Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Neosiris

#41
ต่อเลยนะครับ
นอกจากหลักฐาน ที่เป็นบันทึกเอกสาร ทั้งในรูป ตำนาน พงศาวดาร ของบรรพชนชาวไทย พม่า มอญ และลาว ที่จะยกมาเป็นเหตุผลสนับสนุนว่า
ชมพูทวีป คือ ผืนแผ่นดินที่ตั้งประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน แล้วหลักฐานชิ้นหนึ่งก็คือ แผนที่โบราณ ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของ ปัญจมหานที ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของชมพูทวีป ที่ได้ไหลผ่านเข้ามายังดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ไหลไปยังประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ในปัจจุบัน แม้ว่าเวลาจะผ่านมาสองพันกว่าปี ชื่อเรียกแม่น้ำแต่ละสายอาจจะเปลี่ยนไป แต่ร่องรอยของแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ สาย ก็ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อยืนยันความเป็นชมพูทวีปที่แท้จริง แล้ว

ทำไมชมพูทวีป ที่บรรพบุรุษ มอญ ลาว และ ไทย เชื่อว่า อยู่ที่ดินแดนสุวรรณภูมิปัจจุบัน จึงถูกยกให้เป็นอินเดียปัจจุบัน    
เมื่อ ความเข้าใจเรื่อง ที่ตั้งของ ชมพูทวีป เกิดความสับสน ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ ๑ แล้ว และก็น่าที่จะยุติจบลงได้โดยง่าย ว่า ชมพูทวีป คือ ผืนแผ่นดินที่ตั้งประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน เพราะเหตุว่ามีมหานทีทั้ง ๕ ไหลผ่านเข้ามายังดินแดนแถบนี้ แต่ นักประวัติศาสตร์ ก็ต้องสับสน จนไม่อาจที่จะไม่เชื่อได้ว่า ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่ในสมัยปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ๔ ประเทศ คือ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ก็เพราะว่ามี จดหมายเหตุการเดินทางของพระภิกษุจีนที่เดินทางจาริกมาสืบพระพุทธศาสนายังชมพูทวีป ซึ่งได้มีการบันทึกเส้นทาง และสถานที่ต่างๆ ยืนยันไว้โดยละเอียด นั่นเอง

นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีชาวตะวันตก ได้อาศัยบันทึกการเดินทางมาสืบพระพุทธศาสนาของพระภิกษุจีน ในการที่จะค้นหา สถานที่ต่างๆ ในสมัยพุทธกาล โดยเฉพาะที่ตั้งของสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน โดยบันทึกการเดินทางที่สำคัญ ๒ ฉบับ คือ
    
๑. บันทึกการเดินทางของพระภิกษุฟาเหียน ซึ่งเดินทางมายังชมพูทวีป-ลังกาทวีป ระหว่าง พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗
๒. บันทึกการเดินทางของพระภิกษุเฮี่ยนจังหรือพระถังซัมจั๊ง ซึ่งเดินทางมาอินเดีย ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๘

ซึ่งพระภิกษุจีนทั้ง ๒ รูป ได้เดินทางมาสืบพระศาสนา ในช่วงเวลาที่ห่างกันถึง ๒๓๐ ปี แต่อาจจะไม่มีใครสงสัยว่า พระภิกษุจีนทั้ง ๒ รูป นี้ ท่านได้จาริกไปยังอินเดียที่เดียวกันหรือเปล่า?
    
แต่ถ้าหากมีใครที่ได้อ่านบันทึก ทั้ง ๒ ฉบับ โดยละเอียด และไม่ได้มีอคติว่า พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดียในปัจจุบัน
ก็จะพบว่า พระภิกษุจีน ๒ รูป ท่านเดินทางไปอินเดียคนละที่กัน และ แน่นอนมีเพียงรูปเดียวที่เดินทางมาสู่ชมพูทวีปและอินเดียที่แท้จริง นั่นก็คือ

หลวงจีนฟาเหียน
 
ดังเช่นที่ผมจะยก ตัวอย่างเส้นทางการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ที่ท่านจะเดินทางไป
เมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สถานที่ประสูติของ เจ้าชายสิทธัตถะ
โดยท่านหลวงจีนได้ตั้งหลักที่ นครสาวัตถี แล้วบันทึกไว้ดังนี้ ว่า

จาก นครสาวัตถี ไปทางอาคเนย์ เดิน ๑๒ โยชน์ ถึงเมืองหนึ่งชื่อ นะปะกะ ต่อไปนี้เดินทางไปทางทิศตะวันออกทางไม่ถึงโยชน์ถึงนครกบิลพัสดุ์ จากนครไปทางทิศตะวันออก ๕๐ ลี้ มีราชอุทยานชื่อสถานพุทธประสูติ เดินไปทางตะวันออก ๕ โยชน์มี ประเทศชื่อ ราม (คาม)

จากบันทึกเส้นทางดังกล่าว เมื่อนำมาเขียนเป็นแผนที่การเดินทาง จะปรากฏ ดังแผนผังข้างล่างนี้


    
จากแผนผังข้างบน เมื่อเปรียบเทียบกับ แผนผังที่ตั้ง เมืองและสังเวชนียสถานในประเทศอินเดียและเนปาล ตามแผนที่ข้างล่างนี้ จะพบว่า ลุมพินีจะอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครสาวัตถี แทนที่จะอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้
    
ดังนั้น การที่ นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก ใช้บันทึกการเดินทางของพระภิกษุจีนทั้ง ๒ รูป ในการค้นหาที่ตั้งของสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล และเมืองต่างๆ ในสมัยพุทธกาล จึงเกิดความขัดแย้งกันเอง โดยเฉพาะ ที่ตั้งของเมือง กบิลพัสดุ์ และสวนลุมพินี ก็เพราะพระภิกษุจีนทั้ง ๒ รูปเดินทางไปคนละที่นั่นเอง แต่คนไทยก็ไม่ได้เคยใส่ใจที่จะค้นหาความจริง คือ ใครว่าที่ไหนก็ว่าที่นั่น

ทำไมเราจึงไม่ศึกษา เพื่อให้รู้แน่ว่า ความเข้าใจของ บรรพบุรุษ ของเรา ที่ว่า ชมพูทวีป คือ ดินแดนที่เป็นประเทศไทย ลาว และพม่าในปัจจุบัน เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด เพราะการที่เราจะทำการศึกษา ค้นคว้าหาที่ตั้งที่แท้จริงของชมพูทวีปนั้น ย่อมจะนำไปสู่การพิสูจน์ทราบว่า พระพุทธศาสนา เกิดขึ้นที่ไหนกันแน่

เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง และเป็นการปกป้องศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของบรรพชนของเราแต่โบราณกาล จากคำกล่าวหาและดูถูกบรรพบุรุษของตน ว่า เป็นผู้มีความรู้ในประวัติศาสตร์ในวงจำกัด ดังที่จะยกสำเนา คำตอบกระทู้ถามที่คณะรัฐบาลสมัยหนึ่ง ได้ตอบกระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นท่านหนึ่ง ที่ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง
การชำระประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ในคำถามที่ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้มีการชำระประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเพื่อค้นหาความจริงของการอุบัติแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด มาให้ท่านทั้งหลายได้อ่าน ดังนี้ว่าก่อนที่จะตอบคำถามนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เอกสารโบราณของไทยที่กล่าวถึงประวัติพระพุทธเจ้าส่วนมากเป็นตำนานพื้นบ้านซึ่งเล่าเรื่องวิถีชีวิตประชาชนในถิ่นนั้นๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาแล้วแต่งเรื่องแบบจินตนาการไปไกลเพื่อรองรับปูชนียสถานที่สร้างขึ้นในถิ่นนั้นๆ โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดรับสั่งกับประชาชนว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จะมาประดิษฐานในที่นั้นๆหลังจากพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน เช่น ตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ตำนานเมืองโยนก ซึ่งเอกสารเหล่านี้เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง มิได้เขียนขึ้นบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์แต่เขียนตามจินตนาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนชมพูทวีปเป็นประเทศสยาม เช่น เรียกเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองปาฏลีบุตร เรียกเจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราชเป็นศรีธรรมาโศกทุกพระองค์

เพราะการที่จะนำเอา เอกสารโบราณของไทยที่ผู้เขียนมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ในวงจำกัดมาตัดสินประวัติพระบรมศาสดาเอกของไตรโลกว่าเสด็จอุบัติในประเทศไทยนั้นเป็นไปไม่ได้ ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง บัณฑิตชนไม่สรรเสริญ หากทำก็จะเป็นการบิดเบือนพระพุทธศาสนาสร้างความอับอายขายหน้าแก่ชาวพุทธทั่วโลก .

ยังมีอีกยาวเลยครับแล้วจะนำมาให้อ่านวันพรุ่งนี้ครับ
ที่จริงลงกระทู้ไว้นานแล้วครับแต่น่าจะผิดพลาดกับการลิงค์ตัวอักษร
ขอบคุณ คุณ เชื่อในพระเจ้า ด้วยครับที่กรุณามาอ่านครับ

เทพรักษาเทวาคุ้มครองทั้งครอบครัวครับ
#42
      จริงๆแล้วยังมีต่อครับ   
นอกจากนี้ ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีปอยู่ที่ไหน
บรรพชนคนไทยแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน ตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดง ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ที่พระมหาญาณคัมภีร์ พระสงฆ์จากเชียงใหม่เดินทางไปลังกา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๖ ดังจะขอคัดลอกมาแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ ดังนี้
พระมหาญาณคัมภีระไปลังกา

         
เมื่อนั้น ญาณคัมภีระจิ่งเมือเมตตาพระยาบรมราชาธิราชบอกกิจทังมวลดั่งอั้น พระยาจิ่งไหว้ญาณคัมภีระเถรเจ้าว่าดีนัก เจ้ากูบอกแก่ข้านี้ดีจิงนัแล ขอเจ้ากูอสหะไปเถิงที่เคล้า หื้อได้อันชอบธัมมวินัยมาไว้เทอะ ข้าจักหื้ออามาจผู้ชื่อสุภรติไปกับตามเจ้ากูชะแล พระยาแต่งอามาจบ่าว ๒ คน ไปกับญาณคัมภีรเถรเจ้า ว่าดีนักเจ้ากู เถรเจ้าก็ลงไปไหว้ธัมคัมภีระสมเด็จราชคุรุ ท่านยินดีจิ่งแต่งชาวเจ้าอันเป็นสิกไป ๕ ตน มีธัมมานันทะเป็นเคล้าแก่ชาวเจ้าทังหลาย ๑๒ ตน อุบาสก ๔ คนไปสู่มะริดตะนาวสี ขึ้นเมตตาพระยาเมืองที่นั้น ยินดีกับด้วยญาณคัมภีรเถรเจ้าอันจักไปเอาสาสนานั้น พระยาก็ราธนาเถรเจ้าขอปฏิญญาณว่า คันได้สาสนาและพอกมาขอเมตตาข้าทังหลายพายหน้าแท้ อย่าล่วงพ้นทางอื่นแด่ว่าสันนี้ ก็หื้อลงเรือไปด้วยพ่อค้าสำเภา ปีก่าเหม้าสักกราชได้ ๗๘๕ ตัว (พ.ศ. ๑๙๖๖) ไปนาน ๔ เดือน ก็ไปรอดเถิงลังกาทวีป ท่านก็เข้าไปไหว้มหาสุรินทเถรในเมืองอนุราธปุรนคร วัดถูปาราม ด้วยกิจทังมวล ๑๐ ประการ สุรินทเถรเจ้ากล่าวว่า ดั่งสาสนาในลังกา ๓๐ เมืองนี้ หากดูดั่งกันเสี้ยงแล เหตุว่าท่านเจ้าม่าน ท่านเจ้าเม็ง ท่านเจ้ากุลาผาสี เจือจานกัน ไผใคร่ว่าอันใดก็หากว่า ไผใคร่เยียะอันใดก็หาเยียะตามใจอันมัก บ่ตามพระธัมมวินัยพระเจ้าสักอันแล เป็นดั่งพระเชียงใหม่สู ตนชื่อสิทธันตะมาสูตแต่ก่อนนั้นหากบ่แม่นแท้แล อันปฏิบัติตามธัมมวินัยแท้ ตามอัตถะแท้ เท่ามีในโรหณชนบท มหารัฐฐะสิ่งเดียว ด้วยสาสนาพระเจ้าตั้งอยู่ที่นั้น ยังเป็นถิรทัฬหภาวะต่อเท่า ๕
,
๐๐๐ วัสสา บ่เป็นภินนาเภทกัมม์เยื่องใด เหตุพระพุทธเจ้าสั่งพระยาอินท์ไว้หื้อเทวดาอยู่รักสาดูผู้ร้าย ผู้ดีแท้แล ท้าวพระยาเสนาอามาจประชาพร้อมกันรักสาด้วยชอบธัมม์แท้แล อาวุโสท่านฉลาดด้วยอัตถะจุ่งอสหะเข้าไปเถิงโรหณชนบทมหารัฏฐะเทอะ เมตตาฉันนี้แล ญาณคัมภีระก็เอาปริวารแห่งตนไปเถิงโรหณชนบท รอดประตูเวียงชั้นนอกเพิ่นก็แส้งถามด้วยกิจอันร้ายอันดีชุอันแล้ว จิ่งมีเข้าตอกดอกไม้เทียน ๘ คู่ ปูชาเทวดา สัจจอธิษฐานว่า ข้าทังหลายจักมาเอาสาสนาพระไตรรัตนะ มหาโพธิเมือถปันนาไว้ในชุมพูทวีปด้วยสวัสดีแท้ บ่มาเพื่อกระทำร้ายสักอัน ผิว่าข้าทังหลายมากระทำร้ายแก่บ้านเมืองและสาสนา จุ่งหื้อเป็นอันตรายแก่ผู้ข้าทังหลายเทอะอยู่ที่นั้นเดือน ๑ บ่มีอันตรายจิ่งใช้หนังสือเข้าเถิงชั้นถ้วน ๒ ก็แส้งถามฉันเดียว ก็กล่าวฉันเดียว เถิงชั้นถ้วน ๓ ถ้วน ๔ ถ้วน ๕ ถ้วน ๖ ถ้วน ๗ ฉันเดียว กถาคำจาบ่พัดบ่ต่าง ก็จิ่งใช้เถิงเสนาอามาจเจ้าปถวีสราชจิ่งมีอาชญาร้องเรียกแล้ว เข้าเถิงเมตตาเสนาอามาจ เจ้าปถวีสราชว่า สาธุ สาสนทายาท ดังนี้

         
นอกจากนี้ ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีปอยู่ที่ไหน
ของบรรพชนมอญแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน จารึกกัลยาณี ที่พระเจ้าปิฎกธร กษัตริย์รามัญ ได้ให้จารึกไว้ หลังจากได้ชำระพระพุทธศาสนา เมื่อ ๕๐๐ กว่าปีก่อน ดังจะได้คัดลอกมา แต่พอสังเขป มีดังนี้ว่า
          พระโมคคลีบุตรดิสสเถระก็เลือกคัดภิกขุขีณาสพ ผู้ทรงซึ่งคุณวิเศษ คือฉฬาภิญญาและจตุปฏิสัมภิทาญาณ ได้ภิกษุประมาณ ๑๐๐๐ รูปแล้ว จึงกระทำตติยสังคีติกรรม สิ้นกาล ๙ เดือนจึงเสร็จสังคายนกิจ ก็ฉันนั้น
สังคีติกรณาวสาเน ปน ก็ในกาลเมื่อกระทำสังคายนกิจเสร็จแล้ว พระผู้เปนเจ้าพิจารณารู้ชัดว่า ในอนาคตกาลภายหน้า พระพุทธสาสนาจักประดิษฐานอยู่ในปัจจันตะประเทศดังนี้แล้ว จึงส่งไปซึ่งพระเถระทั้งหลายนั้นๆ บรรดาพระเถระทั้งหลายที่พระผู้เปนเจ้าส่งไปเหล่านั้น
…
ส่วนว่าพระโสณเถระกับพระอุตรเถระไปอยู่รามัญประเทศ ที่เรียกว่าแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ เพื่อจะประดิษฐานพระพุทธสาสนาไว้ ในรามัญประเทศ
ตทา สุวณฺณภูมิรฏฺเฐ ในกาลครั้งนั้น บรมกษัตราธิราชทรงพระนามว่าพระเจ้าสิริมาโศก ได้เสวยราชสมบัติเปนใหญ่ในแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ ก็พระนครซึ่งเปนพระราชฐานที่อยู่ของพระเจ้าสิริมาโศกนั้น มีอยู่ในทิศน้อยข้างปัจฉิมทิศแห่งเกลาสภะบรรพตเจดีย์...
เอวํ สมฺมาสมฺพุทธสฺส ปรินิพฺพานโต อนึ่งบัณฑิตชาติผู้มีปรีชาพึงเห็นพึงรู้เถิดว่า นับจำเดิมแต่กาลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วมา เมื่อพระพุทธสาสนาล่วงแล้วได้ ๒๓๖ พระวัสสา พระเถระทั้งสองได้ประดิษฐานพระพุทธสาสนาไว้ ในรามัญประเทศนี้ ด้วยประการฉะนี้
เอวํ รามญฺญเทเส สาสนปติฏฺฐานโต ปฏฺฐาย จำเดิมแต่พระพุทธสาสนาประดิษฐานอยู่ในรามัญประเทศอย่างนี้ ก็รุ่งเรืองดำเนิรไปสิ้นกาลนาน ครั้นเมื่อกาลล่วงไปล่วงไป รามัญสถานก็ทุพพลภาพมีกำลังลดน้อยถอยลง ด้วยเหตุอันตรายต่างๆ คือเพราะพวกทามริกโจรเข้าทำลายแย่งชิงซึ่งรามัญประเทศมีมณฑลอันกว้างใหญ่ ทำให้เปนส่วนของตนต่างๆ ๑ เพราะอหิวาตกะโรคเบียดเบียน ๑ เพราะทุพภิกขะภัยเบียดเบียน ๑ เพราะพวกพยุหเสนาของพระราชาทั้ง ๗ พระนครยกมาย่ำยี ให้มีอาณาจักรอันประเสริฐย่นย่อน้อยเข้า ๑ เหตุดังนั้น พระพุทธสาสนาจึงทุพพลภาพเสื่อมซุดลง เพราะภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในรามัญประเทศนั้น ไม่สามารถจะเล่าเรียนพระปริยัติธรรมได้ โดยสะดวก และไม่สามารถจะบำเพ็ญสัมมาปฏิบัติให้เต็มที่ได้
อกุตฺตรฉสตาธิกวสฺสสหสฺเส ปน กาเล ก็ในกาลเมื่อพระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๑๖๐๑ พระวัสสา ลุรุทธรูปเพทศักราช ๔๑๙ ปี ในปุกามนคร พระเจ้าอนุรุทธเทพผู้เปนอิศรภาพในอริมัทนะบุรี ได้ให้นำมาซึ่งภิกษุสงฆ์กับทั้งพระไตรปิฎกแล้ว จึงยังพระพุทธสาสนาให้ดำรงอยู่ ในอริมัททนะบุรีคือปุกามนคร
ตโต สตฺตุตรวสฺสกาเล เบื้องหน้าแต่นั้นมากาลล่วงไปได้ ๑๐๗ ปี ลุรสยมปาณศักราช ๕๒๖ ปี ในลังกาทวีป พระเจ้าสิริสังฆโพธิปรักกรมพาหุ ได้ทรงชำระพระพุทธสาสนาในลังกาทวีป ให้บริสุทธิ์ครั้งหนึ่ง
ตโต ปน ฉฏฺเฐ วสฺเส ก็ครั้นลุยมสิขีปาณศักราช ๕๓๒ เปนปีที่ ๖ นับแต่ปีที่พระเจ้าสิริสังฆโพธิปรักกรมพาหุ ได้ทรงชำระพระพุทธสาสนาแล้วนั้น ยังมีพระมหาเถระองค์หนึ่ง ชื่อว่า อุตตรชีวะ เปนอาจารย์ของพระเจ้าปุกาม จึงมีดำริว่าเราจะขึ้นนาวาไปพร้อมด้วยภิกษุเปนอันมาก เพื่อจะไปนมัสการพระเจดีย์ในลังกาทวีป เยน กุสิมนครํ เมืองกุสิมนครมีอยู่ในทิศาภาคใด พระผู้เปนเจ้าก็ไปสู่ทิศาภาคนั้น
อุตฺตราชีวมหาเถโร กุสิมนครํ ปตฺวา ครั้นพระอุตราชีวมหาเถระไปถึงเมืองกุสิมนครแล้ว จึงขึ้นนาวาพร้อมกันกับภิกษุเปนอันมากและสามเณรองค์หนึ่ง มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์
อุตฺตราชีวมหาเถโรปิ นาวํ อภิรูหิตฺวา แม้เมื่อพระอุตตราชีวมหาเถระขึ้นสู่นาวาไปถึงลังกาทวีปแล้ว ในกาลนั้นพระมหาเถระชาวลังกาทวีปทั้งหลาย ก็ชักชวนกันมาสนทนาซักถามในข้อธรรมิกถา กับด้วยพระอุตตราชีวมหาเถระนั้น
เมื่อพระอุตราชีวมหาเถระได้กระทำกิจมีนมัสการพระเจดีย์เป็นต้นในลังกาทวีปแล้ว ก็กลับมายังปุกามนคร ส่วนฉปฏสามเณรได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุและอยู่เล่าเรียนพระไตรปิฎกและอรรถกถาในเกาะลังกาต่อ จนได้ ๑๐ พรรษา ได้เป็นพระเถระแล้ว จึงเดินทางกลับปุกามนคร พร้อมทั้งชักชวนพระเถระที่ทรงพระไตรปิฎกอีก ๔ รูป รวมเป็นคณะวรรค ๕ รูป เพื่อเดินทางไปสู่ปุกามนครด้วยกัน


         . สมฺมาสมฺพุทฺธปรินิพฺพานโต นับจำเดิมแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วมา พระพุทธสาสนาล่วงแล้วมาได้ ๒๐๐๒ พระวัสสา ลุนภยมนาคศักราช ๘๒๐ ปี พระเจ้ารามาธิบดี ศรีบวรมหาธรรมราชาธิราชเปนพหุสูตรด้วยอำนาจสุตคุณ คือรู้พระไตรปิฎก และรู้ตักกศาสตร พยากรณศาสตร ฉันทศาสตร อลังการศาสตร โชติศาสตร แพทยศาสตร คณิกศาสตร ทั้งเปนผู้มีศิลปศาสตรมาก ด้วยอำนาจศิลปะคุณมีช่างอิฐและช่างไม้เปนต้น และพระองค์เปนผู้ชำนาญในภาษาชาวต่างประเทศ และเปนคณสมังคีมีความพร้อมเพรียงด้วยหมู่อเนกศรัทธาทิคุณ บริบูรณ์ด้วยคชบดีสีขาวเสมอด้วยดอกกมุทและดอกคล้า หรือมีสีขาวดังพระจันทร์ ในฤดูสรทกาล และพระองค์ให้กระทำค่ายรักษาประชุมชน ในรามัญประเทศทั้งสามมณฑล คือกุสิมมณฑล ๑ หงสวดีมณฑล ๑ มุตติมมณฑล ๑ ครั้นพระองค์ให้กระทำการรักษาเสร็จแล้ว ก็ทรงครองราชย์สมบัติโดยชอบธรรมอยู่ในเมืองหงสวดี

ตโต ราชา ในกาลนั้น พระเจ้ารามาธิบดีได้ทรงสดับเถรวาทดังนั้น จึงทรงพระดำริว่า ดังเราสังเวชหนอ คำที่พระอรรถกถาจารย์เจ้าผู้ประเสริฐกล่าวไว้ว่า พระพุทธสาสนาจักดำรงอยู่ได้ จนตลอดกาลประมาณ ๕๐๐๐ พระวัสสา ก็ในกาลบัดนี้นับจำเดิมแต่กาลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณมา กาลล่วงไปได้ประมาณ ๒๐๔๗ ปี ในกาลเพียงเท่านี้ พระพุทธสาสนาสิยังเกิดมีมลทิน เปนเสี้ยนหนามประกอบด้วยอันตราย การอุปสมบทก็ประกอบด้วยความรังเกียจบังเกิดขึ้นดังนี้แล้ว จะทำอย่างไรหนอ พระพุทธสาสนาจึงจะสามารถเปนไปได้จนตลอดกาลที่สุดประมาณ ๕๐๐๐ พระวัสสา


         ....

         
พระเจ้ารามาธิบดี จึงได้มีความปริวิตก ถึงเรื่องราวที่ได้สดับมาถึง การประดิษฐานพระพุทธสาสนาในลังกาทวีป ตั้งแต่ เมื่อพระโมคคัลลีบุตรดิสสมหาเถระส่งพระมหามหินทเถระไปยังเกาะลังกา จนถึงสมัยพระเจ้าสิริสังฆโพธิปรักกมพาหุมหาราช และในรัชกาลภายหลังต่อๆ มา คือพระเจ้าวิชัยพาหุ ๑ พระเจ้าปรักกมพาหุ ๑ จึงได้มีพระราชดำริที่จะไปอาราธนาพระภิกษุสงฆ์ให้ไปนำมาซึ่งอุปสมบทอันบริสุทธิ์ในลังกาทวีป ที่เปนมหาวิหารวาสีนิกายซึ่งเปนธรรมวาทีปฏิบัติดีบริสุทธิ์โดยแท้ มาประดิษฐานอยู่ในรามัญประเทศนี้ และได้ส่งราชทูตไป ๒ นาย คือจิตรทูต ๑ และ รามทูต ๑ กับทั้งบริวารคนใช้ ให้นำพระเถระ ๒๒ รูปกับทั้งศิษย์ เพื่อเดินทางไปยังลังกาทวีป ทั้งได้จัดเครื่องบูชาสักการพระสิริทาฐธาตุ พระเจดีย์ และบูชาพระพุทธบาทวลัญชะเจดีย์ และบูชาพระศรีมหาโพธิ์เจดีย์ นอกจากนั้นยังได้ทรงจัดเครื่องพระราชบรรณาการ ที่จะส่งไปถวายพระเจ้าภูวเนกพาหุ ผู้เปนใหญ่ในสิงหฬทวีป
ตโต สสิสฺเส ในลำดับนั้น พระเจ้ารามาธิบดี จึงเสด็จส่งพระเถระ ๑๑ รูป มีพระโมคัลลานเถระเปน ประธานกับทั้งศิษย์ ให้ขึ้นนาวาลำเดียวกันกับรามทูต และเสด็จส่งพระเถระอีก ๑๑ รูป มีพระมหาสิวลีเถระเปน ประธานให้ขึ้นนาวาลำเดียวกันกับจิตรทูต
อถ รามทูตาภิรุฬฺหา นาวา ในกาลนั้น นาวาที่รามฑูตกำกับไปแล่นออกอกจากปากน้ำชื่อว่าโยคะ ในวันอาทิตย์เดือนสามแรม ๑๑ ค่ำ ลุมินิสิขีนาคศักราช ๘๓๗ แล้วแล่นออกทะเลไป ก็แต่นาวาที่จิตรทูตกำกับไปนั้น แล่นออกจากปากน้ำโยคะ ในวันจันทร์เดือนสามแรม ๑๒ ค่ำ แล้วแล่นออกทะเลไป ต้นหนเปนผู้ชำนาญรู้ทางทะเลชัดเจน นำนาวาไปถึงท่ากลัมพุได้ก่อน ในเดือนสี่แรม ๘ ค่ำ
ตโต ภูวเนกพาหุ สีหฬราชา ในสมัยกาลครั้งนั้น พระเจ้ากรุงสิงหฬทรงพระนามว่าภูวเนกพาหุ ทรงทราบข่าวนั้นแล้ว จึงมีรับสั่งให้เจ้าพนักงานออกไปรับ นำพระเถระ ๑๑ รูปนั้นกับจิตรทูตเข้ามาในวันอุโบสถแรมเดือนสี่
อถ รามทูตาภิรุฬฺหา นาวา ฝ่ายว่านาวารามทูตเมื่อเคลื่อนออกจากท่าแล้ว ก็บ่ายหน้าแล่นมาโดยทางที่จะไปเมืองอนุราธบุรี ในกาลเมื่อแล่นไปนั้นแสนยากแสนลำบากเพราะแล่นทวนลม จึงได้แล่นเลยไปยังบ้านวัลลิคาม ในวันอาทิตย์เดือนห้าขึ้น ๙ ค่ำ
ตสฺมึ ปน นาคสิขีนาคสกราชภูเต ก็ในปีนั้นลุนาคสิขีนาคศักราช ๘๓๘ ณ วันแรม ๒ ค่ำปฐมาสาธ พระเถระทั้งหลายกับรามทูตจึ่งได้โอกาสออกจากบ้านวัลลิคามหยุดแรมทาง ๕ ราตรี จึงถึงชัยวัฒนะนคร ตโต ภูวเนกพาหุสีหฬมนุชินฺโท ในกาลนั้น พระเจ้าสีหฬินทรภูวเนกพาหุได้ทรงทราบข่าวว่า พระเถระทั้งหลายกับรามทูตมาถึงแล้ว จึงมีรับสั่งให้ออกไปต้อนรับนำมาสู่ที่เฝ้าแล้ว จึงให้เจ้าพนักงานอ่านพระสุพรรณบัฎ ของพระเจ้ารามาธิบดีมหาราชที่รามทูตนำมานั้นจบแล้ว ก็มีพระกมลหฤทัยปรีดาภิรมย์ยิ่งนัก จึงให้จัดการตามควรดุจกล่าวแล้ว พระราชทานอาหารบิณฑบาตและเสบียง แก่พระเถระทั้งหลายกับรามทูตแล้ว พระราชทานที่อยู่ตามสมควร
ตโต ปรํ สีหฬราชา ในกาลเบื้องหน้าแต่นั้นไป พระเจ้ากรุงสิงหฬจึงทรงพระรำพึงว่า เราจะจัดการอีกอย่างหนึ่งให้ต้องตามพระราชสาส์นของพระเจ้าช้างเผือกเถิด จึงมีรับสั่งบังคับอำมาตย์ชาวสิงหฬทั้งหลาย ให้ทำเรือขนานในกัลยาณีคงคา ซึ่งเปนแม่น้ำอันพระผู้มีพระภาคย์เคยสรงสนาน แล้วให้ทำเปนปราสารทขึ้นในเบื้องบนแห่งเรือขนานนั้น และให้ดาดเพดานด้วยผ้าขาว ห้อยย้อยไปด้วยพวงดอกไม้ต่างๆ เสร็จแล้ว จึงมีรับสั่งให้วิทาคมมหาเถระ เลือกคัดคณะสงฆ์ที่เป็นผู้ปราศจากคำครหาปรูปวาท แต่สำนักภิกษุสงฆ์ที่สืบเชื้อมาแต่ภิกษุผู้เปนมหาวิหารวาสีนิกาย
ตโต สีหฬราชา ในกาลลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสิงหฬจึงให้อาราธนาพระรามัญเถระ ๒๒ รูป ที่อุปสมบทแล้วมารับพระราชทานฉันอาหารบิณฑบาตในพระราชฐาน ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว จึงพระราชทานของอันควรแก่สมณะ
ครั้นทรงประเคนของเสร็จแล้ว จึงมีพระราชดำรัสว่า ข้าแต่พระผู้เปนเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย
พระผู้เปนเจ้าทั้งหลายไปยังชมพูทวีปแล้ว จึงยังพระสาสนาให้รุ่งเรืองในเมืองหงสวดีเถิด

นอกจากนี้ ในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ ของสยามประเทศ หรือเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ก่อนที่ ฝรั่งชาติตะวันตก จะยกชมพูทวีปไปให้อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ นั้น
ได้ปรากฏหลักฐาน ครั้งสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ว่า ชมพูทวีป ในความรับรู้ของบรรพชนไทย นั้น อยู่ที่ดินแดนสุวรรณภูมิปัจจุบันนี่เอง ดังปรากฏใน คำประกาศเทวดา ก่อนจะเริ่มการสังคายนา ตอนหนึ่งว่า

ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๙๕๖ ปี จึงพระพุทธโฆษาเถรเจ้าออกไปแต่ชมพูทวีป แปลพระไตรปิฎกอันเป็นสิงหฬภาษา จารึกลงลานใหม่ แปลงเป็นมคธภาษา กระทำในโลหปราสาท ณ เมืองอนุราธบุรี มีพระเจ้ามหานามเป็นศาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึงสำเร็จ นับเนื่องในฉัฏฐสังคายนาย.
ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๑๕๘๗ ปี ครั้งนั้นพระเจ้าปรักมพาหุมหาราชได้เสวยราชสมบัติในลังกาทวีป ย้ายพระนครจากอนุราธบุรีมาตั้งอยู่ ณ เมืองจลัตถิมหานคร จึงพระมหากัสสปเถรกับพระสงฆ์ปุถุชนมากกว่าพัน ประชุมกันชำระพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสิงหฬภาษาบ้าง มคธภาษาบ้าง แปลงแปลออกเป็นมคธภาษาทั้งสิ้น จารึกลงในลานใหม่ มีพระเจ้า ปรักมพาหุมหาราชเป็นศาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึงสำเร็จบริบูรณ์ นับเนื่องเข้าในสัตมสังคายนาย เบื้องหน้าแต่นั้นมาจึงพระเจ้าธรรมา ผู้เสวยราชสมบัติ ณ เมืองอริมะทะนะบุรี คือเมืองพุกาม เสด็จออกไปลอกพระไตรปิฎกในลังกาทวีป เชิญใส่สำเภามายังชมพูทวีปนี้ แต่นั้นมาพระปริยัติธรรมจึงแผ่ไพศาล ไปในนานาประเทศทั้งปวง บรรดาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ นับถือพระรัตนตรัยนั้น ได้ลอกต่อ ๆ กันไปเปลี่ยนแปลงอักขระตามประเทศภาษาแห่งตน ๆ ก็ผิดเพี้ยนวิปลาสไปบ้างทุก ๆ พระคัมภีร์ ที่มากบ้างน้อยบ้าง.
ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๒๐๒๐ ปี จึงพระธรรมทินเถรเจ้าผู้เป็นมหาเถรอยู่ ณ เมืองนพิสีนคร คือเมืองเชียงใหม่ พิจารณาเห็นพระไตรปิฎก พิรุธมาก ทั้งพระบาลี อรรถกถา ฎีกา จึงถวายพระพรแก่พระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราชาธิราช ผู้เสวยราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ว่าจะชำระพระปริยัติให้บริบูรณ์ บรมกษัตริย์จึงให้กระทำมณฑปในมหาโพธารามวิหาร ในพระนคร พระธรรมทินเถรจึงเลือกพระสงฆ์ ซึ่งทรงพระไตรปิฎกมากกว่าร้อยประชุมกันในมณฑปนั้น กระทำชำระพระไตรปิฎก ตกแต้มให้ถูกถ้วนบริบูรณ์ ปีหนึ่งจึงสำเร็จ มีพระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราชเป็นศาสนูปถัมภก นับเนื่องในอัฐมสังคายนายอีกครั้งหนึ่ง.
เบื้องหน้าแต่นั้นมา
พระเถรานุเถระในชมพูทวีปได้เล่าเรียนสร้างสืบต่อกันมา และท้าวพระยาเศรษฐีคหบดี ศรัทธาสร้างไว้ในเมืองสัมมาทิฏฐิทั้งปวง คือเมืองไทย,ลาว,เขมร,พม่า, มอญ
เป็นอักษรส่ำสมกันอยู่เป็นอันมาก หาท้าวพระยาและสมณะผู้ใดที่จะศรัทธา สามารถอาจจะชำระพระไตรปิฎกขึ้นไว้ ให้บูรณะดุจท่านแต่ก่อนนั้นมิได้มี ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๒,
๓๐๐ ปีเศษแล้ว บรรดาเมืองสัมมาทิฏฐิ ทั้งปวง ก็ก่อเกิดการยุทธสงครามแก่กัน ถึงพินาศฉิบหายด้วยภัยแห่งปัจจามิตร มีผู้ร้ายเผาวัดวาอารามไตรปิฎกก็สาบศูนย์สิ้นไป จนถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ถึงกาลพินาศด้วยภัยพม่าข้าศึก พระไตรปิฎก และเจดียฐานทั้งปวงก็เป็น อันตรายสาบศูนย์ สมณะผู้จะรักษาร่ำเรียนพระไตรปิฎกนั้นก็พลัดพรากล้มตายเป็นอันมาก หาผู้ใดที่จะเป็นที่พำนัก ป้องกันข้าศึกศัตรูมิได้ เหตุฉะนี้พระไตรปิฎกจึงมิได้บริบูรณ์ เสื่อมศูนย์ล่วงโรยมาจนตราบเท่ากาลทุกวันนี้.
พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เมื่อได้ทรงสดับพระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรโดยพิสดารดังนั้น จึงดำรัสว่า ครั้งนี้ ขออาราธนา พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นจงได้ ฝ่ายอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้น เป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้พระปริยัติ บริบูรณ์เป็นมูลที่ตั้งพระพุทธศาสนาให้จงได้
จากคำประกาศเทวดาข้างต้น ย่อมจะเห็นเป็นประจักษ์ว่า บรรพชนของไทย รับรู้สืบต่อกันมา ว่า
ชมพูทวีป เป็นที่ตั้งของเมืองสัมมาทิฏฐิทั้งปวง คือเมืองไทย, ลาว, เขมร , พม่า , มอญ

  [HIGHLIGHT=#f2f2f2]ไม่รู้จักอธิบายข้อความนี้ว่าอะไรดีครับ ตัวผมเองก็สับสนอยู่ครับ[/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#f2f2f2][/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#f2f2f2]แต่ที่ผมพอจะทราบจากผู้รู้ที่มีตาทิพย์ท่านว่า เป็นความจริง 80 % ครับ [/HIGHLIGHT]




#43
เข้าข่าย พระญานนั้น คงจะหมายถึง การที่ท่านรู้ว่าเรานั้นระลึกและบูชาท่านอยู่ครับ


ส่วนอาการหน่วงของผมนั้น จะไม่เกิดเฉพาะเวลาที่ทำสมาธิเท่านั้นครับ แต่จะเกิดอยู่บ่อยเรียกว่ากลายเป็นอาการปกติไปเลยครับ

( ขณะที่พิมพ์อยู่นี้ก็หน่วงครับ) จะหน่วงๆจนผมคิดว่าเป็นโรคอะไรหรือป่าว เนื้อมะเร็งร้ายมันก่อตัวในหัวผมหรือป่าว 55    ผมอยากรู้สาเหตุเหมือน

กันครับ อยากนั่งสมาธิได้เก่งๆน่ะครับจะได้รู้เอง  แต่เวลานั่งเข้าลึกๆตัวจะหลุดไปข้างนอกก็เลยกลัวๆอยู่ครับ


ถ้าผู้มีเมตตาท่านใดพอจะเเนะแนวทางปฎิบัติในก้าวหน้าในธรรมเเล้วล่ะก็ยินดีรับฟังและนำไปปฎิบัติครับผม


  ผมในตอนนี้อยากจะมีบุญมากๆที่พอ จะเเผ่ไปให้ถึงอบายภูมิและทุกสถานในโลกเพื่อจะให้ดวงวิญญานที่ทุกข์ทรมานได้พ้นจากทุกข์กันน่ะครับ



โอม  เทพเทวาจงรักษา ผู้ประพฤติธรรม ทุกผู้ทุกนามครับ ศานติ ศานติ
#44
  ภาพสวยมากครับ  ขอบคุณมากครับกำลังอยากได้ไว้บูชาพอดี ครับ


เทพเทวารักษาบุญนำพาครับผม

#45
โมทนา ด้วยครับ ท่านคงอยากมาโปรดสามีพี่น่ะครับ  เทพเทวาทุกองค์โดยส่วนใหญ่ท่านจะส่งบริวารหรือญาติ

ของท่านลงมาแสดงหรือโปรดให้แก่ผู้ที่บูชาท่านครับ ส่วนในกรณีของพี่นั้นก็น่าจะเข้าข่ายพระญาณของท่าน

ครับและอาจจะรู้จักกันมาก่อนครับ   โดยส่วนตัวผม เหตุที่ทำให้ต้องเข้ามาศึกษาและบูชาก็เพราะมีคนทักว่าเรา

ควรบูชาทางนี้ครับและทุกครั้งที่ผม กล่าวคำว่า โอม โดยหายใจเข้ายาวๆ นั้น  บริเวณกลางหน้าผากของผมจะ

หน่วงๆ ตึงๆ เหมือนมีใครเอานิ้วมือมาจิ้มน่ะครับ  ไม่รู้ว่าพี่กับสามีเป็นเหมือนกันป่าวครับ   

ขอให้บารมีแห่งองค์เทพเทวาทุกพระองค์โปรดจงรักษาผู้ประพฤติธรรม ตราบ เข้าสู่พระนิพพาน ทุกท่านครับ
#46
ผมไม่รู้หรอกว่าสัตว์มันต้องการหรือเต็มใจหรือป่าว  แต่นี้ผลของกรรมครับ

การฆ่าสัตว์ (ปาณาติบาต)     
การฆ่าสัตว์ คือ การฆ่าสิ่งที่มีชีวิตให้ตายไปก่อนที่จะหมดอายุ จะเป็นการฆ่าด้วยตนเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าโดยใช้อาวุธใช้เครื่องประหาร ใช้คาถา อาคมไสยศาสตร์ หรือใช้ฤทธิ์
องค์ประกอบของอกุศลกรรมบถ ในการฆ่าสัตว์มี ๕ ประการ คือ
๑. สัตว์มีชีวิต
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีจิตคิดจะฆ่า
๔. พยายามฆ่า
๕. สัตว์นั้นตายลงเพราะความพยายามนั้น
      การทำบาปที่เข้าลักษณะ ๕ ประการ ชื่อว่า เป็นการทำบาปที่ครบองค์แห่งปาณาติบาต จะเป็นสัตว์ที่เป็นอาหาร หรือ สัตว์ที่ไม่เป็นอาหาร เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ก็ตาม ล้วนเป็นบาปทั้งสิ้น เมื่อใกล้จะตายถ้าคิดถึงบาปที่เคยฆ่าสัตว์ไว้ บาปนั้นก็สามารถนำให้ไปเกิดใน อบายภูมิ ได้
      บาปมาก – บาปน้อย การฆ่าสัตว์ จะบาปมาก หรือ บาปน้อย นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ความพยายามในการฆ่า ถ้าใช้ความพยายามมากก็บาปมาก ใช้ความพยายามน้อยก็บาปน้อย ฆ่า สัตว์มีคุณมาก ก็บาปมาก เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ถ้าฆ่าสัตว์ที่มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ก็บาปน้อย ฆ่าสัตว์ตัวใหญ่บาปมาก ฆ่าสัตว์ตัวเล็กก็บาปน้อย ถ้าฆ่าคนที่มีคุณธรรมมาก บาปมาก ถ้าเป็นคนที่มีคุณธรรมน้อย ก็บาปน้อยตามลำดับ
      
      
แสดงผลของปาณาติบาต
บาปมาก
๑.ฆ่าสัตว์ใหญ่ หรือสัตว์ที่มีประโยชน์ เช่น
ช้าง ม้า วัว ควาย
๒.ฆ่าผู้มีคุณธรรมมาก เช่น พระสงฆ์ บิดามารดา
๓.ใช้ความพยายามในการฆ่ามาก
บาปมาก
๑.ฆ่าสัตว์เล็ก เช่น มด ยุง ลิ้น ไร
๒.ฆ่าผู้ไม่มีคุณธรรม เช่น โจร ผู้ร้าย
๓.ใช้ความพยายาม ในการฆ่าน้อย
      
ความพยายามในการฆ่า ทำได้ ๖ ประการ คือ
๑. ฆ่าด้วยตนเอง
๒. ใช้คนอื่นฆ่า
๓. ปล่อยอาวุธ ขว้าง ปา
๔. ใช้อาวุธปืน มีด ขุดหลุมพราง
๕. ใช้อาคมคุณไสยศาสตร์
๖. ใช้ฤทธิ์
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ แล้วนั้น จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผล ของการทำบาป คือการฆ่าสัตว์ส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตจะไปเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน เรียกว่า การให้ผลในปฏิสนธิกาล จะได้รับความทุกข์ ทรมานอย่างแสนสาหัส เพื่อชดใช้กรรม
การทำบาปที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ บาปนั้น
จะตามให้ผลใน ปวัตติกาล คือขณะมีชีวิตอยู่ จะทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม ได้ประสบพบเห็นหรือได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ทำให้มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อายุสั้น ถูกฆ่า หรือ ฆ่าตัวตาย รูปไม่งาม ไม่มีบริวาร เป็นต้น
#47
  ยินดีด้วยคนครับ ผมก็เป็นน้องใหม่เหมือนกันครับ  อยากรู้เกี่ยวกับฮินดูอีกมากมาย  เวบนี้ทำให้ผมได้ความรู้มาอีกเพียบครับ

ขอเทพเทวาจงอารักษ์ทุกคนที่ก่อตั้งเวปนี้ อีกทั้งสมาชิกทุกผู้ทุกนามครับ


โอม ศานติ ศานติ   
#48
  ยินดีปรีดา บุญรักษาทั่วหน้าครับผม  มีไรก็เเนะนำ ได้ครับกะผม
#49
พระคาถาธารณปริตร


เมื่อครั้งออกพรรษาปี ๒๕๒๖ พระป่ากรรมฐานรูปหนึ่ง
มีโอกาสออกวิเวก เจริญรุกขมูล ธุดงค์ทางภาคเหนือและชายแดนฝั่งพม่า
เขตติดต่อพรมแดนในแวดวงหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ นานเกือบ ๓ เดือน
ขณะปักกลดพักที่ดอยพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
ได้พบและปรึกษาธรรมปฏิบัติและอื่นๆ กับพระอาจารย์รังสรรค์ โชติปาโล
ซึ่งเพิ่งจะธุดงค์เดินป่ามาจากประเทศพม่า และได้จดจำเอา
"พระคาถาธารณปริตร" จากวัดอรัญตะยา ในมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า มาด้วย

เนื่องจากเห็นว่าเป็นบทสวดสรรเสริญพุทธคุณ ที่ในประเทศไทยเรายังไม่คุ้นเคยหรือปรากฏมาก่อน
จะด้วยสาเหตุใดก็ตามที เมื่อพระป่ามาพบกันหลายองค์ที่จังหวัดลำพูน
ก็ได้นำพระคาถาธารณปริตรบทนี้ ทำวัตรเย็น ร่วมกันติดต่อกันอยู่ ๕ วันก่อนทำเพียรภาวนาทุกค่ำคืน
ได้ปรากฏเห็นหมู่ทวยเทวาอารักษ์ในนิมิต มาชุมนุมและร้องชมเชยสรรเสริญ ชื่นบาน ร่าเริงมาก
ที่ได้ยินพระป่ากรรมฐานเจริญพระคาถาธารณปริตร อันทรงคุณเป็นเลิศนี้

พระภิกษุกรรมฐานทั้ง ๕-๖ รูป ครั้นเจริญพระปริตรนี้ที่ห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
ต่างได้เห็นนิมิตเทวาอารักษ์ ชื่นชมตรงกันทั้งสิ้น แม้จะน้อมนำทำน้ำพระพุทธมนต์โปรดหมู่ญาติโยมในที่ต่างๆ
ก็ศักดิ์สิทธิ์เหลือประมาณจึงได้พิจารณาเห็นว่าพระพุทธานุภาพของพระปริตรบทนี้ ทรงคุณเหลือประมาณ
สมควรที่พุทธศาสนิกชนทุกท่านจะได้นำไปสาธยายบูชาต่อไป

อนึ่ง ข้าพเจ้าได้ทราบจากหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้
ว่าผู้ที่สาธยายมนต์พระปริตรบทนี้ทุกๆ วัน อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง
พร้อมกับเร่งบริจาคทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา
จะสามารถรอดพ้นจากวิกฤตมหาอุบัติภัยโลกที่จะบังเกิด


พระคาถาธารณปริตร

น้อมรำลึกถึง พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ
แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ โดยกล่าวคำนอบน้อม นมัสการ
คือ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ

๑. พุทธานัง ชิวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง ตถา เม โหตุ
อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญานัง
อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง
ปัจจุบันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง

๒. อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง

๓. อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ นัตถิ ธัมมะเทสนายะ หานิ
นัตถิ วิริยัสสะ หานิ นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ
นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ นัตถิ วิมุตติยา หานิ

๔. อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
นัตถิ ทะวา นัตถิ ระวา นัตถิ อัปผุฏฏัง นัตถิ เวคายิตัตตัง
นัตถิ พะยาวะฏะมะโน นัตถิ อัปปฏิสังขารุเปกขา

๕. อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง
นัตถิ ตะถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง
นัตถิ ตะถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง
นัตถิ ตะถาคะตัสสะ มะโนทุจริตตัง
นัตถิ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง
นัตถิ อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง
นัตถิ ปัจจุบันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง
นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง
สังสาระ ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง

๖. อิมัง อานันทะ ธาระณะปริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปริปุจฉาหิ
ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเกนะ ลัคเคยยะ อัคคีนะ
ทะเหยยะ นานาภะยะวิโก นะ เอกาหาระโก นะ ทะวิหาระโก นะ
ติหาระโก นะ จะตุหาระโก นะ อุมมัตตะกัง นะ มุฬะหะกัง
มนุสเสหิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา

๗. ตัง ธาระณัง ปริตตัง ยถา กะตะเม
ชาโล มหาชาโล ชาลิตเต มหาชาลิตเต ปุคเค มหาปุคเค
สัมปัตเต มหาสัมปัตเต ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง

๘. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง สัตตังสะเตหิ สัมมา
สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
วัตเต อะวัตเต คันธะเว อะคันธะเว โนเม อะโนเม เสเว อะเสเว
กาเย อะกาเย ธาระเณ อะธารระเณ
อัลลิ มิลลิ ติลลิ มิลลิ โยรุกเข มหาโยรุกเข ภูตัง คะมะหิ
ตะมังคะลัง

๙. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะ วุติยา สัมมา
สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
ทิฏฐิลา ทัณทิลา มันติลา โรคิลา ขะระลา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ
วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา<!-- google_ad_section_end -->


คำแปลพระคาถาธารณปริตร



๑.อันชีวิตแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใครๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ฉันใด ขอชีวิตความเป็นอยู่แห่งข้าพเจ้า จงเป็นเหมือนเช่นกัน อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญมีย่อมมีในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน

๒.อันว่ากายกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ

๓. อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของประโยชน์ที่ประสงค์ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๖ ประการเหล่านี้
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งการแสดงธรรม ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของความเพียร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของวิปัสสนาญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งกามาวจรและรูปาวจรวิมุตติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๔.อันว่าการพูดเล่น ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการเหล่านี้
อันว่าการพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความไม่แพร่หลายในเญยยะธรรม ๕ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการกระทำใดๆ อย่างผลุนผลัน โดยไม่การพิจารณาเสียก่อน ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความมีใจวุ่นวายด้วยกิเลส ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการกระทำที่ไม่มีอุเบกขาในเตภูมิสังขาร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๕.อันว่าความเคารพนอบน้อม ขอจงมีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๑๘ ประการเหล่านี้
อันว่ากายทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่าวจีทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่ามโนทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอดีต
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในปัจจุบัน
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอนาคต
อันว่ากายกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าวจีกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่า ธารณปริตร นี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีเครื่องเสมอเหมือน เป็นที่ต่อต้าน เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์
ผู้ที่กลัวภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย อัคคัง ประเสริฐ มหาเตชัง มีเดชมาก

๖.ดูกรอานนท์ ท่านจงท่องจดจำ สอบถาม ซึ่งธารณปริตรนี้
อัน ว่ากายของผู้ท่องสวดมนต์ธารณปริตรนี้ ไม่พึงตายด้วยพิษงู พิษนาค ไม่พึงตายในน้ำ อันว่าไฟไม่พึงไหม้เป็นผู้พ้นภัยพิบัติต่างๆ ใครคิดทำร้ายในวันเดียวก็ไม่สำเร็จ ใครคิดร้ายทำลายในสองวัน สามวัน สี่วัน...ก็ไม่สำเร็จ ไม่พึงเป็นโรคหลงลืม ไม่พึงเป็นบ้าใบ้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถเบียดเบียนได้

๗.อันว่าธารณปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ
ชาโล มีอานุภาพเหมือนพระอาทิตย์ ประชุมกัน ๗ ดวง ที่ขึ้นมาในเวลาโลกาพินาศ
มหาชาโล มีอานุภาพเหมือนมุ้งเหล็ก ที่สามารถป้องกันภัยจาก เทวดา อินทร์ นาค ครุฑ ยักษ์ เป็นต้น
ชาลิตเต มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย
มหาชาลิตเต มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ โรคันตรกัป, สัตถันตรกัป และทุพภิกขันตรกัป
มี อานุภาพให้พ้นจากโลกต่างๆ ในเวลาปฏิสนธิคือ การเป็นใบ้ เป็นพิการ เป็นคนหูหนวก อีกทั้งไม่พึงตกต้นไม้ ตกเหว ตกเขาตาย สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้ ทรัพย์สมบัติที่ได้มาแล้วก็จะเจริญขึ้นโดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง

๘.ดูกรอานนท์ อันธารณปริตร ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้พึงสมาคมคนดี ไม่พึงสมาคมคนชั่ว พึงนำมาซึ่งกลิ่นและรสอันเป็นธรรม พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจร้าย พึงทำกายให้เป็นกายดี พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล ไม่ถึงนำมาซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล พึงฟังแต่สิ่งที่ดีไม่พึงฟังสิ่งที่ไม่ดี พึงเห็นแต่นิมิตดี ไม่ถึงเห็นนิมิตร้าย
โยรุกเข ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นขึ้นมาได้
มหาโยรุกเข ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามโดยความเป็นจริง
สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง

๙.ดูกรอานนท์ อันธารณปริตรนี้ สามารถรู้ความคิดร้ายของผู้อื่น
อาวุธต่างๆ มีเครื่องประหาร เช่น มีด หอก ปืน ไฟ เป็นต้น ไม่สามารถทำอันตรายได้
มันติลา สามารถทำน้ำมนต์คาถา ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น สามารถประหารโรคต่างได้ และโรคร้ายแรงต่างๆ ไม่อาจทำอันตรายได้
ทุพพิลา สามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
ด้วยอำนาจแห่งสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด


ขอบารมีแห่งพระรัตนตรัยและเทพเทวาทุกองค์คุ้มครองและประทานพร ทุกผู้ทุกนาม ครับ 

โอม ศานติ ศานติ
#50
โอม สวยงามมากมายครับคุณ อักษร ชนนิ ส่วนตัวผมยังไม่มีประสบการณ์ในการประกอบพิธีกรรมใดๆ สักครั้งเลยครับ( จะหาโอกาสให้ได้ครับ)


  ผมเคยอ่านเจอเกี่ยวกับเรื่องที่พระแม่ลักษมีในภาคนางสีดาที่โดดลงเหวหรือผาอะไรเนี้ยครับและ

พระรามตามหา

รบกวนคุณอักษณ ชนนิ หรือท่านผู้รู้ท่านใดพอจะทราบประวัติและเรื่องราวในตอนนี้โปรดเเบ่งปัน

ความรู้ให้คนความรู้น้อยอย่างผมด้วยครับ จะเป็นพระคุณยิ่งครับ

โอม เทพเทวาคุ้มครองรักษาทุกท่านผู้ประพฤติดีครับ  ศานติ ศานติ 
#51
โอม สวยงามตามจิตนาการจริงๆครับ  ผม ขอดูภาพพระคเนศกับพระตรีมูรติทั้ง 3 พอจะมีมั้ยครับ

ขอบคุณมากมายครับ

โอม  ศานติ ศานติ ศานติ

#52
โอม  สาธุ อนุโมทนาในการให้ธรรมทาน ด้วยครับ

ขอ เสริมนิดนึงครับ

การทำบุญวิธีที่ถูกต้องและได้ผลสูงสุด

ความหมายของ"บุญ" คือความบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสที่มาห่อหุ้มจิต กิเลสคือความโลภทั้งหยาบและละเอียด กิเลสคือความโกรธทั้งหยาบและละเอียด กิเลสคือความหลงทั้งหยาบและละเอียด พระพุทธเจ้าและพระอริยะท่านมีบุญมากเพราะ ท่าน ไม่มีกิเลสแล้วนั่นเอง

เมื่อบุญคือความบริสุทธิ์ของจิตจากโลภ โกรธ หลง การทำบุญก็คือการทำให้จิตบริสุทธิ์หรือเรียกว่าการทำจิตให้สะอาดก็ได้ ดังนั้นในระดับของคนธรรมดาสามัญทุกครั้งที่ทำบุญไม่ว่าจะด้วยทรัพย์หรือด้วยวัตถุก็ดี ท่านสอนว่าจะทำด้วยทรัพย์มากหรือจะน้อยไม่ใช่เงื่อนไขที่จะทำให้จิตสะอาดบริสุทธิ์ได้ หรืออีกนัยหนึ่งปริมาณของวัตถุทรัพย์ที่ทำไม่เกี่ยวกับความสะอาดบริสุทธิ์ของจิตนั่นเอง

เมื่อเราตั้งใจในขณะทำบุญทานนั้นด้วยจิตที่ว่าง ไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความหลง แม้เพียงชั่วขณะหนึ่งก็เกิดบุญมหาศาล เพราะจิตบริสุทธิ์ คนเฒ่าคนแก่เวลาทำบุญทำทานท่านจึงต้องยกของที่เป็นวัตถุบุญขึ้นจรดหน้าผาก เหตุผลก็คือทำจิตให้ปลอดจากความขุ่นมัวให้สะอาดจากความโลภโกรธหลงนั่นเอง นี่ความสะอาดความบริสุทธิ์ของจิตเกิดในขณะนี้เอง บุญเกิดในขณะนี้เอง

ดังนั้นท่านสอนว่าจะทำมากทำน้อยอย่าใส่ใจเป็นกังวล เพียงแต่ขณะทำตั้งจิตให้สงบอย่าให้มีโลภโกรธหลงห่อหุ้มจิตก็ได้ผลความบริสุทธิ์มหาศาลแล้ว หรือเรียกว่าได้บุญมหาศาลแล้ว แม้บางคนจะทำด้วยทรัพย์หรือวัตถุจำนวนมากมายแต่ถ้าขณะนั้นจิตเขามีความหวงความห่วงในวัตถุทรัพย์ที่ใช้ทำบุญและโลภในผลบุญ บุญก็ไม่เกิดแก่เขา(จิตไม่บริสุทธิ์) ก็จะสู้ผลบุญของคนที่ทำด้วยข้าวห่อเดียวหรือเงินแค่สิบบาท แต่ขณะทำเขาไม่มีความหวงความห่วงในทรัพย์วุตถุที่ใช้ทำบุญไม่ได้ (ทำด้วยของมีค่าน้อยกว่าแต่จิตสะอาดปราศจากโลภโกรธหลงมากกว่า จิตย่อมบริสุทธิ์กว่าคือ บุญมากกว่านั่นเอง).บุญทั้งหลายจึงสำเร็จลงที่จิตตั้งแต่เราคิดจะทำแล้วครับ  ศานติ ศานติ

<!-- google_ad_section_end -->
#53
  ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกัน ครับ 

โอม เทพเทวาคุ้มครองรักษาครับ
#54
โอม  เจริญธรรมให้พ้นบาปกันทุกคนครับ

ศานติ  ศานติ  ศานติ

มรณาสันนวิถี (วิถีจิตของคนที่ใกล้ตาย)






มรณาสันนวิถี เป็นวิถีจิตที่ใกล้จะตาย หมายถึง เมื่อมรณาสันนวิถีเกิดขึ้นแล้ว จุติจิต (จิตที่ดับสิ้นไปจากภพชาติปัจจุบัน) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับที่ใกล้เคียงกัน จะไม่มีวิถีจิตที่มีอารมณ์เป็นอย่างอื่นเกิดขึ้น คั่นระหว่างจุติจิตอีก
   ในมรณาสันนวิถีนี้ มีชวนะจิตเกิดขึ้นเพียง ๕ ขณะเท่านั้น (ปกติจะเกิดขึ้น ๗ ขณะ)

เพราะเหตุที่จิตมีกำลังอ่อน เนื่องจากอำนาจของกรรมที่ส่งมานั้น ใกล้จะหมดอำนาจอยู่แล้ว และอีกประการหนึ่ง หทัยวัตถุอันเป็นกัมมชรูป ซึ่งเป็นที่ตั้งของจิต ก็มีแต่จะเสื่อมสิ้นลงเรื่อยๆ กำลังของชวนะจิตอ่อนไป เหมือนไฟที่น้ำมันจะหมด หรือจะมอดอยู่แล้ว แสงสว่างของไฟ ก็ย่อมจะริบหรี่ เพราะหมดกำลังของปัจจัย คือน้ำมันและไส้นั่นเอง

  เมื่อหมดมรณาสันนวิถีแล้ว ต่อจากนั้นจุติจิตก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ เรียกว่า สัตว์นั้นถึงแก่ความตาย 

  ในทันทีที่จุติจิตดับลง ปฏิสนธิจิตจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยไม่มีจิตอื่น เกิดขึ้น มาคั่นระหว่าง จุติจิตกับปฏิสนธิจิตได้เลย

  แต่สำหรับจุติจิตของพระอรหันต์นั้น จะไม่มีปฏิสนธิจิตมาเกิดต่อจากจุติจิตอีก เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้สิ้นกิเลสแล้ว ภพชาติที่จะต้องเกิดอีกไม่มี เมื่อจุติจิตดับลง จึงเข้าสู่ปรินิพพาน

  (ชวนะจิต หมายถึง การเสพอารมณ์ ๕ ของจิต คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ปกติของสัตว์จะเกิดขึ้น ๗ ขณะ)




     อารมณ์ของมรณาสันนวิถี

   ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่ยังมิได้เป็นพระอรหันต์นั้น จะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉานก็ตาม ..หรือเป็นมนุษย์ เทวดา และพรหมก็ตาม เมื่อใกล้จะตาย นิมิตทั้ง ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเฉพาะหน้าในทวารใดทวารหนึ่ง แห่งทวารทั้ง ๖ นั้นเสมอ....

   พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงว่า...

   "ตถา จ มรนฺตานํ ปน มรณกาเล กมฺมํวา

    กมฺมนิมิตฺตํวา คตินิมิตฺตํวา ฉนฺนํ ทฺวารานํ

    อญฺญตฺรสฺมํ ปตฺจุปฏฐาติ"

   "อารมณ์ของมรณาสันนวิถี จึงได้แก่นิมิตอารมณ์ทั้ง๓ ประการ คือ

   กรรมอารมณ์   กรรมนิมิตอารมณ์   และคตินิมิตอารมณ์"

  กรรมอารมณ์ ได้แก่ ธรรมารมณ์ที่เกี่ยวกับกุศลกรรม อกุศลกรรม กรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายกุศล ได้แก่ การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนา โดยทำมาแล้วด้วยความปีติโสมนัสอย่างไร ก็ให้ระลึกถึงความปีติโสมนัสให้เกิดขึ้น คล้ายกับว่าตนกำลังทำบุญให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญภาวนาอยู่ในขณะนั้น

  ส่วนกรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายอกุศล ได้แก่ การที่ตนเคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เคยฉกชิงวิ่งราว เคยโกรธแค้นพยาบาท ความเสียใจหรือความโกรธนั้น คล้ายๆกับว่า กำลังปรากฏขึ้นกับตน เพราะเหตุดังกล่าวเหล่านั้น

   กรรมอารมณ์นี้เป็นความรู้สึกทางใจ จึงปรากฏได้เฉพาะทางมโนทวารทางเดียว เมื่อกรรมอารมณ์เป็นฝ่ายกุศลก็นำไปสู่สุคติ ถ้ากรรมอารมณ์เป็นฝ่ายอกุศลก็จะต้องนำไปสู่ทุคติ

กรรมนิมิตอารมณ์

   กรรมนิมิตอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสภาพที่รู้ได้ทางใจ ที่เกี่ยวด้วยการกระทำของแต่ละบุคคล ที่ตนได้กระทำแล้วด้วยกาย วาจา ใจ ย่อมจะมาแสดงนิมิตเครื่องหมายให้รู้ได้"เมื่อใกล้จะตาย"

   ถ้าเป็นฝ่ายกุศล ก็ให้รู้ให้เห็น เป็นการทำบุญให้ทาน เช่น เห็นโบสถ์ วิหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ตนเคยสร้าง เห็นพระภิกษุที่เคยบวชตนเอง หรือบวชลูก-หลาน เห็นพระพุทธรูปที่ตนเคยสร้าง เป็นต้น

   มรณาสันนวิถีก็หน่วงเอาอารมณ์นั้นๆ มาเป็นอารมณ์ให้เป็นนิมิตเครื่องหมายในสิ่งต่างๆเหล่านั้น

   กรรมนิมิตที่เป็นฝ่ายอกุศล เช่น เห็นแห อวน หอก ดาบ ปืนผาหน้าไม้ เครื่องประหัตประหารเบียดเบียนสัตว์ ที่ตนเคยใช้ในการทำบาปมาแล้ว เป็นต้น มรณาสันนวิถีก็จะน้อมเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์

   กรรมนิมิตอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายกุศล และอกุศลดังกล่าวมาแล้วนั้น ถ้าเป็นแต่เพียงนึกคิดถึงสิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็จะปรากฏทางมโนทวาร(ทางใจ)เป็นอดีตอารมณ์ แต่ถ้าได้เห็นด้วยตาจริงๆ ได้ยินด้วยหูจริงๆ ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้องสัมผัส เป็นความรู้สึกจริงๆ ก็เป็นนิมิตอารมณ์ ที่ปรากฏทางปัญจทวาร(ทวาร ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และเป็นปัจจุบันอารมณ์

   กรรมนิมิตที่เป็นฝ่ายกุศล ย่อมนำไปสู่"สุคติ" แต่ถ้ากรรมนิมิตเป็นฝ่ายอกุศล ก็ย่อมนำไปสู่ "ทุคติ"

คตินิมิตอารมณ์

   คตินิมิตอารมณ์ เป็นนิมิตเครื่องหมาย ที่จะนำไปสู่" สุคติ หรือทุคติ "ถ้าเป็นคตินิมิตอารมณ์ที่จะนำไปสู่"สุคติ" ก็จะปรากฏเป็นปราสาทราชวัง วิมานทิพยสมบัติ เทพบุตร เทพธิดา เห็นครรภ์มารดา เห็นวัดวา เห็นบ้านเรือน เห็นผู้คน หรือเห็นภิกษุสามเณร ล้วนแต่เห็นสิ่งที่ดีๆ

    คตินิมิตอารมณ์ ที่จะนำไปสู่"ทุคติ"ก็จะปรากฏเป็นเปลวไฟ ถ้ำ เหว ป่าทึบ เห็นนายนิรยบาล เห็นสุนัข เห็นแร้งกา เป็นต้น ที่กำลังเบียดเบียนทำอันตรายตน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งสิ้น

    คตินิมิตอารมณ์ ย่อมปรากฏได้ในทวารทั้ง ๖ แต่ส่วนมากจะปรากฏทางจักขุทวาร และทางมโนทวาร คือเห็นทางตากับทางใจเป็นส่วนมาก และจัดเป็นปัจจุบันอารมณ์

    อารมณ์ของมรณาสันนวิถีนี้ ย่อมจะมีอารมณ์ที่เป็นกรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งมาปรากฏ แก่วิถีจิตสุดท้ายที่ใกล้ชิดกับ"จุติจิต"ที่สุด และอารมณ์ทั้งสามนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมทั้ง ๔ ประการตามลำดับ คือ...

  (จุติจิต หมายถึง จิตที่ดับสิ้นไปจากภพชาติปัจจุบัน)

  (คัดจากหนังสือ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ)
#55
โอม  ดังที่สมเด็จโต ท่านกล่าวไว้ครับ
อานิสงส์ของการสวดมนต์
เทศนาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

ดังปรากฏในงานของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ที่ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ที่บ้าน

ครั้นพลบค่ำ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตพร้อมลูกศิษย์ได้เดินทางจากวัดระฆังมายังบ้านของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี ซึ่งในขณะนั้นมีอุบาสก อุบาสิกา นั่งพับเพียบเรียบร้อยกันเป็นจำนวนมาก ด้วยต้องการสดับรับฟังการเทศน์ของท่านเจ้าประคุณ ณ ที่เรือนของท่านเจ้าพระยาเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจบแล้ว ท่านจึงเทศน์
“ เรื่อง อานิสงส์ของการสวดมนต์ ”

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่า

ยังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมายเพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไรการสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์

ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกันคือ

• เมื่อฟังธรรม
• เมื่อแสดงธรรม
• เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
• เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
• เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ

การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล

พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไปเพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ

• กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
• ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
• วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้ง 3 พร้อมเป็นการขอขมา ในการผิดพลาดหากมีและกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว

อาตมาภาพ ขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า

ถ้าหากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอนการสวดมนต์นี้ ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดับพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตน และประโยชน์แก่จิตอื่น

*ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือ เสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้น ๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด

*ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอย ได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียง เหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์ มีอยู่จำนวนมาก

ก็จะมาชุมนุมฟังกันอย่างมากมาย เมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดา ทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตราย ได้อย่างดีเยี่ยม

ดูก่อน.. ท่านเจ้าพระยาและอุบาสก อุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใด ๆ ก็ดีจะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล..
#56
  ยินดีด้วยครับที่เข้ามาสู่ครอบครัวที่อบอุ่นแห่งนี้ ที่นี้จะเติมเต็มความรู้ให้กับทุกคนครับ

โอม เทวารักษาครับ
#57
ขอบคุณ มากหลาย สหายธรมมจงมากมีครับ 
#58
แล้วคุณทั่น กูรู หรือทั่นอื่นๆ  พอจะทราบมั้ยครับว่า ที่วัดเทพมนเทียรนั้นเปิด และปิดกี่โมงครับ และต้องปฎิบัติตัวอย่างไรเวลาเข้า

สิ่งที่ต้องเตรียมไปน่ะครับมีอะไรบ้าง


ขอบคุณมา ณ ที่นี้ ครับผู้มีคุณทั้งหลาย

เจริญธรรม บุญรักษาทั่วหน้าครับ 

#59
แต่คุณกาลิทัส ครับ สาเหตุที่ทำให้เกิดพระแม่กาลีนั้นก็มาจาก การบันดาลโทสะที่ ทรงโกรธต่อพระศิวะมิใช่รึครับ

ในตอนที่พระศิวะทรงใช้จักรตัดเศียรพระกุมารคเนศป่าวครับ

ถ้าข้อความนี้ผิดประการใด ผู้รู้โปรดชี้เเนะด้วยครับ



ปล. ไม่ใช่จะชวนทะเลาะนะครับคุณพี่ แต่อยากจะรู้ความจริงที่ศึกษามาครับว่าผิดถูกประการใดครับ ถ้าล่วงเกินไปอภัยมณีด้วยเด้อครับ 
#60
ใช้แนทที่คุยกันป่าวครับ  ยินดีที่รู้จักอย่างเป็นทางการครับ


โอม  ขอเทวารักษาครับ  โอม
#61
โอม  โกรธคือโง่ โมโหคือแม่พระกาลีป่าวงับ หุๆ


ขอบคุณที่ให้อภัยมณีจ้า
#62
ขอบคุณมากมายครับ   และที่คุณคิวว่า มีอีกอยู่ไหนบ้างครับ บอกมาเตอะเน้อ
#63
 การแก้กรรมจะให้หมดไปเลยนั้น คงจะทำไม่ได้ แต่ถ้าเราประกอบ แต่กรรมดีจนกรรมชั่วตามไม่ทันแล้วนั้น เราก็อาจสามารถพ้นจากกรรมไปได้
(ชั่วคราว เช่น ขึ้นสวรรค์,พรหมโลก  หรือ ตลอดไป คือนิพพาน) แต่สุดแท้แต่ที่เราทุกคนต้องเกิดมานี้ ก็หมายความว่า เรานั้นจะต้องมาเสวยกรรม ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วที่เราได้กระทำมา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน     กรรมที่เราประพฤติไม่ดีมาก็เปรียบเสมือนน้ำในแก้วที่มันขุ่นหากแต่เราทำกรรมดีเติมน้ำใสๆลงไป  ในวันข้างหน้าน้ำในแก้วก็จะใส  แตในบางครั้งก็เกิดตะกอนนอนเนื่องอยู่  ฉะนั้นทุกคนอย่างได้ประมาทในการมีชีวิตทุกวันนี้ 

ขอให้ทุกท่านในครอบครัว HM จงเจริญในธรรมยกจิตให้สูง พ้นจากสภาวะทุกข์ ทุกท่านครับ
#64
เคยมีผู้กล่าวว่า ชนชาติใดเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ก็มักจะเขียนเข้าข้างตัวเอง แต่ความเข้าใจเช่นนี้ไม่น่าจะถูกต้องนัก สำหรับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หรือประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมศาสดาเอกของโลก

เมื่อครั้งที่ ท่าน ลาลูแบลร์ราชทูตฝรั่งเศส ได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้น ท่านได้รายงานกลับไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุลาลูแบลร์ ว่า "พระพุทธเจ้าโคตมะเป็นบรรพบุรุษของชาวสยาม"
    
ซึ่งคงจะไม่มีใครเชื่ออย่างนั้น และคงจะคิดว่า คนสยามในสมัยนั้น คิดเข้าข้างตัวเอง และเล่าความเท็จให้ราชทูตฟัง ดังที่มีลูกหลานคนไทยเองได้แสดงความคิดเห็นต่อบรรพบุรุษของตัวเอง ว่าเอกสารโบราณของไทยที่กล่าวถึงประวัติพระพุทธเจ้าส่วนมากเป็นตำนานพื้นบ้าน โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดรับสั่งกับประชาชนว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จะมาประดิษฐานในที่นั้นๆ หลังจากพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งเอกสารเหล่านี้เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง มิได้เขียนขึ้นบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์แต่เขียนตามจินตนาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนชมพูทวีปเป็นประเทศสยาม

แต่วันนี้ ผมอยากจะเชิญชวนท่านทั้งหลาย เปิดใจให้กว้าง ลืมสิ่งที่เราเคยรับรู้มาก่อนหน้านี้ ทำใจให้เป็นกลางๆ แล้วค่อยๆ อ่าน เรื่องราวทั้งหลาย ที่ผมพยายามประมวลเรียบเรียงมาทั้งหมด เพราะผมเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้อง ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีสติ เพื่อคลี่คลายความจริงให้แผ่นดิน


เอกอิสโร วรุณศรี

ชุมนุมฟื้นธรรมฟื้นไทยแห่งยุคหลังกึ่งพุทธกาล

๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนกันแน่

ในคัมภีร์อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอก-ทุก-เอกนิบาต ตอนหนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ รจนาไว้ว่า
ชมฺพูทีเป ความว่า ชื่อว่า ชมพูทวีป เพราะเป็นทวีปที่รู้กันทั่วไป คือ ปรากฏด้วยต้นหว้าเป็นสำคัญ. เขาว่าทวีปนี้มีต้นหว้าใหญ่
ตระหง่านสูง ๑๐๐ โยชน์ กิ่งยาว ๕๐ โยชน์ ลำต้นกลม ๑๕ โยชน์ เกิดอยู่ที่เขาหิมพานต์ตั้งอยู่ชั่วกัป. ทวีปนี้เรียกว่าชมพูทวีป เพราะมีต้น
หว้าใหญ่นั้น. อนึ่งในทวีปนี้ ต้นหว้าตั้งอยู่ชั่วกัป ฉันใด แม้ต้นไม้ เหล่านี้ คือ ต้นกระทุ่ม ในอมรโคยานทวีป ต้นกัลปพฤกษ์ ในอุตตรกุรุทวีป ต้นซีก ในบุพพวิเทหทวีป ต้นแคฝอยของพวกอสูร ต้นงิ้วของ
        
พวกครุฑ ต้นปาริชาตของพวกเทวดา ก็ตั้งอยู่ชั่วกัปเหมือนกัน ฉันนั้น.

"ชมพูทวีป"
นี้มีความสำคัญอย่างไร ทำไมจะต้องค้นหานั้น ก็เป็นเพราะว่า ชมพูทวีปนี้ เป็นทวีปที่ตั้งของมัชฌิมประเทศ อันเป็นที่ที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญ แล้วเสด็จอุบัติในประเทศนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี แล้วมาเกิด พระมหาสาวกทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี แล้วมาเกิด พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเสด็จมาเกิด อีกทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ และคฤหบดีผู้มหาศาล ผู้มีศักดิ์ใหญ่เหล่าอื่นก็มาเกิดในประเทศนี้ ดังในคัมภีร์พระอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ตอนหนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ รจนาไว้ว่า

แต่นั้นเมื่อจะทรงตรวจดูทวีป ได้ทรงพิจารณาดูทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทวีปที่เป็นบริวาร ทรงเห็นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มาเกิดในทวีปทั้ง ๓
จะเกิดเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น. แต่นั้นทรงตรวจดูประเทศว่า ขึ้นชื่อว่า ชมพูทวีป จัดเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณถึงหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมมาเกิดในประเทศไหนหนอแล ทรงพิจารณาเห็นมัชฌิมประเทศแล้ว.ที่ชื่อว่า มัชฌิมประเทศ ได้แก่ประเทศที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพระวินัย โดยนัย
เป็นต้นว่า มีนิคมชื่อกชังคละอยู่ในทิศบูรพา ดังนี้. ก็มัชฌิมประเทศนั้น มีกำหนดว่า ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์.
ก็สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปบ้าง ๘ อสงไขยแสนกัปบ้าง ๑๖ อสงไขยแสนกัปบ้าง แล้วเสด็จอุบัติใน
ประเทศนี้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยแสนกัปแล้วมาเกิด. พระมหาสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ
เป็นต้น บำเพ็ญบารมี ๑ อสงไขยแสนกัป แล้วมาเกิด. พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ปราบดาภิเษกเหนือทวีปใหญ่ทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารย่อมเสด็จ
มาเกิด. อีกทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ และคฤหบดีผู้มหาศาล ผู้มีศักดิ์ใหญ่ เหล่าอื่นก็มาเกิดในประเทศนี้. ก็และในประเทศนี้ มีพระนครชื่อว่า กบิลพัสดุ์
เป็นราชธานี พระองค์จึงตกลงพระทัยว่า เราควรเกิดในนครกบิลพัสดุ์นั้น.
     
แต่ในความเข้าใจปัจจุบัน ในแบบเรียน หรือหนังสือประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เมื่อกล่าวถึง

"ชมพูทวีป"

อันเป็นแดนเกิดของพระพุทธเจ้า ก็มักจะอธิบาย ว่า ดินแดน ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ๔ ประเทศ คือ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ทั้งที่ บรรพชนคนในแถบสุวรรณภูมิ ทั้ง คนไทย ลาว พม่า มอญ สมัยโบราณ ต่างก็รู้ว่า ชมพูทวีป คือที่นี่ ซึ่งเป็นแผ่นดินที่ตั้งของ ประเทศ พม่า มอญ ไทย และลาว แล้วไม่มีใครสงสัยเลยหรือว่าความเป็นจริงแล้ว ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนกันแน่

        
ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีป ของบรรพชนแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน นิทานพระพุทธสิหิงค์ ว่าด้วยตำนานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่ง พระโพธิรังสี แต่งไว้เป็นภาษาบาลี เมื่อก่อน พ.ศ. ๑๙๘๕ ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ครองเมืองเชียงใหม่ นั้นอยู่ที่ไหน?

ผมจะขอคัดลอก ความสำคัญแต่พอสังเขป ในเหตุการณ์ที่พระร่วงเจ้า หรือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมืองสุโขทัย ไปอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากเมืองนครศรีธรรมราช และได้ทราบคำของพระเจ้าศรีธรรมราช ว่า พระพุทธสิหิงค์ ได้แสดงปาฏิหาริย์ ลอยจากบัลลังก์ที่ประดิษฐานอยู่ ขึ้นสู่อากาศ ประดิษฐานอยู่ในท้องฟ้าเปล่งรัศมี ๖ ประการไปทั่วทุกทิศ ดังนี้

พระร่วงได้ทรงฟังแล้วมีพระทัยเปี่ยมไปด้วยปีติ ทรงยกอัญชลีขึ้นเหนือพระเศียร สรรเสริญพระพุทธคุณ ทรงป่าวประกาศพลนิกายทั้งหมดให้ถือเครื่องบูชา พระองค์แวดล้อมไปด้วยอุปราช ยุพราช และหมู่อำมาตย์มีนายทหารผู้กล้าหาญเป็นหัวหน้า เสด็จเข้าไปในเมืองศรีธรรมราช ทรงดำเนินด้วยพระบาท แหงนพระพักตร์ทอดพระเนตรดูเบื้องบน ทรงทำอัญชลีเหนือพระเศียร ถวายนมัสการพระพุทธสิหิงค์องค์ประเสริฐ เมื่ออาราธนาให้เสด็จลงมาได้ตรัสเป็นคาถาว่า

ภนฺเต ภนฺเต โลกนาถ
ภนฺเต โลกมหิทฺธิกํ
อหนฺตํ ติภวเสฏฐํ
ปณมามิ อิโต ปุเรฯ
อหนฺ กตฺตุกาโมมฺหิ
อาราเธตฺวา ภวาลเย
ชมฺพูทีปมนุสฺสานํ
เทวานญฺจานุกมฺปิตุงฯ
ยาวตา สาสนา ตุยฺหํ
ติฏฐนฺติ อภิวฑฺฒิตุง
มม วาเส สุโขเทยฺยํ
อภิรมฺมตรํ อิโตฯ
อมฺหากํ อนุกมฺปาย
คฉฺฉตํ สิริยา ชลํ
ชิโน โอรุยฺห เม สีเส
นิสิทิ ชนสมฺมุเขติฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่งของโลก ข้าแต่พระผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการพระองค์ผู้ประเสริฐในสามภพ ข้าพระพุทธเจ้าใคร่จะอาราธนาอัญเชิญพระองค์จากที่นี้ไปประดิษฐานอยู่ในเมืองโน้น เพื่อทรงอนุเคราะห์มนุษย์ชาวชมพูทวีป และเทวดาทั้งหลาย ตราบเท่าที่ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่เพื่อความเจริญ เมืองสุโขทัยเป็นที่อยู่ของข้าพระพุทธเจ้า น่ารื่นรมย์ยิ่งกว่าเมืองนี้ ขอพระองค์ได้โปรดเสด็จไปเพื่อทรงอนุเคราะห์ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระพุทธผู้รุ่งเรืองด้วยพระสิริวิลาส จงโปรดลงมาประทับบนศรีษะข้าพระพุทธเจ้าต่อหน้ามหาชนเถิดฯ     
ขณะเมื่อพระร่วงเจ้าอาราธนาอย่างนี้ พระพุทธรูปองค์ประเสริฐเสด็จลงมาจากอากาศประดิษฐานบนพระเศียรของพระองค์
     
นอกจากนี้ ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนของบรรพชนคนไทยแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน ตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดง ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ที่พระมหาญาณคัมภีร์ พระสงฆ์จากเชียงใหม่เดินทางไปลังกา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๖ ดังจะขอคัดลอกมาแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ ดังนี้

พระมหาญาณคัมภีระไปลังกา        

เมื่อนั้น ญาณคัมภีระจิ่งเมือเมตตาพระยาบรมราชาธิราชบอกกิจทังมวลดั่งอั้น พระยาจิ่งไหว้ญาณคัมภีระเถรเจ้าว่าดีนัก เจ้ากูบอกแก่ข้านี้ดีจิงนัแล ขอเจ้ากูอสหะไปเถิงที่เคล้า หื้อได้อันชอบธัมมวินัยมาไว้เทอะ ข้าจักหื้ออามาจผู้ชื่อสุภรติไปกับตามเจ้ากูชะแล พระยาแต่งอามาจบ่าว ๒ คน ไปกับญาณคัมภีรเถรเจ้า ว่าดีนักเจ้ากู เถรเจ้าก็ลงไปไหว้ธัมคัมภีระสมเด็จราชคุรุ ท่านยินดีจิ่งแต่งชาวเจ้าอันเป็นสิกไป ๕ ตน มีธัมมานันทะเป็นเคล้าแก่ชาวเจ้าทังหลาย ๑๒ ตน อุบาสก ๔ คนไปสู่มะริดตะนาวสี ขึ้นเมตตาพระยาเมืองที่นั้น ยินดีกับด้วยญาณคัมภีรเถรเจ้าอันจักไปเอาสาสนานั้น พระยาก็ราธนาเถรเจ้าขอปฏิญญาณว่า คันได้สาสนาและพอกมาขอเมตตาข้าทังหลายพายหน้าแท้ อย่าล่วงพ้นทางอื่นแด่ว่าสันนี้ ก็หื้อลงเรือไปด้วยพ่อค้าสำเภา ปีก่าเหม้าสักกราชได้ ๗๘๕ ตัว (พ.ศ. ๑๙๖๖) ไปนาน ๔ เดือน ก็ไปรอดเถิงลังกาทวีป ท่านก็เข้าไปไหว้มหาสุรินทเถรในเมืองอนุราธปุรนคร วัดถูปาราม ด้วยกิจทังมวล ๑๐ ประการ สุรินทเถรเจ้ากล่าวว่า ดั่งสาสนาในลังกา ๓๐ เมืองนี้ หากดูดั่งกันเสี้ยงแล เหตุว่าท่านเจ้าม่าน ท่านเจ้าเม็ง ท่านเจ้ากุลาผาสี เจือจานกัน ไผใคร่ว่าอันใดก็หากว่า ไผใคร่เยียะอันใดก็หาเยียะตามใจอันมัก บ่ตามพระธัมมวินัยพระเจ้าสักอันแล เป็นดั่งพระเชียงใหม่สู ตนชื่อสิทธันตะมาสูตแต่ก่อนนั้นหากบ่แม่นแท้แล อันปฏิบัติตามธัมมวินัยแท้ ตามอัตถะแท้ เท่ามีในโรหณชนบท มหารัฐฐะสิ่งเดียว ด้วยสาสนาพระเจ้าตั้งอยู่ที่นั้น ยังเป็นถิรทัฬหภาวะต่อเท่า ๕,๐๐๐ วัสสา บ่เป็นภินนาเภทกัมม์เยื่องใด เหตุพระพุทธเจ้าสั่งพระยาอินท์ไว้หื้อเทวดาอยู่รักสาดูผู้ร้าย ผู้ดีแท้แล ท้าวพระยาเสนาอามาจประชาพร้อมกันรักสาด้วยชอบธัมม์แท้แล อาวุโสท่านฉลาดด้วยอัตถะจุ่งอสหะเข้าไปเถิงโรหณชนบทมหารัฏฐะเทอะ เมตตาฉันนี้แล ญาณคัมภีระก็เอาปริวารแห่งตนไปเถิงโรหณชนบท รอดประตูเวียงชั้นนอกเพิ่นก็แส้งถามด้วยกิจอันร้ายอันดีชุอันแล้ว จิ่งมีเข้าตอกดอกไม้เทียน ๘ คู่ ปูชาเทวดา สัจจอธิษฐานว่า ข้าทังหลายจักมาเอาสาสนาพระไตรรัตนะ มหาโพธิเมือถปันนาไว้ในชุมพูทวีปด้วยสวัสดีแท้ บ่มาเพื่อกระทำร้ายสักอัน ผิว่าข้าทังหลายมากระทำร้ายแก่บ้านเมืองและสาสนา จุ่งหื้อเป็นอันตรายแก่ผู้ข้าทังหลายเทอะอยู่ที่นั้นเดือน ๑ บ่มีอันตรายจิ่งใช้หนังสือเข้าเถิงชั้นถ้วน ๒ ก็แส้งถามฉันเดียว ก็กล่าวฉันเดียว เถิงชั้นถ้วน ๓ ถ้วน ๔ ถ้วน ๕ ถ้วน ๖ ถ้วน ๗ ฉันเดียว กถาคำจาบ่พัดบ่ต่าง ก็จิ่งใช้เถิงเสนาอามาจเจ้าปถวีสราชจิ่งมีอาชญาร้องเรียกแล้ว เข้าเถิงเมตตาเสนาอามาจ เจ้าปถวีสราชว่า สาธุ สาสนทายาท ดังนี้

นอกจากนี้ ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนของบรรพชนมอญแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน จารึกกัลยาณ๊ ที่พระเจ้าปิฎกธร กษัตริย์รามัญ ได้ให้จารึกไว้ หลังจากได้ชำระพระพุทธศาสนา เมื่อ ๕๐๐ กว่าปีก่อน ดังจะได้คัดลอกมา แต่พอสังเขป มีดังนี้ว่า
ภาพวาดการสร้างหออุปมบทกัลยาณีสีมา เมืองพะโค ประเทศมอญในอดีตรามัญสมณวงศ์พระโมคคลีบุตรดิสสเถระก็เลือกคัดภิกขุขีณาสพ ผู้ทรงซึ่งคุณวิเศษ คือฉฬาภิญญาและจตุปฏิสัมภิทาญาณ ได้ภิกษุประมาณ ๑๐๐๐ รูปแล้ว จึงกระทำตติยสังคีติกรรม สิ้นกาล ๙ เดือนจึงเสร็จสังคายนกิจ ก็ฉันนั้น
        
สังคีติกรณาวสาเน ปน ก็ในกาลเมื่อกระทำสังคายนกิจเสร็จแล้ว พระผู้เปนเจ้าพิจารณารู้ชัดว่า ในอนาคตกาลภายหน้า พระพุทธสาสนาจักประดิษฐานอยู่ในปัจจันตะประเทศดังนี้แล้ว จึงส่งไปซึ่งพระเถระทั้งหลายนั้นๆ บรรดาพระเถระทั้งหลายที่พระผู้เปนเจ้าส่งไปเหล่านั้น
...
ส่วนว่าพระโสณเถระกับพระอุตรเถระไปอยู่รามัญประเทศ
#65
อนุโมทนาบุญด้วยครับ 
#67
โอม  ท่านผู้รู้ท่านใด พอจะทราบวัดฮินดูในจังหวัดเชียงใหม่หรือใกล้เคียง เพื่อที่ผมจะไปกราบนมัสการ และร่วมประกอบพิธีได้ครับ

ขอบคุณมากมายครับ
#69
   ต้องกราบขออภัย ทุกท่านด้วยครับ ที่ได้แนะนำตัวโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทรงเจ้า ร่างทรงไปโดยไม่ได้ศึกษากฎของสมาชิกครับ

ต้องของอภัยครับ


  ผมอยากทราบเกี่ยวการตั้งหิ้งบูชาเทพฮินดูพร้อมรูปประกอบ  ท่านผู้มีคุณ ท่านใดพอจะทราบ ขอได้โปรดชี้แจ้งให้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ


       มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม หาได้เกิดมาเพื่อการเก็บเกี่ยวไม่ แต่หากเกิดมานั้นไซร้เพื่อแบ่งปันแท้    โอม
#70
โอม  เพิ่งมาใหม่ครับฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับพอดีไปให้ญาติที่ท่านทรงองค์นารายได้ดู ท่านก็บอกมาว่าเราเป็นลูกของพระพรหมธาดา
ท่านให้ตามาแต่เราเปิดไม่เป็นเลยอยากจะลองศึกษาทางศาสนาพาร์มดูและอยากทราบจากผู้รู้ว่าควรปฎิบัติบูชาอย่างไร สวดมนต์บทไหน  แต่โดยส่วนตัวชอบไหว้พระสวดมนต์อยู่แล้วครับ
แต่ก็ไม่เคยเห็นหรือได้ยินอะไร  มีแต่จะหน่วงๆอยู่กลางหน้าผากครับ ของท่านผู้รู้ทั้งหลายเมตตาบอกกล่าวจะเป็นพระคุณยิ่งคับ

ปล วิธีเอารูปลงทำไงบอกด้วยนะคับจะเอารูปสวยๆมาลงไว้เป็นหน้าตัวครับ ไว้จะเข้ามาอีกครับ  โอม