ปริเฉทที่ ๑๑
เสด็จโกศลชนบท
๑. โกศลชนบท ตั้งอยู่ในมัธยมชนบท ภาคเหนือแห่งชมพูทวีป
มีกรุงสาวัตถีเป็นพระนครหลวง มีอาณาเขตดังนี้
(๑) ด้านเหนือ จด กุรุชนบท หรือ แดนเขาหิมพานต์.
(๒) ด้านตะวันออก หรือ ตะวันออกเฉียงใต้ จด วัชชี-
ชนบท.
(๓) ด้านใต้ จด อังคชนบท กับ มคธชนบท.
(๔) ไม่แน่ว่าด้านไหน จด ภัคคชนบท.
อาณาเขตตามที่กล่าวนี้ เป็นเพียงอนุมานตามระยะทางที่
เสด็จพุทธจาริกเป็นต้นเท่านั้น.
๒. ในกรุงสาวัตถีมีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ สุทัตตะ เกี่ยวข้องกับราชคหก-
เศรษฐี โดยที่ได้ภคินีมาเป็นภรรยา วันหนึ่งได้ไปธุระที่บ้านของ
ราชคหกเศรษฐี เห็นราชคหกเศรษฐีจัดเตรียมอาหารมากมาย
เพื่อถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันรุ่งขึ้น ก็เกิด
ความเลื่อมใส รุ่งขึ้นก่อนรับประทานอาหารได้รับไปเฝ้าพระ
ศาสดา ณ สีตวัน ได้ฟังอนุปุพพีกถา และจตุราริยสัจ ได้
ธรรมจักษุ คือบรรลุโสดาปัตติผล ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระ
รัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่นั้นมาก็ได้บริจาคทรัพย์
มหาศาลให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาตลอดถึงคนยากจน
อนาถาทั่วไป จึงได้เนมิตตกนามใหม่ว่า "อนาถปิณฑิกเศรษฐี."
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 38
ปัจฉิมโพธิกาล
๑. พระพุทธองค์เสด็จไปสั่งสอนเวไนยชน ในคามนิคมชนบทโดย
ทั่ว ๆ ไป ตลอดเวลา ๔๕ ปี นับจากที่ตรัสรู้มา ปีสุดท้ายได้
จำพรรษาที่ เวฬุวคาม เมื่อเวสาลี ทรงพระประชวรหนักใกล้
มรณชนม์พินาศ ทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสนขันติ ทรงขับพยาธิ
ด้วยความเพียรอิทธิบาทภาวนา.
๒. ได้ทรงแก้วความห่วงใยและความหวังของพระอานนท์ ๕ ข้อคือ :-
(๑) ธรรมเราได้แสดงแล้ว ไม่ทำให้มีภายในภายนอก
กำมืออาจารย์ คือความซ่อนเร้นในธรรมทั้งหลาย ไม่
มีแก่พระตถาคตเจ้า ข้อลี้ลับที่จะต้องปิดไว้ เพื่อแสดง
แก่สาวกบางเหล่า หรือในอวสานกาลที่สุด ไม่มีเลย.
(๒) ตถาคตไม่มีความห่วงใยที่จะรักษาภิกษุสงฆ์ หรือว่า
ให้ภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พึ่ง.
(๓) บัดนี้เราแก่เฒ่าล่วงเข้า ๘๐ ปีแล้ว กายชำรุดประดุจ
เกวียนชำรุดที่ซ่อมด้วยไม้ไผ่ใช้การไม่ไหวแล้ว.
(๔) เดี๋ยวนี้กายแห่งตถาคต ย่อมมีความผาสุกสบายอยู่ได้
ด้วยอนิมิตเจโตสมาธิ ความตั้งเสมอแห่งจิตไม่มีนิมิต.
(๕) ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นที่
พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔
และปกิรณกเทศนา.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 39
๓. อยู่มาถึงวันมาฆบูชา คือ วัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีที่ ๔๕ นั้น
เอง พระองค์ ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี
คือ กำหนดวันว่า "ต่อจากนี้ไป ๓ เดือน เราจักปรินิพพาน."
๔. อิทธิบายทั้ง ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ผู้ใดเจริญ
ทำให้มาก ผู้นั้นหวังดำรงอยู่ตลอด กัปหรือยิ่งกว่า ก็พึงตั้งอยู่ได้
สมหวัง.
๕. สถานที่ทรงทำนิมิตโอภาส เพื่อให้พระอานนท์อาราธนาพระ
ตถาคตให้ดำรงอยู่ตลอดกัปนับได้ ๑๖ ตำบล คือ :-
(๑) ภูเขาคิชฌกูฏ.
(๒) โคตมกนิโครธ.
(๓) เหวที่ทิ้งโจร.
(๔) ถ้ำสัตตบัณณคูหาข้างภูเขาเวภารบรรพต.
(๕) กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิบรรพต.
(๖) เงื้อมสัปปิโสณฑิกา ณ สีตวัน.
(๗) ตโปทาราม.
(๘) เวฬุวัน.
(๙) ชีวกัมพวัน.
(๑๐) มัททกุจฉิมิคทายวัน (ทั้ง ๑๐ นี้อยู่เมืองราชคฤห์).
(๑๑) อุเทนเจดีย์.
(๑๒) โคตมกเจดีย์.
(๑๓) สัตตัมพเจดีย์.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 40
(๑๔) พหุปุตตเจดีย์.
(๑๕) สารันททเจดีย์.
(๑๖) ปาวาลเจดีย์. (ทั้ง ๖ ตำบลตอนหลังนี้อยู่เมืองเวสาลี).
๖. ต่อจากนั้นพระองค์เสด็จไป กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน ทรงแสดง
อภิญญาเทสิตธรรม (โพธิปักขิยธรรม) สังเวคกถา และ
อัปปมาทธรรม. ครั้งนั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตทอดพระเนตร
เมืองเวสาลีเป็น นาคาวโลก มองอย่างช้างเหลียวหลังครั้งสุดท้าย
แล้วไปบ้าน ภัณฑุคาม แสดง อริยธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ, ต่อจากนั้นไปบ้าน หัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม
โภคนคร ประทับที่ อานันทเจดีย์ แสดง ธรรมีกถา และ
พาหุลลกถา สุตตันติกมหาปเทส ๔ ต่อจากนั้นเสด็จถึง
เมืองปาวา ประทับอยู่ที่ อันพวัน ของ นายจุนทะ.
๗. พอถึงวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีนั้น เอง เวลาเช้าพระองค์เสด็จ
ไปเสวยเนื้อสุกรอ่อน (สุกรมทฺทว, ชาวลังกาเรียก "สูกรมุดัว"
เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง) ที่บ้านนายจุนทะ บุตรของช่างทำทอง เสร็จ
แล้วก็อาพาธลงพระโลหิตในระหว่างทาง ที่กำลังเสด็จไปเมือง
กุสินารา แวะประทับร่มไม้ รับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำใน
แม่น้ำน้อยมาเสวยระงับความกระหายแล้ว ได้รับผ้าสิงคิวรรณ
๑ คู่ จากปุกกุสะ (ศิษย์อาฬารดาบส) นุ่งห่มแล้วมีรัศมีผุดผ่อง
รัศมีของพระพุทธเจ้าผุดผ่อง ๒ กาล คือ :-
(๑) วันที่ตรัสรู้.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 41
(๒) วันที่ปรินิพพาน.
๘. ต่อจากนั้นได้เสด็จถึง แม่น้ำกกุธานที เสด็จลงสรงแล้วขึ้น เสด็จ
ไปประทับสีหไสยาที่ อัมพวัน (สวนมะม่วง) แล้วตรัสว่า ใคร ๆ
อย่าทำความเดือดร้อนให้แก่นายจุนทะเลย เพราะบิณฑบาตที่มี
อานิสงส์มากนั้น มี ๒ ครั้ง คือ :-
(๑) บิณฑบาตที่ฉันแล้วได้ตรัสรู้ (ได้แก่บิณฑบาตที่รับจาก
นางสุชาดา).
(๒) บิณฑบาตที่ฉันแล้วปรินิพพาน (ได้แก่ที่รับฉันในบ้าน
นายจุนทะ).
๙. พร้อมกับพระสงฆ์ได้เสด็จข้าม แม่น้ำหิรัญญวดี ไปถึงสวนชื่อ
สาลวัน ในเขตเมืองกุสินารา ทรงสำเร็จสีหไสยาตะแคงขวา
หันพระเศียรไปทิศเหนือ หันพระพักตร์ไปทิศตะวันตก เหนือ
พระแท่นปรินิพพานไสยา ระหว่างต้นไม้สาละทั้งคู่.
๑๐. การสำเร็จสีหไสยา เหนือแท่นปรินิพพานไสยา ระหว่างไม้สาละทั้งคู่
ที่เมืองกุสินารา เป็นการไสยาครั้งสุดท้ายเรียก "อนุฏฐานไสยา"
(นอนไม่ลุกขึ้น) มีเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ :-
๑๑. ต้นสาละทั้งคู่เผล็ดดอกมิใช่ฤดูกาลตั้งแต่โคนถึงยอด ดอกไม้ทิพย์
ก็หล่นลงที่สรีระของพระพุทธเจ้าเพื่อบูชา พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์ เราไม่สรรเสริญการบูชาด้วยอามิสเห็นปานนี้
ว่าเป็นการดี ถ้าบริษัท ๔ มาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เรา
สรรเสริญว่าเป็นการดีอย่างยิ่ง ชื่อว่าบูชาเราด้วยบูชาอันยิ่ง."
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 42
๑๒. ทรงแสดงความเป็นไปแห่งเทวดา สมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรง
ขับ พระอุปวาณะ ผู้ยืนถวายงานพัดที่เฉพาะพระพักตร์ให้หลีก
ไปเสีย พระอานนท์สงสัยจึงทูลถาม พระองค์ตรัสบอกว่า "เทวดา
ประชุมกันเต็มที่ ๑๒ โยชน์รอบเมืองกุสินารา เพื่อเห็นพระตถาคต
แต่พระอุปวาณะยืนบังเสีย เราจึงขับไป" พระอานนท์ทูลถามว่า
"เทวดารู้สึกอย่างไร ?" พระองค์ตรัสตอบว่า "เทวดาบางพวกที่
ยังเป็นปุถุชนก็ร้องไห้กลิ้งเกลือกไปมา บางพวกที่เป็นอริยชน
มีความอดกลั้นโดยธรรมสังเวชว่า "สังขารไม่เที่ยง ไม่ได้ตาม
ปรารถนา."
๑๓. ทรงแสดงสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ :-
(๑) สถานที่พระตถาคต ประสูติ.
(๒) สถานที่พระตถาคต ตรัสรู้.
(๓) สถานที่พระตถาคต แสดงธรรมจักร.
(๔) สถานที่พระตถาคต ปรินิพพาน.
ว่าเป็นที่ควรดูควรเห็น ควรให้เกิดความสังเวช ของกุลบุตรผู้มี
ศรัทธา.
๑๔. อาการที่ภิกษุพึงปฏิบัติในสตรีภาพ พระองค์ทรงแสดงว่า :-
(๑) อย่าดูอย่าเห็น เป็นการดี.
(๒) ถ้าจำเป็นต้องงดต้องเห็น อย่าพูด เป็นการดี.
(๓) ถ้าจำเป็นต้องพูด ควรพูดคำเป็นธรรม.
๑๕. ทรงแสดงวิธีปฏิบัติในพุทธสรีระ ว่า พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 43
สรีระของพระเจ้าจักรพรรดิราช คือ ห่อด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วย
สำลี สลับกันโดยอุบายนี้ ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กเต็ม
ด้วยน้ำมันมีฝาเหล็กครอบ ทำจิตการธารด้วยไม้หอม ถวาย
พระเพลิงเสร็จแล้ว เก็บสารีริกธาตุบรรจุไว้ในเจดีย์ที่ถนนใหญ่ ๔
แพร่ง.
๑๖. ทรงแสดงถูปารหบุคคล ๔ จำพวก (บุคคลที่ควรทำเจดีย์ไว้
บูชา) คือ :-
(๑) พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า
(๒) พระปัจเจกพุทธเจ้า.
(๓) พระสาวกอรหันต์.
(๔) พระเจ้าจักรพรรดิราช.
๑๗. ทรงประทานโอวาทแก่พระอานนท์ ในครั้งนั้นพระอานนท์ไป
ยืนเกาะไม้มีสัณฐานคล้ายศีรษะวานร ร้องไห้อยู่ในวิหาร พระ
องค์ตรัสเรียกมาให้พระโอวาทว่า "สังขารไม่เที่ยง ต้องสูญสลาย
ไปเป็นธรรมดา" และทรงพยากรณ์ว่า "อานนท์มีบุญได้ทำไว้
แล้วด้วยในไตรทวาร จักได้เป็นพระอรหันต์โดยฉับพลัน."
๑๘. ตรัสสรรเสริญพระอานนท์ ว่า เป็นยอดอุปัฏฐาน ฉลาดรู้จักกาล
รู้จักบริษัท ว่ากาลใดบริษัทไหนควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ฯ ล ฯ
ถ้าแสดงธรรม บริษัทฟังไม่อิ่มไม่เบื่อเลย.
๑๙. ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา พระอานนท์กราบทูลให้พระพุทธเจ้า
เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองใหญ่ ๆ คือ ๑. เมืองจำปา ๒. ราชคฤห์
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 44
๓. สาวัตถี ๔. สาเกต ๕. โกสัมพี ๖. พาราณสี พระองค์ห้าม
เสียแล้วตรัสว่า "เมืองกุสินารานี้ ในอดีตเคยเป็นนครใหญ่มาก
ชื่อ "กุสาวดี" มีพระเจ้า มหาสุทัศน์จักรพรรดิราช ปกครอง
มีพลเมืองมาก อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร กึกก้องกังวาน
ด้วยเสียงทั้ง ๑๐ คือ :-
๑. เสียงช้าง ๒. เสียงม้า ๓. เสียงรถ ๔. เสียงเภรี ๕. เสียง
ตะโพน ๖. เสียงพิณ ๗. เสียงขับร้อง ๘. เสียงกังสดาล
๙. เสียงสังข์ ๑๐. เสียงคนเรียกกินข้าว ไม่สงบทั้งกลางวันกลางคืน.
๒๐. ตรัสให้แจ้งข่าวปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์ ว่าจักปรินิพพานใน
ยามใกล้รุ่งแห่งคืนวันนี้ เพื่อมิให้มัลลกษัตริย์กินแหนงแคลงใจ
ในภายหลัง พระอานนท์รับพุทธฎีกาแล้ว เข้าไปบอกแก่
มัลลกษัตริย์ในกลางที่ประชุม ณ ศาลาว่าราชการ กษัตริย์เหล่า
นั้นพร้อมด้วยโอรส, ลูกสะใภ้, ปชาบดี ก็โศกเศร้ารำพันต่าง ๆ
ประการ แล้วเสด็จไปสาลวัน. พระอานนท์จัดให้เข้าเฝ้าตาม
ลำดับพระวงศ์ เสร็จในปฐมยาม.
๒๑. ทรงโปรดสุภัททปริพาชก สมัยนั้น สุภัททปริพาชก ทราบว่า
พระพุทธเจ้าจักปรินิพพานในคืนนี้ จึงรีบไปเพื่อจะทูลถามข้อ
สงสัยบางอย่าง ชั้นแรกถูกพระอานนท์ห้ามไว้ ภายหลังได้รับ
พุทธานุญาต จึงเข้าไปทูลถามว่า "ครูทั้ง ๖ คือ ๑. ปูรณกัสสปะ
๒. มักขลิโคศาล ๓. อชิตเกสกัมพล ๔. ปกุทธกัจจายนะ
๕. สัญชัยเวลักฏฐบุตร ๖. นิครนถนาฎบุตร ได้ตรัสรู้จริงหรือ ?"
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 45
พระองค์ตรัสห้ามเสียแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่เขาว่า "มรรค
๘ ไม่มีในธรรมวินัยใด พระสมณะ ๔ เหล่า ไม่มีในธรรมวินัย
นั้น มรรค ๘ มีในธรรมวินัยของตถาคตเท่นั้น สมณะ ๔ ย่อม
มีด้วย."
สุภัททะฟังธรรมนี้แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกแล้ว ขออุปสม-
บท. พระองค์ตรัสว่า "คนนอกพุทธศาสนาต้องอยู่ปริวาส ๔
เดือนจึงบวชได้." สุภัททะว่า "ให้อยู่สัก ๔ ปีก็อา." พระองค์ตรัส
ให้พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชา.
๒๒. สุภัททะเป็นสักขีสาวก พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชาให้
เป็นสามเณร แล้วนำเข้าถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ให้สุภัททะ
อุปสมบทเป็นภิกษุ และบอกกัมมัฏฐานให้ไม่ช้านัก เธอก็ได้
สำเร็จอรหันต์ทันตาเห็น เป็น สักขีสาวก ของพระศาสดา (สาวก
องค์หลังสุดของพระพุทธเจ้า).
๒๓. ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ ว่า "ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด
ที่เราแสดงบัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยนั้นแล จักเป็นศาสดา
ของท่านทั้งหลาย โดยกาลที่ล่วงไปแห่งเรา."
๒๔. ตรัสให้ภิกษุเรียกกันโดยคารวะโวหาร ๒ อย่าง คือ :-
(๑) ผู้แก่เรียกผู้อ่อน ใช้คำว่า อาวุโส หรือ ออกชื่อโคตร
ก็ได้.
(๒) ผู้อ่อนเรียกผู้แก่ ใช้คำว่า ภนฺเต หรือ อายสฺมา ก็ได้.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 46
๒๕. ชั่วโมงสุดท้าย ตรัสไว้ ๔ ข้อ คือ :-
(๑) ดูก่อนอานนท์ ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็ก
น้อยเสียบ้าง เมื่อเราล่วงไปแล้วก็จงถอนเถิด.
(๒) ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไปแล้วสงฆ์พึงทำ พรหม-
ทัณฑ์ แก่ ฉันนภิกษุ เถิด คือ หากฉันนะเจรจาคำใด
ก็พึงเจรจาคำนั้น แต่ไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนแก่
เขา.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอสงสัยในพระรัตนตรัย
หรือในมรรคปฏิปทา ก็จงถามเถิด ดังนี้ ๓ ครั้ง แต่
พระสงฆ์นิ่งเงียบ พระอานนท์กราบทูลว่า "น่าอัศจรรย์"
พระองค์ตรัสรับรองว่า "ภิกษุ ๕๐๐ รูปที่ประชุมนั้น
เป็นอริยบุคคล สิ้นความสงสัยแล้ว."
(๔) ตรัสปัจฉิมโอวาทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ท่าน
ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.
๒๖. ปรินิพพาน เมื่อพระองค์ตรัสปัจฉิมโอวาทแล้ว มิได้ตรัสอะไร
ต่อไปอีกเลย ทรงทำปรินิพพานกรรมด้วยอนุบุพพวิหาร ๙
ประการ ดังนี้ :-
เข้าฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าฌานที่ ๒ โดยนัยนี้ จนเลย
ฌานที่ ๘ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ (ในตอนนี้พระอานนท์
ถาม พระอนุรุทธ ว่า "พระองค์ปรินิพพานแล้วหรือ ?" พระอนุรุทธ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 47
ตอบว่า "ยังก่อน กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ).
ออกจากสัญญาเวทยิต ฯ เข้าฌานที่ ๘ โดยนัยนี้ลงมาถึงฌานที่ ๑
ออกจากฌานที่ ๑ เข้าฌานที่ ๒ โดยนัยนี้จนถึงฌานที่ ๔
ออกจากฌานที่ ๔ แล้ว ทรงปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ณ เวลาใกล้รุ่งวันอังคาร ขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ที่ป่าไม้สาละ (สาสวโนทยาน) เมืองกุสินารา.
๒๗. ในขณะนั้นเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินหวั่นไหวกึกก้อง มีเทพยดา
และมนุษย์กล่าวสังเวคคาถาดังต่อไปนี้ :-
(๑) ท้าวสหัมบดีพรหม กล่าวว่า "บรรดาสัตว์ทั้งปวงใน
โลก ล้วนจะต้องทิ้งร่างไว้ถมปฐพี แม้องค์พระชินสีห์มีพระคุณ
ยิ่งใหญ่ ก็ปรินิพพานแล้ว น่าสลดนัก !
(๒) ท้าวโกสีย์เทวราช กล่าวว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
หนอ ! เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา ความสงบแห่งสังขารเป็น
(๓) พระอนุรุทธ กล่าวว่า "พระพุทธเจ้ามีจิตมีได้หวั่นไหว
สะทกสะท้านต่อมรณธรรม ปรินิพพานเป็นอารมณ์ ประหนึ่ง
ประทีปอันไพโรจน์ดับไป ฉะนั้น !
(๔) พระอานนท์ กล่าวว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน-
ขันธ์ เกิดเหตุมหัศจรรย์ มีโลกชาติชูชันเป็นอาทิ ปรากฏมีแก่
เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย !
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 48
อปรกาล
๑. ถวายพระเพลิง
๑. ครั้นพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่ยังไม่สว่างวัน พระอนุรุทธ
กับพระอานนท์ แสดงธรรมไปจนสว่าง พอสว่างแล้ว พระอนุรุทธ
บัญชาพระอานนท์ให้ไปบอกแก่ มัลลกษัตริย์.
๒. มัลลกษัตริย์ ให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศทั่วเมือง นำเครื่อง
สักการบูชา เครื่องดนตรี ผ้าอย่างดี ๕๐๐ พับ เสด็จไปสู่สาลวัน
พร้อมกันบุชาพุทธสรีระมโหฬารสิ้นกาล ๖ วัน ครั้นวันที่ ๗
ปรึกษากันว่า จะเชิญพระสรีระไปทางทิศใต้แห่งพระนครแล้ว
ถวายพระเพลิงนอกเมือง.
๓. อมัลลปาโมกข์ ๘ องค์ ทรงกำลัง พร้อมกันเข้าเชิญพระสรีระ
มิสามารถที่จะให้เขยื้อนจากที่ได้.
๔. มัลลกษัตริย์ทั้งหลายถามพระอนุรุทธว่า เพราะเหตุใด ? พระ
อนุรุทธ จึงบอกไปตามเทวดาประสงค์ว่า "ให้เชิญประสรีระไป
ทางทิศเหนือพระนคร แล้วข้าทรงอุดรทวาร ผ่านไปท่ามกลาง
เมือง เยื้องไปออกทางประตุบูรพทิศ แล้วถวายพระเพลิง
ณ มกุฎพันธนเจดีย์ ที่ด้านตะวันออกแห่งพระนคร (ดูแผนผัง
ดังต่อไปนี้) :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 49
เหนือ
กุ สิ
สาสวโนทยาน มกุฏพันธนเจดีย์ ออก
นา รา
๕. มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ทราบดังนั้น จึงผ่อนผันตามความประสงค์
ของเทวดา เชิญพระสรีระไปยังมกุฏพันธนเจดีย์ พันด้วยผ้าใหม่
ซับด้วยสำลี ตามวิธีที่ตรัสไว้แก่พระอานนท์ เตรียมจะถวาย
พระเพลิง.
๖. ครั้งนั้นมัลลปาโมกข์ ๔ องค์ สรงนำดำเกล้านุ่งห่มผ้าใหม่นำไฟ
เข้าจุดทั้ง ๔ ทิศ ไม่ติดเลย พระอนุรุทธจึงเฉลยให้ทราบว่า
"เทพยดาให้รอ พอ พระมหากัสสปะ ถวายบังคมพระพุทธบาท
ด้วยเศียรเกล้าก่อน" มัลลกษัตริย์จึงผัดผ่อนตามเทวาธิบาย.
๗. สมัยนั้น พระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางจาก
ปาวานคร พักอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง เห็น อาชีวกถือดอกมณฑารพ
เดินมา จึงถามข่าวพระศาสดา เขาบอกว่าพระองค์ปรินิพพาน
๗ วัน แล้ว.
๘. ลำดับนั้น ภิกษุที่ยังไม่สิ้นราคะ ก็ร้องให้กล้องเกลือกไปมา ท่านที่
สิ้นราคะ ก็อดกลั้นด้วยธรรมสังเวช มีภิกษุบวชภายแก่รูปหนึ่งชื่อ
สุภัททะ ห้ามว่า "หยุดเถิด "หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 50
นั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้อง
เกรงบัญชาใคร" พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคห-
กรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน จึงพาบริวารสัญจร
ต่อไป.
๙. ครั้นมาถึงมกุฏพันธนเจดีย์ จึงห่มผ้าเฉวียงบ่า ประณมหัตถ์
นมัสการ เดินเวียนจิตกาธาร ๓ รอบ แล้วเปิดเพียงเบื้อง
พระบาท ถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้าของตน ภิกษุ
๕๐๐ รูป ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน.
๑๐. พอพระมหากัสสปะกับบริวารนมัสการแล้ว เพลิงทิพย์เกิดขึ้นเอง
ไหม้พระสรีระ เหลืออยู่ ๕ อย่าง คือ ๑. พระอัฐิ ๒. พระ
เกสา ๓. พระโลมา ๔. พระนขา ๕. พระทันตา กับ ผู้คู่หนึ่ง
สำหรับห่อพระธาตุนั้น (ข้อนี้แหละเป็นมูลเหตุให้ชาวพุทธทำ
วิสาขอัฏฐมีบูชา ประจำปี ซึ่งเรียกกันว่า วันถวายพระเพลิง)
๑๑. มัลลกษัตริย์นำน้ำหอมมาดับจิตกาธาร (ดับไฟที่เชิงตะกอน)
แล้วเชิญพระสารีริกธาตุเข้าไปประดิษฐานไว้ใน สัณฐาคารศาลา
ในนครกุสินารา พิทักษ์รักษาอย่างมั่นคง ด้วยประสงค์จะมิให้
ใครแย่งชิงไป และได้ทำสักการบูชามโหฬาร สิ้นกาล ๗ วัน.
๒. แจกพระสารีริกธาตุ
๑. พระมหากษัตริย์ และพราหมณ์ ทั้ง ๗ พระนคร คือ :-
(๑) พระเจ้าอชาตศัตรู เมือง ราชคฤห์.
(๒) กษัตริย์ลิจฉวี " เวสาลี.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 51
(๓) กษัตริย์ศากยะ เมือง กบิลพัสดุ์.
(๔) ถูลีกษัตริย์ " อัลลกัปปะ.
(๕) โกสิกษัตริย์ " รามคาม.
(๖) มหาพราหมณ์ " เวฏฐทีปกะ.
(๗) มัลลกษัตริย์ " ปาวา.
ได้ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองกุสินารา จึงส่งทูต
มาของแบ่งพระสารีริกธาตุ.
๒. มัลลกษัตริย์ ไม่ยอมแบ่งให้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ :-
(๑) ทรงเห็นว่า ถ้าเราแบ่งให้ไปโดยเร็วทุกหมู่ที่มาขอ คง
จะไม่พอแน่ ยากที่จะเสร็จสงบลงได้ และยากที่จะผ่อนผันให้
ถูกต้องตามอัธยาศัยของเจ้านครทุกองค์ได้ (เพราะส่งไปโดย
ราชสาสน์).
๒) ทรงคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงอุตส่าห์มาปรินิพพานใน
คามเขตของเรา ก็เพื่อประทานพระสารีริกธาตุแก่เรา.
จึงไม่ยอมแบ่งให้แก่นครใด ๆ และได้ตรัสแก่ทูตานุทูตทั้ง ๗
นครว่า "พระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานในอาณาเขต
ของเรา เราจักไม่ให้ส่วนพระสารีริกธาตุ."
ส่วนทูตานุทูต ก็ไม่ยอม จวนจะเกิดมหาสงครามอยู่แล้ว.
๓. โทณพราหมณ์ผู้ห้ามทัพ ผู้มีปัญญาผ่อนผันให้ต้องตามคดีโลก
คดีธรรม เมื่อเห็นเช่นนั้นจึงคิดถึงความไม่เหมาะสม ๓ ประการ
คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 52
(๑) มัลลกษัตริย์ครองนครน้อยนี้ ควรสมานไมตรีกับนคร
อื่น ๆ ไม่ควรรบกัน.
(๒) การรบนั้นขัดต่อคำสอนของพระศาสดา เพราะพระองค์
ทรงสอนให้เว้นเบียดเบียนกัน.
(๓) พระสารีริกธาตุนั้น ควรแบ่งไปยังนครต่าง ๆ เพื่อ
สักการบูชาของชนทั่วไป.
จึงกล่าว สุนทรพจน์ ต่อไปว่า :-
ขอคณานิกรเจ้าผู้เจริญ เชิญฟังวาจาข้าพระองค์ในบัดนี้
พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นขันติวาที การรบกันเพราะเหตุ
แห่งพระสารีริกธาตุของพระองค์นั้นไม่งามเลย.
ข้าแต่กษัตริย์เจ้าผู้เจริญ ทั้งเจ้านครเดิม และต่างราชธานี
จงชื่นชมสามัคคีกัน แล้วแบ่งปันพระสารีริกธาตุ ออกเป็น ๘ ส่วน
ให้เสมอกันทุกพระนครเถิด.
ของพระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ จงแพร่หลายทั่วทุกทิศ
สถิตสถาพรเพื่อนิกรสัตว์สิ้นกาลนาน เถิด.
กษัตริย์และพราหมณ์ได้สดับมธุรภาษิต ก็เห็นชอบในสามัคคี
ธรรม.
๔. กษัตริย์และพราหมณ์ มอบธุระให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งส่วน
พระบรมธาตุ โทณพราหมณ์จึงเอา ตุมพะ (ทะนานทอง) ตวง
ได้ ๘ ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วถวายแก่เจ้านครทั้ง ๘ แล้วขอตุมพะนั้น
ไปบรรจุไว้ในเจดีย์มีชื่อว่า "ตุมพสถูป" หรือ "ตุมพเจดีย์"
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 53
๕. โมริกษัตริย์ เมืองปีปผลิวัน ทราบข่าวปรินิพพานทีหลัง จึง
ส่งทูตมาขอพระบรมธาตุ เมื่อไม่ได้จึงเชิญ พระอังคาร (เถ้าถ่าน
ในเชิงตะกอน) ไปบรรจุไว้ในเจดีย์ มีชื่อว่า "อังคารเจดีย์."
ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์
๑. สัมมาสัมพุทธเจดีย์เกิดขึ้นครั้งแรก ๑๐ ตำบล คือ :-
พระธาตุเจดีย์ ๘ ตำบล (คือใน ๘ นครที่กล่าวแล้ว).
พระตุมพเจดีย์ ๑ " (ที่โทณพราหมณ์ทำไว้).
พระอังคารเจดีย์ ๑ " (ในเมืองปิปผลิวัน).
รวม ๑๐ ตำบล.
๒. เจดีย์ที่สร้างไว้ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔
ประเภท คือ :-
(๑) ธาตุเจดีย์ คือ เจดีย์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ.
(๒) บริโภคเจดีย์ คือ พระตุมพเจดีย์ พระอังคารเจดีย์
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล เจดีย์ที่บรรจุบริขารที่พระองค์ทรง
บริโภคแล้ว เช่น บาตร, จีวร, เตียง, ตั่ง กุฏิ, วิหาร, และ
บริขารอื่น ๆ.
(๓) ธรรมเจดีย์ คือ เจดีย์ที่จารึกพระพุทธวจนะลงใน
ใบลาน, แผ่นทอง, แผ่นศิลา เป็นต้นแล้ว บรรจุไว้ในเจดีย์.
(๔) อุทเทสิกเจดีย์ คือ พระพุทธรูป.
๓. ความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย
๑. ในวันที่แจกพระบรมสารีริกธาตุนั้น มีพระสงฆ์ประชุมกันเป็น
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 54
มหาสันนิบาต พระมหากัสสปะเป็นประธานในสงฆ์ หวังจะให้
เกิดอุตสาหะในการสังคายนาพระธรรมวินัย จึงนำเอาคำจ้วงจาบ
พระธรรมวินัย ของสุภัททวุฑฒบรรพชิตมากล่าว แก่ภิกษุ
ทั้งหลายแล้วชักชวนว่า "อย่ากระนั้นเลย เราทั้งหลายจงร้อยกรอง
พระธรรมวินัยเถิด มิฉะนั้น วาทะที่มิใช่ธรรมวินัยจักรุ่งเรือง
พระธรรมวินัยก็จักเสื่อมถอย คนชั่วจักลบล้างธรรมวินัย คนชั่ว
จักเจริญ คนดีจักเสื่อมถอยน้อยกำลัง พระศาสนาก็จักตั้งอยู่
ไม่ได้."
๒. ครั้นพระมหากัสสปะกล่าวจบ พระสงฆ์ในที่ประชุมนั้นเห็นชอบ
จึงตกลงทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก และ
ต่อจากนั้นพระสงฆ์รุ่งหลัง ๆ ก็ได้ช่วยกันทำการสังคายนาเป็น
ครั้งคราว ตามเหตุการณ์รณนั้น ๆ รวม ๕ ครั้ง.
๓. ภายหลังจากนั้น นักปราชญ์ได้แต่งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
กับทั้งศัพท์ศาสตร์ เป็นอุปการะแก่นักศึกษา กุลบุตรได้บวช
เรียนปฏิบัติสืบต่อกันมา พระธรรมวินัยอันเป็นตัวแทนพระศาสดา
จึงได้ดำรงเจริญแพร่หลายไป ณ พุทธศาสนิกมณฑล ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
๔. แผนผังการสังคายนา ๕ ครั้ง ดังต่อไปนี้ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 55
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 56
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 57
พุทธประวัติเนติ ๑๕
เหตุการณ์ในพุทธประวัติ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงมี
พระลักษณะ หรือพระนิสัยที่ควรยึดถือไว้เป็นเยี่ยงอย่างเป็นอันมาก แต่
ในที่นี้จะนำมาให้เห็นเพียง ๑๕ ข้อ ดังต่อไปนี้ :-
๑. ทรงมีพระเมตตากรุณา เช่น เมื่อทรงพิจารณาถึงธรรมที่
พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่าเป็นคุณอันลึกซึ้งมาก ยากที่บุคคลผู้ยินดีในกามคุณ
จะตรัสรู้ตามได้ ทรงท้อพระทัยเพื่อจะตรัสสั่งสอน แต่อาศัยพระกรุณาใน
หมู่สัตว์ จึงทรงพิจารณาเห็นว่าบุคคลนี้มี ๔ เหล่า เปรียบเหมือนดอกบัว
๔ เหล่า ผู้สามารถรู้ตามได้ถึง ๓ เหล่า จึงได้เสด็จเที่ยวสั่งสอนด้วยความ
เมตตากรุณาในหมู่ชนนั้น ๆ (๑/๔๔-๔๕) (พุทธ-สังเขป ๑๗)
แม้ในตอนใกล้จะปรินิพพาน ทรงพระกรุณาโปรดให้สุภัททะ-
ปริพาชกเข้าเฝ้าถามปัญหา ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจ และให้อุปสมบท
เป็นองค์สุดท้าย (๓/๓๗) (พุทธ-สังเขป ๔๔)
๒. ทรงตั้งใจจริง ขยันหมั่นเพียนจริง เช่นในคราวพระราชบิดา
ทรงทำวปมงคลแรกนาขวัญ, พระสิตธัตถกุมารพระองค์เดียวประทับที่
ภายในม่าน โคนต้นหว้า เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้
เกิดขึ้นได้ นี้จัดเป็นสัมมาสมาธิตั้งใจจริง (๑/๑๙-๒๐)
อนึ่ง ในสมัยเป็นนักเรียกในสำนักครูวิศวามิตร ทรงเรียนด้วย
ความขะมักเขม้นจนจบสิ้นความรุ้ของครูในเวลาอันรวดเร็ว ได้แสดงความ
รู้ให้ปรากฏในหมู่พระญาติยิ่งกว่าพระกุมารอื่น (๑/๑๙) (พุทธ-
สังเขป ๑๐)
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 58
ภายหลังเสด็จออกทรงผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรทำฌานใน
สำนักท่านอาฬารดาบสและท่านอุทกดาบส ได้เท่าเทียมกับดาบสทั้งสอง
ในเวลาอันสั้น ครั้นเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ จึงเสด็จออกไปทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยา ปรารภความเพียรไม่ท้องถอยไม่ย่อหย่อน (๑/๓๕ - ๓๖ - ๓๗)
(พุทธ - สังเขป ๑๓ - ๑๔ )
ตอนที่ทำความเพียรอย่างสูง คือ ในวันที่ตรัสรู้ประทับนั่งที่โพธิ-
บัลลังก์ ทรงตั้งพระหฤทัยว่า ยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด
จักไม่เสด็จลุกขึ้นเพียงนั้น แม้เลือดเนื้อจะแห้งไป คงเหลือแต่หนังหุ้ม
เอ็นและกระดูกก็ตาม (๑/๔๔) (พุทธ - สังเขป ๑๔) ทั้ง ๓ ตอนนี้
แสดงถึงความตั้งใจจริงและพากเพียรจริง.
๓. ทรงมีความกล้าหาญ เช่นทรงมีพระหฤทัยกล้าต่
เสด็จโกศลชนบท
๑. โกศลชนบท ตั้งอยู่ในมัธยมชนบท ภาคเหนือแห่งชมพูทวีป
มีกรุงสาวัตถีเป็นพระนครหลวง มีอาณาเขตดังนี้
(๑) ด้านเหนือ จด กุรุชนบท หรือ แดนเขาหิมพานต์.
(๒) ด้านตะวันออก หรือ ตะวันออกเฉียงใต้ จด วัชชี-
ชนบท.
(๓) ด้านใต้ จด อังคชนบท กับ มคธชนบท.
(๔) ไม่แน่ว่าด้านไหน จด ภัคคชนบท.
อาณาเขตตามที่กล่าวนี้ เป็นเพียงอนุมานตามระยะทางที่
เสด็จพุทธจาริกเป็นต้นเท่านั้น.
๒. ในกรุงสาวัตถีมีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ สุทัตตะ เกี่ยวข้องกับราชคหก-
เศรษฐี โดยที่ได้ภคินีมาเป็นภรรยา วันหนึ่งได้ไปธุระที่บ้านของ
ราชคหกเศรษฐี เห็นราชคหกเศรษฐีจัดเตรียมอาหารมากมาย
เพื่อถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันรุ่งขึ้น ก็เกิด
ความเลื่อมใส รุ่งขึ้นก่อนรับประทานอาหารได้รับไปเฝ้าพระ
ศาสดา ณ สีตวัน ได้ฟังอนุปุพพีกถา และจตุราริยสัจ ได้
ธรรมจักษุ คือบรรลุโสดาปัตติผล ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระ
รัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่นั้นมาก็ได้บริจาคทรัพย์
มหาศาลให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาตลอดถึงคนยากจน
อนาถาทั่วไป จึงได้เนมิตตกนามใหม่ว่า "อนาถปิณฑิกเศรษฐี."
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 38
ปัจฉิมโพธิกาล
๑. พระพุทธองค์เสด็จไปสั่งสอนเวไนยชน ในคามนิคมชนบทโดย
ทั่ว ๆ ไป ตลอดเวลา ๔๕ ปี นับจากที่ตรัสรู้มา ปีสุดท้ายได้
จำพรรษาที่ เวฬุวคาม เมื่อเวสาลี ทรงพระประชวรหนักใกล้
มรณชนม์พินาศ ทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสนขันติ ทรงขับพยาธิ
ด้วยความเพียรอิทธิบาทภาวนา.
๒. ได้ทรงแก้วความห่วงใยและความหวังของพระอานนท์ ๕ ข้อคือ :-
(๑) ธรรมเราได้แสดงแล้ว ไม่ทำให้มีภายในภายนอก
กำมืออาจารย์ คือความซ่อนเร้นในธรรมทั้งหลาย ไม่
มีแก่พระตถาคตเจ้า ข้อลี้ลับที่จะต้องปิดไว้ เพื่อแสดง
แก่สาวกบางเหล่า หรือในอวสานกาลที่สุด ไม่มีเลย.
(๒) ตถาคตไม่มีความห่วงใยที่จะรักษาภิกษุสงฆ์ หรือว่า
ให้ภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พึ่ง.
(๓) บัดนี้เราแก่เฒ่าล่วงเข้า ๘๐ ปีแล้ว กายชำรุดประดุจ
เกวียนชำรุดที่ซ่อมด้วยไม้ไผ่ใช้การไม่ไหวแล้ว.
(๔) เดี๋ยวนี้กายแห่งตถาคต ย่อมมีความผาสุกสบายอยู่ได้
ด้วยอนิมิตเจโตสมาธิ ความตั้งเสมอแห่งจิตไม่มีนิมิต.
(๕) ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นที่
พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔
และปกิรณกเทศนา.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 39
๓. อยู่มาถึงวันมาฆบูชา คือ วัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีที่ ๔๕ นั้น
เอง พระองค์ ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี
คือ กำหนดวันว่า "ต่อจากนี้ไป ๓ เดือน เราจักปรินิพพาน."
๔. อิทธิบายทั้ง ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ผู้ใดเจริญ
ทำให้มาก ผู้นั้นหวังดำรงอยู่ตลอด กัปหรือยิ่งกว่า ก็พึงตั้งอยู่ได้
สมหวัง.
๕. สถานที่ทรงทำนิมิตโอภาส เพื่อให้พระอานนท์อาราธนาพระ
ตถาคตให้ดำรงอยู่ตลอดกัปนับได้ ๑๖ ตำบล คือ :-
(๑) ภูเขาคิชฌกูฏ.
(๒) โคตมกนิโครธ.
(๓) เหวที่ทิ้งโจร.
(๔) ถ้ำสัตตบัณณคูหาข้างภูเขาเวภารบรรพต.
(๕) กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิบรรพต.
(๖) เงื้อมสัปปิโสณฑิกา ณ สีตวัน.
(๗) ตโปทาราม.
(๘) เวฬุวัน.
(๙) ชีวกัมพวัน.
(๑๐) มัททกุจฉิมิคทายวัน (ทั้ง ๑๐ นี้อยู่เมืองราชคฤห์).
(๑๑) อุเทนเจดีย์.
(๑๒) โคตมกเจดีย์.
(๑๓) สัตตัมพเจดีย์.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 40
(๑๔) พหุปุตตเจดีย์.
(๑๕) สารันททเจดีย์.
(๑๖) ปาวาลเจดีย์. (ทั้ง ๖ ตำบลตอนหลังนี้อยู่เมืองเวสาลี).
๖. ต่อจากนั้นพระองค์เสด็จไป กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน ทรงแสดง
อภิญญาเทสิตธรรม (โพธิปักขิยธรรม) สังเวคกถา และ
อัปปมาทธรรม. ครั้งนั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตทอดพระเนตร
เมืองเวสาลีเป็น นาคาวโลก มองอย่างช้างเหลียวหลังครั้งสุดท้าย
แล้วไปบ้าน ภัณฑุคาม แสดง อริยธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ, ต่อจากนั้นไปบ้าน หัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม
โภคนคร ประทับที่ อานันทเจดีย์ แสดง ธรรมีกถา และ
พาหุลลกถา สุตตันติกมหาปเทส ๔ ต่อจากนั้นเสด็จถึง
เมืองปาวา ประทับอยู่ที่ อันพวัน ของ นายจุนทะ.
๗. พอถึงวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีนั้น เอง เวลาเช้าพระองค์เสด็จ
ไปเสวยเนื้อสุกรอ่อน (สุกรมทฺทว, ชาวลังกาเรียก "สูกรมุดัว"
เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง) ที่บ้านนายจุนทะ บุตรของช่างทำทอง เสร็จ
แล้วก็อาพาธลงพระโลหิตในระหว่างทาง ที่กำลังเสด็จไปเมือง
กุสินารา แวะประทับร่มไม้ รับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำใน
แม่น้ำน้อยมาเสวยระงับความกระหายแล้ว ได้รับผ้าสิงคิวรรณ
๑ คู่ จากปุกกุสะ (ศิษย์อาฬารดาบส) นุ่งห่มแล้วมีรัศมีผุดผ่อง
รัศมีของพระพุทธเจ้าผุดผ่อง ๒ กาล คือ :-
(๑) วันที่ตรัสรู้.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 41
(๒) วันที่ปรินิพพาน.
๘. ต่อจากนั้นได้เสด็จถึง แม่น้ำกกุธานที เสด็จลงสรงแล้วขึ้น เสด็จ
ไปประทับสีหไสยาที่ อัมพวัน (สวนมะม่วง) แล้วตรัสว่า ใคร ๆ
อย่าทำความเดือดร้อนให้แก่นายจุนทะเลย เพราะบิณฑบาตที่มี
อานิสงส์มากนั้น มี ๒ ครั้ง คือ :-
(๑) บิณฑบาตที่ฉันแล้วได้ตรัสรู้ (ได้แก่บิณฑบาตที่รับจาก
นางสุชาดา).
(๒) บิณฑบาตที่ฉันแล้วปรินิพพาน (ได้แก่ที่รับฉันในบ้าน
นายจุนทะ).
๙. พร้อมกับพระสงฆ์ได้เสด็จข้าม แม่น้ำหิรัญญวดี ไปถึงสวนชื่อ
สาลวัน ในเขตเมืองกุสินารา ทรงสำเร็จสีหไสยาตะแคงขวา
หันพระเศียรไปทิศเหนือ หันพระพักตร์ไปทิศตะวันตก เหนือ
พระแท่นปรินิพพานไสยา ระหว่างต้นไม้สาละทั้งคู่.
๑๐. การสำเร็จสีหไสยา เหนือแท่นปรินิพพานไสยา ระหว่างไม้สาละทั้งคู่
ที่เมืองกุสินารา เป็นการไสยาครั้งสุดท้ายเรียก "อนุฏฐานไสยา"
(นอนไม่ลุกขึ้น) มีเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ :-
๑๑. ต้นสาละทั้งคู่เผล็ดดอกมิใช่ฤดูกาลตั้งแต่โคนถึงยอด ดอกไม้ทิพย์
ก็หล่นลงที่สรีระของพระพุทธเจ้าเพื่อบูชา พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์ เราไม่สรรเสริญการบูชาด้วยอามิสเห็นปานนี้
ว่าเป็นการดี ถ้าบริษัท ๔ มาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เรา
สรรเสริญว่าเป็นการดีอย่างยิ่ง ชื่อว่าบูชาเราด้วยบูชาอันยิ่ง."
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 42
๑๒. ทรงแสดงความเป็นไปแห่งเทวดา สมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรง
ขับ พระอุปวาณะ ผู้ยืนถวายงานพัดที่เฉพาะพระพักตร์ให้หลีก
ไปเสีย พระอานนท์สงสัยจึงทูลถาม พระองค์ตรัสบอกว่า "เทวดา
ประชุมกันเต็มที่ ๑๒ โยชน์รอบเมืองกุสินารา เพื่อเห็นพระตถาคต
แต่พระอุปวาณะยืนบังเสีย เราจึงขับไป" พระอานนท์ทูลถามว่า
"เทวดารู้สึกอย่างไร ?" พระองค์ตรัสตอบว่า "เทวดาบางพวกที่
ยังเป็นปุถุชนก็ร้องไห้กลิ้งเกลือกไปมา บางพวกที่เป็นอริยชน
มีความอดกลั้นโดยธรรมสังเวชว่า "สังขารไม่เที่ยง ไม่ได้ตาม
ปรารถนา."
๑๓. ทรงแสดงสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ :-
(๑) สถานที่พระตถาคต ประสูติ.
(๒) สถานที่พระตถาคต ตรัสรู้.
(๓) สถานที่พระตถาคต แสดงธรรมจักร.
(๔) สถานที่พระตถาคต ปรินิพพาน.
ว่าเป็นที่ควรดูควรเห็น ควรให้เกิดความสังเวช ของกุลบุตรผู้มี
ศรัทธา.
๑๔. อาการที่ภิกษุพึงปฏิบัติในสตรีภาพ พระองค์ทรงแสดงว่า :-
(๑) อย่าดูอย่าเห็น เป็นการดี.
(๒) ถ้าจำเป็นต้องงดต้องเห็น อย่าพูด เป็นการดี.
(๓) ถ้าจำเป็นต้องพูด ควรพูดคำเป็นธรรม.
๑๕. ทรงแสดงวิธีปฏิบัติในพุทธสรีระ ว่า พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 43
สรีระของพระเจ้าจักรพรรดิราช คือ ห่อด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วย
สำลี สลับกันโดยอุบายนี้ ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กเต็ม
ด้วยน้ำมันมีฝาเหล็กครอบ ทำจิตการธารด้วยไม้หอม ถวาย
พระเพลิงเสร็จแล้ว เก็บสารีริกธาตุบรรจุไว้ในเจดีย์ที่ถนนใหญ่ ๔
แพร่ง.
๑๖. ทรงแสดงถูปารหบุคคล ๔ จำพวก (บุคคลที่ควรทำเจดีย์ไว้
บูชา) คือ :-
(๑) พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า
(๒) พระปัจเจกพุทธเจ้า.
(๓) พระสาวกอรหันต์.
(๔) พระเจ้าจักรพรรดิราช.
๑๗. ทรงประทานโอวาทแก่พระอานนท์ ในครั้งนั้นพระอานนท์ไป
ยืนเกาะไม้มีสัณฐานคล้ายศีรษะวานร ร้องไห้อยู่ในวิหาร พระ
องค์ตรัสเรียกมาให้พระโอวาทว่า "สังขารไม่เที่ยง ต้องสูญสลาย
ไปเป็นธรรมดา" และทรงพยากรณ์ว่า "อานนท์มีบุญได้ทำไว้
แล้วด้วยในไตรทวาร จักได้เป็นพระอรหันต์โดยฉับพลัน."
๑๘. ตรัสสรรเสริญพระอานนท์ ว่า เป็นยอดอุปัฏฐาน ฉลาดรู้จักกาล
รู้จักบริษัท ว่ากาลใดบริษัทไหนควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ฯ ล ฯ
ถ้าแสดงธรรม บริษัทฟังไม่อิ่มไม่เบื่อเลย.
๑๙. ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา พระอานนท์กราบทูลให้พระพุทธเจ้า
เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองใหญ่ ๆ คือ ๑. เมืองจำปา ๒. ราชคฤห์
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 44
๓. สาวัตถี ๔. สาเกต ๕. โกสัมพี ๖. พาราณสี พระองค์ห้าม
เสียแล้วตรัสว่า "เมืองกุสินารานี้ ในอดีตเคยเป็นนครใหญ่มาก
ชื่อ "กุสาวดี" มีพระเจ้า มหาสุทัศน์จักรพรรดิราช ปกครอง
มีพลเมืองมาก อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร กึกก้องกังวาน
ด้วยเสียงทั้ง ๑๐ คือ :-
๑. เสียงช้าง ๒. เสียงม้า ๓. เสียงรถ ๔. เสียงเภรี ๕. เสียง
ตะโพน ๖. เสียงพิณ ๗. เสียงขับร้อง ๘. เสียงกังสดาล
๙. เสียงสังข์ ๑๐. เสียงคนเรียกกินข้าว ไม่สงบทั้งกลางวันกลางคืน.
๒๐. ตรัสให้แจ้งข่าวปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์ ว่าจักปรินิพพานใน
ยามใกล้รุ่งแห่งคืนวันนี้ เพื่อมิให้มัลลกษัตริย์กินแหนงแคลงใจ
ในภายหลัง พระอานนท์รับพุทธฎีกาแล้ว เข้าไปบอกแก่
มัลลกษัตริย์ในกลางที่ประชุม ณ ศาลาว่าราชการ กษัตริย์เหล่า
นั้นพร้อมด้วยโอรส, ลูกสะใภ้, ปชาบดี ก็โศกเศร้ารำพันต่าง ๆ
ประการ แล้วเสด็จไปสาลวัน. พระอานนท์จัดให้เข้าเฝ้าตาม
ลำดับพระวงศ์ เสร็จในปฐมยาม.
๒๑. ทรงโปรดสุภัททปริพาชก สมัยนั้น สุภัททปริพาชก ทราบว่า
พระพุทธเจ้าจักปรินิพพานในคืนนี้ จึงรีบไปเพื่อจะทูลถามข้อ
สงสัยบางอย่าง ชั้นแรกถูกพระอานนท์ห้ามไว้ ภายหลังได้รับ
พุทธานุญาต จึงเข้าไปทูลถามว่า "ครูทั้ง ๖ คือ ๑. ปูรณกัสสปะ
๒. มักขลิโคศาล ๓. อชิตเกสกัมพล ๔. ปกุทธกัจจายนะ
๕. สัญชัยเวลักฏฐบุตร ๖. นิครนถนาฎบุตร ได้ตรัสรู้จริงหรือ ?"
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 45
พระองค์ตรัสห้ามเสียแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่เขาว่า "มรรค
๘ ไม่มีในธรรมวินัยใด พระสมณะ ๔ เหล่า ไม่มีในธรรมวินัย
นั้น มรรค ๘ มีในธรรมวินัยของตถาคตเท่นั้น สมณะ ๔ ย่อม
มีด้วย."
สุภัททะฟังธรรมนี้แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกแล้ว ขออุปสม-
บท. พระองค์ตรัสว่า "คนนอกพุทธศาสนาต้องอยู่ปริวาส ๔
เดือนจึงบวชได้." สุภัททะว่า "ให้อยู่สัก ๔ ปีก็อา." พระองค์ตรัส
ให้พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชา.
๒๒. สุภัททะเป็นสักขีสาวก พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชาให้
เป็นสามเณร แล้วนำเข้าถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ให้สุภัททะ
อุปสมบทเป็นภิกษุ และบอกกัมมัฏฐานให้ไม่ช้านัก เธอก็ได้
สำเร็จอรหันต์ทันตาเห็น เป็น สักขีสาวก ของพระศาสดา (สาวก
องค์หลังสุดของพระพุทธเจ้า).
๒๓. ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ ว่า "ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด
ที่เราแสดงบัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยนั้นแล จักเป็นศาสดา
ของท่านทั้งหลาย โดยกาลที่ล่วงไปแห่งเรา."
๒๔. ตรัสให้ภิกษุเรียกกันโดยคารวะโวหาร ๒ อย่าง คือ :-
(๑) ผู้แก่เรียกผู้อ่อน ใช้คำว่า อาวุโส หรือ ออกชื่อโคตร
ก็ได้.
(๒) ผู้อ่อนเรียกผู้แก่ ใช้คำว่า ภนฺเต หรือ อายสฺมา ก็ได้.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 46
๒๕. ชั่วโมงสุดท้าย ตรัสไว้ ๔ ข้อ คือ :-
(๑) ดูก่อนอานนท์ ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็ก
น้อยเสียบ้าง เมื่อเราล่วงไปแล้วก็จงถอนเถิด.
(๒) ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไปแล้วสงฆ์พึงทำ พรหม-
ทัณฑ์ แก่ ฉันนภิกษุ เถิด คือ หากฉันนะเจรจาคำใด
ก็พึงเจรจาคำนั้น แต่ไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนแก่
เขา.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอสงสัยในพระรัตนตรัย
หรือในมรรคปฏิปทา ก็จงถามเถิด ดังนี้ ๓ ครั้ง แต่
พระสงฆ์นิ่งเงียบ พระอานนท์กราบทูลว่า "น่าอัศจรรย์"
พระองค์ตรัสรับรองว่า "ภิกษุ ๕๐๐ รูปที่ประชุมนั้น
เป็นอริยบุคคล สิ้นความสงสัยแล้ว."
(๔) ตรัสปัจฉิมโอวาทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ท่าน
ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.
๒๖. ปรินิพพาน เมื่อพระองค์ตรัสปัจฉิมโอวาทแล้ว มิได้ตรัสอะไร
ต่อไปอีกเลย ทรงทำปรินิพพานกรรมด้วยอนุบุพพวิหาร ๙
ประการ ดังนี้ :-
เข้าฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าฌานที่ ๒ โดยนัยนี้ จนเลย
ฌานที่ ๘ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ (ในตอนนี้พระอานนท์
ถาม พระอนุรุทธ ว่า "พระองค์ปรินิพพานแล้วหรือ ?" พระอนุรุทธ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 47
ตอบว่า "ยังก่อน กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ).
ออกจากสัญญาเวทยิต ฯ เข้าฌานที่ ๘ โดยนัยนี้ลงมาถึงฌานที่ ๑
ออกจากฌานที่ ๑ เข้าฌานที่ ๒ โดยนัยนี้จนถึงฌานที่ ๔
ออกจากฌานที่ ๔ แล้ว ทรงปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ณ เวลาใกล้รุ่งวันอังคาร ขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ที่ป่าไม้สาละ (สาสวโนทยาน) เมืองกุสินารา.
๒๗. ในขณะนั้นเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินหวั่นไหวกึกก้อง มีเทพยดา
และมนุษย์กล่าวสังเวคคาถาดังต่อไปนี้ :-
(๑) ท้าวสหัมบดีพรหม กล่าวว่า "บรรดาสัตว์ทั้งปวงใน
โลก ล้วนจะต้องทิ้งร่างไว้ถมปฐพี แม้องค์พระชินสีห์มีพระคุณ
ยิ่งใหญ่ ก็ปรินิพพานแล้ว น่าสลดนัก !
(๒) ท้าวโกสีย์เทวราช กล่าวว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
หนอ ! เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา ความสงบแห่งสังขารเป็น
(๓) พระอนุรุทธ กล่าวว่า "พระพุทธเจ้ามีจิตมีได้หวั่นไหว
สะทกสะท้านต่อมรณธรรม ปรินิพพานเป็นอารมณ์ ประหนึ่ง
ประทีปอันไพโรจน์ดับไป ฉะนั้น !
(๔) พระอานนท์ กล่าวว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน-
ขันธ์ เกิดเหตุมหัศจรรย์ มีโลกชาติชูชันเป็นอาทิ ปรากฏมีแก่
เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย !
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 48
อปรกาล
๑. ถวายพระเพลิง
๑. ครั้นพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่ยังไม่สว่างวัน พระอนุรุทธ
กับพระอานนท์ แสดงธรรมไปจนสว่าง พอสว่างแล้ว พระอนุรุทธ
บัญชาพระอานนท์ให้ไปบอกแก่ มัลลกษัตริย์.
๒. มัลลกษัตริย์ ให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศทั่วเมือง นำเครื่อง
สักการบูชา เครื่องดนตรี ผ้าอย่างดี ๕๐๐ พับ เสด็จไปสู่สาลวัน
พร้อมกันบุชาพุทธสรีระมโหฬารสิ้นกาล ๖ วัน ครั้นวันที่ ๗
ปรึกษากันว่า จะเชิญพระสรีระไปทางทิศใต้แห่งพระนครแล้ว
ถวายพระเพลิงนอกเมือง.
๓. อมัลลปาโมกข์ ๘ องค์ ทรงกำลัง พร้อมกันเข้าเชิญพระสรีระ
มิสามารถที่จะให้เขยื้อนจากที่ได้.
๔. มัลลกษัตริย์ทั้งหลายถามพระอนุรุทธว่า เพราะเหตุใด ? พระ
อนุรุทธ จึงบอกไปตามเทวดาประสงค์ว่า "ให้เชิญประสรีระไป
ทางทิศเหนือพระนคร แล้วข้าทรงอุดรทวาร ผ่านไปท่ามกลาง
เมือง เยื้องไปออกทางประตุบูรพทิศ แล้วถวายพระเพลิง
ณ มกุฎพันธนเจดีย์ ที่ด้านตะวันออกแห่งพระนคร (ดูแผนผัง
ดังต่อไปนี้) :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 49
เหนือ
กุ สิ
สาสวโนทยาน มกุฏพันธนเจดีย์ ออก
นา รา
๕. มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ทราบดังนั้น จึงผ่อนผันตามความประสงค์
ของเทวดา เชิญพระสรีระไปยังมกุฏพันธนเจดีย์ พันด้วยผ้าใหม่
ซับด้วยสำลี ตามวิธีที่ตรัสไว้แก่พระอานนท์ เตรียมจะถวาย
พระเพลิง.
๖. ครั้งนั้นมัลลปาโมกข์ ๔ องค์ สรงนำดำเกล้านุ่งห่มผ้าใหม่นำไฟ
เข้าจุดทั้ง ๔ ทิศ ไม่ติดเลย พระอนุรุทธจึงเฉลยให้ทราบว่า
"เทพยดาให้รอ พอ พระมหากัสสปะ ถวายบังคมพระพุทธบาท
ด้วยเศียรเกล้าก่อน" มัลลกษัตริย์จึงผัดผ่อนตามเทวาธิบาย.
๗. สมัยนั้น พระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางจาก
ปาวานคร พักอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง เห็น อาชีวกถือดอกมณฑารพ
เดินมา จึงถามข่าวพระศาสดา เขาบอกว่าพระองค์ปรินิพพาน
๗ วัน แล้ว.
๘. ลำดับนั้น ภิกษุที่ยังไม่สิ้นราคะ ก็ร้องให้กล้องเกลือกไปมา ท่านที่
สิ้นราคะ ก็อดกลั้นด้วยธรรมสังเวช มีภิกษุบวชภายแก่รูปหนึ่งชื่อ
สุภัททะ ห้ามว่า "หยุดเถิด "หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 50
นั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้อง
เกรงบัญชาใคร" พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคห-
กรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน จึงพาบริวารสัญจร
ต่อไป.
๙. ครั้นมาถึงมกุฏพันธนเจดีย์ จึงห่มผ้าเฉวียงบ่า ประณมหัตถ์
นมัสการ เดินเวียนจิตกาธาร ๓ รอบ แล้วเปิดเพียงเบื้อง
พระบาท ถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้าของตน ภิกษุ
๕๐๐ รูป ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน.
๑๐. พอพระมหากัสสปะกับบริวารนมัสการแล้ว เพลิงทิพย์เกิดขึ้นเอง
ไหม้พระสรีระ เหลืออยู่ ๕ อย่าง คือ ๑. พระอัฐิ ๒. พระ
เกสา ๓. พระโลมา ๔. พระนขา ๕. พระทันตา กับ ผู้คู่หนึ่ง
สำหรับห่อพระธาตุนั้น (ข้อนี้แหละเป็นมูลเหตุให้ชาวพุทธทำ
วิสาขอัฏฐมีบูชา ประจำปี ซึ่งเรียกกันว่า วันถวายพระเพลิง)
๑๑. มัลลกษัตริย์นำน้ำหอมมาดับจิตกาธาร (ดับไฟที่เชิงตะกอน)
แล้วเชิญพระสารีริกธาตุเข้าไปประดิษฐานไว้ใน สัณฐาคารศาลา
ในนครกุสินารา พิทักษ์รักษาอย่างมั่นคง ด้วยประสงค์จะมิให้
ใครแย่งชิงไป และได้ทำสักการบูชามโหฬาร สิ้นกาล ๗ วัน.
๒. แจกพระสารีริกธาตุ
๑. พระมหากษัตริย์ และพราหมณ์ ทั้ง ๗ พระนคร คือ :-
(๑) พระเจ้าอชาตศัตรู เมือง ราชคฤห์.
(๒) กษัตริย์ลิจฉวี " เวสาลี.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 51
(๓) กษัตริย์ศากยะ เมือง กบิลพัสดุ์.
(๔) ถูลีกษัตริย์ " อัลลกัปปะ.
(๕) โกสิกษัตริย์ " รามคาม.
(๖) มหาพราหมณ์ " เวฏฐทีปกะ.
(๗) มัลลกษัตริย์ " ปาวา.
ได้ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองกุสินารา จึงส่งทูต
มาของแบ่งพระสารีริกธาตุ.
๒. มัลลกษัตริย์ ไม่ยอมแบ่งให้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ :-
(๑) ทรงเห็นว่า ถ้าเราแบ่งให้ไปโดยเร็วทุกหมู่ที่มาขอ คง
จะไม่พอแน่ ยากที่จะเสร็จสงบลงได้ และยากที่จะผ่อนผันให้
ถูกต้องตามอัธยาศัยของเจ้านครทุกองค์ได้ (เพราะส่งไปโดย
ราชสาสน์).
๒) ทรงคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงอุตส่าห์มาปรินิพพานใน
คามเขตของเรา ก็เพื่อประทานพระสารีริกธาตุแก่เรา.
จึงไม่ยอมแบ่งให้แก่นครใด ๆ และได้ตรัสแก่ทูตานุทูตทั้ง ๗
นครว่า "พระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานในอาณาเขต
ของเรา เราจักไม่ให้ส่วนพระสารีริกธาตุ."
ส่วนทูตานุทูต ก็ไม่ยอม จวนจะเกิดมหาสงครามอยู่แล้ว.
๓. โทณพราหมณ์ผู้ห้ามทัพ ผู้มีปัญญาผ่อนผันให้ต้องตามคดีโลก
คดีธรรม เมื่อเห็นเช่นนั้นจึงคิดถึงความไม่เหมาะสม ๓ ประการ
คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 52
(๑) มัลลกษัตริย์ครองนครน้อยนี้ ควรสมานไมตรีกับนคร
อื่น ๆ ไม่ควรรบกัน.
(๒) การรบนั้นขัดต่อคำสอนของพระศาสดา เพราะพระองค์
ทรงสอนให้เว้นเบียดเบียนกัน.
(๓) พระสารีริกธาตุนั้น ควรแบ่งไปยังนครต่าง ๆ เพื่อ
สักการบูชาของชนทั่วไป.
จึงกล่าว สุนทรพจน์ ต่อไปว่า :-
ขอคณานิกรเจ้าผู้เจริญ เชิญฟังวาจาข้าพระองค์ในบัดนี้
พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นขันติวาที การรบกันเพราะเหตุ
แห่งพระสารีริกธาตุของพระองค์นั้นไม่งามเลย.
ข้าแต่กษัตริย์เจ้าผู้เจริญ ทั้งเจ้านครเดิม และต่างราชธานี
จงชื่นชมสามัคคีกัน แล้วแบ่งปันพระสารีริกธาตุ ออกเป็น ๘ ส่วน
ให้เสมอกันทุกพระนครเถิด.
ของพระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ จงแพร่หลายทั่วทุกทิศ
สถิตสถาพรเพื่อนิกรสัตว์สิ้นกาลนาน เถิด.
กษัตริย์และพราหมณ์ได้สดับมธุรภาษิต ก็เห็นชอบในสามัคคี
ธรรม.
๔. กษัตริย์และพราหมณ์ มอบธุระให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งส่วน
พระบรมธาตุ โทณพราหมณ์จึงเอา ตุมพะ (ทะนานทอง) ตวง
ได้ ๘ ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วถวายแก่เจ้านครทั้ง ๘ แล้วขอตุมพะนั้น
ไปบรรจุไว้ในเจดีย์มีชื่อว่า "ตุมพสถูป" หรือ "ตุมพเจดีย์"
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 53
๕. โมริกษัตริย์ เมืองปีปผลิวัน ทราบข่าวปรินิพพานทีหลัง จึง
ส่งทูตมาขอพระบรมธาตุ เมื่อไม่ได้จึงเชิญ พระอังคาร (เถ้าถ่าน
ในเชิงตะกอน) ไปบรรจุไว้ในเจดีย์ มีชื่อว่า "อังคารเจดีย์."
ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์
๑. สัมมาสัมพุทธเจดีย์เกิดขึ้นครั้งแรก ๑๐ ตำบล คือ :-
พระธาตุเจดีย์ ๘ ตำบล (คือใน ๘ นครที่กล่าวแล้ว).
พระตุมพเจดีย์ ๑ " (ที่โทณพราหมณ์ทำไว้).
พระอังคารเจดีย์ ๑ " (ในเมืองปิปผลิวัน).
รวม ๑๐ ตำบล.
๒. เจดีย์ที่สร้างไว้ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔
ประเภท คือ :-
(๑) ธาตุเจดีย์ คือ เจดีย์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ.
(๒) บริโภคเจดีย์ คือ พระตุมพเจดีย์ พระอังคารเจดีย์
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล เจดีย์ที่บรรจุบริขารที่พระองค์ทรง
บริโภคแล้ว เช่น บาตร, จีวร, เตียง, ตั่ง กุฏิ, วิหาร, และ
บริขารอื่น ๆ.
(๓) ธรรมเจดีย์ คือ เจดีย์ที่จารึกพระพุทธวจนะลงใน
ใบลาน, แผ่นทอง, แผ่นศิลา เป็นต้นแล้ว บรรจุไว้ในเจดีย์.
(๔) อุทเทสิกเจดีย์ คือ พระพุทธรูป.
๓. ความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย
๑. ในวันที่แจกพระบรมสารีริกธาตุนั้น มีพระสงฆ์ประชุมกันเป็น
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 54
มหาสันนิบาต พระมหากัสสปะเป็นประธานในสงฆ์ หวังจะให้
เกิดอุตสาหะในการสังคายนาพระธรรมวินัย จึงนำเอาคำจ้วงจาบ
พระธรรมวินัย ของสุภัททวุฑฒบรรพชิตมากล่าว แก่ภิกษุ
ทั้งหลายแล้วชักชวนว่า "อย่ากระนั้นเลย เราทั้งหลายจงร้อยกรอง
พระธรรมวินัยเถิด มิฉะนั้น วาทะที่มิใช่ธรรมวินัยจักรุ่งเรือง
พระธรรมวินัยก็จักเสื่อมถอย คนชั่วจักลบล้างธรรมวินัย คนชั่ว
จักเจริญ คนดีจักเสื่อมถอยน้อยกำลัง พระศาสนาก็จักตั้งอยู่
ไม่ได้."
๒. ครั้นพระมหากัสสปะกล่าวจบ พระสงฆ์ในที่ประชุมนั้นเห็นชอบ
จึงตกลงทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก และ
ต่อจากนั้นพระสงฆ์รุ่งหลัง ๆ ก็ได้ช่วยกันทำการสังคายนาเป็น
ครั้งคราว ตามเหตุการณ์รณนั้น ๆ รวม ๕ ครั้ง.
๓. ภายหลังจากนั้น นักปราชญ์ได้แต่งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
กับทั้งศัพท์ศาสตร์ เป็นอุปการะแก่นักศึกษา กุลบุตรได้บวช
เรียนปฏิบัติสืบต่อกันมา พระธรรมวินัยอันเป็นตัวแทนพระศาสดา
จึงได้ดำรงเจริญแพร่หลายไป ณ พุทธศาสนิกมณฑล ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
๔. แผนผังการสังคายนา ๕ ครั้ง ดังต่อไปนี้ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 55
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 56
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 57
พุทธประวัติเนติ ๑๕
เหตุการณ์ในพุทธประวัติ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงมี
พระลักษณะ หรือพระนิสัยที่ควรยึดถือไว้เป็นเยี่ยงอย่างเป็นอันมาก แต่
ในที่นี้จะนำมาให้เห็นเพียง ๑๕ ข้อ ดังต่อไปนี้ :-
๑. ทรงมีพระเมตตากรุณา เช่น เมื่อทรงพิจารณาถึงธรรมที่
พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่าเป็นคุณอันลึกซึ้งมาก ยากที่บุคคลผู้ยินดีในกามคุณ
จะตรัสรู้ตามได้ ทรงท้อพระทัยเพื่อจะตรัสสั่งสอน แต่อาศัยพระกรุณาใน
หมู่สัตว์ จึงทรงพิจารณาเห็นว่าบุคคลนี้มี ๔ เหล่า เปรียบเหมือนดอกบัว
๔ เหล่า ผู้สามารถรู้ตามได้ถึง ๓ เหล่า จึงได้เสด็จเที่ยวสั่งสอนด้วยความ
เมตตากรุณาในหมู่ชนนั้น ๆ (๑/๔๔-๔๕) (พุทธ-สังเขป ๑๗)
แม้ในตอนใกล้จะปรินิพพาน ทรงพระกรุณาโปรดให้สุภัททะ-
ปริพาชกเข้าเฝ้าถามปัญหา ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจ และให้อุปสมบท
เป็นองค์สุดท้าย (๓/๓๗) (พุทธ-สังเขป ๔๔)
๒. ทรงตั้งใจจริง ขยันหมั่นเพียนจริง เช่นในคราวพระราชบิดา
ทรงทำวปมงคลแรกนาขวัญ, พระสิตธัตถกุมารพระองค์เดียวประทับที่
ภายในม่าน โคนต้นหว้า เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้
เกิดขึ้นได้ นี้จัดเป็นสัมมาสมาธิตั้งใจจริง (๑/๑๙-๒๐)
อนึ่ง ในสมัยเป็นนักเรียกในสำนักครูวิศวามิตร ทรงเรียนด้วย
ความขะมักเขม้นจนจบสิ้นความรุ้ของครูในเวลาอันรวดเร็ว ได้แสดงความ
รู้ให้ปรากฏในหมู่พระญาติยิ่งกว่าพระกุมารอื่น (๑/๑๙) (พุทธ-
สังเขป ๑๐)
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 58
ภายหลังเสด็จออกทรงผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรทำฌานใน
สำนักท่านอาฬารดาบสและท่านอุทกดาบส ได้เท่าเทียมกับดาบสทั้งสอง
ในเวลาอันสั้น ครั้นเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ จึงเสด็จออกไปทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยา ปรารภความเพียรไม่ท้องถอยไม่ย่อหย่อน (๑/๓๕ - ๓๖ - ๓๗)
(พุทธ - สังเขป ๑๓ - ๑๔ )
ตอนที่ทำความเพียรอย่างสูง คือ ในวันที่ตรัสรู้ประทับนั่งที่โพธิ-
บัลลังก์ ทรงตั้งพระหฤทัยว่า ยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด
จักไม่เสด็จลุกขึ้นเพียงนั้น แม้เลือดเนื้อจะแห้งไป คงเหลือแต่หนังหุ้ม
เอ็นและกระดูกก็ตาม (๑/๔๔) (พุทธ - สังเขป ๑๔) ทั้ง ๓ ตอนนี้
แสดงถึงความตั้งใจจริงและพากเพียรจริง.
๓. ทรงมีความกล้าหาญ เช่นทรงมีพระหฤทัยกล้าต่