Loader

เทวรูปศิลปะสุโขทัย

Started by อินทุศีตาลา, April 14, 2011, 21:09:49

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

April 14, 2011, 21:09:49 Last Edit: April 16, 2011, 09:24:36 by กาลิทัส
หลังจากสนุกสนานกับการนำเอาบทความที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสมัยยังเรียนอยู่มาลงในบอร์ด HM เมื่อสองสามวันที่แล้ว
แต่ก็ยังไม่หนำใจ แม้ว่าเวลาว่างในช่วงนี้จะสะดุดลงไปบ้างเพราะภารกิจจร แต่ดิฉันก็ไม่หวั่นค่ะ ทั้งหมดนี้ก็ด้วยปรารถนาจะให้บอร์ดของเรากลับมาคึกคักด้วยเรื่องราวที่(ดูเหมือนว่าจะเป็น) วิชาการ
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลในศิลปกรรมอันงดงามภายใต้หลักประติมานวิทยา ซึ่งก่อให้เกิดเป็นเทวรูปหลากหลายแบบ ที่นอกจากจะดูงดงามแล้ว ยังซ่อนนัยอันน่าสนใจไว้มากมายด้วย
ก็เมื่อพูดถึงเทวรูปแล้ว อดไม่ได้ที่จะขอกล่าวถึงเทวรูปศิลปะสุโขทัยซึ่งรู้สึกศรัทธาและชื่นชอบมากเป็นพิเศษ นอกจากเรื่องของสุนทรียศาสตร์และศิลปกรรมแล้ว โดยส่วนตัวรู้สึกว่าเป็น 'คนบ้านเดียวกัน' ที่เผอิญต้องมาอยู่ 'เมืองกรุง' เช่นเดียวกันกับท่าน
นึกๆดู แม้ว่าดิฉันจะไม่ใช่คนมี่ความรู้อะไรนักหนา และไม่ใช่นักเลงหนังสือ แต่ก็ชอบรื้อชอบค้นจนพอจะทราบว่า นอกจากหนังสือเรื่อง 'เทวรูปสมัยสุโขทัย' ผลงานนิพนธ์ของศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลแล้ว ยังไม่เคยเห็นหนังสือเล่มใดที่พูดถึงเทวรูปเหล่านี้อย่างจริงจังเลย นอกจากจับผ่านๆ ก็หนังสือของท่านอาจารย์เล่มดังกล่าวนี้ พูดถึงแต่วิชาการด้านโบราณคดี อันอนุมานเอาจากลวดลายที่ปรากฏอยู่บนเทวรูปเสียเป็นส่วนใหญ่ มิได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์เลย ดิฉันจึงขออนุญาตใช้พื้นที่บอร์ดนี้บังอาจเล่าและรวบรวมข้อคิดเห็นของดิฉันเองเกี่ยวกับเทวรูปศิลปะสุโขทัยเหล่านี้
ความมีโดยละเอียดดังนี้
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

อิทธิพลศาสนาฮินดูในอาณาจักรสุโขทัย
หลังจากศาสนาพุทธนิกายมหายานเริ่มเป็นที่ยอมรับกันมากในดินแดนแถบนี้เมื่อประมาณ 100 ปีก่อนศตวรรษที่ 19 จะเริ่มต้นขึ้น ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูซึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อนก็ดูเหมือนจะค่อยๆลดบทบาทลง จนเมื่อมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นนั้น ศาสนาพุทธได้เป็นศาสนาเอกที่มีบทบาทมากที่สุดในพื้นที่แถบนี้ไปเสียแล้ว
แต่ใช่ว่าศาสนาฮินดูจะห่างหายไปจากชีวิตจิตใจของผู้คน

ในพื้นที่เมืองสุโขทัยเอง ปรากฏร่องรอยของศาสนสถานในศาสนาฮินดูอยู่หลายแห่ง ทั้งศาลตาผาแดง ซึ่งเป็นปรางค์ศิลาแลง ภายในประดิษฐานรูปเคารพ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งปรักพังจนไม่สามารถรู้ได้แล้วว่าเป็นรูปเคารพอย่างใด แต่สันนิษฐานกันว่าคงจะเป็นเทวรูปหรือรูปเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง


ศาลตาผาแดง
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 14, 2011, 21:14:46 #2 Last Edit: April 16, 2011, 09:53:32 by กาลิทัส
นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานสำคัญ สร้างจากศิลาแลง เป็นปรางค์สามหลังเรียงต่อกันตามแนวตะวันออกตะวันตก หันหน้าไปทางทิศใต้ ด้านหน้าปรางค์มีฐานอาคาร วัดนี้มีชื่อในปัจจุบันว่า 'วัดศรีสวาย' สมเด็จฯ กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ทรงเห็นว่าอาจจะเป็นเทวสถานเก่าที่แปลงเป้ฯวัดในพระพุทธศาสนาเมื่อภายหลัง แต่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเห็นต่างไปว่า
"สันนิฐานเห็นได้ว่า ปรางค์ปราสาทใหญ่ทั้งสามข้างหลังโบสถ์นั้นต้องเป็นสถานของพระศิวะ วิษณุและคเณษตามแบบ โบสถ์นั้นเปนโบสถ์พราหมณ์ที่กระทำพิธีบูชา ที่มุขโถงหน้านั้นเปนที่คนผู้มากระทำพลีกรรมได้นั่งพัก ออลตาคือสถานเล็กที่สามสถานนั้น ก็คงเปนเทวอะไรเตี้ยๆ สามตัวมีเทวนันที คือโคอุสุภราชเปนต้น "
นักวิชาการในชั้นหลังหลายท่านให้ความเห็นว่าชื่อ 'สรีสวาย' อาจเพี้ยนมาจาก ศรี ศิวายะ ก็เป็นได้
นี่คือหนึ่งประจักษ์พยานสำคัญที่พอจะเห็ฯเค้าเงื่อนได้ว่าแม้ศาสนาพุทธจะมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อผู้คนในอาณาจักรสุโขทัย ท่วาศาสนาพราหมณ์ก็มีบทบาทสำคัญอยู่ด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นคงไม่มีเทวสถานขนาดใหญ่และงดงามเช่นนี้ตั้งอยู่ในกำแพงเมือง ใจกลางอาณาจักร
และหากผู้ใดเข้าไปเยี่ยมเยียนวัดศรีสวายในปัจจุบันก็ยังพอพบเห็นร่องรอยของศาสนาพราหมณ์ ฮินดูได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นฐานโยนีโทรณะที่วางอยู่ในวัด หรือภาพจิตรกรรมอันเลือนรางรูปเทวดาที่งดงามทรงคุณค่า



วัดศรีสวาย
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เทวรูปสุโขทัย: ประจักษ์พยานของอิทธิพลฮินดูในอาณาจักรสุโขทัย
ข้อความจากศิลาจารึกหลักที่ 4 วัดป่ามะม่วงเล่าถึงการที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ช่างหล่อเทวรูปพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ขึ้นเพื่อทรงสักการะ สะท้อนให้เห็นถึงพระราชศรัทธาของพระมหากษัตริย์แห่งสุโขทัยที่มีต่อศาสนาพราหมณ์ฮินดู และสันนิษฐานกันว่าเทวรูปที่ทรงพระกรุณาฯให้หล่อขึ้นคราวนั้น คือหนึ่งในหมู่เทวรูปศิลปะสุโขทัยที่เก็ฐรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ขนาดใหญ่ที่สุด
เทวรูปทั้งสององค์นี้มีขนาดสูงใหญ่เกือบ 3 เมตร และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์อันบริบูรณ์พร้อม ประกอบด้วยประติมานวิทยาตามแบบโบราณ สร้างจากสำริดและยังสามารถเห็นร่องรอยของการปิดทองในส่วนต่างๆได้อย่างชัดเจน
หากศาสนาพราหมณ์ ฮินดูไม่ทรงอิทธิพลแล้ว กษัตริย์ผู้ได้พระราชสมัญญาว่า 'ธรรมราชา' ผู้ฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งสละราชสมบัติเสด็จออกผนวชคงไม่ทรงทุ่มเทกำลังพระราชทรัพย์เพื่อสร้างเทวรูปที่ใหญ่โตและงดงามมากมายถึงเพียงนี้ ซ้ำยังทรงพระกรุณาให้สร้างเทวสถาน 'เทวาลัยมหาเกษตร หรือ เกษตรพิมาน' ไว้ใกล้เคียงกับอารามวัดป่ามะม่วงที่ประทับจำพรรษาในคราวทรงพระผนวช ยิ่งตอกย้ำให้เห้นถึงความสำคัญของศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยมีเทวรูปอันงดงามนี้เป็นประจักษ์พยานที่สำคัญ




เทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์เทียบกับตัวดิฉันเอง

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 14, 2011, 21:25:02 #4 Last Edit: April 16, 2011, 09:59:04 by กาลิทัส
นอกจากนี้ จากหลักฐานในปัจจุบัน เราพบพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมากกว่า 15 องค์ ส่วนใหญ่ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นอกจากนั้นก็มีที่เทวสถานสำหรับพระนคร กรุงเทพมหานคร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง และอยู่ในความครอบครองของนายเจมส์ เอช. ดับเบิ้ลยู. ทอมป์สัน ซึ่งปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน กรุงเทพมหานคร มีทั้งพระอิศวร, พระนารายณ์, พระหริหระ, พระพรหมและพระศักติ ในขนาดแตกต่างกันตั้งแต่สูงเกือบสามเมตรจนถึงสูงประมาณ 1 ฟุต
นั่นหมายความว่า เทวรูปเหล่านี้สร้างขึ้นต่างวาระกัน เพราะคงไม่มีใครสร้างพระหริหระพร้อมกันสององค์โดยมีรูปลักษณ์แตกต่างกัน หรือสร้างเทวรูปพระอิศวรหลายขนาดพร้อมกันเพื่อประดิษฐานในที่เดียว เทวรูปทั้งหมดนี้ (และที่เรายังค้นไม่พบ) คงไม่ได้สร้างขึ้นโดยพระเจ้าลิไทเพียงพระองค์เดียว และคงไม่ได้ประดิษฐานอยู่ ณ เทวาลัยมหาเกษตรเพียงที่เดียว แต่แสดงให้เห็นถึงความภักดีต่อพระเป็นเจ้าของคนสุโขทัยที่กว้างขวางและสืบทอดมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

ของประวัติศาสตร์สุโขทัย



   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

คืนนี้ไว้เท่านี้ก่อนค่ะ และน่าจะอีกสองสามวันถึงจะมาต่อ
หวังว่าจะมีใครเข้ามาในนี้บ้างนะคะ เหงาค่ะ

ขอพระเป็นเจ้าทรงอำนวยพร
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ชอบบบบบบบบบบบบบบบบบบบมากกกกกกกกกกกกกกกกกเลยครับจะรอดูนะครับ*-*

ขอบคุณครับ สำหรับบทความ และ บทวิเคราะห์ดีๆ ครับ

ยังติดตามตอนต่อไปอยู่ครับ

****************************************

ในส่วนของความรุ่งเรืองของศาสนาฮินดูในสมัยสุโขทัย ผมเข้าใจว่ามีความเป็นไปได้และน่าจะรุ่งเรื่องมาก่อนหน้าสมัยของพระเจ้าลิไทครับ
เพราะตามจารึกของวัดศรีชุมกล่าวไว้ว่า ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะทรงสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ได้มีกลุ่มขอมเข้ามายึดครองดินแดนอยู่ระยะหนึ่ง ทำให้อารยธรรมของเขมร (พราหมณ์-ฮินดู) รุ่งเรืองครับ

ดังนั้นตามความคิดของผมน่าจะเป็นไปได้ว่าคนที่อยู่ในอาณาจักรสุโขทัย มีทั้งกลุ่มคนที่นับถือพุทธ และ ฮินดู ครับ

ชอบทวรูปจังเลยครับ
อีโวโฮสติ้ง ถ้าคุณต้องการHostingคุณภาพ โปรดนึกถึงเราอีโวโฮสติ้ง

ขอบคุณคับสำหรับความรู้
ชอบคับ...รอติดตามตอนต่อไปนะคับ

วัดศรีสวายไปมาแล้วค่ะ ไกด์บอกว่ามีอีกชื่อคือวัดศรีศิวายา ค่ะเป็นวัดที่รวมศาสนาพุทธกับฮินดูได้อย่างลงตัวเลย
โอม เจ มาตา กี รักสุดหัวใจเลย พระแม่จะอยู่ในใจลูกเสมอ

ตราบใดที่ท้องฟ้ายังมีดวงจันทร์ ตราบนั้นนามพุ่มพวงจะไม่เลือนหาย

ขอบคุณคุณอินทุศีตารา มากครับผมได้นำสิ่งดีมาให้ชาวHMอีกแล้วครับ ผมชักเริ่มชอบเทวรูปสุโขทัยเลยสิครับหุุหุ แต่ถ้าแต่งผ้าอินเดียคงจะไม่เข้าแน่ๆ
โอม มหากาลา ไภราวะ นะมะฮา
ขอนอบน้อมแต่องค์พระมหาไภราวะ ผู้ทรงเป็นที่รักษาความยุติธรรม และ ทรงเป็นนายแห่งความตายและการสงคราม  ขอพระองค์ทรงปกปักรักษาและอวยพรแด่ ข้าพเจ้า บิดามารดาของข้าพเจ้า ครูอาจารย์ของข้าพเจ้า คนรักของข้าพเจ้า และสหายของข้าพเจ้า ให้มีความสุขความเจริญด้วเทอญ


จงระวังความคิดให้ดี เพราะความคิดนี่ละ ทำให้เกิดชาติภพมากมายนับไม่ถ้วน

สวัสดีครับพี่ๆทุกท่าน ผมเป็นเด็กใหม่ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ด้วยน่ะครับ

หลังจากห่างไปนาน ขออนุญาตมาต่อให้จบนะคะ

สุนทรียภาพในเทวรูปสุโขทัย

ความน่าสนใจของเทวรูปสุโขทัยก็คือนัยที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความงามของการออกแบบ ความปราณีตในการตกแต่งและความสามารถในการปั้นหล่อ
สุนทรียภาพของเทวรูปเหล่านี้มีความแตกต่างจากช่วงก่อนหน้า และหลังจากนี้อย่างชัดเจนกล่าวคือ
1.เทวรูปสุโขทัยเน้นเส้นนอกที่อ่อนหวาน โค้ง ช่วยให้ดูสุขุมนุ่มนวล และให้ความสำคัญกับเส้นในแนวดิ่งที่ช่วยให้เทวรูปดูสงบ สง่างาม ต่างกับเทวรูปในอิทธิพลอื่นๆที่เน้นการเคลื่อนไหว ความนิ่งสงบของพระเทวรูปนี้เป็นลักษณะเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปในสมัยเดียวกันด้วย

2.เครื่องทรงของพระเทวรูปมีความคล้ายคลึงกันทุกองค์ ทั้งเทพและเทวี คือ สวมเทริด ด้านหลังขมวดพระเกศาเป็นมวย ที่เรียกว่า 'มวยหางหงส์'  ที่น่าสนใจคือพระนารายณ์ยังคงคติการสวมพระมาลาทรงกระบอกไว้อยู่ ไม่ทรงฉลองพระองค์ แต่มีกรองศอ พาหุรัด ทองพระกร รัดพระองค์และกุณฑล ทรงนุ่งผ้ายาว แหวกชายด้านหน้าเป็นครีบคล้ายหางปลา ดึงชายพกผ้าด้านหน้าตรงใต้พระนาภีออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลม (ซึ่งไม่มีในศิลปะเขมรทว่าคล้ายกับการนุ่งผ้าตามศิลปะลังกา)

3.พระพักตรของเทวรูป รียาว แบบเดียวกับพระพุทธรูป พระเนตรหลุบต่ำ พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย
4.ปัจจุบันยังคงพอมองเห็นร่องรอยของการปิดทองในส่วนเครื่องประดับของพระเทวรูปด้วย
5.เทวรูปพระอิศวรบางองค์แสดงมุทราที่เกี่ยวข้องหรือสามารถเชื่อมโยงกับพระพุทธรูปได้


พระอิศวร


พระนารายณ์ทรงเทริดทรงกระบอก


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

หมายความว่าคติการสร้างพระเทวรูปและพระพุทธรุปของคนสุโขทัยไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่การสร้างพระเทวรูปที่งดงาม และมีขนาดใหญ่โตย่อมแสดงให้เห้ฯความสำคัญของศาสนาพราหมณ์ ในอาณาจักรแห่งนี้ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองของคนในสุโขทัยและคนของเขมร ดังจะเห้ฯว่าช่างสุโขทัยพยายามคิดค้นและออกแบบพระเทวรูปของตัวเองขึ้นมา โดยปฏิเสธศิลปะเขมร ทว่ากลับสัมพันธ์กับศิลปะลังกาอย่างมีมิติ

และที่น่าสนใจกว่านั้นคือไม่ว่าสุโขทัยจะพยายามเช่นไร แต่หลังจากอิทธิพลทางการเมืองของตัวเองเสื่อมลง รูปลักษณ์ของพระเทวรูปแบบสุโขทัยก็ค่อยๆหายไป กลับไปรับอิทธิพลเขมร เช่นเดิม

ดังจะเห็นได้จากเทวรูปที่สร้างในสมัยหลังจากนี้จะค่อยๆทวีความแข็งกระด้างขึ้น แสดงทิพยภาวะขึงขังขององค์เทพออกมาให้มากที่สุด

เราจึงได้เห็นเทวรูปสมัยต่อมาทีค่อยๆแข็งขึ้น อาทิ พระคเณศองค์ประธานในสถานพระคเณศ เทวสถานสำหรับพระนคร หรือพระอิศวรประทับนั่งขัดสมาธิซึ่งดิฉันเคยพบเห็นเพียงสององค์ องค์หนึ่งประดิษฐานบนชุกชีของสถานพระอิศวร เทวสถานสำหรับพระนคร และอีกองคืหนึ่งอยู่ในความครอบครองของเอกชน




   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

แย่แล้วรูปไม่ขึ้นค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบพระคุณ คุณอินทุศีตาลา ที่นำบทความดีๆมาแบ่งปันความรู้กันนะครับ

ปล. ภาพไหนครับที่ไม่ขึ้น เดี๋ยวผมจะช่วยดูให้ครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีค่ะ อันที่จริงรูปที่ไม่ขึ้นอยู่ในกระทู้ที่ 13 แต่ขออนุญาตยกลงมาไว้ที่นี่เลยค่ะ



พระนารายณ์ ประทับยืนบนดอกบัว พระหัตถ์ขวาบนทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์ พระหัตถ์ขวาล่าง ประทานพร ส่วนพระหัตถ์ว้ายล่างทรงดอกบัว ซึ่งหายไปแล้วเพราะเขาทำดอกบัวต่างหากจากองค์เทวรูป ปัจจุบันเหลือวงแหวนอยู่ระหว่างนิ้วพระหัตถ์ที่จีบเป็นท่าถือ สามารถนำดอกบัวมาเสียบลงไปได้

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

แย่แล้ว รูปไม่ขึ้นจริงๆค่ะ

55555555 สงสัยต้องละความพยายาม
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)