านยึดหลักที่จะพึงให้ลูกศิษย์ปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันดังนี้
   ท่านจะสอนให้พวกเราประกอบความเพียรดังกล่าวตั้งแต่หัวค่ำ จนกระทั่วเวลา ๔ ทุ่ม พอถึง ๔ ทุ่มแล้วก็จำวัดพักผ่อนตามอัธยาศัย พอถึงตี ๓ ท่านก็เตือนให้ลุกขึ้นมาบำเพ็ญเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาหรือทำวัตรสวดมนต์ก็ตามแต่ที่จะถนัด แต่หลักที่ท่านยึดเป็นหลักที่แน่นอนที่สุดก็คือว่าในเบื้องต้นท่านจะสอนให้ลูกศิษย์หัดนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ ในขณะที่ยังไม่ได้นอนหรือตื่นขึ้นมาแล้วก็ทำกิจวัตร มีการสวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ท่านก็จะสอนให้ทำอย่างนี้ อันนี้เป็นหลักสำคัญที่ท่านจะรีบเร่งอบรมสั่งสอน และฝึกลูกศิษย์ให้ทำให้ได้ ถ้าหากยังทำไม่ได้ท่านก็ยังไม่อบรมสั่งสอนธรรมะส่วนละเอียดขึ้นไป เพราะอันนี้เป็นการฝึกหัดดัดนิสัยให้มีระเบียบ นอนก็มีระเบียบ ตื่นก็มีระเบียบ การฉันก็ต้องมีระเบียบ คือฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร บิณฑบาตฉันเป็นวัตร อันนี้เป็นข้อวัตรที่ท่านถือเคร่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อฉันในบาตร ฉันหนเดียว อันนี้ท่านยึดเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติกรรมฐานเลยทีเดียว TOP.
หลักสมถวิปัสสนาของหลวงปู่เสาร์
พิจารณากายแยกออกเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
   หลักการสอนท่านก็สอนในหลักของสมถวิปัสสนา ดังที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วนั้น แต่ท่านจะเน้นหนักในการสอนให้เจริญพุทธคุณเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเจริญพุทธคุณจนคล่องตัวจนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณากายคตาสติ เมื่อสอนให้พิจารณากายคตาสติ พิจารณาอสุภกรรมฐาน จนคล่องตัวจนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน ให้พิจารณากายแยกออกเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วก็พยายามพิจารณาว่าในร่างกายของเรานี้ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้น หาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ในเมื่อฝึกฝนอบรมให้พิจารณาจนคล่องตัว จิตก็จะมองเห็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน คือเห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตน เป็นอนัตตาทั้งนั้น จะว่ามีตัวมีตนในเมื่อแย่ออกไปแล้ว มันก็มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี แต่อาศัยความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีปฏิสนธิ จิตปฏิสนธิวิญญาณมายึดครองอยู่ในร่างอันนี้ เราจึงสมมติบัญญัติว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
   อันนี้เป็นแนวการสอนของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์สิงห์ การพิจารณาเพียงแค่ว่าพิจารณากายคตาสติก็ดี พิจารณาธาตุกรรมฐานก็ดี ตามหลักวิชาการท่านว่าเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐาน แต่ท่านก็ย้ำให้พิจารณาอยู่ในกายคตาสติกรรมฐานกับธาตุกรรมฐานนี้เป็นส่วนใหญ่ ที่ท่านย้ำๆ ให้พิจารณาอย่างนั้น ก็เพราะว่าทำให้ภูมิจิตภูมิใจของนักปฏิบัติก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้เร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณากายคตาสติ แยกผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ออกเป็นส่วนๆ เราจะมองเห็นว่าในกายของเรานี้ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน มันเป็นแต่เพียง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเท่านั้น ถ้าว่ากายนี้เป็นตัวเป็นตน ทำไมจึงจะเรียกว่าผม ทำไมจึงจะเรียกว่าขน ทำไมจึงจะเรียกว่าเล็บ ว่าฟัน ว่าเนื้อ ว่าเอ็น ว่ากระดูก ในเมื่อแยกออกไปเรียกอย่างนั้นแล้ว มันก็ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นอกจากนั้นก็จะมองเห็นอสุภกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกน่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตน แล้วพิจารณาบ่อยๆ พิจารณาเนืองๆ จนกระทั่งจิตเกิดความสงบ สงบแล้วจิตจะปฏิวัติตัวไปสู่การพิจารณาโดยอัตโนมัติ ผู้ภาวนาก็เริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของร่างกายอันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณากายแยกออกเป็นส่วนๆ ส่วนนี้เป็นดิน ส่วนนี้เป็นน้ำ ส่วนนี้เป็นลม ส่วนนี้เป็นไฟ เราก็จะมองเห็นว่าร่างกายนี้สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ก็ทำให้จิตของเรามองเห็นอนัตตาได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการเจริญกายคตาสติก็ดี การเจริญธาตุกรรมฐานก็ดี จึงเป็นแนวทางให้จิตดำเนินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้
   และอีกอันหนึ่งอานาปานสติ ท่านก็ยึดเป็นหลักการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมฐานอานาปานสติ การกำหนดพิจารณาลมหายใจนั้น จะไปแทรกอยู่ทุกกรรมฐาน จะบริกรรมภาวนาก็ดี จะพิจารณาก็ดี ในเมื่อจิตสงบลงไป ปล่อยวางอารมณ์ที่พิจารณาแล้ว ส่วนใหญ่จิตจะไปรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ในเมื่อจิตตามรู้ลมหายใจเข้าออก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เป็นปกติ จิตเอาลมหายใจเป็นสิ่งรู้ สติเอาลมหายใจเป็นสิ่งระลึก ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามปกติของร่างกาย เมื่อสติไปจับอยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจก็เป็นฐานที่ตั้งของสติ ลมหายใจเป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยกาย สติไปกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก จดจ่ออยู่ที่ตรงนั้น วิตกถึงลมหายใจ มีสติรู้พร้อมอยู่ในขณะนั้น จิตก็มีวิตกวิจารอยู่กับลมหายใจ เมื่อจิตสงบลงไป ลมหายใจก็ค่อยละเอียดๆ ลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดลมหายใจก็หายขาดไป เมื่อลมหายใจหายขาดไปจากความรู้สึก ร่างกายที่ปรากฏว่ามีอยู่ก็พลอยหายไปด้วย ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าลมหายใจยังไม่หายขาดไปกายก็ยังปรากฏอยู่ เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปข้างใน จิตจะไปสงบนิ่งอยู่ท่ามกลางของกาย แล้วก็แผ่รัศมีออกมารู้ทั่วทั้งกาย จิตสามารถที่จะมองเห็นอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้หมดทั้งตัว เพราะลมย่อมวิ่งเข้าไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลมวิ่งไปถึงไหนจิตก็รู้ไปถึงนั่น ตั้งแต่หัวจรดเท้า ตั้งแต่เท้าจรดหัว ตั้งแต่แขนซ้ายแขนขวา ขาขวาขาซ้าย เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปแล้ว จิตจะรู้ทั่วกายหมด ในขณะใดกายยังปรากฏอยู่ จิตสงบอยู่ สงบนิ่ง รู้สว่างอยู่ในกาย วิตก วิจาร คือจิตรู้อยู่ภายในกาย สติก็รู้พร้อมอยู่ในกาย ในอันดับนั้นปีติและความสุขย่อมบังเกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขบังเกิดขึ้น จิตก็เป็นหนึ่ง นิวรณ์ ๕ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็หายไป จิตกลายเป็นสมถะ มีพลังพอที่จะปราบนิวรณ์ ๕ ให้สงบระงับไป ผู้ภาวนาก็จะมองเห็นผลประโยชน์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น
...เมื่อออกพรรษาทุกปี หลวงปู่เสาร์จะพาออกธุดงค์ลงไปทางใต้นครจำปาศักดิ์ หลี่ผี ปากเซ ฝั่งประเทศลาว แล้วก็ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุอีกทุกปี เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๘๓ มีอยู่วันหนึ่งตอนบ่าย หลวงปู่เสาร์นั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ พอดีขณะนั้นมีเหยี่ยวตัวหนึ่งได้บินโฉบไปโฉบมา โฉบเอารังผึ้งซึ่งอยู่บนต้นไม้ที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ รวงผึ้งนั้นได้ขาดตกลงมาใกล้ๆ กับที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ ผึ้งได้รุมกัดต่อยหลวงปู่หลายตัว จนท่านถึงกับต้องเข้าไปในมุ้งกลด พวกมันจึงพากันบินหนีไป
   ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่เสาร์ก็อาพาธมาโดยตลอด พอออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ได้ไปวิเวกทางด้านปากเซ หลี่ผี จำปาศักดิ์ แต่ไปคราวนี้หลวงปู่เสาร์ป่วยหนัก ท่านจึงสั่งให้หลวงปู่บัวพา และคณะศิษย์นำท่านกลับมาที่วัดอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว โดยมาทางเรือ ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ท่านนอนบนแคร่ในเรือประทุน หลวงปู่เสาร์หลับตานิ่งมาตลอด เพราะตอนนั้นท่านกำลังอาพาธหนัก อันเกิดจากผึ้งที่ได้ต่อยท่านตอนที่อยู่จำพรรษาที่วัดดอนธาตุ เมื่อถึงนครจำปาศักดิ์แล้ว ท่านลืมตาขึ้นพูดว่า "ถึงแล้วใช่ไหม ให้นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น"
   หลวงปู่บัวพาจึงได้นำหลวงปู่เสาร์เข้าไปในอุโบสถ แล้วหลวงปู่เสาร์สั่งให้เอาผ้าสังฆาฏิมาใส่ แล้วเตรียมตัวเข้านั่งสมาธิ ท่านกราบพระ ๓ ครั้ง พอกราบครั้งที่ ๓ ท่านนิ่งงันโดยไม่ขยับเขยื้อน นานเท่านานจนผิดสังเกต หลวงปู่บัวพา และหลวงปู่เจี๊ยะ จนฺโท ซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ เอามือมาแตะที่จมูกท่าน ปรากฏว่าท่านหมดลมหายใจแล้ว ไม่ทราบว่าหลวงปู่เสาร์ท่านมรณภาพไปเวลาใด แต่พอสันนิษฐานได้ว่า ท่านมรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบ ท่านจึงพูดขึ้นกับหมู่คณะ (ซึ่งตอนนั้นมีพระเถระผู้ใหญ่ และพระเณรมานั่งดูอาการป่วยของหลวงปู่เสาร์) ว่า "หลวงปู่ได้มรณภาพแล้ว"
   ข่าวการมรณภาพ ก็แพร่กระจายไปเรื่อยๆ จนทางบ้านเมือง ญาติโยม พระเณร ชาวนครจำปาศักดิ์ขอทำบุญอยู่ ๓ วัน เพื่อบูชาคุณขององค์หลวงปู่ พอวันที่ ๔ บรรดาพระเถระ ญาติโยมชาวอุบลฯ จึงได้มาอัญเชิญศพขององค์หลวงปู่ไปวัดบูรพาราม จังหวัดอุบลฯ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์เคยอยู่มาก่อน ปีที่หลวงปู่เสาร์มรณภาพคือปี พ.ศ.๒๔๘๔ (วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ อายุ ๘๒ ปี ๓ เดือน ๑ วัน)
   ออกพรรษาแล้ว ปี พ.ศ.๒๔๘๖ จึงได้จัดพิธีถวายเพลิงศพของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในงานนี้หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาเป็นประธาน แต่ผู้ดำเนินงานคือพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ในวันถวายเพลิงศพนอกจากศพของหลวงปู่เสาร์แล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่อีก ๓ รูป ที่มีการฌาปนกิจในวันเดียวกันคือ ๑. ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตโสโน) ๒. พระมหารัฐ รฏฐปาโล ๓. พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) รวมเป็น ๔ กับองค์หลวงปู่เสาร์ วันเช่นนี้นี่จึงเป็นวันที่มีการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี
      แต่นี้จะไกลห่าง เหลือเพียงร่างร้างชีวา
      สุดสิ้นแห่งสังขาร สลายลับดับตามกาล
      สิ้นชีพก็สิ้นห่วง บรรลุล่วงห้วงนิพพาน
      สุขใดไหนจักปาน เปรียบสุขนี้ไม่มีเลย...
ขอนอบน้อมกราบบูชาธรรมแห่งดวงอรหันต์ (จากหนังสือฐานิโยวาท)


#35

เกร็ดประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต



ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
   ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปลี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะการแสวงหาธรรมและปฏิปทา

   เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ

   ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า "เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก" คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ

   ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์ ท่านได้ศึกษา ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป

   เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลเป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ

   ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง หุบเขาซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับ เจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงโตห์ ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสนาแก่้สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอีสาน


   ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคระาห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบันคือ อำเภอโคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
๑.ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒.บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
๓.เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด
๔.เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลา แม้อาพาธหนักในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยว แสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ภาเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้
ธรรมโอวาท

คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำ
ด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้

๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า "แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่" ดังนี้

เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจทางถูก และ ละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้วได้กล่าวเป็นคติขึ้นว่า "เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถืกดงเสือฮ้าย" ดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาท ของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดย ยึดหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลาย ท่านแสดงเอาแต่ใจความว่า..

การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง......

นี้แล คือ คำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า การไม่ทำบาป...ถ้าทางกายไม่ทำ แต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำสั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไป จนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือ สั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลธรรม และ คอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศีลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์

ท่านพระอาจารย์มั่น แสดงโอวาทธรรม ให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระประทุม (ปัจจุบัน คือ วัดประทุมวนาราม) กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน อาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้

นมตฺถุ สุคตสฺส ปญฺจธฺนกฺขนฺธานิ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสุคต บรมศาสดาศากยะมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระ อริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น

บัดนี้ ข้าพเจ้ากล่าวซึ่งธรรมขันธ์ โดยสังเขปตามสติปัญญา

ยังมีท่านคนหนึ่ง รักตัว คิดกลัวทุกข์ อยากได้สุข พ้นภัย เที่ยวผายผัน เขาบอกว่า สุขมีที่ไหน ก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมา อยู่ช้านานนิสัยท่านนั้น รักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตายวันหนึ่ง ท่านรู้จริงซึ่ง สมุทัย พวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำ สนุก สุขไม่หาย เปรียบเหมือนดัง กายนี้เองชะโงกดูถ้ำสนุก ทุกข์คลาย แสนสบาย รู้ตัว เรื่องกลัวนั้นเบา ดำเนินไป เมินมา อยู่หน้าเขา

จะกลับไป ป่าวร้อง พวกพ้องเล่าก็กลัวเขาเหมา ว่าเป็นบ้า เป็นอันจบเรื่องคิด ไม่ติดต่อดีกว่าเที่ยวรุ่มร่าม ทำสอพลอ เดี๋ยวถูกยอ ถูกติ เป็นเรื่อง เครื่องรำคาญ

ยังมี บุรุษ คนหนึ่ง คิดกลัวตาย น้ำใจฝ่อมาหาแล้ว พูดตรงๆ น่าสงสารถามว่า ท่านพากเพียรมา ก็ช้านาน เห็นธรรมที่จริง แล้วหรือยัง ที่ใจหวังเอ๊ะ ทำไม จึงรู้ใจฉันบุรุษผู้นั้น ก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดี ดีฉันอนุโมทนาจะพาดูเขาใหญ่ ถ้ำสนุก ทุกข์ไม่มี คือ กายคตา สติ ภาวนาชมเล่นให้เย็นใจ หายเดือดร้อน หนทางจรอริยวงศ์ จะไป หรือไม่ไป ฉันไม่เกณฑ์ไม่หลอกเล่น บอกความ ให้ตามจริงแล้วกล่าวปริศนาท้าให้ตอบ

ปริศนานั้นว่า ระวิ่ง คืออะไร ตอบว่า วิ่งเร็ว คือ วิญญาณ อาการใจเดินเป็นแถว ตามแนวกันสัญญาตรง น่าสงสัย ใจอยู่ใน วิ่งไปมา สัญญาเหนี่ยวภายนอก หลอกลวงจิตทำให้จิตวุ่นวาย เที่ยวส่ายหา หลอกเป็นธรรมต่างๆ อย่างมายา

ถามว่า ห้าขันธ์ ใครพ้น จนทั้วปวงแก้ว่า ใจซิพ้น อยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติด สิ้นพิศวงหมดที่หลง อยู่เดียวดวงสัญญาทะลวงไม่ได้ หมายหลงตามไป
ถามว่า ที่ตาย ใครเขาตาย ที่ไหนกัน
แก้ว่า สังขารเขาตาย ทำลายผล

ถามว่า สิ่งใดก่อ ให้ต่อวน
แก้วว่ากลสัญญา พาให้เวียน เชื่อสัญญาจึงผิด คิดยินดี ออกจากภพนี้ ไปภพนั้น เที่ยวหันเหียน เลยลืมจิต จำปิด สนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรม ก็ไม่เห็น

ถามว่า ใครกำหนด ใครหมาย เป็นธรรม
แก้ว่า ใจกำหนด ใจหมาย เรื่องหา เจ้าสัญญา นั่นเอง คือว่าดี ว่าชั่ว ผลักจิต ติดรักชัง

ถามว่า กินหนเดียว เที่ยวไม่กิน
แก้ว่า สิ้นอยากดู ไม่รู้หวัง ในเรื่องเห็นต่อไป หายรุงรัง ใจก็นั่งแท่นนิ่ง ทิ้งอาลัย

ถามว่า สระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยน้ำ
แก้ว่า ธรรมสิ้นอยาก จากสงสัย ใสสะอาดหมดราคี ไม่มีภัย สัญญาในนั้น พรากสังขารขันธ์นั้น ไม่ถอน ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ ไม่มีพร่อง เงียบสงัด ดวงจิต ไม่คิดปอง เป็นของควรชมชื่น ทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์ สักสิบแสน หากแม้นรู้จริง ทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่ง สิ่งสำคัญ จำส่วนจำ กั้นอยู่ ไม่ก้ำเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้น หายดิ้นรน
เหมือนอย่างว่า กระจกส่องหน้า ส่องแล้ว อย่าคิด ติดปัญญา เพราะว่า สัญญานั้น ดังเงา อย่าได้เมา ไปตามเรื่อง เครื่องสังขาร ใจขยัน จับใจ ที่ไม่บ่น ไหวส่วนตน รู้แน่ เพราะแปรไป ใจไม่เที่ยวของใจ ใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้า ต่างชนิด เมื่อจิตไหว แต่ก่อนนั้น หลงสัญญา ว่าเป็นใจ สำคัญว่าใน ว่านอก จึงหลอกลวง คราวนี้ ใจเป็นใหญ่ ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่ง สัญญาใด มิได้หวังเกิดก็ตาม ดับก็ตาม สิ่งทั้งปวง ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกันหมู่สัญญา เหมือนยืนบน ยอดเขาสูงแท้ แลเห็นดิน แลเห็นสิ้น ทุกตัวสัตว์ แต่ว่า สูงยิ่งนักแลเห็นเรื่องของตน แต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้น เช่นบันได
ถามว่า น้ำขึ้นลง ตรงสัจจา นั้นหรือ? ตอบว่ าสังขารแปร ก็ไม่ได้ธรรมดากรรม แต่ไม่แกล้งใคร ขืนผลักไส จับต้อง ก็หมองมัวชั่วในจิต ไม่ต้องคิด ผิดธรรมดา สภาพสิ่ง เป็นจริง ดีชั่วตามแต่ เรื่องของเรื่อง เปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขาร เป็นการเย็นรู้จักจริง ต้องทิ้งสังขาร เมื่อผันแปร เมื่อแลเห็นเบื่อแล้ว ปล่อยได้คล่อง ไม่ต้องเกณฑ์ ธรรมก็ใจ เย็นใจ ระงับดับสังขารรับอาการ
ถามว่า ห้าหน้าที่ มีครบครันแก้ว่า ขันธ์ แย่งแยก แจกห้าฐานเรื่องสังขาร ต่างกอง รับหน้าที่ มีกิจการจะรับงานอื่น ไม่ได้ เต็มในตัวแม้ลาภยศสรรเสริญ เจริญสุข นินทาทุกข์ เสื่อมยศ หมดลาภทั่วรวมลง ตามสภาพ ตามเป็นจริง ทั้ง ๘ สิ่ง ใจไม่หัน ไปพัวพันเพราะว่า รูปขันธ์ ก็ทำแก้ไข มิได้ถ้วนนาม ก็มิได้พัก เหมือนจักรยนต์ เพราะรับผลของกรรม ที่ทำมาเรื่องดี ถ้าเพลิดเพลิน เจริญใจ เรื่องชั่วขุ่น วุ่นจิต คิดไม่หยุดเหมือนไฟจุด จิตหมอง ไม่ผ่องใส นึกขึ้นเอง ทั้งรัก ทั้งโกรธ ไม่โทษใครอยากไม่แก่ ไม่ตาย ได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัย จะได้เชยเช่น ไม่อยากให้จิต เที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่ง หวังพึ่งเฉยจิตเป็นของผันแปร ไม่แน่เลย สัญญาเคย อยู่ได้บ้าง เป็นครั้งคราวถ้ารู้เท่า ธรรมดา ทั้งห้าขันธ์ ใจนั้น ก็ขาวสะอาด หมดมลทิล สิ้นเรื่องราว

ถ้ารู้ได้ อย่างนี้ จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริง ถอนหลุด สุดวิธีไม่ฝ่าฝืนธรรมดา ตามเป็นจริง จะจน จะมี ตามเรื่อง เครื่องนอกในดีหรือชั่ว ต้องดับ เลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ ตามใจหมาย ในไม่เที่ยว ของใจ ไหววะวับ สังเกตจับ รู้ได้สบายยิ่งเล็กบังใหญ่ ไม่รู้ทัน ขันธ์บังธรรมไม่เห็น เป็นธุลีไปส่วนธรรม มีใหญ่กว่าขันธ์ นั้นไม่แล

ถามว่า-มี-ไม่มี ไม่มีนี้ คืออะไร? ที่นี้ติดหมด คิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัด ทั้งอรรถแปล โปรดแก้เถิดที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับ ไม่มีชัด ใช่สัตว์คนนี่ข้อต้น มีไม่มี อย่างนี้ตรง ข้อปลายไม่มี มีนี้ เป็นธรรมที่ล้ำลึก ใครพบ จบประสงค์ ไม่มีสังสาร มีธรรม ที่มั่นคงนั่นแลองค์ธรรมเอก วิเวกจริงธรรมเป็นหนึ่ง ไม่แปรผัน เลิศพบ สงบนิ่งเป็นอารมณ์ของใน ไม่ไหวติง ระงับยิ่ง เงียบสงัด ชัดกับใจใจก็สร่าง จากเมา หายเร่าร้อน ความอยาก ถอนได้หมด ปลดสงสัยเรื่องพัวพัน ขันธ์ห้า ช้าสิ้นไป เครื่องหมุนไป ไตรจักร ก็หักลง ความอยาก ใหญ่ยิ่ง ก็ทิ้งหลุด ความรักหยุด หายสนิท สิ้นพิศวงร้อนทั้งปวง ก็หายหมด ดังใจ จง เชิญเถิด ชี้อีกสักอย่าง หนทางใจ สมุทัยของจิต ที่ปิดธรรมแก้ว่า สมุทัย ยิ่งใหญ่นักย่อลงคือ ความรักบีบใจ ทำลายขันธ์

ถ้าธรรมมีกับจิต เป็นนิจนิรันดร์ เป็นเลิศกัน สมุทัย มิได้มีจงจำไว้อย่างนี้ วิถีจิต ไม่ต้องคิดเวียนวน จนป่นปี้ธรรมไม่มี อยู่เป็นนิจ ติดยินดี ใจจากที่ สมุทัย อาลัยตัวว่าอย่างย่อ ทุกข์กับธรรม ประจำจิต จิตคิด รู้เห็นจริง จึงเย็นทั่วจะสุข ทุกข์เท่าไร มิได้กลัว สร่างจากเครื่องมัว คือสมุทัย ไปที่ดีรู้เท่านี้ก็จะคลาย หายความร้อน พอดักผ่อน สืบแสวงหา ทางดีจิตรู้ธรรม ลืมจิต ที่ติดธุลี ใจรู้ธรรม ที่เป็นสุข ขันธ์ทุกขันธ์ แน่ประจำใจธรรมคงเป็นธรรม ขันธ์คงเป็นขันธ์ เท่านั้นแล

คำว่าเย็นสบาย หายเดือดร้อนหมายจิตถอนจากผิด ที่ติดแก้ ส่วนสังขารขันธ์ ปราศจากสุข เป็นทุกข์แท้เพราะต้องแก่ ไข้ตาย ไม่วายวันจิตรู้ธรรมที่ล้ำเลิศ จิตก็ถอน จากผิด เครื่องเศร้าหมอง ของแสลงผิดเป็นโทษของใจ อย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้ง ธรรมผิด หมดพิษใจจิตเห็นธรรม ดีเลิศที่พ้น พบปะธรรม ปลดเปลื้อง เครื่องกระสันมีสติกับตัว บ่พัวพัน เรื่องรักขันธ์หายสิ้น ขาดยินดีสิ้นธุลีทั้งปวง หมดห่วงใย ถึงจะคิด ก็ไม่ทันห้าม ตามนิสัย เมื่อไม่ห้าม กลับไม่ฟุ้ง ยุ่งไป พึงได้รู้ ว่าบาปมีขึ้น เพราะขืนจริงตอบว่า บาปเกิดขึ้น เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตู เขลาได้ สบายยิ่งชั่วทั่งปวง เงียบหาย ไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่ง ย่อมทุกข์ ไม่สุขเลย แต่ก่อน ข้าพเจ้ามืดเขลา เหมือนเข้าถ้ำอยากเห็นธรรม ยึดใจ จะให้เฉยยึดความจำ ว่าเป็นใจ หมายจนเคย เลยเพลินเชยชม จำธรรม มานานความจำผิด ปิดไว้ ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่น ขันธ์ ๕ น่าสงสาร ให้ยกตัว ออกตน พ้นประมาณ เที่ยวระราน ติคนอื่น เป็นพื้นใจไม่ได้ผล เที่ยวดู โทษคนอื่น ขื่นใจ เหมือนก่อไฟ เผาตัว ต้องมัวมอมใครผิดถูก ดีชั่ว ก็ตัวเขา ใจของเรา เพียงระวัง ตั้งถนอมอย่าให้อกุศล วนมาตอม ควรถึงพร้อม บุญกุศล ผลสบายเห็นคนอื่นเขาชั่ว ตัวก็ดี เป็นราคียึดขันธ์ ที่มั่นหมายยึดขันธ์ ต้องร้อนแท้ ก็แก่ตาย เลยซ้ำแท้ กิเลสเข้ากลุ้ม รุมกวนเต็มทั้งรัก ทั้งโกรธ โทษประจักษ์ ทั้งหลงนัก หนักจิต คิดโทษหวนทั้งอารมณ์ การห้า ก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่าง ต่างๆ กันเพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้น ทุกข์ร้าย ไปได้เลย

ถ้ารู้โทษของตัวแล้ว อย่าช้าเฉย ดูอาการ สังขาร ที่ไม่เที่ยงร่ำไป ให้ใจเคยคงได้เชยชมธรรมอันเอก วิเวกจิต ไม่เพียงนั้น หมายใจไหว จากจำเห็นแล้วขำ ดู ดูอยู่ ไหว อารมณ์นอก ดับระงับไปหมด ปรากฏธรรม

เห็นธรรมแล้ว ย่อมหาย วุ่นวายจิต จิตนั้นไม่ติดคู่ จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้ อย่างนี้ วิธีจิต รู้เท่าที่ ไม่เที่ยง จิตต้นฟื้น ริเริ่มคงจิตเดิม อย่างเที่ยงแท้ รู้ต้นจิต พ้นจาก ผิดทั้งปวง ไม่ห่วงถ้าออกไป ปลายจิต ผิดทันทีคำที่ว่า มืดนั้น เพราะจิต คิดหวงดี จิตหวงนี้ ปลายจิต คิดออกไปจิตต้นที่ เมื่อธรรมะปรากฏ หมดสงสัย เห็นธรรมอันเกิด เลิศโลกาเรื่องจิตค้น วุ่นหามา แต่ก่อน ก็เลิกถอน เปลื้องปลด หมดได้ ไปสิ้นยังมีทุกข์ ต้องหลับนอน กับกิน ไปตามเรื่องธรรมดาของจิต ต้องคิดนึก พอรู้สึก จิตคุ้น พ้นรำคาญเงียบสงัด จากมาร เครื่องรบกวนธรรมดา สังขารปรากฏ หมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้น คงไม่มีเลยระวังใจ เมื่อจำ ทำละเอียด มันจะเบียด ให้จิต ไปติดเฉยใจไม่เที่ยงของใจ ซ้ำให้เคยเมื่อถึงเฮย หากรู้เอง เพลงของจิต เหมือนดั่งมายา ที่หลอกลวง ท่านว่า วิปัสสนูกิเลส จำแลงเพศ เหมือนดังจริง ที่แท้ ไม่ใช่จริงรู้ขึ้นเอง นามว่า ความเห็นไม่ใช่เข่น ฟังเข้าใจ ชั้นไต่ถาม ทั้งไตร่ตรอง แยกแยะ และ รูปนาม ก็ใช่ ความเห็นต้อง จงเล็งดูจิตตน พ้นรำคาญ ต้นจิต รู้ตัว ว่าสังขารเรื่องแปรปรวน ใช่ขบวนไป ดู หรือ รู้จริง อะไรรู้อยู่ เพราะหมายคู่ ก็ไม่ใช่จิตคงรู้จิตเอง เพราะเพลงไหว จิตรู้ไหว ไหวก็จิต คิดกันไปแยกไม่ได้ตามจริง สิ่งเดียวกันจิตเป็นของอาการ เรียกว่า สัญญา พาพัวพันไม่เที่ยงนั้น ก็ตัวเอง ไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมรส หมดสงสัย ขาดต้นคว้า หาเรื่อง เครื่องนอกในเรื่องจิตอยาก ก็หยุด ให้หายหิว พ้นหนักใจทั้งหลาย หายอิดโรยเหมือนฝนโปรย ใจก็เย็น ด้วยเห็นใจ ใจเย็นเพราะ ไม่ต้อง เที่ยวมองคนรู้จิต คิดปัจจุบัน พ้นหวั่นไหว ดีหรือชั่ว ทั้งปวง ไม่ห่วงใยเพราะดับไปทั้งเรื่อง เครื่องรุงรังอยู่เงียบๆ ต้นจิต ไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิต สิ้นคิดหวังไม่ต้องวุ่น ไม่ต้องวาย หายระวัง นอนหรือนั่ง นึกพ้น อยู่ต้นจิตท่านชี้มรรค ทั้งหลักแหลม ช่างต่อแต้ม กว้งขวาง สว่างใสยังอีกอย่าง ทางใจ ไม่หลุดสมุทัยขอจงโปรด ให้ชี้พิศดาร เป็นการดี

ตอบว่าสมุทัย คืออาลัยรัก เพลินยิ่งนัก ทำภพใหม่ ไม่หน่ายหนีว่าอย่างต่ำ กามคุณห้า เป็นราคี อย่างสูงชี้ สมุทัย อาลัยฌาน ถ้าจะจับ ตามวิธี มีในจิต ก็เรื่องคิด เพลินไป ในสังขารเคยทั้งปวง เพลินมา เสียช้านาน กลับเป็นการดีไป ให้เจริญจิตไปในส่วนที่ผิด ก็เลยแตกกิ่งก้าน ฟุ้งซ่านใหญ่เที่ยวเพลินไป ในผิด ไม่คิดเขิน สิ่งใดชอบอารมณ์ ก็ชมเพลินเพลินจนเกิน ลืมตัว ไม่กลัวภัย เพลินดูโทษคนอื่น ดื่นด้วยชั่วโทษของตัว ไม่เห็น เป็นไฉนโทษคนอื่น เขามาก สักเท่าไร ไม่ทำให้เรา ตกนรก เสียเลย โทษของเรา เศร้าหมอง ไม่ต้องมาก ลงวิบาก ไปตกนรก แสนสาหัสหมั่นดูโทษตนไว้ ให้ใจเคยเว้นเสียซึ่งโทษนั้นคงได้เชิญชมสุข พ้นทุกข์ภัย

เมื่อเห็นโทษตนชัด พึงตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่ง คิดมาก จากไม่ได้เรื่องอยากดี ไม่หยุด คือ สมุทัย เป็นโทษใหญ่ กลัวจะไม่ดี นี้ก็แรง ดีไม่ดี นี้เป็นผิด ของจิตนัก เหมือนไข้หนัก ถูกต้อง ของแสลง กำเริบโรค ด้วยพิษ ผิดสำแดง ธรรมไม่แจ้ง เพราะอยากดี นี้เป็นเดิม ความอยากดี มีมาก มักลากจิต ให้เที่ยวคิด วุ่นไป จนใจเหิมสรรพชั่ว มัวหมอง ก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่ม ร่ำไป ไกลจากธรรม ที่จริงชี้ สมุทัย นี้ ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างฟุ้ง ทางยุ่งยิ่งเมื่อชี้มรรค ฟังใจ ไม่ไหวติง ระงับนิ่ง ใจสงบ จบกันทีอันนี้ เชื่อว่า ขันธะวิมุติสมังคีธรรมประจำอยู่กับที่ ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมาสภาวธรรมที่เป็นจริง สิ่งเดียวเท่านั้น และไม่มีเรื่อง จะแวะะเวียนสิ้นเนื้อความ แต่เพียงเท่านี้ผิดหรือถูก จงใช้ปัญญาตรองดู ให้รู้เถิด

พระภูริทัตโต (มั่น) วัดสระประทุมวัน เป็นผู้แต่ง
ปัจฉิมบท

   ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่น มาอยู่ที่จังหวัดสกลนครเปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวก ผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบัน เป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ๆ แถวนั้นบ้างครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึง ปีสุดท้ายของชีวิต

   ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระ อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมากได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์ เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้ว ให้ชื่อว่า "มุตโตทัย"ครั้นมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเรื่มอาพาธเป็นไข้ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิด ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น

   ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษา ศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกล ต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เพื่อสะดวกแก่ผู้รักษาและศิษยานุศิษย์ ก็มาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธ มีแต่ทรงกับทรุด โดยลำดับ

   ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่ วัดป่าสุทธาวาส ใกล้เมืองสกลนครโดยพาหนะรถยนต์ของแขวงการทางมาถึงวัด เวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น.ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลายมีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา

การบำเพ็ญประโยชน์ ของท่านหลวงปู่ ประมวลในหลัก ๒ ประการ ดังนี้

   ๑.ประโยชน์ชาติ ท่านหลวงปู่ ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศีลธรรมอันดีงามแก่ประชาชนพลเมือง ของทุกชาติ ในทุกๆ ถิ่น ที่ท่านได้สัญจรไป คือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกือบทั่วทุกจังหวัด ภาคอีสานเกือบทั่วทุกจังหวัดไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ ต่อการปกครองของประเทศทำให้พลเมืองของชาติ ผู้ได้รับคำสั่งสอน เป็นคนมีศีลธรรมดีมีสัมมาอาชีพง่ายแก่การปกครองของผู้ปกครอง ชื่อว่าได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติ ตามควรแก่สมณวิสัย
   ๒.ประโยชน์ศาสนา ท่านหลวงปู่ ได้บรรพชาและอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ ด้วยความเชื่อ และความเลื่อมใสจริงๆ ครั้นบวชแล้วก็ได้เอาธุระศึกษา และปฏิบัติธรรมวินัย ด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริงๆ ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญสมณธรรม

   ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัดถึง ๔ ประการดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นได้ดำรงรักษาสมณกิจไว้มิให้เสื่อมสูญ ได้นำหมู่คณะ ฟื้นฟูปฏิบัติพระธรรมวินัยได้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และ พระพุทธโอวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ ให้ฉลาดอาจหาญในการฝึกฝนอบรมจิตใจ ตามหลักการสมถวิปัสสนาอันเป็นสมเด็จพระบรมศาสดา ได้ตรัสสอนไว้ว่า เป็นผู้มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว อดทนไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมแม้จะถูกกระทบกระทั่งด้วยโลกธรรมอย่างไร ก็มิได้แปรเปลี่ยนไปตามคงมั่นอยู่ในธรรมวินัย ตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมา ทำตนให้เป็นทิฏฐานุคติ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้จาริกไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ คือ บางส่วนของภาคกลาง เกือบทั่วทุกจังหวัด ในภาคเหนือเกือบทุกจังหวัด ของภาคอีสาน และแถบบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย

   นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตนแล้วท่านมุ่งไปเพื่อสงเคราะห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้นๆ ด้วยผู้ได้รับสงเคราะห์ด้วยธรรมจากท่านแล้ว ย่อมกล่าวไว้ด้วยความภุมิใจว่าไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา

   ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ ท่านหลวงปู่ ได้รับพระกรุณาจากพระสังฆราชเจ้า ในฐานะเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุตติกา ให้เป็นพระอุปัชฌายะ ในคณะธรรมยุตติกา ตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่และได้รับตั้งเป็น พระครูวินัยธร ฐานานุกรมของ เจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์)ท่านก็ได้ทำหน้าที่นั้นโดยเรียบร้อย ตลอดเวลาที่ยังอยู่เชียงใหม่ ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้ว ท่านก็งดหน้าที่นั้นโดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย

   งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่า ท่านได้ทำเต็มสติกำลังยังศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ให้อาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติตลอดมานับแต่พรรษาที่ ๒๓ จนถึงพรรษาที่ ๕๖ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านอาจกล่าวได้ ด้วยความภูมิใจว่า ท่านเป็นพระเถระ ที่มีเกียรติคุณเด่นที่สุด ในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่ง ในยุคปัจจุบัน


#36
Quote from: Barton on May 22, 2010, 09:27:45
Track 3 ของ แผ่นที่ 1 ไม่มีใช่ไหมครับ
มีค่ะ แต่ดิฉันพิมพ์ชื่อผิดเองค่ะตอนที่แปลงเป็น  MP.3 ต้องขอโทษนะค่ะ ไล่เรียงตามลิงค์ที่โพร์สไว้เถอะคะ่่[/CENTER]
#37
บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์๕ ธันวาคม ๒๕๓๐   




ภาพประธาน ด้านหน้า
    พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับเหนือ พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์
ภาพประธาน ด้านหลัง   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคร ราชกุมารี ประทับท่ามกลางพสกนิกร
ขนาด   ๑๕.๙ x ๑๕.๙ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๐
จ่ายแลก   วัน ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๐
#38
ธนบัตรที่ระลึก เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ



      มี ลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๔ ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใต้ลายน้ำมีคำว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕         
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
จ่ายแลก   วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๕
#39

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒




มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕ ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระ เจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ แทน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙      
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๒
จ่ายแลก   วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒


ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย
#40
ธนบัตรที่ ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี



มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท แบบ ๑๔ ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
แทน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙       
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
จ่ายแลก   วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๙




ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษ มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท แบบ ๑๓ ต่างกันที่พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์ และมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี แทนลายกระจัง       
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๓๙
จ่ายแลก   วัน ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๙
พิมพ์ที่   โรงพิมพ์ธนบัตร ประเทศออสเตรเลีย




ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษ ชนิดราคา ๕๐๐ บาท พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์และผนึกฟอยล์สีทองพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ไว้มุมขวาบน ของธนบัตร
ภาพประธานด้านหน้า   พระบรมฉายา สาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับ   พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง
ภาพประธานด้านหลัง   พระบรมฉายา สาทิสลักษณ์ขณะทรงงาน และภาพเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจาก
พระ ราชดำริด้านต่าง ๆ
ขนาด   ๙.๑ x ๑๗.๑ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๙
จ่ายแลก   วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙
พิมพ์ที่   โรงพิมพ์ธนบัตร ประเทศออสเตรเลีย

ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย