Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Amrit_Phakti

#2
ิสิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในพระเวท  สิ่งนั้นไม่จริง    พระเวทไม่เคยกล่าวว่าโพธิสัตว์กวนอิม เป็นหนึ่งเดียวกับ พระอุมา ลักษมี หรือกาลี
สั้นๆเลยครับ   
#3
Quote from: agyness on September 02, 2012, 02:28:43
แล้วแต่คร่ะ
เพลงในศาสนาฮินดูที่เราฟังๆกันจริงแล้วมันเป็นบทสวดน่ะคร่ะ
บทสวดต่างๆถูกแต่งด้วยฉันท์ต่างๆน่ะค่ะแบบที่เรารียนตอนมอปลายน่ะค่ะ
เน้นความคร้องจองคร่ะแต่คร้องแบบภาษาแขกน่ะค่ะฉนั้นเราจะไม่ค่อยเข้าใจหรอกคร่ะ
จะอัมมาหรืออัมมันล้วนแต่แปลว่าาพระแม่ทั้งนั้นค่ะ


จริงครับ  ทั้งสองคำล้วนความหมายเดียวกัน    อัมมะ  เทียบได้กับคำว่า แม่
                                 อัมมัน   เทียบได้กับ  มารดา
ทั้งสองคำความหมายเดียวกัน  แต่ระดับภาษา ต่างกัน
#4
สวยงามมากๆครับ ขอพรแห่งศรีวินายะกา คุ้มครองทุกท่านนะครับ
#6
มาแถมบทสวดบูชาพระกาลีให้ครับ
โอม ชยันตี มังคลากาลี ภัทรกาลีกปาลิณี ดุรกาฌมาศิวาธาตรี สวาหะ สวะธา นะโม สตุเต
  ตั้งใจดีๆล่ะครับพระเป็นเจ้าท่านอยู่กับเราเสมอ  ไม่ต้องวิ่งหาที่ไหน   หากใจมีพระเป็นเจ้า   พระเป็นเจ้าก็อยู่กับเรา
   
#7
9-11ถือศีลเตรียมตัวเข้ามหาศิวะราตรีที่บ้านครับ
12  วัดเทพ
13  วัดแขก
ใครพบผมก้ทักทายกันได้นะครับ
#8
ได้ข่าวว่า ที่วัดแขกจัดวันที่13เหรอคับ   ใครทราบรายละเอียดช่วงแจงด้วย
#9
อิอิอิ   กระทู้นี้สนุกดีจังนะพี่ออส  เหอๆๆ  เจอะเยอะคับพวกแบบนี้ 
#10
เหอๆๆๆ   คติขายของมากกว่านะคับ   เอาตามที่กำลังเราไหวก็ได้นะ  แต่เรื่องดวงประทีปที่2ดวงนั้น  มีคนเคยให้คำบอกมาว่า  ดุจดั่งดวงพระเนตรทั้ง2ของพระเป็นเจ้า  ที่เฝ้ามองและดูแลผู้บูชาพระองค์ 
#11
ขอบคุณ คุณหริทาสมากๆ  ผมเองก็คอยติดตามผลงานอยู่เนืองๆ  นะครับ
#12
ก็ถ้าตั้งใจจะสัก  ก้คงไม่มีใครไปห้ามอะไรได้นี่ครับ  แต่ถ้าตามความเห็น  ก็ไม่ควรเท่าไร   จริงๆแล้ว  การสัก ก็เหมือนการสร้างตำหนิให้เกิดแก่ร่างกาย  ผมเองไม่ได้ว่าการสักไม่ดีนะ  เพราะผมก็สักเหมือนกัน   
    การที่ร่างกายมีตำหนิ  ถือได้ว่ามีมลทินแต่ไม่ได้แปลว่า สกปรกนะ  หมายถึง ไม่สะอาดถ้วน   บางครั้งอันนี้ผมโยงไปถึงเรื่องสมัยก่อนนู้นนะครับ  อาจเป็นความเห้นที่ล้าสมัย  เพราะคนที่สัก หมายถึงคนที่ต้องโทษอะไร  หรือ เป็นพวกนักเลง   แต่สมัยนี้ กลายเป็นค่านิยมที่แสดงถึงศิลปะ
   แต่อย่างไรก็ตาม  ผู้บูชาพระองค์  สามารถแสดงออกถึงความภักดีได้หลายรุปแบบ   เพียงแต่  การที่จะเชิญรูปพระเป็นเจ้า  มาอยู่บนร่างกาย  ก็ถือว่าไม่งามในสายตาผู้บูชาอยู๋ดี   แต่ถ้าทำแล้วสบายใจ   ไม่เดือดร้อนตน และไม่เดือดร้อนส่วนรวม ก้โอเคล่ะครับ
    แต่อย่างไรก็ตาม เอาแต่พองาม  ไม่ออกนอกกรอบความเหมาะสม และอยู่ในรีตในรอย เป็นใช้ได้ 
#13
เห็นด้วยครับ กับการดำรงจารีต  เพราะเราไม่ใช่เจ้าของ  ดังนั้นทำอะไร ก็ควรให้เกียรติ์เจ้าของ   ถึงแม้ว่าเราจะบอกกันว่า ทุกอย่างอยู่ที่จิตก็จริง  แต่ก็ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆด้วย    เหมือนเราเห็นเค้าทำข้างผัด เห็นเอานี่นั่นๆใส่ๆ ผัดๆ ก็เสดละ  ใครๆก็ทำได้  จริงอยู่  แต่ทุกสิ่ง มีขั้นตอน  มีวิธีของเค้า ตามระบบระเบียบ    แหม  ยกตัวอย่างซะหิวเลย
#14
สำหรับผมนะ  ผมคิดว่า  การจะอัญ้ชิณ รูปพระเป็นเจ้ามาอยู๋กับร่างกาย  เป็นเรื่องอันมิบังควรเท่าไร   
  เราไม่รู้ว่า  วันๆนึง  เราทำอะไรอันควรมิควรบ้าง   ต่อการให้ความเคารพพระเป็นเจ้า  แล้่้วอีกอย่าง  เราเป็นคน  รัก เกลียด ดี ชั่ว  ยังปนเป
   จะทำให้เกิดมลทินกับรูปปฏิมาบนร่างกาย  เกิดบาปกับเราอีก  แค่ผมจะสักรูปโอม  หรือ อักขระ  ผมยังคิดแล้วคิดอีก จนไม่คิดทำแล้ว
    อย่างดีก็คงสักดอกบัว
    ไม่ขอเป็นเทียบเทียมพระองค์
   ขอแค่เป็นดอกบัว รองบาท เป็นบริจาริกาท่านก็พอแล้ว
#15
เรากินเหล้า   อย่าให้เหล้ากินเรา
   ศีล  แปลว่า ปกติ  ถ้าผิดปกติ ก็ผิดศีล    ศีลไม่ใช่ข้อห้าม  แต่เป็นข้อพึงละเว้น
   เอาตามสมควรละกันครับ
#16
แต่ละสิ่งศักดิ์สิทธิ์   แต่ละศาสตร์  ย่อมมีแก่นของตน   เราหากจะบูชาสิ่งนั้นๆ  ก็ควรทำให้ถูกต้องกัน    เหมือนดั่งเราเห็นว่า  น้ำและน้ำมัน  ล้วนเป็นของเหลวเหมือนกัน   แต่ไม่สามารถรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ฉันใด    ทุกสิ่งล้วนมีระเบียบวิถีของสิ่งนั้น
   จริงอยู่ที่ว่า  ทุกสิ่งดีหมด  แต่การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ละอย่าง มีวิธีของเค้าเอง 
   การจัดวาง  ก็ควรให้เป็นไปตามระเบียบระบอบของวิถีนั้นๆ
#17
เท่าที่ทราบมาคือ  จะเป็นเสมือนบัลลังก์ที่ประทับก่อนเข้าสู่วิหารอ่ะครับ   ใครทราบรายละเอียดเพิ่มเติมบอกด้วยนะคับ
#18
มีใครอยู่ภูเก็ตบ้างป่าวคับ  อยากทราบว่า  วัดพระขันธกุมารที่ภูเก็ต  เค้าจัดด้วยรึป่าว
#19
ตามประวัติพระขันธกุมารเป็นน้องของพระคเณศอ่ะครับ  ทางใต้นะ   เพราะตามตำนานการกำเนิดพระขันธกุมาร  ท่านมีกำเนิดมาหลังพระคเณศ   แต่บางตำรา  ทางอินเดียเหนือ  ก็บอกว่า  พระสกันฑ์เป็นร่างมนุษย์ ก่อนถูกตัดเศียรเป็นช้าง    อ้างอิงจากต่างที่  ความเป็นมาก็ต่างกัน
  แต่ที่ยอมรับมากที่สุด  คือ พระคเณศเป็นพี่   พระขันธกุมารเป็นน้อง  และในคราวที่พระคเณศชนะการประลองชิงผลมะม่วงวิเศษ  คราวนั้น พระคเณศก็บอกกับพระขันธกุมารว่า  น้องพี่  ผลไม้นี้  เจ้าควรได้รับไป   
#20
แล้วมีรูปต้นฉบับป่าวล่ะคับ  อยากเห็น
#21
เอาง่ายๆนะครับ  ก็ทุกวัน  หรือทุกครั้งที่ไหว้  เปลี่ยนของบูชา  น้ำ นม แล้วแต่เรา   ของถวาย  นิยมของเปรี้ยวๆ ไม่ก็น้ำแดง สีที่ท่านโปรด  ตั้งใจ  สวด
   โอม เจ กาลี มา  สั้นๆ ง่ายๆ  แต่ขอให้ตั้งใจและน้อมจิตถึงพระองค์  บทสวดใดๆก็ไร้ค่า  ถ้าไม่ได้เกิดจากอำนาจแห่งความตั้งมั่นแห่งจิต
   
#22
วันที่18ผมจัดทั้งดิปาวาลี+มหากาลีบูชา  วันเดือนขาดพอดี  แรม14ค่ำ ไม่มีแรม15ค่ำ  ถือเทวีฤกษ์พอดี   เอาภาพมาฝากคับ  บ้านผมเอง
 







#23
17  ไปวัดแขกสีลม    18  ไหว้เองที่บ้าน  19ไปงานที่เจริญกรุง 99  เค้ามีงานบูชาพระคเณศแบบอินเดียโบราณ  งานใหญ่เหมือนกัน
   ไว้จะเอารายละเอียดมาลงนะครับ
#24
ประเด็นนี้ท่าจะยาว  ไปๆมาๆ กลายเป้นการทวงสิทธิ์สตรีหรือเปล่า   มันเป็นความนิยมของสมัยก่อนที่เพศชายเป็นเพศที่มีบทบาทมากกว่า  ก็เท่านั้น
  ในพระธาตุบางแห่ง  ห้ามสตรีเข้าเลยก็มีนะครับ   เจ๊ระเบียบ ก็เคยมีบทบาทแนวๆนี้ แต่ยังไง  จารีต มันมีอ่ะครับ  เราก็ต้องยอมรับ  คำว่า  จารีต  คือระเบียบที่สังคมยอมรับ  ถึงไม่บังคับ  แต่ถ้าใครผิด  ก็จะถูกสังคมลงโทษได้    อย่ามาว่า  เหมาะไม่เหมาะเลยนะครับ  ถ้าเข้าไม่ได้  เราจะไปร้องเรียกให้เข้าจนได้  ก็ใช่ที่  การทำความดีไม่ใช่อยู่ที่ เข้าได้ไม่ได้นี่ครับ  แต่อยุ๋ที่เราตั้งใจขนาดไหนต่างหาก
   ผมไม่ได้ว่าใครนะ  แค่อยากให้สติ และข้อคิดกันก็เท่านั้น   ชายหญิง  ถึงเท่าเทียมกัน  แต่บางเรื่อง  ชายก็ทำไม่ได้  บางเรื่อง หญิงก็ทำไม่ได้   สรุป  ทั้ง2เพศ  ควรอิงอาศัยกัน   ดั่งศิวะ  ก็ขาดพระศักติไม่ได้ฉันใด   ไฟที่ขาดความร้อน ก้เปล่าประโยชน์และอำนาจ ฉันนั้น
#25
อันนี้คนเป็นความเชื่อในแต่ลละที่มากกว่านะครับ    ซึ่งถ้าที่ไหนเค้าห้าม  ก็ควรเคารพ  เพราะแต่ละที่มีข้อปฏิบัติ  แต่ถ้าที่ไหนไม่ห้าม  ก้เข้าปกติ  ไม่มีปัญหา    ถ้าถามว่า  คัมภีร์ไหนกำหนด  ผมก็ไม่รู้สิ  ยังไม่เคยได้อ่านพระเวทย์ทั้ง4ฉบับแปลซักที  หาอ่านอยู่เหมือนกัน   เพราะพอทราบแค่ในฤคเวท เป็นการกล่าวบูชาเทพเจ้าต่างๆ  ไม่ได้บอกถึงข้อห้ามใดๆ  หรือหลักปฏิบัติใดๆ  ส่วนในยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท  ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด
   ไว้อ่านครบจะบอกละกัน   แต่เท่าที่ศึกษามา  เป็น  ค่านิยมและธรรมเนียมของแต่ละที่มากกว่า   
   มองอีกแง่โดยธรรมชาติ  ผู้หญิงที่มีประจำเดือน สมัยก่อน  มันเปรอะเปื้อนง่าย  เค้าเลยไม่ให้ไปสถานที่เหล่านั้น   แต่สมัยนี้ ทั้งลอรีเอะ  โซฟี  วิสเปอร์  สารพัดสิ่ง  อำนวยความสะดวก  ด้านกายภาพ  เวลาประจำเดือนมา  มักปวดท้อง อารมณ์หงุดหงิดเปลี่ยนแปลงง่าย  อ่อนเพลีย  เค้าเลยให้อยู๋พักผ่อนจะดีกว่าหรือไม่ผมไม่ทราบแน่ชัด  แต่มองในอีกแง่นึง  บางที่  เค้ากล่าวว่า  พลังของเทวะ  บางคนเมื่อสัมผัสพลังของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วทำให้ธาตุในร่างกายสั่นสะเทือน  ธาตุน้ำสะเทือน ทะลักออกมาก็มี 
   ยังไงเสืยที่ไหนเข้าได้ก็เข้า  ที่ไหนเค้าไม่ให้เข้า ก้ไม่ควรเข้า  เคารพกติกาแต่ละที่จะควรกว่าครับ
#26
ก็ตามที่หลายๆคนบอกแหละครับ  องค์นี้เป็นงานที่สร้างขึ้นใหม่เป็นการผูกปกรณัมใหม่โดยเอาสัญลักษณ์ของพระอุมาแบบต่างๆกันมารวมกัน  ทั้ง มารีอัมมัน  กาลี มุกัมบิกา ผมเองก็คิดว่า  มาจากร้านเดวีแน่นอน  เพราะร้านนี้มักสรรสร้างพระแม่แบบใหม่ๆมาเสมอ และสวยๆทั้งนั้น  แต่ถ้าจะหาในปกรณัมว่า ท่านพระนามว่าอะไร  ผมว่า  คงยาก เพราะเป็นงานที่ช่างในยุคปัจจุบัน สรรสร้างตามจินตนาการ
#27
แหะๆ  เพิ่งกลับมาอ่าน  ขอบคุณครับ  ได้หลักใหม่ๆพอสมควร  แต่ยังไงผมก็ยังเน้นประเด็นเดิมนะครับ   หาให้ได้ก่อนว่า  เราจะตั้งให้องค์ไหนเป็นประธานสำหรับที่นั่น   ก็ตั้งขึ้นกลาง    ประธานสถานที่  ขอเน้นคำนี้นะครับ  ไม่ใช่ประธานหรือใครใหญ่กว่าใคร  แต่ ประธานที่ดูแล และเป็นการแสดงให้ทราบว่า  ที่นั่น  ใครเป็นประธาน
   เช่น  ที่วัดพระวิษณุ  องค์วิษณุก็จะเป็นประธาน   วัดพระแม่  องค์พระแม่ก็จะเป็นประธาน   
   ฝากไว้แค่นี้แหละครับ
#28
ภาพเล็ก มองไม่่เห็นรายละเอียดอ่ะคับ
#29
ไปมาเหมือนกันคับ  แต่ไม่สะดวกบันทึกภาพมาให้ได้ชมกันเลย  เจอะพี่ลองภูมิด้วย  รอพี่ลองภูมิ เอารูปมาโชว์อยู่นะเนี่ย
#30
ก่อนบูชา ดูดีๆนะครับ ว่าเป็นเมรุจักราขององค์ไหน  เพราะอย่างที่ทราบกันว่า  เมรุจักรานี้  สร้างมาจากการนำเอาศรียันตรา หรือ ศรีจักราเป็นพื้นฐาน  ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปในแต่ละองค์   ฝากเท่านี้แหละครับ
#31
สำหรับประเด็นนี้ผมว่า  อยู๋ที่เราจะเลือกมองหรือเลือกหยิบยกเอาคติใดมาอ้างอิงนะครับ    อย่างไรก็ตาม  วางจัดให้เหมาะสม  แล้วอย่างไรเล่า จึงเรียกว่าเหมาะสม  ก็คงต้องวกกลับไปในคำตอบเบื้องต้นที่กล่าวมาอีกเรื่องคติ   วกไปวนมา  หาสิ่งใดตายตัวเป็นยากนัก  ให้เข้ากับจริตของเราและหลักที่เราเคารพนับถือ  ผมว่า  เบื้องต้นแค่นี้ก็พอทำเนานะครับ
#33
พรุ่งนี้จะเป็นวันถวายบายศรีแล้ว  ตื่นเต้นจริงๆ   แล้วจะเก็บภาพมาฝากกันนะครับ ท่านใดสนใจร่วมถวายบายศรี ติดต่อ 0834496980 นะครับ  หรือร่วมถวายปัจจัยเป้นค่าผลไม้ ของบูชา และอยากถวายอะไรให้ท่าน  ก็ติดต่อมาได้นะครับ
#34
สุดยอดครับ  นับได้ว่าเป็นครั้งแรกในวงการที่มีการเผยแพร่ภาพภายในวัด  สุดยอดครับ  กล้าพูดได้เลยว่า  เป็นเว็บแรกก็ว่าได้นะเนี่ย  หุหุ  สุดยอดมากครับ คุณอักษรชนนี
#35
เอาใจช่วยนะครับ   มีอะไรก็บอกกล่าวกัน
#38
ส่วนตัวผม   ผมใช้น้ำมันตะเกียงเลยครับ แกลลอนใหญ่300กว่าบาท  กินใส้ตะเกียงน้อย  ติดง่าย ควันไม่มี ตะเกียงไม่ดำ  เดี๋ยวนี้เค้ามีรุ่นที่ผสมน้ำมันหอมแล้วด้วย  แต่ราคาก็แพงกว่า   หรือ  อีกอย่าง  คือ  น้ำมันเนย  (กี/ฆี) อันนี้ถูกตามหลักศาสนาด้วยครับ  เป็นไขมันนม กระปุกนึกก้ใช้ได้นาน  แต่ไม่เหมาะกับตะเกียงก้นลึก  เพราะน้ำมันเนย จะจับตัวเป็นก้อน  แต่เหมาะกับตะเกียงแบบตื้นๆ
#39

  อันนี้ครบ9เศีนร  แต่ยังไม่ขึ้นเป็นองค์นะครับ  เพราะจะไปขึ้นองค์บายศรีที่วัด  ยังไงจะเก็บภาพและความคืบหน้ามาเป็นระยะนะครับ
#40
คนที่ถาม  ลองกลับไปถามคนที่บอกสิครับ  น่าจะได้คำตอบดีกว่า